สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์

รูปภาพของ ssspoonsak

           สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ คือ ทฤษฎีที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างหน่วยประมวลผลกลาง (ออกแบบจำนวน Register ที่จำเป็นและหน้าที่ที่จำเป็นของ Control Unit และ ALU) ชุดของคำสั่งเครื่อง และการอ้างหน่วยความจำ เทคนิคอื่นๆ เช่น การประมวลผลแบบไปป์ไลน์

           ประเภทของสถาปัตยกรรมการประมวลผลแบบขนาน ของโปรเซสเซอร์

  1. SISD(Single Instruction Single Data stream) คือ โปรเซสเซอร์ ที่ใช้การประมวลผลด้วยชุดข้อมูลเพียงชุดเดียว และ ทำงานด้วยคำสั่งเดียว ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา
  2.  MISD(Multiple Instruction Single Data stream) คือ โปรเซสเซอร์ ที่ใช้การประมวลผลด้วยชุดข้อมูลเพียงชุดเดียว แต่ทำงานด้วยได้หลายคำสั่ง ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา มักจะไม่ค่อยมีใครพัฒนาโปรเซสเซอร์แบบนี้
  3.  SIMD(Single Instruction Multiple Data stream)คือ โปรเซสเซอร์ที่ใช้การประมวลผลด้วยชุดข้อมูลหลายชุด แต่ทำงานด้วยคำสั่งเดียว ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา และได้ผลลัพธ์หลายชุด ใช้ในโปรเซสเซอร์แบบ Pentium MMX
  4.  MIMD(Multiple Instruction Multiple Data stream)คือ โปรเซสเซอร์ที่ใช้การประมวลผลด้วยชุดข้อมูลหลายชุด และทำงานด้วยได้หลายคำสั่ง ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา

          RISC (Reduced Instruction- Set Computing หรือชิปที่มีการลดทอนคำสั่ง) คือ โปรเซสเซอร์ที่มีชุดคำสั่งที่มีรูปแบบและขนาดที่แน่นอน สามารถประมวลผลได้ภายใน 1 สัญญาณนาฬิกา การอ้างอิงหน่วยความจำจะใช้คำสั่ง Load และ Store ที่สามารถอ้างอิงหน่วยความจำได้โดยตรงเท่านั้น ใช้การอ้างตำแหน่งแบบตรงๆ ง่ายโดยมีรูปแบบจำกัดอยู่ 2 แบบ คือ

  1.  แบบอ้างผ่าน Register (Register Indirect) Register จะเก็บค่าตำแหน่งไว้ แล้ว ทำการอ้างตำแหน่งนั้นๆผ่าน Register
  2. ในแบบ Index จะเป็นการอ้างตำแหน่งจากค่าคงที่ที่มาในคำสั่งนั้นๆเลย

          CISC (Complex Instruction- Set Computing) คือสถาปัตยกรรมของโปรเซสเซอร์ ที่ใช้คำสั่งซับซ้อนที่มีความยาวเปลี่ยนไปตามชนิดของคำสั่ง มีคำสั่งให้ใช้งานมากมาย ทำให้เขียนโปรแกรมง่าย และโปรแกรมมีขนาดเล็ก การทำงานของคำสั่งจะใช้ Microcode โดยคงความเข้ากันได้กับโปรเซสเซอร์รุ่นเก่า ทำให้ไม่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่

          SMP(Symmetric Multiprocessing) คือสถาปัตยกรรมของการใช้โปรเซสเซอร์ หลายตัว ที่ใช้ทรัพยากรของระบบเช่น บัส หน่วยความจำ I/O ร่วมกัน ไม่สามารถแบ่งเป็น partition ย่อยๆได้ และสมรรถนะของระบบจะลดลงเมื่อใช้โปรเซสเซอร์ มากกว่า 8 ตัว ความสามารถในการขยายสเกลยังจำกัด แต่สามารถใช้โปรแกรมแบบเดิมได้ไม่ต้องเขียนขึ้นใหม่

