• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:0781f1cae47d7488a8ef19683984ee3c' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p><strong><u><span style=\"color: #e93487\">อียิปต์และแม่น้ำไนล์</span></u></strong>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">เรื่องราวของอียิปต์ก็คือเรื่องราวของแม่น้ำไนล์ เป็นคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ ด้วยเหตุว่าดินแดนอันเป็นประจำทุกปีนั้น แม่น้ำไนล์จะนำเอาปุ๋ยอันโอชะขึ้นไปลาดไว้บนทั้งสองฝั่งน้ำ ทำให้ดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นดินอุดม มีพืชพันธ์ธัญญาหารเกิดขึ้นได้งอกงาม และตามลุ่มน้ำอันมีอาณาเขตแคบๆ ซึ่งบางแห่งกว้างประมาณสิบไมล์เท่านั้นเอง นี้แหละที่อารยธรรมของอียิปต์ได้เจริญงอกงามขึ้นและเกิดนครใหญ่ๆ ขึ้นเป็นจำนวนหลายต่อหลายนคร นอกจากจะอำนวยปุ๋ยอันโอชะให้ดังกล่าวแล้ว แม่น้ำสายนี้ยังเป็นเส้นทางคมนาคมของประเทศและนำออกสู่ทะเลใหญ่อีกด้วย </span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">ความก้าวหน้าในอารยธรรมของอียิปต์ ขั้นแรกที่เราทราบก็คือ อารยธรรมที่เกี่ยวกับวิธีการทำนาของเขา โดยเหตุที่ในอียิปต์นั้นฝนแทบจะไม่ตกเลย ชาวนาจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีทำให้นาของตนมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ ในอียิปต์ภาคสูง คือในตอนต้นน้ำไนล์มีฝนตกชุกในฤดูสปิง เมื่อฝนไหลท่วมท้นมาและล้นสองฟากฝั่งแม่น้ำนั้นชาวอียิปต์ก็หาวิธีที่จะขังน้ำนี้ไว้ใช้ในฤดูน้ำลด และถ่ายเทไปตามคูเล็กๆ ซึ่งตัดผ่านไปตามท้องไร่ท้องนา นี้เป็นเครื่องมืออันแรกอันหนึ่ง ที่มนุษย์คิดขึ้นสู้กับธรรมชาติ</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<strong><u><span style=\"color: #e93487\">ประวัติของอียิปต์โบราณ</span></u></strong>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">ความเป็นมาแต่แรกของอียิปต์โบราณนั้นไม่รู้จักกระจ่างนัก รู้แต่เพียงว่าดินแดนอียิปต์<br />\nโบราณถูกยึดครองโดยชาวลิบยานทางตะวันตกเฉียงเหนือ เซมิติคทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิโกรทางใต้ ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ<br />\n<u>1. สมัยก่อนราชวงศ์</u> (The Predynastic Period)<br />\n<u>2. สมัยราชวงศ์</u> (The Dynastic Period)<br />\n<u>3. สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน</u> (The Period of Invasion)</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<strong><span style=\"color: #2453da\">1. สมัยก่อนราชวงศ์</span></strong> <span style=\"color: #1ca7e3\">เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 4,500-3,110 B.C. ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณยังไม่มี แต่ชาวอียิปต์โบราณได้เข้าตั้งมั่นบริเวณลุ่มน้ำไนล์แล้ว มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม มีหัวหน้าเป็นผู้นำด้านการปกครองและสังคม ขณะเดียวกันมักแย่งชิงดินแดนซึ่งกันและกัน ในที่สุดดินแดนทั้งสองฝั่งของลุ่มแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน<br />\n     1. อียิปต์บน หรืออียิปต์ตอนใต้ (The Uppe Egypt or The Southern Egypt or The Narrow Valley) หมายถึงดินแดนอียิปต์ตอนใน บริเวณดังกล่าวเป็นป่าทึบและเกาะแก่งน้ำตก พื้นที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้้คนอยู่บางเบา<br />\n     2. อียิปต์ล่าง หรืออียิปต์ทางตอนเหนือ (The Lower Egypt of the Northen Egypt or The Nite Deits) หมายถึงดินแดนอียิปต์ตอนนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดินแดนตอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์นั้นพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกผู้คนอยู่หนาแน่นความเจริญเท่าที่ปรากฎในช่วงนี้คือ ความเจริญทุกอย่างของมนุษย์ที่สามารถทำได้ในยุคหิน รวมถึงรู้จักการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์และการชลประทาน</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<strong><span style=\"color: #2453da\">2. สมัยราชวงศ์</span></strong> <span style=\"color: #1ca7e3\">เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 3100-940 B.C. ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณได้ก่อตั้งขึ้นและผู้นำชาวอียิปต์โบราณเป็นผู้ดำเนินการปกครองดินแดนอียิปต์เองเป็นส่วนใหญ่ สมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้ ดังนี้<br />\n     <u>1. สมัยต้นราชวงศ์</u> (The Protodynastic Period)<br />\n     <u>2. สมัยอาณาจักรเก่า</u> (The Old Kingdom)<br />\n     <u>3. สมัยอาณาจักรกลาง</u> (The Middle Kingdom)<br />\n     <u>4. สมัยอาณาจักรใหม่ หรือสมัยจักรวรรดิ</u> (The New Kingdom or the Empire Age)<br />\n</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\"><u><strong>1. สมัยต้นราชวงศ์</strong></u> (3110-2,665 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 1-2 เริ่มจากการแบ่งแยกดินแดน อียิปต์โบราณสิ้นสุดลงโดยความสามารถของผู้นำอียิปต์บนคือเมเนส (Menes) รวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกันสำเร็จในปี 3110 B.C. และยกตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 1 กำหนดให้เมมฟิสในอียิปต์ล่างเป็นเมืองหลวง แม้จะรวมดินแดนเข้าเป็นผืนเดียวกันก่อตั้งเป็นชาติขึ้น แต่ชาวอียิปต์โบราณก็ยังนิยมเรียกชาติตนครั้งนั้นว่า Land of Two Lands หลักฐานประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีน้อยมาก</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\"><u><strong>2. สมัยอาณาจักรเก่า</strong></u> (2225-2180 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 สมัยนี้บางครั้งถูกเรียกว่า สมัยปิรามิด (The Pyramid Age) เพราะเกิดการสร้างปิรามิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีปิรามิดเกิดขึ้นมากกว่า 20 แห่ง ปิรามิดแห่งแรกสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์โจเซอร์ ในราชวงศ์ที่ 3 ที่เมืองสควารา และเพราะมีวิทยาการใหม่ ศิลปกรรม และสถาปัตยธรรมเจริญมากในราชวงศ์ที่ 4 ประจวบกับกษัตริย์มีอำนาจในการปกครองเป็นผลให้เกิดปิรามิดใหญ่ที่สุดขึ้น ปิรามิดอันนี้เป็นของกษัตริย์คูฟุ (Khufu) อยู่ที่เมือง กีซา (Giza) สมัยอาณาจักรเก่าสิ้นสุดลง ในราชวงศ์ที่ 6 เพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ ความทะเยอทะยานแย่งชิงอำนาจของขุนนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขุนนางที่เรียกว่าโนมาร์ซ (Nomarch) เป็นผลให้เป็นเวลาร่วมสองศตวรรษที่อียิปต์โบราณต้องวุ่นวายเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นบ่อยครั้งและต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกขุนนางช่วงดังกล่าวนี้เรียกว่า ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่หนึ่ง</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่1 (The First Federal 2180-2052 B.C.)เป็นช่วงระหว่างปลายสมัยอาณาจักรกลาง ในช่วงนี้ขุนนางมีอำนาจตั้งราชวงศ์ที่ 7-11 ปกครองอียิปต์โบราณ กล่าวคือที่เมืองธีปส์ (Thebes) ในอียิปต์บน ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองของราชวงศ์ที่ 7 และที่ 8 ต่อมาขุนนางที่เมืองเฮราเคบโอโปลิส (Herclepopolis) ในอียิปต์ล่างได้ตั้งราชวงศ์ที่ 9-10 ขึ้น ขณะที่อยู่ในราชวงศ์ที่ 10 (2100-2052 B.C.) ปรากฎว่าได้มีการจัดตั้งราชวงศ์ที่ 11 (2134-1999 B.C.) ขึ้นที่เมืองธีปส์ควบคู่กันขึ้นมา เป็นผลทำให้เกิดสงครามกลางเมืองเพื่อแย่งชิงอำนาจและดินแดนกัน</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\"><u><strong>3. สมัยอาณาจักรกลาง</strong></u> (2052-1786 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 11 ตอนปลายกับราชวงศ์ที่ 12 เริ่มด้วยกษัตริย์เมนตูโฮเต็ปที่ 2 (Mentuhotep 2) กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ที่ 11 แห่งธีปส์ปราบปรามขุนนางได้และรวบรวมดินแดนอียิปต์โบราณเข้าด้วยกัน ทรงฟื้นฟูการค้าและสภาพแวดล้อม เวลาส่วนใหญ่ของสมัยอาณาจักรกลางอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 12 กษัตริย์ที่สามารถคือ อเมเนมฮัสที่ 1 (Amenemhat) ทรงเก่งในการรบและทรงฟื้นฟูการค้ากับฟินิเซียน </span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\"><u><strong>4. สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ</strong></u> (1554-1090 