บิดาแห่งกฏหมายไทย

รูปภาพของ sss27271

                   จวบถึงปีพุทธศักราช2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรม มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า"พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์" 

 

ที่มาของรูปภาพ  http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/rapee3.jpg


                    ตลอดระยะเวลา ที่ทรงดำรงต่ำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เสด็จในกรมฯ ทรงสนพระทัยปรับปรุงแก้ไขจัดระเบียบศาล และการยุติธรรมทั่วประเทศให้เรียบร้อย ทรงพระดำริในเรื่องนี้ว่ามี 2 หนทางสำหรับแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือ การทำให้บ้านเมืองมีกฎหมายดี และการทำศาลให้มีผู้พิพากศาลที่ดี และมีคุณธรรม

                   ดังนั้นเสด็จในกรมฯ จึงทรงริเริ่มชำระรวบรวม พระราชกำหนดกฎหมาย นับแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงบัดนั้นให้เป็นระเบียบ ทรงรวบรวมจัดทำกฎหมายตราสามดวง โดยมีคำอธิบายและสารบัญอย่างละเอียด ทรงพระกรุณาโปรดให้ใช้ชื่อว่า   " กฎหมายราชบุรี "   ตามพระนามกรมที่ได้รับพระราชทานสถาปนา นอกจากนั้นยังทรงกราบบังคมทูล พระกรุณาสมเด็จพระบรมชนกนาถ ให้มีพระบรมราชวินิจฉัย แต่งตั้งกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ชำนาญทางกฎหมาย ทั้งฝ่ายไทยและต่างประเทศ มีทั้งชาวอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น และลังกา โดยมีสมเด็จในกรมฯ ทรงเป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้มีหน้ามี่ตรวจชำระ พระราชกำหนดบทพระอัยการ จัดระเบียบกฎหมายเพื่อให้ประชาชน มีโอกาสศึกษากฎหมายได้ง่ายขึ้น ก่อให้เกิดความสะดวกแก่การพิจารณาคดีทั้งปวง โดยชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการ อันควรที่จะใช้ต่อไป เรียบเรียงร่างขึ้นไว้ในการนี้ ทรงเป็นกำลังสำคัญ ของการชำระบทพระอัยการดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายอาญา ร.ศ. 127 ซึ่งต้องใช้เวลาถึง 11 ปี จึงแล้วเสร็จเป็นประมวลกฎหมายไทยฉบับแรก เมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาแล้ว ยังทรงพระอุตสาหะอธิบาย ตัวบทกฎหมายให้กระจ่างชัด เพื่อสะดวกแก่การศึกษา และตีความให้ตรงกับเจตนารมณ์ ของผู้ร่างเดิม หลังจากนั้นคณะกรรมการชุดนี้ ก็ได้มีการตรากฎหมายขึ้นบังคับ เป็นจำนวนอีกไม่น้อย ต่อมาได้ยกฐานะเป็นกรมร่างกฎหมาย และคณะกรรมการกฤษฎีกาในปัจจุบัน


                          ในส่วนระเบียบราชการในกระทรวงยุติธรรม ทั้งแผนกธุรการและตุลาการนั้น เสด็จในกรมฯ ทรงพัฒนาให้เป็นระบบระเบียบ และสามารถตัดสินคดีความได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยมีพระดำริให้แบ่งหน้าที่ เพื่อข้าราชการประจำจะได้ดูแลกันเอง ตามที่ทรงมีอรรถาธิบายให้ว่า   " ในการวินิจฉัยบทกฎหมาย เป็นหน้าที่ผู้พิพากษา ไม่เกี่ยวข้องกับเสนาบดี แต่เสนาบดีต้องจัดให้ผู้พิพากษาตุลาการ ทำหน้าที่โดยสะดวกไม่ให้มีที่ติดขัด เป็นการจัดให้มีผู้ใหญ่ขึ้นนายหนึ่ง เป็นพี่เลี้ยงดูแล "


                          พระองค์ทรงแต่งตั้งเจ้าพระยามหิธร เป็นปลัดทูลฉลอง ช่วยงานด้านบริหารฝ่ายธุรการ อันได้แก่ กรมบัญชาการ (สำนักงานปลัดกระทรวงในปัจจุบัน) กรมอัยการ , กองลหุโทษ , กองมหันตโทษ และกองร่างกฎหมาย ปลัดทูลฉลองนี้ช่วยเข้าทำงานด้านธุรการ ของศาลทั้งหลายที่อยู่ในสังกัด รับผิดชอบในการอบรมผู้ช่วยผู้พิพากษา แต่งตั้งข้าราชการธุรการของศาล และมีหน้าที่พิจารณาปรับปรุงกฎหมาย อันเกี่ยวกับวิธีพิจารณาความของศาล ประสานงานระหว่างศาล กับหน่วยงานอื่นๆ ทำให้ทรงมีเวลาปฏิบัติพระภาระกิจ ด้านนโยบายมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้ศาลสามารถวินิจฉัยคดี โดยปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายปกครอง เป็นไปในแนวทางเดียวกับบรรดาอารยประเทศ ซึ่งในเรื่องนี้เคยมีรับสั่งให้ความว่า   " อำนาจพิจารณาพิพากษาคดี อยู่ใต้อุ้มมือฝ่ายธุรการนั้นใช้ไม่ได้ มีแต่จะเกิดภัยขึ้นเสมอ ดังที่รัฐบาลเองก็ได้ประกาศ แสดงความอันนั้นหลายครั้งแล้ว ฯลฯ "   กระทรวงยุติธรรมในปัจจุบัน ก็ยังคงยึดมั่นในหลักการสำคัญ อันเกี่ยวกับอำนาจและหน้าที่ ดังที่เริ่มสถาปนาทุกประการ

