ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในสมัยอยุธยา

ประวัติกรุงศรีอยุธยา 
กรุงศรีอยุธยามีชื่อเดิมที่ปรากฏในเอกสารชั้นต้นที่เป็นศิลาจารึกและตำนานบางเรื่องว่า "กรุงอโยยา" ซึ่งเป็นการนำชื่อเมืองของพระรามในเรื่องรามเกียรติ์มาใช้ ชื่อกรุงอโยยาคงจะถูกเปลี่ยนเป็นกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นชื่อที่รู้จักกันทั่วไปในปัจจุบันนี้ในสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งอยู่ในระยะเวลาตอนปลายของสมัยกรุงศรีอยุธยา อันเป็นสมัยที่หนังสือพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับที่เก่าที่สุดเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ ได้รับการเขียนและคัดลอกกันต่อๆ มา เป็นต้นฉบับตัวเขียนที่เก็บอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ หนังสือพงศาวดารฉบับนี้ก็ได้กล่าวถึงเมืองที่มีชื่อว่า กรุงศรีอยุธยา เอาไว้ด้วย คนรุ่นหลังจึงได้เรียกชื่อนี้กันต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ความเป็นมาของกรุงศรีอยุธยานั้นปรากฏเป็นเรื่องที่เล่าสืบทอดกันในลักษณะของตำนาน โดยเฉพาะตำนานเรื่องท้าวอู่ทอง จะมีอยู่หลายตำนานและปรากฏในหลายท้องที่ ตำนานท้าวอู่ทองบางเรื่องกล่าวถึงความเกี่ยวข้องกับดินแดนแถบจังหวัดกำแพงเพชร บางเรื่องปรากฏเป็นตำนานของบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางในจังหวัดสุพรรณบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เมืองนครศรีธรรมราชก็มีตำนานที่เล่าถึงท้าวอู่ทองกับพระยาศรีธรรมาโศกราช ที่ตกลงรวมดินแดนนครศรีธรรมราชเข้ากับกรุงอโยยาก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยาในหนังสือพระราชพงศาวดาร ตำนานบางเรื่องในหนังสือพงศาวดารเหนือที่รวบรวมจดไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวถึงการเป็นเมืองที่มีความสืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นเมืองที่เก่าแก่ และมีเครือข่ายที่เห็นได้อย่างชัดเจนจากหลักฐานด้านโบราณคดีว่า มีความเกี่ยวข้องกับราชอาณาจักรขอมกัมพูชา
ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องมิติของเวลา ตำนานต่างๆ เกี่ยวกับท้าวอู่ทองและเรื่องในพงศาวดารเหนือสามารถสะท้อนภาพของส่วนต่างๆ ซึ่งประกอบเข้าเป็นกรุงศรีอยุธยาได้ อย่างไรก็ดี เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เป็นพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ที่กล่าวถึงเมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๙๓ นั้น ได้กล่าวถึงสมเด็จพระราเมศวรโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีว่าได้ไปครองเมืองลพบุรีอีกทั้งเอกสารที่เป็นจดหมายเหตุของจีนได้เรียกกรุงศรีอยุธยาเมื่อแรกสถาปนาว่า หลอหู ซึ่งเป็นคำเดียวกับที่จีนใช้เรียกเมืองลพบุรีมาก่อนด้วย จึงสันนิษฐานได้ว่า ราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยานั้น มีความสืบเนื่องมาจากเมืองลพบุรีที่เป็นศูนย์อารยธรรมเก่าแก่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางมาก่อน และเมื่อได้พิจารณาประกอบกับหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการพบที่อยุธยา ได้แก่ เศียรพระพุทธรูปขนาดใหญ่ซึ่งเป็นศิลปะก่อนสมัยอยุธยา ที่วัดธรรมิกราช พระพนัญเชิงซึ่งสร้างก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยา พระพุทธรูปทั้งสององค์มีรูปแบบศิลปะที่เรียกว่า ศิลปะอู่ทองรุ่นแรกที่ได้รับอิทธิพลของศิลปะลพบุรีด้วย ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ชี้อย่างชัดเจนว่า ได้มีการขยายตัวของเมืองลพบุรีลงมาทางใต้บริเวณเกาะเมืองอยุธยา ก่อนที่จะมีการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวง เมื่อพ.ศ. ๑๘๙๓
การขยายตัวของเมืองลพบุรีลงมาที่อยุธยาเมื่อพิจารณาในด้านภูมิศาสตร์เศรษฐกิจก็อาจอิบายได้ว่า เป็นการขยายที่ตั้งการค้าออกไปใกล้ทะเลเพื่อการค้ากับดินแดนโพ้นทะเล เพราะอยุธยามีลำน้ำเจ้าพระยาซึ่งเรือเดินทะเลใหญ่ในสมัยนั้นสามารถเข้ามาถึงตัวเมืองได้ อีกทั้งที่ตั้งของอยุธยาเป็นที่รวมของแม่น้ำหลายสายคือแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ตั้งของอยุธยาจึงมีลักษณะเป็นชุมทางที่สามารถติดต่อเข้าไปยังแผ่นดินภายในได้หลายทิศทางให้ประโยชน์ในด้านการเป็นแหล่งรวมสินค้าที่ส่งมาจากที่ต่างๆ ได้สะดวก และสามารถเป็นตลาดกลางขนาดใหญ่ในการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับทั้งภายในทวีปและดินแดนโพ้นทะเลได้เป็นอย่างดี การขยายตัวของเมืองลพบุรีมาที่อยุธยานั้นคงจะมีขึ้นตั้งแต่ประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘
ด้วยเหตุนี้ การเกิดขึ้นมามีฐานะเป็นศูนย์กลางอำนาจการปกครอง หรือเป็นเมืองหลวงของกรุงศรีอยุธยา จึงไม่เหมือนกับการเกิดขึ้นของเมืองเชียงใหม่และเมืองสุโขทัย เพราะทั้งสองเมืองมีลักษณะของการเป็นบ้านเมืองของผู้นำที่ค่อยๆ รวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าไว้ด้วยกัน และเติบโตสร้างความเป็นปึกแผ่นของแว่นแคว้นเพิ่มขึ้นๆ จนในที่สุด เมืองซึ่งเป็นที่ประทับของผู้นำของแว่นแคว้นก็ได้กลายเป็นศูนย์กลางของอำนาจการปกครองดินแดนที่รวบรวมเข้ามาได้ ส่วนกรุงศรีอยุธยานั้น เมื่อสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ ก็เป็นเมืองที่มีพื้นฐานอันเป็นเครือข่ายของเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่แต่โบราณแล้ว คือ บ้านเมืองในดินแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง บริเวณที่ราบลุ่มน้ำมูลที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแบบเดียวกันติดต่อไปถึงเมืองพระนครหลวงในกัมพูชา ส่วนเรื่องพระเจ้าอู่ทองในตำนานของเมืองนครศรีธรรมราชได้แสดงให้เห็นว่า เป็นดินแดนที่ได้รับการผนวกเข้ากับอยุยาก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ปรากฏเรื่องราวการรวบรวมดินแดนนครศรีธรรมราชในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาซึ่งเริ่มเล่าเรื่องตั้งแต่เวลาของการสถาปนา แต่กลับปรากฏในบันทึกของชาวยุโรปในสมัยอยุธยาตอนต้นว่า ดินแดนตลอดแหลมมลายูนั้นเป็นของสยาม ซึ่งมีศูนย์กลางเป็นเมืองใหญ่อยู่ที่กรุงศรีอยุธยา
ในพระราชพงศาวดารฉบับที่เขียนในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการกล่าวถึงกษัตริย์องค์ต่อมาหลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตว่า มาจากเมืองสุพรรณบุรีด้วยท่าทีที่มีอำนาจแล้วขึ้นเสวยราชสมบัติต่อมาทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราช (ที่ ๑) ได้มีการขยายความในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับที่เขียนในภายหลังว่า กษัตริย์จากสุพรรณบุรีนี้คือ พ่องั่ว ผู้เป็นพี่มเหสีของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แม้ว่าจะเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นในภายหลังก็ตาม แต่เรื่องราวต่อๆมาในพระราชพงศาวดารก็สามารถให้ภาพรวมว่า ในช่วงระยะเวลาแรกแห่งการสถาปนากรุงศรีอยุธยาระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๑๙๕๒ นั้น กรุงศรีอยุธยามีกษัตริย์ที่ผลัดกันครองราชบัลลังก์อยู่ ๒ สาย สายหนึ่งคือ สายที่สืบราชตระกูลมาจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ผู้สถาปนาเมือง และอีกสายหนึ่งคือราชตระกูลที่มาจากเมืองสุพรรณบุรี การผลัดกันขึ้นสู่ราชบัลลังก์ของทั้ง ๒ ราชตระกูลนั้นเป็นการยึดอำนาจมาจากอีกฝ่ายหนึ่ง
ชื่อของเมืองสุพรรณบุรีมีที่มาจากหนังสือพระราชพงศาวดารเช่นเดียวกับชื่อของกรุงศรีอยุธยา เพราะจากเอกสารชั้นต้นที่เป็นศิลาจารึกหรือเรื่องในตำนานบางเรื่องนั้น ชื่อเดิมของเมืองสุพรรณบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นนั้นคือ เมืองสุพรรณภูมิ ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหงที่เล่าเรื่องราวในสมัยพ่อขุนรามคำแหงก่อนเวลาการสถาปนากรุงศรีอยุยา ได้กล่าวถึงชื่อเมืองสุพรรณภูมิรวมอยู่ในกลุ่มเมืองที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลาง คือเมืองแพรก (ในจังหวัดชัยนาท) เมืองสุพรรณภูมิเมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี ซึ่งในท้องที่ของเมืองเหล่านี้ล้วนมีโบราณสถานที่มีอายุไม่น้อยกว่าเมืองลพบุรีอยู่ด้วย ดังนั้น การที่พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาได้ระบุชื่อเมืองสุพรรณภูมิอยู่รวมกับดินแดนของกรุงศรีอยุธยาในลักษณะของเมืองที่มีอำนาจ ที่เจ้าเมืองสามารถเข้ามาสืบราชบัลลังก์กรุงศรีอยุธยาได้ด้วยนั้น แสดงว่านอกจากการเกิดขึ้นของกรุงศรีอยุธยาจะเป็นการสืบอำนาจต่อจากเมืองลพบุรีโดยการสืบราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ แล้ว ยังประกอบด้วยดินแดนของสุพรรณภูมิที่มีกษัตริย์ต่างราชวงศ์ปกครองสืบทอดกันมาอยู่ด้วยอีกส่วนหนึ่ง
ดินแดนของกรุงศรีอยุธยาจึงมีอาณาเขตที่กว้างขวางครอบคลุมพื้นที่อันอุดมสมบูรณ์ของที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางทั้งหมด เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลครอบงำตลอดทั้งแหลมมลายูและพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือการวมตัวกันได้ระหว่างดินแดนที่สืบมาจากเมืองลพบุรีเดิมกับดินแดนของสุพรรณภูมินั้นสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการเป็นเครือญาติที่สืบเนื่องมาจากการสมรสกันของราชวงศ์ทั้งสองพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาบางฉบับที่เขียนขึ้นภายหลัง ที่กล่าวว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งสุพรรณภูมิ หรือขุนหลวงพ่องั่ว เป็นพี่มเหสีของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ นั้น อาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันของดินแดนทั้งสองได้ กลายเป็นราชอาณาจักรที่มีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงที่ชาวต่างประเทศเรียกว่า ราชอาณาจักรสยาม โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีหรือเมืองหลวง
ในช่วงกว่าครึ่งศตวรรษแรกของการสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนั้น ดังได้กล่าวแล้วว่า การรวมตัวกันระหว่างสองราชวงศ์ คือราชวงศ์ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ กับราชวงศ์ของสุพรรณภูมิ ยังไม่ราบรื่นนักดังจะเห็นได้จากการแย่งชิงราชสมบัติกันระหว่างทายาทของทั้งสองราชวงศ์ เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ สวรรคต ราชสมบัติตกอยู่กับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งสุพรรณภูมิ โดยการยินยอมของสมเด็จพระราเมศวรโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ซึ่งกลับไปครองเมืองลพบุรี แต่เมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เสด็จสวรรคต สมเด็จพระราเมศวรได้เสด็จจากลพบุรีเข้าช่วงชิงราชบัลลังก์จากโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ภายหลังจากที่สมเด็จพระราเมศวรได้เสด็จสวรรคตแล้ว โอรสของพระองค์คือสมเด็จพระรามราชาธิราช ก็ได้สืบราชสมบัติต่อไปสมเด็จพระราเมศวรและสมเด็จพระรามราชาธิราช เสวยราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาสืบทอดต่อเนื่องกันเป็นเวลาประมาณ ๒๑ - ๒๒ ปี คือระหว่าง พ.ศ. ๑๙๓๑ - ๑๙๕๒
อ้างอิงจากhttp://sw4201social.exteen.com/20060208/entry-7/page/5
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ชาวสยามกับชาวตะวันตกมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เริ่มมีการบันทึกหลักฐานในสมัยอยุธยา ฝรั่งต่างชาติมีค้าขายกับชาวตะวันออก มี โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศสเป็นหลัก แต่วิธีการที่เข้ามาล้วนแตกต่างกัน
ชาติโปรตุเกส
เป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาโดยทางเรือ ขอเจริญสัมพันธไมตรีและขอทำการค้ากับไทยในสมัยอยุธยา ฝ่ายไทยยอมให้โปรตุเกสเข่ามาค้าขายและเผยแพร่ศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรตุเกสรับจัดหาดินปืนและกระสุนดินดำให้ไทยอีกทั้งเป็นทหารอาสาฝึกสอนวิชาทหารและรับจ้างราบอีกด้วยดังสงครามเมืองเชียงกรานที่ไทยรบชนะพม่าในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชเจ้า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม ไทยกับโปรตุเกสได้เกิดการวิวาทบาดหมางกันอย่างรุนแรงจนถึงขั้นปะทะทางเรือ บทบาทความสัมพันธ์ไทยกับโปรตุเกสเริ่มลดลงในรัชกาลนี้เอง

