เผยแพร่ วฐ เชี่ยวชาญ1มิถุนายน2562ของทิวา นันท์ตา

วฐ.2/1

การรายงานผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

ของพนักงานครูเทศบาลเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะเชี่ยวชาญ

วิทยฐานะที่ขอเลื่อน เชี่ยวชาญ

1.  ข้อมูลผู้ขอรับการประเมิน

ชื่อ-นามสกุล  นางทิวา     นันท์ตา   อายุ    43     ปีอายุราชการ     20    ปี   4  เดือน 

คุณวุฒิสูงสุด   ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต  วิชาเอก ภาษาอังกฤษจากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร

                         จังหวัด  พิษณุโลก

ตำแหน่ง           ครู  อันดับ คศ. 3   ตำแหน่งเลขที่  13684-2

สถานศึกษา      โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)  สังกัดกองการศึกษา  เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ 

                          จังหวัดเพชรบูรณ์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย

                           รับเงินเดือนอันดับ  คศ.3    ขั้น  37,200      บาท

2.  การปฏิบัติงานในปีที่ขอรับการประเมิน

                    สายงานการสอน

                    2.1  ปฏิบัติการสอนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการฝ่ายวิชาการพร้อมประสานงานกับคณะครูในกลุ่มสาระ                ในการพัฒนางานการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพเสมอ สังเกตได้จากระดับคะแนนโอเน็ตภาษาอังกฤษมีระดับสูงขึ้นทุกปี  และนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศการแข่งขันภาษาอังกฤษเสมอมา พร้อมทั้งทำหน้าที่เป็นครูผู้สอน     ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ4รับผิดชอบกิจกรรม ดังนี้

                          2.1.1  กิจกรรมเตรียมความพร้อมความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเปิดเทอมก่อนการเรียนรู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นประจำทุกปี  ส่งผลให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนภาษาอังกฤษและมีเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับดี ถึง ดีมาก

                          2.1.2  กิจกรรมสอนเสริมนักเรียนเพื่อเตรียมสอบ GAT &  PAT ในวิชาภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ในช่วงวันหยุด หรือนอกเวลาเรียนส่งผลให้นักเรียนมีผลคะแนนระดับดี  จนสามารถจัดลำดับคะแนนเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยทั้งคณะแพทย์ศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสื่อสารสัมพันธ์ระหว่างประเทศ พร้อมทั้งนักเรียนยังไปสร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนโดยได้รับรางวัลเป็นนิสิตดีเด่นเอกภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก สร้างความภาคภูมิใจให้กับครอบครัว และคณะครู            เป็นอย่างยิ่ง

                          2.1.3  กิจกรรมสอนเสริมนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศทั้งมัธยมต้นและมัธยมปลาย  สอนเสริมนักเรียนเพื่อเตรียมการแข่งขันทักษะวิชาการภาษาอังกฤษทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาผลการแข่งขันที่ผ่านมาได้รับรางวัลชนะเลิศทั้งระดับจังหวัด ระดับเขตและระดับประเทศได้แก่ละครภาษาอังกฤษโครงงานภาษาอังกฤษ  การเขียนสะกดคำภาษาอังกฤษ     การตอบปัญหาภาษาอังกฤษ การเล่านิทาน และการพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ

                          2.1.4  กิจกรรมฝึกทักษะการพูดและการเขียนให้กับนักเรียนที่เป็นพิธีกรในกิจกรรมทางการศึกษา ตลอดจนการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของผู้เรียน  วันครู วันแม่  พร้อมทั้งแต่งเพลงประสานเสียง         เทิดพระคุณแม่เป็นภาษาอังกฤษและฝึกซ้อมนักเรียน ได้นำไปแสดงทุกปีทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาส่งผลให้นักเรียนมีทักษะในการพูดและการเขียนได้เป็นอย่างดี ทำให้ได้รับการยอมรับและชื่นชมเสมอมา

                          2.1.5  กิจกรรมฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษาฝึกสอนวิชาภาษาอังกฤษ มีหน้าที่เป็นอาจารย์พี่เลี้ยง มีหน้าที่ นิเทศ  เป็นแบบอย่างที่ดี  ให้ความรู้ แนะนำ ในการใช้ทักษะการสอนที่เหมาะสมให้กับนักศึกษา ฝึกให้เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดทำสื่อการสอน การใช้ภาษา  ตลอดจนการวางตัวที่เหมาะสม กับความเป็นครู  มีการประชุมวางแผนการสอนร่วมกับนักศึกษา แบ่งงานและหน้าที่ให้เหมาะกับความสามารถของนักศึกษา และนิเทศติดตามงานอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้นักศึกษามีประสิทธิภาพในการเป็นครูที่ดี  มีทักษะ     ในการสอนที่หลากหลาย มีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ และเป็นผู้มีคุณภาพในการศึกษาอย่างแท้จริง

