• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:04fa42f812326932c12109c1c3aca7aa' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p style=\"margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: 42.0pt\" class=\"MsoNormal\">\n<span style=\"font-size: 18pt; font-family: \'Angsana New\'\" lang=\"TH\"><span style=\"color: #000000\">          เมื่อเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาการติดต่อค้าขายระหว่างไทยกับญี่ปุ่นขยายตัวออกไปถึงภูมิภาคอื่นของญี่ปุ่น โดยรัฐบาลโชกุนโตกุงาวา (</span></span><span style=\"font-size: 18pt; font-family: \'Angsana New\'\"><span style=\"color: #000000\">Tokugawa) <span lang=\"TH\">ได้เริ่มใช้ระบบการออกใบอนุญาตให้แก่เรือญี่ปุ่นที่เดินทางมาค้าขายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ต้นคริสตศตวรรษที่</span> 17 <span lang=\"TH\">และได้ออกใบอนุญาตให้กับเรือที่มาค้าขายกับประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. </span>1604 (<span lang=\"TH\">พ.ศ. </span>2147) <br />\n<span lang=\"TH\">          จำนวนเรือญี่ปุ่นที่เดินทางมาค้าขายยังกรุงศรีอยุธยามีจำนวนมากก่วาที่ไปค้าขายกับประเทศใดๆ ในยุคนั้นในขณะที่เรือสินค้าของไทยก็เริ่มเดิงทางไปถึงเมืองนางาซากิ (</span>Nagasaki) <span lang=\"TH\">ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตอนใต้ของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. </span>1612 (<span lang=\"TH\">พ.ศ. </span>2155) <span lang=\"TH\">สินค้าที่ญี่ปุ่นซื้อจากไทย เช่น หนังกวาง งาช้างและเขาสัตว์ แร่ดีบุก และตะกั่ว การค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นในช่วงนี้ ทำให้มีพ่อค้าญี่ปุ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นชุมชนหรือหมู่บ้านญี่ปุ่น </span></span></span>\n</p>\n<p style=\"margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: 42.0pt\" class=\"MsoNormal\">\n<span style=\"font-size: 18pt; font-family: \'Angsana New\'\"><span style=\"color: #000000\"><span lang=\"TH\">          </span><span lang=\"TH\">ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านในกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าคนกลางในการซื้อขายสินค้าต่างๆ และผู้นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งอพยพหลบหนีการจับกุมของรัฐบาลโชกุน ซึ่งมีนโยบายจำกัดสิทธิเสรีภาพในด้านศาสนา นอกจากนี้ยังมีบางส่วนเป็นอดีตซามูไรที่พ่ายแพ้การต่อสู้แย่งชิงอำนาจภายในและสูญเสียผู้นำกลุ่มของตนจึงเป็นกลุ่มคนที่เก่งอาวุธและการรบจึงมีบทบาทในการช่วยเหลือราชการทหาร </span><br />\n</span></span><span style=\"font-size: 18pt; font-family: \'Angsana New\'\"><span style=\"color: #000000\"><span lang=\"TH\">           ภายหลังหมู่บ้านญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคถดถอยเนื่องจากสูญเสียออกญาเสนาภิมุขซึ่งเป็นหัวหน้าด้านการทหาร เมื่อรัฐบาลโชกุนโตกุงาวาได้ประกาศไม่ให้คนญี่ปุ่นเดินทางออกนอกประเทศ</span><span lang=\"TH\">ก็ส่งผลให้คนญี่ปุ่นไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยาจึงมีจำนวนลดลงโดยลำดับ จนกระทั่งหมู่บ้านญี่ปุ่นสลายไปในที่สุด</span> <br />\n<span lang=\"TH\">          ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยโชกุนโตกุงาวาได้ส่งคณะทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. </span>1606 (<span lang=\"TH\">พ.ศ.</span>2149) <span lang=\"TH\">ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ส่งคณะทูตชื่อ วิสูตรสุนทร และ พิพัฒนสุนทร ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. </span>1616 (<span lang=\"TH\">พ.ศ. </span>2159) </span></span>\n</p>\n<p><span style=\"font-size: 18pt; font-family: \'Angsana New\'\"><span style=\"color: #000000\"><span lang=\"TH\">          ต่อมาคณะทูตของไทยซึ่งนำโดย ขุนพิชัยสมบัติ และขุนปราสาท ได้เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับรัฐบาลโชกุนอีกในปี </span>1621 (<span lang=\"TH\">พ.ศ. </span>2164) <span lang=\"TH\">โดยในครั้งนี้คณะทูตของไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะโชกุนในวันที่ </span>1<span lang=\"TH\">กันยายน ณ ปราสาทเมืองเอโดะ (กรุงโตเกียวในปัจจุบัน) นอกจากนี้ ในปี ค.ศ.</span> 1623 (<span lang=\"TH\">พ.ศ. </span>2166) <span lang=\"TH\">คณะทูตของไทยนำโดย หลวงท่องสมุทร และขุนสวัสดิ์ ได้เดินทางไปญี่ปุ่น เพื่อขอความร่วมมือจากรัฐบาลโชกุนมิให้ญี่ปุ่นสนับสนุนกัมพูชาในการรบกับกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากในขณะนั้นมีชาวญี่ปุ่นไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในกัมพูชาและทำหน้าที่ทหารอาสาในลักษณะเดียวกับที่มีอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน</span> <br />\n<span lang=\"TH\">          ภายหลังการเยือนในครั้งนี้ คณะทูตทั้งสองฝ่ายอยู่เป็นระยะจนกระทั่งญี่ปุ่นปิดประเทศ และกรุงศรีอยุธยาเริ่มเกิดปัญหาศึกสงครามกับพม่า การติดต่อระหว่างรัฐบาลทั้งสองฝ่ายจึงหยุดชะงักไปเป็นเวลากว่า </span>200 <span lang=\"TH\">ปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาระหว่างนั้นยังคงมีการติดต่อค้าขายระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านพ่อค้าชาวฮอลันดาในเมืองนางาซากิ ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่รัฐบาลโชกุนให้ติดต่อการค้ากับต่างประเทศได้</span></span><o:p></o:p></span> </p>\n', created = 1728235985, expire = 1728322385, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:04fa42f812326932c12109c1c3aca7aa' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่นในสมัยอยุธยา

