user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('สูตรเอกลักษณ์ , สูตรผลบวกและผลต่าง', 'node/49233', '', '3.146.255.113', 0, '19a4c5dd9f7e6e4355219922f6938a54', 166, 1716033251) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

ภาษีอสังหาริมทรัพย์ (ที่แท้) ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม

รูปภาพของ pornchokchai
ภาษีอสังหาริมทรัพย์ (ที่แท้) ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเท่าเทียม
  AREA แถลง ฉบับที่ 776/2565: วันพุธที่ 26 ตุลาคม 2565

 

ผู้แถลง: ดร.โสภณ พรโชคชัย
ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก.เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส sopon@area.co.th https://www.facebook.com/dr.sopon4

 

            หลายคนบอกว่าในประเทศไทยมีความเหลื่อมล้ำกันมากเหลือเกิน ควรสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม แต่หลายคนก็ไม่รู้ว่าเครื่องมือในการสร้างความเท่าเทียมกันก็คือภาษีโดยเฉพาะภาษีอสังหาริมทรัพย์นั่นเอง

 

            ความเท่าเทียมคืออะไร เราก็สามารถนึกถึงสนามฟุตบอลที่หญ้าแทบทุกต้นจะสูงพอๆ กัน ไม่มีต้นไหนจะสูงไปกว่ากันมากนัก โดยเฉพาะไม่มีเหง้าขนาดใหญ่ (เปรียบเสมือนคนรวยมากๆ) ซึ่งเป็นลำต้นที่อยู่ใต้ดินซึ่งมีข้อปล้อง มีตาขนาดใหญ่กว่าหญ้าต้นอื่นๆ  เหง้าพวกนี้โดยมากมักโดนขุดทิ้งเพราะมีขนาดใหญ่และทำให้สนามไม่ราบเรียบ กินปุ๋ย กินน้ำมากกว่าต้นหญ้าทั่วไป

            ด้วยเหตุนี้ในทางปฏิบัติสำหรับสังคมมนุษย์จึงมักมีภาษีมรดก อย่างในประเทศญี่ปุ่นมีการเก็บภาษีมรดกกันอย่างเข้มงวดเช่น

 

            เมื่อเปรียบเทียบกับของไทยต่างกันมหาศาลกล่าวคือผู้ที่จะเสียภาษีมรดกโดยเป็นผู้สืบสันดาน จะเสียก็ต่อเมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์เกินกว่า 100 ล้านบาทตามราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมธนารักษ์ ซึ่งประมาณการว่าราวหนึ่งในสามของราคาตลาด คือต้องมีราคาเกิน 300 ล้านบาทตามราคาตลาดจึงจะเสียภาษี เช่น สมมติเกินมา 50 ล้านบาท  ส่วนที่เกินนี้ก็จะเสียภาษีในกรณีผู้สืบสันดานเพียง 5% หรือเพียง 2.5 ล้านบาทเท่านั้น  แต่ถ้าเป็นในกรณีของญี่ปุ่น ส่วนที่เกิน 156 ล้าน คือ194 ล้าน (350-156) ต้องเสียภาษีถึง 55% หรือ 106.7 ล้านบาท แถมก่อนหน้าถึงช่วงที่ 156 ล้านบาท ยังต้องเสียภาษีตามลำดับ (โปรดดูตารางข้างต้น)  ยิ่งกว่านั้นในกรณีของไทย ถ้าเราค่อยๆ ทะยอยยกให้ลูกขณะมีชีวิต ไม่เกินปีละ 40 ล้านบาท ก็ไม่ต้องเสียภาษีใดๆ  ดังนั้นในกรณีประเทศไทย จึงมีเศรษฐี มหาเศรษฐีอยู่เหนือผู้คนทั่วไปมากมายเพราะ (แทบ) ไม่ต้องเสียภาษี

 

            สำหรับในกรณีประเทศไทย ภาษีกำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์ มีส่วนลดให้ต่างหาก เช่น