                          2.1.6  กิจกรรมปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษ(English Camp)  ร่วมกิจกรรม ทำหน้าที่สร้างและเตรียมกิจกรรม ปรับพื้นฐานภาษาอังกฤษ(English Camp) ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการดำเนินโครงการปรากฏว่านักเรียนมีทักษะภาษาอังกฤษดีขึ้นและมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ

                          2.1.7  กิจกรรมวันคริสต์มาส (Christmas Day)  ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าดำเนินกิจกรรม       วันคริสต์มาสให้กับนักเรียนทุกคน ทำหน้าที่สร้าง ออกแบบกิจกรรมพร้อมกับประชุมคณะครูในกลุ่มสาระ      การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ในโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)ให้ทันต่อเหตุการณ์ อาทิ คริสต์มาส วาไรตี้  (Christmas Varieties)คริสต์มาสสู่อาเซียน ปี 2558  (Christmas to Asean) คริสต์มาสถวายความอาลัยในหลวง     รัชกาลที่ 9 (Christmas for respecting the King Rama 9) ปี 2559 และปี 2560 นี้จะเป็นคริสต์มาสสู่ศตวรรษที่ 21ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (Christmas to Century 21st  follows Philosophy of sufficiency economic)ผลการจัดกิจกรรมปรากฏว่านักเรียนได้เรียนรู้วัฒนธรรมชาวต่างชาติ รู้ทันเหตุการณ์ในปัจจุบันสู่การปรับตัว       ที่ดีขึ้นในอนาคตและได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษทั้งทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะภาษาอังกฤษในวันคริสต์มาส ได้แก่ การแสดงละครภาษาอังกฤษ บทบาทสมมติ  การร้องเพลง  การตอบคำถาม การจัดบอร์ด การทำการ์ด การเล่มเกม  การคัดลายมือ และการเขียนเรียงความสอดคล้องตามหัวข้อในสถานการณ์นั้นๆ ดังนั้นนักเรียนจะได้เรียนรู้ตามเหตุการณ์ในปัจจุบันนั้นๆและสามารถนำภาษาไปใช้ได้จริง

                          2.1.8  กิจกรรมพัฒนาความรู้สู่อาเซียน  ได้รับมอบหมายให้เป็นแกนนำในการเข้ารับการอบรม  ครูอาเซียน   ทำหน้าที่วางโครงสร้างการเรียนรู้สู่สังคมอาเซียน  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จัดทำกิจกรรมการเรียนรู้เป็นระดับชั้น พร้อมทั้งสร้างสื่อการเรียนรู้ที่สามารถสืบค้นได้อย่างรวดเร็ว  ทั้งป้ายนิเทศ  แผ่นพับ สมุดเล่มเล็ก โครงงาน ตลอดจนเว็บไซต์เกี่ยวกับอาเซียน ส่งผลให้นักเรียนได้เรียนรู้และปรับตัวเข้ากับอาเซียนได้อย่างเหมาะสม เรียนรู้ วิเคราะห์จุดดี จุดด้อยของแต่ละประเทศเพื่อหาแนวทางพัฒนาและเลือกแนวทางที่เหมาะสมในการใช้ชีวิตสู่อาเซียน โดยเรียนรู้ด้านการดำเนินชีวิต การใช้ภาษา เรียนรู้การเมืองการปกครองของแต่ละประเทศ และวัฒนธรรมที่หลากหลาย เพื่อเตรียมพร้อมสู่การปรับตัวให้อยู่ในชุมชนอาเซียนได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข  จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ได้รับการยอมรับให้สามารถเผยแพร่ผลงานในการจัดทำโครงงาน The Best Country of ASEAN ในระดับโรงเรียน ระดับจังหวัด และ      ระดับภาค  ได้รับรางวัลในการจัดนิทรรศการและการแต่งกายในกิจกรรมวันอาเซียนของโรงเรียน  และได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญเงิน ในการแข่งขันทักษะวิชาการระดับเทศบาลภาคเหนือ

