พัฒนาทางการเมืองการปกครองของไทย

พัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

การเมืองในสมัยก่อนนั้นการปกครองยังคงปกครองจากกษัตริย์โดยตรง ยังไม่มีผู้แทนราษฎรเหมือนอย่างในปัจจุบันนี้ การปกครองในสมัยสุโขทัยเป็นแบบปิตุราชาหรือพ่อปกครองลูก ทำให้ประชาชนมีความใกล้ชิดกับ พระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาในสมัยอยุธยาและสมัยธนบุรี การเมืองการปกครองถูกแปรเปลี่ยนให้กลายเป็น การปกครองแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยมีการแบ่งชนชั้นอย่างชัดเจน โดยถือกษัตริย์ เปรียบเสมือนเทพองค์หนึ่ง การปกครองโดยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้มีมาจนถึง สมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น และพอถึงในยุคการปกครองของรัชการที่5 มีการจัดระเบียบ การปฏิรูปสังคม ราชการ และ เศรษฐกิจใหม่ แต่ก็ยังเป็นการปกครองในแบบของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2475 มีกลุ่มข้าราชการชั้นสูงรวมตัวกันโดยเรียกตัวเองว่าคณะราษฎร ทำการปฏิวัติการปกครองโดยเปลี่ยนจาก ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ และใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จนถึงในปัจจุบัน            ในแง่ของการปกครองโดยกษัตริย์นั้น ความเสถียรภาพทางการเมืองการปกครองนั้น โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับกษัตริย์ กล่าวคือถ้ากษัตริย์ไม่มีความเข้มแข็ง อำนาจทางการเมืองการปกครองก็อาจจะตกไปอยู่ในอำนาจของขุนทางทั้งหลาย ทำให้กษัตริย์ในสมัยนั้นควบคุมสอดส่องเพื่อไม่ให้ขุนนาง ตลอดจนเจ้านายมีอำนาจมากจนเป็นอันตรายต่อตนเองได้ โดยจะมีการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมและสอดส่องขุนนางและเจ้านายทั้งหลายไม่ให้คิดกบฏ             จากที่กล่าวมานั้นการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองของไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หากมองในทางของการพัฒนาการทางการเมือง หมายถึงการมีสภาพของรัฐชาติที่มีรัฐบาลมีอำนาจครอบคลุมทั้งประเทศ ทำให้ราษฎรมีความรู้สึกเป็นพลเมืองของรัฐ จะเห็นได้ ว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเฉพาะรัชการที่5 แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาการทางการเมืองที่เกิดขึ้นภายใต้ระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์            ถ้ามองการพัฒนาการทางการเมืองเป็นเรื่องของการพัฒนาระบบบริหารและกฎหมายที่หมายถึงการพัฒนาระบบราชการและระบบกฎหมายให้มีความก้าวหน้าทันสมัยกับสภาพทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงก็สามารถ กล่าวได้ว่าภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์การเมืองการปกครองได้มีพัฒนาการเกิดขึ้น            การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 กับการก่อตัวขึ้นของระบอบอำมาตยาธิปไตย สาเหตุมาจากผลของการพัฒนาประเทศให้มีความทันสมัย ได้ทำให้คนรุ่นใหม่ๆ ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะระบบการเมืองการปกครองเดิมชมไม่ได้มีการเปิดโอกาส โดยคนรุ่นใหม่ดังกล่าวได้แก่พวกราชวงศ์ที่ได้รับการศึกษาจากทางตะวันตกได้ถวายความคิดเห็นในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีรัฐธรรมนูญและรัฐสภาต่อรัชการที่ 5 ใน พ.