โรคในโลกนี้

รูปภาพของ sss27345

ชื่อโรค
โรคลิชมาเนีย  (Leishmaniasis)

อยู่ในกลุ่มโรคประเภท
ระบบห่อหุ้มร่างกาย (เป็นแผลผิวหนัง)
ระบบหมุนเวียนโลหิต เกิดโรคที่ไขกระดูก ต่อมน้ำเหลือง
ระบบทางเดินอาหาร (อวัยวะส่วนแรกของระบบนี้ คือ ปาก) เกิดโรคที่ตับ

ผู้ค้นพบ
Sir William Boog Leishman(6 พ.ย. 1865 - 2 มิ.ย. 1926)
พยาธิแพทย์ชาว สก๊อตผู้ค้นพบโปรโตซัว Leishmania donovani ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค Leishmaniasis ร่วมกับแพทย์ชาวอินเดีย Colonel Charles Donovan(1863-1951) นอกจากนี้เขายังคิดค้นเทคนิคการย้อมเชื้อที่เรียกว่า Leishman's stain อีกด้วย


Sir William Boog Leishman และ Colonel Charles Donovan

ที่มารูปภาพ http://www.stanford.edu/class/humbio103/ParaSites2006/Leishmaniasis/history.htm

ประวัติของโรค
โรคนี้พบได้ทั่วโรคทั้งเขตร้อน และแถบชิดเขตร้อนไม่น้อยกว่า 74 ประเทศ (WHO,1984) โรคนี้ระบาดอยู่ในจีน อินเดีย ตะว้นออกกลาง บริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แอฟริกาเหนือ อเมริกากลางและภาคเหนือของอเมริกาใต้ เขตปรากฏโรคทางภูมิศาสตร์ไม่ค่อยแน่นอน
โรคนี้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทย โดยผู้ที่กลับจากไปทำงานในประเทศที่มีโรคนี้อยู่แล้ว ผู้ป่วยรายแรกเป็นหญิงชาวปากีสถานตะวันออก และ๔งแก่กรรมด้วยโรคลิชมาเนียที่อวัยวะภายใน รายงานไว้ในพ.ศ. 2503 จนถึงพ.ศ. 2524 มีรายงานผู้ป่วยคนไทยเป็นโรคลิชมาเนียที่ผิวหนัง  ปัจจุบันริ้นฝอยทรายซึ่งเป็นพาหะนำโรคก็พบได้หลายแห่งในประเทศไทย  ซึ่งเป็นแมลงที่กัดกินเลือดคนและสัตว์ เมื่อดูดเลือดคนและสัตว์ที่ป่วยเป็นโรค ลิชมาเนีย ก็จะแพร่โรคไปสู่คนอื่นได้

สาเหตุการเกิดโรค
  โรคลิชมาเนีย  มีสาเหตุจากเชื้อโปรโตซัวในสกุลลิชมาเนีย (Leishmania) ซึ่งอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดขาว (Macrophage) ของคน  โดยเรียกระยะนี้ว่า amastigote และแพร่สู่คนอื่นโดยผ่านการกัดของแมลง “ริ้นฝอยทราย” ซึ่งหลังจากกินเลือดของผู้ป่วยแล้ว  amastigote จะใช้เวลาประมาณ 4-15 วันเจริญเติบโตเป็นระยะ promastigote  อาศัยอยู่ตรงบริเวณคอหอย    เป็นโรคของสัตว์แต่แพร่สู่คนได้ (zoonosis)  สัตว์รังโรคเป็นสัตว์กัดแทะจำพวก  กระรอก  กระแต  หน งู  สุนัข เป็นต้น

                              

                                      เชื้อลิชมาเนียในเม็ดเลือดขาว                      ริ้นฝอยทราย พาหะโรคลิชมาเนีย

ที่มารูปภาพ http://www.thaivbd.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=78&Itemid=42

 