                          2.1.9  กิจกรรมสอนเสริมนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย  ทำหน้าที่เป็นผู้สอนเสริมนักเรียน

ในวิชาภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จากการดำเนินการดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนมีความรู้มากขึ้น สามารถสอบประเมินความรู้ได้ระดับดีมาก รวมทั้งส่งผลให้นักเรียนได้รับโควตาเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงมีการเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นคิดเป็นค่าเฉลี่ย ร้อยละ 100      

                          2.1.10  กิจกรรมส่งน้องหน้ารั้ว  ร่วมทำหน้าที่เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้กับศิษย์เก่าที่มาให้ความรู้และแนวทางในการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย ส่งผลให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีแนวทางเลือก     ศึกษาต่อและเรียนรู้ประสบการณ์ตรงในการอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย

                          2.1.11  กิจกรรมส่งเสริมสุนทรียภาพทางดนตรีไทย ทำหน้าที่ร่วมประสานด้านงบประมาณ       มาจัดสร้างวงดนตรีไทยประจำโรงเรียนและหาครูภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสอนนักเรียน พร้อมทั้งร่วมดูแล            ด้านการแต่งกายในการออกแสดงทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา  ส่งผลให้นักเรียนมีทักษะ                          ในการเล่นดนตรีไทย  ส่งเสริมนักเรียนเข้าประกวดดนตรีไทยจนสามารถได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง อันดับ 1  ในการประกวดทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขตและระดับประเทศ  พร้อมทั้งได้รับการยกย่องและชื่นชมเสมอมา

                    2.2  จำนวนชั่วโมง   21  ชั่วโมง/สัปดาห์  ดังนี้ ภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 10  ชั่วโมง  ภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ชั่วโมง  ชุมนุมภาษาอังกฤษ 1 ชั่วโมง กิจกรรมลูกเสือ  1 ชั่วโมง และกิจกรรมคุณธรรม 1 ชั่วโมง

                    2.3  ปฏิบัติหน้าที่ เป็นครูที่ปรึกษา มาเป็นเวลา 18ปี ปัจจุบัน เป็นครูที่ปรึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4/2

                          2.3.1 หน้าที่ดูแลนักเรียนด้านการเรียนและการปฏิบัติตนของนักเรียนให้มีคุณลักษณะ               อันพึงประสงค์และเป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี ปลูกฝังด้านการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี และการปรับตัว     ให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ได้แก่

                                1)  ปฐมนิเทศนักเรียนเรื่องความรับผิดชอบในด้านการเรียน ความประพฤติ ระเบียบวินัยและข้อบังคับต่างๆ ของโรงเรียน 

                                                2)  จัดทำ เก็บรวบรวมประวัติ ข้อมูลการเรียน และพฤติกรรมของนักเรียน ที่อยู่ใน         ความรับผิดชอบ

                                                3)  ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียน การคำนวณหาค่าระดับคะแนนเฉลี่ยแก่นักเรียน                ที่อยู่ในความรับผิดชอบ

                                                4)  แนะนำหาทางป้องกัน และติดตามนักเรียนที่ขาดเรียน

                                                5)  ติดต่อประสานงานกับผู้ปกครองพร้อมทั้งรายงานการเรียนและพฤติกรรมของนักเรียน ที่อยู่ในความรับผิดชอบให้ผู้ปกครองทราบ

                                                6)  ให้คำปรึกษา ตักเตือน ดูแล แก้ไขและปรับปรุงความประพฤติของนักเรียน นักศึกษาที่อยู่ในความรับผิดชอบ

                                                7)  ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย เช่นนำนักเรียนเข้ารับการอบรม นำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา กิจกรรมของชุมชน และประเพณีต่างๆ

                        2.3.2  งานของอาจารย์ที่ปรึกษารับผิดชอบกิจกรรม มีดังนี้

                                1)  กิจกรรมโฮมรูม  ทำหน้าที่อบรมคุณธรรม จริยธรรมให้กับนักเรียน ดูแลด้านการแต่งกาย การมาเรียน การเข้าเรียน ความรับผิดชอบต่อห้องเรียน ผลการเรียน และมารยาทในการเป็นคนไทยที่ดี ส่งผลให้นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สร้างชื่อเสียงให้กับห้องเรียนทั้งด้านวิชาการ ด้านความประพฤติ และ           มีจิตอาสา ส่งผลให้ได้รับรางวัลจากการประกวดกิจกรรมของโรงเรียนอาทิ รางวัลชนะเลิศดาวเดือน