ศ. 2428 หลังมาใน พ.ศ. 2475 ที่คณะราษฎร ได้ปฏิวัติสำเร็จแล้ว แทนที่คระราษฎรจะได้สถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามที่กำหนดเป้าหมายไว้ กลับกลายเป็นการปกครองโดยราชการด้วยกันเอง เมื่อเป็นเช่นนี้อำนาจทางการเมืองการปกครองจึงตกอยู่ในมือของช้าราชการ ทั้งทหารและพลเรือนระดับสูงที่ทำการปกครองประเทศโดยใช้ระบบราชการเป็นอำนาจ ซึ่งระบบการเมืองการปกครองของไทยที่มีลักษณะข้าราชการเป็นใหญ่ หรือระบบที่เรียกว่า อำมาตยาธิปไตย เป็นระบบการเมืองที่ระบบราชการทั้งการทหารและพลเรือนครอบงำการเมืองอย่างสำคัญในการบวนการตัดสินใจผู้นำทางการเมืองมาจากระบบราชการเป็นส่วนใหญ่ และฐานอำนาจอยู่ที่ระบบทหาร ทำให้ผู้นำในระบบนี้เป็นทหารเสียส่วนใหญ่  ลักษณะของระบบการเมืองแบบอำมาตยาธิปไตยที่ราชการเป็นใหญ่กล่าวมาข้างต้น ก่อตัวขึ้นมาตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 โดยพุ่งขึ้นสุดยอดในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ และเริ่มเสื่อมลงหลังเหตุการณ์ 24 ตุลาคม 2516 เมื่อกลุ่มนอกระบบราชการเริ่มมีบทบาทและอิทธิพลทางการเมืองมากขึ้นการที่กล่าวว่า ลักษณะจองระบบการเมืองแบบอำมาตยาธิปไตยที่ข้าราชการเป็นใหญ่พุ่งขึ้นสูง เพราะการทำรัฐประหารของ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ทำให้สามารถยึดอำนาจไว้ได้อย่างเด็ดขาด หลังจากที่ได้รวบรวมอำนาจจากระบบราชการที่แบ่งแยก และต่อสู้กันในการรัฐประหารก่อนหน้านี้ และเงื่อนไขของการพัฒนาเศรษฐกิจประกอบด้วยกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสารก็เปิดโอกาสให้จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขยายอำนาจลงไปถึงชนบทอย่างกว้างขวางอย่างไรก็ตามที่อำนาจทางการเมืองของไทยตกอยู่ในมือของกลุ่มข้าราชการระดับสูงซึ่งถือเป็นชนชั้นนำ ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมให้ประชาชนหรือกลุ่มการเมืองนอกระบบราชการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองทำให้ไม่มีกลุ่มการเมืองมาคอยควบคุม คัดค้านการดำเนินการทางการเมืองผลคือทำให้ข้าราชการหรือชนชั้นนำทางการเมืองของไทยเหล่านี้ ได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลจาการแสวงหา รักษา และใช้อำนาจทางการเมือง ที่ถือกันว่าอำนาจดังกล่าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยเหตุผล หรือได้มาโดยความไม่ชอบธรรมทางการเมือง เพราะที่ผ่านมาชนชั้นนำทางการเมืองเหล่านี้ได้อำนาจการเมืองโดยวิธีการใช้กำลังเป็นเครื่องมือ และที่สำคัญคือเมื่อได้รับอำนาจทางการเมืองแล้วก็ไม่คิดที่จะโอนถ่ายอำนาจนั้นไปให้กับประชาชน ผลจึงทำให้การเมืองไทยในยุคนั้น เป็นเรื่องของกลุ่มข้าราชการทหารและพลเรือนระดับสูงเท่านั้นที่เข้ามาแข่งขันหรือต่อสู้กับทางการเมือง ไม่ใช่กลุ่มการเมืองอื่น เพราะฉะนั้นแม้จะมีการต่อสู้แย่งชิงอำนาจทางการเมืองเกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่า