การสื่อสารและภาษา

รูปภาพของ sss26813

การสื่อสารและภาษา

1. การสื่อสาร
      1.1 การสื่อสาร
คือ การติดต่อกัน
      1.2 องค์ประกอบของการสื่อสาร คือ ผู้รับสาร สาร สื่อ ภาษา กาลเทศะและสิ่งแวดล้อม
             - สื่อ หมายถึง เครื่องมือ เช่น เครื่องพิมพ์กระดาษ
             
- สาร หมายถึง คำพูดเช่น คำพูดในบทละคร
2. ภาษา
      2.1 วัจนภาษา (ภาษาคำพูด) ได้แก่ การพูดและการเขียน เช่น
             - จึงอวยพรสอนสั่งสารพัน ให้กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงกันจนบรรลัย
             - อยากจะบอกว่ารักสักเท่าฟ้า หมดภาษาจะพิสูจน์พูดรักได้
             - คำว่ารักเธอคือที่ฉันมี แปลว่าฉันจะอยู่ตรงนี้ใกล้ใกล้เธอ
      2.2 อวัจนภาษา ( ภาษาท่าทาง)ได้แก่ ดวงตา สีหน้า น้ำเสียง เช่น
            - แกดีใจจนหลั่งถั่งน้ำตา ลูบหลังลุบหน้าด้วยปรานี
            - พอสบพักตร์เณรพยักทันใด ด้วยน้ำใจผูกพันกระสันหา
            - พลายแก้วเห็นแล้วก็ยินดี ชี้บอกทองประศรีไปทันใด

การฟังและการพูด
1. การฟัง
      1.1 ลักษณะการฟังที่มีประสิทธิภาพ
            - จับประเด็นได้           = จับใจความสำคัญได้ , สรุปได้
            - ตีความได้                  = การถอดความและตีความได้
            - วิเคราะห์ได้               = การแยกแยะได้ว่าอะไรเป็นอะไร
            - ประเมิณค่าได้          = ตัดสินคุณค่าได้ว่าอะไรดีหรือไม่ด
      1.2 มารยาทในการฟัง
              ลักษณะในการฟังที่ดีควรมีดังนี้
             - ขณะฟัง ไม่ควรนั่งกระซิบกระซาบกับคนข้างๆ
2. การพูด
      2.1 การพูดที่เกิดผล คือ พูดแล้วคนฟังคล้อยตาม
      2.2 มารยาทในการพูด เช่น ไม่กล่าวร้ายพาดพิงถึงคนอื่นโดยที่คนนั้นไม่มีโอกาสกล่าวแก้ตัวได้
3. การทักทายและการสนทนา
      3.1 การทักทาย
               - ไหว้อย่างไทย พนมมือ ปลายนิ้วจรดคางหรือใต้จมูก ก้มศรีษะพองาม
           - กล่าวคำว่า "สวัสดี "
           - ทักในสิ่งที่คนฟังสบายใจ

      3.2 การสนทนา
           ข้อควรกระทำในการสนทนา
                - ดูคนฟัง คือ การที่ดูคนที่เรากำลังสนทนาอยู่ด้วย
            - ดูสถานการณ์ คือ ดูว่าสถาณการณ์ใดเหมาะสมควรหรือไม่ควร
            - แนะนำตัว คือ การบอกบอกชื่อให้คนที่เราคุยด้วยทราบแต่ไม่ควรแนะนำแบบโอ้อวด
            - คุยกับคนเพิ่งรู้จัก เราควรพูดเรื่องทั่วไป
            - บนโต๊ะกินข้าว ไม่ควรพูดเรื่องที่ทำให้เกิดการเสีนมารยาท
            - ยินดีที่เพื่อนประสบความสำเร็จ คือ ไม่ควรพูดแบบอิจฉาเขาควรที่จะแสดงความยินดีกับเขา
            - เวลาเยี่ยมคนป่วย สิ่งสำคัญคือไม่ควรย้ำเรื่องโรคของผู้ป่วย
            - ปลอบใจคน ควรให้กำลังใจแก่ผู้ที่มีความทุกข์หรือมีปัญหา

