การเคลื่อนที่ของมนุษย์


โครงสร้างที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของคน

             การเคลื่อนที่ของคนนั้นไม่ว่าจะเป็นอากัปกิริยาต่างๆเช่น  การกิน การนอน การวิ่ง ล้วนแล้วเป็นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากระบบโครงกระดูกและระบบกล้ามเนื้อทั้งสิ้น ในเรื่องนี้เราจะมาดูในเรื่องของโครงกระดูกของคน ข้อต่อและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของมนุษย์

 

ระบบโครงกระดูกของมนุษย์

             ระบบโครงกระดูก ประกอบด้วย กระดูกอ่อน (Cartilage)  กระดูกแข็ง (Compact bone) ข้อต่อ(Joints)  รวมถึงสิ่งต่างๆ ที่มาเกี่ยวพัน ได้แก่ เอ็นกล้ามเนื้อ (Tendon) เอ็นยึดข้อ (Ligament)

 

หน้าที่ของระบบโครงกระดูก 

             เป็นโครงร่าง ทำให้คนเราคงรูปอยู่ได้ นับเป็นหน้าที่สำคัญที่สุด เป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อลาย รวมทั้งพังผืดเป็นโครงร่างห่อหุ้มป้องกันอวัยวะภายใน ไม่ให้เป็นอันตราย เช่น กระดูกสันหลัง  ป้องกันไขสันหลัง เป็นแหล่งเก็บแคลเซียมที่ใหญ่ที่สุด เป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ช่วยในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะกระดูกยาวทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นมุมที่กว้างขึ้น กระดูกบางชนิดยังช่วยในการนำคลื่นเสียง ช่วยในการได้ยิน เช่น กระดูกค้อน ทั่ง  และ โกลน ซึ่งอยู่ในหูตอนกลาง  ทำหน้าที่นำคลื่นเสียงผ่านไปยังหูตอนใน

 

กระดูกอ่อน (Cartilage)                     

             กระดูกอ่อนจัดเป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดพิเศษที่มีเมทริกซ์แข็งกว่าเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดอื่นๆ  ยกเว้นกระดูกแข็ง  หน้าที่สำคัญของกระดูกอ่อนคือ รองรับส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย เนื่องจากผิวของกระดูกอ่อน เรียบ เพื่อจะให้การเคลื่อนไหวได้สะดวก  ป้องกันการเสียดสี  จึงพบว่ากระดูกอ่อนจะพบที่ปลายหรือหัวของกระดูก ที่ประกอบเป็นข้อต่อต่างๆ และยังเป็นต้นกำเนิดของกระดูกแข็งทั่วร่างกาย  นอกจากนี้ กระดูกอ่อนยังทำหน้าที่รองรับน้ำหนักตัว รวมทั้งการเคลื่อนไหวและกิจกรรมของอวัยวะต่างๆ ด้วย

ลักษณะที่สำคัญของกระดูกอ่อน มีดังนี้

             ไม่มีหลอดเลือดฝอยมาเลี้ยงโดยตรง ได้รับอาหารจากการแพร่จากผิวเซลล์ของกระดูกอ่อนที่อยู่ลึกๆ   เมื่อมีแคลเซียมมาฝังตัวในเมทริกซ์มากขึ้น  ทำให้เซลล์กระดูกอ่อนตายซึ่งต่อไปจะกลายเป็นกระดูกแข็ง มีจำนวนเซลล์น้อย และมีเมทริกซ์มาก ไม่มีหลอดน้ำเหลืองหรือเส้นประสาทมาหล่อเลี้ยงและมีอัตราเมแทบอลิซึมต่ำ เซลล์กระดูกอ่อนจะอยู่กันเป็นกลุ่มๆ ภายในช่องคาลูนา  

ภาพกระดูกอ่อน 

กระดูกอ่อนแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

             กระดูกอ่อนโปร่งใส (Hyaline Cartilage)

             มีลักษณะใสเหมือนแก้วเพราะมีเมทริกซ์ โปร่งใส เป็นชนิดที่พบมากที่สุดในร่างกายเป็นต้นกำเนิดโครงกระดูกส่วนมากในร่างกาย เช่น กระดูกซี่โครงด้านหน้าตรงส่วนรอยต่อกับกระดูกหน้าอก  บริเวณส่วนหัวของกระดูกยาว  เช่น  จมูก   กล่องเสียง   หลอดลม   รูหูชั้นนอก   หลอดลม   ขั้วปอด  เป็นต้น

ภาพกระดูกอ่อนโปร่งใส

             กระดูกอ่อนยืดหยุ่น (Elastic Cartilage)

             เป็นกระดูกอ่อนที่ยืดหยุ่นได้ดี  มีเมทริกซ์ เป็นพวกเส้นใย ยืดหยุ่นมากกว่าคอนลาเจนพบได้ที่ใบหูฝาปิดกล่องเสียง หลอดยูสเตเชียน เป็นต้น  

ภาพกระดูกอ่อนยืดหยุ่น

             กระดูกอ่อนเส้นใย  (Fibrous Cartilage) 