ประชาชนคนไทยก็ยอมรับอำนาจทางการเมืองที่เกิดขึ้นจากการช่วงชิงอำนาจกันอย่างไม่มีข้อสงสัยหรือมีปฏิกิริยาตอบโต้ ตรงข้ามกับยอมรับอำนาจทางการเมืองเหล่านั้น ประเด็นนี้จึงเป็นเหตุผลหนึ่งหรือส่วนหนึ่งที่ทำให้ระบบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยที่แท้จริงในช่วงนั้นจึงไม่สามรถเกิดขึ้น จึงเป็นเพียงระบอบการเมืองแบบอำมาตยาธิปไตยเท่านั้นในสมัยต่อมากการเมืองการปกครองระบอบอำมาตยาธิปไตยได้ถูกเปลี่ยนเป็นระบอบการปกครองแบบธนาธิปไตย โดยมีตัวแปรหลักคือ ชนชั้นกลางเป็นตัวแปรหรือตัวกลางสำคัญการกำเนิดชนชั้นกลางของไทย เกิดมาจากระบบเศรษฐกิจที่ขยายตัวตามแนวทางการพัฒนาของประเทศโดยภาคเอกชนได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะสถาบันทางการเงิน ธนาคารและอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ เจริญเติบโตขึ้นมาก จนกระทั่งปี พ.ศ. 2525-2526 การขยายตัวในภาคเอกชนได้เปิดโอกาสให้มีตำแหน่งหน้าที่การงานมากมายโดยเฉพาะบริษัทใหญ่ได้มีการปรับปรุงระบบบริหารให้ทันสมัยซึ่งรวมถึงการให้สวัสดิการและความมั่นคงแก่พนักงาน ดังนั้น อาชีพในภาคเอกชนเริ่มมีความหมายและคุณค่าขึ้น นอกจากค่าตอบแทนจะสูงแล้ว ยังมีความมั่นคงและสวัสดิการเหมือนกับภาครัฐด้วย ภาครัฐจำเป็นจะต้องขยายตัวเพื่อดูแลให้บริการแก่ประชากรที่เพิ่มขึ้นและความต้องการของสังคมที่มีความทันสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ภาครัฐได้ขยายตัว ซึ่งเปิดโอกาสให้บุคคลในสังคมมีโอกาสทำงานในภาครัฐเพิ่มขึ้นภายในระยะเวลา 23 ปีที่ผ่านมา หน่วยราชการขยายตัวอยู่เสมอและด้วยยุทธวิธีต่างๆ บางครั้งการขยายตัวมีเหตุผลและความจำเป็นเพียงพอ แต่บางครั้งก้อไม่การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมผ่านการปฏิสัมพันธ์กับวัฒนธรรมตะวันตกและอื่นๆ นำมาซึ่งแบบของสังคม และวิถีชีวิตของชนชั้นกลางในสังคมอื่น สังคมแบบอเมริกันและสังคมแบบญี่ปุ่น ปัจจุบันมีชนชั้นกลางจำนวนมากกว่าชนชั้นอื่นๆ วิถีชีวิตของชนชั้นกลางคือรูปแบบและชีวิตชาวอเมริกันและชาวญี่ปุ่น คนไทยเริ่มรับรู้และเลียนแบบลักษณะหลายประการของวิถีชีวิตชนชั้นกลางโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวเหตุผลประการสุดท้ายของการกำเนิดชนชั้นกลางคือการศึกษา โอกาสในการศึกษามีสูงขึ้นทำให้สร้างความทะเยอทะยานและความต้องการในตัวบุคคลที่ปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ตนปรารถนา มีชีวิตที่ดีกว่าเดิมสูงขึ้นโดนเฉพาะอย่างยิ่ง มีเกียรติและศักดิ์ศรีในตัวเอง การศึกษาจึงเป็นส่วนสำคัญที่เป็นสาเหตุและกลไกอันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงชนชั้นสังคมในไทย ถ้ามีการศึกษาและได้งานที่ดีทำ โอกาสของบุคคลในสังคมที่ก้าวหน้าขึ้นก็จะมีการศึกษาและได้งานที่ไม่ดี ในแง่ดังกล่าว ถือว่าการศึกษาช่วยเสริมให้คนมีฐานะดีขึ้นโดยสามารถเขยิบมาในตำแหน่งกลางๆ ที่เราเรียกว่า ชนชั้นกลางลักษณะชนชั้นกลางของไทย-         ภรรยามักจะทำงานนอกบ้าน-         ระดับการศึกษาของสามีภรรยาอยู่ในเกณฑ์ดี-         ลักษณะครอบครัวเป็นรูปแบบครอบครัวเดี่ยวมากกว่ารูปแบบขยาย-         ลักษณะการครองเรือนอยู่กันตามลำพัง-         ภายในบ้านมีอุปกรณ์เครื่องใช้ทันสมัยต่างๆ-         