ประจำโรงเรียน ที่มีการแข่งขันทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ไปพร้อมๆกัน แสดงให้เห็นว่านักเรียนที่อยู่ในการดูแล ของอาจารย์ที่ปรึกษาสามารถสร้างนักเรียนให้เป็นผู้มี IQ และ EQ  ที่ดี ทำให้นักเรียนในปกครองเป็นคนดี       ของสังคมและเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติต่อไป

            2)  พบนักเรียน วันละ 1 ครั้งเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดูแลนักเรียน ขณะร่วมกิจกรรม     หน้าเสาธง

                        3)  ศึกษาระเบียบ กฎ ข้อบังคับต่างๆ ของสถานศึกษาอย่างละเอียด เพื่อให้คำแนะนำตักเตือน          แก่นักเรียน ที่ประพฤติไม่เหมาะสมหรือประพฤติผิดระเบียบต่างๆ เป็นการป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้น

                        4)  ติดต่อกับผู้ปกครองอย่างใกล้ชิดและรายงานความประพฤติ สุขภาพ และอื่นๆให้ผู้ปกครองทราบเป็นประจำ

                        5)  มีแผนการเรียน ตารางเรียน ห้องเรียน สถานที่ฝึกปฏิบัติ  พร้อมชื่ออาจารย์ผู้สอนของนักเรียน   ทุกคน ปฏิทินของสถานศึกษา คู่มือนักเรียน

                        6)  ส่งเสริมความดี ความสามารถและคุณธรรมของนักเรียน โดยการให้ข้อคิดเห็น อบรมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติเป็นนิสัย ทั้งด้านการแสดงมุทิตาจิต เกี่ยวกับการอวยพรวันเกิด      การชื่นชมและยกย่องผู้ทำความดีหรือสร้างชื่อเสียง แสดงความห่วงใยเมื่อมีนักเรียนหรือญาติป่วย ร่วมช่วยเหลือและแสดงความสียใจกับเหตุการณ์ที่ต้องมีการสูญเสีย เช่นการตาย บ้านน้ำท่วม บ้านไฟไหม้ โดยคณะครูและนักเรียนในห้องจะร่วมกันช่วยเหลือทั้งด้านการเงินและปัจจัย 4 อย่างร่วมแรงร่วมใจกัน

                        7)   ติดตามนักเรียนนักที่ขาดเรียนทันที

                        8)  ไปเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อพบผู้ปกครองอย่างน้อยปีละ 2  ครั้ง

                        9)  ให้ความเห็นในการออกหนังสือรับรองความประพฤติ ประวัติดีเด่น ความสามารถพิเศษ

                        10) ปรึกษาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยกันแก้ไขเมื่อมีปัญหา หรือหาทางป้องกันก่อนเกิดปัญหา

                        11) จัดทำแฟ้มประวัตินักเรียนในความรับผิดชอบทุกคนและ เป็นที่ปรึกษาในการจัดทำ Portfolio ของนักเรียน

                        2.3.3  จรรยาบรรณของอาจารย์ที่ปรึกษา

                        1)  ต้องคำนึงถึงสวัสดิภาพ ขวัญและกำลังใจของนักเรียนอยู่เสมอ ไม่กระทำการใดที่จะก่อให้เกิด ผลเสียหายแก่นักเรียน โดยไม่เป็นธรรม

                        2)  ต้องรักษาความลับของนักเรียน

                        3)  ต้องมีความจริงใจและช่วยเหลือนักเรียนที่รับผิดชอบ เหมือนลูกหลานของตน

                        4 ) การให้คำปรึกษา ควรให้ความเป็นกลางไม่วิจารณ์บุคคลหรือสถาบันใดให้นักเรียนฟัง        ในทางก่อให้เกิดความเสื่อมเสีย   หรือแตกร้าวแก่บุคคลหรือสถาบัน

                        5)  ต้องประพฤติปฏิบัติให้สมกับความเป็นปูชนียบุคคล ยึดมั่นในคุณธรรม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี แก่นักเรียน