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 18-20 มีธีปส์เป็นเมืองหลวง จักรวรรดิ์อียิปต์โบราณเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเพราะกษัตริย์เก่งในการรบ การปกครอง อียิปต์โบราณต้องทำสงครามยาวนานกับฮิตไตท์ พระให้การสนับสนุนกษัตริย์ อำนาจของขุนนางหมดไป ในสมัยนี้อียิปต์โบราณมีนโยบายรุกรานชุมชนใกล้เคียงมุ่งขยายอำนาจและการป้องกันการรุกรานของศัตรูภายนอก ดินแดนอียิปต์ขยายกว้างใหญ่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีมากและแน่นอนกว่าสมัยใดๆ ที่ผ่านมา กษัตริย์ที่ควรกล่าวคือ</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">     1. อาเมส (Ahmose 1 or Amosis) เป็นผู้ขับไล่ฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สำเร็จพร้อมทั้งสามารถกำจัดอำนาจขุนนางและเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 18 ก่อตั้งสมัยอาณาจักรใหม่ขึ้น</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">     2. อเมนโฮเตปที่ 1 และทัสโมสที่ 1 (Amenhopet 1 Thutmose 1) ทั้งสองพระองค์นี้เก่งในการรบ ขยายจักรวรรดิออกไป</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">     3. พระนางฮัทเซฟซุท (Hatshepsut) มเหสีของทัสโมสที่ 2 ทรงเป็นกษัตริย์หญิงองค์แรกของอียิปต์และเป็นนักปกครองหญิงที่สามารถคนแรกของโลก (The First Capable Woman Rule in the Cirillzed World) ภายหลังพระสวามีสิ้นพระชนม์ลง ทรงปกครองอียิปต์นานถึง 40 ปี ทรงฟื้นฟูการค้า ศิลปกรรมและสถาปัตยธรรม</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">     4. ทัสโมที่ 3 (Thutmose 3) ขึ้นปกครองจริงในปี 1469 B.C.ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางฮัทเซฟซุท ทรงเก่งในการรบ ทำสงครามประมาณ 17 ครั้งเพื่อปราบศัตรูในดินแดนทางตะวันออก ทรงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังว่าเป็นนโปเลียนแห่งอียิปต์ ขณะเดียวกันได้ให้การศึกษาเลี้ยงดูเด็กเป็นอย่างดี โดยหวังว่าเมื่อเด็กเหล่านั้นได้กลับดินแดนตนและขึ้นเป็นใหญ่จะจงรักภักดีต่ออียิปต์ ทรงสั่งให้ลงชื่อของนางฮัทเซฟซุทออกจากการจารึกเพราะทรงไม่พอใจที่พระนางขึ้นปกครองอียิปต์แทนในช่วงต้นสมัยของพระองค์</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">     5. อเมนโฮเต็ปที่ 4 (Amenhotep 4) เป็นกษัตริย์นักปฏิรูปศาสนาของอียิปต์โบราณ เพราะทรงกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณเคารพบูชาเฉพาะสุริยเทพหรืออะตัน (Aton) อันถือได้ว่าการริเริ่มความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (Monotheism)</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">     6. ตูแตงคามอน (Tutankhamon) ปกครองอียิปต์ต่อจากอเมนโฮเต็ปที่ 4 ทรงประกาศยกเลิกศาสนาของอเมนโฮเต็ปที่4 และกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณหันมาศรัทธาในเทพเจ้าอะมอนเร และเทพเจ้าอื่นๆ ดังเดิม ตลอดจนย้ายเมืองหลวงกลับธีปส์</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n<span style=\"color: #1ca7e3\">     7. รามซีสที่ 2 (Ramses 2) ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย ทรงเก่งในการรบทรงนำดินแดนที่สูญเสียไปในสมัยอเมนโฮเต็ปที่ 4 กลับคืนมาเป็นของอียิปต์ดังเดิมและทรงยุติสงครามกับฮิตไตท์ในการรบที่คาเดช (Kadesh) โดยอียิปต์ได้ปาเลสไตน์ ฮิตไตท์ได้ซีเรีย ทรงปลดปล่อยฮิบรูให้พ้นจากการเป็นทาส ทรงเป็นนักรักเพราะทรงมีโอรส 100 คน มีธิดา 50 คน สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 90 ปี ครองราชย์ 67 ปี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ปรากฎว่าจักรวรรดิ์โบราณก็เริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับเพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ ขุนนางก่อความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจกันพระขึ้นปกครองอียิปต์ครั้งราชวงศ์ที่ 21 ขึ้นที่เมืองทานิส (Tanis) และอียิปต์ถูกรุกรานจากศัตรูภายนอก</span>\n</p>\n<p align=\"left\">\n</p>', created = 1719170488, expire = 1719256888, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:0781f1cae47d7488a8ef19683984ee3c' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