รถยนต์เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นสัญลักษณ์ของความสำเร็จและเกียรติศักดิ์ของชนชั้นกลาง-         ลูกจะได้รับความสนใจจากพ่อแม่ และมีความสำคัญกว่าเด็กยุคก่อน-         รูปแบบครอบครัวที่ดีและสมบูรณ์จำลองแบบมาจากตะวันตก-         แนวความคิดเกี่ยวกับสันทนาการ-         วิธีการจ่ายตลาดและซื้อของกินของใช้วัฒนธรรมของชนชั้นกลาง-  ชนชั้นกลางมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้ปกครอง จึงทำให้วัฒนธรรมของชนชั้นกลางไทยมีความสืบเนื่องกับวัฒนธรรมของผู้ปกครองชั้นสูง-  ลักษณะโลกาภิวัฒน์ เป็นอีกวัฒนธรรมหนึ่งของวัฒนธรรมคนชั้นกลางไทยในปัจจุบัน-  คนชั้นกลางไทยเป็นมิตรกับวัฒนธรรมของกลุ่มผู้ปกครองในแง่ตามจารีตมากกว่าวัฒนธรรมของชาวนา-  คนชั้นกลางไทยมีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของกลุ่มผู้ปกครองในแง่ของการแสดงความมั่งคั่ง-  พันธะของชั้นกลางต่อประชาธิปไตยเบาบางเพราะขาดโลกทัศน์ที่จะเป็นฐานให้แก่อุดมการณ์ทางประชาธิปไตยได้-  คนชั้นกลางไทยเชื่อในเรื่องการพัฒนาที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น-  คนชั้นกลางไทยสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ขึ้นแต่ไม่ใช่เครือข่ายความสัมพันธ์ที่เกิดจากพันธะสัญญาทางกฎหมายอย่างเดียว หากเป็นเครือข่ายความสัมพันธ์ที่มีพื้นฐานอยู่บนความสัมพันธ์ส่วนบุคคลตามจารีตประเพณีเดิม-  ฐานอำนาจของชนชั้นกลางไทยอยู่ที่เงินและอำนาจเท่านั้น ไม่มีรากฐานทางปรัชญาสำหรับจรรดลงทรัพย์และอำนาจนั้นอย่างแข็งแกร่งจากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่าการก่อตัวของชนชั้นกลางไทยรวมทั้งบทบาททางการเมืองในประเทศไทยของกลุ่มคนเหล่านี้ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของคนในการประกอบอาชีพภายใต้ระบอบอำมาตยาธิปไตย โดยเฉพาะในสมัยของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตลอดจนปัญญาชนสมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ซึ่งในยุคต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องแก้ไขและปรับปรุงเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้มีรายได้ที่สูงขึ้นซึ่งจะทำให้ระดับการครองชีพของประชาชนสูงขึ้นด้วย เพราะ ฉะนั้น รัฐบาลเลยได้ปรับปรุงการเงินการคลังของประเทศ ดำเนินการส่งเสริมกรเกษตรกรรม การสหกรณ์ การอุตสาหกรรมและการค้า ตลอดจนการคมนาคมให้ก้าวหน้าเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นและเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลได้แถลงไว้ รัฐจึงเข้าดำเนินการต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ หลักอยู่ 4 ประการคือ-  ด้านการเมือง การที่รัฐจัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นมาก็เพื่อที่จะนำมาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ทางการเมืองซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นผลสะท้อนของแนวคิดของอุดมการณ์และปรัชญาขององการทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ หรืออีกในหนึ่งคือเพื่อการสนับสนุนอำนาจทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยการขจัดการลงทุนจากต่างประเทศบางประเภท