ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ แพงกว่าคนท้องที่จริงหรือไม่: ฟลอริดา?

รูปภาพของ pornchokchai
ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ แพงกว่าคนท้องที่จริงหรือไม่: ฟลอริดา?
  AREA แถลง ฉบับที่ 614/2566: วันพุธที่ 02 สิงหาคม 2566

 

ผู้แถลง: น.ส.น้ำทิพย์ พรโชคชัย
กรรมการผู้จัดการ บจก. Feasyonline.com cs@feasyonline.com https://facebook.com/feasyonline

 

 

            นี่เป็นกรณีศึกษาจากสถานการณ์ตลาดคอนโดมิเนียมในเมืองไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ทั้งนี้เรามักจะได้ยินข่าวนักลงทุนต่างชาติเข้ามาซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศ และคาดหวังว่าชาวต่างชาติที่ร่ำรวยจะมาซื้ออสังหาฯ ราคา ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศได้ แต่ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ ในราคาแพงกว่าคนท้องที่จริงหรือ? และอะไรคือปัจจัยที่ทำให้ชาวต่างชาติจ่ายแพงกว่า?

            งานวิจัยล่าสุดตีพิมพ์ในวารสาร The Appraisal Journal (2023) ได้ศึกษาและวิเคราห์ข้อมูลการซื้อคอนโดมิเนียมของชาวต่างชาติในเมืองไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา เพื่อวิเคราะห์ว่าชาวต่างขาติซื้ออสังหาฯ ในราคาสูงกว่าคนท้องที่จรริงหรือไม่ และชาติใดที่ซื้ออสังหาริมทรัพย์ในราคาที่สูงกว่า รวมถึงสาเหตุที่ทำให้ชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ ในราคาที่สูงกว่า เป็นเพราะชาวต่างชาติเข้าถึงข้อมูลตลาดอสังหาฯ ได้ยากกว่าคนท้องที่ หรือ สาเหตุใด

งานศึกษานี้วิเคราะห์ข้อมูลการซื้อคอนโดมิเนียมจำนวน 3,650  ยูนิตในเมืองไมอามี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ระหว่างเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 -  2560 (เป็นช่วงเวลาหลังเกิดวิกฤตการณ์แฮมเบอร์เกอร์ในช่วงปี 2551 และก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 ในปี 2562) และพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ ในราคาที่สูงกว่าคนท้องที่ราว 6.5% นั่นหมายความว่า คนท้องที่ซื้อบ้านในราคาต่ำกว่าคนต่างชาติราว 14,570 ดอลลาร์สหัรฐต่อยูนิต (ประมาณ 480,810 บาท) จากราคาเฉลี่ยคอนโดมิเนียมที่ชาวต่างชาติซื้อ 224,134 ดอลลาร์สหัรฐต่อยูนิต (ประมาณ 7,396,422 บาท)

            จะเห็นว่าค่าเฉลี่ยการซื้ออสังหาฯ ที่แพงกว่าราว 6.5% นี้ต่ำกว่างานวิจัยเก่าในปี พ.ศ. 2531 ที่พบว่า ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามาซื้ออสังหาฯ ในฮาวาย มักจะจ่ายมากกว่าคนท้องที่ถึง 21% ของราคาบ้าน และตั้งสมมุติฐานว่าเป็นเพราะการเข้าถึงข้อมูลตลาดอสังหาฯ ของชาวต่างชาติที่น้อยกว่าคนท้องที่อย่างมาก และ อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินเยนของญี่ปุ่น อาจเป็นเพราะว่าช่วงเวลาเกือบ 22-29 ปีที่ผ่านมานี้ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลตลาดอสังหาฯ ของชาวต่างชาติสูงขึ้นและใกล้เคียงกับคนท้องที่มากขึ้น เพราะมีเครื่องมือต่าง ๆ และเว็บไซต์ที่ให้บริการข้อมูลตลาดอสังหาฯ ออนไลน์มากขึ้น

 

แล้วชาวต่างชาติซื้ออสังหาฯ แพงจริงไหม?

            อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ชาวต่างชาติทุกชาติจะซื้อคอนโดในราคาที่แพงกว่าคนท้องที่ งานศึกษาวิเคราะห์ชาวต่างชาติที่ซื้อคอนโดแยกตามสัญชาติพบว่า ชาวอาร์เจนตินา แคนาดา โคลอมเบีย อิตาลี และประเทศอื่น ๆ ไม่ได้ซื้อคอนโดในราคาที่ต่างจากคนท้องที่อย่างมีนัยยะสำคัญ หรือ แทบไม่ต่างจากคนท้องที่นัก มีเพียงชาวบราซิล และ เวเนซุเอลา ที่ซื้อคอนโดในราคาที่สูงกว่าคนท้องที่อย่างเห็นได้ชัด มิหนำซ้ำชาวรัสเซียยังซื้อคอนโดในราคาที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของคนในท้องที่เสียอีก

            โดยชาวบราซิลซื้อคอนโดในราคาที่สูงกว่าคนท้องที่ 16.6% หรือ ราว 37,233 ดอลลาร์สหัรฐต่อยูนิต (ประมาณ 1,228,689 บาท) ด้านชาวเวเนซุเอลาซื้อคอนโดในราคาที่สูงกว่าคนท้องที่ถึง 42.4% หรือ ราว 95,007 ดอลลาร์สหัรฐต่อยูนิต (ประมาณ 3,135,231 บาท) สำหรับการซื้อคอนโดลักษณะเดียวกับคนท้องที่

ในด้านของชาวรัสเซียกลับสามารถซื้อคอนโดได้ในราคาที่ต่ำกว่าคนท้องที่ถึง 23.5% หากคำนวณจากราคาเฉลี่ยคอนโดที่ชาวต่างชาติซื้อ 224,134 ดอลลาร์สหัรฐต่อยูนิต (ประมาณ 7,396,422 บาท) ชาวรัสเซียจะซื้อได้ในราคาที่ต่ำกว่าคนท้องที่ถึง 52,824 ดอลลาร์สหัรฐ (ประมาณ 1,742,892 บาท) และพบข้อมูลว่าชาวรัสเซียมีความสนใจในคลาดอสังหาริมทรัพย์หรูในเมืองไมอามีเพิ่มขึ้นถึง 35% ในปี พ.ศ. 2559 อีกทั้งนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชาวรัสเซียยังมีส่วนเกี่ยวข้องมากขึ้นกับการก่อสร้างโครงการในไมอามีอีกด้วย

 

ทำไมจึงชาวต่างชาติ (บางชาติยอมจ่ายแพงกว่า?

            จากการศึกษาจะเห็นว่ามีเพียงชาวบราซิล และชาวเวเนซุเอลาเพียง 2 ประเทศเท่านั้นที่ซื้ออสังหาฯ ในราคาที่สูงกว่าคนท้องที่ แล้วสาเหตุใดทำให้พวกเขายอมจ่ายในราคาที่สูงกว่า? งานศึกษาวิเคราะห์ว่าเกิดจากสถานการณ์ทางการเงินและการเมืองในประเทศนั้น ๆ หากสถานกาณณ์ไม่สู้ดี ชาวต่างชาติอาจให้ความสำคัญกับการรีบแปลงเงินจากสกุลเดิมของตนเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าในสกุลเงินสหรัฐ เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินที่จับต้องได้และมั่นคงจึงเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากการจ่ายเงินเพิ่มราว 50,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อคอนโดในสหัรฐในวันนี้ อาจคุ้มค่ากว่ามากเมื่อเทียบกับมูลค่าเงินที่อาจลดลงไปได้มากถึง 100,000 ดอลลาร์สหรัฐในเดือนหน้า จากปัญหาเงินเฟ้อขั้นรุงแรงที่เกิดจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในประเทศของพวกเขา

            ประเทศบราซิลประสบวิกฤตเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ส่งผลให้เกิดปัญหาอัตรการว่างงานสูง ค่าเงินเฟ้อสูง ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกต่ำ และ GDP หดตัว กอปรกับความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลให้ค่าเงินบราซิลตกต่ำเมื่อเทียบกับค่าเงินสหรัฐ ชาวบราซิลจึงตัดสินใจย้ายถิ่นฐานไปต่างประเทศกันมากขึ้น ดังนั้นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของชาวบราซิลเป็นอย่างมากจึงมีความสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมากกว่าการต่อรองราคาซื้อขายให้ได้ราคาถูกลง ทำให้โดยเฉลี่ยชาวบราซิลซื้อคอนโดในราคาที่สูงกว่าคนท้องที่ 16.6% หรือ ราว 37,233 ดอลลาร์สหัรฐต่อยูนิต

            ในด้านของประเทศเวเนซุเอลาเองก็เผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรงตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถรับรู้ผลกระทบต่อกำลังซื้อและความเป็นอยู่ของคนในประเทศได้เนื่องจากรัฐบาลให้ปิดกั้นการให้ข้อมูลนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 อย่างไรก็ตามประชาชนต้องประสบกับอัตราดอกเบี้ยที่ติดลบ และ ค่าเงินที่อ่อนตัวลงเกือบ 100% ในปี พ.ศ. 2556 อัตราเงินเฟ้อพุ่งขึ้นรุนแรงจนทำให้กำลังซื้อของคนในประเทศตกต่ำ จึงเป็นไปได้ว่าชาวเวเนซุเอลายอมจ่ายมากกว่าคนในท้องที่ถึง 42.4% หรือ ราว 95,007 ดอลลาร์สหัรฐต่อยูนิต (ประมาณ 3,135,231 บาท) สำหรับการซื้อคอนโดลักษณะเดียวกัน

 

สรุป

            โดยสรุปจากงานวิจัยนี้ คาดว่าชาวต่างชาติในประเทศส่วนใหญ่ไม่ได้ซื้อคอนโดในราคาที่สูงกว่าคนท้องที่มากนัก ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะชาวต่างชาติสามารถในการเข้าถึงข้อมูลตลาดอสังหาฯ ของสหรัฐอเมริกาได้อย่างง่ายดายผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่มีข้อมูลชัดเจน จึงสามารถเลือกซื้อและต่อราคาได้ง่าย แต่ชาวต่างชาติในประเทศที่ซื้อคอนโดในราคาที่สูงกว่าคนท้องที่อย่างมากนั้นอาจยอมซื้อในราคาที่แพงกว่า เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากกำลังซื้อของตนเองที่อาจลดลงอย่างรวดเร็วจากความผันผวนของสถานการณ์ทางการเงินและการเมืองในประเทศ ที่น่าสนใจคือชาวรัสเซียสามารถซื้ออสังหาฯ ในราคาที่ต่ำกว่าคนในท้องที่เสียอีก

 

เทียบกับกรณีประเทศไทย

            หากเทียบกับสถานการณ์ในประเทศไทย ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส ให้ข้อมูลว่าในปี 2565 มีชาวต่างชาติซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพปริมณฑลราว 4,203 ยูนิต คิดเป็น 8.2% ของจำนวนคอนโดที่จะขายได้ในปีนั้น โดยชาวต่างชาติซื้อคอนโดมิเนียมราคาเฉลี่ย 4.85 ล้านบาทต่อหน่วย สูงกว่าราคาเฉลี่ยคอนโดมิเนียมที่คนไทยซื้อ 3.48 ล้านบาท/หน่วย ราว 39%


สถานการณ์การซื้อห้องชุดของต่างชาติในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล


 

ที่มา:

Marcus T. Allen, PhD, CCIM, Kimberly R. Goodwin, PhD, & Jennifer A. O’Sullivan, PhD, “Do Foreign Buyers Really Pay More? Evidence from the Miami Condo Market”, The Appraisal Journal, Winter (2023): 17-27.

Norman G. Miller, Michael A. Sklarz, and Nicholas Ordway, “Japanese Purchases, Exchange Rates, and Speculation in Residential Real Estate Markets,” Journal of Real Estate Research 3, no. 3 (1988): 39–49.

 

 

ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 400 คน กำลังออนไลน์