• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:51e7a6151fb2c15046a21e7ceffe140f' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n<span style=\"color: #006699\"> <strong>เศรษฐกิจสมัยอยุธยา</strong></span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #006699\">อยุธยามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มาแต่แรกก่อตั้งอาณาจักร คือ มีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการเกษตรและการค้าต่างประเทศดีกว่าอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรอื่น ๆ ที่เป็นของไทยด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากแคว้นละโว้ (ลพบุรี) และแคว้นสุพรรณบุรี ที่สำคัญ คือ กำลังที่โยกย้ายมาจากแคว้นทั้งสอง เป็นผู้มีความสามารถและมีประสบการณ์ จึงมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่อยุธยาได้เป็นอย่างดีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยามีด้านต่าง ๆ ดัง</span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #006699\"></span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #003366\"><strong>1. การเกษตร การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักของอยุธยา </strong>อยุธยามีทำเลที่ตั้งบนที่ราบอันมีดินที่อุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีน้ำตลอดปี แม้แต่หน้าแล้งก็ไม่ขาดน้ำ ในฤดูฝนมีน้ำมากจนท่วมพื้นที่สองฝั่งน้ำทั่วไป การทับถมของโคลนตมทำให้มีปุ๋ยในชั้นหน้าดิน แม้ว่าพื้นดินจะมีทรายปนอยู่บ้างก็เพียงเล็กน้อย ดินจึงเก็บกักน้ำได้ดี เมืองมีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะข้าว ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย จึงมีการปลูกข้าวกันทั่วไป รองลงมามีไม้ยืนต้น ได้แก่มะม่วง มะพร้าว หมาก และพืชผักผลไม้อื่น ๆ ที่มีความสำคัญ ได้แก่ ฝ้าย พริกไทย พริก หอม กระเทียม เป็นต้น แต่ชาวอยุธยาก็มีการใช้เทคนิคแบบดั้งเดิม พึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เช่นอาศัยน้ำฝนเป็นปัจจัยในการผลิต แรงงานที่ใช้ทั่วไป คือ โค และกระบือ คันไถทำด้วยไม้ นอกจากนั้น การเกษตรสมัยอยุธยามีจุดประสงค์เพื่อการบริโภคภายในอาณาจักรตามลักษณะแบบยังชีพ มิได้เพื่อค้าขายสินค้าทางการเกษตรที่อยุธยาส่งไปขายยังต่างประเทศ ล้วนแต่เป็นผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคในราชอาณาจักรแล้ว แม้ว่ารัฐบาลสมัยอยุธยาจะไม่มีการส่งเสริมทางการเกษตรมากมัก และวิธีการปลูกพืชดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่นั้น สภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและสมบูรณ์ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ทำให้อาณาจักรอยุธยาเลี้ยงดูผู้คนในอาณาจักรได้ และมีการส่งไปขายยังต่างประเทศด้วย พระมหากษัตริย์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลการเพาะปลูกของประชาชน มีการรับรองป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อการทำเกษตร ด้วยการออกกฎหมายคุ้มครอง ป้องกัน จัดระเบียบให้ถือปฏิบัติ เช่น<br />\n1.1 การคุ้มครองป้องกันการเพาะปลูก กำหนดให้ราษฎรเจ้าของ ช้าง ม้า โค กระบือ ระวังสัตว์เลี้ยงของตน มิให้ทำอันตรายหรือเข้าไปกินข้าวในนา หรือพืชพรรณของผู้อื่น ห้ามมิให้ขโมยแอก ไถ คราด หรือเครื่องมือการทำนาของราษฎรด้วยกัน ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษ<br />\n1.2 การยอมรับกรรมสิทธิ์ ราษฎรที่จับจอง บุกเบิกที่ดินแหล่งใหม่เพื่อใช้ในการเกษตรตามระเบียบทางราชการจะตีตราสารรับรองกรรสิทธิ์เหนือพื้นดินให้<br />\n1.3 การลดอากร ผู้ที่ทำการเพาะปลูกนอกเมือง หรือในที่ซึ่งเคยทิ้งร้างไว้ เมื่อมีการเพาะปลูกใหม่ในระยะเริ่มต้น ระยะเวลาปีหนึ่งจะไม่เก็บค่าอากร เมื่อพ้นจากนั้นจึงจะเก็บอากรเข้าหลวง เป็นนโยบายการส่งเสริมขยายที่เพาะปลูก และไม่ให้ที่เพาะปลูกทิ้งร้างไร้ประโยชน์ ภายหลังมีการเก็บภาษีที่ดินที่ไม่ทำประโยชน์ด้วย<br />\n1.4 การอำนวยประโยชน์ทางอ้อม แม้ว่าอยุธยาจะมิได้จัดระบบชลประทาน เพื่อส่งเสริมการเกษตรโดยตรง แต่มีการขุดคลองเพื่อการยุทธศาสตร์ การคมนาคม และการระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วม คูคลองเหล่านี้ก็อำนวยความสะดวกและประโยชน์ทางการด้านการเพาะปลูกกับราษฎรในทางอ้อม ส่วนราษฎรเองก็หาทางช่วยตัวเอง โดยใช้ระบบชลประทานอีกทางหนึ่งด้วย</span></p>\n<p><strong>2. อุตสาหกรรม</strong> สมัยอยุธยาอุตสาหกรรม มีการผลิตที่ไม่ต่างจากสุโขทัยมากนัก ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือขนาดเล็กที่ผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน ใช้ในราชการ หมู่ชนชั้นสูง และการพระศาสนา กำลังการผลิตจะได้จากแรงงานเด็กหญิงหรือผู้พ้นเกณฑ์แรงงาน และทหาร เมื่อมีเวลาว่างจากการประกอบอาชีพปกติ ส่วนกำลังการผลิตของรัฐบาลจะได้จากแรงงานไพร่และทาสเป็นอุตสาหกรรมประเภทฝีมือ ได้แก่ การผลิตเครื่องทองรูปพรรณ เครื่องแกะสลัก เครื่องประดับมุก เป็นต้น อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มุ่งเพื่อการบริโภคในประเทศ ได้แก่ เครื่องใช้ในครัวเรือน มีเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องจักสาน เครื่องเหล็ก เพื่อการเกษตรมี ผาล ( เหล็กแหลมที่ต่อจากคันไถสำหรับไถนา ) จอบ เสียม มี ฯลฯ ทั้งที่ใช้เป็นอุปกรณ์การงานและอาวุธ (หมู่บ้านอรัญญิกมีชื่อเสียง มีฝีมือตีมีดที่มีคุณภาพ ) เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบดินเผา การต่อเรือเพื่อการคมนาคม การประมง และการบรรทุกสินค้า อุตสาหกรรมมีจำนวนน้อย ที่พบ คือ น้ำตาล\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #003366\"><strong>3. การค้า เนื่องจากทำเลที่ตั้งของอยุธยาสะดวกแก่การคมนาคมทางน้ำ</strong> เพราะมีแม่น้ำหลายสาย และไม่ห่างจากปากแม่น้ำเกินไป การนำสินค้าเข้าและออกทางทะเลทำได้สะดวก อาณาจักรที่อยู่เหนือขึ้นไป คือ สุโขทัย และล้านนา ก็จำเป็นต้องใช้อยุธยาเป็นทางผ่านสู่ทะเล ทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าอยุธยาจึงมีการค้าขายเป็นอาชีหลักอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการเกษตร การค้าสมัยอยุธยามี 2 ประเภท ดังนี้คือ<br />\n3.1 การค้าขายภายในประเทศ แม้ว่าอยุธยาจะมีระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ ชุมชนหมู่บ้านผลิตทุกสิ่งเพื่อการดำรงชีพตามความต้องการของตนเอง แต่การค้าขายก็ยังมีความจำเป็นอยู่ คือซื้อส่วนที่ยังต้องการ และขายส่วนที่เกินความต้องการ ก่อให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนขึ้น 2 ระบบ คือ<br />\n1. ระบบแลกเปลี่ยนโดยตรง ได้แก่ การนำสินค้าไปแลกเปลี่ยน เช่น น้ำ ข้าวเปลือก ไปแลกน้ำปลา กะปิ หรือนำหม้อไห ถ้วยชามไปแลกข้าวสาร หรือผลไม้เป็นต้น<br />\n2. ระบบแลกเปลี่ยนด้วยเงินตรา ได้แก่ การซื้อขายอย่างทุกวันนี้ คือ นำสินค้าไปแลกเป็นเงินตราก่อน และเมื่อต้องการสิ่งใดก็นำเงินตรานั้นแลกมา<br />\nการค้าขายภายในสมัยอยุธยาคงใช้ระบบแลกเปลี่ยนทั้งสองมาตลอด ต่างกันเพียงแต่จะใช้ระบบใดมากกว่ากัน การค้าขายภายในสมัยอยุธยาตอนต้นได้ขยายตัวขึ้นตามสภาพสังคม ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้มีการเก็บอากรตลาดเป็นครั้งแรก โดยจัดเก็บจากผู้นำสินค้ามาขายตามตลาดหรือย่านชุมชน แสดงให้เห็นว่าการประกอบการค้ามีรายได้ดี อากรตลาดนี้ภายหลังได้เก็บกว้างขึ้น มีภาษีโรงเรือน และต่อมามีการเรียกเก็บอากรขนอน จากการนำสินค้าผ่านด่านทางบกและทางน้ำ โดยเริ่มที่ราชธานีก่อนแล้วขยายไปยังหัวเมือง<br />\n3.2 การค้าขายต่างประเทศ เนื่องจากอยุธยาไม่ห่างไกลทะเลมากนัก มีแม่น้ำหลายสายผ่าน โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำใหญ่ เมื่อถึงหน้าแล้งก็ไม่ตื้นเขิน สามารถใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าได้ตลอดปี ทำให้อยุธยาเป็นเมืองท่าสำคัญสามารถติดต่อค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศได้สะดวกทำให้อยุธยามีธุรกิจการค้ารุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้<br />\nสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2034) ไทยมีการค้าขายกับจีน ญี่ปุ่น อาหรับ มลายู อินเดีย ชวา ฟิลิปปินส์<br />\nการค้ากับต่างประเทศในสมัยแรกมีลักษณะค่อนข้างจะเสรี คือ พ่อค้าต่างชาติติดต่อค้าขายกราษฎรและพ่อค้าอื่น ๆ ในอยุธยาโดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐ และเอกชนไทยที่มีทุนรอน ก็สมารถค้าสำเภาได้<br />\nครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปฏิรูปการปกครองอาณาจักร สามารถควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ได้รัดกุม เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่รั่วไหล ล่าช้า สินค้าจากหัวเมือง เป็นสิ่งที่พ่อค้าต่างชาติต้องการจึงส่งเป็นสินค้าออก การค้าขายต่างประเทศขยายตัวออกไปกว้างขวางกว่าสมัยก่อนจนมีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาค้าขาย คือ โปรตุเกส เข้ามาในปี พ.ศ. 2054 เป็นชาติแรก หลังจากนั้นก็มีชาติตะวันตกอื่น ๆ เข้ามาอีก ได้แก่ สเปน (พ.ศ. 2141) ฮอลันดา (พ.ศ. 2147) อังกฤษ (พ.ศ. 2155) และฝรั่งเศส (พ.ศ. 2216) ประเทศตะวันตกเหล่านี้ได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาและเมืองท่าต่าง ๆ ของอยุธยา การค้าขายกับต่างประเทศจึงมีความเจริญก้าวหน้ามาตาลำดับ จนถึงรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ มีการตั้งพระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศในลักณะผูกขาด และต่อมาสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองมีการผูกขาดมากขึ้น การค้าขายแบบเสรีในระยะเริ่มต้นจึงค่อย ๆ เสื่อมไป ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ พระคลังสินค้าคงจะใช้อำนาจผูกขาดสมบูรณ์ ทำให้พ่อค้าฮอลันดาไม่พอใจ จึงบีบบังคับไทยด้วยวิธีต่าง ๆ แต่สมเด็จพระนารายณ์ทรงใช้วิธีให้ชาติตะวันตกชาติอื่น ๆ เข้ามาค้าขายเป็นการคานอำนาจฮอลันดาได้สำเร็จ ทำให้การค้าขายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง หลังจากนั้นจึงเริ่มเสื่อมลงด้วยเหตุผลทางการเมืองและเรื่องอื่น ๆ<br />\nสินค้าที่มีการค้าขายกัน การค้าขายระหว่างกรุงศรีอยุธยากับประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้<br />\nสินค้าออก มีผลผลิตทางเกษตรโดยตรง และแปรรูป ได้แก่ ข้าว หมาก พลู ฝ้าย มะพร้าว กระวาน กานพลู พริกไทย น้ำตาล ผลิตผลที่ได้จากป่า ได้แก่ อำพัน ไม้กฤษณา ไม้แกดำ ไม้ฝาง งาช้าง นอระมาด หรดา สัตว์ ได้แก่ ช้าง ม้า นกยูง นกแก้วห้าสี สินแร่ ได้แก่ ทองคำ เงิน พลอยต่าง ๆ เครื่องหัตถกรรม ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ และอื่น ๆ<br />\nสินค้าเข้า มีเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้แก่ ผ้า มีแพรม้วน แพรดอก แพรโล่ ผ้าม้วน ผ้าลายทอง เครื่องถ้วยชาม เครื่องกระเบื้อง จากญี่ปุ่น พัด ดาบ หอก เกราะ กำมะถัน ทองแดง สารส้ม และเครื่องรัก เป็นต้น<br />\nความเจริญด้านการค้าเริ่มรุ่งเรืองและเสื่อมลงเมื่อหลังเสียกรุงให้พม่า ใน พ.ศ. 2112 หลังจากการตกต่ำ รัฐบาลก็ได้พยายามฟื้นฟูด้านการค้ากับชาติตะวันตก การค้ากับต่างประเทศเริ่มรุ่งเรืองสุดสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153)<br />\n<strong>4. รายได้ของอาณาจักรอยุธยา</strong><span style=\"color: #003366\"> แหล่งที่มาของรายได้ อาจแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ รายได้จากค่าทดแทนการเกณฑ์แรงงาน รายได้จากภาษีอากร รายได้จากพระคลังสินค้า รายได้จากค่าฤชาธรรมเนียม และรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ <br />\n4.1 รายได้จากค่าทดแทนการเกณฑ์แรงงาน เป็นประเพณีที่ยึดถือกันมาว่า พระมหากษัตริย์ทรงเจ้าของที่ดินทั้งหมดในราชณาจักรแต่ยกให้ราษฎรทำกิน และพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองดูแลราษฎรให้ทำกินเป็นสุขปราศจากโจรผู้ร้ายและข้าศึก ราษฎรทั้งหลายจึงต้องตอบแทนด้วยการอุทิศแรงงานทำงานให้หลวงปีละ 