user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('บล็อกของ sirinatt', 'blog/17356', '', '3.140.196.244', 0, 'ee02c74102875a43fe786d1c5a32875e', 503, 1728257130) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

นโยบายต่างประเทศของรัฐบาลปัจจุบัน

นโยบายต่างประเทศไทยในมุมมองของคนไทยนโยบายต่างประเทศ (Foreign Policy) คือ แผนการดำเนินการในกิจการระหว่างประเทศซึ่งผู้กำหนดนโยบายในคณะรัฐบาลเป็นผู้จัดทำขึ้น ในประเทศที่มีรัฐบาลประชาธิปไตยในรูปรัฐสภาผู้ที่จะชี้ขาดเรื่องนโยบายต่างประเทศได้แก่คณะรัฐมนตรี รัฐบาลประชาธิปไตยในรูปประธานาธิบดีตัวประธานาธิบดีเองซึ่งโดยปกติแล้วจะได้รับคำแนะนำจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและบุคคลชั้นผู้นำของฝ่ายนิติบัญญัติ ตราบัวแก้วของกระทรวงต่างประเทศเป็นรูปเทวดานั่งอยู่กลางดอกบัวน่าจะหมายถึงความมีปัญญาหาเหตุผลได้ มือหนึ่งของเทวดาถือดอกบัวหมายความว่าปัญญาทำให้เกิดสันติภาพ อีกมือหนึ่งถือวชิระ Satow (ซาเทา) กล่าวว่า การทูตคือการนำเอาสติปัญญา (Intelligence) และปฏิภาณ (Tact) ออกใช้ในการเจรจาเป็นทางการระหว่างรัฐบาลของรัฐเอกราชด้วยกัน หรือหากจะกล่าวโดยสรุปก็หมายถึงการที่รัฐต่อรัฐยกเอาเรื่องต่าง ๆ ขึ้นเจรจากันอย่างเอาจริงเอาจังโดยสันติวิธี หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ระงับปัญหาระหว่างประเทศโดยการประชุมโต๊ะกลม (Round Table Conference) เรียกว่าการทูตโดยการประชุม (Diplomacy by Conference) คำศัพท์ที่น่าสนใจและนำมาใช้ในการทูต-Cool ใจเย็น สุขุม (ภาษาวัยรุ่นแปลว่าเจ๋ง)-Calm สงบ -Careful ระมัดระวัง รอบคอบ (อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา) -Calculative คำนวณคาดคะเนเป็น -Communicative สามารถติดต่อสื่อสารให้เกิดความเข้าใจได้ การทูตทั้งหลายเป็นไปเพื่อ-Comparative Advantage (ศตวรรษที่ 17 19) การได้ประโยชน์โดยเปรียบเทียบ ใครได้ประโยชน์ในสิ่งใดก็ให้ทำในสิ่งนั้นแล้วค่อยนำมาแลกเปลี่ยนกัน -Competitive Advantage (ศตวรรษที่ 21) ทำในสิ่งที่ตนเองถนัดได้ประโยชน์และต้องแข่งขันได้ด้วย -Cooperative Advantage อาจารย์มองว่าการจะได้ประโยชน์ต้องผสมผสานระหว่างแบบที่ 1 และแบบที่ 2 -Commercial การพาณิชย์ (คำนวณ Cost Benefit ได้) ความอยู่ดีกินดี-Cultural มีเป้าหมายที่ความอยู่ดีมีสุข สิ่งที่ดีงามทั้งหลาย ส่วนสิ่งที่ไม่ดีก็ไม่ต้องไปอบรมสั่งสอน (Culture แปลว่า การปลูกฝัง แต่เรามาแปลว่าวัฒนธรรมซึ่งเป็นคำที่ใส่ค่านิยมลงไปว่าวัฒนธรรมต้องดี) การทูตปัจจุบันมีหลายวิธีคือ1. Traditional / Normal Diplomacy การทูตแบบดั้งเดิมหรือการทูตแบบปกติ มีความสัมพันธ์กันระหว่างรัฐกับรัฐ  2. Conference Diplomacy