อารยธรรมอียิปต์โบราณ(Civilization of Ancient Egypt)

รูปภาพของ sss28363

อียิปต์และแม่น้ำไนล์

เรื่องราวของอียิปต์ก็คือเรื่องราวของแม่น้ำไนล์ เป็นคำกล่าวของนักประวัติศาสตร์ ทั้งนี้ ด้วยเหตุว่าดินแดนอันเป็นประจำทุกปีนั้น แม่น้ำไนล์จะนำเอาปุ๋ยอันโอชะขึ้นไปลาดไว้บนทั้งสองฝั่งน้ำ ทำให้ดินทั้งสองฝั่งแม่น้ำเป็นดินอุดม มีพืชพันธ์ธัญญาหารเกิดขึ้นได้งอกงาม และตามลุ่มน้ำอันมีอาณาเขตแคบๆ ซึ่งบางแห่งกว้างประมาณสิบไมล์เท่านั้นเอง นี้แหละที่อารยธรรมของอียิปต์ได้เจริญงอกงามขึ้นและเกิดนครใหญ่ๆ ขึ้นเป็นจำนวนหลายต่อหลายนคร นอกจากจะอำนวยปุ๋ยอันโอชะให้ดังกล่าวแล้ว แม่น้ำสายนี้ยังเป็นเส้นทางคมนาคมของประเทศและนำออกสู่ทะเลใหญ่อีกด้วย

ความก้าวหน้าในอารยธรรมของอียิปต์ ขั้นแรกที่เราทราบก็คือ อารยธรรมที่เกี่ยวกับวิธีการทำนาของเขา โดยเหตุที่ในอียิปต์นั้นฝนแทบจะไม่ตกเลย ชาวนาจึงจำเป็นที่จะต้องหาวิธีทำให้นาของตนมีน้ำหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ ในอียิปต์ภาคสูง คือในตอนต้นน้ำไนล์มีฝนตกชุกในฤดูสปิง เมื่อฝนไหลท่วมท้นมาและล้นสองฟากฝั่งแม่น้ำนั้นชาวอียิปต์ก็หาวิธีที่จะขังน้ำนี้ไว้ใช้ในฤดูน้ำลด และถ่ายเทไปตามคูเล็กๆ ซึ่งตัดผ่านไปตามท้องไร่ท้องนา นี้เป็นเครื่องมืออันแรกอันหนึ่ง ที่มนุษย์คิดขึ้นสู้กับธรรมชาติ