                                จากการรู้หน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ของอาจารย์ที่ปรึกษา โดยยึดจรรยาบรรณของอาจารย์          ที่ปรึกษาเป็นสำคัญ ส่งผลให้ได้รับความไว้วางใจจากนักเรียนและผู้ปกครอง ในการดูแลนักเรียนอย่างเหมาะสม ทำให้นักเรียนมีความประพฤติดี นักเรียนที่เหลวไหลก็ปรับพฤติกรรมดีขึ้น ไม่ผิดวินัยและกฎระเบียบ              ของโรงเรียน ทำให้นักเรียนมีความรัก เทิดทูน ในตัวอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ปกครองก็มีความสุขในการส่งลูกมาเรียนในโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

2.4  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่รับผิดชอบ

2.4.1  คุณธรรม จริยธรรม

    1)  อบรมคุณธรรมนักเรียน ในกิจกรรมหน้าเสาธงภาคเช้า              

    2)  สอนนักเรียนประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน ด้านกาย วาจา และใจ การแต่งกาย

ความรับผิดชอบหน้าที่  การพูดที่ดี การแสดงความเคารพผู้อาวุโส และการประพฤติตนเป็นพี่ที่ดีของเพื่อนครู

                                3) อบรมคุณธรรมนักเรียนในชั่วโมงคุณธรรม ทำหน้าที่นำนักเรียนเข้าสวดมนต์และอบรมด้านการรู้จักหน้าที่ การทำความดี การแสดงความกตัญญู กตเวที และการอยู่ร่วมกันในสังคมให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนมีจิตสำนึก และมุ่งมั่นการทำตนให้มีคุณค่า ทำให้พ่อแม่มีความสุข และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติต่อไป

                                4)  ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าดำเนินการอบรมพุทธธรรมสัญจร จากองค์กรยุวธรรมิกชนแห่งประเทศไทย โดยจัดการอบรมให้กับนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) แบ่งออกเป็น 2 รุ่น ได้แก่       รุ่นแรกนักเรียนมัธยมปลาย  และรุ่นสอง นักเรียนมัธยมต้น ทำหน้าที่วางแผน ประสานงาน และเป็นผู้ช่วยวิทยากร พระอาจารย์ธงชัยเฉลิมพล นววัชรวรวงศ์ นายกองค์กรยุวธรรมิกชนแห่งประเทศไทย  จากการจัดอบรมส่งผลให้นักเรียนมีทักษะในการดำเนินชีวิตที่ดี และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ดีขึ้น คิดเป็นร้อยละ 100

                                5)  ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าดำเนินการบรรพชาสามเณร จำนวน 101 รูป                ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา  ณ วัดไทรงาม นำโดย     พระอาจารย์ธงชัยเฉลิมพลและท่านพระครูศีลกุล เจ้าอาวาสวัดไทรงาม จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยจัดกิจกรรม         เป็นเวลา 9 วัน ส่งผลให้นักเรียนที่บวชเณรได้เรียนรู้ธรรมะและสืบสานพระธรรมไปสู่บิดา มารดา ครู-อาจารย์    มีความรัก ศรัทธา ในองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และปฏิบัติตามหลักคำสอนอย่างถูกต้องและมีความสุข             ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง

                                6)  ร่วมอนุรักษ์และส่งเสริมความเป็นไทยโดยการแต่งชุดไทยในวันสำคัญทางศาสนา         วันพ่อแห่งชาติ วันแม่แห่งชาติ วันภาษาไทย และทุกวันพฤหัสที่เป็นแบบการแต่งกายของโรงเรียน และส่งเสริมให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาโดยการไปทำบุญที่วัด เวียนเทียน หล่อเทียนเข้าพรรษา แห่เทียน รวมทั้งไปถวายสังฆทานและปล่อยปลาในวันพิเศษต่างๆ

                                7)  จัดกิจกรรมการสอน/ให้ความรู้หน้าเสาธงที่ส่งเสริมค่านิยมไทย ประวัติศาสตร์ชาติไทย หรือความภาคภูมิใจในความเป็นไทย มุ่งเน้นให้นักเรียน รู้-รักษ์ประเทศไทย โดยให้นักเรียนทำกิจกรรม          ตามวันสำคัญที่ปรากฏในปฏิทิน อย่างน้อยต้องให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรักษาไว้ซึ่งความเป็นชาติไทยต่อไป

                                8)  ปลูกฝังให้นักเรียนใช้ชีวิตอย่างพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้นักเรียนพอใจในสิ่งที่มี รู้จักอดออม และใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังอย่างปลอดภัย โดยให้การดูแลนักเรียน      ทั้งในโรงเรียนและที่บ้านด้วยการไปเยี่ยมบ้าน