การทูตแบบการประชุม มีเป้าหมายชัดเจน3. Personal Diplomacy การทูตแบบส่วนตัว พบปะกันนอกรอบ 4. Summit Diplomacy การทูตระดับผู้นำ 5. Parliamentary Diplomacy การทูตแบบรัฐสภา มักใช้ในที่ประชุมระหว่างประเทศอย่างสหประชาชาติ อาเซียน EU 6. Diplomacy by Ballot7. Diplomacy by News Conference การทูตโดยการแถลงข่าว พบปะทั้งนักข่าวต่างประเทศและในประเทศเพื่อแถลงจุดยืน นโยบาย สร้างทัศนคติที่ดีงามทำให้เกิดความประทับใจ 8. Diplomacy of the People การทูตเพื่อประชาชน ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายต่างประเทศ เช่น NGOs เข้ามาคัดค้านการประชุม WTO นโยบายต่างประเทศมี 2 มิติคือ1. นโยบายต่างประเทศและการทูต เป็นยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นแผนที่มีเป้าหมายและวิธีการปฏิบัติ ผลจากการตัดสินกำหนดจากสังคมชุมชนที่ปัจจุบันเรียกว่าชาติรัฐซึ่งล้วนแล้วแต่มีความต้องการที่จะดำรงอยู่และพัฒนาต่อไป 2. โครงสร้างสถาบัน เป็นกลไก กระบวนการกำหนดนโยบายต่างประเทศที่เป็นรูปธรรมของระบบ ระบอบ และสถาบันการเมือง บทบาทของสถาบัน ตัวแปร และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ประวัติศาสตร์การทูตของไทย ก่อนสมัยสุโขทัยคนไทยในแถบนี้ได้รวมตัวกันเป็นชุมชนแล้วแต่แยกกันอยู่ในแต่ละภูมิภาค เช่น อาณาจักรศรีวิชัย ตามพรลิงค์ หริภุญชัย ศรีโคตรบูรณ์ ฯลฯ ไม่ได้รวมกันเป็นอาณาจักรเดียว (คนไทยมีหลายเผ่าอาศัยอยู่กระจัดกระจายในดินแดนสุวรรณภูมิมานานแล้ว ส่วนใหญ่ปลูกบ้านเรือนอยู่ใกล้แม่น้ำ กินข้าวกับปลา จะทำบุญอะไรมักแห่กล้วยแห่อ้อยซึ่งเป็นส่วนผสมสำคัญในการประกอบอาหาร ปลูกบ้านเป็นเรือนใหญ่ใต้ถุนสูงป้องกันน้ำท่วม หลังคาสูงเพื่อระบายความร้อน แต่คนไทยปัจจุบันเอาค่านิยมฝรั่งมาในการปลูกบ้านชั้นเดียวติดดินเพื่อให้ได้ความอบอุ่น ขุนนางนิยมสร้างปราสาทบนเนินเขาไม่นิยมอยู่ใกล้แม่น้ำที่อากาศเย็นและน้ำจะท่วม) การที่คนไทยอยู่กระจัดกระจายชี้ให้เห็นว่าการติดต่อกับต่างประเทศนั้นมีมานานแล้ว ถึงสมัยสุโขทัยถือเป็นอาณาจักรที่มีการรวบรวมผู้คนไว้เป็นปึกแผ่นปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเด็ดขาดมีเพียงคนเดียวคือหัวหน้าผู้ปกครองเรียกว่า พ่อขุน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชถือเป็นกษัตริย์ผู้เชี่ยวชาญทางการทูตทรงเป็นทั้งนักการทูตและนักการค้าโดยใช้เศรษฐกิจการค้านำหน้า สุโขทัยรับเทคโนโลยีการทำเครื่องปั้นดินเผามาจากจีนจนกลายเป็น Production House ในการผลิตถ้วยชามสังคโลกส่งไปขายญี่ปุ่นจนญี่ปุ่นยึดเป็นต้นแบบ ส่วนฝรั่งเรียกว่าเครื่องปั้นดินเผามะตะบันเพราะต้องส่งไปลงเรือที่อ่าวเมาะตะมะ (ตอนนั้นอาณาจักรมอญมีสัมพันธไมตรีที่ดีกับสุโขทัย) สมัยกรุงศรีอยุธยามีการจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่รองรับการติดต่อกับต่างประเทศเปรียบเสมือนทนายหน้าหอเรียกว่ากรมพระคลัง (การติดต่อแต่ละครั้งได้เงินเข้าคลัง) จนเมื่อการค้ารุ่งเรืองมากกรมพระคลังรับไม่ไหวต้องแบ่งงานออกเป็นกรมท่า (Port of Authority) กรมท่าซ้ายติดต่อกับตะวันออก กรมท่าขวาติดต่อกับตะวันตก แผนการติดต่อกับต่างประเทศอยู่ในมือพระมหากษัตริย์ ผู้ปฏิบัติในระดับสูงต้อง Outsourcing เอาคนต่างด้าวเข้ามาทำ เช่น เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (ชาวกรีก) ออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะชาวญี่ปุ่น) กิจกรรมที่ต้องติดต่อกับต่างประเทศในยามสงบที่เด่นชัดที่สุดคือการค้าขาย ต่างชาติที่เข้ามาติดต่อกรุงศรีอยุธยาเป็นชาติแรกคือโปรตุเกส ชาวโปรตุเกสได้รับพระราชทานที่ดินให้อยู่อาศัยทำมาหากินเป็นหมู่บ้านโปรตุเกสมีหลักฐานปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้ ในสมัยอาณานิคมประเทศไทยรอดพ้นมาได้เพราะพระปรีชาสามารถด้านการต่างประเทศของพระมหากษัตริย์ไทย พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยอมรับในพระปรีชาสามารถของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชในขณะที่ประเทศอื่น ๆ รอบบ้านเราไม่ได้รับการยอมรับจากตะวันตกจึงถูกยึดเป็นอาณานิคมทั้งสิ้น แต่ไทยได้รับการยอมรับมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาแล้ว ส่วนการที่ไทยเสียกรุงครั้งที่สองให้พม่าแล้วไม่ถูกตะวันตกล่าเป็นอาณานิคม เพราะตอนนั้นฝรั่งเศสกำลังวุ่นวายอยู่กับสงครามนโปเลียน อังกฤษต้องวุ่นวายอยู่กับการคอยหย่าศึกให้ฝรั่งเศสแถมอาณานิคมของตนเองในอเมริกาก็ฮึ่ม ๆ จะประกาศเอกราช ทั้งอังกฤษกับฝรั่งเศสจึงไม่ได้เข้ามายุ่งเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยาและกรุงธนบุรี สมัยรัชกาลที่ 5 กรมท่าเปลี่ยนเป็นกระทรวงการต่างประเทศ มีกรมพระยาเทววงศ์วโรปการเป็นบิดาแห่งการทูตไทย แต่เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศคนแรกคือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ช่วง บุนนาค สืบเชื้อสายมาจากจุฬาราชมนตรีผู้มีเชื้อสายเปอร์เซีย) สรุป ในสมัยสุโขทัยและอยุธยานโยบายต่างประเทศไทยให้ความสำคัญกับการค้าต่างประเทศเป็นหลักโดยเฉพาะประเทศที่ห่างไกล ส่วนประเทศใกล้ ๆ ไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนักเพราะมีสินค้าเหมือน ๆ กัน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นไทยต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดมากกว่าจะแสวงหาความมั่งคั่ง สมัยล่าอาณานิคมและสงครามโลกทั้งสองครั้งไทยต้องใช้การทูตเพื่อสร้างความอยู่รอดมากกว่าความมั่งคั่งเช่นกัน เช่น รัชกาลที่ 5 