ความสัมพันธ์กับอาณาจักรพม่า ในสมัยอยุธยา ไทยมีความสัมพันธ์กับพม่าในลักษณะของการทำศึกสงคราม ซึ่งส่วนใหญ่ พม่าจะเป็นฝ่ายเข้ามารุกรานกรุงศรีอยุธยา และในบางสมัย อยุธยาก็ดำเนินความสัมพันธ์กับพม่าในแบบประนีประนอม เพื่อรักษาความมั่นคงของอาณาจักร

 

ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับพม่า เริ่มต้นในสมัย พระไชยเชษฐาธิราช เมื่อพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ส่งกองทพไปตีเมืองเชียงกราน ของมอญ ซึ่งขณะนั้นขึ้นอยู่กับอยุธยา เมื่ออยุธยาส่งกองทัพไปช่วยเมืองเชียงกรานจึงเกิดการสู้รบกับพม่าเป็นครั้งแรกในพ.ศ.๒๐๘๑ หลังจากนั้น พม่าก็มีนโยบายป้องกันความปลอดภัยของพม่าด้วยการขยายอำนาจเข้าครอบงำเหนืออยุธยา ทำให้อยุธยา ต้องทำสงครามป้องกันตนเองและบางโอกาสก็ได้เจรจาประนีประนอมกับพม่าดังเช่นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

 

                ในพ.ศ.๒๐๙๑ พม่าได้ส่งกองทพเข้ามาโจมตีกรุงศรัอยุธยา ทำให้อยุธยาต้องเสียสมเด็จพระสุริโยทัย พระมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ ซึ่งปลอมพระองค์เสด็จออกร่วมรบด้วย รวมทั้งพระมหาธรรมราชาราชบุตรเขยกับพระราเมศวนพระราชโอรสซึ่งถูกพม่าจับตัวไป อยุธยาต้องใช้วิธีการเจรจาทางทูต ยอมนำช้างเผือก๒เชือก ไปแลกเปลี่ยนกับพระมหาธรรมราชาและพระราเมศวรกับคืนมา

                ต่อมาอยุธยาต้องเจรจาประนีประอมกับพม่าอีกใน พ.ศ. ๒๑๐๖ เมื่อพม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาในเหตุการณ์สงครามช้างเผือกซึ่งอยุธยาไม่สามารถต่อต้านได้ต้องยินยอมให้พม่านำบุคคลสำคัญของอยุธยาไปเป็นตัวประกัน ยอมส่งส่วยและผลประโยชน์จากการเก็บภาษีในหัวเมืองมะริดให้แก่หงสาวดี พม่าจึงยอมถอนทัพกลับไป

                ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยาและพม่าในช่วงนี้ จึงเป็นความสัมพันธ์ทางการเมืองในฐานะที่อยุธยาเป็นประเทศราชของพม่าในชั่วระยะเวลา๑๕ปี เพราะในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา (พ.ศ.๒๑๑๒-๒๑๓๓) พระนเรศวรซึ่งเป็นพระราชโอรส (ต่อมาได้เป็นกษัตริย์แห่งอยุธยาทรงพระนามว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราช) ได้ทรงประกาศอิสรภาพที่เมืองแครงเมื่อพ.ศ.๒๑๒... นับจากนี้ไป ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับพม่าจะเป็นเรื่องของการทำสงครามสู้รบกันถึงขั้นที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พ.ศ. ๒๑๒๒-๒๑๔๘) ทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชาของพม่าใน พ.ศ. ๒๑๓๕ และทรงเป็นฝ่ายมีชัยชนะ

