ทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยหลังโควิด-19 (2565-2567)

รูปภาพของ pornchokchai
ทิศทางตลาดที่อยู่อาศัยหลังโควิด-19 (2565-2567)
  AREA แถลง ฉบับที่ 163/2566: วันจันทร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

 

            ตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลฟื้นแล้ว กำลังเติบโตใหญ่ ทำให้ในต่างจังหวัดค่อยๆฟื้นตาม และคาดว่าหากโตไวเกินไปอาจเกิดฟองสบู่แตกในปี 2568

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) เปิดเผยว่าจากผลการสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา พบว่าก่อนเกิดโควิด-19 ในช่วงปี 2559-2562 ตลาดคึกคักมาก และมาชะลอในช่วงโควิด-19 (2563-2564) ขณะนี้หลังช่วงโควิด-19 (2565-2567) ตลาดน่าจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง

 

 

            จะเห็นได้ว่าในช่วงปี 2559-2652 มีการเปิดตัวหน่วยที่อยู่อาศัยใหม่ราว 115,000 หน่วยต่อปี ทั้งนี้รวมทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว ห้องชุดและที่ดินจัดสรรเพื่อการอยู่อาศัย แต่พอช่วงโควิด-19 ก็ปรากฏว่าการเปิดตัวน้อยลงมาก โดยเฉพาะในปี 2563 เปิดเพียง 73,043 หน่วย และปี 2564 เปิดใหม่เหลือเพียง 60,489 หน่วย ซึ่งนับว่าลดลงไปเกือบครึ่งของช่วงก่อนหน้า

            อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ที่ชัดเจนก็คือในปี 2565 สถานการณ์กลับฟื้นคืน เกือบเท่าปี 2562 คือมีจำนวนหน่วยขายเปิดใหม่ถึง 107,090 หน่วย (90%) ทั้งนี้เป็นการฟื้นตัวโดยไม่ได้อาศัยกำลังซื้อต่างชาติเลย แสดงว่าการซื้ออสังหาริมทรัพย์ของคนต่างชาติไม่ได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเท่าที่ควร  การที่มีการเปิดตัวและมีการซื้ออสังหาริมทรัพย์กันมากมายในปี 2565 ก็คงเป็นเพราะว่ากำลังซื้อที่อั้นไว้ก่อนหน้านี้ (ปี 2563-64) กลับมาซื้อในปี 2565 โดยปีหนึ่งๆ จะมีผู้ซื้อที่อยู่อาศัยประมาณ 100,000 หน่วย

            ดร.โสภณ คาดการณ์ว่าจำนวนหน่วยขายที่จะเปิดใหม่ในปี 2566 น่าจะอยู่ที่ 117,799 หน่วย หรือเพิ่มขึ้น10% ส่วนมูลค่าก็จะเปิดใหม่เป็น 543,336 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้นประมาณ 15% ของปี 2565 ทั้งนี้อาจเป็นเพราะค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นและมีการเน้นโครงการคุณภาพมากขึ้น  ยิ่งกว่านั้นในปี 2567 ดร.โสภณคาดว่าจะมีการเปิดตัวที่อยู่อาศัยใหม่จำนวน 123,689 หรือเพิ่มขึ้นอีก 5% และมีมูลค่ารวมกันเป็นเงิน 581,369 ล้านบาท หรือมูลค่าเพิ่มขึ้น 7% ทั้งนี้จะปรากฏว่ามูลค่าการเปิดตัวปี 2567 จะสูงกว่าสถิติเดิมของปี 2562 ที่เปิดตัวในมูลค่า 565,811 ล้านบาท

            คาดว่า ณ ปี 2567 กลุ่มที่อยู่อาศัยที่เปิดตัวเป็นหลักยังเป็นห้องชุดถึง 62,705 หน่วย จากทั้งหมด 123,689 หน่วย หรือ 51% รองลงมาจะเป็นทาวน์เฮาส์ หรือ 26% และเป็นบ้านเดี่ยว 19,120 หน่วย หรือ 15% นอกนั้นเป็นอื่นๆ ได้แก่บ้านแฝด ตึกแถวและที่ดินจัดสรรเพื่อการอยู่อาศัย  ยิ่งในระยะไกล เช่นถึงปี 2570-2575 ห้องชุดน่าจะกลายเป็นที่อยู่อาศัยหลักถึงราว 60-65% ของทั้งหมดเพราะการขาดแคลนที่ดินในเมือง

            การที่ตลาดที่อยู่อาศัยจะฟื้นคืนในปี 2565-2567 นี้ ย่อมจะสะสมหน่วยรอขายในมือผู้ประกอบการมากขึ้น ทั้งนี้หน่วยรอขาย ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ 218,846 หน่วย คาดว่า ณ สิ้นปี 2567 อาจมีหน่วยรอขายสูงถึง 227,706 หน่วยหรือประมาณ 2 เท่าของหน่วยขายเปิดใหม่ในแต่ละปี คือหากไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่เลยเป็นเวลา 2 ปี  ก็ยังมีหน่วยขายเพียงพอสำหรับความต้องการของผู้ซื้อในตลาดที่ 100,000 หน่วยต่อปี

            การที่มีหน่วยรอขายอยู่เป็นจำนวนมากเช่นนี้ก็คือภาวะฟองสบู่ และหากมีมากเกินไป ก็จะถึงเวลาฟองสบู่แตกเพราะการซื้อเก็งกำไร โดยในกรณีห้องชุดพักอาศัยในปัจจุบัน มีการซื้อโดยผู้จะเข้าอยู่อาศัยจริงประมาณ 60-70% นอกนั้นเป็นนักเก็งกำไรอีก 20-30% ที่เหลือเป็นการซื้อโดยชาวต่างชาติอีกราว 10%  ถ้ามีการก่อสร้างมากเกินไป และราคาที่อยู่อาศัยไม่ปรับตัวขึ้นตามการเก็งกำไร ก็จะทำให้เกิดภาวะตลาดตกต่ำได้ในที่สุด

            ดร.โสภณ เสนอให้มีมาตรการป้องกันการเก็งกำไร เช่น การเก็บภาษีการซื้อบ้านหลังที่ 2 หรือหลังที่ 3 ดังเช่นที่ปฏิบัติกันในอารยประเทศ เช่น เก็บภาษีซื้อประมาณ 10-15% นอกจากนี้ในการขายต่อในกำหนดว่าในช่วง 2-3 ปีแรกห้ามขายต่อ เพื่อปรามการเก็งกำไร และเมื่อขายได้กำไร ก็อาจต้องเสียภาษีกำไรจากการขายอีก 20% กรณีนี้จะทำให้การเก็งกำไรลดลง ซึ่งแม้จะทำให้ยอดขายที่อยู่อาศัยของนักพัฒนาที่ดินลดลงไปบ้าง แต่ก็จะทำให้ได้ผู้ซื้อที่เป็นผู้อยู่อาศัยจริงและมีกำลังผ่อนบ้านจริง

 

หมายเหตุ: บทความนี้ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 9-12 กุมาภาพันธ์ 2556 หน้า 1 และ 4

https://www.prachachat.net/property/news-1198142

 

 

 

 

ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 170 คน กำลังออนไลน์