          เมื่อเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาการติดต่อค้าขายระหว่างไทยกับญี่ปุ่นขยายตัวออกไปถึงภูมิภาคอื่นของญี่ปุ่น โดยรัฐบาลโชกุนโตกุงาวา (Tokugawa) ได้เริ่มใช้ระบบการออกใบอนุญาตให้แก่เรือญี่ปุ่นที่เดินทางมาค้าขายในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ต้นคริสตศตวรรษที่ 17 และได้ออกใบอนุญาตให้กับเรือที่มาค้าขายกับประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1604 (พ.ศ. 2147) 
          จำนวนเรือญี่ปุ่นที่เดินทางมาค้าขายยังกรุงศรีอยุธยามีจำนวนมากก่วาที่ไปค้าขายกับประเทศใดๆ ในยุคนั้นในขณะที่เรือสินค้าของไทยก็เริ่มเดิงทางไปถึงเมืองนางาซากิ (Nagasaki) ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตอนใต้ของญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1612 (พ.ศ. 2155) สินค้าที่ญี่ปุ่นซื้อจากไทย เช่น หนังกวาง งาช้างและเขาสัตว์ แร่ดีบุก และตะกั่ว การค้าระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นในช่วงนี้ ทำให้มีพ่อค้าญี่ปุ่นเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นชุมชนหรือหมู่บ้านญี่ปุ่น 

          ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในหมู่บ้านในกรุงศรีอยุธยาส่วนใหญ่เป็นพ่อค้าคนกลางในการซื้อขายสินค้าต่างๆ และผู้นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งอพยพหลบหนีการจับกุมของรัฐบาลโชกุน ซึ่งมีนโยบายจำกัดสิทธิเสรีภาพในด้านศาสนา นอกจากนี้ยังมีบางส่วนเป็นอดีตซามูไรที่พ่ายแพ้การต่อสู้แย่งชิงอำนาจภายในและสูญเสียผู้นำกลุ่มของตนจึงเป็นกลุ่มคนที่เก่งอาวุธและการรบจึงมีบทบาทในการช่วยเหลือราชการทหาร 
           ภายหลังหมู่บ้านญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคถดถอยเนื่องจากสูญเสียออกญาเสนาภิมุขซึ่งเป็นหัวหน้าด้านการทหาร เมื่อรัฐบาลโชกุนโตกุงาวาได้ประกาศไม่ให้คนญี่ปุ่นเดินทางออกนอกประเทศก็ส่งผลให้คนญี่ปุ่นไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยาจึงมีจำนวนลดลงโดยลำดับ จนกระทั่งหมู่บ้านญี่ปุ่นสลายไปในที่สุด 
          ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่นเริ่มมีความสัมพันธ์ทางการทูตสมัยกรุงศรีอยุธยาโดยโชกุนโตกุงาวาได้ส่งคณะทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศไทยเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1606 (พ.ศ.2149) ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ส่งคณะทูตชื่อ วิสูตรสุนทร และ พิพัฒนสุนทร ไปเจริญสัมพันธไมตรี กับประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1616 (พ.ศ. 2159) 

          ต่อมาคณะทูตของไทยซึ่งนำโดย ขุนพิชัยสมบัติ และขุนปราสาท ได้เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับรัฐบาลโชกุนอีกในปี 1621 (พ.ศ. 2164) โดยในครั้งนี้คณะทูตของไทยได้เข้าเยี่ยมคารวะโชกุนในวันที่ 1กันยายน ณ ปราสาทเมืองเอโดะ (กรุงโตเกียวในปัจจุบัน) นอกจากนี้ ในปี ค.ศ. 1623 (พ.ศ. 2166) คณะทูตของไทยนำโดย หลวงท่องสมุทร และขุนสวัสดิ์ ได้เดินทางไปญี่ปุ่น เพื่อขอความร่วมมือจากรัฐบาลโชกุนมิให้ญี่ปุ่นสนับสนุนกัมพูชาในการรบกับกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากในขณะนั้นมีชาวญี่ปุ่นไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในกัมพูชาและทำหน้าที่ทหารอาสาในลักษณะเดียวกับที่มีอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเช่นกัน 
          ภายหลังการเยือนในครั้งนี้ คณะทูตทั้งสองฝ่ายอยู่เป็นระยะจนกระทั่งญี่ปุ่นปิดประเทศ และกรุงศรีอยุธยาเริ่มเกิดปัญหาศึกสงครามกับพม่า การติดต่อระหว่างรัฐบาลทั้งสองฝ่ายจึงหยุดชะงักไปเป็นเวลากว่า 200 ปี อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาระหว่างนั้นยังคงมีการติดต่อค้าขายระหว่างกันอย่างต่อเนื่อง โดยผ่านพ่อค้าชาวฮอลันดาในเมืองนางาซากิ ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่รัฐบาลโชกุนให้ติดต่อการค้ากับต่างประเทศได้

รูปภาพของ silavacharee

Kiss

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 488 คน กำลังออนไลน์