4. การพูดต่อหน้าประชุมชน
      4.1 วิธีการพูดต่อหน้าประชุมชน
                - พูดโดยฉับพลัน
            - พูดโดยอาศัยต้นร่าง
            - พดโดยท่องจำ
            - พูดโดยอ่านจากต้นร่าง

      4.2 รูปแบบการพูดต่อหน้าประชุมชน
                - การสนทนาต่อหน้าประชุมชน
            - การซักถามต่อหน้าประชุมชน
            - การอภิปรายเป็นคณะ
            - การโต้วาที
            - การบรรยาย

      4.3 การเตรียมตัวพูด
                - กำหนดจุดมุ่งหมาย
            - วิเคราะห์ผู้ฟัง
            - กำหนดขอบเขตของเรื่อง
            - รวบรวมเนื้อหา
            - ทำเค้าโครงลำดับเรื่อง
            - เตรียมภาษา
            - ซ้อมพูด

      4.4 การประเมิณการพูด พิจารณาทั้งผู้พูด ผู้ฟัง และสาร

ข่าวและประกาศ
1. ประกาศทางการ
        1.1 ชื่อองค์การหรือหน่วยงานที่ประกาศ
      1.2 เรื่องที่ประกาศ
      1.3 เนื้อความที่จะประกาศ
      1.4 วัน เดือน ปี ที่ประกาศ
      1.5 ลงนามผู้ออกประกาศ

2. ประกาศทั่วไป
       2.1 ประกาศขายของ ต้องบอกรายละเอียดและราคาของ บอกว่าจะติดต่อซื้อได้กับใคร อย่างไร
       2.2 ประกาศสมัครงาน ต้องบอกว่าเป็นงานอะไร ต้องการคนที่มีคุณสมบัติอย่างไร สนใจสมัครจะ
           ติดต่อได้อย่างไร

              ตัวอย่างประกาศที่บกพร่อง
            - เปิดจองที่ดินทำเลทอง ใกล้สวนสัตว์สิงห์ทอง แปลงละ 60 ตร.ว. ถมให้เสร็จ ผ่อนเดือนละ 2,044 บาท
           ( มีข้อบกพร่องก็คือ ไม่รู้ว่าจะติดต่อที่ไหน )

วัฒนธรรมกับภาษา
1. วัฒนธรรม
        1.1 วัฒนธรรม คือ วิถีชีวิตของมนุษย์
        1.2 ประเพณี คือ การกระทำที่ทำต่อกันมาตั้งแต่อดีต
        1.3 ค่านิยม คือ ความคิดของบุคคลว่าสิ่งใดควรนำไปปฏิบัติ
        1.4 วิถีชาวบ้าน ( วิถีประชา ) คือ มารยาทต่างๆที่คนในสังคมได้ทำตามๆกันมา
2. วัฒนธรรมไทยกับภาษาไทย
        2.1 คนไทยมีความเคารพผู้ใหญ่ ศาสนาและพระมหากัษตริย์
        2.2 คนไทยไม่ค่อยมีพิธีรีตอง
        2.3 คนไทยมีความสนใจเรื่องอาหาร ดนตรี และนาฎศิลป์มาก
        2.4 ภาษาไทยไม่ค่อยมีคำความหมายกลางๆที่ใช้ครอบคลุมสิ่งต่างๆแต่จะเอาคำความหมาย
              เฉพาะมารวมกัน เช่น ช้างม้าวัวควาย หมูหมากาไก่ เสือสิงห์กระทิงแรด ถ้วยโถโอชาม
        2.5 คนไทยเจ้าสำนวน

3. ภาษามาตราฐาน
       3.1 ภาษามาตราฐาน คือ ภาษาที่คนทั่วไปใช้ติดต่อสื่อสารกัน
             การมีภาษามาตราฐานจะทำให้คนในชาติติดต่อสื่อสารได้ตรงกัน เข้าใจกัน ในปัจจุบันนี้คนไทยใช้
          สำเนียงภาษาของภาคกลางเป็นภาษามาตราฐาน