2.4.2  กิจกรรม ลูกเสือ-เนตรนารี ทำหน้าที่เป็นครูผู้สอนและฝึกนักเรียนให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย ที่ดีเพื่อให้พัฒนาผู้เรียนทั้งทางกาย สติปัญญา จิตใจและศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดี มีความรับผิดชอบ               ช่วยสร้างสรรค์สังคม  มีความเจริญก้าวหน้าความสงบสุขและความมั่นคงของประเทศชาติ จึงต้องปลูกฝังให้มีคุณลักษณะดังนี้

                                1)  มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติตามคำปฏิญาณ กฎและคติพจน์ของลูกเสือ     สามัญรุ่นใหญ่

                                2)  มีทักษะการสังเกต จดจำ การใช้มือ เครื่องมือ การแก้ปัญหาและทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น

                                3)  มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความกล้าหาญอดทน เชื่อมั่นในตนเองมีระเบียบ มีวินัย                  มีความสามัคคี เห็นอกเห็นใจผู้อื่นมีความเสียสละบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณะประโยชน์ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สร้างสรรค์งานฝีมือ สนใจและพัฒนาเรื่องของธรรมชาติ

                              2.4.3   ชุมนุมภาษาอังกฤษ จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการพูด  การสนทนากลุ่ม การอภิปราย     การพูดนำเสนอ การพูดสุนทรพจน์ และการแสดงละคร จนสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ตามบทบาทหรือหน้าที่  ที่ได้รับ เช่นพิธีกร ผู้ประกาศข่าว ตัวละคร

                    2.5  หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ

                                2.5.1  หัวหน้างานประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกเป็นเวลา 15 ปี ทำหน้าที่                เข้ารับการอบรมเรื่องการประกันคุณภาพ ถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กับคณะครูและบุคลากรในโรงเรียนและ        ผู้มาเยี่ยมชมโรงเรียน วางแผนการดำเนินงาน ประชุมแบ่งงานให้คณะครูร่วมจัดทำและจัดทำรายงานประกันคุณภาพ  โดยประสานงานกับผู้บริหารและคณะครูในการทำเอกสารและคณะกรรมการประเมินทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา (รอบที่ 3) ซึ่งผลการดำเนินงานประสบผลสำเร็จ ผ่านการประเมินทั้งภายในและภายนอกเสมอมา  และเป็นคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา                           

                                2.5.2 หัวหน้าแกนนำการจัดทำโรงเรียนพระราชทานโดยรับนโยบายและคำแนะนำ            จากท่านผู้บริหารทั้งระดับเทศบาลและโรงเรียน หลังจากนั้นนำมาวางแผนและประสานงานกับคณะครูและนักเรียนเพื่อจัดทำเอกสารและกิจกรรมรองรับการประเมิน ผลการดำเนินงานปรากฏว่าโรงเรียนเทศบาล 3     (ชาญวิทยา)  ได้รับรางวัลโรงเรียนพระราชทาน  และหลังจากสามปี ได้ดำเนินงานวางแผนการประเมินคุณภาพ และได้รับการรับรองการคงสภาพการเป็นโรงเรียนพระราชทาน อย่างสง่างาม ซึ่งได้รับคำชื่นชมทั้งภายใน และภายนอกสถานศึกษาอย่างภาคภูมิใจ

                                2.5.3 หัวหน้างานดำเนินงานการจัดทำโครงการอบรมคุณธรรมสัญจร ร่วมกับองค์กรยุวธรรมมิกชนแห่งประเทศไทย  โดยจัดทำการอบรมออกเป็น 2 ครั้ง  ครั้งแรกสำหรับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย  250  คน  และครั้งที่สองนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 300 คน  โดยรุ่นแรกทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากร ของพระอาจารย์ธงชัยเฉลิมพล  นววัชรวรวงศ์  รุ่นสองทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการช่วยคณะครูมัธยมศึกษตอนต้น

ในการเตรียมกิจกรรมอบรม  จากการอบรมส่งผลให้นักเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)มีความรู้ และ    ทักษะชีวิตในการประพฤติตนได้อย่างเหมาะสมและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข                     