 

 

ที่มาของรูปภาพ http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/422/10422/images/42.JPG


                          นอกจากนั้น ในพุทธศักราช 2441 เสด็จในกรมฯ ยังทรงเป็นกรรมการตัดสินความฎีกา ในคณะกรรมการที่เรียกว่า  " คณะกรรมการฎีกา "   ทั้งนี้เนื่องจากว่า ในอดีตผู้ใดจะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาในขณะที่คดี อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นใดก็ได้ แต่นับแต่พุทธศักราช 2435 จะสามารถฎีกาต่อเมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินแล้ว โดยการฎีกาต่อกรรมการองคมนตรี ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งขึ้นทำการต่างพระเนตร พระกรรณ แต่ไม่ถือเป็นศาลเพราะมิได้นั่งพิจารณา หากแต่อาศัยพระราชอำนาจบังคับความ ตามพระบรมเดชานุภาพ


                          เสด็จในกรมฯ ทรงเอาพระทัยใส่คุณสมบัติ ของบุคคลผู้จะมาเป็นผู้พิพากษาเป็นพิเศษ ดังที่พระองค์ได้เคยกราบบังคมทูล พระกรุณาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ่านรายงานที่ทูลเกล้าฯ ถวายในฐานะข้าหลวงพิเศษ ฉบับลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ร.ศ. 120 ตอนหนึ่งมีความว่า
                          " การจัดศาลจะดีจะเลวเพียงไรนั่น คือ ต้องจัดการให้คนรักหน้าที่ราชการทางพิจารณาคดี ข้าพระพุทธเจ้ามีความเสียใจว่า ในเมืองไทยราชการตุลาการ เป็นสิ่งที่คนทั้งหลายถือว่าเป็นราชการอย่างต่ำ ไม่สมควรบุญวาสนา ของผู้ลากมากดีอย่างเก่า จึงมีแต่คนที่เลวๆ เข้ารับราชการ ในทางนี้ก็จำเป็นต้องเลวอยู่เอง ตามสุภาษิตอังกฤษมีอยู่บทหนึ่งว่า ตั้งชื่อด้วยศัพท์ที่เป็นอัปมงคล คงเป็นตามชื่อ ถ้าคิดว่าราชการฝ่ายตุลาการเป็นการเลว การนั้นคงจะเลวตามที่คิด จะเป็นประโยชน์แก่เมืองไทย จะเป็นประโยชน์แก่ ความสุขทุกข์ของราษฎรที่พึ่ง พระบรมเดชานุภาพหรือไม่ เห็นไม่ถนัด ฯลฯ "

 

ที่มาของรูปภาพ http://social.eduzones.com/images/blog/haloha123/webboard_20080730190034.gif 

 