6 เดือน ราษฎรที่ถูกเกณฑ์ไปทำงานตามกำหนด เรียกว่า เข้าเวร ผู้เข้าเวรไม่ต้องส่งเงินหรือสิ่งของที่หลวงต้องการมาให้ทดแทน เรียกว่า ส่งส่วย อาณาจักรจึงมีรายได้จากส่วยในรูปเงินและสิ่งของ ลาลูแบร์ บันทึกว่าในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ไพร่ ต้องจ่ายเงินหลวง เดือนละ 2 บาท ส่วยที่ส่งเป็นสิ่งของหายาก เช่น มูลค้างคาว ดีบุก งาช้าง เป็นต้น<br />\n4.2 รายได้จากภาษีอากร มีดังนี้<br />\n4.2.1 ภาษีสินค้าเข้า – สินค้าออก เก็บจากสินค้าทุกชนิดที่นำเข้ามาในอาณาจักร หรือนำออกนอกอาณาจักร โดยเรียกเก็บตามอัตราส่วนของจำนวนสินค้า หรือตามวิธีที่กำหนด รวมทั้งภาษีที่เรียกว่า จังกอบ เช่นภาษีปากเรือ (เรียกเก็บตามความกว้างของเรือ )<br />\n4.2.2 อากรประกอบอาชีพ เก็บจากราษฎรที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น อากรนา เรียกเก็บตามจำนวนเนื้อที่นา อากรสวน เรียกเก็บตามชนิดของไม้ผลยืนต้น อากรประมง เรียกเก็บตามชนิดของเครื่องมือจับปลา อากรตลาด เรียกเก็บจากร้านค้า หรือนำสินค้ามาขายในที่ชุมชน นอกจากนี้ยังมี อากรสุรา และอากรบ่อนเบี้ย เป็นต้น<br />\n4.2.3 อากรขนอน หรือภาษีผ่านด่าน (ขนอน หมายถึงด่านที่ตั้งเก็บภาษี ) เก็บจากผู้นำสินค้าผ่านด่าน (ทางบกหรือทางน้าก็ตาม ) โดยเรียกเก็บตามวิธีต่าง ๆ เช่น วิธีที่เรียกว่า สิบหยิบหนึ่ง ( คือร้อยละ 10) หรือถ้าเป็นการขนส่งทางเรือ ก็เสียภาษีที่เรียกว่า จังกอบเรือ เป็นต้น<br />\n4.3 รายได้จากพระคลังสินค้า <br />\nในกรุงศรีอยุธยาเมื่อเริ่มแรกเป็นการค้าแบบเสรี ต่อมาเมื่อชาติตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้น จึงจัดตั้งกรมพระคลังสินค้าขึ้น เพื่อควบคุมสินค้าเข้าสินค้าออก พระคลังสินค้าหรือโกษาธิบดี แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไปตรวจเก็บภาษีสินค้าที่มาจากต่างประเทศ และคัดเอาสินค้าที่หลวงต้องการไว้ก่อน เช่น สินค้าประเภทอาวุธ หรือกระสุนดินดำ เพื่อป้องกันมิให้ตกไปอยู่ในเมืองศัตรู หรือของราษฎรสามัญได้ เป็นการรักษาความมั่นคงภายใน นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ตรวจสินค้าขาออกและกำหนดต้องห้าม ซึ่งมักเป็นสินค้าหายาก มีราคาแพง เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ เช่น ดีบุก ตะกั่ว และงาช้าง เป็นต้น สินค้าต้องห้ามเหล่านี้ ห้ามมิให้ราษฎรจำหน่ายแก่ชาวต่างชาติโดยตรง ต้องนำมาขายให้พระคลังสินค้า แล้วพระคลังสินค้าจึงนำไปจำหน่ายแก่พ่อค้าต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง รายได้ของพระคลังสินค้าจากการผูกขาดการค้าเช่นนี้มีมาก<br />\nนอกจากพระคลังสินค้าจะมีรายได้ดังกล่าวแล้วในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ยังมีรายได้จากการแต่งสำเภานำสินค้าไปขายต่างประเทศอีกด้วย สินค้าที่นำไปขายนอกจากพวกสินค้าต้องห้ามแล้วมักเป็นสินค้าที่ได้มาจากส่วยและอากรที่ได้จากการทดแทนการเกณฑ์แรงงาน เช่น พริกไทย ไม้ซุง ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม และเกลือ เป็นต้น โดยปกติจะส่งสำเภาไปค้าขายกับจีน อินเดีย และชวา ขากลับก็บรรทุกสินค้าของประเทศเหล่านั้นกลับมาจำหน่ายแก่ราษฎร ทำเงินกำไรข้าหลวงเป็นอันมา<br />\n4.4 รายได้จากค่าธรรมเนียม<br />\nการปกครองดูแลและรับรองสิทธิต่าง ๆ ราษฎรที่เกี่ยวข้องโดยตรงจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ เช่น ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการประทับตราแสดงกรรมสิทธิ์เหนือที่ดิน หรือเสียค่าฤชาเมื่อฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาล (ผู้แพ้คดีจะต้องเสียเงินให้แก่ผู้ชนะและหลวงจะหักค่าฤชาไว้เป็นรายได้ของแผ่นดิน รวมทั้งค้าปรับ)<br />\n4.5 รายได้อื่น ๆ นอกจากอาณาจักรจะมีรายได้ต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีกเช่น รายได้จากเครื่องราชบรรณาการของเจ้าประเทศราช หรือจากของขวัญของกำนัลที่เจ้าเมือง ขุนนางหรือพ่อค้านำขึ้นถวาย หรือทรัพย์สิน