ประยุทธ์พัฒนาเศรษฐกิจดีกว่าจริงหรือ

รูปภาพของ pornchokchai
ประยุทธ์พัฒนาเศรษฐกิจดีกว่าจริงหรือ
  AREA แถลง ฉบับที่ 114/2566: วันพฤหัสบดีที่ 09 กุมภาพันธ์ 2566

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

            มีบางคนบอกว่าขนาดเศรษฐกิจของไทยในยุคนี้ใหญ่กว่ายุคทักษิณถึง 4 เท่า แสดงว่าประเทศไทยเจริญขึ้นมาก แต่ทำไมคนจนจึงเพิ่มขึ้นมหาศาล แล้วประเทศอื่นในอาเซียนเป็นอย่างไร ท่านทราบหรือไม่  ภายในปี 2584 เวียดนามจะแซงไทยแล้ว

 

ตารางที่ 1: การเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทย ปี 2545-2564

รายการ

                 ตัวเลข

รายได้ประชาชาติ (GDP) ปี 2545 (USD)

     134,300,851,255

รายได้ประชาชาติ (GDP) ปี 2557 (USD)

     407,339,454,061

รายได้ประชาชาติ (GDP) ปี 2564 (USD)

     505,947,037,098

การเพิ่มขึ้นของ GDP ปี 2545-2564 (เท่า)

                 3.8

การเพิ่มขึ้นของ GDP ปี 2545-2557 (เท่า)

                 3.0

การเพิ่มขึ้นของ GDP ปี 2557-2564 (เท่า)

                 1.2

อัตราการเติบโตของ GDP ปี 2545-2564/ปี

                 7.2%

อัตราการเติบโตของ GDP ปี 2545-2557/ปี

                 9.7%

อัตราการเติบโตของ GDP ปี 2557-2564/ปี

                 3.1%

ที่มา: ธนาคารโลก (ตัวเลขเป็น current value)   https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.CD     

 

            ถ้าพิจารณาจากขนาดเศรษฐกิจของไทยในปี 2545 (สมัยทักษิณ) รายได้ประชาชาติ (GDP) ของไทยอยู่ที่ 134.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ แต่มาในปี 2564 (สมัยประยุทธ์) กลับเพิ่มเป็น 505.9 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเติบโตขึ้นเกือบ 4 เท่า (3.8 เท่า) ทั้งนี้ตามตัวเลขรายได้ตลาด (ยังไม่หักเงินเฟ้อ) ของธนาคารโลก นี่แสดงว่าไทยประสบความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจใช่หรือไม่  แต่หลายคนก็สงสัยว่า ถ้าประสบความสำเร็จจริง ทำไมประเทศไทยจึงมีคนจนที่จดทะเบียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 ‘คลัง’ เปิดตัวเลขลงทะเบียน ‘บัตรสวัสดิการฯ’ รอบใหม่ 22 ล้านคน” (https://bit.ly/3iEYxlh) หรือราวหนึ่งในสามของประชากรไทยเข้าไปแล้ว

            อันที่จริงตัวเลขรายได้ประชาชาติข้างต้นอาจมีรายละเอียดที่ต้องเข้าใจเพิ่มเติม นั่นก็คือ รายได้ประชาชาติในปี 2557 (ถึงปีรัฐประหาร) สูงถึง 407.3 พันล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปแล้ว แสดงว่าในช่วงปี 2545-2557 ประเทศไทยรวยขึ้นถึง 3 เท่า  แต่ในช่วงปี 2557-2564 (ยุคประยุทธ์) รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นอีกเพียง 20% หรือเท่ากับช่วง 7 ปีนี้ อัตราการเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้นเพียง 3.1% ต่อปีเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า (ปี 2545-2554) ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 9.7% (ตัวเลขเหล่านี้อาจดูสูงเพราะไม่ได้ทอนเงินเฟ้อ)

 