     3.2 ภาษาถิ่น คือ ภาษาที่ใช้ติดต่อกันในท้องถิ่นนั้นๆ
              ( การธำรงรักษาถิ่นสร้างประโยชน์หลายประการแก่การศึกษาภาษาศาสตร์ ) เช่น
           - ทำเราให้ทราบความหมายของคำซ้อนเพื่อความหมาย เช่น เชื้อเชิญ เสื่อสาด
           - ทำให้เราทราบคำเขียนที่ถูกต้องของภาษามาตราฐาน เช่น ตัว " ร " ของภาษาภาคกลางเทียบได้กับตัว
          " ฮ " ของภาคเหนือ ดังนั้น ตัวเฮือดของชาวเหนือคือ ตัว " เรือด " ในภาษาไทยภาคกลาง


การแสดงทรรศนะ
1. ทรรศนะ
       คือ ความคิด ไม่ใช่ข้อเท็จจริง เช่น
       - เขาเดินทางไปต่างประเทศแล้ว , เขาจะเดินทางไปต่างประเทศ ( ข้อเท็จจริง )
     - เขาคงเดินทางไปต่างประเทศ , เขาควรเดินทางไปต่างประเทศ ( ทรรศนะ )
     * ในการแสดงทรรศนะจะมีคำแสดงว่าเป็นทรรศนะเป็นต้นว่า น่า,คง,ควร,อาจ,ต้อง....แน่ *
2. ประเภททรรศนะ
       2.1 ทรรศนะเกี่ยวกับข้อเท็จจริง
            - เป็นความเห็นเกี่ยวกับความจริง
            - เข้าลักษณะการสันนิษฐาน คาดคะเน
            - ตัวอย่างเช่น
            - บนดวงจันทร์น่าจะมีสิ่งมีชีวิต
            - ปัญหารถติดในกทม.น่าจะเป็นเพราะกทม.มีรถมาก
            - เพื่อนเราคนนี้ไม่มีทางทำอย่างนี้ได้หรอก
            - ยังไงเขาก็น่าจะกลับมาหาเธอ

      2.2 ทรรศนะเกี่ยวกับคุณค่า ( ค่านิยม )
            - เป็นความเห็นเกี่ยวกับความดี , ความงาม , ความไพเราะ
            - ตัวอย่างเช่น
            - เขาทำงานได้ดีมาก
            - คนเดี๋ยวนี้มองกันที่วัตถุ ไม่เห็นดีเลย
      
2.3 ทรรศนะเกี่ยวกับนโยบาย
            - เป็นความเห็นประเภทข้อเสนอแนะ ข้อแนะนำ
            - ตัวอย่างเช่น
            - เธอควรลดน้ำหนักได้แล้ว
            - เธอไม่น่าจะไปยุ่งกับเขาเลย
            - นิดอย่าคิดมากไปหน่อยเลย เดี๋ยวแก้นะ


การโต้แย้ง
1. การโต้แย้ง
      1.1 การโต้แย้ง คือ การใช้เหตุผลเพื่อแย้งกัน
      1.2 การโต้แย้งควรคำนึงถึงมารยาทในการโต้แย้งด้วย
      1.3 โครงสร้างสำคัญของการโต้แย้ง ได้แก่

            1. เหตุผล - ข้อสนับสนุนทรรศนะฝ่ายตนและทรรศนะฝ่ายตรงข้าม
            2. ข้อสรุป - ประเด็นที่กำลังโต้แย้ง
2. กระบวนการโต้แย้ง
      2.1 การตั้งประเด็น
      2.2 การนิยามคำสำคัญในประเด็น
      2.3 การค้นหาและเรียบเรียงข้อมูลฝ่ายตรงข้าม ซึ่งอาจจะเป็นท
ี่
            1. การนิยามคำ
             - นิยามวกวน เช่น งานประดิษฐ์ คือ งานประดิษฐ์ซึ่งจากความคิดริเริ่มของตน
             - นิยามโดยอคติ เช่น หาบเร่ คือ การนำสินค้ามาขายโดยเคลื่อนไปตลอด ยกเว้นเมื่อมีคนมาขอ
                ซื้อสินค้า
             - ให้คำยากนิยาม เช่น ไดโนเสาร์ คือ สัตว์โลกไฟลัมหนึ่งที่มีขนาดใหญ่
            2. ปริมาณความถูกต้องของข้อมูล
            3. สมมติฐาน คือ ข้อสรุปเบื้องต้น
            4. วิธีการอนุมาน คือ วิธีการสรุป


