รัฐประหาร2500

รูปภาพของ sila15039

ปรีดี  พนมยงค์ , จอมพล ป.            หลังความล้มเหลวในการพยายามยึดอำนาจเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2492 ที่เรียกกันทั่วไปว่า กบฏวังหลวง แล้ว, ปรีดีและผู้สนับสนุนไม่กี่คนได้เดินทางไปลี้ภัยในประเทศจีน (เมื่อไปถึงครั้งแรกยังอยู่ภายใต้การปกครองที่เป็นทางการของก็กมินตั๋ง แต่ฝ่ายคอมมิวนิสต์กำลังรุกคืบหน้าอย่างรวดเร็วและยึดทั่วประเทศได้ในเดือนกันยายน) ในประเทศไทย คณะรัฐประหารที่ครองอำนาจได้ดำเนินการกวาดล้างผู้สนับสนุนหรือถูกคิดว่าสนับสนุนปรีดีอย่างรุนแรง เช่น การสังหารสี่อดีตรัฐมนตรีที่หลักกิโลเมตรที่ 11 บางเขน, การสังหารนายเตียง ศิริขันธ์, และการทำลายกองทัพเรือโดยเฉพาะหลังเกิดเกตุ "แมนฮัตตัน" ในเดือนมิถุนายน 2494 เป็นต้น

          ขณะเดียวกัน คณะรัฐประหารยังต้องขับเคี่ยวกับพลังการเมืองที่นักวิชาการทั่วไปเรียกว่า อนุรักษ์นิยม (Conservatives) หรือ นิยมเจ้า (Royalists) พลังดังกล่าวมีรากฐานที่กว้างขวางลึกซึ้งในสังคมไทย แต่แสดงออกต่อสาธารณะในขณะนั้นที่สำคัญโดยผ่านบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งควบคุมรัฐสภาอยู่ (ทั้งโดยการมี สส.ของพรรค และโดยวุฒิสมาชิกที่พรรคเป็นผู้ตั้ง จากการได้เข้าบริหารประเทศหลังรัฐประหาร 2490 โดยการขอของคณะรัฐประหารเอง ประชาธิปัตย์เป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญปี 2492) ในที่สุดคณะรัฐประหารแก้ปัญหานี้ด้วยการยุบสภา, นำรัฐธรรมนูญฉบับ 2475 มาใช้ใหม่ และตั้งพวกตัวเองเป็นวุฒิสมาชิกแทน ในเดือนพฤศจิกายน 2494 เรียกกันว่า "รัฐประหารเงียบ" หรือ "รัฐประหารทางวิทยุ" เพราะมีเพียงประกาศทางวิทยุกระจายเสียง ไม่ต้องเอารถทหารมาวิ่ง 

           เมื่อหมดปัญหาคู่แข่งภายนอกดังกล่าว ช่วงครึ่งหลังของทศวรรษ 2490 คณะรัฐประหารก็เริ่มแตกแยกกันเองเป็นสองค่าย คือ ค่ายของ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ซึ่งคุมกำลังตำรวจ กับค่ายของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งคุมกำลังกองทัพบก โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม อยู่ตรงกลาง ซึ่งนักวิชาการบางคนเรียกว่าเป็นยุคการเมืองของผู้มีอำนาจทั้งสาม (the Triumvirate) หรือการเมืองแบบสามเส้า

          ความจริงการเมืองไทยปลายทศวรรษ 2490 ต้องถือว่าเป็นการเมืองที่มีผู้เล่นสำคัญ 5 กลุ่มคือ นอกจากจอมพล ป. พล.ต.อ.เผ่า และจอมพลสฤษดิ์แล้ว ยังมีอีกสองกลุ่มสำคัญคือ พลังอนุรักษ์นิยมที่กล่าวถึงข้างต้น และพลังฝ่ายซ้ายที่มีพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เป็นแกน ส่วนที่เรียกว่า "ครึ่งกลุ่ม" คือปรีดี พนมยงค์ นั่นเอง, ที่เป็นเพียง"ครึ่ง" เพราะมีกำลังและบทบาทไม่มากเท่ากลุ่มอื่น และดูเหมือนจะเป็นฝ่ายถูกดึงให้เข้าไปเล่นมากกว่าโดดเข้าไปเอง 