          การแบ่งกันใช้งานและการติดต่อสื่อสาร

  1. Shared-bus topology คือการต่อโปรเซสเซอร์ หลายตัวให้ใช้งาน Frontside บัสเส้นเดียวร่วมกัน แต่มีข้อเสียคือ จะเกิดคอขวดที่เกิดจากรอคอยการใช้บัสร่วมกัน และทำให้เกิดประจุไฟฟ้าสะสมบนบัส ซึ่งจะเกิดการรบกวนสัญญาณข้อมูลซึ่งกันและกัน ทำให้สามารถใช้โปรเซสเซอร์ ได้สูงสุดไม่เกิน 4 ตัวมีใช้ใน บัส GTL+ ของ Intel x86 และ บัส MPX ของ SMP G4(Apple)
  2. Point-to-point topology คือการต่อโปรเซสเซอร์ หลายตัวโดยให้โปรเซสเซอร์ แต่ละตัวมี Frontside บัสของตัวเองที่ต่อตรงไปยังชุดชิปหลัก จะแก้ปัญหาที่เกิดจากการใช้ Shared-bus topology ได้ มีใช้ใน บัส EV6 ของ Athlon -Cache Coherence คือการทำให้ข้อมูลที่มีอยู่ในแคชของโปรเซสเซอร์ ทุกตัวมีความสอดคล้องกับโปรเซสเซอร์ตัวอื่นๆ
  • Snoop คือการจัดการให้แคชของโปรเซสเซอร์แต่ละตัว คอยฟังว่ามีการร้องขอข้อมูลในหน่วยความจำที่โปรเซสเซอร์กำลังใช้งานอยู่ของโปรเซสเซอร์ตัวอื่นๆทุกตัวหรือไม่ ซึ่งจะทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารสถานะของข้อมูล เพื่อประสานงานการใช้ข้อมูลร่วมกันโดยเกิดข้อขัดแย้งน้อยที่สุด แต่จะเกิดปัญหาความล่าช้าบนระบบ Shared-bus เพราะการ snoop จะลด bandwidth ของบัสที่ใช้งานร่วมกัน แต่ในระบบ point-to-point จะมี snoop bus ต่างหาก ทำให้แคชสามารถทำงานโดยไม่ต้องไปรบกวนการทำงานของส่วนอื่นๆ
  • Data Intervention คือเทคนิคที่เพิ่มความเร็วในการประสานการของทำงานของแคช โดยการที่แคชของโปรเซสเซอร์ต้องการอ่านข้อมูลเดียวกัน ที่กำลังใช้งานอยู่และเพิ่งจะเริ่มแก้ไข ก็จะส่งสัญญาณบอกโปรเซสเซอร์อีกตัวให้รอรับข้อมูลที่จะส่งไปให้ ไม่ต้องไปขอจากหน่วยความจำหลักให้เสียเวลา

          MPP (Massively Parallel Processing) คือสถาปัตยกรรมของการใช้โปรเซสเซอร์หลายตัว โดยที่โปรเซสเซอร์แต่ละตัว จะมีทรัพยากรระบบ (I/O, หน่วยความจำ) ของตนเองเป็นหน่วยๆย่อยมีการควบคุมตนเอง การเชื่อมโยงจะใช้ hardware หรือ software ก็ได้ สามารถขยายสเกลได้ดีมาก แต่ต้องเขียนโปรแกรมใหม่ ไม่สามารถใช้ของเดิมได้

          CMP(Cellular Multiprocessing) คือสถาปัตยกรรมของการใช้โปรเซสเซอร์หลายตัว ที่ผสมผสานข้อดีของ SMP และ Clustering เข้าด้วยกัน โดยแบ่งโปรเซสเซอร์ออกเป็นหน่วยเล็ก ที่เรียกว่า sub pod (ประกอบด้วย โปรเซสเซอร์ 2 คู่ที่แต่ละคู่ใช้บัสแยกกัน และ cache แบบ L3 และสามารถใช้ระบบปฏิบัติการของตนเองหรือรวมกันเป็นหน่วยเดียวก็ได้) ที่ใช้ ทรัพยากรของระบบ(หน่วยความจำ, I/O)ร่วมกัน การเชื่อมโยงใช้ลักษณะการติดต่อแบบ Crossbar(เป็นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดโดยตรง ที่สามารถกำจัดการขัดข้องที่จุดๆเดียวได้) สามารถขยายสเกลได้ดีมาก และสามารถใช้โปรแกรมแบบเดิมได้ไม่ต้องเขียนขึ้นใหม่

           NUMA (Non-Uniform Memory Access) คือสถาปัตยกรรมของการใช้โปรเซสเซอร์หลายตัว ที่ผสมผสานข้อดีของ SMP และ MPP เข้าด้วยกัน โดยแบ่งเป็นหน่วยย่อยของหลายๆ โปรเซสเซอร์ ที่ใช้ทรัพยากรของระบบ (หน่วยความจำ, I/O) ร่วมกัน สามารถขยายสเกลได้ดีมาก และสามารถใช้โปรแกรมแบบเดิมได้ไม่ต้องเขียนขึ้นใหม่