             พบในร่างกายน้อยมาก  เป็นกระดูกอ่อนที่มีสารพื้นน้อยแต่มีเส้นใยมาก  พบได้ที่หมอนรองกระดูกสันหลัง  ปลายเอ็นตรงส่วนที่ยึดกับกระดูก และตรงรอยต่อที่กระดูกกับหัวหน่าว  กระดูกอ่อนชนิดนี้ ถ้าเกิดการแตกหัก มักมีปัญหาเกี่ยวกับการงอกออกมาซ่อมแซมมาก

 

ภาพกระดูกอ่อนเส้นใย

กระดูก (Bone)

             กระดูกเป็นเนื้อเยื่อค้ำจุน (Supporting tissue) ที่แข็งที่สุด แบ่งตามลักษณะโครงสร้างได้เป็นสองพวกคือ

1. กระดูกฟองน้ำ (Spongy Bone)  เป็นกระดูกที่มีรูพรุนคล้ายฟองน้ำ  พบที่ส่วนปลาย    ทั้งสองข้างของกระดูกยาว ส่วนผิวนอกตรง

    ส่วนปลายกระดูก จะมีกระดูกอ่อนหุ้มอยู่ ส่วนที่เป็น    รูพรุนจะมีไขกระดูกบรรจุอยู่ เป็นที่สร้างเม็ดเลือดให้แก่ร่างกาย

2. กระดูกแข็ง (Compact Bone) หมายถึง  กระดูกส่วนที่แข็งแรง  จะพบอยู่บริเวณผิวนอกส่วนกลางๆ ของกระดูกยาว มีเนื้อกระดูกมากกว่าช่องว่าง ในภาคตัดขวางจะเห็นเป็นชั้นๆ ดังนี้                              

          2.1  เยื่อหุ้มกระดูก  (Periosteum)  มีลักษณะบางเหนียวเป็นส่วนที่มีหลอดเลือดฝอย เพื่อนำอาหารไปเลี้ยงกระดูก  และชั้นในสุดของเยื่อหุ้มกระดูกจะมีเซลล์  ออสทีโอบลาสต์  (Osteoblast)  เป็นเซลล์ที่ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์กระดูก                     

          2.2  เนื้อกระดูก  นับเป็นโครงสร้างที่แข็งแรงที่สุดของร่างกาย

          2.3  ช่องว่างในร่างกาย (Medullary Cavity) เป็นช่องว่างที่มีไขกระดูกบรรจุอยู่

        2.4  ไขกระดูก (Bone Marrow)  มีสีเหลือง ประกอบด้วยเซลล์ไขมันจำนวนมาก

 ไขกระดูกมี 2 ชนิดคือ                                

                   2.4.1 ไขกระดูกแดง เป็นที่สร้างเม็ดเลือด เริ่มสร้างประมาณกลางวัยเด็ก เมื่อวัยรุ่น จะถูกแทนที่โดยเซลล์ไขมัน กลายเป็นไขกระดูกเหลือง

                   2.4.2  ไขกระดูกเหลืองเป็นพวกเซลล์ไขมัน อาจเปลี่ยนเป็นไขกระดูกแดงได้

โครงกระดูกของมนุษย์มีจำนวน  206  ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ

     1. กระดูกแกน (Axial skeleton)

             หมายถึงกระดูกที่เป็นแกนหลักของร่างกาย มีจำนวน 80 ชิ้น  ได้แก่ กระดูกหัวกะโหลกศีรษะ  29  ชิ้น  กระดูกสันหลัง  26  ชิ้น  กระดูกซีโครง  24  ชิ้น และกระดูกหน้าอก  1  ชิ้น

     2. กระดูกรยางค์ (Appendicular  skeleton)

             หมายถึง  กระดูกที่ยื่นออกมาจากกระดูกแกน  มีจำนวน 126  ชิ้น  ได้แก่  กระดูกแขนข้างละ 30  ชิ้น  กระดูกขาข้างละ  30  ชิ้น  กระดูกสะบักข้างละ 2  ชิ้น  กระดูกเชิงกรานข้างละ 1 ชิ้น

เอ็นเชื่อมกระดูก

             เป็นวิวัฒนาการที่เกิดมาควบคู่กันของกล้ามเนื้อและกระดูก  คือ  การเกิดเอ็นต่างๆ เพื่อยึดกระดูกและกล้ามเนื้อทำให้การยึดเกาะเหนียวแน่น  แข็งแรง  สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วมีประสิทธิภาพและช่วยป้องกันการสะเทือนได้ดี คือ

    1. เอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อกับกระดูก เรียกว่า เอ็นยึดกระดูก หรือ เทนดอน (tendon)        

    2. เอ็นที่ยึดระหว่างกระดูกกับกระดูก เรียกว่า เอ็นยึดข้อ หรือ ลิกกาเมนท์ (ligament)

    3. เอ็นที่ยึดระหว่างกล้ามเนื้อน่องกับกระดูกส้นเท้า เรียกว่า เอ็นร้อยหวาย

ข้อต่อ (Joint)