เพื่อรวบรวมกิจการของประเภทนั้นๆ เป็นของรัฐ ตามความมุ่งหมายและเพื่อเป็นการป้องกันประเทศ-  ด้านเศรษฐกิจ วัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจนี้ พิจารณาจากการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทั่วไป และอาจมีกิจการบางประเภทที่เอกชนไม่สามารถลงทุนได้หรือยังไม่ได้รับความสนใจเพียงพอ และในบางกรณีรัฐยังไม่อยู่ในสภาพที่จะเสี่ยงให้เอกชนลงทุน อีกประการหนึ่งการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ถือว่าเป็นรายได้ของประเทศ และรัฐยังต้องการรายได้นั้นอยู่จึงจำเป็นต้องดำเนินการเอง-  ด้านการเงิน การตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นตามวัตถุประสงค์ทางด้านการเงินนี้จะปรากฏขึ้นก็ต่อเมื่อองค์การรัฐวิสาหกิจต้องการที่จะขยายกิจการออกเป็นแระเภทต่างๆ เพื่อนความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ และนั่นหมายความว่าจะต้องมีความคล่องตัวทางด้านการเงินและการบริหารตลอดจนการควบคุมงบประมาณ จึงจำเป็นต้องจัดองค์การให้เป็นหน่วยงานอิสระ ในลักษณะเช่นนี้การบริหารจะมีแนวโน้มเอียงไปทางด้านธุรกิจสามารถที่จะดำเนินการอย่างธุรกิจ มีรายได้พอเลี้ยงตัวโดยไม่ต้องรับเงินช่วยเหลือจากรัฐ -  ด้านสังคม เหตุผลตามวัตถุประสงค์ทางด้านสังคมมีลักษณะต่างๆกัน คือ การตั้งรัฐวิสาหกิจบางครั้งตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการ จึงเป็นประเภทที่จะหวังผลกำไรไม่ได้ แต่จะมุ่งที่ความก้าวหน้าทางสังคมทั่วไป อีกประการหนึ่ง เพื่อแก้ปัญหาคนว่างงาน ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของทุกประเทศ นอกจากนี้เพื่อยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชนอีกด้วย ทั้งหมดที่กล่าวมาในข้างต้นนี้ แสดงถึงพัฒนาการของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมพึ่งพา มาจนกระทั่ง เศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ที่เปลี่ยนแปลงพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ. 2398 จนกระทั่งถึงมีการใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่หนึ่งเป็นต้นมาหลังช่วงเหตุการณ์ตุลาคม 2516 ที่ประชาชนเริ่มเสื่อมความนิยมใน ระบอบอำมาตยาธิปไตย วงการธุรกิจเริ่มเข้ามามีบทบาทและยุ่งเกี่ยวทางการเมืองอันแสดงให้เห็นว่าธุรกิจเริ่มมีพลังทางการเมืองมากขึ้น ความจริงกลุ่มธุรกิจนี้ได้ยุ่งเกี่ยวกับทางการเมืองมาตั้งแต่ พ.ศ. 2490-2502 และต่อมาในช่วง พ.ศ. 2502-2506 กลุ่มนี้ได้เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางเศรษฐกิจในแง่ที่รัฐบาลได้หันมาเน้นเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเป็นหลักมากขึ้น ผลทำให้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงรูปแบบเข้าสู้ระบอบทุนนิยมอย่างรวดเร็วทำให้กลุ่มเศรษฐกิจขนาดใหญ่มีอำนาจผูกขาดทางเศรษฐกิจมากขึ้นในการเข้าสู่การเมืองของนักธุรกิจดังที่กล่าวไปจะมีนักธุรกิจจำนวนไม่น้อยเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมืองและตำแหน่งทางการเมืองด้วยความบริสุทธิ์ใจและเพื่อเกียรติคุณและชื่อเสียของครอบครัว