                ภายหลังสมเกด็จพระนเรศวรมหาราชไปแล้ว อยุธยาว่างเว้นจากสงครามกับพม่าเป็นเวลานาน เนื่องจากพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และภายในพม่าเกิดการแตกแยกกันเอง จนกระทั่งพม่าสร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงได้อีก จึงได้ยกทัพมาตีดินแดนไทย อยุธยาทำสงครามกับพม่าอีกหลายครั้ง ส่วนใหญ่พม่าจะเป็นฝ่ายรุกรานเข้ามายังดินแดนอยุธยา จนครั้งสุดท้าย ใน พ.ศ.๒๓๑๐ พม่าได้ยกทัพเข้ามาโจมตีกรุงศรีอยุธยา และสามารถยึดครองกรุงศีอยุธยาได้อีกเป็นครั้งที่๒ ซึ่งการเสียกรุงครั้งนี้สร้างความเสียหายให้กับราชธานีของไทยอย่างหนักจนต้องย้ายศูนย์กลางขงอาณาจักรไทยมาอยู่ที่กรุงธนบุรีในที่สุด

 

                ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมอญ ดินแดนหัวเมืองมอญประกอบด้วยเมืองเมาะตะมะ เชียงกราน มะริด ตะนาวศรี ทวาย และเมืองพัน ซึ่งตั้งอนู่ทางทิศตะวันตกของอยุธยา ติดต่อกับอาณาเขตของพม่า

                ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับมอญ มีทั้งลักษณะความสัมพันธ์ทางด้านการค้า การผูกสัมพันธไมตรีด้วยการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองในลักษณะที่ราชธานีมีต่อเมืองประเทศราช

                ความสัมพันธ์ทางด้านการค้านั้นมีมาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งกรุงศีอยุธยาแล้ว โดยอยุธยาอาศัยหัวเมืองมอญเป็นเมืองท่าหรือเป็นทางผ่านในการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าเรือสำเภาจากอินเดีย ลังกา อาหรับ ทางด้านทะเลอันดามัน

                นอกจากนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์ทางด้านการเมือง โดยอยุธยาพยายามแผ่อิทธิพลให้มอญเข้ามาสวามิภักดิ์ และให้ความเป็นมิตรคอยช่วยเหลือเกื้อกูลยามที่มอญมีศึกสงครามกับพม่า

                การเป็นไมตรีต่อมอญ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของอยุธยามาก เพราะหัวเมืองเปรียบเสมือนด่านหน้าในการสกัดกั้นทัพพม่า รวมทั้งเป็นการสอดแนมเพื่อรายงานกองทัพพม่าลงมาให้กรุงศรีอยุธยาทราบล่วงหน้าด้วย

 

                ความสัมพันธ์กับเขมร เขมรหรือกัมพูชามีอาณาเขตอยู่ทางตะวันออกของอยุธยา ความสัมพันธ์ที่อยุธยามีต่อเขมรส่วนใหญ่จะเป็นความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม สงครามและทางด้านการเมืองในฐานะที่เขมรดป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา

                ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรม อยุธยาได้รับวัฒนธรรมหลายอย่างจากเขมร อาทิเช่น ศิลปกรรม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ภาษา ขนบธรรมเนียม ประพณี การปกครองและแนวคิดสมมติเทพที่ยกย่องฐานะของกษัตริย์ว่ามีความสูงส่งประดุจดังเทพเจ้าเป็นต้น

                สำหรับความสัมพันธ์ทางด้านการเมืองนั้น อยุธยาหวังจะได้เขมรเป็นเมืองปกครองเพื่อคุม้กันมิใก้เขมรเผารุกรานหัวเมืองชายแดนด้านตะวันออก การหวังผลประโยชน์จากเขมรทั้งกำลังผู้คนเพื่อสนับสนุนการทำสคงคาม และเพื่อเป็นดินแกนกันกระทบกับญวนอีกด้วย

                อยุธยามีความสัมพันธ์ทางด้านสงครามกับเขมรเริ่มตั้งเต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑เป็นต้นมา จนถึงพ.ศ. ๑๙๘๙ สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่๒ (เจ้าสามพระยา) ทรงยกทัพไปรบเขมรจนได้เมืองนครธม แต่ช่วงเวลาไม่นาน เขมรได้ย้ายเมืองหลวงไปตั้งอยู่ที่เมืองบาลาญ และเมืองพนมเปญตามลำดับ เพื่อหนีการโจมตีจากอยุธยา

                หลังสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชไปแล้ว อยุธยายังมีความสัมพันธ์กับเขมรในการทำศึกสงครามเพื่อป้องกันมิให้เขมรเข้ามารุกรานชายแดนและป้องกันมิให้เขมรตกไปอยู่ใต้อำนาจของญวน

                ความสัมพันธ์กับอยุธยาและเขมรสิ้นสุดลงใน พ.ศ. ๒๓๓๐ เมื่อยุธยาเสียอิสรภาพให้แก่พม่า

 

ความสัมพันธ์กับล้านช้าง ความสัมพันธ์ของอยุธยาที่มีต่อล้านช้างส่วนใหญ่เป็นการผูกมิตรเชื่อมสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้น

                อยุธยามีความสัมพันธ์อันดีกับล้านช้างซึ่งมีกรุงผสรีสัตนาคนหุตเป็นราชธานี นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่๑ กับเจ้าฟ้างุ้ม กษัตริย?ของล้านช้าวเป็นครั้งแรก และต่อมาได้มีความสัมพันธ์ใกบ้ชิดมากขึ้นในสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเชื้อสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ของล้านช้างได้แต่งตั้งทูตอันเชิญพระราขสาสน์พร้อมเครื่องบรรณาหารเข้าถวายและกราบทูลขอพระเทพกษัตรี พระราชธิดาของสมเด็จพระมหาจักรพรรมดิไปเป็นอัตรมเหสี

                สมเด็จพระมหาจักรพรรมดิทรงตอบรับไมตรี เพราะเล็งเห็นประโยชน์ที่จะได้ล้านช้างเอาไว้เป็พันธมิตรในการทำศึกสงครามกับพม่า แต่ข่าวได้ล่วงรู้ไปถึงบุเรงนอง กษัตริย์พม่าเสียก่อน จึงได้ส่งกำลังทหารมาชิงตัวพระเทพกษัตรีในระหว่างเดินทางไปยังล้านช้าง แล้วยำมาวที่กรุงหงสาวดี

                ถึงแม้การอภิเษกสมรสในครั้งนี้จะไม่เกิดขึ้น แต่อยุธยาก็ยังคงรักษาสัมพันธไมตรีอันดีกับล้านช้างเอาไว้ จนกระทั่ง กรุงศรีอยุธยาเสียกรุงแก่พม่าครั้งที่๑ ในพ.ศ. ๒๑๑๒ ความสัมพันธ์ของอยุธยาต่อล้านช้างก็ลดน้อยลงไป และไม่ปรากฏเรื่องราวความเกี่ยวข้องให้ทราบมากนัก

 

ความสัมพันธ์กับญวน ลักษณะความสัมพันธ์จะเกี่ยวข้องกับการทำสงครามเพื่อแย่งชิงอำนาจเหนือเขมร

                เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้อยุธยาต้องทำสงครามกับญวนเกิดขึ้นในปีพ.ศ.๒๒๕๒-๒๒๕฿) เมื่อราชวงศ์เขมรซึ่งั้งราชธานีอยู่ในมืองละแวกเกิดการแตกแยกกันเองระหว่างพระธรรมราชากับนักแก้วฟ้าจอกจนทำสงครามกัน ทางอยุธยาให้การสนับสนุนพระธรรมราชา ขณะที่ญวนหนุนหลังนักแก้วฟ้าจอก ความขัดแย้งในเขมรจึงชักนำให้ไทยและญวนต้องทำสงครามสู้รบกันในดินแดนเขมร ผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะ หลายครั้ง อยุธยาได้เขมรเข้ามาอยู่ใต้อำนาจในช่วงเวลาสั้นๆ หลังจากนั้น ญวนก็เข้าไปมีอิทธิพลเหนือเขมรอีก อยุธยาจึงต้องส่งกองทัพไปในลักษณะเช่นนี้โดยตลอดกระทั่งสิ้นสุดสมัยอยุธยา

 

ความสัมพันธ์กับหัวเมืองมลายู หัวเมือวมลายูอยู่ทางใต้ของอยุธยาบริเวณคาบสมุทรมลายู มีเมืองสำคัญเช่น ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู มะละกาเป็นต้น ความสัมพันธ์ที่อยุธยาดำเนินกับหัวเมืองเหล่านี้เป็นความสัมพันธ์ด้านการค้า การทำสงคราม และเจริญสัมพันธไมตรีให้แน่นแฟ้น

                อยุธยามีความสัมพันธ์กับหัวเมือมลายูนับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นโดยอยุธยายกกองทพไปตีเมืองมะละกา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าสำคัฐบริเวณคาบสมุทรมลายูหลายครั้ง ในสมัยพ.ศ. ๑๙๖๑ สมัยสมเด็จพระอินทราชา (พระนครินทราธิราช) และพ.ศ. ๑๙๗๔ ในสมัย พระบรมราชาธิราชที่๒ และพ.ศ. ๑๙๙๘ ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ การส่งเจ้าพระยาไปตีเมืองมะละกา นอกจากได้เมืองมะละกาเป็นเมืองขึ้นแล้ว หัวเมืองราบทางที่กองทัพผ่านไปได้ก็เข้ามาอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยาด้วยเช่น ปัตตานี ไทรบึรีเป็นต้น

