ตอบคำถาม การปกครอง

1.เพราะเหตุใดพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงวางรากฐานปฏิรูปการปกครอง

ตอบ อารยธรรมตะวันตกได้แพร่เข้ามาทั้งเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เข้ามาผสมผสานกับอารยธรรมของสยามมากขึ้น เพื่อมิให้มหอำนาจตะวันตกใช้เงื่อนไขความล้าหลังด้อยพัฒนาของไทย เป็นข้ออ้างใช้กำลังเข้ายึดเป็นเมืองขึ้น และนำความเจริญมาสู่ชาวพื้นเมืองอาณานิคม

2.พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหัวทรงโปรดให้ยกเลิกการปกครองแบบจตุสดมภ์แล้ว ได้จัดการปกครองใหม่เป็นอย่างไร

ตอบ ยกฐานะกรมขึ้นเป็นกระทรวงมีเสนาบดีเป็นเจ้ากระทรวง จัดสรรอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวงให้เป็นสัดส่วนในปลายรัชกาลได้ปรับปรุงกระทรงใหม่เหลือ 10 กระทรวงการปกครองในส่วนภูมิภาค โปรดให้จัดตั้งแบบมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2437

3.ในสมัยร.5มีการปฏิรูปการปกครองในส่วนภูมิภาคอย่างไร

ตอบ คือ รวมหัวเมืองหลายเมืองเข้าเป็นมณฑล ซึ่งมีถึง 14 มณฑล แต่ละมณฑลมีจังหวัดคือเมืองในปกครอง   3-4 จังหวัด จังหวัดหนึ่งแบ่งเป็น อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ผู้บริหารมณฑล เรียกว่า "สมุหเทศาภิบาล" หรือข้าหลวงใหญ่ ส่วนผู้บริหารจังหวัดเรียกว่า "ข้าหลวงจังหวัด" ขึ้นตรงต่อข้าหลวงใหญ่ประจำมณฑล มีนายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ปกครองเขตท้องที่ในจังหวัดทุกมณฑลมีกองทัพมณฑลไว้ป้องกันเหตุร้าย โดยมีแม่ทัพมณฑลขึ้นตรงต่อเสนาบดีกลาโหม ซึ่งมีเสนาบดีกระทรวงดูแลเป็นสัดส่วนขึ้นมาถึงพระมหากษัตริย์ องค์พระผู้เป็นประมุขของประเทศทำให้การปกครองสามารถสร้างเอกภาพได้นอกจากนี้ยังโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสุขาภิบาลหัวเมืองให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองรับพระราชทานเงินเดือนประจำ และมีการแต่งตั้งเจ้าเมืองโดยยึดถือความรู้ ความสามารถแทนการสืบสายโลหิต ทั้งเพื่อให้บริหารราชการแผ่นดินเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วพระอาณาเขต

4.ข้อดีของการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นในสมัยร.5มีอะไรบ้าง

ตอบ ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในราชอาณาจักร เป็นผลจากการปกครองส่วนภูมิภาคในรูปมณฑลเทศาภิบาล โดยมีศูนย์รวมอยู่ที่กรุงเทพรัฐบาลไทยที่กรุงเทพฯ สามารถขยายอำนาจเข้าควบคุมพื้นที่ภายในพระราชอาณาจักรได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทำให้กลุ่มผู้สูญเสียผลประโยชน์จากการปฏิรูปการปกครองพากันก่อปฏิกิริยาต่อต้านรัฐบาล ดังจะเห็นได้จากกบฏผู้มีบุญทางภาคอีสาน  ร.ศ.121 กบฏเงื้ยวเมืองแพร่ ร.ศ.121 และกบฏแขกเจ็ดหัวเมือง แต่รัฐบาลก็สามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้

5.จงอธิบายสาเหตุการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475

ตอบ 5.1 ความเสื่อมของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้วางแผนยึดอำนาจการปกครอง เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
       5.2 การได้รับการศึกษาตามแนวความคิดตะวันตก คนไทยส่วนหนึ่งที่ไปศึกษายังประเทศตะวันตก ได้รับอิทธิพลแนวคิดทางการเมืองสมัยใหม่ และนำกลับมาเผยแพร่ในประเทศไทย
       5.3 ความเคลื่อนไหวของบรรดาสื่อมวลชน มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการปกครองแบบใหม่และปฏิเธระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
       5.4 ความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย รัชกาลที่ 7 ทรงเล็งเห็นความสำคัญ                       ของการมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศและทรงเต็มพระทัยที่จะสละพระราชอำนาจมาอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม
       5.5 สถานะการคลังของประเทศและการแก้ปัญหา เริ่มประสบปัญหามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เพราะการผลิตข้าวประสบความล้มเหลว เนื่องจากเกิดภาวะน้ำท่วมและฝนแล้งติดต่อกันใน พ.ศ. 2460 และ พ.ศ.2462 ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายต่อการผลิตข้าวอย่างรุนแรง ภายในประเทศก็ขาดแคลนข้าวที่จะใช้ในการบริโภค และไม่สามารถส่งข้าวไปขายยังต่างประเทศได้ ทำให้รัฐขาดรายได้เป็นจำนวนมาก

6.ผลทางการเมืองและการปกครองที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในปี พ.ศ. 2475 มีอะไรบ้าง

ตอบ 6.1 ผลกระทบทางด้านการเมือง การเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อสถานภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอย่างมาก
เพราะเป็นการสิ้นสุดพระราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถึงแม้ว่าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะทางยอมรับการเปลี่ยนแปลง และทรงยินยอมพระราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยแล้วก็ตาม แต่พระองค์ก็ทรงเป็นห่วงว่าประชาชนจะมิได้รับอำนาจการปกครองที่พระองค์ทรงพระราชทานให้โดยผ่านทางคณะราษฎรอย่างแท้จริง
       6.2 ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่สำคัญของไทย แต่ถ้าพิจารณาถึงผลกระทบอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงแล้ว ผลกระทบทางการเมืองจะมีมากกว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจ
       6.3 ผลกระทบทางด้านสังคม ได้รับผลกระทบจากเปลี่ยนแปลงพอสมควร คือ ประชาชนเริ่มได้รับเสรีภาพและมีสิทธิต่างๆ
ตลอดจนความเสมอภาคภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ และได้รับสิทธิในการปกครองตนเอง ในขณะที่บรรดาเจ้าขุนมูลนาย ขุนนาง
ซึ่งมีอำนาจภายใต้ระบอบการปกครองดั้งเดิมได้สูญเสียอำนาจและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เคยมีมาก่อน โดยที่คณะราษฎรได้เข้าไปมีบทบาทแทนบรรดาเจ้านายและขุนนางในระบบเก่าเหล่านั้น

7.ในระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยพระมหากษัตริย์มีความสำคัญอย่างไร

ตอบ 7.1 อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจรัฐ
       7.2 ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง
       7.3 หลักการปกครองเพื่อประโยชน์ของประชาชน

 

แหล่งข้อมูลจาก http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Pa-tirup-Govern.htm

                      http://project611.exteen.com/page/2

 


 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 458 คน กำลังออนไลน์