สตรอเบอรี่

รูปภาพของ sss29168

สตรอเบอรี่

 สตรอเบอรีเป็นไม้ผลที่นิยมปลูกกันในหลายประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ ประเทศในทวีปยุโรป สำหรับประเทศไทยเรานั้น ปลูกกันมากในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย สตรอเบอรีจัดเป็นผลไม้ที่มีราคาดีและให้ผลตอบแทนสูง สามารถจำหน่ายได้หลายรูปแบบคือ รูปผลสด และการแปรรูป เช่น การทำแยมสตรอเบอรี สตรอเบอรีแช่แข็ง สตรอเบอรีลอยแก้ว น้ำสตรอเบอรีเข้มข้น และใช้ทำเป็นไวน์สตรอเบอรี สามารถทำรายได้เข้าประเทศคิดเป็นมูลค่าปีละ เกือบ 200 ล้านบาท

ี่ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจาย
สตรอเบอรีมีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกา และแพร่กระจายไปยังทวีปยุโรป ตลอดจนถึงซีกโลกตะวันตก สำหรับการแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยนั้น ชาวอังกฤษผู้หนึ่งได้นำ ต้นสตรอเบอรีเข้ามาปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 แต่การปลูกก็ยังคงปลูกอยู่ใน วงแคบๆ ต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2512 – 2514 โครงการหลวง ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำสตรอเบอรีจากต่างประเทศ เข้ามาทดลองปลูกในสถานีวิจัยดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ และได้คัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพอากาศของประเทศไทยได้ 3 พันธุ์ ในปี พ.ศ. 2516 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงพระราชทาน สตรอเบอรี 3 พันธุ์แก่ชาวสวน เพื่อใช้ปลูกต่อไป สตรอเบอรีทั้ง 3 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 13 (Cambridge Favorite) พระราชทานเบอร์ 16 (Tioga) และพันธุ์พระราชทานเบอร์ 20 ( Sequoia)

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของสตรอเบอรี

สตรอเบอรี จัดอยู่ใน ตระกูล Rosaceae สกุล Fragaria มีจำนวนโครโมโซมพื้นฐาน n = 7
นิสัยการเจริญเติบโต เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปีขนาดเล็กที่มีลำต้นสั้นและหนา จนดูเหมือนว่าไม่มีลำต้น ทรงพุ่มกว้าง 20 – 30 เซนติเมตร สูง 15 – 20 เซนติเมตร ความสูงและทรงพุ่มแตกต่างไปตามพันธุ์

 

-----ลำต้น

ลำต้นของสตรอเบอรีเรียกว่าคราวน์ (crown) เป็นส่วนของลำต้นที่สั้น โดยปกติมีขนาดยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นข้อ ตามข้อมีตาหลายชนิดได้แก่ ตาที่เจริญไปเป็นใบ ตาที่เจริญไปเป็นลำต้นแขนง ( branch crown ) ตาที่เจริญไปเป็นช่อดอก และตาที่เจริญไปเป็นไหล โดยไหลสามารถเจริญไปเป็นต้นสตรอเบอรีใหม่และเกิดรากได้ ตาเหล่านี้อยู่ที่มุมของก้านใบ

 

-----ใบ

ลักษณะของใบสตรอเบอรีจัดเป็นใบประกอบแบบมี 3 ใบย่อย (trifoliate) หรือ บางครั้งเป็นแบบอันอิควอลลี อิมพาริพินเนท (unequally imparipinnate) คือใบย่อยข้างๆทั้งคู่ซึ่งปกติมีขนาดเล็กกว่าใบย่อยกลางเล็กน้อย มีขนาดเล็กกว่าใบย่อยปกติมาก รูปร่างของแผ่นใบย่อยเป็นรูปไข่ ตอนบนของใบย่อยมีขอบเป็นหยักแบบฟันเลื่อย (dentate) ส่วนฐานของใบย่อยมีขอบเรียบ (entire) ใบย่อยใบกลางมีฐานใบเป็นรูปลิ่ม ส่วนใบย่อยข้างๆมีฐานใบไม่ได้สมมาตร (oblique) โดยฟากที่อยู่ข้างๆ ใบย่อยใบกลางมีขนาดเล็กกว่าฟากที่อยู่ด้านนอก ก้านช่อดอก (scape) มักมีความยาวใกล้เคียงกับก้านใบ

 

-----ดอก

เป็นช่อดอกแบบไซม์ (cyme) มีประมาณ 3- 5 ช่อๆละ 8 – 15 ดอก ก้านแขนง ก้านล่างสุดมีหูใบ ( stipule) และอาจมีแผ่นใบเล็กๆหุ้ม ก้านดอกยาวเรียว ในช่วงที่ยัง เป็นดอกก้านดอกย่อยจะเหยียดตรงเมื่อติดผลก้านดอกย่อยจะโค้งงอลงสตรอเบอรีมีการออกดอกแบบโพลีกาโมไดโออีเชียส (polygamo dioecious) คือมีทั้งดอกตัวผู้ ดอกตัวเมียและดอกสมบูรณ์เพศ โดยมีดอกตัวผู้และดอกสมบูรณ์เพศอยู่บนต้นหนึ่งและมี ดอกตัวเมียกับดอกสมบูรณ์เพศบนอีกต้นหนึ่งจะไม่พบต้นสตรอเบอรีที่มีดอกสมบูรณ์เพศหรือมีทั้งดอกตัวผู้ และ ดอกตัวเมียอยู่บนต้นเดียวกันเลย
ดอกมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียวมีจำนวน 5 อัน กลีบดอก สีขาวมีจำนวน 5 อัน กลีบดอกแยกจากกันและอยู่รอบฐานรองดอก เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียมี สีเหลืองอยู่กลางดอก

-----ผล

จัดเป็นผลกลุ่ม (aggregate fruit) ผลย่อยแต่ละผลเรียกว่าอะคีน (achene) อยู่บนผิวของผล แต่ละผลอาจมี ผลย่อยจำนวน 20-500 ผลซึ่งแต่ละอันมีความยาว 1 มิลลิเมตร ผลของสตรอเบอรีคือส่วนที่เจริญมาจากฐานรองดอก (receptacle) พัฒนาไปสู่ส่วนที่รับประทานได้ ผลมีหลายรูปทรง เช่น ทรงกลม ทรงกลมแป้น ทรงกลมปลายแหลม ทรงแหลม ทรงแหลมยาว ทรงลิ่มยาว และทรงลิ่มสั้น มีหลายขนาดขึ้นอยู่กับพันธุ์ ผลมีสีเขียวในระยะแรก และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาวเมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม รสเปรี้ยวอมหวาน

 

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 407 คน กำลังออนไลน์