           Clustering คือ สถาปัตยกรรมของการเชื่อมโยงระบบเข้าด้วยกัน โดยใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อสร้างระบบที่ใหญ่ขึ้นและล้มเหลวยาก (ระบบจะไม่หยุดทำงานง่ายๆ)

           หน่วยประมวลผล

          การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง หน่วยประมวลผล จะรับคำสั่งและข้อมูลจากหน่วยความจำ โดยส่งเข้าที่ Queue Prefetch Unit จะตรวจสอบว่า ค่าใน Queue เป็นคำสั่งหรือไม่ ถ้าเป็นคำสั่งจะสั่งให้ Bus Interface Unit(BIU) ส่งค่าของคำสั่งไปที่ Decode Unit ถ้าเป็นค่าที่อยู่(Address)ของหน่วยความจำ จะถูกส่งไปที่ Segment and Paging Unit Segment and Paging Unit จะแปลงที่อยู่ของหน่วยความจำ จากที่อยู่เสมือน(Virtual Address)ในรูปแบบของ segment : offset ให้กลายเป็นที่อยู่จริง(Physical Address)ที่ Bus Interface Unit เข้าใจ หน่วยถอดรหัส(Decode Unit) จะตรวจสอบและแยกแยะคำสั่ง แล้วแปลคำสั่ง และส่งสัญญาณควบคุมไปให้ Execution Unit ทำงานตามคำสั่งนั้น ใน Execution Unit จะประกอบด้วย
Control Unit(CU)จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานภายในโปรเซสเซอร์เป็นตัวสั่งงาน Unit อื่นๆตามคำสั่งที่แปลจาก Decode Unit Protection Test Unit จะป้องกันและตรวจสอบการทำงานของส่วนต่างๆ ไม่ให้ทำผิดกฎเกณฑ์ จนเกิดข้อผิดพลาดขึ้น Register จะทำหน้าที่เก็บค่าชั่วคราวก่อนและหลังการประมวลเพื่อส่งให้ส่วนอื่นๆต่อไป เป็นเหมือนกระดาษทดชั่วคราว สำหรับ ALU Arithmetic Logic Unit(ALU) เป็นส่วนการคำนวณทางคณิตศาสตร์และหาค่าตรรกะของการเปรียบเทียบ เมื่อ ALU คำนวณหรือเปรียบเทียบค่าเรียบร้อยแล้ว จะส่งไปเก็บไว้ที่ Register แล้ว Control Unit จะสั่งให้ BIU เก็บค่าผลลัพธ์ลงในหน่วยความจำ โดยแปลงที่อยู่เสมือนที่ Control Unit กำหนด ให้กลายเป็น ที่อยู่จริงของหน่วยความจำที่จะนำผลลัพธ์ไปเก็บไว้

          หน่วยความจำ

          หน่วยความจำเป็นพื้นที่การทำงานและเป็นพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ เพราะคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามลำพังโดยอาศัยเพียงหน่วยประมวลผลหลักได้ หน่วยความจำแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory) โดยแรมจะเป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน และจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง อีกชนิดหนึ่งคือหน่วยความจำถาวร หรือหน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง
ข้อแตกต่างของหน่วยความจำคือ หน่วยความจำแบบชั่วคราวจะมีความเร็วในการถ่ายข้อมูลสูง แต่ความจำน้อย เมื่อเกิดการทำงานของโปรแกรมมากๆ จึงต้องส่งผ่านข้อมูลลงหน่วยความจำถาวร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการแฮงก์

           ดิจิตอลคอมพิวเตอร์จะทำงานตามโปรแกรมที่เราป้อนเข้าไปโดยโปรแกรมเป็นตัวบอกคอมพิวเตอร์ ว่าจะทำการเคลื่อนย้ายและประมวลผลข้อมูลอย่างไรการที่มันจะทำงานได้นั้นก็ต้องมีวงจรคำนวณ หน่วยความจำ และอุปกรณ์อินพุต/เอาต์พุต(Input/output) เป็นส่วนประกอบซึ่งรูปแบบในการนำสิ่ง ที่กล่าวมานี้รวมเข้าด้วยกันเราเรียกว่าสถาปัตยกรรม (architecture)

 

