user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ คุณครูเดือนฉาย หนูแสนดี ง31101 วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ม. 4 ภาคเรียนที่ 1/2554', 'node/100081', '', '52.14.174.133', 0, 'a3d8101f6e1fd828166a47908dc45ecc', 537, 1716024463) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

สนามหลวง-ราษฎร: รวมภาพตลาดนัดสนามหลวง

รูปภาพของ pornchokchai

            สนามหลวงหรือทุ่งพระเมรุ เป็นสถานที่เผาศพของเจ้านายชั้นสูง แต่ขณะเดียวกันก็เคยเป็นที่เผาศพของสามัญชนเช่นกัน มาดูหลักฐานทางประวัติศาสตร์

            ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส (www.area.co.th) ในฐานะนักวิชาการด้านการพัฒนาเมือง กล่าวถึงผลการศึกษาของ “สสิทรา ณ ป้อมเพ็ชร์” เรื่อง “แนวคิดเรื่องเมรุของสามัญชนกลางท้องสนามหลวง” ของภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2558 <1>

            ในผลการศึกษากล่าวว่า “ท้องสนามหลวงสำหรับปลงศพผู้เสียชีวิตที่เป็นสามัญชนจำนวน 2 หลัง คือเมรุสำหรับปลงศพทหารฝ่ายรัฐบาลที่เสียชีวิตในเหตุการณ์กบฏบวรเดช ปี พ.ศ. 2476 กับเมรุสำหรับปลงศพนักศึกษาและประชาชนที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516. . .งานสถาปัตยกรรมเมรุสามัญชนทั้งสองหลังนี้มีลักษณะบางอย่างร่วมกันคือ เป็นเมรุที่สร้างโดยรัฐบาลสำหรับปลงศพสามัญชนที่เสียชีวิตจากเหตุรุนแรงทาการเมืองบนท้องสนามหลวงฝั่งทิศเหนือ เมรุทั้งสองหลังต่างเป็นสิ่งสะท้อนถึงแนวคิดทางค้นศิลปะ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่ภาครัฐในแต่ละสมัยต้องการนำเสนอให้ประชาชนรับรู้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ต่างกัน ซึ่งสะท้อนถึงแนวคิดค้นต่างๆ ที่ต่างกัน”

            “เมรุกบฎบวรเดช พ.ศ. 2476 สร้างโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เพื่อนำเสนอแนวคิดค้นการเมือง สังคมและวัฒนธรรมแบบสมัยใหม่ที่รัฐบาลกลุ่มคณะราษฎรสถาปนาขึ้น เพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับฝ่ายของตนและลดความชอบธรรมของฝ่ายระบอบเก่าลง ส่วนเมรุ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 สร้างโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ เพื่อนำเสนอแนวคิดค้นการเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่อยู่ภายใต้แนวคิดเรื่องความเป็นไทย อันผูกพันกับสถาบันกษัตริย์และวัฒนธรรมราชสำนัก เพื่อส่งเสริมความมั่นคงให้กับสถาบันกษัตริย์และรัฐบาลนั่นเอง”

            ศาสตราจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ และนายสุชาติ สวัสดิ์ศรีได้ให้คำอธิบายเกี่ยวกับสนามหลวงไว้อย่างละเอียด <2> โดยกล่าวว่า “คำว่า ‘สนามหลวง’ มีนัยทางภาษา 2 อย่างคือ สนาม ‘หลวง’ ที่แปลว่าสนามใหญ่ หรือสนามกว้าง อีกนัยหนึ่งคือ สนามที่เป็นของ ‘หลวง’ (royal) เมื่อพิจารณาความหมายของพื้นที่สนามหลวงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าสนามหลวงไม่ใช่พื้นที่ที่ประชาชนพลเมืองเข้ามาใช้ได้อย่างเท่าเทียม เราจึงไม่อาจเรียกสนามหลวงว่าเป็นพื้นที่สาธารณะได้. . .เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตย แนวคิดว่าด้วยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคแสดงออกมาในทุกปริมณฑลสาธารณะ รวมไปถึงสนามหลวงด้วยเช่นกัน”

            สนามหลวงเคยเป็นตลาดนัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย “ตลาดนัดสนามหลวงเปิดครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2491 ขณะที่จอมพล ป. พิบูลสงครามยังให้เปิดตลาดนัดขึ้นแทบทุกจังหวัด ปีต่อมาทางการต้องใช้พื้นที่สนามหลวงจึงย้ายตลาดนัดไปอยู่ในพระราชอุทยานสราญรมย์. . .พ.ศ. 2500 จึงย้ายออกจากพระราชอุทยานสราญรมย์มาด้านนอก ด้านถนนราชินี บริเวณคลองหลอด แต่ปรากฏว่าได้ปลูกเพิงสร้างแคร่จนเป็นภาพไม่งดงาม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี จึงให้ย้ายตลาดนัดนี้กลับไปยังสยามหลวงตามเดิมใน พ.ศ. 2501. . .จนกระทั่งกรุงเทพมหานครได้เตรียมใช้พื้นที่สนามหลวงจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี จึงได้ปิดตลาดนัดสนามหลวงตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2525” <3>

            ประวัติศาสตร์ไทยน่าศึกษา แม้แต่ สนามหลวง ที่เราเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน

ความจริงเกี่ยวกับสนามหลวง
https://www.facebook.com/dr.sopon4/posts/3180576805388217
รูปภาพต่อไปนี้มาจาก
https://www.dek-d.com/board/view/2766660/

อ้างอิง

<1> สสิทรา ณ ป้อมเพ็ชร์. แนวคิดเรื่องเมรุของสามัญชนกลางท้องสนามหลวง. ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2558. https://bit.ly/32SofYs

<2> Wajana Wanlayangkoon. สนามหลวง-สนามราษฎร : พื้นที่ต่อสู้ทางอุดมการณ์และความทรงจำร่วมของประชาชน. Thai Politics. 18 กันยายน 2563

<3> “ตลาดนัด” มาจากไหน? ย้อนรอยตลาดนัดในกรุงเทพฯ ถึงตำนานตลาดนัดสนามหลวง. ศิลปวัฒนธรรม. 21 สิงหาคม 2563. https://www.silpa-mag.com/history/article_48458

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 339 คน กำลังออนไลน์