            จำนวนปีที่ถือครอง       ค่าใช้จ่ายเหมารวมที่หักได้

                   1 ปี                              92%

                   2 ปี                              84%

                   3 ปี                              77%

                   4 ปี                              71%

                   5 ปี                              65%

                   6 ปี                              60%

                   7 ปี                              55%

                   8 ปีขึ้นไป                       50%

            จะเห็นได้ว่าภาษีจากกำไรจากการขาย ก็อาจอ้างอิงตามราคาประเมินราชการ แล้วแต่จะแจ้ง มีค่าใช้จ่ายหักเหมารวมมากมาย  และอัตราภาษีก็ต่ำ แต่ถ้าเป็นในกรณีประเทศญี่ปุ่น คิดง่ายๆ แค่ว่า

            1. ถ้าถือครองน้อยกว่า 5 ปี ต้องเสียภาษี 39.63%

            2. ถ้าถือครองนานกว่า 5 ปี ต้องเสียภาษี 20.315%

            การนี้แสดงว่าญี่ปุ่นเน้นว่าใครถือครองอสังหาริมทรัพย์สั้นๆ ก็ต้องเสียภาษีสูงเพราะอาจถือว่าเป็นการเก็งกำไร จึงต้องหักภาษีจากกำไรมากๆ เพื่อเป็นการไม่ส่งเสริมการเก็งกำไร ทำให้ผู้ซื้อบ้านตัวจริงเดือดร้อน ต้องซื้อบ้านในราคาแพงขึ้น ส่วนที่ถือครองนานๆ ก็ต้องเสียภาษีอย่างน้อย 20.315% ของกำไร ไม่ใช่จะ “ฟัน” กำไรเข้าตัวเองโดย (แทบ) ไม่เสียภาษีเช่นในกรณีระเทศไทยที่ช่วยพวกมีทรัพย์สินมากมายนั่นเอง

            อย่างไรก็ตามหลายคนพอพูดถึงภาษี ก็จะเบือนหน้าหนี เพราะวันๆ ก็แทบจะหากินลำบาก ยังต้องจ่ายภาษีอีกหรือ ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะเลี่ยงภาษีกันสุดชีวิต และด้วยเหตุนี้นี่เอง ทางราชการก็จัดรายการลดหย่อนภาษีนิดๆ หน่อยๆ ให้กับประชาชนทั่วไป และเมื่อลดหย่อนให้กับประชาชนด้วย ก็อ้าง “ความเท่าเทียม” ลดหย่อนภาษีให้กับคนรวยๆ มหาศาล ทำให้ไม่มีเงินมาพัฒนาประเทศเท่าที่ควร ไหนงบประมาณยังอาจถูกเอาไปโกง หรืออาจถูกเอาไปใช้ในสิ่ง “ไร้สาระ” ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอีก

            อย่างไรก็ตามหากเราจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้ถูกที่ถูกทาง ประโยชน์ที่เราจะได้จะมากกว่าภาษีเสียอีก เช่น เราเห็นคนชอบขี่จักรยานยนต์บนทางเท้าซึ่งไม่ควรทำ เพราะอาจชนชาวบ้านหรือลูกเด็กเล็กแดงที่เดินๆ อยู่ หรือบางทีเราเห็นภาพคนอาบน้ำบนถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ เพื่อประชดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาช่วยเหลือทำถนนให้ใหม่ 