ต้องประพาสยุโรป หลังยุคสงครามเย็นถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ที่ไทยต้องใช้การทูตเพื่อการค้าและการพัฒนานำหน้าอีกครั้ง ลอร์ด แอ๊กตัน (Lord Acton) กล่าวว่า ไม่มีมิตรและศัตรูที่ถาวรในการเมือง (ระหว่างประเทศ) ผลประโยชน์ (แห่งชาติ) เท่านั้นที่กำหนด ถึงยุคโลกาภิวัตน์นโยบายต่างประเทศไทยคือการติดต่อสื่อสารระหว่างชุมชนชาติรัฐในโลกและระหว่างประเทศ ระหว่างประชาชน เพื่อ 3Ps คือ-Peace การทูตเพื่อสันติ-Prosperity การทูตเพื่อความมั่งคั่ง-People การทูตเพื่อประชาชนการทูตในยุคโลกาภิวัตน์ต้อง Think Globally Act Locally รู้จักคิดระดับสากลเป็นกบนอกกะลา ทำนโยบายแบบข้ามภูมิภาค รู้เขารู้เรามากขึ้น ในมุมมองของอาจารย์ถ้าจะต้องเสนอทิศทางของนโยบายต่างประเทศไทยในศตวรรษที่ 21 จะต้องคำนึงถึง1. ทิศทางของโลก (Global Direction) 2. ทิศทางของภูมิภาค (Regional Direction) 3. ทิศทางข้ามภูมิภาค (Trans – regional Direction)4. ทิศทางของชุมชน (Local / Communal Direction) 5. ทิศทางของประชาชน (People Direction) ดูว่าประชาชนของเราต้องการอะไร อยากไปทางไหน อับราฮัม ลินคอล์นบอกว่าประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน เพราะฉะนั้นการทูตแบบประชาธิปไตยก็ต้องเป็นการทูตของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนด้วยเช่นกัน หมายความว่าทุกคนต้องมีส่วนได้ส่วนเสีย ทำเท่าที่เราจะทำได้ ไม่ต้องไปสมัครงานกระทรวงต่างประเทศหรือไปถือป้ายประท้วงกันทุกคน เช่น คนเป็นพ่อค้าทำการค้าอย่างสุจริตไม่ขี้โกง ไม่ส่งสินค้าปลอมปนไปต่างประเทศ แค่นี้พ่อค้าก็เป็นนักการทูตที่ช่วยสร้าง Good Will ความน่าเชื่อถือให้กับประเทศไทยได้ ในฐานะประเทศเล็ก ๆ การทูตของไทยจะเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ เป็นวิถีแห่งสันติระหว่างประเทศและประชาชนเพื่อความมั่งคั่งและมั่นคง เปรียบเทียบความรุ่งเรืองทางการทูตของไทยกับความเจริญของตะวันตก-ค.ศ. 1279 1298 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเปิดการค้าเสรีมาตั้งนานแล้วในขณะที่อดัม สมิธเพิ่งจะเขียนหนังสือเรื่องความมั่งคั่งของชาติอันเกิดจากการค้าในระบบทุนนิยม ใน ค.ศ. 1776 เป็นปีเดียวกับที่สหรัฐฯ ประกาศอิสรภาพและถือเรื่องนี้เป็นคัมภีร์ตลอดมา -ค.ศ. 1445 1455 สมัยพระบรมไตรโลกนาถ กรุงศรีอยุธยาทำสัญญาให้โปรตุเกสเข้ามาค้าขายใน ค.ศ. 1516 (โปรตุเกสขายปืนให้ไทย) โคลัมบัสเพิ่งจะเจอทวีปอเมริกาช่วง ค.ศ. 1492 1496 -ค.ศ. 1590 1605 สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ใกล้เคียงกับสมัยของกาลิเลโอ ค.ศ. 1564 1642 -ค.ศ. 1656 - ..... (ดูในหนังสือ) สมัยสมเด็จพระนารายณ์ ใกล้เคียงกับสมัยของลีโอนาโด ดาวินชี ค.