♪ ♫ สาระน่ารู้... ดนตรีสากล ♫ ♪

รูปภาพของ sss27458

วิวัฒนาการของดนตรีสากล

1. ยุคกลาง (The Middle Ages ค.ศ. 600 – 1450) ยุคนี้มีช่วงเวลาที่ยาวนานถึง 600 ปี แบ่งเพลงออกได้เป็นสองแบบ คือ เพลงเพื่อความบันเทิง (Secular Song) มีนักดนตรีและนักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงเกิดขึ้นมากมายที่ประเทศฝรั่งเศส และประเทศเยอรมนี ส่วนเพลงเกี่ยวกับศาสนา (Ritural Music) ยังมีทำนองเดียว (Melody) แต่ยุคนี้เริ่มมีเสียงประสาน (Polyphony) อย่างง่ายที่เรียกว่า “ออร์กานุม” (Organum) ขึ้นมาในสมัยนี้นิยมเพลงร้องในพิธีกรรมที่เรียกว่า “โมเท็ต” (Motet) และเพลงศาสนพิธีเรียกว่า “แมส” (Mass) โดยโมเท็ตจะมีท่วงทำนองที่สั้นกว่าแต่เพลงทั้งสองมีเนื้อร้องเป็นภาษาละติน เจริญมากในประเทศฝรั่งเศสและอิตาลี ยุคนี้เริ่มมีการบันทึกโน้ตดนตรีในระบบสากลแล้วโดยพระชาวอิตาลีชื่อ กวิโด ดาเรซโซ หรือบางตำราอ่านว่า ไกโด (Guido d’ Arezzo) ซึ่งเป็นต้นแบบของโน้ตตามที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันและเริ่มใช้เครื่องดนตรีประเภท ลูต หรือ ซึง (Lute) คลอตามเสียงร้อง

 

2. ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ (The Renaissance Period ค.ศ. 1450 – 1600) ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการเป็นยุคที่ตรงกับสมัยโคลัมบัสพบทวีปอเมริกาและกวีเอกเชคสเปียร์ ยุคนี้เพลง โมเท็ตและแมส ก็ยังเป็นที่นิยมอยู่ และนอกจากนี้ยังนิยมการขับร้องประสานเสียงที่แบ่งเสียงออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเสียงผู้หญิง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเสียงโซปราโน (เสียงสูงสุด) กับกลุ่มเสียงอัลโต (เสียงต่ำของหญิง) และกลุ่มเสียงผู้ชาย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเทเนอร์ (เสียงสูงของชาย) กับกลุ่มเบส (เสียงต่ำสุด) ส่วนเพลงที่ไม่เกี่ยวกับศาสนามีชื่อว่า แมดริกัล (Madrigal) ซึ่งใช้ภาษาของแต่ละชาติ (ไม่ใช่เพลงละติน) เป็นเนื้อร้อง และมีเนื้อร้องที่เกี่ยวกับความรักและสรรเสริญบุคคลสำคัญ นักแต่เพลงร้องที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ ได้แก่ เบิร์ด (W. Byrd) ส่วนนักแต่งเพลงบรรเลงที่มีชื่อเสียงในยุคนี้เป็นชาวอิตาเลียนชื่อ กาบริเอลี (Giovanni Gabrieli) และสังคีตกวีชาว อิตาเลียนที่สำคัญอีกผู้หนึ่งในยุคนี้ คือ ปาเลสตรินา (Palestrina)

            
                
      กาบริเอลี                            ปาเลสตรินา

ภาพกาบริเอลี: http://userserve-ak.last.fm/serve/126s/350056.jpg

ภาพปาเลสตรินา: http://overheardinthesacristy.files.wordpress.com/2008/04/palestrina.jpg

 