ประวัติของอียิปต์โบราณ

ความเป็นมาแต่แรกของอียิปต์โบราณนั้นไม่รู้จักกระจ่างนัก รู้แต่เพียงว่าดินแดนอียิปต์
โบราณถูกยึดครองโดยชาวลิบยานทางตะวันตกเฉียงเหนือ เซมิติคทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิโกรทางใต้ ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณแบ่งเป็น 3 ช่วง คือ
1. สมัยก่อนราชวงศ์ (The Predynastic Period)
2. สมัยราชวงศ์ (The Dynastic Period)
3. สมัยภายใต้การปกครองของผู้รุกราน (The Period of Invasion)

1. สมัยก่อนราชวงศ์ เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 4,500-3,110 B.C. ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณยังไม่มี แต่ชาวอียิปต์โบราณได้เข้าตั้งมั่นบริเวณลุ่มน้ำไนล์แล้ว มีการรวมตัวเป็นกลุ่ม มีหัวหน้าเป็นผู้นำด้านการปกครองและสังคม ขณะเดียวกันมักแย่งชิงดินแดนซึ่งกันและกัน ในที่สุดดินแดนทั้งสองฝั่งของลุ่มแม่น้ำไนล์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
     1. อียิปต์บน หรืออียิปต์ตอนใต้ (The Uppe Egypt or The Southern Egypt or The Narrow Valley) หมายถึงดินแดนอียิปต์ตอนใน บริเวณดังกล่าวเป็นป่าทึบและเกาะแก่งน้ำตก พื้นที่ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ผู้้คนอยู่บางเบา
     2. อียิปต์ล่าง หรืออียิปต์ทางตอนเหนือ (The Lower Egypt of the Northen Egypt or The Nite Deits) หมายถึงดินแดนอียิปต์ตอนนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณดินแดนตอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์นั้นพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูกผู้คนอยู่หนาแน่นความเจริญเท่าที่ปรากฎในช่วงนี้คือ ความเจริญทุกอย่างของมนุษย์ที่สามารถทำได้ในยุคหิน รวมถึงรู้จักการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์และการชลประทาน

2. สมัยราชวงศ์ เป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 3100-940 B.C. ในสมัยนี้ชาติอียิปต์โบราณได้ก่อตั้งขึ้นและผู้นำชาวอียิปต์โบราณเป็นผู้ดำเนินการปกครองดินแดนอียิปต์เองเป็นส่วนใหญ่ สมัยราชวงศ์แบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้ ดังนี้
     1. สมัยต้นราชวงศ์ (The Protodynastic Period)
     2. สมัยอาณาจักรเก่า (The Old Kingdom)
     3. สมัยอาณาจักรกลาง (The Middle Kingdom)
     4. สมัยอาณาจักรใหม่ หรือสมัยจักรวรรดิ (The New Kingdom or the Empire Age)

1. สมัยต้นราชวงศ์ (3110-2,665 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 1-2 เริ่มจากการแบ่งแยกดินแดน อียิปต์โบราณสิ้นสุดลงโดยความสามารถของผู้นำอียิปต์บนคือเมเนส (Menes) รวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกันสำเร็จในปี 3110 B.C. และยกตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 1 กำหนดให้เมมฟิสในอียิปต์ล่างเป็นเมืองหลวง แม้จะรวมดินแดนเข้าเป็นผืนเดียวกันก่อตั้งเป็นชาติขึ้น แต่ชาวอียิปต์โบราณก็ยังนิยมเรียกชาติตนครั้งนั้นว่า Land of Two Lands หลักฐานประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีน้อยมาก