ศ. 1452 1519 สมเด็จพระนารายณ์ถือเป็น Modernized King ส่งเจ้าพระยาโกษาปานไปฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1685  ทิศทางของไทย 5 ทิศทาง1. นโยบายและแผนกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต้องเชื่อมโยงกับนโยบายต่างประเทศ รัฐบาลทักษิณเรียกว่า Dual Track Policy ต้องคำนึงถึงปัจจัยภายในประเทศเท่ากับปัจจัยภายนอกประเทศ 2. ภารกิจหลักของกระทรวงต่างประเทศคือการเจรจา การเป็นตัวแทน กฎหมาย การเมือง ความมั่นคง ภาพลักษณ์ของประเทศ ส่วนภารกิจอื่น ๆ คือภารกิจเฉพาะด้าน ได้แก่ การค้า การเกษตร สิ่งแวดล้อม วิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภารกิจรองอาจจะมีบทเด่นมากกว่าภารกิจหลักในบางครั้ง 3. การกำหนดนโยบายในยุคโลกภิวัตน์ต้องขึ้นอยู่กับกระบวนทัศน์ (Paradigm) และแนวทาง (Approach) ใหม่ ๆ ความคิดริเริ่มและนวัตกรรมในประเด็นใหม่ กระทรวงการต่างประเทศต้องประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ อย่างเป็นระบบและเข้าถึงประชาชนในระดับรากหญ้า ต้องมีการสัญจรเพื่อรับข้อมูลข่าวสารจากประชาชนและชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบด้วย อย่าง OTOP จะกระจายไปได้อย่างไรถ้ากระทรวงต่างประเทศไม่ช่วย 4. นโยบาย กลยุทธ์พัฒนาขีดความสามารถแสวงหาแนวร่วมพันธมิตรในประชาคมโลก 5. ร่วมมือในภูมิภาคเอเชียจัดระเบียบใหม่ มองเรื่องความมั่นคง ความร่วมมือ (Common and Cooperative Security) เพื่อทำให้เกิดการอยู่ดีกินดีแก่ประชาชน และกระบวนการพัฒนาที่ต้องร่วมมือกัน (Cooperative Development Process) เช่น ร่วมมือกันจัดการการค้ายางในระดับโลกทำให้ราคาดีขึ้น นายอภินันท์ ปวนะฤทธิ์ อดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ มองการเปลี่ยนแปลงในประชาคมโลก 17 ประการที่กระทรวงการต่างประเทศต้องรู้เท่าทันและตอบสนองให้ได้คือ 1. โลกาภิวัตน์2. ระเบียบโลกและผู้เล่น (Actor) ในประชาคมโลก3. โลกาภิบาล (Global Governance) เน้นเรื่องประชาธิปไตย โปร่งใส ตรวจสอบได้ 4. โลกาภิวัตน์ทำให้เกิดการเชื่อมโยงนโยบายภายในและนโยบายภายนอกอย่างมิอาจแยกจากกันได้เลย เช่น เรามีนโยบายปราบปรามยาเสพติดแต่จะทำไม่ได้เลยถ้าไม่เชื่อมโยงกับประเทศที่เป็นต้นตอหรือเป็นเส้นทางลำเลียง 5. จากการเมืองของมหาอำนาจสู่การเมืองขององค์การระหว่างประเทศ จุดเปลี่ยนยุคโลกาภิวัตน์คือมหาอำนาจไม่อาจบงการชีวิตของชาวโลกได้ตามลำพังอีกต่อไปแต่นานาประเทศที่ไม่ค่อยมีอำนาจสามารถรวมตัวกันในองค์การระหว่างประเทศเป็นฐานในการเจรจาต่อรองกับมหาอำนาจ 6. ค่านิยมตะวันตก vs ค่านิยมระหว่างประเทศ (ท้องถิ่น) เช่น ตะวันตกวัดเสถียรภาพทางการเมืองจากประชาธิปไตยซึ่งขัดแย้งกับบางประเทศที่ยังเคยชินอยู่กับค่านิยมแบบเก่า (ประชาธิปไตยแบบไทย ๆ) ที่ตะวันตกมองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย หรือในอังกฤษมีละครล้อเลียนราชวงศ์และบุคคลสาธารณะด้วยถือว่าประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ เมืองไทยก็มีรายการประเภทนี้ด้วยเหมือนกันแต่ไม่ได้ล้อเลียนราชวงศ์ น่าเสียดายที่ช่วงนี้รายการแบบนี้ไม่มีให้ดู 7. ความมั่นคงดั้งเดิม (เน้นการเมืองการทหารอย่างเดียว) vs ความมั่นคงใหม่ที่มีทั้งความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 8. เศรษฐกิจฉันทานุมัติวอชิงตัน ได้แก่ การค้าเสรี การทำให้เป็นเอกชน (Privatization) ยกเลิกกฎระเบียบต่าง ๆ (Deregulation) ปกครองในระบอบเสรีประชาธิปไตย (Democratization) เหล่านี้ถือเป็นกติการะหว่างประเทศ9. สังคมเศรษฐกิจความรู้ (Knowledge – based Economy) เป็นสังคมใหม่ที่พึงปรารถนาในปัจจุบัน การที่ EU มุ่งมั่นรวมตัวกันก็เพื่อจะสร้างระบบเศรษฐกิจบนพื้นฐานของสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและมีพลวัต สามารถแข่งขันกับใคร ๆ ก็ได้ 10. กลุ่มผลประโยชน์และการมีส่วนร่วมเจรจา ปัจจุบันกลุ่มผลประโยชน์ภายในประเทศออกไปเจรจาในต่างประเทศแล้ว เช่น สมาคมพ่อค้าต่างประเทศออกมาเจรจากับรัฐบาลไทย 11. การพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) เป็นหัวใจของกระแสโลกาภิวัตน์ในปัจจุบัน สามารถยืนอยู่บนขาของตนเองได้อย่างทัดหน้าเทียมตาประเทศอื่น มี 4 มิติคือเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม คนและการพัฒนาคน สถาบัน 12. การรวมกลุ่มเศรษฐกิจในภูมิภาค (Regionalism) กระทรวงการต่างประเทศไทยให้ความสำคัญกับการรวมกลุ่มอาเซียนด้วยกัน 13. 6 กระแสความสัมพันธ์ ได้แก่ พหุภาคีนิยม ภูมิภาคนิยม การรวมกลุ่มข้ามภูมิภาค ทวิภาคีนิยม ลัทธิมาตรการฝ่ายเดียว ลัทธิมาตรการทางเศรษฐกิจที่มีลักษณะสิทธิสภาพนอกอาณาเขต เช่น การกีดกันทางการค้าหรือการให้สิทธิพิเศษทางการค้าบางอย่าง แต่มีไม่มากนักและไม่เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ 14. การกีดกันทางการค้าใหม่ ๆ เช่น แหล่งที่มาของสินค้า การกำจัดขยะ เหล่านี้ทำให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างประเทศพัฒนาแล้วกับประเทศกำลังพัฒนา 15. ประเด็นความร่วมมือใหม่ ๆ หลังวิกฤติเศรษฐกิจมีความร่วมมือใหม่ ๆ ที่ไทยโดดเด่นขึ้นมา เช่น การเสนอออกเอเชียบอนด์ การก่อตั้ง ACD ลองสังเกตดูว่าตั้งแต่มีความร่วมมือ BIMSTEC เรือประมงไทยไม่เคยโดนจับเลย ก่อนหน้านั้นเราโดนจับต้องให้รัฐบาลไปไถ่ตัวอยู่เรื่อย 16. นโยบายสังคม (Social Policy) เช่น นโยบายสุขภาพ แรงงาน การจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว เกษียณก่อนกำหนด เป็นต้น 17. การปฏิรูประบบการเงินและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ ต้องสนับสนุนต่อการพัฒนาของไทยผลบวกของโลกาภิวัตน์ทำให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ได้แก่1. ตลาดใหม่2. เครือข่ายใหม่3. เครื่องมือใหม่4. ตัวแสดงใหม่ 5. ระเบียบใหม่ (New Orders) ผลลบของโลกาภิวัตน์ ได้แก่ 1. ความเหลื่อมล้ำของรายได้มีมากขึ้นทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ2. ผลกระทบด้านจริยธรรมและศีลธรรม 3. ผลกระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ เป็นความมั่นคงในบริบทของการอยู่ดีกินดี การพัฒนาที่ยั่งยืน4. วิกฤติด้านอัตลักษณ์และวัฒนธรรม เกิดการปะทะกันในวิถีปฏิบัติของคน ๆ ละเผ่าพันธุ์ คนละเชื้อชาติซึ่งสลายได้ด้วยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้เกิดวัฒนธรรมโลก  5. การถูกละเลยทอดทิ้งจากระบบสังคม6. การพัฒนาไม่ยั่งยืน บริโภคและใช้ทรัพยากรอย่างไม่จำกัด ผลลบเหล่านี้เกิดจากการแข่งขันกันมากเกินไป ถ้าใช้นโยบายต่างประเทศที่ประสานกันข้ามภูมิภาคข้ามประเทศอาจทำให้สภาวะเหล่านี้ดีขึ้น นโยบายต่างประเทศไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองถูกกำหนดโดยสภาความมั่นคงและนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นคนกลุ่มเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่ตัดสินใจ ถึงสมัยพลอากาศเอกสิทธิ เศวตศิลาเริ่มใช้นโยบายการทูตนำการทหาร สมัยรัฐบาลทักษิณมีนโยบาย Modernized Thailand ปัจจัยที่จะนำไปสู่ความ Modernized คือความรู้เทคโนโลยี คน สังคม ทุน ภาวะผู้นำ การบริหารจัดการ บทบาทไทยในเวทีโลก (ข้อนี้ให้ความสำคัญมาก) ภาพลักษณ์ของไทยในเวทีระหว่างประเทศ ต้องการทำให้ไทยเป็น Hob of Modernization ในด้านต่าง ๆ ของภูมิภาค นโยบาย Forward Engagement นั้นต้องการเพิ่มคุณค่าให้ประเทศไทยในส่วนที่ไทยเป็นผู้ริเริ่ม ได้แก่ ADC, Asian Bond, Partner for Development กลยุทธ์ของกระทรวงการต่างประเทศคือ-พยายามหาหนทางและหาคู่ทั่วโลกที่สามารถร่วมปฏิบัติกับไทยได้ -ปรับบทบาทสถานเอกอัครราชทูตไทยทั่วโลกให้เป็นหน้าต่างของประเทศ ทำหน้าที่ประสานกับศูนย์ปฏิบัติการสนับสนุนนโยบาย -Outsource มืออาชีพระดับโลกเพื่อประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศไทย -จัดทำยุทธศาสตร์ระดมคลังสมองคนไทย-กำหนดแผนปฏิบัติการกับญี่ปุ่น เยอรมัน นโยบายหลักคือลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ระเบียบวาระของรัฐบาลไทยคือทำให้ไทยทันสมัยทั้งในด้านคุณภาพการบริการและมาตรฐานความเป็นอยู่ ยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศ1. ทำให้ประเทศไทยโดดเด่น 2. เสริมสร้างความมั่นใจของต่างชาติต่อคนไทยเพื่อแก้ปัญหาในภูมิภาค 