เสียสละเพื่อชาติและสังคม แต่ก้อมีนักธุรกิจบางกลุ่มใช้กระบวนการทางการเมืองดังกล่าวเป็นวิธีกระทำธุรกิจ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการใช้เงินซื้อเสียงเลือกตั้ง บริจาคเงินให้กับพรรคและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี และหลังจากนั้นได้ใช้ตำแหน่งทางการเมืองนั้นเป็นฐานในการทำธุรกิจและการหาเงินจากการอนุมัติโครงการโดยได้ค่าตอบแทนการเข้าเกี่ยวข้องการเมืองจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนทางธุรกิจในลักษณะธุรกิจการเมือง ซึ่งสภาวะที่มีการใช้การเมืองเพื่อประกอบธุรกิจทำให้ระบอบการเมืองของไทยนั้นมีลักษณะเป็น วณิชยาธิปไตยและการใช้อำนาจเงินเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งและอำนาจทางการเมืองทำให้เกิดสภาพ ธนาธิปไตย หรือ ทำให้การเมืองเป็นเรื่องของเงินตรา จนถึงปัจจุบันทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นถึงการบวนการการถ่ายเทอำนาจจาก กลุ่มข้าราชการ ไปสู่กลุ่มนักธุรกิจ ที่ถือหรือที่ใช้กระบวนการทางการเมืองเป็นวิธีกระทำธุรกิจ ผลทำให้การเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองของกลุ่มธุรกิจได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจในลักษณะของ ธุรกิจการเมือง ขณะเดียวกันมีการใช้อำนาจเงินเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองทำให้เกิดการก่อตัวของ ระบอบธนาธิปไตย ขึ้นมา

จากที่ได้เขียนและสรุปไปแล้วทั้งหมดนั้นจะเห็นได้ ชัดว่าการเมืองของประเทศไทยนั้นส่วนมากเกิดขึ้นเพื่อตอบสนองต่อผลประโยชน์ของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นโดยมิได้ทำเพื่อประเทศและทำเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

  พัฒนาการของการปกครองของไทยจากประวัติศาสตร์ของไทย กลุ่มบุคคลที่ประกอบด้วยทหารและพลเรือนที่รวมตัวกันในนามของ "คณะราษฎร" ได้ทำการยึดอำนาจการปกครองและเปลี่ยนระบบการปกครองของไทย จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นสิ่งที่พวกเราเรียกกันว่า "ประชาธิปไตย" ซึ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวถือได้ว่าเป็นผู้ที่บุกเบิกนำประชาธิปไตยมาใช้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย และนับแต่นั้นมาสภาพการเมืองของไทยก็เป็นการเมืองที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของทหารและระบบราชการมาโดยตลอดผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองนั้นมักพยายามจะอ้างเสมอว่าทำการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนกลับมีส่วนร่วมทางการเมืองและได้รับผลประโยชน์จากการปกครองของผู้นำทางการเมืองน้อยมาก ประชาชนโดยทั่วไปมักจะขาดสิทธิและความสำนึกถึงสิทธิของตนในการที่จะใช้การเมืองตามระบอบประชาธิปไตยเพื่อผลประโยชน์ของตนอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันกลไกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย เช่น รัฐสภา และพรรคการเมือง ก็ไม่ได้แสดงบทบาทให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่อย่างจริงจังว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นส่วนรวมอย่างแท้จริง