            ภาพเช่นนี้เกิดขึ้นเพราะเราไม่มีภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพียงพอ ถ้าเรามีมากกว่านี้โดยเก็บจากประชาชน เราก็อาจจ้าง “ตำรวจบ้าน” มาคอยเดินลาดตระเวนถี่ๆ ใครบังอาจขับรถขึ้นบนทางเท้า ก็จับปรับทันที คนก็จะไม่กล้าอีกต่อไป ถ้ากฎหมายเข้มแข็ง แถมการเดินลาดตะเวนของ “ตำรวจบ้าน” พวกนี้ก็ช่วยแก้ปัญหาโจรขโมย ทำให้เราไม่สูญเสียทรัพย์สิน หรือกระทั่งสูญเสียชีวิตหากมีอาชญากรรมเกิดขึ้น หรืออย่างกรณีถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ ถ้าแต่ละเทศบาลหรือ อบต. สามารถจัดเก็บภาษีในท้องถิ่นได้เพียงพอ ก็จะทำให้มีงบประมาณในการซ่อมสร้างสิ่งต่างๆ ได้ทันท่วงที ไม่ต้องรอเงินจากส่วนกลางเป็นหลัก นี่แหละภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นคุณอย่างยิ่งต่อประชาชนทั่วไป

            อย่างไรก็ตามภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกลับมีข้อยกเว้นให้คนรวย จนสามารถถือครองที่ดินไว้ได้นานๆ โดยแทบไม่เสียภาษี หรือบางครั้งค่าเดินทางไปเสียภาษียังอาจสูงกว่าภาษีที่เสียไปเสียอีก ยกตัวอย่างเช่น ที่ดินของนายกฯ ประยุทธ์ที่เคยขายไปแล้วจำนวน 50.77 ไร่ หรือ 20,308 ตารางวา มีราคาประเมินราชการอยู่ที่ 369.51 ล้านบาท เจ้าของใหม่นำไปปลูกต้นไม้ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดา ก็ไม่ต้องเสียภาษีเลย แต่ในกรณีบริษัทก็เสียภาษี 0.01%-0.1% แล้วแต่ว่ามูลค่าเท่าไหร่ ในกรณีนี้ หากสมมติตัวเลขกลางๆ ที่ 0.05% ก็เท่ากับเสียภาษีเพียง 184,755 บาทต่อปี และเมื่อก่อนหน้านี้มีลดให้ 90% เหลือเสียภาษีเพียง 18,475.5 บาทเท่านั้น

            กรณีนี้นับว่าเป็นการลดหย่อนภาษีเพื่อช่วยคนรวยๆ โดยตรง แต่ถ้าเป็นในสหรัฐอเมริกาแต่ละคนต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประมาณ 1-3% ของราคาตลาด (ไม่ใช่ราคาประเมินต่ำๆ เช่นในประเทศไทย) ดังนั้นถ้าเรามีที่ดินราคา 369.51 ล้านบาทตามราคาตลาด หรือตามราคาตลาดที่ 800 ล้านบาท และเสียภาษี 1% ปีหนึ่งๆ ต้องเสียภาษีปีละ 8 ล้านบาท ไม่ใช่ 184,755 บาทเช่นในกรณีประเทศไทย

            ถ้าเราเก็บภาษีจากคนรวยๆ มาเจือจานสังคมได้ สังคมก็จะสงบสุข ไม่มีสงครามกลางเมือง  ไม่ต้องมีการปฏิวัติโดยประชาชนเช่นในกรณีประเทศจีนหรือรัสเซียจนพวกรวยๆ ต้องระเห็จไปอยู่ต่างประเทศจนไม่มีอะไรเหลือในที่สุด

 
 
 
 
 
 


ผู้แถลง:
ดร.โสภณ พรโชคชัย (sopon@area.co.th) ประธาน ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส หรือ AREA (www.area.co.th): ซึ่งเป็นองค์กรที่มีฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ภาคสนามขนาดใหญ่ที่สุดและปรับปรุงให้ทันสมัยที่สุดในประเทศไทย และดำเนินการเก็บข้อมูลต่อเนื่องมาตั้งแต่ พ.ศ.2537 เป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความเป็นกลางทางวิชาการ และเป็นอิสระทางวิชาชีพ โดยไม่ถูกครอบงำโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใด ๆ สมาชิกของศูนย์ข้อมูลฯ ได้รับข้อมูลที่เป็น First-hand information ในเวลาเดียวกัน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 294 คน กำลังออนไลน์