3. ปฏิรูปการบริหารจัดการทั้งภายในและต่างประเทศ ปรับบทบาทสถานทูตและเอกอัครราชทูตให้เป็น CEO ยุทธศาสตร์เชิงรุก (Forward Engagement)1. เชื่อมโยงนโยบายภายในกับนโยบายต่างประเทศ ทั้งนโยบายต่อเพื่อนบ้าน สร้างพันธมิตรในอาเซียนและในเอเชียทั้งหมด 2. สร้างความเป็นหุ้นส่วนกับทั้งโลก3. ใช้เวทีพหุภาคี ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยมีบทบาทโดดเด่นมากจนถึงขั้นอยากจะเป็นเลขาฯ UN ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านก็เป็นไปด้วยดียกเว้นกรณีเผาสถานทูตไทยในพนมเปญ นอกจากความร่วมมือในภูมิภาคแล้วยังต้องมียุทธศาสตร์ข้ามภูมิภาคออกไป สำหรับอาเซียนเมื่อก่อนอาจเป็นแค่อัตลักษณ์ของภูมิภาคแต่ปัจจุบันอาเซียนก้าวไปเป็นเวทีความร่วมมือระดับโลก กระทรวงการต่างประเทศมีวิสัยทัศน์ว่าการทูตยุคใหม่หัวใจคือประชาชน เป็นการทูตที่ก้าวไปข้างหน้าจากรากหญ้าสู่สากลให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ใช้นโยบายคู่ขนานเชื่อมโลกกับไทย สร้างความไว้วางใจและก้าวไปด้วยกันกับเพื่อนบ้านเพราะถ้าประเทศเพื่อนบ้านรุ่งเรืองไทยก็รุ่งโรจน์ไปด้วย มียุทธศาสตร์หุ้นส่วนกับทุกภูมิภาคทั่วโลก เปลี่ยนบทบาทประกาศศักดิ์ศรีไทยในเวทีโลก เริ่มตั้งแต่ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ได้เป็นผู้อำนวยการ WTO จะว่าไปแล้วจากการที่ไทยเป็นต้นกำเนิดวิกฤติต้มยำกุ้งทำให้ทั่วโลกเริ่มมองเห็นความสำคัญที่ไทยเป็นผู้สร้างผลกระทบให้กับโลกได้ นอกจากนี้ยังมีการทูตบูรณาการคือร่วมมือกันในทุกมิติ ทุกกระทรวง ทบวง กรม ไม่ทำงานแบบแยกส่วน เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องดูแลความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดกับโลกได้ด้วย สำหรับรัฐบาลปัจจุบันได้ดำเนินการตามนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลชุดที่แล้ว ชูประเด็นความโปร่งใส ธรรมาภิบาลซึ่งเป็นด้านบวกที่สำคัญ แต่นานาประเทศยังจับตามองไทยด้วยความเป็นห่วง นโยบายเศรษฐกิจไทยยังไม่ชัดเจน ถอยหลัง เลือนราง ทำนายทายทักไม่ได้ รัฐบาลยังไม่เป็นประชาธิปไตยโดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจและมีภาพลบในด้านความมั่นคง เพื่อนบ้านอาจจะเข้าใจแต่ที่ไกลออกไปยังไม่เข้าใจ ความสัมพันธ์กับมาเลเซียดีขึ้น จีนเข้าใจและแสดงการสนับสนุนไทยอย่างชัดเจน OIC (องค์การอิสลามโลก) เข้าใจมากขึ้น แต่สหรัฐฯ และ EU ยังไม่เข้าใจทำให้ความสัมพันธ์ยังไม่ปกติ และภาพลักษณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทยยังมีปัญหาอยู่

สร้างโดย: 

Polkij M.6/3 No.14

ต้องการข้อมูลเพื่อการศึกษา

ต้องการทราบนโยบายต่างประเทศยุคปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 378 คน กำลังออนไลน์