3. ยุคบาโรก (The Baroque Period ค.ศ. 1600 – 1750) ยุคนี้สะท้อนให้เห็นกระบวนแบบฉบับเฉพาะตัวของยุค เน้นความโอ่อ่า หรูหรา และฟุ่มเฟือย เน้นความสม่ำเสมอของจังหวะ ทำนองเป็นแบบทำนองเดียวสั้นๆ เครื่องดนตรีเริ่มมีใช้มากขึ้นเพื่อให้เกิดสีสันและอรรถรสในการรับฟัง ที่เห็นเด่นชัดคือใช้เสียงกระหึ่มของออร์แกนประสมเครื่องดนตรีอื่นๆ เล่นคลอกับเสียงร้องของกลุ่มนักร้องประสานเสียง (Choristers) ในช่วงหลังเริ่มมีเครื่องลมไม้และเครื่องสายเพิ่มเข้ามา และในยุคนี้ยังมีการเริ่มใช้บันไดเสียงเมเจอร์และบันไดเสียงไมเนอร์แทนโมดหรือหมวดเสียง นิยมการสอดประสานทำนอง มีการพัฒนาการบันทึกโน้ตเหมือนกับแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเริ่มหันมาสนใจการกำหนดอัตราความเร็ว-ช้า และองศาความดัง-เบาในบทเพลง สังคีตกวีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ ได้แก่ อัลโตนิโอ วิวัลดี (Antonio Vivaldi) ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกในการประพันธ์เพลง โดยเฉพาะเพลงประเภทคอนแชร์โตที่มีลักษณะการบรรเลงเครื่องดนตรีโต้ตอบกันระหว่างกลุ่มใหญ่กับกลุ่มเล็ก (อาจเป็น 1 - 4 คนก็ได้) โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) เป็นสังคีตวีผู้ยิ่งใหญ่ในยุคบาโรก ซึ่งมีผลงานส่วนใหญ่ใช้สำหรับพิธีการทางศาสนาเช่น เพลงคันตาตา (Cantata) เพลงคอนแชร์โตกรอสโซ 5 เพลงที่เรียกว่า แบรนเดนเบิร์ก คอนแชร์โต (Brandenberg Concertos) และนอกจากนั้นยังมี เกอออร์ก ฟรีเดอริก แฮนเดล หรือ จอร์จ ฟรีเดอริก แฮนเดล (George Fredereick Handel) ผู้มีผลงานเพลงร้องทางศาสนาคือ มะไซอะ (Messiah : เป็นภาษาฮิบรู แปลว่า พระผู้มาโปรด) และเพลงประเภทโอราโตริโอ (Oratorio) ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของโลก

 
ฟรีเดอริก แฮนเดล
ภาพฟรีเดอริก แฮนเดล: http://www.pantown.com/data/712/board12/8-20051012095751.jpg

 

4. ยุคโรโคโค (The Rococo Period ค.ศ. 1750 – 1775) ยุคนี้เป็นยุคที่เน้นการประดับประดาให้หรูหรางดงามกับศิลปะทุกสาขา ดนตรีในยุคนี้มีลักษณะเบา งดงาม และบางครั้งอาจแทรกความตลกคะนองลงไปด้วย

 

5. ยุคคลาสสิก (The Classic Period ค.ศ. 1775 – 1830) ยุคนี้ตรงกับสมัยประธานาธิบดียอร์ช วอชิงตัน เป็นช่วงที่เกิดการปฏิวัติขึ้นในสหรัฐอเมริกา ยุคนี้จะแยกดนตรีทางศาสนาและดนตรีเพื่อความสุนทรีย์ออกจากกัน จังหวะและเสียงของเครื่องดนตรีในเพลงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ทำนองเพลงมีความเร็วและช้าสลับกัน ไม่นิยมการสอดประสานทำนองแบบ ลีลาประสานทำนอง (Counterpoint) แต่หันมาเน้นทำนองหลักทำนองเดียว และใส่แนวเสียงประสานเพื่อเน้นให้นองหลักมีความไพเราะยิ่งขึ้น มีการกำหนดรูปแบบของเพลงที่เป็นแบบแผน เช่น เพลงซิมโฟนี และเพลงคอนแชร์โต มีเครื่องดนตรีได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะเปียโน มีการประสมวงที่แน่นอน เช่น วงเชมเบอร์ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 2 – 9 ชิ้น วงออร์เคสตรา ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 4 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มเครื่องเป่าลมไม้ กลุ่มเครื่องเป่าลมทองเหลือง และกลุ่มเครื่องกระทบ การแสดงอุปรากร (Opera) เป็นที่นิยมมากในยุคนี้เพราะเป็นการแสดงที่รวมศิลปะหลายอย่างไว้ด้วยกัน ทั้งศิลปะดนตรี ศิลปะการแสดง ศิลปะการจัดฉาก ศิลปะการเขียนบท และสังคีตกวีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ ได้แก่ โยเซฟ ไฮเดิน (Joseph Haydn) บิดาแห่งเพลงซิมโฟนี และวอล์ฟกาง อมาเดอุส โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) บิดาแห่งเพลงสตริงควอร์เท็ต ผู้ประพันธ์เพลงมากกว่า 600 บท และลุดวิก ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven) ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสังคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ตลอดกาล

