เรื่อง เศรษฐศาสตร์มหภาคและเศรษฐศาสตร์จุลภาค

รูปภาพของ sjppipop

จุดมุ่งหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค
จุดมุ่งหมายของเศรษฐศาสตร์มหภาค การศึกษาเศรษฐศาสตร์มหภาคจะเน้นหน่วยเศรษฐกิจโดยส่วนรวมโดยเฉพาะเศรษฐกิจระดับชาติ ให้ระบบเศรษฐกิจดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ และ ดำเนินไปอย่างมีเสถียรภาพ โดยมีจุดมุ่งหมายดังต่อไปนี้
1. เพื่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Progress) เป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่สำคัญของส่วนรวม เมื่อเศรษฐกิจมีความเจริญเติบโต คือ มีการลงทุน การผลิต และการบริโภคสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น ย่อมแสดงว่ามีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศที่มีจำกัด ให้ประชากรมีความกินดีอยู่ดีขึ้น มีสินค้าและบริการสนองความต้องการเพิ่มสูงขึ้นนั้นเอง ซึ่งเราสามารถวัดได้จาก ตัวเลขรายได้ประชาชาติที่แท้จริง(real national income) และรายได้ที่แท้จริงต่อหัวของประชากรในประเทศ (per capita real income)
2. เพื่อความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Stability) เศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ จะมีการเปลี่ยนแปลงของระดับราคาค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ความมีเสถียรภาพภายในดูได้จากดัชนีราคาสินค้า(Price Index)หรือดัชนีราคาผู้บริโภค(Consumer Price Index) และมีระดับการจ้างงานที่สูงพอสมควร ส่วนเสถียรภาพภายนอกดูจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลของประเทศกับต่างประเทศ ซึ่งรัฐบาลสามารถเข้ามาแทรกแซงได้ถ้าเศรษฐกิจขาดเสถียรภาพ โดยใช้นโยบายการเงิน(Monetary Policy) และ นโยบายการคลัง(Fiscal policy) เข้าช่วย
3. เพื่อความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ (Economic justice) เพราะว่าทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด แต่ ประชากรมีความต้องการไม่จำกัด รัฐบาลในแต่ละประเทศเข้ามาจัดการการจัดสรรทรัพยากรทีมีจำกัดเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชากรส่วนใหญ่อย่างเท่าเทียมกัน โดยการกระจายรายได้ การให้สิทธิ์ในทรัพย์สิน การบริการสาธารณูประโภคขั้นพื้นฐานในราคาที่ทุกคนสามารถใช้บริการได้เท่าเทียมกัน และมีการจัดเก็บภาษีอากรในอัตราก้าวหน้าเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ ให้มีความเท่าเทียมกันมากที่สุด
4. เพื่อให้มีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ (Economic Freedom) เสรีภาพทางเศรษฐกิจ คือ การที่ประชาชนมีสิทธิ์ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ มีเสรีในการเลือกการบริโภคและการประกอบการอื่นในเศรษฐกิจซึ่งขอบเขตก็มีความแตกต่างกันไปซึ่งขึ้นอยู่กับการปกครองของประเทศนั้นๆ ในประเทศที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมย่อมมีเสรีภาพมากกว่า ประเทศที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

เศรษฐศาสตร์จุลภาค   
        เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นการศึกษากิจกรรมทางเศรษฐกิจในระดับหน่วย (Unit) หรือ ระดับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือ หน่วยงานการผลิตแต่ละกลุ่มหน่วยใดหน่วยหนึ่ง หรือ เฉพาะบุคคล หรือ หน่วยงานการผลิต (Firms) ซึ่งแต่ละกลุ่มเกี่ยวกับส่วนย่อยๆ ของระบบเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่
1. หน่วยครัวเรือน
หน่วยครัวเรือน (households) เป็นกลุ่มบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วมกัน มีบทบาทสำคัญ 2 ประการ บทบาทแรก คือ ผู้บริโภค (consumer) โดยสมาชิกในครัวเรือนจะเป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับชนิดของสินค้าและบริการที่จะทำการผลิตในระบบเศรษฐกิจ (What to Produce) อีกบทบาทหนึ่ง คือ เจ้าของปัจจัยการผลิต (Resource Owners) ซึ่งจะได้รับรายได้จากการขายปัจจัยการผลิตและเมื่อใช้จ่ายเงินรายได้ที่ได้รับมาจากครัวเรือนก็จะอยู่ในฐานะของผู้บริโภค
2. หน่วยธุรกิจ
หน่วยธุรกิจ (Business Firms) เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต เป็นผู้ซื้อปัจจัยการผลิตจากครัวเรือน และทำการตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการที่จะนำมาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการ (How to produce goods and services) ซึ่งจะได้รับผลกำไรเป็นผลตอบแทนจากการดำเนินงาน
3. หน่วยรัฐบาล
หน่วยรัฐบาล (Government) บทบาทของรัฐบาลจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับรูปแบบการปกครอง หากประเทศที่มีการปกครองแบบสังคมนิยม รัฐบาลจะมีบทบาทมาก ส่วนประเทศที่มีรูปแบบการปกครองแบบทุนนิยม รัฐบาลจะมีบทบาทน้อย ซึ่งหน้าที่พื้นฐานของรัฐบาล ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากร การจัดสรรรายได้ และการรักษาเสถียรภาพ

สร้างโดย: 
sjppipop

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 479 คน กำลังออนไลน์