ตารางที่ 2: อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจปี 2557-2564                  

อันดับที่

ประเทศ

          %

1

กัมพูชา

7.1%

2

เวียดนาม

6.6%

3

ลาว

5.1%

4

อินโดนีเซีย

4.2%

5

ฟิลิปปินส์

4.1%

6

สิงคโปร์

3.4%

7

ไทย

3.1%

8

มาเลเซีย

1.4%

9

เมียนมา

0.4%

10

บรูไน

-2.8%

 

            เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ ในอาเซียนที่มี 10 ประเทศ จะเห็นได้ว่าในช่วงล่าสุด (ปี 2557-2564) อัตราการเติบโตที่ 3.1% ของไทยเป็นแค่อันดับที่ 7 หรือค่อนข้างจะ “รองบ่อน” โดยมีกัมพูชา เวียดนาม และลาวนำโด่งสุด  กรณีนี้บางท่านอาจแย้งว่าก็ประเทศเหล่านี้ล้าหลังกว่าไทยจึงอาจจะ “ก้าวกระโดด” กว่าไทยได้  อย่างไรก็ตามประเทศที่ใกล้เคียงกับไทย เช่น อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ก็ยังนำหน้าไทย และประเทศที่เจริญกว่าไทยคือสิงคโปร์ ก็มีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยที่สูงกว่าไทยเช่นกัน  มีเพียงมาเลเซีย เมียนมา (ที่ถูกรัฐประหาร) และบรูไนที่เศรษฐกิจไม่ค่อยกระเตื้องเท่านั้น

 

ตารางที่ 3: ขนาดเศรษฐกิจของประเทศในอาเซียน (ราคาตลาด)

อันดับ

ประเทศ

มูลค่า (เหรียญสหรัฐ)

เทียบไทย

1

   อินโดนีเซีย

1,186,092,991,320

234%

2

   ไทย

505,947,037,098

100%

3

   สิงคโปร์

396,986,899,888

      78%

4

   ฟิลิปปินส์

394,086,401,171

      78%

5

   มาเลเซีย

372,980,957,208

      74%

6

   เวียดนาม

366,137,590,601

      72%

7

   เมียนมา

65,091,751,273

      13%

8

   กัมพูชา

26,961,061,120

       5%

9

   ลาว

18,827,148,510

       4%

10

   บรูไน

14,006,569,576

       3%

 

            สิ่งที่น่าสนใจอีกประกาศหนึ่งก็คือขนาดเศรษฐกิจของไทยนั้นใหญ่เป็นอับดับสองของอาเซียน 10 ประเทศ เพียงแต่เติบโตช้า ทั้งนี้อินโดนีเซียมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่กว่าไทยคือเป็น 234% ของไทย สิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศเกาะเล็กๆ กลับมีขนาดเศรษฐกิจถึง 78% ของไทย เช่นเดียวกับฟิลิปปินส์  ส่วนมาเลเซียที่มีขนาดราวสองในสามของไทย ก็มีขนาดเศรษฐกิจถึง 74% ของไทย ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเล็กมากๆ ก็มีเพียงเมียนมา กัมพูชา ลาวและบรูไน

 

ตารางที่ 4: รายได้ประชาชาติต่อหัว (เหรียญสหรัฐ) ปี 2564

อันดับ

ประเทศ

มูลค่า (เหรียญสหรัฐ)

เทียบไทย

1

สิงคโปร์

          67,857

936%

2

บรูไน

          32,017

442%

3

มาเลเซีย

          11,524

159%

4

ไทย

          7,249

100%

5

อินโดนีเซีย

          4,336

60%

6

เวียดนาม

          3,761

52%

7

ฟิลิปปินส์

          3,596

50%

8

ลาว

          2,588

36%

9

กัมพูชา

          1,613

22%

10

เมียนมา

          1,196

17%

 