             ข้อต่อ หมายถึง จุดหรือบริเวณที่กระดูกตั้งแต่ 2  หรือมากกว่า 2 ชิ้นขึ้นไปมาต่อกัน  ซึ่งมีทั้งข้อต่อชนิดที่เคลื่อนไหวไม่ได้  (immovable  joint)   เช่น กะโหลกศีรษะ  และข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้ (movable  joint) เช่น ข้อมือ ข้อเท้า ข้อศอก ต้นแขนกับสะบัก และต้นแขนกับเชิงกราน ข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้ (immovable  joint) ได้แก่ ข้อต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะ เรียกว่า suture เป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวไม่ได้  และมีความแข็งแรงมาก การต่อของกระดูกนี้คล้ายกับการเข้าไม้ในการต่อตู้และเตียงของ ช่างไม้  โดยมีขอบร่องสำหรับให้ลิ้นเสียบเข้าได้พอดีข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้  (movable  joint) เป็นข้อต่อของกระดูกที่เคลื่อนไหวได้เป็นอิสระ  อาจจะเคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อย หรือเคลื่อนไหวได้รอบตัว สุดแท้แต่ชนิดของข้อต่อ มีหลายชนิด คือ         

     1. ข้อต่อแบบสไลด์ (gliding joint) ได้แก่ ข้อต่อของกระดูกข้อมือ  ข้อเท้าและกระดูกสันหลังเป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้บ้างแต่ไม่มากนัก  คล้ายกับงูเลื้อย          

     2. ข้อต่อแบบบานพับ (hinge joint) ได้แก่ ข้อต่อที่เข่า ข้อต่อที่ข้อศอกระหว่างปลายกระดูกต้นแขนกับโคนกระดูก ulna ซึ่งเป็นข้อต่อที่เคลื่อนไหวได้มากกว่าชนิดแรกและเคลื่อนไหวได้ในแนวเดียวคล้ายบานพับ                             

     3. ข้อต่อแบบเดือย (privot  joint) ได้แก่ ข้อต่อของ axis  และ atlas เป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวทำให้ศีรษะหมุนจากข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งได้ (หันซ้ายไปขวา หันขวาไปซ้ายได้) และข้อต่อระหว่างหัวของกระดูก radius กับปลายกระดูกต้นแขน     

     4. ข้อต่อแบบลูกกลมในเบ้า (ball and shocket joint)  ได้แก่ ข้อต่อระหว่างหัวของกระดูกต้นแขนกับกระดูกสะบัก และระหว่างหัวของกระดูกต้นขากับกระดูกเชิงกราน  ซึ่งเป็นข้อต่อที่มีการเคลื่อนไหวได้หลายทิศทางและเคลื่อนที่ได้คล่องมาก  เพราะหัวของกระดูกต้นแขน  ต้นขามีลักษณะกลมอยู่ภายในแอ่ง จึงหมุนได้สะดวก

. ข้อต่อแบบบานพับ   พบได้ที่บริเวณข้อศอกเคลื่อนไหวได้แค่งอและเหยียดคล้ายกับบานพับประตู

ข. ข้อต่อแบบจุดหมุน    ทำให้อวัยวะบางส่วนของร่างกายเคลื่อนไหวรอบจุดศูนย์กลางได้  พบได้ที่บริเวณคอ  ทำให้เราหันศีรษะไปทางซ้ายหรือขวาได้                 

ค. ข้อต่อแบบเบ้าสวม  หมุนได้เกือบทุกทิศทาง  พบได้ที่บริเวณสะโพกและหัวไหล่                        

ง. ข้อต่อแบบอานม้า   ปลายกระดูกที่มาประกอบเป็นข้อต่อแบบอานม้า  จะเคลื่อนไปมาคล้าย    กับการเคลื่อนไหวบนอานม้า  พบได้ที่บริเวณฐานนิ้วหัวแม่มือ

จ. ข้อต่อแบบเลื่อน   จะมีผิวแบนเรียบ  เลื่อนไปซ้อนกันได้เล็กน้อยในทุกทิศทาง  พบได้ที่บริเวณระหว่างข้อกระดูกสันหลัง  และที่บริเวณข้อมือ-ข้อเท้า              

             แผ่นกระดูกอ่อน ที่ทำหน้าที่รองและเชื่อมกระดูกสันหลังแต่ละข้อ เรียกว่า  หมอนรองกระดูก  ถ้าเสื่อมไปจะไม่สามารถเอี้ยวและบิดตัวได้             

             ธนาคารกระดูกและเนื้อเยื่อ  ตั้งขึ้นเพื่อเก็บกระดูกจากคนหรือสัตว์ที่เสียชีวิตใหม่ๆ ภายใต้อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส บางกรณีอาจถึง 196 องศาเซลเซียส   เพื่อลดปฏิกิริยาของกระดูกที่จะกระตุ้นให้ร่างกายต่อต้าน เช่น ที่ศูนย์เนื้อเยื่อชีวภาพ  กรุงเทพฯ  โรงพยาบาลศิริราช

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 475 คน กำลังออนไลน์