เงินทองที่ไดจากการยกทัพไปตีบ้านตีเมืองในต่างแดน เป็นต้น</span></span></p>\n<div class=\"field field-type-text field-field-author\">\n<div class=\"field-items\">\n<div class=\"field-item odd\">\n<div class=\"field-label-inline-first\">\n<strong>สร้างโดย: </strong>\n</div>\n<p>ธารารัตน์ กุดเสนา เลขที่ 11 ม.6/2\n</p></div>\n</div>\n</div>\n<div class=\"field field-type-text field-field-link\">\n<div class=\"field-items\">\n<div class=\"field-item odd\">\n<div class=\"field-label-inline-first\">\n<strong>แหล่งอ้างอิง: </strong>\n</div>\n<p><a href=\"http://www.google.com\" title=\"www.google.com\">www.google.com</a>\n</p></div>\n</div>\n</div>\n<p>\n</p>\n', created = 1718483417, expire = 1718569817, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:51e7a6151fb2c15046a21e7ceffe140f' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

เศษรฐกิจสมัยอยุธยา

 เศรษฐกิจสมัยอยุธยา

อยุธยามีพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่มาแต่แรกก่อตั้งอาณาจักร คือ มีทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เอื้ออำนวยต่อการเกษตรและการค้าต่างประเทศดีกว่าอาณาจักรสุโขทัยและอาณาจักรอื่น ๆ ที่เป็นของไทยด้วยกัน นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากแคว้นละโว้ (ลพบุรี) และแคว้นสุพรรณบุรี ที่สำคัญ คือ กำลังที่โยกย้ายมาจากแคว้นทั้งสอง เป็นผู้มีความสามารถและมีประสบการณ์ จึงมีส่วนช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่อยุธยาได้เป็นอย่างดีการพัฒนาทางเศรษฐกิจสมัยอยุธยามีด้านต่าง ๆ ดัง

1. การเกษตร การเกษตรเป็นเศรษฐกิจหลักของอยุธยา อยุธยามีทำเลที่ตั้งบนที่ราบอันมีดินที่อุดมสมบูรณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพราะตั้งอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีน้ำตลอดปี แม้แต่หน้าแล้งก็ไม่ขาดน้ำ ในฤดูฝนมีน้ำมากจนท่วมพื้นที่สองฝั่งน้ำทั่วไป การทับถมของโคลนตมทำให้มีปุ๋ยในชั้นหน้าดิน แม้ว่าพื้นดินจะมีทรายปนอยู่บ้างก็เพียงเล็กน้อย ดินจึงเก็บกักน้ำได้ดี เมืองมีดินและน้ำอุดมสมบูรณ์ จึงเหมาะแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะข้าว ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย จึงมีการปลูกข้าวกันทั่วไป รองลงมามีไม้ยืนต้น ได้แก่มะม่วง มะพร้าว หมาก และพืชผักผลไม้อื่น ๆ ที่มีความสำคัญ ได้แก่ ฝ้าย พริกไทย พริก หอม กระเทียม เป็นต้น แต่ชาวอยุธยาก็มีการใช้เทคนิคแบบดั้งเดิม พึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ เช่นอาศัยน้ำฝนเป็นปัจจัยในการผลิต แรงงานที่ใช้ทั่วไป คือ โค และกระบือ คันไถทำด้วยไม้ นอกจากนั้น การเกษตรสมัยอยุธยามีจุดประสงค์เพื่อการบริโภคภายในอาณาจักรตามลักษณะแบบยังชีพ มิได้เพื่อค้าขายสินค้าทางการเกษตรที่อยุธยาส่งไปขายยังต่างประเทศ ล้วนแต่เป็นผลผลิตที่เหลือจากการบริโภคในราชอาณาจักรแล้ว แม้ว่ารัฐบาลสมัยอยุธยาจะไม่มีการส่งเสริมทางการเกษตรมากมัก และวิธีการปลูกพืชดั้งเดิมที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่นั้น สภาพภูมิศาสตร์ที่เหมาะสมและสมบูรณ์ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ทำให้อาณาจักรอยุธยาเลี้ยงดูผู้คนในอาณาจักรได้ และมีการส่งไปขายยังต่างประเทศด้วย พระมหากษัตริย์ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลการเพาะปลูกของประชาชน มีการรับรองป้องกันมิให้เกิดการละเมิดสิทธิ หรือก่อให้เกิดอันตรายต่อการทำเกษตร ด้วยการออกกฎหมายคุ้มครอง ป้องกัน จัดระเบียบให้ถือปฏิบัติ เช่น
1.1 การคุ้มครองป้องกันการเพาะปลูก กำหนดให้ราษฎรเจ้าของ ช้าง ม้า โค กระบือ ระวังสัตว์เลี้ยงของตน มิให้ทำอันตรายหรือเข้าไปกินข้าวในนา หรือพืชพรรณของผู้อื่น ห้ามมิให้ขโมยแอก ไถ คราด หรือเครื่องมือการทำนาของราษฎรด้วยกัน ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับโทษ
1.2 การยอมรับกรรมสิทธิ์ ราษฎรที่จับจอง บุกเบิกที่ดินแหล่งใหม่เพื่อใช้ในการเกษตรตามระเบียบทางราชการจะตีตราสารรับรองกรรสิทธิ์เหนือพื้นดินให้
1.3 การลดอากร ผู้ที่ทำการเพาะปลูกนอกเมือง หรือในที่ซึ่งเคยทิ้งร้างไว้ เมื่อมีการเพาะปลูกใหม่ในระยะเริ่มต้น ระยะเวลาปีหนึ่งจะไม่เก็บค่าอากร เมื่อพ้นจากนั้นจึงจะเก็บอากรเข้าหลวง เป็นนโยบายการส่งเสริมขยายที่เพาะปลูก และไม่ให้ที่เพาะปลูกทิ้งร้างไร้ประโยชน์ ภายหลังมีการเก็บภาษีที่ดินที่ไม่ทำประโยชน์ด้วย
1.4 การอำนวยประโยชน์ทางอ้อม แม้ว่าอยุธยาจะมิได้จัดระบบชลประทาน เพื่อส่งเสริมการเกษตรโดยตรง แต่มีการขุดคลองเพื่อการยุทธศาสตร์ การคมนาคม และการระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำท่วม คูคลองเหล่านี้ก็อำนวยความสะดวกและประโยชน์ทางการด้านการเพาะปลูกกับราษฎรในทางอ้อม ส่วนราษฎรเองก็หาทางช่วยตัวเอง โดยใช้ระบบชลประทานอีกทางหนึ่งด้วย

2. อุตสาหกรรม สมัยอยุธยาอุตสาหกรรม มีการผลิตที่ไม่ต่างจากสุโขทัยมากนัก ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรือขนาดเล็กที่ผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือน ใช้ในราชการ หมู่ชนชั้นสูง และการพระศาสนา กำลังการผลิตจะได้จากแรงงานเด็กหญิงหรือผู้พ้นเกณฑ์แรงงาน และทหาร เมื่อมีเวลาว่างจากการประกอบอาชีพปกติ ส่วนกำลังการผลิตของรัฐบาลจะได้จากแรงงานไพร่และทาสเป็นอุตสาหกรรมประเภทฝีมือ ได้แก่ การผลิตเครื่องทองรูปพรรณ เครื่องแกะสลัก เครื่องประดับมุก เป็นต้น อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มุ่งเพื่อการบริโภคในประเทศ ได้แก่ เครื่องใช้ในครัวเรือน มีเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เครื่องจักสาน เครื่องเหล็ก เพื่อการเกษตรมี ผาล ( เหล็กแหลมที่ต่อจากคันไถสำหรับไถนา ) จอบ เสียม มี ฯลฯ ทั้งที่ใช้เป็นอุปกรณ์การงานและอาวุธ (หมู่บ้านอรัญญิกมีชื่อเสียง มีฝีมือตีมีดที่มีคุณภาพ ) เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบดินเผา การต่อเรือเพื่อการคมนาคม การประมง และการบรรทุกสินค้า อุตสาหกรรมมีจำนวนน้อย ที่พบ คือ น้ำตาล

3. การค้า เนื่องจากทำเลที่ตั้งของอยุธยาสะดวกแก่การคมนาคมทางน้ำ เพราะมีแม่น้ำหลายสาย และไม่ห่างจากปากแม่น้ำเกินไป การนำสินค้าเข้าและออกทางทะเลทำได้สะดวก อาณาจักรที่อยู่เหนือขึ้นไป คือ สุโขทัย และล้านนา ก็จำเป็นต้องใช้อยุธยาเป็นทางผ่านสู่ทะเล ทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้าอยุธยาจึงมีการค้าขายเป็นอาชีหลักอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากการเกษตร การค้าสมัยอยุธยามี 2 ประเภท ดังนี้คือ
3.1 การค้าขายภายในประเทศ แม้ว่าอยุธยาจะมีระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพ ชุมชนหมู่บ้านผลิตทุกสิ่งเพื่อการดำรงชีพตามความต้องการของตนเอง แต่การค้าขายก็ยังมีความจำเป็นอยู่ คือซื้อส่วนที่ยังต้องการ และขายส่วนที่เกินความต้องการ ก่อให้เกิดระบบการแลกเปลี่ยนขึ้น 2 ระบบ คือ
1. ระบบแลกเปลี่ยนโดยตรง ได้แก่ การนำสินค้าไปแลกเปลี่ยน เช่น น้ำ ข้าวเปลือก ไปแลกน้ำปลา กะปิ หรือนำหม้อไห ถ้วยชามไปแลกข้าวสาร หรือผลไม้เป็นต้น
2. ระบบแลกเปลี่ยนด้วยเงินตรา ได้แก่ การซื้อขายอย่างทุกวันนี้ คือ นำสินค้าไปแลกเป็นเงินตราก่อน และเมื่อต้องการสิ่งใดก็นำเงินตรานั้นแลกมา
การค้าขายภายในสมัยอยุธยาคงใช้ระบบแลกเปลี่ยนทั้งสองมาตลอด ต่างกันเพียงแต่จะใช้ระบบใดมากกว่ากัน การค้าขายภายในสมัยอยุธยาตอนต้นได้ขยายตัวขึ้นตามสภาพสังคม ในรัชกาลสมเด็จพระเอกาทศรถ ได้มีการเก็บอากรตลาดเป็นครั้งแรก โดยจัดเก็บจากผู้นำสินค้ามาขายตามตลาดหรือย่านชุมชน แสดงให้เห็นว่าการประกอบการค้ามีรายได้ดี อากรตลาดนี้ภายหลังได้เก็บกว้างขึ้น มีภาษีโรงเรือน และต่อมามีการเรียกเก็บอากรขนอน จากการนำสินค้าผ่านด่านทางบกและทางน้ำ โดยเริ่มที่ราชธานีก่อนแล้วขยายไปยังหัวเมือง