                สำหรับการปกครองหัวเมืองมลายูนี้ อยุธยาใช้วิธีการควบคุมผ่านทางเมือประเทศราช แต่เนื่องจากหัวเมืองมลายูอยู่ไกลจากกรุงศรีอยุธยามา การปกครองดูแลจึงไม่สามารถกระทำได้อย่างใกล้ชิด

                ลักษณะความสัมพันธ์ของอยุธยาที่มีต่อหัวเมืองมลายูประสบปัญหาอุปสรรคอย่างหนึ่งคือ ระยะทางที่ไกลกันมาก ดังนั้น ถ้าอยุธยาไม่เข้มแข็ง เมืองมลายูก็จะตั้งต้นเป็นอิสระ ดังเช่นสมัยอยุธยาตอนปลาย

1.ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนสมัยโบราณ : การทูตบรรณาการ

ประเทศไทยและจีน แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลกัน แต่การติดต่อถึงการทางบกในสมัยโบราณค่อนข้างลำบาก เนื่องจากเส้นทางและภูมิประเทศค่อนข้างทุรกันดาร ดังนั้น การติดต่อระหว่างประเทศทั้งสองจึงมักใช้ทางทะเล ซึ่งนำไปสู่ “การค้าสำเภา”
(Junk Trade) ระหว่างกัน เดิมจีนมีศูนย์กลางอำนาจที่ลุ่มแม่น้ำฮวงโฮ จีนสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (พ.ศ. 337 – 568) ได้ส่งทูตมาติดต่อกับชุมชนโบราณหลายชุมชนในเอเชียอาคเนย์ รวมทั้งบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน แม่กลอง และเจ้าพระยา เช่น ตว้อหลอพอตี้ (ทวาราวดี) หลอหู (อาจหมายถึงละโว้หรืออู่ทอง) เสียน (อาจหมายถึงสุพรรณภูมิหรือสุโขทัย) การติดต่อระหว่างไทยกับจีนในสมัยโบราณนั้นมีมานานแล้ว แต่เท่าที่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์สมัยโบราณอย่างเป็นทางการได้เริ่มขึ้นในสมัยสุโขทัยของไทย ซึ่งเป็นสมัยเดียวกันกับที่ราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกลในจีน การติดต่อระหว่างจีนกับไทยได้มีขึ้นโดยทางฝ่ายจีนเป็นผู้ริเริ่มก่อน พงศาวดารจีนราชวงศ์หยวนได้บันทึกไว้ว่า ประมาณปี พ.ศ. 1825 จักรพรรดิกุบไลข่านแห่งราชวงศ์หยวนได้ส่งทูตเข้ามาติดต่อกับอาณาจักร “เสียน” ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

“ปีที่ 19 ในรัชกาลจื้อหยวน เดือนหก วันจีไฮ่ มีรับสั่งให้เหอจื่อจื้อซึ่งเป็นนายพล เป็นทูตไปยังประเทศสยาม (เสียน)” แต่ปรากฏว่าคณะทูตของจีนชุดนี้มาไม่ถึงสุโขทัย เพราะถูกพวกจามแห่งอาณาจักรจามปาจับตัวในระหว่างเดินทางและประหารชีวิตหมด”

ต่อมา พ่อขุนรามคำแหงแห่งอาณาจักรสุโขทัยได้ส่งคณะทูตไปยังจีนครั้งแรก ใน พ.ศ. 1835 ดร. สืบแสง พรหมบุญ นักประวัติศาสตร์ ได้สันนิษฐานว่า การส่งทูตไปยังจีนครั้งนั้นมีเป้าหมายทางการเมือง เป็นการดำเนินวิเทโศบายทางการทูตของอาณาจักรสุโขทัยเพื่อป้องกันมิให้ จักรพรรดิกุบไลข่านสนับสนุนอาณาจักรสุพรรณภูมิ ทั้งนี้เพราะอาณาจักรสุพรรณภูมิได้เคยส่งเครื่องบรรณการไปยังจีน ใน พ.ศ. 1834 เพื่อขอความสนับสนุนทางการเมือง

เอกสารทางฝ่ายจีนได้ระบุว่า อาณาจักรสุโขทัยได้ส่งคณะทูตพร้อมด้วยของพื้นเมืองถวายเป็นกำนัลแก่ จักรพรรดิราชวงศ์หยวนในจีน รวม 14 ครั้ง ระหว่าง พ.ศ. 1835 จนถึง พ.ศ. 1865 ส่วนจีนสมัยราชวงศ์หยวนได้ส่งทูตมายังสุโขทัย 4 ครั้ง แต่มาถึงสุโขทัยเพียง 3 ครั้ง โดยมีเป้าหมายที่จะแผ่อำนาจของจักรพรรดิกุบไลข่านและให้สุโขทัยอ่อนน้อม การส่งทูตติดต่อระหว่างจีนกับไทยในสมัยสุโขทัยนี้ได้ส่งผลให้การค้าระหว่าง อาณาจักรทั้งสองขยายตัว อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดความรู้ของจีนมายังไทย โดยช่างจีนได้เข้ามาทำเครื่องปั้นดินเผาจนเป็นที่รู้จักกันในนาม “เครื่องสังคโลก” ต่อมาเครื่องสังคโลกได้กลายเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของอาณาจักรสุโขทัย

ต่อมาสุโขทัยเสื่อมอำนาจลง อยุธยาซึ่งอยู่ทางตอนใต้ภายใต้การนำของราชวงศ์อู่ทองของสุพรรณภูมิเข้มแข็ง ขึ้น และขึ้นมาเป็นใหญ่ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนในแผ่นดินจีน ชาวจีนได้โค่นล้มราชวงศ์หยวนของเผ่ามองโกลและสถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พงศาวดารของจีนเรียกไทยว่า “เสียนหลอหู” และต่อมาย่อเป็น “เสียนโล้” ชื่อนี้ปรากฏในพงศาวดารราชวงศ์หมิงเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 1913 ว่า

“ปีที่ 3 ในรัชกาลหงหวู่ เดือนที่ 8 มีรับสั่งให้ลู่จงจุ้นกับพวกอัญเชิญพระบรมราชโองการ (ประกาศการขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิ) ไปยังประเทศสยาม” (เสียนโล้)

พระบรมราชาธิราชที่ 1 กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ได้โปรดให้ส่งของพื้นเมืองพร้อมทั้งเชิญพระราชสาส์นไปถวายจักรพรรดิจีน ซึ่งพงศาวดารราชวงศ์หมิง เล่มที่ 374 ได้บันทึกไว้ว่า

“ปีที่ 4 ในรัชกาลหงหวู่ เดือน 9 ซันเลียเจาพีเอี๋ย (สมเด็จเจ้าพระยา คงหมายถึงพระบรมราชาธิราชที่ 1) กษัตริย์ของประเทศสยามอัญเชิญพระราชสาส์น พร้อมด้วยลู่จงจุ้นและพวกมาถวายเครื่องราชบรรณาการ ซึ่งประกอบด้วย ช้างบ้าน 6 เชือก เต่าหกขา และของพื้นเมืองอื่นๆ (จักรพรรดิ) ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประทานแพรกิมและแพรดอกขาวอย่างดีแก่กษัตริย์ (สยาม)”

หลังจากรัชกาลพระบรมราชธิราชที่ 1 แล้ว กรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีเพื่อค้าขายกับจีนประมาณ 130 ครั้ง ในระยะเวลาเกือบ 400 ปี ระหว่าง พ.ศ. 1914 ถึง พ.ศ. 2309 ส่วนจีนในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ได้ส่งทูตมายังกรุงศรีอยุธยาประมาณ 17 ครั้งด้วยกัน ในสมัยราชวงศ์หมิง จักรพรรดิหย่งเล่อได้ส่งกองเรือนำโดยนายพลเรือเจิ้งเหอ (นามเดิมหม่าซานเปา หรือที่คนไทยเรียก ซำเปากง) นักเดินเรือที่ยิ่งใหญ่ของจีน ให้เดินทางมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแวะที่กรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 1951 สัมพันธภาพระหว่างจีนกับไทยในสมัยอยุธยานี้ได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น มีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงศรีอยุธยามากขึ้น และรับราชการอยู่กับฝ่ายไทย ยิ่งไปกว่านั้น การค้าสำเภาระหว่างไทยกับจีนในสมัยอยุธยานี้ได้ทำให้กรุงศรีอยุธยามั่งคั่ง และกลายเป็นศูนย์กลางของการค้าระหว่างประเทศทางตะวันตกคือยุโรป กับประเทศทางตะวันออกคือจีนอีกด้วย