อาการของโรค
เชื้อลิชมาเนียแต่ละชนิดก่อเกิดพยาธิสภาพร่างกายที่แตกต่างกัน
 1.ประเภทก่อเกิดแผลที่ผิวหนังและเยื่อบุ (Cutaneous and Mucocutaneous leishmaniasis  : CL and MCL)
  Cutaneous leishmaniasis หรือเรียกอีกชื่อว่า Oriental sore โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง มี 2 ชนิด คือ ชนิดแผลผื่นเปียกในเขตชนบท  (wet rural form ) เกิดจากเชื้อ L.major และชนิดแผลผื่นแห้งในเขตเมืองใหญ่ (dry urban form ) เกิดจากเชื้อ L.tropica เป็นโรคของคนแต่ถ่ายทอดสู่สัตว์ได้เช่นกัน

ที่มารูปภาพ http://www.thaivbd.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=78&Itemid=42

ส่วน Mucocutaneous leishmaniasis ลักษณะของโรคจะเป็นแผลตามรอบปากและจมูก  มีหลายแบบขึ้นอยู่กับชนิดของตัวเชื้อโรคและความรุนแรงของโรค    ชนิดที่เรียกว่า espundia ร้ายแรงที่สุด ตัวเชื้อโรคคือ L.brazilliensis    ขนิดUtaไม่ร้ายแรงเท่ากับชนิดแรก  ตัวเชื้อโรคคือ L.peruviana และชนิด Ulcer ไม่ร้ายแรง  ตัวเชื้อโรคคือ L.mexican

                           

เยื่อบุบริเวณปากและจมูกถูกทำลายจากเชื้อลิชมาเนีย

ที่มารูปภาพ http://www.thaivbd.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=78&Itemid=42

2.ก่อเกิดสภาพอวัยวะภายใน(Visceral leishmaniasis:VL)
 เรียกอีกชื่อว่า Kala-azar หมายถึง  “Black fever” เพราะเมื่อเป็นโรคนี้นาน ๆ จะทำให้ผิวหนังสีคล้ำขึ้น
ลักษณะทางคลินิก   โรคชนืดนี้กระจายโดยทางกระแสเลิอดและเข้าไปอยู่ในmacrophageของตับ ไขกระดูกและต่อมน้ำเหลือง
 อาการของโรคจะค่อยเป็น ค่อยไป อย่างช้า ๆ ระยะฟักตัวมีตั้งแต่สัปดาห์ไปจนถึงหลายเดือน (เฉลี่ยประมาณ 3-6 เดือน) เคยมีรายงานระยะฟักตัวนานถึง 9 ปี     ระยะ 2-8 สัปดาห์แรก  ผู้ป่วยจะรู้สึกว่ามีไข้ต่ำ ๆ  อ่อนเพลีย  และมีอาการไม่สบายในท้อง  อาจท้องเดิน  ท้องผูก  เบื่ออาหาร  และปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ  บางครั้งอาจมีไข้สูงขึ้นมาคล้ายเป็นมาลาเรีย  ไข้อาจเป็นเวลา  ชนิด intermittent, remittent และร่วมกับมีอาการท้องเดิน ไอแห้ง ๆ อาจมีเลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดออกทางจมูก  ไรฟัน  มีจุดเลือดออกตามตัวและทางเดินอาหาร  เป็นต้น  หลังจากนั้นผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้นเรื่อย ๆ และท้องอืด  ท้องโต  คลื่นไส้  อาเจียน  ผิวหนังแห้ง  ตกสะเก็ด  และจะกลายเป็นสีเทา ๆ โดยเฉพาะที่บริเวณมือหน้าเส้นกลางของหน้าท้อง petechia, ecchymosis และบวมได้  ม้ามจะโตมาก ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคนี้  ม้ามนุ่มไม่เจ็บปวด  และอาจโตมากจนถึงเชิงกราน  ตับโต  และบางรายจะมีต่อมน้ำเหลืองโตด้วย    เลือดซีด  เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 4,000/ลบ.มม. เกล็ดเลือดกับอัลบลูมินต่ำ และมี polyclonal hypergammaglobulinemia สูงมากซึ่งเป็น lgG  ภาวะแทรกซ้อนที่มักเกิดขึ้นร่วมด้วยคือ ปอดบวม  กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ  ถ้าไม่ได้รับการรักษาก็จะตาย  ซึ่งมักจะตายจากภาวะแทรกซ้อน  ซีดมาก หรือมีเลือดออกในกระเพาะอาหารและลำไส้มากๆได้
 บางรายผู้ป่วยมีอาการคล้ายจะหายไป  แต่ต่อมามีอาการทางผิวหนัง เรียกว่า Post kala-azar dermal leishmaniasis เป็นตุ่มนูนและผื่นแดงเกิดขึ้น