                                2.5.4  คณะกรรมการวิจัยในชั้นเรียนและโครงงานโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) ทำหน้าที่จัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลความรู้ด้านวิจัยและโครงงานของทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่งเสริมคณะครูจัดทำวิจัยและโครงงานในกิจกรรมการเรียนการสอน ส่งผลงานวิจัยและโครงงานเข้าประกวด จากการดำเนินงานส่งผลให้เกิดการพัฒนาและแก้ไขการศึกษาและพฤติกรรมนักเรียนได้ตรงจุด เป็นผลให้คุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน มีประสิทธิภาพ

                                2.5.5  คณะกรรมการการบริหารพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและส่งเสริมสนับสนุนงานวิชาการ ทำหน้าที่เข้ารับการอบรม และ จัดทำหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย  หลักสูตรท้องถิ่น  และหลักสูตรอาเซียน พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรทุกปีการศึกษา

                                2.5.6 คณะกรรมการการจัดทำแผนกลยุทธ์ แผนพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 3    (ชาญวิทยา)จากการดำเนินการ ส่งผลให้โรงเรียนมีแผนในการปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาอย่างมีมาตรฐาน

                2.5.7  หัวหน้าแกนนำการจัดทำยุทธศาสตร์และประสานงานกับ ครูในการดำเนินงานเครือข่ายโรงเรียนต้นแบบ ผลปรากฏว่าผ่านการประเมินสามารถดำเนินการตามวิสัยทัศน์  โรงเรียนสุนทรียภาพ            ทางดนตรีไทย ซึ่งขณะนี้ดนตรีไทยของโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)เป็นที่ยอมรับ และมีชื่อเสียง                    ทั้งการแข่งขันและการช่วยงานชุมชน

                2.5.8 หัวหน้าการดำเนินโครงการบรรพชาสามเณร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล                      แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ทำหน้าที่ วางแผนการดำเนินงาน         เสนอผู้บริหาร และร่วมประชุมคณะครูและผู้เกี่ยวข้องและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ พร้อมทั้งกับประสานงานกับพระอาจารย์ธงชัยเฉลิมพล นววัชรวรวงศ์และเจ้าอาวาสวัดไทรงาม  ในการเตรียมสถานที่และกิจกรรม          ในกิจกรรมบรรพชาสามเณร  จากการดำเนินกิจกรรมส่งผลให้สามเณรมีความซาบซึ้งในพระธรรมและ     ประพฤติตนเป็นคนดี เป็นที่ชื่นชมของผู้ปกครองและคณะครูทุกคน

                                2.5.9  แกนนำการเตรียมการรองรับการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ปรากฏว่าโรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเพชร

                                2.5.10  เก็บเอกสาร ข้อมูล นำเสนอและเผยแพร่ผลงานของโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)   ทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียง เป็นที่ศรัทธาทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

       2.5.11 ผู้ฝึกการพูดนำเสนอ/พิธีกรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และมารยาทนักเรียน

ในกิจกรรมพิเศษตามโอกาสต่าง ๆ ทำให้นักเรียนมีทักษะและความประพฤติที่เหมาะสม

                                2.5.12 ผู้แสดงด้านการร้องการรำ และนันทนาการ  เพื่อสร้างความครื้นเครง ความสนุกสนานและมิตรภาพที่ดีเสมอมา

                               2.5.13 ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าในการฝึกนักเรียนเห่เรือในงานประเพณีอุ้มพระดำน้ำ  พร้อมทั้งประสานงานคณะครู นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำ ตกแต่งเรือให้สวยงามเพื่อร่วมขบวน            แห่ทางบก ปรากฏว่าได้รับคำชื่นชมอย่างมาก

                              2.5.14  เป็นหัวหน้างานโภชนาการโรงเรียนมีหน้าที่ดูแลประสานงานกับแม่ค้าและวางแผนจัดหางบประมาณมาดูแลสถานที่ในโรงอาหารให้ถูกสุขอนามัยและเพียงพอต่อผู้ใช้บริการจากการดำเนินการ     มาในระยะเวลา 3 ปี ส่งผลให้เป็นที่พึงพอใจของผู้บริหาร คณะครู นักเรียน แม่ค้าและผู้ใช้บริการ อยู่ในระดับ      ดีมาก

                              2.5.15 เป็นคณะกรรมการการจำหน่ายดอกไม้ในงานกาชาดมะขามหวานทำหน้าที่ดำเนินงาน  ขายดอกไม้กับคณะครูในโรงเรียนและประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นจังหวัดในการจำหน่ายดอกไม้        กาชาดมะขามหวาน ผลปรากฏว่าการดำเนินงานสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