โดยนักการเมืองมักจะถูกพิจารณาว่าทำหน้าที่เพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพรรคพวกเท่านั้น ความอ่อนแอของสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้สถาบันในระบบราชการ โดยเฉพาะทหารเข้ามามีอำนาจทางการเมืองของประเทศอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการแสดงอิทธิพลและอำนาจของทหารในการเมืองไทยนั้น จะปรากฏออกมาในหลายรูปลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยหลังการทำรัฐประหารสำเร็จ ผู้นำทหารอาจเข้าทำการปกครองประเทศและใช้อำนาจทางการเมืองโดยตรง โดยอาจตั้ง "สภาปฏิวัติ" หรือ "สภาปฏิรูป" ขึ้นมาทำการปกครองชั่วคราว และแปรสภาพเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามกฏหมายในระยะเวลาต่อมา โดยบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองซึ่งมีอำนาจตัดสินใจในนโยบายของประเทศมักจะประกอบด้วยนายทหารประจำการชั้นสูง ขณะเดียวกันสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอาจได้รับการจัดตั้งขึ้นมาเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับการปกครองของตน โดยสถาบันต่างๆเหล่านี้แทบจะไม่มีบทบทาเลยในทางปฏิบัติ อีกรูปแบบหนึ่งของการแสดงอำนาจในการเมืองไทยของฝ่ายทหาร จะปรากฏออกมาในรูปของการจัดตั้งรัฐบาลหลังการรัฐประหาร โดยแต่งตั้งพลเรือนให้เป็นหัวหน้ารัฐบาลอย่างเป็นทางการ แต่ฝ่ายทหารก็จะตั้ง "สภาที่ปรึกษา" ขึ้นมาคอยให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลพลเรือนที่ฝ่ายทหารจัดตั้งขึ้น ซึ่งมักจะปรากฏว่าคำปรึกษาของฝ่ายทหารนั้นจะเป็นตัวกำหนดนโยบายที่ฝ่ายรัฐบาลพลเรือนต้องปฏิบัติตาม และเช่นเดียวกันสถาบันทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะสถาบันนิติบัญญัติก็จะถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อความชอบธรรมของการใช้อำนาจปกครองประเทศสภาพการเมืองของไทยตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของทหารเป็นส่วนใหญ่ เพราะสถาบันทหารอยู่คู่กับประเทศ มีความใกล้ชิดกับสถาบันกษัตริย์มาแต่อดีต และยังมีความเป็นปึกแผ่น มีระเบียบวันัย แล้วยังมีกำลังและอาวุธที่สามารถใช้เพื่อการมีอำนาจทางการเมืองได้โดยตรง อีกทั้งความล้มเหลวของสถาบันต่างๆในระบอบประชาธิปไตยมักจะปรากฎให้เห็นบ่อยครั้ง จึงส่งผลให้ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองของประเทศอยู่ตลอดเวลาการต่อต้านอำนาจของฝ่ายทหารในการเมืองของไทย ที่นำไปสู่การเรียกร้องการปกครองแบบประชาธิปไตยที่แท้จริงเกิดขึ้นหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น "วิกฤติการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516" จนถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2535 (พฤษภาทมิฬ) เหตุการณ์ทั้งสองช่วงเวลานั้นทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของผู้เรียกร้องประชาธิปไตยจำนวนมาก แต่เหตุแรงร้ายเหล่านี้ก็ยุติลงได้ด้วยพระบารมีและบทบาทของพระเจ้าอยู่หัว ผู้ที่เป็นที่พึ่งและศูนย์รวมจิตใจของประชาชนชาวไทยทั้งประเทศแต่..