ตับ ม้ามโตอาการที่เกิดกับอวัยวะภายใน

ที่มารูปภาพ http://www.thaivbd.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=78&Itemid=42

การตรวจวินิจฉัย
 Cutaneous และ Mucocutaneous leishmaniasis สามารถตรวจดูแผลตามร่างกาย  หารอยแมลงกัด ซักประวัติการเข้าไปยังพื้นที่แหล่งแพร่โรค ขูดแผลทำ stained smears หาเชื้อ หรือทำ PCR    ส่วน Visceral leishmaniasis ใช้วิธี ELISA, IFAT, DAT, Formal-gel reaction เจาะไขกระดูก  ต่อมน้ำเหลือง  หรือ  ตัดชิ้นเนื้อ  ดูดของเหลวของ ตับ ม้าม มาทำ stained smear หรือเพาะเลี้ยงเชื้อแล้วฉีดเข้าสัตว์ทดลอง เป็นต้น

วิธีรักษา
การรักษาขึ้นอยู่กับประเภทและอาการของโรคมียารักษาเฉพาะโรค  เช่น  Pentaualent antimoniais หรือ Amphotericin B เป็นต้น  หรือใช้ยาทา  และผ่าตัด  รวมทั้งการรักษาตามอาการ  อย่างไรก็ตาม  ยารักษาเฉพาะโรคนั้นมักจะมีอาการแทรกซ้อนมาก  จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง  และอยู่ในการดูแลของแพทย์     ปัจจุบันมียาเม็ดชนิดรับประทาน “Miltefosine “ซึ่งองค์การอนามัยโลกนำมาใช้กำจัดโรคลิชมาเนียในประเทศอินเดีย เนปาลและบังคลาเทศ

วิธีป้องกัน
 1.  โรคลิชมาเนียโดยเฉพาะประเภทที่มีคนเป็นรังโรคต้องดำเนินการค้นหาผู้ป่วยให้พบอย่างรวดเร็ว (active-case detection) แล้วให้การรักษา ส่วนสัตว์รังโรคก็ให้ควบคุมโรคในสัตว์หรือลดจำนวนรังโรคลงให้เร็วที่สุด
 2.  ประเทศไทยแม้ไม่มีรายงานว่าติดต่อแล้ว  แต่ควรมีการเฝ้าระวังโรค เช่น แรงงานไทยทุกคนที่เดินทางกลับจากประเทศที่เป็นแหล่งแพร่โรคควรได้รับการตรวจร่างกายเพื่อให้แน่ใจว่าไม่เป็นโรคลิชมาเนียเนื่องจากผู้ป่วยมักไม่ทราบเพราะไม่มีอาการรุนแรง  หรือโรคอาจหายเองได้ถ้าภูมิต้านทานดีขึ้น
 3.  กำจัดพาหะริ้นฝอยทรายกรณีโรคมีการระบาด  ระยะแรกควรศึกษาหาข้อมูลชนิดพาหะริ้นฝอยทรายตามสถานที่สำคัญในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคนี้ในอนาคต
 4. จัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้านเรือนให้สะอาด ไม่มีเศษอาหารตกค้างให้หนูมากินจนเป็นแหล่งอยู่อาศัย ไม่มีโพรงไม้ รูหนู กองขยะ กองไม้  กองหิน และสัตว์เลี้ยงควรอยู่ในตาข่ายถี่เวลากลางคืน
 ประเทศไทยเปิดเสรีทางแรงงาน  โดยให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศได้โดยไม่ผิดกฎหมายอาจจะมีการนำโรคนี้หรือโรคอื่นเข้ามาในประเทศได้  รวมทั้งชาวไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีโรคแปลก  หรือโรคที่รุนแรงถึงชีวิต  ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการที่เข้มงวดและเคร่งครัดในเรื่องของการตรวจสุขภาพคนเหล่านี้อย่างจริงจังเพื่อประชาชนในชาติจะมีสุขภาพดีต่อไป
5.ถางหญ้า ถางป่ารอบบ้านให้โล่งเตียน เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่ของริ้นฝอยทราย
6.กำจัดขยะมูลฝอย โดยการเผาหรือฝังดิน หากมีอาชีพกรีดยางหรือต้องเข้าไปหาของป่า ต้องสวมเสื้อผ้า ใส่รองเท้า ถุงเท้า ให้มิดชิด รวมทั้งทายาป้องกันแมลงกัด ก็จะป้องกันได้
7.นอนกางมุ้งป้องกันหรือติดมุ้งลวดที่บ้าน ซึ่งแมลงชนิดนี้ออกหากินในช่วงหัวค่ำ