การโน้มน้าวใจ
1.การโน้มน้าวใจ

     คือ การชักจูงใจการโน้มน้าวใจ ไม่ใช่ การพูดอย่างตรงไปตรงมา
2. กลวิธีการโน้มน้าวใจ
     2.1 การแสดงทรรศนะให้ประจักษ์ถึงความน่เชื่อถือ
     2.2 การใช้ความรู้สึกหรืออารมณ์ร่วมกัน
     2.3 การใช้อารมณ์แรงกล้า
     2.4 การใช้อารมณ์หรรษา
     2.5 การแสดงให้เห็นความหนักแน่นของเหตุผล
     2.6 การชี้ทางเลือกทั้งด้านดีและด้านเสีย

3. ประเภทการโน้มน้าวใจ
     3.1 คำเชิญชวน คือ คำแนะนำที่มีวัตถุประสงค์ในทางที่ดี
     3.2 การโฆษณา
     3.3 การโฆษณาชวนเชื่อ คือ การใช้วิธีการให้เชื่อโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เช่น ใช้ถ้อยคำหรูหรา ,
          อ้างบุคคล-สถาบัน , อ้างคนส่วนมาก


คำและความหมาย
1. ความหมายนัยตรง - ความหมายโดยนัย
      1.1 ความหมายนัยตรง คือ ความหมายตรงๆ ของคำ เช่น
            - คืนนี้มีดาวเต็มฟ้าเลย
            - คุณแม่ชอบเพชรเม็ดนี้มาก
            - เขาไปซื้อดอกไม้ที่ปากคลองตลาดมา

       1.2 ความหมายโดยนัย ( อุปมา ) คือ ความหมายเปรียบเทียบของคำนั้น เช่น
            - เธอเป็นดาวตั้งแต่ยังเด็ก
            - เธอเป็นเพชรน้ำเอกของวงการเพลง
            - ขอมอบดอกไม้ในสวนนี้เพื่อมวลประชา

2. ความหมายนัยประหวัด
       คือ ความหมายที่แฝงอยู่ในคำหรือข้อความนั้นๆ เช่น
      - เสื้อของเธอนี่เป็นเสื้อโหลรึเปล่า
      - เธอนี่เป็นคนซื่อจริงๆ
      - เขารัดรวบเก่งมากเลย
      - คนคนนี้เป็นคนทำอะไร ต้องวางแผนก่อน

3. คำความหมายเหมือนกัน - คำพ้องรูปพ้องเสียง
      3.1 คำความหมายเหมือนกัน ( คำไวพนจ์ )เช่น
          - ทองคำ        = สุวรรณ,กนก,กาญจน์,มาศ
          - เงิน             = หิรัญ,รัชดา
          - นก              = ปักษา,ปักษิณ,วิหค,สกุณา,ทิชากร
          - ดอกบัว       = อุบล,โกมุท,โกมล,ปทุม,นิรุบล
          - ดอกไม้        = บุปผา,บุษบา,บุหงา,โกสุม,มาลี
          - ท้องฟ้า        = อัมพร,เวหา,นภา,คคนานต์
          - ช้าง             = คช,สาร,กรี,กุญชร,หัตถี,คเชนทร์
          - ม้า               = อาชา,พาชี,สินธพ,ดุรงค์,มโนมัย,แสะ,หัย
          - ผู้หญิง          = สตรี,อิตถี,บังอร,เยาวมาลย์,ยุพา,ยุพิน,อนงค์,กัลยา
          - สวย             = งาม,สิริ,โสภา,รางชาง,สิงคลิ้ง,อันแถ้ง
      3.2 คำพ้องรูปพ้องเสียง ( คำพ้อง )
        คือ คำที่มีรูปและเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน เช่น
       - ฉันเห็นพระฉันเพลบ้าง
       - เขายืนอยู่บนเขาลูกไหน
       - เจ้าของบ้านคงระเบียบจัด ดูวิธีจัดบ้านก็รู้

