ข้อคิดในการรีไฟแนนซ์บ้าน/ห้องชุด

รูปภาพของ pornchokchai
ข้อคิดในการรีไฟแนนซ์บ้าน/ห้องชุด
  AREA แถลง ฉบับที่ 336/2566: วันอังคารที่ 02 พฤษภาคม 2566

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

 

 

            ผู้ซื้อบ้านโดยเฉพาะห้องชุดหลายคนในขณะนี้ผ่อนต่อไม่ไหว จะต้องหาแหล่งเงินกู้ใหม่ที่ดอกเบี้ยถูกกว่า ทำอย่างไรดี

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) กล่าวว่าในขณะนี้มีการโฆษณารีไฟแนนซ์ต่างๆ มากมาย (ลอง google ดู) เช่น

  • รีไฟแนนซ์บ้าน ต้องที่ ttb - ฟรี ค่าประเมินราคาหลักทรัพย์
  • รีไฟแนนซ์บ้านกับกรุงศรี - ดอกเบี้ยคงที่ 2.00%ต่อปี ปีแรก
  • ย้ายมารีไฟแนนซ์บ้าน กับ CIMB - ประหยัดเงินได้เป็นแสน
  • สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน เป็นเจ้าของบ้านได้เร็ว อัตราดอกเบี้ยต่ำ | SCB
  • สินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน อัตราดอกเบี้ยพิเศษ ผ่อนสบาย | ธนาคารกรุงไทย เป็นต้น

 

            นี่แสดงถึงการแข่งขันกันในตลาดรีไฟแนนซ์เป็นอย่างมาก น่าจะเป็นผลดีต่อผู้ซื้อบ้านหรือไม่ ก่อนอื่นมาดูว่ารีไฟแนนซ์คืออะไร ปกติผู้ซื้อบ้านมักจะต้องผ่อนชำระกับธนาคารเพราะแทบไม่มีใครมีเงินสด แต่อัตราการผ่อนชำระต่ำๆ จูงใจคนกู้นั้น หลังจาก 3 ปีแรกดอกเบี้ย (คงที่) ในการกู้ซื้อบ้าน ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบดอกเบี้ยลอยตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้เงินผ่อนชำระสูงขึ้น เป็นภาระของผู้ผ่อนชำระ  ดังนั้นเพื่อเป็นการลดดอกเบี้ยในการผ่อนชำระหนี้ หลายคนจึงยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์บ้าน/ห้องชุด และโดยทั่วไปการไปยื่นขอสินเชื่อเงินกู้จากสถาบันการเงินแห่งใหม่ที่มีดอกเบี้ยถูกกว่าสถาบันการเงินเดิม จึงจูงใจให้คนพากันรีไฟแนนซ์

 

            อย่างไรก็ตามการรีไฟแนนซ์นั้น ก็ต้องมีต้นทุนเช่นกัน เช่น

  • ในกรณีที่ไถ่ถอนก่อนกำหนด ก็จะต้องเสียค่าปรับ
  • มีต้นทุนด้านภาษีในการไถ่ถอนจำนอง และไปจำนองกับสถาบันการเงินใหม่
  • มีค่าธรรมเนียมต่างๆ  เช่น ค่าประเมินค่าทรัพย์สิน (แต่สถาบันการเงินบางแห่งก็ไม่คิดค่าใช้จ่ายนี้)
  • อื่นๆ

 

            โดยที่ผู้ซื้อบ้านและกำลังผ่อนชำระอยู่นั้น มีปัญหาทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศเรายังไม่กระเตื้องนัก (ยกเว้นช่วงเลือกตั้งที่เงินจะสะพัดจากงบประมาณการหาเสียง) แต่ภาพโดยรวมเศรษฐกิจยังไม่ดีนัก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจก็ยังไม่สูงนัก ประกอบกับอัตราการมีหนี้สินของประชาชนสูงขึ้น ดังนั้นตลาดรีไฟแนนซ์บ้านและห้องชุดหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น จึงกำลังเติบโต  ผู้ซื้อบ้านที่เป็นหนี้ก็ต้องดิ้นรนหาทางออกในการหาแหล่งเงินกู้ที่ถูกกว่าต่อไป

 

            ยิ่งกว่านั้นในช่วงก่อนหน้านี้มีพวกโค้ชมักสอนให้ชาวบ้านไปซื้อห้องชุดไปเก็งกำไรกันอย่างสนุกมือ จนทำให้ห้องชุดในกรุงเทพมหานครปล่อยว่างไว้เป็นจำนวนมาก โดยข้อมูลของศูนย์ข้อมูลฯ ที่ ดร.โสภณ เป็นประธานอยู่นี้พบว่าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีบ้านที่สร้างเสร็จแต่ไม่มีคนอยู่อาศัยถึง 600,000 หน่วย โดยเกือบทั้งหมดซื้อโดยชาวบ้านไปแล้ว ในจำนวนนี้ 300,000 หน่วย เป็นห้องชุดที่ว่างอยู่ และห้องชุดทั้งหลายในกรุงเทพฯ นี้มีอัตราว่างสูงถึง 20-25%  ห้องชุดที่มีผู้ซื้อไว้เก็งกำไร ปล่อยเช่าก็ไม่ค่อยได้ ขายก็ขายยาก จึงทำให้ตลาดรีไฟแนนซ์เติบโตมากขึ้นอีก

 

            ดังนั้นภาวะในขณะนี้ผู้ซื้อบ้านจึงต้องพารีไฟแนนซ์กันอุตลุด แต่ ดร.โสภณ เผยว่าอันที่จริง ในด้านการเงินเคหะการในการกู้เงินซื้อบ้านนั้น เราอาจต้องคิดใหม่ ดังนี้

  • ในการซื้อบ้าน ถ้าไม่จำเป็นต้องอย่าพยายามกู้สถาบันการเงิน
  • ถ้ากู้ต้องพยายามกู้แต่น้อย ไม่ใช่กู้กัน 95% - 110% ซึ่งทำให้เป็นภาระอันหนักอึ้ง
  • ไม่ควรกู้หลายหลังหรือหลายทาง เพราะทำให้เกิดความเสี่ยงสูงมาก
  • อย่ากู้ระยะยาวจนเกินไป เพราะดอกเบี้ยอาจสูงกว่าเงินต้นที่กู้
  • ถ้ากู้แล้ว  เราต้องพยายามผ่อนให้หมด ด้วยการเทหรือโปะเงินต้นให้ได้มากที่สุด จะทำให้เราเสียดอกเบี้ยน้อยลง

 

            ผู้ซื้อบ้านยุคใหม่ต้องคิดให้หนัก และวางแผนให้ดีด้านการเงิน จะได้ไม่มีภาระรีไฟแนนซ์ที่หนักอึ้ง และอย่าเชื่อพวกโค้ชจนเกินไป

 

 

ที่มา: https://www.scb.co.th/th/personal-banking/stories/home-car/7-questions-about-refinancing.html

 
 
 
 
 
 


ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 542 คน กำลังออนไลน์