• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:b6101c048cd964116939189253ecaf1a' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p><span style=\"color: #993300\">                        แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ยังทรงตระหนักแก่พระราชหฤทัยในพระบุคลิกดังกล่าว ของเสด็จในกรมฯ ปรากฏในพระราชหัตถเลขา ถึงเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล) ความว่า<br />\n                        &quot; เป็นคนที่ใช้อันใดได้ถึงอกถึงใจ แต่มีพุ่งแรงๆ อยู่ถ้าได้ทำการในที่รับผิดชอบซึ่งหนักน่า พอถอยกำลังแล้วก็ลดลงมาพอเหมาะทีเดียว เดี๋ยวนี้ก็เห็นว่าทางจะเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ตั้งแต่ไปทำการศาลหัวเมือง ความรังเกียจของคนทั้งปวง เห็นว่าแรงอยู่นั้น กลับเป็นที่พอใจของผู้หลักผู้ใหญ่ ขึ้นหลายคนแล้ว ฯลฯ &quot;</span>\n</p>\n<p>\n<br />\n<span style=\"color: #993300\">                           อย่างไรก็ตาม ในพุทธศักราช 2453 เสด็จในกรมฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายลายพระหัตถ์ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า มีพระโรคไม่สามารถที่จะรับราชการสนอง พระเดชพระคุณได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงหยุดพักรักษาพระองค์ได้</span>\n</p>\n<p>\n<br />\n<span style=\"color: #993300\">                           สาเหตุที่แท้จริง ที่พระองค์กราบบังคมทูล พระกรุณาลาออกราชการนั้น เนื่องจาก ช่วงนั้นเกิดมีเรื่องคดีพญาระกา ซึ่งเจ้านายชั้นผู้ใหญ่พระองค์หนึ่ง ทรงเข้าพระทัยผิด และทรงพระนิพนธ์บทละคร เรื่องพญาระกาขึ้น ใครอ่านก็เข้าใจว่า กระทบกระเทือนเสด็จในกรมฯ ซึ่งเสด็จในกรมฯ ทรงเสียพระทัยมากว่าสมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วก็ไม่ได้ทรงห้ามปราม จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาลาออก ในเรื่องนี้ เจ้าพระยามหิธร ได้บันทึกไว้ในหนังสือธรรมจักรว่า เมื่อเสด็จในกรมฯ กราบบังคมทูลลาออกแล้ว บรรดาเนติบัณฑิตผู้พิพากษาตุลาการ เกือบทั้งหมดในขณะนั้น ได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งโดยเสด็จด้วย</span>\n</p>\n<p>\n<br />\n<span style=\"color: #993300\">                            ต่อมาศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้วิจารณ์ไว้ว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ปรากฏว่าเสด็จในกรมฯ คงต้องมีคุณลักษณะอย่างวิเศษ จึงสามารถดำรงอยู่ในความเทิดทูนบูชา ของเนติบัณฑิตทั้งหลาย ได้ถึงปานนั้น ถึงกับร่วมกันตกลงใจ กล้ากระทำการอันเป็นการเสี่ยง ต่อราชภัยเป็นอย่างยิ่ง</span>\n</p>\n<p>\n<br />\n<span style=\"color: #993300\">                            นับเวลาที่เสด็จในกรมฯ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีนาน 14 ปี ระหว่างนั้นได้ทรงตรากฎ และคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการ ฝ่ายการศาลยุติธรรม ไว้หลายฉบับตั้งแต่ปี ร.ศ.115 ถึง ร.ศ.120 ปรากฏว่าทรงตรากฎเสนาบดีไว้ทั้งหมดรวม 28 ฉบับด้วยกัน แต่ละกฎและคำสั่งล้วนแต่วางแนวทาง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ฝ่ายการยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาในปี ร.ศ. 121 ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้ยกเลิกกฎเสนาบดี ชุดก่อนเสียทั้งหมด และได้ทรงตรากฎ และคำสั่งออกใช้ใหม่ถึง 67 ฉบับด้วยกัน บรรดากฎเหล่านั้นนับเป็นมูลที่มาของกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม บางมาตราในปัจจุบัน</span>\n</p>\n<p>\n<br />\n<span style=\"color: #993300\">                            ต่อมาในรัชกาล ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพุทธศักราช 2454 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดี กระทรวงเกษตราธิการ หลังจากที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง สนองพระเดชพระคุณได้เพียงปีเดียว ก็ได้มีพระบรมราชโองการ เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ขึ้นเป็นกรมหลวงมีพระนามตามจารึก ในพระสุบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คชนาม</span>\n</p>\n<p>\n<br />\n<span style=\"color: #993300\">                            จนกระทั่งพุทธศักราช 2462 เสด็จในกรมฯ ประชวรด้วยโรคพระวักกะ จึงทรงกราบบังคมทูลพระกรุณาลาออก และได้เสด็จไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส แต่พระอาการหาทุเลาลงไม่ ในวันที่ 7 สิงหาคม พุทธศักราช 2463 เวลา 21 นาฬิกา พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็เสด็จสิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส นั้นเอง สิริพระชนมายุ 47 พรรษา เมื่ออัญเชิญพระอัฐิของพระองค์ คืนสู่พระนครแล้ว นับแต่พุทธศักราช 2497 เนติบัณฑิตสภาได้เริ่มกำหนดวันที่ 7 สิงหาคม ว่าเป็น  &quot; วันรพี &quot;   พร้อมทั้งจัดงานบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย นับแต่นั้นสืบเนื่องมาเป็นประจำทุกปี</span>\n</p>\n<p>\n<br />\n<span style=\"color: #993300\">                            แม้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จะเสด็จสิ้นพระชนม์ ไปเป็นเวลาเนิ่นนานแล้วก็ตาม หากแต่พระเกียรติคุณการุณยธรรม และพระจริยวัตรอันงาม ยังคงบันทึกตรึงตราอยู่ในดวงใจ ของนักกฎหมายไทย ทุกหมู่เหล่ามิรู้คลาย จึงพร้อมใจกันถวายพระสมัญญา   &quot; บิดาแห่งกฎหมายไทย &quot;   กับทั้งต่างพากันมาวางพวงมาลา ถวายสักการะพระอนุสาวรีย์ หน้าศาลฎีกาในวันรพี 7 สิงหาคม ของทุกปี</span>\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p align=\"center\">\n<img border=\"0\" width=\"270\" src=\"/files/u7250/rapee.gif\" height=\"138\" />\n</p>\n<p align=\"center\">\n<span style=\"color: #8f96a2\">ที่มาของรูปภาพ  </span><a href=\"http://www.wing4.rtaf.mi.th/office/law_w4/pic/rapee.gif\"><span style=\"color: #8f96a2\">http://www.wing4.rtaf.mi.th/office/law_w4/pic/rapee.gif</span></a>\n</p>\n<p>\n<br />\n                          <span style=\"color: #993300\">  บิดาแห่งกฎหมายไทย ได้ทรงวางวิถีสุจริตสัมมาปฏิบัติ เป็นแนวทางไว้ดีแล้ว อนุชนผู้เป็นนักกฎหมายจักดำเนินตามเบื้องพระบาทยุคล โดยเสด็จในพระปณิธาน  &quot; ชีวิตของฉันคือการรับใช้ประชาชน &quot; </span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #993300\"></span>\n</p>\n<p>\n<span style=\"color: #8f96a2\">ที่มาของข้อมูล </span><a href=\"http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page1.html\"><span style=\"color: #8f96a2\">http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page1.html</span></a>\n</p>\n<p>\n<a href=\"http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page2.html\"><span style=\"color: #8f96a2\">http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page2.html</span></a>\n</p>\n<p>\n<a href=\"http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page3.html\"><span style=\"color: #8f96a2\">http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page3.html</span></a>\n</p>\n<p>\n<a href=\"http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page4.html\"><span style=\"color: #8f96a2\">http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page4.html</span></a>\n</p>\n', created = 1719108157, expire = 1719194557, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:b6101c048cd964116939189253ecaf1a' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

