การใช้ Adjective Clause ขยายคำนามในประโยค

   

    การใช้ Adjective Clause มาทำหน้าที่ขยายคำนามในประโยคเป็นอีกโครงสร้างหนึ่งที่นิยมใช้ เนื่องจากไม่ต้องเสียเวลขึ้นประโยคใหม่โดยไม่จำเป็น และยังเป็นการเชื่อมประโยคมากกว่าหนึ่งประโยคเข้าด้วยกัน ให้เกิดความต่อเนื่องในการอ่าน

    การสังเกตว่ากลุ่มคำใดเป็น Adjective Clause ซึ่งสามารถดูจากคำ relative pronouns

                                                                                        ส่วนขยาย

                                                                                   who, whose,

                                                   คำนาม          +           which, whom,       +        กลุ่ม

                                                                                   that

    ตัวอย่าง              The students who worked hard passed the test

                            นักเรียนที่ขยันผ่านการสอบ

    ในบางประโยคอาจจะพบข้อความอยู่ระหว่างเคร่องหมาย ,_, ซึ่งข้อความนั้นก็ทำหน้าที่เป็นส่วนขยาย

   ตัวอย่าง               Professor William, who teaches English, is a good teacher.

                           ศาสตราจารย์วิลเลียม ผู้ซึ่งสอนวิชาอังกฤษ เป็นครูที่ดี

    การลดรูป Adjective Clause เป็นการประหยัดเนื่อที่และทำให้ประโยคกระชับขึ้น  โดยจะพบในกรณีต่อไปนี้

    เมื่อคำเชื่อม  which, that, whom  ทำหน้าที่เป็นกรรมในประโยคขยายซึ่งสามารถสังเกตได้จากโครงสร้าง

                          1.  คำนาม    +    whom, which, that    +    ประธาน    +    กรรม

    ผู้เขียนจะไม่ใส่คเชื่อม  whom, which, that  ลงไปในประโยคแต่ผู้อ่านจะต้องทราบเองว่า  คำเชื่อมดังกล่าวนั้นถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจ

    ตัวอย่าง               The letter that he received was important. เป็น

                             The letter he received was important.

                          2.  คำนาม    +    กริยา ing

    โครงสร้างนี้หมายความว่า  คำนามนั้นเป็นผู้กระทำกริยา  และแปลว่าผู้ซึ่ง  หรือ  ที่ซึ่ง  ถ้าสามารถแปลแล้วได้ใจความดังกล่าว  นั่นแสดงว่า  กริยาที่ใช้ในรูปนี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างถูกต้องแล้ว

    ตัวอย่าง               The student working with the computer studies mathematics.

                             นักเรียนผู้ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์เรียนคณิตศาสตร์

                         3.  คำนาม    +    V3(กริยาช่อง3)

    โครงสร้างนี้หมายความว่า  คำนามนั้นถูกกระทำและแปลว่า  ผู้ซึ่งถูก  หรือ  ที่ซึ่งถูก

    ตัวอย่าง               Decisions made in a hurry are often wrong.

                            การตัดสินใจ  ที่ซึ่งถูกทำอย่างเร่งรีบ  มักจะผิด

    จากโครงสร้างนี้จะสังเกตได้ว่ามีกริยาอย่างน้อยๆ 2 ตัวในประโยค  ดังนั้นผู้อ่านควรจะแยกแยะให้ได้ว่ากริยาตัวใดเป็นกริยาแท้  และกริยาตัวใดเป็น V3 โดยการใช้สำนวน  "that is หรือ are" เข้าไปใส่หน้ากริยาตัวนั้น  และถ้าแปลได้ใจความสมบูรณ์  แสดงว่ากริยาตัวดังกล่าวถูกลดรูปไป

  จากข้อ 2 และ 3  เราสามารถมองให้ออกว่าเป็นกริยาแท้หรือไม่โดยการท่องว่า 

                     "V ช่อง 3หรือ ing  ไม่มี be haveข้างหน้า ตะโดนออกไปว่าสาระแนแกไม่ใชj V " (สถาบัน TUTOR)

 

 

สร้างโดย: 
นางสาววีรวรรณ ทวีคงศักดิ์สกุล ร่วมกับ อาจารย์วีณา รัตนสุมาวงศ์ โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 272 คน กำลังออนไลน์