4. คำความหมายแคบกว้างต่างกัน
      4.1 คำความหมายกว้างจะคลุมคำที่มีความหมายแคบ เช่น

      คำความหมายกว้าง          คำความหมายแคบ
      สัตว์          กวาง,ช้าง,ม้า,มด
      ที่อยู่          บ้าน,เรือน,วัง,ปราสาท
      ญาติ          ปู่,ย่า,ตา,ยายิ
      สี          แดง,เหลือง,เขียว,ฟ้า,ส้ม
      แม่สี          แดง,เหลือง,น้ำเงิน

      4.2 ข้อควรระวัง
          1. การจัดเรียงความหมายกว้างไปแคบ,แคบไปกว้าง ต้องถูกต้อง เช่น
            - สัตว์ สัตว์สี่ขา หมา หมาอัเซเชียน
            - หนังสือ หนังสือพิมพ์ หนังสือพิมพ์กีฬา สยามกีฬา
            - อาหาร อาหารคาว แกง แกงไก่
            - อาชีพ เกษตรกรรม ทำไร่ ทำไร่องุ่น

          2. คำกว้างที่ใช้ต้องคลุมคำความหมายแคบ เช่น
            - ขนมหวานร้านนี้โดยเฉพาะฝอบทองอร่อยมาก
            ( คำที่มีความหมายกว้าง คือ ขนมหวาน )
            - เขาไปเที่ยวมาแล้วทุกประเทศ ยกเว้น จีน
            ( คำที่มีความหมายกว้าง คือ ทุกประเทศ )
          3. อย่าใช้คำความหมายแคบกว้างรวมกันแบบซ้ำซ้อน ( ฟุ่มเฟือย )เช่น
            - เธอชอบใช้เคร่องประดับและต่างหูที่ทำจากเงิน
            ( ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำว่าต่างหูเพราะคำว่าเครื่องประดับนั้นครอบคลุมคำว่าต่างหูอยู่แล้ว )
            - เขาอ่านวิชาภาษาไทยและวรรณคดีจบแล้ว
            ( ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำว่าวรรณคดีเพราะคำว่าภาษาไทยนั้นครอบคลุมคำว่าวรรณคดีอยู่แล้ว )
            - เธอไปเที่ยวประเทศแถบยุโรปและฝรั่งเศสมาแล้ว
            ( ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำว่าฝรั่งเศสเพราะคำว่ายุโรปนั้นครอบคลุมคำว่าฝรั่งเศสอยู่แล้ว )
            - เขาชอบกินน้ำผลไม้สดๆและน้ำส้มคั้นมากๆ
            ( ไม่จำเป็นที่จะต้องมีคำว่าน้ำส้มคั้นเพราะคำว่าน้ำผลไม้นั้นครอบคลุมคำว่าน้ำส้มคั้นอยู่แล้ว )
5. การใช้คำให้ถูกความหมาย
            - คำบางคำใช้ในแง่บวก( ดี ) เช่น อัจฉริยะ พัฒนา เจริญ
            - คำบางคำใช้ในแง่ลบ ( ไม่ดี ) เช่น ใส่ความ ใส่ใคล้ สิ้นเชิง แสนสาหัส มั่วสุม ตราหน้า ติดหลังแห
               สาสม
             ตัวอย่างความหมายของคำบางคำที่มักจะใช้ผิดกัน

