ระบบกล้ามเนื้อ

             


             ร่างกายแบ่งกล้ามเนื้อออกเป็น 3 ชนิด คือ กล้ามเนื้อยึดกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย (skeletal muscle or striated muscle) กล้ามเนื้อเรียบ  (smooth muscle)   กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) โดยที่กล้ามเนื้อลายนั้นถูกควบคุมอยู่ภายใต้อำนาจจิตใจหรือรีเฟล็กซ์  ส่วนกล้ามเนื้อเรียบและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานนอกอำนาจจิตใจ

1. กล้ามเนื้อลายหรือกล้ามเนื้อยึดกระดูก (skeleton muscle) 

ภาพกล้ามเนื้อลาย

             เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะติดกับโครงกระดูกหรือกล้ามเนื้อลาย  เช่น กล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อขา จึงทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยตรง   เมื่อนำเซลล์กล้ามเนื้อเหล่านี้มาศึกษาด้วย    กล้องจุลทรรศน์จะมองเห็นเป็นแถบลาย  เซลล์กล้ามเนื้อนี้มีลักษณะเป็นทรงกระบอกยาว แต่ละเซลล์  มีหลายนิวเคลียส  การทำงานของกล้ามเนื้อยึดกระดูกถูกควบคุมโดยระบบประสาทโซมาติก  การทำงานของกล้ามเนื้อชนิดนี้ ร่างกายสามารถบังคับได้ซึ่งถือว่าอยู่ในอำนาจจิตใจ

2.กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)

ภาพกล้ามเนื้อหัวใจ

             เซลล์มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก แต่สั้นกว่าเซลล์กล้ามเนื้อยึดกระดูกและเห็นเป็นลายเช่นเดียวกัน  แต่ตอนปลายของเซลล์มีการแตกแขนง และเชื่อมโยงติดต่อกับเซลล์ข้างเคียง การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ  ดังนั้นร่างกายไม่สามารถบังคับได้ จึงเป็นกล้ามเนื้อที่อยู่นอกอำนาจจิตใจ

3.กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle)

ภาพกล้ามเนื้อเรียบ

             กล้ามเนื้อเรียบเป็นกล้ามเนื้อที่พบอยู่ตามอวัยวะภายในเช่นผนังกระเพาะอาหาร ผนังลำไส้  ผนังหลอดเลือด   และม่านตา เป็นต้น   กล้ามเนื้อเหล่านี้ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีลักษณะยาว  หัวท้ายแหลม  แต่ละเซลล์มี 1 นิวเคลียส  ไม่มีลายพาดขวาง การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนวัติ

เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ  กล้ามเนื้อลายและกล้ามเนื้อเรียบที่อวัยวะต่าง ๆ 

การทำงานของกล้ามเนื้อ                                               

            เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว  กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัวและคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ  พร้อมกัน  แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว  การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า  Antagonistic muscle                               

         มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน

ไบเซพหรือ (Flexors)   คลายตัว    ไตรเสพ หรือ (Extensors)   หดตัว        »»    แขนเหยียดออก

ไบเซพหรือ (Flexors)    หดตัว       ไตรเสพ หรือ (Extensors)  คลายตัว      »»    แขนงอเข้า  

แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อไบเซพ (Bicep) หรือ (Flexors)
และกล้ามเนื้อไตรเซพ (tricep) หรือ (Extensors)

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 560 คน กำลังออนไลน์