เมื่ออยุธยาล่มสลายด้วยกำลังทหารของพม่าใน พ.ศ. 2310 ผู้นำไทยย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี และต่อมาที่กรุงรัตนโกสินทร์หรือกรุงเทพฯ ในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้น ประเทศไทยและประเทศจีนก็ยังคงมีสัมพันธไมตรีอันดีต่อกัน ไทยยังคงส่งทูตเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายแก่จักรพรรดิ จีนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อขอความสะดวกในการค้าสำเภา ในสมัยธนบุรีและตลอด 4 รัชกาลแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยได้ส่งทูตไปจีนรวม 56 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2396 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 3 รัชกาลแรก ไทยส่งคณะทูตไปจีนแทบทุกปี การติดต่อระหว่างประเทศไทยกับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าสำเภา ได้สร้างความมั่งคั่งให้กับกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นอย่างมาก ผลกำไรจากการค้าสำเภากับจีน ทำให้ไทยมีเงินทุนเพียงพอในการสร้างบ้านเมืองเพื่อทำสงครามต่อต้านการรุกราน ของพม่าและเพื่อการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนในสมัยโบราณนับตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นความสัมพันธ์ใน “ระบบบรรณาการ”
(Tribute) หรือเจิงกุง (ไทยมักอ่านว่าจิ้มก้อง) อันเป็นประเพณีสัมพันธไมตรีของจีนกับประเทศอื่นๆ ในสมัยโบราณ ทั้งนี้เพราะจีนมีความเชื่อมานานตามอิทธิพลทางความคิดของลัทธิขงจื้อที่ว่า จีนเป็นอาณาจักรกลาง (จงกั๊ว หรือ Middle Kingdom) เป็นศูนย์กลางของอำนาจและอารยธรรมโลก เนื่องจากมีความเจริญมาช้านาน ดังนั้น จีนจึงมักมองดินแดนอื่นที่อยู่โดยรอบว่าด้อยกว่า และจะต้องยอมรับสวามิภักดิ์กับจีน โดยการส่งเครื่องบรรณาการแก่จักรพรรดิจีนตามกำหนด ส่วนจีนซึ่งเป็นประเทศที่ใหญ่กว่าและเจริญกว่า จะให้ความช่วยเหลือคุ้มครองประเทศเล็กๆ เหล่านี้ อีกทั้งยังให้ผลประโยชน์อื่นๆ ทั้งทางการเมืองโดยยอมรับฐานะกษัตริย์ และทางเศรษฐกิจโดยอนุญาตให้ค้าขายได้อย่างเสรี

อย่างไรก็ดี ผู้นำของไทยมิได้ยอมรับตามคตินิยมของจีน ไทยมิได้หวาดกลัวว่าจีนจะคุกกคาม เนื่องจากจีนอยู่ห่างไกล และไม่เคยคุกคามความมั่นคงของไทยเลย ไทยส่งคณะทูตพร้อมด้วยพระราชสาส์นและของกำนัลหรือเครื่องบรรณาการ ก็เพื่อความสะดวกในการค้าขาย พระราชสาส์นของกษัตริย์ก็เป็นการแสดงสันถวไมตรี มิได้แสดงว่าอ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้น ส่วนเครื่องบรรณาการที่ส่งไปด้วย ก็เพื่อแสดงไมตรีจิต และเพื่อเป็นไปตามความต้องการของจีนตามประเพณีจีน

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงอธิบายเกี่ยวกับสัมพันธไมตรีไทยกับจีน ในสมัยโบราณนี้ว่า

“เหตุที่เมืองไทยจะเป็นไมตรีกับกรุงจีนนั้น เกิดแต่ด้วยเรื่องไปมาค้าขายถึงกันทางทะเล เมืองไทยมีสินค้าหลายอย่าง ซึ่งเป็นของต้องการในเมืองจีนแต่โบราณมาเหมือนกับทุกวันนี้ และเมืองจีนก็มีสินค้าหลายอย่างที่ไทยต้องการเหมือนกัน การไปมาค้าขายกับเมืองจีน ไทยได้ผลประโยชน์มาก แต่ประเพณีจีนในครั้งนั้น ถ้าเมืองต่างประเทศไปค้าขายต้องมีเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน จึงจะปล่อยให้ค้าขายได้โดยสะดวก เพราะเหตุนี้จึงมีประเพณีที่ถวายบรรณาการแก่พระเจ้ากรุงจีน ไม่แต่ประเทศไทยเรา ถึงประเทศอื่นก็อย่างเดียวกัน ความจริงบุคคลต่างชาติกัน จะมีชาติใดที่รักชอบกันยืดยาวมายิ่งกว่าไทยกับจีนนี้ไม่เห็นมี ด้วยไม่เคยเป็นศัตรูกัน เคยแต่ไปมาค้าขายแลกผลประโยชน์ต่อกันมาได้หลายร้อยปี ความรู้สึกทั้งสองปกติจึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมาแต่โบราณจนตราบเท่าทุก วันนี้...”

ดร. สืบแสง พรหมบุญ นักประวัติศาสตร์ไทยที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและ จีนในสมัยโบราณ ได้กล่าวสรุปว่า แม้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองจะมีลักษณะคล้ายระบบบรรณาการก็ตาม แต่ “สัมพันธภาพนั้นเป็นเพียงในนามมากกว่า...จุดมุ่งหมายที่สำคัญของคณะทูตไทย นั้นดูจะเป็นด้านเศรษฐกิจ และบรรดาของกำนัลที่มอบให้จีนนั้น ก็ถือว่ามิได้มีความหมายอื่นใดมากไปกว่าของกำนัลตามมารยาท... ความจริงคณะทูตไทย นับจากปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมา เปรียบเหมือนขบวนเรือบรรทุกสินค้าจากไทยไปจีน และบรรทุกสินค้าจากจีนกลับมาไทยมากกว่า”

ต่อมาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนใน “ระบบบรรณาการเพื่อการค้า” นี้ได้ลดความสำคัญและประโยชน์ลง ในตอนปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ไทยได้ทำการค้ากับตะวันตกมากขึ้นหลังจากการทำสนธิสัญญาเบาริ่งกับอังกฤษ พ.ศ. 2398 ในขณะที่ผลกำไรจากการค้าสำเภาจีนได้ลดลงตามลำดับ ทั้งนี้เพราะความไม่ปลอดภัยในการเดินทาง เนื่องจากจักรพรรดิ์ราชวงศ์ชิงในระยะหลังอ่อนแอ อีกทั้งเผชิญกับปัญหาการต่อต้านจากภายในและการท้าทายคุกคามจากภายนอก ไทยได้ส่งคณะทูตไปจีนเป็นครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2396 และหลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงยุติการส่งคณะทูตและ การค้าบรรณาการกับจีน เพราะพระองศ์ท่านไม่ประสงค์จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหมู่ประเทศที่ติดต่อ กับไทย อีกทั้งประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไทยได้รับไม่คุ้มกับการลงทุนเนื่องจากความไม่ ปลอดภัยในการเดินทาง อาจกล่าวได้ว่า พ.ศ. 2396 เป็นปีสุดท้ายของการส่งบรรณาการเพื่อการค้า นับเป็นการสิ้นสุดความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนในสมัยโบราณภายใต้ระบบ บรรณาการเพื่อการค้า
อ้างอิงจาก http://www.thaizhong.org/thaizhong/index.php/relathaichina-m/54-special-art1.html

1. ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง

ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้นได้แก่

1.1 เขมรหรือขอม

เขมรหรือขอมมีความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยามาเป็นเวลานาน ซึ่งความสัมพันธ์กันนั้นมีทั้งทำสงครามกันและเป็นมิตรไมตรีต่อกันซึ่งความสัมพันธ์ดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้

                    ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยาทางกรุงศรีอยุธยาทำสงครามชนะเหนือเขมรอย่างเด็ดขาด ซึ่งก่อนหน้านี้เคยขยายอำนาจไปยังเขมรหลายครั้งแต่ไม่สามารถยึดเขมรได้ การที่ทางกรุงศรีอยุธยาสามารถมีชัยชนะเหนือเขมรในครั้งนี้สามารถกวาดต้อนผู้คนและทรัพย์สินจากนครธรมเมืองหลวงของเขมรเป็นจำนวนมาก และทำให้เราได้รับอิทธิพลทางด้านราชาศัทพ์หรือแนวคิดเกี่ยวกับเทวราชา เป็นต้น

 

                     สำหรับการช่วยเหลือเขมรนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อใดเขมรมีปัญหาภายในประเทศจะมีผู้นำเขมรเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารกับอยุธยา เช่นในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ที่ทางอยุธยาให้การช่วยเหลือเขมรเป็นอย่างดีแต่เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาเกิดสงครามกับพม่าและเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในพ.ศ.2112 เขมรจะยกทัพมาตีเมืองชายแดนที่ติดกับเขมรและเมืองใกล้เคียงบ่อยครั้ง ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับทางกรุงศรีอยุธยาโดยเฉพะาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเป็นอันมาก ดังนั้นเมื่อเสร็จศึกกับพม่าในสงครามยุทธหัตถีแล้วจึงยกทัพไปตีเขมรในพ.ศ.2136 และสามารถยึดเมืองละแวกได้ แต่เจ้าเมืองคือพระยาละแวกคือนักพระสัฏฐา ได้หลบหนีไปอยู่เมืองลาวแต่ได้กลับมาปกครองเขมรอีกครั้งหนึ่งและในเวลา 10 ปี ต่อมาสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ยกทัพไปตีเขมรอีกและได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดและได้จับนักพระสัฏฐาน ประหารชีวิต เสียเมื่อสมเด็จพระนเรศวรสวรรคตเขมรก็แข็งเมืองขึ้นกัยอยุธยา อีกและได้ขอความช่วยเหลือจากญวนเพื่อคานอำนาจจากอยุธยา แต่ในตอนปลายสมัยอยุธยาผู้นำของเขมรมักเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารและไทยจะเข้าช่วยแก้ไขปัญหาภายในให้เขมรบ่อยครั้ง