บิดาแห่งกฏหมายไทย

รูปภาพของ sss27271

                        แม้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ยังทรงตระหนักแก่พระราชหฤทัยในพระบุคลิกดังกล่าว ของเสด็จในกรมฯ ปรากฏในพระราชหัตถเลขา ถึงเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (ม.ร.ว. เปีย มาลากุล) ความว่า
                        " เป็นคนที่ใช้อันใดได้ถึงอกถึงใจ แต่มีพุ่งแรงๆ อยู่ถ้าได้ทำการในที่รับผิดชอบซึ่งหนักน่า พอถอยกำลังแล้วก็ลดลงมาพอเหมาะทีเดียว เดี๋ยวนี้ก็เห็นว่าทางจะเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว ตั้งแต่ไปทำการศาลหัวเมือง ความรังเกียจของคนทั้งปวง เห็นว่าแรงอยู่นั้น กลับเป็นที่พอใจของผู้หลักผู้ใหญ่ ขึ้นหลายคนแล้ว ฯลฯ "


                           อย่างไรก็ตาม ในพุทธศักราช 2453 เสด็จในกรมฯ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายลายพระหัตถ์ กราบบังคมทูลพระกรุณาว่า มีพระโรคไม่สามารถที่จะรับราชการสนอง พระเดชพระคุณได้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงหยุดพักรักษาพระองค์ได้


                           สาเหตุที่แท้จริง ที่พระองค์กราบบังคมทูล พระกรุณาลาออกราชการนั้น เนื่องจาก ช่วงนั้นเกิดมีเรื่องคดีพญาระกา ซึ่งเจ้านายชั้นผู้ใหญ่พระองค์หนึ่ง ทรงเข้าพระทัยผิด และทรงพระนิพนธ์บทละคร เรื่องพญาระกาขึ้น ใครอ่านก็เข้าใจว่า กระทบกระเทือนเสด็จในกรมฯ ซึ่งเสด็จในกรมฯ ทรงเสียพระทัยมากว่าสมเด็จพระบรมชนกนาถ ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท แล้วก็ไม่ได้ทรงห้ามปราม จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาลาออก ในเรื่องนี้ เจ้าพระยามหิธร ได้บันทึกไว้ในหนังสือธรรมจักรว่า เมื่อเสด็จในกรมฯ กราบบังคมทูลลาออกแล้ว บรรดาเนติบัณฑิตผู้พิพากษาตุลาการ เกือบทั้งหมดในขณะนั้น ได้กราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งโดยเสด็จด้วย


