user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ตุ๊กตา Blythe (บลายธ์)', 'node/22825', '', '3.149.251.6', 0, 'c460b7c8e86286a05b532c7e40494a0d', 145, 1718619793) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ดวงดาว

รูปภาพของ sss27390

กำเนิดดวงดาว 

ที่มาของรูปภาพ 

http://www.astroschool.in.th/picpost/news/part2_230307092921_small.jpg


    เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีการสำรวจดวงดาวในกลุ่มดาวไถ ซึ่งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 6 ปีแสง จากกระสวย อวกาศที่ส่งขึ้นไป ทำให้เราได้ข้อมูลที่สำคัญซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ในวงการดาราศาสตร์ ในการสำรวจครั้งนี้นักบินอวกาศได้ใช้กล้องส่องทางไกล Hubble Space Telescope สาเหตุการสำรวจมุ่งสู่กลุ่มดาวไถก็เพราะที่นี่เป็นแหล่งที่มีดวงดาวใหม่ๆเกิดขึ้นมากที่สุด ก่อนนี้มีการสำรวจกลุ่มดาวไถมาแล้ว แต่กล้องส่องทางไกลที่ใช้ขณะนั้นยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าปัจจุบัน นักดาราศาสตร์จึงมองเห็นภาพเป็นเพียงวงหรือจุดเลือนราง และไม่แน่ใจสิ่งที่เห็นนั้นคืออะไรกันแน่ อย่างไรก็ตาม Robert O’Dell นักดาราศาสตร์แห่งมหาลัย Rice ในรัฐเท็กซัส ได้สันนิษฐานว่า จุดเหล่านั้นอาจเป็นกลุ่มดาวเคราะห์ที่โคจรรอบดาวดสงใหม่ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเช่นนั้นอีกต่อไปอาจมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตบ้างก็เป็นได้ เพราะบนดาวเคราะห์เท่านั้นที่จะมีสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตอาจเกิดขึ้นได้

ที่มาของรูปภาพ

http://blog.sanook.com/PortalPics/_miss36/images/default/%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7.jpg


     ในการสำรวจดาวไถครั้งนี้ Robert O’Dell ยืนยันว่า ภาพที่มองเห็นมีความชัดเจนและถูกต้องตามความจริง กล่าวคือ ที่ตรงใจกลางของกลุ่มดาวไถมีดวงดาวอยู่ 110 ดวง ในจำนวนนี้มีอยู่ 56 ดวง ที่มีก้อนฝุ่นรูปร่างกลมหมุนอยู่โดยรอบ ซึ่งในการสำรวจครั้งก่อนเคยเห็นเป็นจุดเลือนรงเท่านั้น กลุ่มดาวที่มีแสงสว่างและช่วยให้เรามองเห็นดวงดาวอื่นๆที่อยู่ท่ามกลางก๊าซและฝุ่นผฝได้ชัดเจนขึ้น คือ กลุ่มดาว Trapezium ดวงดาวในกลุ่มดาวไถส่วนใหญ่เป็นดาวที่เกิดขึ้นใหม่ มีก๊าซและฝุ่นผงอยู่โดยรอบ และมีอายุราว 3 แสนถึง 1 ล้านปีเท่านั้น ซึ่งนับว่าเป็นดาวที่มีอายุน้อยมาก เมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์ที่มีอายุราว 4.5 พันล้านปีแล้ว


       จากการสำรวจครั้งนี้นักดาราศาสตรืพยายามศึกษาว่าดวงดาวใหม่ๆเกิดขึ้นได้อย่างไรและได้ข้อสันนิษฐานว่า เมื่อใดที่กลุ่มก๊าซในหมู่ด่าวมีความหนาแน่นสูงกว่ามวลสารรอบๆ และแรงดึงดูดในตัวของมันเองมีมากกว่ามวลสารรอบๆด้วย ที่บริเวณใจกลางของกลุ่มก๊าซจะมีความร้อนสูงขึ้น เมื่อถึงจุดหนึ่งจะเกิดการระเบิดทำให้เกอดคลื่นที่เรียกว่า shock wave ซึ่งมีผลทำให้เกิดแรงอัดและทำให้กลุ่มก๊าซมีความหนาแน่นมากยิ่งขึ้น ในระยะแรกๆมักมีฝุ่นอยู่โดยรอบ แต่ในที่สุดเมื่อเวลาผ่านไปกลุ่มฝุ่นดังกล่าวจะถูกพัดเคลื่อนไป จึงทำให้มองเห็นดาวดวงใหม่ได้ชัดเจนขึ้น...

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลจาก
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-371.html

รูปภาพของ ssspoonsak

ดีทีเดียว อย่าลืมส่งประกวด
แต่ต้องสร้างให้มากกว่า 20 node พร้อมลิ้งค์ด้วย

-----------------------------------------------------------------------------------------
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
ทำด้วยใจ ไปด้วยฝัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 498 คน กำลังออนไลน์