การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น

รูปภาพของ mwksaipin

การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องวัฒนธรรมท้องถิ่น

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนแม่ลาววิทยาคม อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย

 หลักการ วิธีการทำโครงงาน รูปแบบการทำโครงงาน และการประเมินโครงงานวัฒนธรรมท้องถิ่น

มาศึกษาวิธีการทำโครงงานวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นอย่างไร
         การทำโครงงาน  คือ การค้นคว้าหาความรู้จากข้อสงสัยของนักเรียน ดังนั้น นักเรียนจะเป็นผู้วางแผนการทำงาน ศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการทำงาน ออกแบบการทดลอง  ศึกษาค้นคว้า  และรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผลข้อค้นพบ เป็นผลงานออกมาตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ จึงถือได้ว่าสำเร็จ 1  โครงงาน ในการทำโครงงาน นักเรียนจะทำเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม ก็ได้ แต่ไม่เกิน  5  คน  ต่อ  1  โครงงาน  ซึ่งควรจะเป็น  3  คน  เหมาะสมที่สุด

ความหมายของโครงงาน               

          โครงงานหมายถึง   กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัด และความสนใจ โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือกระบวนการอื่นใดไปใช้ในการศึกษาหาคำตอบในเรื่องนั้นๆ โดยมีครูผู้สอนคอยกระตุ้น แนะนำและให้คำปรึกษาแก่ผู้เรียนอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่จะศึกษา ค้นคว้า ดำเนินการวางแผน กำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการนำเสนอผลงาน  โดยทั่วๆ ไปการทำโครงงานสามารถทำได้ทุกระดับการศึกษา ซึ่งอาจทำเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของโครงงาน อาจเป็นโครงงานเล็กๆที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน หรือเป็นโครงงานใหญ่ที่มีความยากและซับซ้อนก็ได้                

          โครงงานวัฒนธรรมท้องถิ่น 

           เป็นการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพื่อตอบปัญหาที่สงสัยในขอบเขตของวัฒนธรรมท้องถิ่น สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากความสนใจของผู้ทำโครงงาน  มีกระบวนศึกษา  ค้นคว้าเพื่อหาคำตอบอย่างมีระบบตามวิธีการทำโครงงานตลอดไปจนถึงมีการจัดทำรายงานและเผยแพร่ผลงานของตนเองให้ผู้อื่นไดรับทราบและเข้าใจได้  โดยมีครูที่ปรึกษาที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เป็นที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำช่วยเหลือ

           ความสำคัญของโครงงาน 

           การทำโครงงานจะช่วยส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่งานอาชีพและการศึกษาต่อตามที่ตนเองถนัดและสนใจ สร้างประสบการณ์การปฏิบัติจริงเกี่ยวข้องกับชีวิตทำให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้  ได้ทดสอบความถนัดของตนเองแก้ปัญหาในงานที่ตนสนใจ  เกิดความภาคภูมิใจในผลงาน

วัตถุประสงค์ 

การจัดการเรียนการสอนแบบโครงงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียน
1. มีประสบการณ์โดยตรง
2. ได้ทำการทดลองและพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
3. รู้จักการทำงานอย่างมีระบบ มีขั้นตอน
4. ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5. ได้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา
6. ได้รู้จักวิธีการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา
7. ฝึกวิเคราะห์ และประเมินตนเอง

           ประเภทของโครงงาน
           โครงงานมีหลายลักษณะซึ่งในการจัดทำโครงงานแต่ละโครงงานนั้นจะต้องรู้ว่าทำโครงงานประเภทใด  เพื่อจะได้รู้ว่าจะต้องทำในลักษณะใด (สสวท. 2529 : 7)  ได้แบ่งออกเป็น  4  ประเภท  ดังนี้
 1.  โครงงานประเภทสำรวจ รวบรวมข้อมูล 
 2.  โครงงานประเภทการทดลอง
 3.  โครงงานประเภทพัฒนาหรือประดิษฐ์ 
 4.  โครงงานประเภททฤษฎี หลักการ หรือแนวคิด 

สร้างโดย: 
ครูสายพิน วงษารัตน์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 532 คน กำลังออนไลน์