การที่ทหารเข้ามามีบทบาททางการเมืองหลายครั้งนั้น ใช่ว่าจะเป็นเพียงเพื่อผลประโยชน์ของตน แต่เป็นเพราะการคำนึงถึงประเทศชาติเสียมากกว่า จากสภาพการณ์ดังเช่นนั้น ผู้เขียนมีความเห็นว่าเป็นสภาพการณ์ที่ผิดไปจากหลักทางความคิดของประชาธิปไตยตะวันตก แต่ที่เป็นเช่นนั้น เราก็ไม่อาจสรุปได้ว่าสิ่งที่เป็นมาใช่ว่ามันจะไม่เป็นผลดีประชาธิปไตยแบบตะวันตกนั้นจะยอมรับการมีส่วนร่วมในการปกครองของประชาชน ความเสมอภาคเท่าเทียมกันของประชาชนในสังคม และการเคารพในหลักการปกครองโดยกฎหมาย  แต่วัฒนธรรมทางสังคมและการเมืองการปกครองของสังคมในเอเชียอาคเนย์นั้น จะยอมรับและให้ความสำคัญกับหลักการที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับสังคมประชาธิปไตยมากนัก ในวัฒนธรรมทางสังคมของไทยนั้น อาจจะกล่าวได้ว่า ประชาชนจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนชั้นกว้างๆ คือ ชนชั้นปกครองและชนชั้นใต้ปกครอง ซึ่งจะไม่มีความเสมอภาคเท่าเทียมกันระหว่างชนชั้นทั้งสอง ดังนั้นการมีส่วนร่วมของคนในสังคมตามความคิดที่ว่า อำนาจการปกครองเป็นของประชาชน เป็นการปกครองโดยประชาชนและเพื่อประชาชนนั้น จึงไม่มีอยู่ในความนึกคิดของคนในสังคม การมีส่วนร่วมของชนชั้นใต้ปกครองในสังคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะออกมาในรูปแบบของการยอมรับความเป็นผู้นำและอำนาจการปกครองของชนชั้นปกครองมากกว่า ในสังคมของประเทศเรา ความสัมพันธ์ทางสังคมที่เรียกว่า ความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ ซึ่งถือเป็นกลไกทางสังคมที่สำคัญ ความสัมพันธ์แบบนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นสูงกว่ากับชนชั้นที่ต่ำกว่า เป็นความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ทำด้วยความสมัครใจโดยไม่มีข้อผูกมัดทางกฎหมาย และทั้งสองฝ่ายต่างก็พอใจ เพราะได้รับผลประโยชน์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย แม้ผลประโยชน์ที่ได้รับนั้นจะไม่เท่าเทียมกันก็ตาม แต่ความสัมพันธ์แบบนี้ก็ทำให้สังคมดำเนินไปได้อย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์นั้นถือได้ว่าค่อนข้างแตกต่างจากความสัมพันธ์ในสังคมประชาธิไตยแบบตะวันตก เพราะในสังคมประชาธิปไตยแบบตะวันตกจะให้ความสำคัญอย่างมากต่อความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่มีข้อกำหนด ตลอดจนเงื่อนไขที่ตายตัว ผูกยึดไว้กับเงื่อนไขที่มีผลทางกฎหมายได้   

ปัญหาของประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่เกิดขึ้นในไทย

  - ความคิด ตลอดจนรูปแบบการปฏิบัติของประชาธิปไตยแบบตะวันตกนั้น เป็นเรื่องแปลกใหม่ - พรรคการเมืองเป็นการรวมกลุ่มของชนชั้นสูงเพื่อสนับสนุนบุคคลเพียงบางคนให้มีอำนาจทางการเมือง  - ประชาชนไม่เห็นความสำคัญของการเลือกตั้ง - การโกงกินกันในระบบของการเมือง เพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง   การนำประชาธิปไตยแบบตะวันตกมาใช้นั้นอาจจะยังมีปัญหาอยู่มาก และยังผิดเพี้ยนไปจากแบบเดิมมากอยู่ แต่ที่เป็นเช่นนั้นอาจจะเป็นเพราะเกิดจากความแตกต่างทางวัฒนธรรมทางการเมืองและสังคมก็เป็นได้

 

สร้างโดย: 

น.ส.กนกวรรณ ชูอินทร์ เลขที่ 29 ม.4/2

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 912 คน กำลังออนไลน์