แหล่งที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/
http://www.thaiirc.in.th/tactics/cisc-risc.shtml
http://www.enlight.co.th/index.php

สร้างโดย: 
พูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
รูปภาพของ ssspoonsak

ขอบคุณทุกท่านที่แสดงความคิดเห็นครับ ผมลอกมาจาก 3 เว็บจริงๆครับ เพราะข้างล่างก็บอกแหล่งที่มาเรียบร้อยครับ เพียงแต่เป็นกรณีที่ผมยกตัวอย่างไว้สอนเด็กว่า การอ้างอิงนั้นต้องบอกให้ถึงที่ที่ไปนำข้อมูลมา แต่ในบางกรณีที่มาของข้อมูล ชื่อเว็บมันยาวมาก ก็ให้เอาชื่อโดเมนเนมเขามา หรือชื่อเว็บเขามา แล้วทำลิ้งไปถึงต้นทางของเนื้อหา เช่นในที่นี่กรณีของที่มาอันแรก คือ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C จะเห็นได้ว่า ยาวมาก ผมก็เลยเขียนแหล่งที่มาว่าสั้นๆ ว่า http://th.wikipedia.org/wiki/ แล้วทำลิ้งไปยัง ต้นทางของเนื้อหาคือ http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C 

ผมขอบคุณความคิดเห็นทุกท่านครับ แต่เพื่อให้เรื่องราวยุติลง การลิ้งที่ผมทำแบบนี้อาจจะยังไม่เป็นที่ชอบใจของหลายท่าน เพราะต้องการอ้างแหล่งที่มาแบบเต็มๆ ก็คงต้องลบทิ้งเนื้อหาทั้งหมดที่นำมาจากวิกิครับ เพื่อความสบายใจของท่านเหล่านั้น

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

ลอกวิกิพีเดียมาเต็ม ๆ อีกแล้ว

CC Thailand จงเจริญ

     ดิฉันอึดอัดมานามากแล้ว คุณโรคจิตหรือเปล่า่คะ เที่ยวตามจับผิดคนอื่น นี่ขนาดอ้างอิงแล้วก็มาตามหาเรื่องไม่เลิก คุณต้องการอะไรกันแน่คะ คุณลองคลิกที่ลิงค์ที่เว็บวิกิสิคะว่ามันไปที่ไหน ทีเว็บคุณลอกของเขามา คุณไม่ได้ตามจับผิดให้หมดก่อนละคะ ค่อยมาว่าคนอื่น แล้วทีดิฉันไปอ่านในวิกิมา

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2:%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9F/%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2/%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95

ขอถามหน่อยเถอะ่ะ ที่คุณเรียนจบเป็นผู้ใหญ่มาได้จนทุกวันนี้ เป็นด๊อกเตอร์ เป็นศาสตราจารย์ คุณไม่เรียนกับครูที่พวกคุณหาว่า  

1.

"ความเห็นเพิ่มเติมครับ ทาง thaigoodview เขียนประกาศไว้ในเว็บไซต์ที่ http://www.thaigoodview.com/node/20943 เผื่อสนใจตามอ่านเพิ่มได้ โดยมีประกาศไว้ตัวเล็กๆ ในหน้าแรก (หายากหน่อย) นอกจากนี้ในเว็บไซต์หน้านี้ยังขนาดมีประวัติเรซูเมผมมาลงด้วยนะเนี่ย ส่วนเรื่องเด็กทำผิดอย่างเดียวหรือเปล่านั้นผมเองก็ว่า จะโทษเด็กอย่างเดียวก็คงง่ายสุดครับเป็นเรื่องปกติในสังคมไทย ถ้าผู้ใหญ่ไม่สอนและเตือนว่าเด็กทำผิด และก็โยนความผิดทั้งหมดให้เด็กที่ไปลอกมาผมเองก็ไม่มีความเห็นเพิ่มเติม จำได้อย่างสมัยเด็กๆ อาจารย์ชอบสั่งการบ้านนักเรียน ให้ไปลอกจากหนังสือมาทำรายงานเป็น"เรื่องปกติ" ในสังคมไทยไปซะแล้ว ผ่านไปสิบปีทุกอย่างก็เหมือนเดิม"

-- นี่เป็นคำกล่าวหาที่รุนแรงพอควรถ้าดิฉันเป็นครูที่ไม่รู้จักพัฒนาตนเองแบบนี้ คงนั่งเขียนชอล์กเหมือนเดิมไม่มาหัดใช้คอมพิวเตอร์ทั้งที่อายุมากขนาดนี้

-- นักเรียนก็เหมือนลูกหลานของครูทำไมดิฉันต้องเอาความผิดไปโยนใส่เด็กด้วยละคะ

-- ที่เว็บนี้เขาทำลิงค์ไปที่ประวัติของคุณทีหลังกว่าที่คุณ เอาชื่อและรายละเอียดของเว็บมาสเตอร์ไปแปะไว้ซะอีกนะคะ

2.