               1.ปณิธาน            - ตั้งใจ
                    ปฏิภาณ            - ไหวพริบ
               2.ประโยชน์            - เกิดประโยชน์ธรรมดา
                   ผลประโยชน์            - ใช้ในเชิงเศษฐกิจ
               3.ฟัง            - ใช้กับเรื่องทั่วไป
                   รับฟัง            - ใช้กับปัญหา
               4.จุกจิก            - จู้จี่
                   จุบจิบ            - ใช้กับของกิน
               5.ผัด            - เลื่อน
                   ผลัด            - เปลี่ยน
               6.ขลิบ            - หุ้มตรงริม
                   ขริบ            - ตัดให้เท่ากัน
               7.กินอยู่            - กินแล้วอยู่
                   อยู่กิน            - นอนด้วยกัน( สามี-ภรรยา )ู่
               8.สอดส่อง            - ดูแล
                   สอดส่าย            - หา
                   สอดแทรก            - ยุ่ง
               9.เชี่ยวชาญ            - ใช้เกี่ยวกับ " หมอ,วิชาการ "
                   ชำนาญ            - ใช้ในการปฏิบัติ
               10.หมกหมุ่น            - อยู่กับสิ่งนั้นนานิ
                   จดจ่อ            - มีสมาธิอยู่กับสิ่งนั้น

6. การใช้คำให้ถูกหน้าที่ ( ถูกชนิดของคำ )
      * คำต่อไปนี้เป็นคำขยาย ( ไม่ใช่กริยา ) * = โดดเดี่ยว,อบอุ่น,เดียวดาย,วิบัติ,สั่นคลอน,จับใจ,ลึกซึ้ง
        ตัวอย่างการใช้คำผิดหน้าที่
         - เขมรถูกโดดเดี่ยวจากกลุ่มอาเซียน
         - เพื่อนๆไปเที่ยวเขาจึงเดียวดายมาก
         - เขาอบอุ่นร่างกายก่อนลงว่ายน้ำ
         - วัยรุ่นชอบวิบัติภาษากันมาก
         - เรื่องนี้สั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลมาก
         - เพลงนี้จับใจฉันมาก
         - เหตุการณ์ขณะนี้อยู่ในขั้นวิกฤตการณ์
         - เขาเสร็จรายงานแล้วจะไปเที่ยวต่อ
7. หลักการใช้คำเชื่อม
       7.1 ดูความหมายและระดับภาษา
       7.2 คำเชื่อม
           - ทั้ง....และ
           - ระหว่าง....กับ
           - ให้....แก่
           - ไม่ว่า...หรือ
           - ต่าง....กับ
           - สอดคล้อง....กับ
           - เกี่ยวข้อง....กับ
           - เผชิญ....กับ
           - ขัดแย้ง....กับ
           - สมควร....แก่
           - ตก....กับ
           - ตระหนัก....ถึง
           - จำเป็น....ต่อ
           - อุปสรรค....ต่อ
           - แสดง ยื่น รายงาน....ต่อ
8. คำพังเพย สุภาษิต สำนวน
        - คำพังเพย คือ คำเปรียบเทียบ
        - สุภาษิต คือ การสอนตรงๆหรือเปรียบก็ได้( แต่ให้เป็นการสอน )
        - สำนวน คือ การเปรียบเทียบห้ามแปลตรงๆ
        * ที่มาของสำนวน *
          1. มาจากชีวิตประจำวัน เช่น ชุบมือเปิบ กินน้ำพริกถ้วยเก่า
          2. มาจากศาสนา เช่น ปิดทองหลังพระ คว่ำบาตร แก่วัด ชายสามโบสถ์ กินบุญเก่า ขนทรายเข้าวัด
          3. มาจากการละเล่น เช่น รุกฆาต ไม่ดูตาม้าตาเรือ สู้จนเย็บตา แจงสี่เบี้ย
          4. มาจากนิทานหรือวรรณคดี เช่น กิ่งก่าได้ทอง ชาวนากับงู่เห่า กระต่ายตื่นตูม ชักแม่น้ำทั้งห้า
          5. มาจากสิ่งแวดล้อม เช่น นกไร้ไม้โหด ไก่แก่แม่ปลาช่อน จมูกมด ดาวล้อมเดือน น้ำซึมบ่อทราย
          6. มาจากการล่าสัตว์ เช่น ชนักติดหลังู

สร้างโดย: 
sss26813

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 199 คน กำลังออนไลน์