                          พระกรณียกิจที่จะลืมเลือนเสียมิได้อีกประการหนึ่ง ก็คือ ทรงพระกรุณาประทาน กำเหนิดโรงเรียนกฎหมาย แห่งแรกในประเทศไทย โดยมีพระดำริว่า  " การที่จะยังราชการศาลยุติธรรม ให้เป็นไปด้วยดีนั้น มีความจำเป็นที่ต้องจัด ให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยการเปิดให้มีการสอนกฎหมาย ขึ้นเป็นที่แพร่หลาย "   จึงได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น ในปีพุทธศักราช 2440 เพื่อเป็นการประสาทความรู้ ทางกฎหมายให้แก่บรรดา ผู้พิพากษาทั้งเก่าใหม่ และนักเรียนที่จะเป็นผู้พิพากษาต่อไป เสด็จในกรมฯ ทรงสอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง กับมีอาจารย์ร่วมสอนด้วย คือ พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) ขุนหลวงพระยาไกรสี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงษ์ ทำให้โรงเรียนกฎหมายเมื่อแรกตั้ง จะย้ายที่ทำการเรียนการสอนไปตามแต่เสด็จในกรมฯ จะทรงสะดวกโดยทรงสอนนักเรียน หลังจากที่เสวยกลางวันแล้ว พอบ่ายโรงเรียนก็ปิดด้วย ต้องเสด็จกลับไปทรงงานที่กระทรวง ลูกศิษย์ก็ต้องกลับไปทำงาน หลังจากนั้นก็ได้พัฒนา มาเป็นโรงเรียนที่จัดกึ่งราชการ คล้ายหอสมุดสำหรับพระนคร เจ้าหน้าที่เรียกว่า  " กรมสัมปาทิก "  มีสภานายก เลขานุการ เหรัญญิก และผู้ช่วยอีก 2 คน แต่เมื่อจำนวนนักเรียนทวีขึ้นรวดเร็ว จนห้องนั้นไม่พอ จึงย้ายไปสอนที่ตึกสัสดีหลังกลาง ว่ากันว่าการเล่าเรียนในครั้งนั้น ครึกครื้นน่านิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากนักเรียนสนใจกล้าพูด กล้าถาม ฝ่ายอาจารย์ก็ยินดีอธิบายอย่างแจ่มแจ้ง เอาใจใส่นักเรียนเป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หรือจรรยาบรรณตุลาการ (Judicial ethics) นั้น เสด็จในกรมฯ ก็ได้ทรงบำเพ็ญพระองค์เป็นตุลาการตัวอย่างที่ดี ให้วงการตุลาการเห็นแจ้งประจักษ์อยู่แล้ว และในปลายปี พ.ศ. 2440 นั้นเอง ทรงเปิดให้มีการสอบไล่ เป็นเนติบัณฑิตรุ่นแรก มีผู้สอบได้ 9 คน ออกมารับราชการแบ่งเบา พระภาระลงไปได้บ้าง นอกจากนี้ยังทรงเลือกศิษย์ผู้มีความรู้ ความสามารถให้กลับไปช่วยสอนกฎหมาย เป็นการเพิ่มจำนวนครู ตามขนาดของโรงเรียนที่ขยายออกไป ครั้นโรงเรียนเจริญกว้างขวางมากขึ้น เกินกว่าจะทรงดูแลกิจการแต่ลำพังพระองค์ได้ จึงทรงจัดให้มีกรรมการดูแลปกครอง และอำนวยการสอน และให้กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้อุปถัมภ์ ให้กิจการลุล่วงไปได้ด้วยดี


                         เสด็จในกรมฯ ทรงยึดมั่นว่า ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นอุดมคติสำคัญยิ่งกว่ากิจส่วนตัวใดๆ โดยเฉพาะสำหรับนักการศาล และนักกฎหมาย คราวหนึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเลี้ยงข้าวแช่ ในพระบรมมหาราชวัง มีเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หลายพระองค์ ไปทรงร่วมในการนี้ด้วย ทั้งยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้เสด็จในกรมฯ นำนักเรียนกฎหมายเข้าเฝ้า ณ ที่นั้น ได้มีพระราชดำรัส แก่เสด็จในกรมฯ ว่า  " รพี พ่อได้ยินว่าผู้พิพากษากินเหล้ามากใช่ไหม ทำไมรพี จึงปล่อยให้เป็นเช่นนั้น "   เสด็จในกรมฯ จึงกราบบังคมทูลพระกรุณา สนองพระราชกระแสว่า  " ขอเดชะ พระอาญามิพ้นเกล้าฯ ในเวลาที่ข้าพระพุทธเจ้า จะเลือกผู้พิพากษาก็ดี เลื่อนชั้นผู้พิพากษาก็ดี ข้าพระพุทธเจ้าถือหลักในใจอยู่เพียงสองข้อ คือ ต้องมีสติปัญญาเฉียบแหลม เฉลียวฉลาดอย่างหนึ่ง และต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต อีกอย่างหนึ่ง พูดสั้นๆ ต้องฉลาด และต้องไม่โกง ถ้าโง่ ก็ไม่ทันคนอื่น โจทก์ จำเลย จะต้มเอาได้ ทำให้เสียความยุติธรรม แต่ถ้าฉลาดแล้วโกง ก็ทำให้เสียยุติธรรมอีกเหมือนกัน จะซ้ำร้ายยิ่งไปกันใหญ่ ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ไปสอบสวน หรือเอาใจใส่กิจธุระส่วนตัว ของผู้พิพากษาแต่ละคน ใครจะกินเหล้า เที่ยวเตร่อย่างไร นอกเหนืออำนาจเสนาบดีจะบังคับบัญชาได้ "

ที่มาของข้อมูล http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page1.html

http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page2.html

http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page3.html

http://www.baanjomyut.com/library/rapheepattana/page4.html

รูปภาพของ ssspoonsak

ดีแล้วละ แต่ขออีกนิด 

1. แหล่งที่มาของข้อมูล ควรอ้างอิงทุกหน้า

จะเป็นกำลังใจให้ แล้วจะมาดูอีกครั้ง

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 363 คน กำลังออนไลน์