3.2 การค้าขายต่างประเทศ เนื่องจากอยุธยาไม่ห่างไกลทะเลมากนัก มีแม่น้ำหลายสายผ่าน โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำใหญ่ เมื่อถึงหน้าแล้งก็ไม่ตื้นเขิน สามารถใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าได้ตลอดปี ทำให้อยุธยาเป็นเมืองท่าสำคัญสามารถติดต่อค้าขายทางทะเลกับต่างประเทศได้สะดวกทำให้อยุธยามีธุรกิจการค้ารุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ. 1893 – พ.ศ. 2034) ไทยมีการค้าขายกับจีน ญี่ปุ่น อาหรับ มลายู อินเดีย ชวา ฟิลิปปินส์
การค้ากับต่างประเทศในสมัยแรกมีลักษณะค่อนข้างจะเสรี คือ พ่อค้าต่างชาติติดต่อค้าขายกราษฎรและพ่อค้าอื่น ๆ ในอยุธยาโดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรของรัฐ และเอกชนไทยที่มีทุนรอน ก็สมารถค้าสำเภาได้
ครั้นถึงรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงปฏิรูปการปกครองอาณาจักร สามารถควบคุมหัวเมืองต่าง ๆ ได้รัดกุม เก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่รั่วไหล ล่าช้า สินค้าจากหัวเมือง เป็นสิ่งที่พ่อค้าต่างชาติต้องการจึงส่งเป็นสินค้าออก การค้าขายต่างประเทศขยายตัวออกไปกว้างขวางกว่าสมัยก่อนจนมีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้ามาค้าขาย คือ โปรตุเกส เข้ามาในปี พ.ศ. 2054 เป็นชาติแรก หลังจากนั้นก็มีชาติตะวันตกอื่น ๆ เข้ามาอีก ได้แก่ สเปน (พ.ศ. 2141) ฮอลันดา (พ.ศ. 2147) อังกฤษ (พ.ศ. 2155) และฝรั่งเศส (พ.ศ. 2216) ประเทศตะวันตกเหล่านี้ได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยาและเมืองท่าต่าง ๆ ของอยุธยา การค้าขายกับต่างประเทศจึงมีความเจริญก้าวหน้ามาตาลำดับ จนถึงรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ มีการตั้งพระคลังสินค้าเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการค้ากับต่างประเทศในลักณะผูกขาด และต่อมาสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองมีการผูกขาดมากขึ้น การค้าขายแบบเสรีในระยะเริ่มต้นจึงค่อย ๆ เสื่อมไป ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ พระคลังสินค้าคงจะใช้อำนาจผูกขาดสมบูรณ์ ทำให้พ่อค้าฮอลันดาไม่พอใจ จึงบีบบังคับไทยด้วยวิธีต่าง ๆ แต่สมเด็จพระนารายณ์ทรงใช้วิธีให้ชาติตะวันตกชาติอื่น ๆ เข้ามาค้าขายเป็นการคานอำนาจฮอลันดาได้สำเร็จ ทำให้การค้าขายสมัยสมเด็จพระนารายณ์ มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่ง หลังจากนั้นจึงเริ่มเสื่อมลงด้วยเหตุผลทางการเมืองและเรื่องอื่น ๆ
สินค้าที่มีการค้าขายกัน การค้าขายระหว่างกรุงศรีอยุธยากับประเทศต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้
สินค้าออก มีผลผลิตทางเกษตรโดยตรง และแปรรูป ได้แก่ ข้าว หมาก พลู ฝ้าย มะพร้าว กระวาน กานพลู พริกไทย น้ำตาล ผลิตผลที่ได้จากป่า ได้แก่ อำพัน ไม้กฤษณา ไม้แกดำ ไม้ฝาง งาช้าง นอระมาด หรดา สัตว์ ได้แก่ ช้าง ม้า นกยูง นกแก้วห้าสี สินแร่ ได้แก่ ทองคำ เงิน พลอยต่าง ๆ เครื่องหัตถกรรม ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ และอื่น ๆ
สินค้าเข้า มีเครื่องใช้ต่าง ๆ ได้แก่ ผ้า มีแพรม้วน แพรดอก แพรโล่ ผ้าม้วน ผ้าลายทอง เครื่องถ้วยชาม เครื่องกระเบื้อง จากญี่ปุ่น พัด ดาบ หอก เกราะ กำมะถัน ทองแดง สารส้ม และเครื่องรัก เป็นต้น
ความเจริญด้านการค้าเริ่มรุ่งเรืองและเสื่อมลงเมื่อหลังเสียกรุงให้พม่า ใน พ.ศ. 2112 หลังจากการตกต่ำ รัฐบาลก็ได้พยายามฟื้นฟูด้านการค้ากับชาติตะวันตก การค้ากับต่างประเทศเริ่มรุ่งเรืองสุดสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2148-2153)
4. รายได้ของอาณาจักรอยุธยา แหล่งที่มาของรายได้ อาจแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ รายได้จากค่าทดแทนการเกณฑ์แรงงาน รายได้จากภาษีอากร รายได้จากพระคลังสินค้า รายได้จากค่าฤชาธรรมเนียม และรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ
4.1 รายได้จากค่าทดแทนการเกณฑ์แรงงาน เป็นประเพณีที่ยึดถือกันมาว่า พระมหากษัตริย์ทรงเจ้าของที่ดินทั้งหมดในราชณาจักรแต่ยกให้ราษฎรทำกิน และพระมหากษัตริย์เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองดูแลราษฎรให้ทำกินเป็นสุขปราศจากโจรผู้ร้ายและข้าศึก ราษฎรทั้งหลายจึงต้องตอบแทนด้วยการอุทิศแรงงานทำงานให้หลวงปีละ 6 เดือน ราษฎรที่ถูกเกณฑ์ไปทำงานตามกำหนด เรียกว่า เข้าเวร ผู้เข้าเวรไม่ต้องส่งเงินหรือสิ่งของที่หลวงต้องการมาให้ทดแทน เรียกว่า ส่งส่วย อาณาจักรจึงมีรายได้จากส่วยในรูปเงินและสิ่งของ ลาลูแบร์ บันทึกว่าในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์ ไพร่ ต้องจ่ายเงินหลวง เดือนละ 2 บาท ส่วยที่ส่งเป็นสิ่งของหายาก เช่น มูลค้างคาว ดีบุก งาช้าง เป็นต้น
4.2 รายได้จากภาษีอากร มีดังนี้
4.2.1 ภาษีสินค้าเข้า – สินค้าออก เก็บจากสินค้าทุกชนิดที่นำเข้ามาในอาณาจักร หรือนำออกนอกอาณาจักร โดยเรียกเก็บตามอัตราส่วนของจำนวนสินค้า หรือตามวิธีที่กำหนด รวมทั้งภาษีที่เรียกว่า จังกอบ เช่นภาษีปากเรือ (เรียกเก็บตามความกว้างของเรือ )
4.2.2 อากรประกอบอาชีพ เก็บจากราษฎรที่ประกอบอาชีพต่าง ๆ เช่น อากรนา เรียกเก็บตามจำนวนเนื้อที่นา อากรสวน เรียกเก็บตามชนิดของไม้ผลยืนต้น อากรประมง เรียกเก็บตามชนิดของเครื่องมือจับปลา อากรตลาด เรียกเก็บจากร้านค้า หรือนำสินค้ามาขายในที่ชุมชน นอกจากนี้ยังมี อากรสุรา และอากรบ่อนเบี้ย เป็นต้น
4.2.3 อากรขนอน หรือภาษีผ่านด่าน (ขนอน หมายถึงด่านที่ตั้งเก็บภาษี ) เก็บจากผู้นำสินค้าผ่านด่าน (ทางบกหรือทางน้าก็ตาม ) โดยเรียกเก็บตามวิธีต่าง ๆ เช่น วิธีที่เรียกว่า สิบหยิบหนึ่ง ( คือร้อยละ 10) หรือถ้าเป็นการขนส่งทางเรือ ก็เสียภาษีที่เรียกว่า จังกอบเรือ เป็นต้น
4.3 รายได้จากพระคลังสินค้า
ในกรุงศรีอยุธยาเมื่อเริ่มแรกเป็นการค้าแบบเสรี ต่อมาเมื่อชาติตะวันตกเข้ามาติดต่อค้าขายมากขึ้น จึงจัดตั้งกรมพระคลังสินค้าขึ้น เพื่อควบคุมสินค้าเข้าสินค้าออก พระคลังสินค้าหรือโกษาธิบดี แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ไปตรวจเก็บภาษีสินค้าที่มาจากต่างประเทศ และคัดเอาสินค้าที่หลวงต้องการไว้ก่อน เช่น สินค้าประเภทอาวุธ หรือกระสุนดินดำ เพื่อป้องกันมิให้ตกไปอยู่ในเมืองศัตรู หรือของราษฎรสามัญได้ เป็นการรักษาความมั่นคงภายใน นอกจากนั้นยังมีหน้าที่ตรวจสินค้าขาออกและกำหนดต้องห้าม ซึ่งมักเป็นสินค้าหายาก มีราคาแพง เป็นที่ต้องการของต่างประเทศ เช่น ดีบุก ตะกั่ว และงาช้าง เป็นต้น สินค้าต้องห้ามเหล่านี้ ห้ามมิให้ราษฎรจำหน่ายแก่ชาวต่างชาติโดยตรง ต้องนำมาขายให้พระคลังสินค้า แล้วพระคลังสินค้าจึงนำไปจำหน่ายแก่พ่อค้าต่างประเทศอีกต่อหนึ่ง รายได้ของพระคลังสินค้าจากการผูกขาดการค้าเช่นนี้มีมาก
นอกจากพระคลังสินค้าจะมีรายได้ดังกล่าวแล้วในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ยังมีรายได้จากการแต่งสำเภานำสินค้าไปขายต่างประเทศอีกด้วย สินค้าที่นำไปขายนอกจากพวกสินค้าต้องห้ามแล้วมักเป็นสินค้าที่ได้มาจากส่วยและอากรที่ได้จากการทดแทนการเกณฑ์แรงงาน เช่น พริกไทย ไม้ซุง ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม และเกลือ เป็นต้น โดยปกติจะส่งสำเภาไปค้าขายกับจีน อินเดีย และชวา ขากลับก็บรรทุกสินค้าของประเทศเหล่านั้นกลับมาจำหน่ายแก่ราษฎร ทำเงินกำไรข้าหลวงเป็นอันมา
4.4 รายได้จากค่าธรรมเนียม
การปกครองดูแลและรับรองสิทธิต่าง ๆ ราษฎรที่เกี่ยวข้องโดยตรงจะต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนดไว้ เช่น ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการประทับตราแสดงกรรมสิทธิ์เหนือที่ดิน หรือเสียค่าฤชาเมื่อฟ้องร้องเป็นคดีขึ้นสู่ศาล (ผู้แพ้คดีจะต้องเสียเงินให้แก่ผู้ชนะและหลวงจะหักค่าฤชาไว้เป็นรายได้ของแผ่นดิน รวมทั้งค้าปรับ)
4.5 รายได้อื่น ๆ นอกจากอาณาจักรจะมีรายได้ต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น ๆ อีกเช่น รายได้จากเครื่องราชบรรณาการของเจ้าประเทศราช หรือจากของขวัญของกำนัลที่เจ้าเมือง ขุนนางหรือพ่อค้านำขึ้นถวาย หรือทรัพย์สิน เงินทองที่ไดจากการยกทัพไปตีบ้านตีเมืองในต่างแดน เป็นต้น

สร้างโดย: 

ธารารัตน์ กุดเสนา เลขที่ 11 ม.6/2

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 977 คน กำลังออนไลน์