                            ต่อมาศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้วิจารณ์ไว้ว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ ทำให้ปรากฏว่าเสด็จในกรมฯ คงต้องมีคุณลักษณะอย่างวิเศษ จึงสามารถดำรงอยู่ในความเทิดทูนบูชา ของเนติบัณฑิตทั้งหลาย ได้ถึงปานนั้น ถึงกับร่วมกันตกลงใจ กล้ากระทำการอันเป็นการเสี่ยง ต่อราชภัยเป็นอย่างยิ่ง


                            นับเวลาที่เสด็จในกรมฯ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีนาน 14 ปี ระหว่างนั้นได้ทรงตรากฎ และคำสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการ ฝ่ายการศาลยุติธรรม ไว้หลายฉบับตั้งแต่ปี ร.ศ.115 ถึง ร.ศ.120 ปรากฏว่าทรงตรากฎเสนาบดีไว้ทั้งหมดรวม 28 ฉบับด้วยกัน แต่ละกฎและคำสั่งล้วนแต่วางแนวทาง ปฏิบัติหน้าที่ราชการ ฝ่ายการยุติธรรมเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาในปี ร.ศ. 121 ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้ยกเลิกกฎเสนาบดี ชุดก่อนเสียทั้งหมด และได้ทรงตรากฎ และคำสั่งออกใช้ใหม่ถึง 67 ฉบับด้วยกัน บรรดากฎเหล่านั้นนับเป็นมูลที่มาของกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และพระธรรมนูญศาลยุติธรรม บางมาตราในปัจจุบัน


                            ต่อมาในรัชกาล ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพุทธศักราช 2454 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดี กระทรวงเกษตราธิการ หลังจากที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่ง สนองพระเดชพระคุณได้เพียงปีเดียว ก็ได้มีพระบรมราชโองการ เลื่อนพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ขึ้นเป็นกรมหลวงมีพระนามตามจารึก ในพระสุบัฏว่า พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คชนาม


                            จนกระทั่งพุทธศักราช 2462 เสด็จในกรมฯ ประชวรด้วยโรคพระวักกะ จึงทรงกราบบังคมทูลพระกรุณาลาออก และได้เสด็จไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส แต่พระอาการหาทุเลาลงไม่ ในวันที่ 7 สิงหาคม พุทธศักราช 2463 เวลา 21 นาฬิกา พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็เสด็จสิ้นพระชนม์ ณ กรุงปารีส นั้นเอง สิริพระชนมายุ 47 พรรษา เมื่ออัญเชิญพระอัฐิของพระองค์ คืนสู่พระนครแล้ว นับแต่พุทธศักราช 2497 เนติบัณฑิตสภาได้เริ่มกำหนดวันที่ 7 สิงหาคม ว่าเป็น  " วันรพี "   พร้อมทั้งจัดงานบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย นับแต่นั้นสืบเนื่องมาเป็นประจำทุกปี


                            แม้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ จะเสด็จสิ้นพระชนม์ ไปเป็นเวลาเนิ่นนานแล้วก็ตาม หากแต่พระเกียรติคุณการุณยธรรม และพระจริยวัตรอันงาม ยังคงบันทึกตรึงตราอยู่ในดวงใจ ของนักกฎหมายไทย ทุกหมู่เหล่ามิรู้คลาย จึงพร้อมใจกันถวายพระสมัญญา   " บิดาแห่งกฎหมายไทย "   กับทั้งต่างพากันมาวางพวงมาลา ถวายสักการะพระอนุสาวรีย์ หน้าศาลฎีกาในวันรพี 7 สิงหาคม ของทุกปี

 

ที่มาของรูปภาพ  http://www.wing4.rtaf.mi.th/office/law_w4/pic/rapee.gif


                            บิดาแห่งกฎหมายไทย ได้ทรงวางวิถีสุจริตสัมมาปฏิบัติ เป็นแนวทางไว้ดีแล้ว อนุชนผู้เป็นนักกฎหมายจักดำเนินตามเบื้องพระบาทยุคล โดยเสด็จในพระปณิธาน  " ชีวิตของฉันคือการรับใช้ประชาชน "

ที่มาของข้อมูล http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page1.html

http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page2.html

http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page3.html

http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page4.html

รูปภาพของ ssspoonsak

ดีแล้วละ แต่ขออีกนิด 

1. แหล่งที่มาของข้อมูล ควรอ้างอิงทุกหน้า

จะเป็นกำลังใจให้ แล้วจะมาดูอีกครั้ง

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 505 คน กำลังออนไลน์