นิราศกาฐมาณฑุ 3-6 ก.พ.66

รูปภาพของ pornchokchai
นิราศกาฐมาณฑุ 3-6 ก.พ.66
  AREA แถลง ฉบับที่ 140/2566: วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2566

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

 

                หลายท่านอาจเคยไปเที่ยวเนปาล แต่ไปเฉพาะเมืองลุมพินีซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าในโอกาสการจาริกแสวงบุญของชาวพุทธ ผมก็ไปมาแล้วสองหน แต่คราวนี้ผมไปกลุ่มกาฐมาณฑุ

 

                ในระหว่างวันศุกร์ที่ 3 - วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ผมเดินทางไปกรุงกาฐมาณฑุ เพื่อบรรยายและทำสำรวจวิจัยเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยร่วมกับ ดร.โอม ราชบันดารี (Om Rajbhandary) ซึ่งเป็นนักพัฒนาที่ดินรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในประเทศเนปาลนี้ เพื่อนำเสนอให้กับเทศบาลกรุงกาฐมาณฑุและรัฐบาลประเทศเนปาล

 

                ผมบินไปกลับด้วยสายการบินไทยสมายล์ แต่ครั้งแรกผมจองตั๋วไลออนแอร์เพราะราคาถูกกว่า แต่ภายหลังเขากลับเปลี่ยนเวลาและวันบิน ผมจึงต้องขอยกเลิกแต่เขาบอกจะจ่ายเงินคืนเต็มในเวลา 45 วัน พอกลับมาซื้อตั๋วของไทยสมายล์ราคาก็กลับพุ่งสูงขึ้นอีก ไม่ได้คิดประหยัดเงินแต่แรกเลย บางครั้งเจ้าภาพยังระบุให้ซื้อแต่ตั๋วเฉพาะชั้นธุรกิจด้วยซ้ำไป

 

                พอถึงสนามบินกรุงกาฐมาณฑุ ก็ปรากฏว่าเครื่องบินจอดห่างจากอาคารผู้โดยสารประมาณ 100 เมตร แต่ก็ต้องมีรถมารับไปเทียบท่าที่อาคารผู้โดยสารไม่ยอมปล่อยให้ผู้โดยสารเดินไปเอง ขอบคุณอยากให้มีการใช้บริการรถสนามบินโดยไม่คิดว่าถ้าให้ผู้โดยสารเดินไปเองจะรวดเร็วประหยัดเวลากว่ามาก ผมไปที่นี่นับสิบๆ ครั้งตั้งแต่ปี 2554 ก็เห็นเป็นเช่นนี้ตลอดมา ไม่เปลี่ยนแปลงเลย ขาออก จะขึ้นเครื่องก็อีหรอบเดียวกัน

 

                ไปถึงราวบ่ายโมงก็ทำ visa on arrival เพราะแบบฟอร์มของสถานทูตเนปาลในเมืองไทยเกิดขัดข้องไม่สามารถพิมพ์ออกมาได้ ก็เลยมาทำที่สนามบินกาฐมาณฑุแทน แต่ก็เสียเวลาพอสมควร โชคดีไม่เสียเวลามากเกินไปนักเพราะจำนวนนักท่องเที่ยวยังมีน้อย เขาคิดสนราคา 1,100 บาท (ใช้เงินไทยได้เลย) โดยไม่มีใบเสร็จ แต่ถ้าทำที่สถานทูตในประเทศไทยเสียแค่ 800 บาทแต่ต้องเสียเวลาเดินทางไปกลับซึ่งคงจะแพงกว่าด้วยซ้ำไป

 

                ออกจากสนามบินได้ตอนบ่ายสองโมง เขาก็พาไปทานข้าว แล้วผมก็เดินทางไปสำรวจที่อยู่อาศัยและชุมชนแออัดเลยโดยมีคณะนักวิจัยท้องถิ่นให้การสนับสนุน แถมมีตำรวจนอกเครื่องแบบคอยประกบด้วยเนื่องจากมีกระแสการไล่รื้อชุมชนแออัดริมแม่น้ำในกรุงกาฐมาณฑุ เขาก็เกรงว่าผมจะได้รับอันตราย แต่ก็ไม่มีปัญหาใดๆ ทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี

 

                วันรุ่งขึ้นเป็นวันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่นี่ปานวันเสาร์เป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ แต่ผมกับคณะก็ยังเดินทางไปสำรวจชุมชนแออัดอย่างไม่ลดละ ชุมชนส่วนมากอยู่ริมคลองขนาดใหญ่หรือแม่น้ำ โดยแม่น้ำที่นี่มีความกว้างเพียง 60 ถึง 100 เมตรต่างจากในกรุงเทพมหานครที่แม่น้ำเจ้าพระยามีขนาดกว้าง 250 ถึง 800 เมตร

 

                ในประเทศเนปาลวันหยุดราชการประจำสัปดาห์มีเฉพาะวันเสาร์ หยุดเพียงสัปดาห์ละหนึ่งวันเท่านั้น หน่วยราชการต่างๆ ก็เช่นกัน โดยราชการจะเริ่มงานเวลา 10:00 น. และเลิกงานเวลา 17:00 น. หรือเท่ากับทำงานวันละ 6 ชั่วโมงรวมสัปดาห์ละ 36 ชั่วโมง กรณีนี้ก็ใกล้เคียงกับไทยที่ข้าราชการทำงานสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง โดยทำงานวันละ 7 ชั่วโมง (08:30 น -16:30 น.) เป็นเวลา 5 วันทำงาน

 

                ส่วนวันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นวันทำงานวันแรกของสัปดาห์ในเนปาล ผมกับคณะก็เดินทางไปสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ซึ่งมีทั้งทาวน์เฮาส์ราคาถูก ที่ดินจัดสรรราคาถูก ที่ดินเช่าเพื่อการอยู่อาศัย ตลอดจนโครงการขององค์กรพัฒนาเอกชน หรือ NGOs ที่ดำเนินการกันอยู่ว่าจากพัฒนาแนวทางการจัดหาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยหรือชาวชุมชนได้เพิ่มเติมอย่างไรบ้าง

 

                สุดท้ายในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ ผมก็ไม่เคยไปไหนเลยหลังจากแจ้งข้อมูลอยู่ในที่พักเพื่อรอประชุมในตอนเช้าและรีบไปสนามบินเนื่องจากเครื่องบินจะบินเร็วกว่ากำหนด 1 ชั่วโมงครึ่งออกเวลา 12:30 น. และที่กรุงกาฐมาณฑุ ผู้โดยสารควรเดินทางไปรอที่สนามบินเป็นเวลาประมาณ 3 ชั่วโมงก่อนเวลาเดินทาง เพราะระบบต่างๆค่อนข้างเชื่องช้ามาก

 

                มาพักที่นี่ เจ้าภาพก็จัดให้พักในห้องชุดในโครงการอาคารชุดสูง 9 ชั้น มี 3 ห้องนอนด้วยให้ผมอยู่คนเดียว โชคดีที่มาครั้งนี้ไฟฟ้าเปิดตลอด ไม่มีดับเป็นช่วงๆ เช่นในสมัยก่อนแถมยังมีเครื่องทำความร้อน ทำให้นอนอุ่นสบาย แม้อากาศในตอนกลางคืนจะลดต่ำถึง 4-5 องศาเซลเซียสก็ตาม แต่โชคดีที่ไม่มีฝนตก ไม่มีเมฆมาก มีแต่ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ซึ่งที่เนปาลถือว่าเคยติดอันดับ 10 ของโลกเลยทีเดียว

 

            เอาไว้คราวหน้า ผมมานำเสนอผลการศึกษากับรัฐบาลเนปาล และเทศบาลกรุงกาฐมาณฑุ แล้วจะมาเล่าให้ฟังต่อนะครับ

 

            ปล. คนเนปาลเขาบอกว่า สถานทูตไทยในกรุงกาฐมาณฑุ เข้มงวดวีซ่ามาก ต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ แต่ถ้า ‘จ่ายใต้โต๊ะ’ ก็เร็ว เรื่องนี้เป็นไง ยังไงสถานฑูตแก้ข่าวด่วนครับ

 

 

 

 

 

 

 

ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 595 คน กำลังออนไลน์