2. สมัยอาณาจักรเก่า (2225-2180 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 3-6 สมัยนี้บางครั้งถูกเรียกว่า สมัยปิรามิด (The Pyramid Age) เพราะเกิดการสร้างปิรามิดขึ้นเป็นครั้งแรก และมีปิรามิดเกิดขึ้นมากกว่า 20 แห่ง ปิรามิดแห่งแรกสร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์โจเซอร์ ในราชวงศ์ที่ 3 ที่เมืองสควารา และเพราะมีวิทยาการใหม่ ศิลปกรรม และสถาปัตยธรรมเจริญมากในราชวงศ์ที่ 4 ประจวบกับกษัตริย์มีอำนาจในการปกครองเป็นผลให้เกิดปิรามิดใหญ่ที่สุดขึ้น ปิรามิดอันนี้เป็นของกษัตริย์คูฟุ (Khufu) อยู่ที่เมือง กีซา (Giza) สมัยอาณาจักรเก่าสิ้นสุดลง ในราชวงศ์ที่ 6 เพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ ความทะเยอทะยานแย่งชิงอำนาจของขุนนาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกขุนนางที่เรียกว่าโนมาร์ซ (Nomarch) เป็นผลให้เป็นเวลาร่วมสองศตวรรษที่อียิปต์โบราณต้องวุ่นวายเกิดสงครามกลางเมืองขึ้นบ่อยครั้งและต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกขุนนางช่วงดังกล่าวนี้เรียกว่า ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่หนึ่ง

ช่วงขุนนางปกครองครั้งที่1 (The First Federal 2180-2052 B.C.)เป็นช่วงระหว่างปลายสมัยอาณาจักรกลาง ในช่วงนี้ขุนนางมีอำนาจตั้งราชวงศ์ที่ 7-11 ปกครองอียิปต์โบราณ กล่าวคือที่เมืองธีปส์ (Thebes) ในอียิปต์บน ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองของราชวงศ์ที่ 7 และที่ 8 ต่อมาขุนนางที่เมืองเฮราเคบโอโปลิส (Herclepopolis) ในอียิปต์ล่างได้ตั้งราชวงศ์ที่ 9-10 ขึ้น ขณะที่อยู่ในราชวงศ์ที่ 10 (2100-2052 B.C.) ปรากฎว่าได้มีการจัดตั้งราชวงศ์ที่ 11 (2134-1999 B.C.) ขึ้นที่เมืองธีปส์ควบคู่กันขึ้นมา เป็นผลทำให้เกิดสงครามกลางเมืองเพื่อแย่งชิงอำนาจและดินแดนกัน

3. สมัยอาณาจักรกลาง (2052-1786 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 11 ตอนปลายกับราชวงศ์ที่ 12 เริ่มด้วยกษัตริย์เมนตูโฮเต็ปที่ 2 (Mentuhotep 2) กษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ที่ 11 แห่งธีปส์ปราบปรามขุนนางได้และรวบรวมดินแดนอียิปต์โบราณเข้าด้วยกัน ทรงฟื้นฟูการค้าและสภาพแวดล้อม เวลาส่วนใหญ่ของสมัยอาณาจักรกลางอยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 12 กษัตริย์ที่สามารถคือ อเมเนมฮัสที่ 1 (Amenemhat) ทรงเก่งในการรบและทรงฟื้นฟูการค้ากับฟินิเซียน

4. สมัยอาณาจักรใหม่หรือสมัยจักรวรรดิ (1554-1090 B.C.) อยู่ในช่วงราชวงศ์ที่ 18-20 มีธีปส์เป็นเมืองหลวง จักรวรรดิ์อียิปต์โบราณเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเพราะกษัตริย์เก่งในการรบ การปกครอง อียิปต์โบราณต้องทำสงครามยาวนานกับฮิตไตท์ พระให้การสนับสนุนกษัตริย์ อำนาจของขุนนางหมดไป ในสมัยนี้อียิปต์โบราณมีนโยบายรุกรานชุมชนใกล้เคียงมุ่งขยายอำนาจและการป้องกันการรุกรานของศัตรูภายนอก ดินแดนอียิปต์ขยายกว้างใหญ่อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยนี้มีมากและแน่นอนกว่าสมัยใดๆ ที่ผ่านมา กษัตริย์ที่ควรกล่าวคือ

     1. อาเมส (Ahmose 1 or Amosis) เป็นผู้ขับไล่ฮิคโซสออกจากอียิปต์ได้สำเร็จพร้อมทั้งสามารถกำจัดอำนาจขุนนางและเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ที่ 18 ก่อตั้งสมัยอาณาจักรใหม่ขึ้น