"เรื่องทาง thaigoodview ลอกไปท่าทางว่าทางนั้นก็คงไม่ทำอะไรเพิ่มครับ เพราะเนื้อหาที่ลอกไปจากวิกิพีเดียค่อนข้างเยอะ แต่ถ้ามีใครอยากเอาไว้เป็นคดีตัวอย่างก็ลองได้นะครับ เพราะเว็บนี้ใหญ่เหมือนกันมีสิทธิทำให้ทุกคนหันมาสนใจลิขสิทธิ์กันมากขึ้น ส่วนเรื่องจิตสำนึกก็คงไม่ต้องพูดถึงกันแล้วว่าไป เห็นล่าสุดมีคนบ่นเพิ่มว่าวิกิพีเดียใจไม่กว้าง เรื่องแค่นี้เอง เรื่องแจกความรู้ควรทำเป็นเงียบๆ ไว้ ทำเป็นลืมๆ ไปก็ได้ เห็นแล้วก็แปลกดีผู้ใหญ่สมัยนี้ มักง่ายกันจริงๆ"

 -- นี่ก็รุนแรงพอกันผู้ใหญ่มักง่าย คุณรวมถึงครู และผู้ปกครองของเด็กๆ ทุกคน ถ้าเขามักง่ายกันเขาคงไม่มานั่งเฝ้าลูกๆ หลานๆ อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ดึกๆดื่นๆ ว่าเด็กเขาเล่นอะไรกันต้องปกป้องลูกหลานจากภัยอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร เท่าที่ดิฉันอ่านเขาไม่ได้หาว่าคุณใจไม่กว้างเลย คุณแปลความหมายเขาผิด สงสัยว่าคงเรียนเมืองนอกเมืองนามานานไม่ค่อยเข้าใจภาษาไทย เขาแค่บอกให้คุณช่วยกันตักเตือนเด็ก เพื่อจะได้ไม่โตเป็นผู้ใหญ่อย่างดิฉันที่พวกคุณว่าว่ามักง่าย

- ถ้าเด็กเกิดมาแล้วฉลาดทันที ไม่ต้องได้รับการอบรมสั่งสอนจากครู คงเป็น คนที่ไม่รู้จักพัฒนาตัวเอง คนมักง่าย อย่างที่พวกคุณว่ากัน

-ใครจะหมดศรัทธาในตัวครูพูนศักดิ์ก็ช่าง แต่ครูอย่างดิฉันคงจะใช้เว็บนี้ เว็บที่เป็นน้ำพักน้ำแรงจากการสร้างสื่อของครูไทยทั่วประเทศ เอาไปใช้ในการเรียนการสอน โดยไม่ใช่การแสวงหากำไรต่อไป

ครูไทย

เด็กหลังเขาไปขโมยหยิบของกินใน 7-Eleven แล้วโดนจับได้ โดนต่อว่ายังแก้นิสัย

บัวใต้น้ำยังไงก็ยังอยู่ใต้น้ำ นอกจากไม่โผล่พ้นน้ำยังหาข้อแก้ตัว

เห็นด้วย หลังเขาแถมยังบัวใต้น้ำติดโคลนตมเลยด้วย เขาอ้างอิงได้ถูกต้องแล้ว ยังแถไปได้เรื่อยๆ

ไม่ได้ลอกนะ ก็เป็น CC ทั้งคู่ไง เลยไปเอามาเผยแพร่ เครดิตก็ก็ให้แล้วไง แต่ไม่ได้บอกว่าหน้าไหนของวิกิพีเดียก็เท่านั้นเอง

ต่อไปนี้ CC Thailand จะทำให้เราสามารถคัดลอกข้อมูลจากวิกิพีเดียมาได้โดยสมบูรณ์และถูกกฎหมายแล้วนะรู้ไหม

ไม่ได้บอกว่าหน้าไหนของวิกิพีเดีย -- เออแล้วตอนเขียนนี่ทำไมไม่เอามาลงด้วยละครับ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 197 คน กำลังออนไลน์