 สะท้อนความคิดเห็น
1.ทำไมถึงสนใจโรคนี้
โรคนี้น่าสนใจมากเป็นโรคที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก แต่เป็นโรคที่ร้ายแรง ที่สำคัญโรคนี้ในประเทศไทยพบผู้ป่วยแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวที่จะศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลของโรคลิชมาเนีย และวิธีป้องกันต่างๆเพื่อให้ปลอดภัยจากโรค
2.คิดอย่างไรกับโรคนี้
โรคนี้เป็นโรคที่น่ากลัวมาก ผู้เป็นโรคอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เชื้อลิชมาเนียสามารถแพร่กระจายได้ อาจมาจากชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศ หรือปัจจัยอื่นๆ แต่ก็สามารถป้องกันได้หากเราใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและตัวเรา ให้สะอาดปลอดภัย ระวังลิ้นฝอยทรายกัดซึ่งเป็นพาหะของโรค

ริ้นฝอยทราย
ริ้นฝอยทราย เป็นแมลงอยู่ใน อันดับ Diptera วงศ์ Phebotomidae โดยเป็นแมลงที่มีขนาดเล็กประมาณ 2-3 มม. มีสีน้ำตาลและขนเต็มตัว เป็นแมลงที่บินได้ช้า ตอนกลางวันชอบหลบพักตัวอยู่ตามที่มืดและอับชื้น เฉพาะตัวเมียที่มีปากแบบแทงดูดกัดกินเลือดคน และอาจดูดกินเลือดสัตว์เลือดอุ่นอื่นๆ ด้วย โดยจะออกหากินในเวลากลางคืน ผู้ถูกกัดจะรู้สึกคล้ายกับถูกเข็มแทง หลังจากนั้นจะเกิดเป็นตุ่ม และเกิดอาการแพ้ถ้าถูกกัดบ่อยๆ   ริ้นฝอยทรายจะเพาะพันธุ์ตามรอยแตกของบ้าน ใต้ก้อนหิน หรือโพรงไม้ ตามที่มืดชื้น วงจรชีวิตจากไข่จนถึงตัวเต็มวัยใช้เวลาประมาณ 21-60 วัน

ที่มาข้อมูล
http://www.geocities.com/burawatt/november/6.html
หนังสือ ชื่อ โรคเขตร้อน  พิมพ์ครั้งที่ 2 กันยายน 2534 ชื่อผู้เขียน นิภา   จรูญเวสม์
http://www.thaivbd.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=78&Itemid=42
http://www.srisangworn.go.th/modules.php?op=modload&name=News&file=article&sid=964
http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_7_001c.asp?info_id=971

สวัสดีคะKissเป็นการนำเสนอข้อมลูที่ดีเลยทีเดียวคะ

      โปรดช่วยประเมินงานให้หน่อยได้ไหมคะYell

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 467 คน กำลังออนไลน์