                    
โมสาร์ท                                    เบโทเฟน

 

6. ยุคโรแมนติก (Romantic Period ค.ศ. 1830 – 1900) ยุคนี้ตรงกับสมัยของนโปเลียนแห่งฝรั่งเศส เป็นยุคทองของศิลปะการดนตรี ความเป็นอยู่เริ่มเปลี่ยนไป นักดนตรีหรือผู้ประพันธ์เพลงทำงานเพื่อเจ้านายในราชสำนักน้อยลง ผลงานเพลงจึงเน้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ประพันธ์เอง ในยุคนี้เริ่มมีการจัดแสดงที่เรียกเก็บเงินค่าเช้าชมที่เรียกว่าจัดคอนเสิร์ต ลักษณะดนตรีในยุคนี้มีทั้งดนตรีเพื่อศิลปะ ดนตรีบรรยายเรื่องราว ดนตรีที่แสดงความเป็นชาตินิยม มีการนำคอร์ดที่มีเสียงไม่กลมกลืนมาใช้มากขึ้น เน้นความดัง-เบา และเทคนิคการเล่นที่ยาก สังคีตกวีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ ปีเตอร์ อีลิทช์ ไชคอฟสกี (Peter Ilyich Tchaikovsky) โยฮันเนส บรามส์ (Johannes Brahms) ฟรานซ์ ชูเบิร์ต (Franz Schubert) ฟรีเดอรีค ฟรองซัวส์ โซแปง (Frederic Francois Chopin) โรเบิร์ต ชูมันน์ (Robert Schumann)

                          

                                                     ฟรีเดอริก โชแปง                          โรเบิร์ต ชูมันน์

ภาพโชแปง: http://www.pianoparadise.com/chopin.jpg

ภาพชูมันน์: http://web.uvic.ca/~tonicxt/assign_1/img/robert-schumann.jpg

 

7. ยุคศตวรรษที่ 20 (20th Century Period ค.ศ. 1900-2000) อยู่ในช่วงปลายยุคโรแมนติก ซึ่งเริ่มเบื่อความจำเจของกฎเกณฑ์ที่ใช้มาโดยตลอด ยุคนี้สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทในชีวิต และมีอิทธิพลต่อดนตรีเป็นอย่างมาก ยุคนี้เป็นยุคของการทดลองเพื่อค้นหาความแปลกใหม่ ตัวอย่างเช่น ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner) ใช้การเปลี่ยนบันไดเสียงในเพลงบ่อยๆ บาร์ตอก (Bela Bartok) ใช้บันไดเสียงของเพลงพื้นเมืองมาประกอบในการแต่งเพลงและใช้ 2 บันไดเสียงเล่นพร้อมกันในเพลงเดียว อาร์โนลด์ เชินแบร์ก (Arnold Schoenberg) แต่งเพลงโดยใช้ระบบโน้ต 12 ตัว (Twelve Tone Method) และอีกอร์ สตราวินสกี (Igor Stravinsky) นักแต่งเพลงที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนี้สามารถแต่งเพลงได้ทุกรูปแบบ

ข้อมูลจาก: สุดใจ ทศพร และคณะ. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้ศิลปะ ดนตรี ม.4-ม.6. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2550.

 

รูปภาพของ ssspoonsak

ดีเลยละ
อย่าลืมส่งประกวด
แต่ต้องสร้างให้มากกว่า 20 node พร้อมลิ้งค์ด้วย

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

รูปภาพของ ssspoonsak

 

อ่านแล้ว ข้อมูลดี
ถ้าลอกมาอย่างเดียว คงจะไม่น่าสนใจเท่าไร
ต้องทำให้คนอ่านเขารู้ว่า
เราก็มีกึ๋นนะ

อ้างอิงแหล่งข้อมูลและรูปภาพทุกรูปที่นำมาประกอบด้วย

หากเป็นข้อมูลที่เขียนเอง ภาพก็วาดหรือถ่ายเอง ก็ต้องบอกว่าเราเป็นคนทำ

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 580 คน กำลังออนไลน์