            เมื่อเจาะลึกลงมาดูถึงรายได้ประชาชาติต่อหัว จะเห็นได้ว่าสิงคโปร์มาเป็นอันดับที่ 1 คือโดยเฉลี่ยประชากรสิงคโปร์มีรายได้ 67,857 เหรียญสหรัฐต่อปี หรือเทียบเท่า 936% ของไทย แสดงว่าชาวสิงคโปร์รวยเท่ากับ 9 เท่าของไทย  ความรวยของสิงคโปร์ในรูปการนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ จากเมื่อ 30 ปีก่อน อาจอยู่ที่  4 เท่า แต่ขณะนี้พุ่งทะยานสูงมาก  บรูไนก็รวยเท่ากับ 4 เท่าของไทย (442%) ทั้งนี้เพราะประเทศนี้มีประชากรเพียง 4 แสนเศษเท่านั้น ในขณะที่อินโดนีเซีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ มีรายได้พอๆ กับแค่ครึ่งหนึ่งของไทยเท่านั้น ในขณะที่ประชาชนชาวลาว กัมพูชาและเมียนมาจนมาก

            จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า ประเทศที่นักลงทุนไทยน่าลงทุนมากๆ ในขณะนี้ก็คือ อินโดนีเซีย เวียดนามและฟิลิปปินส์ รวมทั้งประเทศที่ยังห่างชั้นไทยอยู่มากก็คือกัมพูชา ยกเว้นลาวที่มีประชากรผู้บริโภคน้อย และเมียนมาที่มีแต่ผู้ที่คิดจะถอนการลงทุนเพราะรัฐประหารที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2564  นักลงทุนหลายประเทศต่างหยุดหรือขายกิจการในเมียนมาในขณะนี้  ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินก็มีโอกาสไปประเมินค่าโรงงานต่างๆ ในเมียนมา เพราะนักลงทุนต่างชาติตัดสินใจถอนตัว

            สิ่งที่น่าห่วงอย่างหนึ่งก็คือ จะมีประเทศไทยที่จะแซงไทยในอนาคตหรือไม่   ที่ผ่านมา ไทยก็ถูกแซงไปมากแล้ว เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ และมาเลเซีย แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ณ พ.ศ.2584 หรือ 18 ปีนับจากปี 2566 นี้ เวียดนามจะแซงไทยแล้ว  ทั้งนี้ ณ ปี 2564 ไทยมีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ 7,249 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่เวียดนามมีรายได้อยู่ที่ 3,761 เหรียญสหรัฐ หรือเพียง 52% ของไทยเท่านั้น  แต่ถ้าเวียดนามยังเติบโต 6.6% ต่อปี ในขณะที่ไทยเติบโตที่ 3.1% ต่อปี ภายในปี 2584 รายได้ประชาชาติต่อหัวของเวียดนามจะขึ้นแซงไทย  ถ้าเวียดนามแซงไทยได้ อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ก็จะ “หายใจรดต้นคอ” ของไทยต่อไป

            แม้เศรษฐกิจไทยจะเติบโตไม่มาก  แต่ตลาดที่อยู่อาศัยหลังยุคโควิด-19 ก็ฟื้นแล้ว โดยไม่ได้พึ่งการขายบ้านหรือขายที่ดินให้ต่างชาติ  จากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย (area.co.th) พบว่าในปี 2565 จำนวนหน่วยที่อยู่อาศัยเปิดใหม่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแตะระดับเดียวกับปี 2562 (ก่อนโควิด-19) ที่ 115,000 หน่วยต่อปี ทั้งนี้ในปี 2563 การเปิดตัวโครงการใหม่ลดลงเหลือ 73,000 หน่วยและในปี 2564 เหลือ 60,000 หน่วยเท่านั้น แสดงว่าตลาดที่อยู่อาศัยกลับสู่ภาวะปกติโดยที่ไม่ได้อาศัยกำลังซื้อของต่างชาติเป็นหลักเลย  และเชื่อว่าในปี 2566 นี้ การเติบโตของตลาดจะเพิ่มขึ้นอีก 8-12%

            สิ่งสำคัญที่ไทยพึงดำเนินการก็คือการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อหนีคู่แข่งด่วน!

 

 

 

ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 486 คน กำลังออนไลน์