1.2 ล้านนา

                  กรุงศรีอยุธยากับล้านนามีความสัมพันธ์กันในด้านการทำสงคราม โดยในระยะแรกนั้นเป็นการทำสงครามเพื่อขยายอำนาจที่จะครอบครองอาณาจักรสุโขทัย สำหรับสงครามระหว่างกรุงศรีอยุธยากับล้านนาที่นับว่าเป็นสงครามครั้งยิ่งใหญ่ คือสงครามที่เกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งอาณาจักรกรุงศรีอยุธยากับพระเจ้าติโลกราชแห่งล้านนาจากการทำสงครามกับล้านนาทำให้ทางกรุงศรีอยุธยาให้ความสำคัญกับหัวเมืองฝ่ายเหนือมากขึ้น เช่นการที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้เสด็จไปประทับที่เมืองพิษณุโลก เป็นต้น

                   อาณาจักรล้านนามักถูกคุกคามจากพม่าบ่อยครั้งและบางครั้งยังตกเป็นเมืองประเทศราชของพม่า เช่น ก่อนที่ไทยจะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 1 แก่พม่า แต่ครั้งในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงมีอำนาจก็ขยายอำนาจไปล้านนาและอาณาจักรล้านนาก็ยอมสวามิภักดิ์ต่ออยุธยา แต่ไม่นานล้านนาก็ถูกพม่ากลับมาปกครองอีกและได้เป็นอิสระตั้งแต่ปีพ.ศ.2270 จนกระทั่งในปีพ.ศ.2310 ที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าเป็นครั้งที่ 2 จึงทำให้อาณาจักรล้านนาต้องตกเป็นประเทศราชของพม่าด้วย

1.3 พม่า

                    ความสัมพันธ์ระหว่างไทยสมัยกรุงศรีอยุธยากับพม่านั้นส่วนใหญ่เป็นไปในลักษณะการทำสงครามซึ่งตลอดเวลาที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราช.ธานี 417 ปี ไทยได้ทำสงครามกับพม่า รวม   24 ครั้ง ส่วนใหญ่เป็นสงครามที่เกิดจากพม่ายกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา และในสงครามดังกล่าวนั้นทำให้ไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าถึง 2 ครั้งคือในพ.ศ. 2212 -2310

                     สำหรับสงครามครั้งแรกระหว่างไทยกับพม่าเรียกว่า สงครามเมืองเชียงกราน ซึ่งเกิดขึ้นในปีพ.ศ.2081 สมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชที่ทราบข่าวว่าได้มีกองทัพพม่ารุกล้ำเข้ามาในเขตแดนไทย โดยพระเจ้าตะเบ็งชะวเตี้ได้ยกยกองทัพปราบมอญและรุกล้ำเข้าแดนไทย ทางกรุงศรีอยุธยาโดยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้เสด็จยกทัพขับไล่กองทัพพม่าออกไปจากเขตแดนไทย

                     ในการทำสงครามระหว่างไทยกับพม่าในสมัยกรุงศรีอยุธยาจำนวน 24 ครั้ง มีเพียง 3 ครั้งที่ทางกรุงศรีอยุธยา เป็นฝ่ายยกทัพไปตีพม่าคือในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงยกทัพกองทัพไปตีกรุงหงสาวดี 2 ครั้งคือในพ.ศ.2138-2142 และอีกครั้งหนึ่งคือ ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในพ.ศ. 2207

1. สงครามพม่าตีเมืองเชียงกราน พ.ศ.2081

2. สงครามครั้งสมเด็จพระสุริโยทัยสิ้นพระชนม์บนคอช้าง พ.ศ. 2091

3. สงครามช้างเผือน พ.ศ. 2106

4. สงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 1 พ.ศ.2111 - 2112

5. สงครามประกาศอิสรภาพ พ.ศ.2127

6. สงครามคราวรบพระยาพะสิมที่เมืองสุพรรณ พ.ศ.2127

7. สงครามรบกับพระเจ้าเชี่ยงใหม่ที่บ้านสระเกศ พ.ศ.2128

8. สงครามครั้งที่พระเจ้าหงสาวดีล้อมกรุง พ.ศ.2129

9. สงครามครั้งพระมหาอุปราชยกมาครั้งแรก พ.ศ.2133

10. สงครามยุทธหัตถี พ.ศ.2135

11. ไทยตีเมืองทวาย - ตะนาวศรี พ.ศ.2135

12. สมเด็จพระนเรศวรตีเมืองมอญ พ.ศ. 2137

13. สมเด็จพระนเรศวรหงสาวดีครั้งที่ 1 พ.ศ. 2138

14. สมเด็จพระนเรศวรตีหงสาวดีครั้งที่ 2 พ.ศ.2142

15. สงครามครั้งสุดท้ายสมัยสมเด็จพระนเรศวร พ.ศ.2147

16. พม่าตีเมืองทวาย พ.ศ. 2156

17. พม่าตีเมืองเชี่ยงใหม่ พ.ศ.2157

18.พม่าตีเมืองทวาย พ.ศ. 2205

19. พม่าตีเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. 2205

20. พม่าตีเมืองไทรโยค พ.ศ.2206

21. ไทยตีพม่า พ.ศ. 2207

22. พม่าล้อมกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2302

23.พม่าตีหัวเมืองปักษ์ใต้ พ.ศ.2307

24. สงครามเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ.2310

1.4 หัวเมืองมลายู

                   เมืองมะละกาเป็นเมืองท่าที่สำคัญและเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทางกรุงศรีอยุธยาจึงได้ขยายอำนาจเข้าควบคุมดินแดนมะละกาและได้ส่งกองทัพไปตีเมืองมะละการวม 4 ครั้งดังนี้

1. ในพ.ศ.1951 สมัยสมเด็จพระรามราชาธิราช

2. ในพ.ศ.1962 สมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2

3. ในพ.ศ. 1974 สมัยเจ้าสามพระยา

4. ในพ.ศ.1998 สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

                    ในการตีเมืองมะละกาถึง 4 ครั้งนี้ทางกรุงศรีอยุธยาไม่สามารถมีอำนาจเหนือมะละกาอย่างถาวรเพราะกรุงศรีอยุธยาอยู่ห่างไกลจากมะละกาเกินไป ประกบอกับในระยะหลังได้มีโปรตุเกสเดินทางเข้ามาแสวงหาอำนาจในมะละกาเพื่อการค้าและเผยแพร่คริสต์ศาสนาด้วยการส่งกองเรือมาโจมตีมะละกาในพ.ศ.2054 เป็นเหตุให้กรุงศรีอยุธยาหมดอำนาจในมะละกา

                       สำหรับหัวเมืองไทรบุรี กลันตัน และตรังกานู ซึ่งเป็นประเทศราชของไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาแต่ให้อยู่ในความควบคุมดูแลของเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าในพ.ศ.2310 หัวเมืองเหล่านั้นได้ตั้งตัวเป็นอิสระตลอดสมัยธนบรี

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์คือในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชหัวเมืองมลายูเหล่านั้นกลับมาอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของไทยอีกครั้งหนึ่ง แต่ในตลอดปลายสมัยรัชสมัยที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์หัวเมืองมลายู ทั้ง 4 เมืองคือกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส ต้องตกเป็นอังกฤษ

2. ความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเซีย

                       ในสมัยกรุงศรีอยุธยานอกจากจะมีความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงแล้วกรุงศรีอยุธยายังมีความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ในทวีปเอเซียหลายประเทศโดยมีประเทศสำคัญได้แก่

2.1 จีน

              ประเทศไทยกับจีนมีความสัมพันธ์กันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยทั้งด้านการฑูตและด้านการค้า ครั้งเมื่อในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระเจ้าหงหวู่หรือหงอู่ (หรือจูหยวงจาง) ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์หมิงขึ้นปกครองจีนได้ทรงส่งทูตไปยังอาณาจักรต่างๆ รวมทั้งกรุงศรีอยุธยาด้วยโดยในพ.ศ.1913 ได้ทรงส่งราชทูตอัญเชิญพระบรมราชโองการมายังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งตรงกับสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) ในปีต่อมา คือพ.ศ. 1914 ทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะราชฑูตไทยได้อัญเชิญพระราชสาสน์และบรรณาการไปถวาย ซึ่งนับได้ว่าเป็นความสัมพันธ์ทางการฑูตครั้งแรกระหว่างกรุงศรีอยุธยากับจีน

            หลังจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนเป็นไปด้วยความราบรื่นปรากฏว่าไทยได้ส่งทูตไปเมืองจีนเป็นประจำทุกปีและบางปีมากกว่าหนึ่งครั้งคือ ระหว่าง 1914 - 2054 ทางอยุธยาส่งทูตไปเมืองจีนถึง 89 ครั้งเป็นต้น การที่ไทยได้ส่งคณะฑูตบรรณาการไปจีนบ่อยครั้งนั้นผลที่ได้คือเราได้สิทธิพิเศษทางการค้ากับจีนเพราะคณะฑูตนั้นจะนำสินค้าจากอยุธยามาขายที่จีนด้วยและตอนขากลับก็จะนำสินค้าจากจีนไปขายที่อยุธยาด้วย

           ในการติดต่อค้าขายระหว่างอยุธยากับจีนนั้นต่างก็มีความต้องการสินค้าของกันและกันสินค้าที่ไทยต้องการจากจีน ได้แก่ ผ้าไหม ผ้าแพร เครื่องกระเบื้อง เป็นต้น ส่วนสินค้าที่จีนต้องการจากไทย เช่นเครื่องเทศ รังนก ข้าวพริกไทย ต่อมาชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยามีสินค้าบางอย่างที่จีนซื้อสินค้าของชาติตะวันตกจากอยุธยาไปด้วย เช่นเครื่องแก้ว เครื่องหอม พรม เป็นต้น

2.2 ญี่ปุ่น

         ชาวญี่ปุ่นได้เข้ามาตั้งบ้านเรือนและเข้ามาทำมาหากินอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาตั้งแต่ พ.ศ.2083 ซึ่งตรงกับปลายรัชกาลของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และชาวญี่ปุ่นได้อาสาสมัครในครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกองทัพไปรบกับพม่าในสงครามยุทธหัตถีในพ.ศ.2135

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเริ่มอย่างป็นทางการในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ( พ.ศ.2148 -2153 ) กับโชกุนโตกุงาวะ อิเอยาสุ

           ในพ.ศ.2149 ญี่ปุ่นได้ส่งสาสน์มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับสมเด็จพระเอกาทศรถพร้อมด้วยดาบ เสื้อเกราะเป็นเครื่องราชบรรณาการและในขณะเดียวกันได้ทูลขอปืนใหญ่และไม้หอมจากไทย สมเด็จพระเอกาทศรถจึงส่งสาสน์ตอบไปญี่ปุ่นเป็นการตอบแทน ซึ่งนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

            ความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเจริญสูงสุดในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ.2153 - 2171 ) เพราะในสมัยนี้ทางการกรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะฑูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่ถึง 4 ครั้งคือใน พ.ศ.2159, 2164, 2166, 2168

ส่วนความสัมพันธ์ทางด้านการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งนับว่ามีความสำคัญมากนั้น โดยที่ญี่ปุ่นต้องการสินค้าจากไทย คือ ข้าว ดีบุก น้ำตาล ไม้ หนังกวาง สินค้าที่ไทยต้องการจากญี่ปุ่น คือทองแดง เงินเหรียญ ของญี่ปุ่น ฉากลับแล เป็นต้น ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยานอกจากเป็นทหารอาสาแล้วมีชาวญี่ปุ่นบางคนเข้ารับราชการในอยุธยาในตำแหน่งที่สูงคือ ยามาดา นางามาซา ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกญาเสนาภิมุข

          ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นหลังจากสิ้นสุดสมัยพระเจ้าทรงธรรมแล้วเริ่มเสื่อมลง เช่นในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองส่งคณะฑูตไปญี่ปุ่น 5 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการต้อนรบจากญี่ปุ่น เพระาญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และปิดประเทศตั้งแต่ พ.ศ.2182 ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นสิ้นสุดลง

2.3 อิหร่าน

         ชาวอิหร่านหรือชาวอาหรับได้เข้ามาติดต่อค้าขายกับอยุธยาและเข้ารับราชการในราชสำนักไทยตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เช่นเฉกอะหมัด หรือต่อมาเป็นต้นตระกูลบุนนาค ความสัมพันธ์ระหว่างอยุธยากับอิหร่านนั้นไทยได้ส่งฑูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาแต่ไม่ค่อยราบรื่นนักเพราะถูกออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนตินฟอลคอน) กีดกัน

2.4 ลังกา

          ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีความสัมพันธ์กับลังกาเพราะทางลังกาได้ส่งฑูคมาขอพระสงฆ์จากไทยเพื่อไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในลังกาสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทางลังกาจึงเรียกพระสงฆ์ที่ไปปฏิบัติพระธรรมที่ลังกาว่าลัทธิสยามวงศ์

3. ความสัมพันธ์กับประเทศในทวีปยุโรป

               ชาวยุโรปหรือชาวตะวันตกได้เข้ามาติดต่อกกับกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่กลางพุทธศตวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ คือต้องการเครื่องเทศ พริกไทย และในขณะเดียวกันเพื่อต้องการเผยแพร่คริสต์ศาสนาด้วยโดยประเทศต่างๆ ที่เข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาได้แก่

1. ประเทศโปรตุเกส เข้ามา พ.ศ.2054 ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2

2. ประเทศสเปนเข้ามาในพ.ศ.2141 ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

3. ประเทศฮอลันดาเข้ามา พ.ศ.2147 ในสมัยตอนปลายของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

4. ประเทศอังกฤษ เข้ามาในพ.ศ.2155 สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

5.ประเทศเดนมาร์ก เข้ามาในพ.ศ.2164 สมัยตอนปลายสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม

6. ประเทศฝรั่งเศสเข้ามาในพ.ศ.2205 สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

3.1 โปรตุเกส

        โปรตุเกสเป็นชาวตะวันตกชาติแรกที่เดินทางเข้ามาติดต่อกับกรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.2504 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ด้วยการส่งฑูตชื่อดอาร์เต้ เฟอร์นันเดส มาเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับกรุงศรีอยุธยาส่วนทางกรุงศรีอยุธยาได้ส่งทูตไปมะละกาและพระราชสาสน์ไปถวายกษัตริย์ของโปรตุเกส

ต่อมาในพ.ศ.2059 ไทยกับโปรตุเกสได้ทำสนธิสัญญาสัมพันธไมตรี และการค้าต่อกัน โดยให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาทำการค้าและเผยแผ่ศาสนาคริสต์ในกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองต่างๆของไทย เช่นมะริด ตะนาวศรี ปัตตานี และนครศรีธรรมราช เป็นต้น สำหรับสินค้าของโปรตุเกสที่ทางกรุงศรีอยุธยามีความสนใจมากเป็นพิเศษคือปืนไฟ กระสุนปืน และดินปืน และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สนพระทัยในอาวุธและยุทธวิธีของโปรตุเกสมากจนสามารถแต่งตำราพิชัยสงครามได้ ได้เชิญชาวโปรตุเกสเข้ามาเป็นทหารอาสาในไทยและช่วยไทยรบกับพม่าที่เมืองเชียงกราน จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชได้โปรด ฯ ให้ชาวโปรตุเกสสามารถตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงศรีอยุธยาได้เรียกว่า "หมู่บ้านโปรตุเกส " ตลอดทั้งได้พระราชทานที่ดินเพื่อให้สร้างโบสถ์ในคริสต์ศาสนาด้วย

         ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกรุงศรีอยุธยากับโปรตุเกสเริ่มเสื่อมลงเมื่อตะวันตกชาติอื่นได้เข้ามายังดินแดนแถบนี้ เช่นฮอลันดา ซึ่งเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญของโปรตุเกสและทางกรุงศรีอยุธยาก็ยินดีติดต่อการค้าด้วยจนกระทั่งหลังสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมอำนาจของโปรตุเกสก็ลดบทบาทสำคัญจนไม่มีความสำคัญในที่สุด

3.2 ฮอลันดา

         ฮอลันดาปัจจุบันคือประเทศเนเธอร์แลนด์เข้ามาติดต่อกับอาณาจักรอยุธยาในสมัยตอนปลายรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชซึ่งหลังโปรตุเกสประมาณเกือ บหนึ่งศตวรรษ การเข้ามาติดต่อของฮอลันดานั้นจะแตกต่างกับโปรตุเกสคือฮอลันดา นั้นสนใจเฉพาะด้านการค้าโดยไม่ได้สนใจในเรื่องการเผยแผ่คริสต์ศาสนาสำหรับสินค้าที่ชาวฮอลันดาต้องการจากอยุธยามากเช่น เครื่องเทศ พริกไทย หนังกวาง และช้าว ฯลฯ ตลอดสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้นไทยกับฮอลันดามีความผูกพันธ์กับเป็นอย่างดี

        ในสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเอกาทศรถได้ส่งราชฑูตไปฮอลันดาเพื่อเจรจาด้านการค้าและดูแลศึกษาความเจริญของฮอลันดา ในพ.ศ.2150 และได้เข้าเฝ้ากษัตริย์แห่งฮอลันดาครั้งตอนขากลับทางกษัตริย์ฮอลันดาได้ฝากปืนใหญ่และอาวุธอื่นๆ มาถวายแด่สมเด็จพระเอกาทศรถด้วยความสัมพันธ์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับฮอลันดาเป็นไปด้วยดี จะกระทั่งในพ.ศ.2176 ฮอลันดาได้ตั้งสถานีการค้าขึ้นในกรุงศรีอยุธยาในระยะแรกการค้าระหว่างไทยกับฮอลันดาเป็นไปด้วยดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางไทยให้สิทธิพิเศษแก่พ่อค้าฮอลันดาในการผูกขาดการค้าหนังสัตว์จากไทย

        ต่อมาในสมัยพระเจ้าปราสาททองความผูกพันธ์ที่มีต่อกันเริ่มมีปัญหาเนื่องจากฮอลันดาไม่ช่วยไทยปราบกบฏ และทำให้พระเจ้าปราสาททองต้องเข้มงวดกับฮอลันดามากขึ้น ทั้งนี้เพื่อจะให้ไทยค้าขายอย่างอิสระแต่ฮอลันดาพยายามจะผูกขาดการค้ากระทั่งฮอลันดาต้องใช้กำลังกองทัพเรือมาบีบบังคับไทยเกี่ยวกับการค้าความบาดหมางใจกันระหว่างไทยกับฮอลันดามีขึ้นอย่างรุนแรงในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทางฮอลันดาได้ส่งเรือรบมาปิดอ่าวไทย และเรียกร้องสิทธิพิเศษต่างๆ จากไทยมากมาย เช่นฮอลันดามีสิทธิในการค้าขายที่นครศรีธรรมราช ถลาง และหัวเมืองอื่นๆ รวมทั้งสิทธิพิเศษในการพิจารณาพิพากษาคดึคือ ชาวฮอลันดากระทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลไทย เป็นต้น จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฮอลันดาทำให้ไทยต้องสูญเสียผลประโยชน์ต่างๆ เป็นจำนวนมากแต่ก็ทำให้เราสามารถรักษาความเป็นเอกราชไว้ได้

        ต่อมาในสมัยพระเจ้าทรงธรรมฮอลันดาเกิดมีปัญหากับอังกฤษเกี่ยวกับเรื่องการค้า จนทำให้ทั้งสองประเทศได้มีการรบพุ่งกันขึ้นทางเรือ ผลปรากฏว่าฝ่ายอังกฤษเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และได้เลิกติดต่อค้าขายกับอยุธยาแต่อิทธิพลของฮอลันดาเริ่มเสื่อมลงในตอนกลางสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะทางกรุงศรีอยุธยาได้ติดต่อกับอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อเป็นการคานอำนาจฮอลันดา จนกระทั่งสมัยพระเพทราชาได้ขับไล่ฝรั่งเศสออกไปและมีการติดต่อค้าขายและมีความสัมพันธ์กับอยุธยาจนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 แก่พม่าใน พ.ศ.2112

3.3 อังกฤษ

        อังกฤษเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการค้าและสินค้าที่อังกฤษนำเข้ามาขายในกรุงศรีอยุธยาและหัวเมือง คือผ้าชนิดต่าง ๆ โดยในพ.ศ.2155 ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมทางอังกฤษได้ส่งทูตเข้ามาและทางอยุธยาให้การต้อนรับอย่างดีพร้อมกับให้ตั้งสถานีการค้าและบ้านเรือนในกรุงศรีอยุธยาได้แต่การค้าของอังกฤษตลอดระยะเวลานั้นไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรจึงถอนตัวออกจากกรุงศรีอยุธยา ประกอบกับในระยะหลัง ๆมีความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงถึงกับมีการสู้รบกันที่เมืองมะริดทำให้ความสัมพันธ์ไมตรีที่ดีกับอังกฤษต้องสิ้นสุดลงในพ.ศ.2230

         สำหรับชาวฝรั่งเศสที่เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาชุดแรกคือกลุ่มของสังฆราชเบริต ชื่อเเดอลาบ๊อตลัมแปต์กับบาดหลวงอีก 2 องค์ โดยมีความประสงค์สำคัญของคณะนี้ คือต้องการที่จะใช้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่คริสต์ศาสนา และได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ได้รับการต้อนรับพระนารายณ์อย่างดี จนกระทั่งในพ.ศ.2233 ฝรั่งเศสได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าในกรุงศรีอยุธยา และเพื่อต้องการเป็นมิตรกับฝรั่งเศสสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจึงทรงส่งฑูตไปฝรั่งเศสในปีพ.ศ.2223แ ต่ไปไม่ถึงเพราะเรืออับปางเสียก่อน อีกสามปีต่อมาสมเด็จพระนารายณ์ได้ส่งฑูตไปอีกคือ ขุนพิชัยวาทิตและขุนพิชิตไมตรี ซึ่งได้รับการต้อนรับจากฝรั่งเศสเป็นอย่างดี เมื่อเดินทางกลับทางฝรั่งเศสได้ส่งเชอวาเลีย เดอโชมองต์ เป็นฑูตมาเป็นการต้อนรับจากฝรั่งเศสเป็นอย่างดี เมื่อเดินทางกลับทางฝรั่งเศสได้ส่งเชอวาเลีย เดอโชมองต์ เป็นฑูตมาเป็นการตอบแทนและเป็นการส่งเสริมให้ศาสนาคริสต์แพร่หลายมากขึ้นถึงกับเข้าเฝ้าและทูตให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเปลี่ยนศาสนา

       ในพ.ศ.2228 ฝรั่งเศสได้ส่งคณะฑูตมายังกรุงศรีอยุธยาอีก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงให้การต้อนรับอย่างดีโดยให้ออกญาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน ) เป็นผู้แสดงบทบาทสำคัญในการที่จะให้ฝรั่งเศสเผยแพร่ศาสนาคริสต์และขยายการค้าซึ่งเป็นที่พอใจของฝรั่งเศสเป็นอย่างยิ่ง แต่การที่ทูลให้สมเด็จพระนารรายณ์มหาราชเปลี่ยนศาสนานั้นไม่เป็นผลสำเร็จ

       ต่อมาในพ.ศ.2229 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้ส่งฑูตไทยซึ่งมีออกพระวิสุทธสุนทร(โกษาปาน) เป็นหัวหน้าคณะฑูตไทยไปฝรั่งเศสพร้อมกับการกลับไปของคณะฑูตเดอโชมองต์ได้พำนักอยู่ในฝรั่งเศสนาน 8 เดือน และได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่พระราชวังแวร์ซายส์ตลอดทั้งได้ศึกษาถึงความเจริญในด้านต่างๆ ของฝรั่งเศสและเมื่อคณะฑูตไทยกับฝรั่งเศสได้ส่งทหารจำนวนถึง 636 คนพร้อมฑูตที่มีเดอลาบูแบร์เป็นหัวหน้าคณะและในการมาครั้งนี้จะเห็นว่าฝรั่งเศสเริ่มเข้ามามีอำนาจในกรุงศรีอยุธยาด้วยการสนับสนุนของออกญาวิไชเยนทร์

       ใน พ.ศ.2231 ฑูตฝรั่งเศสได้เดินทางกลับโดยมีขุนนางผู้น้อยกลุ่มหนึ่งของไทยเดนิทางไปด้วย แต่กองทหารฝรั่งเศสยังอยู่ในไทยบริเวณเมืองบางกอก และเมืองมะริด ซึ่งพฤติกรรมดังกล่างของทหารฝรั่งเศสและออกญาวิไชเยนทร์เป็นสิ่งที่ขุนนางไทยไม่พอใจจึงได้ต่อต้านฝรั่งเศสและกำจัดออกญาวิไชเยนทร์

ในการติดต่อกับฝรั่งเศสทำให้ไทยเราได้นำความเจริญในด้านต่างๆ เข้ามาหลายด้านเช่น

ด้านวิทยาศาส ตร์

ได้เรียนรู้การแพทย์สมัยใหม่และสร้างหอดูดาวที่พระราชวังจันทรเกษมพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

ด้านการทหาร

มีการสร้างป้อมแบบตะวันตก

ด้านการศึกษา

ตั้งโรงเรียนที่กรุงศรีอยุธยาของบาดหลวง และได้ส่งนักเรียนไปทยเไปเรียนที่ฝรั่งเศส

้ด้านสถาปัตยกรรม

มีการสร้างพระราชวังแบบไทยผสมฝรั่งเศสที่ลพบุรี

       ความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในระยะหลังไม่ค่อยราบรื่น และมีการสู้รบกันขึ้นระหว่างคนไทยกับทหารฝรั่งเศสและเป็นระยะเวลาที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสวรรคตในพ.ศ.2231 สมเด็จพระเพทราชาข้นครองราชย์ และขับไล่ทหารฝรั่งเศสได้สำเร็จทำให้ความสัมพันธ์ไมตรีของทั้งสองประเทศเสื่อมลงเป็นลำดับ

อ้างอิงจาก http://www.trimitschool.com/education/Social/pen1/a4.html


   
 
   
 
 
...........................................
 
..........

 

 

เว็บนี้ดีมีประโยชน์มากเลยค่ะ

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 542 คน กำลังออนไลน์