          กล่าวเฉพาะในกลุ่มผู้มีอำนาจทั้งสาม จอมพล ป. ต้องนับว่าอยู่ในฐานะที่ลำบากที่สุด เพราะไม่มีฐานกำลังของตัวเอง แม้จะมีความใกล้ชิดเผ่ามากกว่าสฤษดิ์ แต่ก็ไม่ไว้ใจเผ่าเต็มที่และไม่ต้องการให้เผ่าเป็นใหญ่เหนือสฤษดิ์โดยเด็ดขาด (ผมเคยคุยกับอดีตตำรวจผู้ใกล้ชิดเผ่าที่เรียกกันว่า "อัศวินแหวนเพชร" บางคน เขาเห็นว่าการที่จอมพล ป. ต้องเสียอำนาจในทุ่ดก็เพราะไม่ยอมไว้ใจเผ่าเต็มที่นี่เอง และไม่ยอมให้เผ่า "จัดการขั้นเด็ดขาด" กับสฤษดิ์ตามที่เผ่าเคยขอร้อง)

           สิ่งที่จอมพล ป. ทำคือ "เหยียบเรือสองแคม" ใช้สองขุนศึกมาคานอำนาจกันเอง อีกด้านหนึ่งก็พยายามแสวงหาการสนับสนุนจากแหล่งที่อยู่นอกเหนือแวดวงอำนาจรัฐให้กับตัวเอง โดยเฉพาะผู้ที่มีบทบาทช่วยเหลือจอมพล ป. ในด้านนี้ที่สำคัญที่สุด คือ นายสังข์ พัธโนทัย ผู้เป็นบริวารคู่ทุกข์คู่ยาก ผู้รับใช้จอมพล ป. อย่างซื่อสัตย์โดยแท้ สังข์ได้เข้าทำการจัดตั้งและสนับสนุนการเคลื่อนไหวของกรรมกร ถึงขั้นที่ในที่สุดได้มีการออก พ.ร.บ.แรงงานรับรองสิทธิของกรรมกรเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยในปี 2498 งานกรรมกรของสังข์นี้เองที่ทำให้เขา (และโดยทางอ้อมคือจอมพล ป.) ได้เข้าพัวพันเป็นพันธมิตรกับ พคท. ซึ่งมีอิทธิพลและกำลังจัดตั้งสำคัญในหมู่กรรมกร และมีผลทำให้เกิดการแตกแยกภายใน พคท.เอง โดยสายงานกรรมกรของพรรคโน้มเอียงไปในทางสนับสนุนจอมพล ป. ขณะที่สายงานปัญญาชน (นักศึกษา, นักเขียน, นักหนังสือพิมพ์) โน้มเอียงไปทางสนับสนุนจอมพลสฤษดิ์ ซึ่งมีรายละเอียดพิสดารที่ต้องเก็บไว้เล่าในวันหลัง
 
           ขณะเดียวกัน สังข์ยังได้แอบทำการติดต่ออย่างลับๆกับจีน ซึ่งขณะนั้นรัฐบาลไทยมีนโยบายที่เป็นทางการให้บอยคอตและปิดล้อมตามอเมริกา โดยเขาได้จัดการให้บุคคลหลายคณะเดินทางไปเยือนจีนได้ จนตกเป็นข่าวเอิกเกริก (แต่การที่สังข์เป็นคนจัดการอยู่เบื้องหลังนี้เป็นความลับที่รู้กันเฉพาะ "วงใน") เช่น คณะของเทพ โชตินุชิต, ของสุวัฒน์ วรดิลก, ของสุวิทย์ เผดิมชิต ฯลฯ เราอาจพูดได้ว่า ตอนนั้นมี "บริษัททัวร์" เพียงสอง "บริษัท" เท่านั้นที่พาคนไปจีนได้ คือสังข์ กับ พคท.

           นอกจากนั้น เพื่อหาความสนับสนุนจากประชาชน จอมพล ป. ยังได้เปิดให้มีบรรยากาศประชาธิปไตยทางการเมืองขึ้น มี "ไฮด์ปาร์ค" ที่สนามหลวง, มี "เพรสคอนเฟอเรนซ์" ที่ทำเนียบรัฐบาล, มี พ.ร.บ. พรรคการเมืองเป็นครั้งแรก และให้มีการเลือกตั้งทั่วไป และสุดท้าย หนึ่งในผู้ที่จอมพล ป.หันเข้าหาเพื่อความสนับสนุนและช่วยเหลือ คือ ปรีดี พนมยงค์ 

สร้างโดย นายวุฒิไกร   ธรรมมา ชั้น ม.๖/๑

แหล่งอ้างอิง www.thaipoliticsgovernment.org/wiki/

รูปภาพของ silavacharee

Kiss

โอ๊ยๆๆ +_+

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 394 คน กำลังออนไลน์