     2. อเมนโฮเตปที่ 1 และทัสโมสที่ 1 (Amenhopet 1 Thutmose 1) ทั้งสองพระองค์นี้เก่งในการรบ ขยายจักรวรรดิออกไป

     3. พระนางฮัทเซฟซุท (Hatshepsut) มเหสีของทัสโมสที่ 2 ทรงเป็นกษัตริย์หญิงองค์แรกของอียิปต์และเป็นนักปกครองหญิงที่สามารถคนแรกของโลก (The First Capable Woman Rule in the Cirillzed World) ภายหลังพระสวามีสิ้นพระชนม์ลง ทรงปกครองอียิปต์นานถึง 40 ปี ทรงฟื้นฟูการค้า ศิลปกรรมและสถาปัตยธรรม

     4. ทัสโมที่ 3 (Thutmose 3) ขึ้นปกครองจริงในปี 1469 B.C.ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระนางฮัทเซฟซุท ทรงเก่งในการรบ ทำสงครามประมาณ 17 ครั้งเพื่อปราบศัตรูในดินแดนทางตะวันออก ทรงได้รับการยกย่องจากนักประวัติศาสตร์รุ่นหลังว่าเป็นนโปเลียนแห่งอียิปต์ ขณะเดียวกันได้ให้การศึกษาเลี้ยงดูเด็กเป็นอย่างดี โดยหวังว่าเมื่อเด็กเหล่านั้นได้กลับดินแดนตนและขึ้นเป็นใหญ่จะจงรักภักดีต่ออียิปต์ ทรงสั่งให้ลงชื่อของนางฮัทเซฟซุทออกจากการจารึกเพราะทรงไม่พอใจที่พระนางขึ้นปกครองอียิปต์แทนในช่วงต้นสมัยของพระองค์

     5. อเมนโฮเต็ปที่ 4 (Amenhotep 4) เป็นกษัตริย์นักปฏิรูปศาสนาของอียิปต์โบราณ เพราะทรงกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณเคารพบูชาเฉพาะสุริยเทพหรืออะตัน (Aton) อันถือได้ว่าการริเริ่มความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (Monotheism)

     6. ตูแตงคามอน (Tutankhamon) ปกครองอียิปต์ต่อจากอเมนโฮเต็ปที่ 4 ทรงประกาศยกเลิกศาสนาของอเมนโฮเต็ปที่4 และกำหนดให้ชาวอียิปต์โบราณหันมาศรัทธาในเทพเจ้าอะมอนเร และเทพเจ้าอื่นๆ ดังเดิม ตลอดจนย้ายเมืองหลวงกลับธีปส์

     7. รามซีสที่ 2 (Ramses 2) ทรงเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย ทรงเก่งในการรบทรงนำดินแดนที่สูญเสียไปในสมัยอเมนโฮเต็ปที่ 4 กลับคืนมาเป็นของอียิปต์ดังเดิมและทรงยุติสงครามกับฮิตไตท์ในการรบที่คาเดช (Kadesh) โดยอียิปต์ได้ปาเลสไตน์ ฮิตไตท์ได้ซีเรีย ทรงปลดปล่อยฮิบรูให้พ้นจากการเป็นทาส ทรงเป็นนักรักเพราะทรงมีโอรส 100 คน มีธิดา 50 คน สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุ 90 ปี ครองราชย์ 67 ปี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ปรากฎว่าจักรวรรดิ์โบราณก็เริ่มเสื่อมลงเป็นลำดับเพราะกษัตริย์ไร้ความสามารถในการปกครองและการรบ ขุนนางก่อความวุ่นวายแย่งชิงอำนาจกันพระขึ้นปกครองอียิปต์ครั้งราชวงศ์ที่ 21 ขึ้นที่เมืองทานิส (Tanis) และอียิปต์ถูกรุกรานจากศัตรูภายนอก

รูปภาพของ ssspoonsak

ใช้ได้ทีเดียว

ขอนิดเดียว อ้างอิงแหล่งข้อมูลไว้ทุกหน้าด้วย

อย่าลืมส่งประกวด ต้องหาเนื้อหาและต้องสร้างให้มากกว่า 20 node พร้อมลิ้งค์ด้วย

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 327 คน กำลังออนไลน์