                              2.5.16  เป็นผู้ฝึกซ้อมนักกีฬาวอลเลย์บอลไปแข่งขันทั้งในระดับจังหวัดและระดับเขต ปรากฏว่าชนะเลิศอันดับที่ 2 ระดับเขตเทศบาลภาคเหนือ และได้เป็นตัวแทนไปแข่งระดับประเทศที่จังหวัดอุดรราชธานี

                               2.5.17  เป็นวิทยากรพิเศษในการสอนเสริม(ติว)นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เสมอมา  ในการสอนเสริมวิชาภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (GAT และ PAT) และ เตรียมสอบ O-NET ผลปรากฏว่านักเรียนมีคะแนนสอบในวิชาภาษาอังกฤษได้ดีขึ้นเป็นลำดับ

                               2.5.18  เป็นวิทยากรอบรมให้ความรู้เรื่อง การประเมินคุณภาพทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา และการเตรียมรับการประเมินคุณภาพภายนอกของ สมศ. รอบ 4 ให้กับโรงเรียนที่มาศึกษาดูงานที่โรงเรียน และไปบรรยายให้ความรู้ให้กับโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์(วังชมภูวิทยาคม) ตำบลวังชมภูอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์  และเทศบาลตำบลบ่อไทยส่งผลให้ผู้รับฟังสามารถปฏิบัติตามแนวทาง      ที่บรรลุจุดมุ่งหมายได้สำเร็จเป็นอย่างดี

               2.5.19  เป็นวิทยากรให้ความรู้ภาษาอังกฤษทั้งในโรงเรียน ชุมชน และนอกหน่วยงาน

 

3.  รายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่

                    3.1  ผลงานปฏิบัติงาน  ให้รายงาน ดังนี้

                          3.1.1  ผลงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ

                          ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ ดังนี้

                                3.1.1.1  ปฏิบัติหน้าที่หลักเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน

                                    1) ความสามารถด้านการสอน  สามารถทำการสอนได้เป็นอย่างดี โดยใช้หลักการปฏิบัติการสอนเหล่านี้เข้ามาสร้างคุณภาพการสอน อันได้แก่ ใช้หลักจิตวิทยาแห่งการเรียน ใช้หลักการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก ทำบรรยากาศที่เหมาะสมที่จะเกิดการเรียนรู้ วางแผนสำหรับการสอนอย่างถี่ถ้วน ใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม ใช้แบบทดสอบชนิดต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมเพื่อวัดผลการเรียนวิเคราะห์แก้ไขและรู้จักวัดผลโดยทั่วไป และปกครองชั้นเรียนและบริหารงานต่าง ๆ ของชั้นเรียน                       ได้อย่างเรียบร้อยและราบรื่น ทำงานธุรการของโรงเรียนได้ ความสามารถในการสอน พิจารณาจาก

                                      1.1)  การจัดการเรียนรู้  โดยศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร วิเคราะห์มาตรฐาน        การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง กำหนดเนื้อหาสาระ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  นำไปใช้     ในการจัดการทำแผนการจัดการเรียนรู้ ทำแผนการเรียนรู้ ได้ครบองค์ประกอบตามที่สถานศึกษากำหนด และ       การจัดการเรียนรู้ตามแผน  จัดทำแผนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ สามารถลำดับขั้นตอนเนื้อหาสาระ ได้อย่างเป็นระบบ                         ง่ายต่อการถ่ายทอดความรู้ไปสู่นักเรียน พร้อมทั้งจัดทำบันทึกการสอนเพื่อให้ทราบถึงปัญหาทางการเรียน       การสอนและนำการวิจัยในชั้นเรียนและโครงงานมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของนักเรียน หรือกิจกรรมการเรียนการสอนของครู เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

                          การจัดการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญแบบ active learning โดยจัดสาระกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจความถนัดของเด็ก   ฝึกกระบวนการคิด การปฏิบัติ ให้ผู้เรียนได้คิด ฝึกปฏิบัติเรียนรู้                   จากประสบการณ์จริง จัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน จัดการเรียนรู้ให้เกิดทุกที่ ทุกเวลา  และผู้เรียนได้พัฒนาตนเองจากสื่อเทคโนโลยีจนเต็มขีดความสามารถ มุ่งจัดกิจกรรมหรือวิธีการสอนที่หลากหลายและสอดคล้องกับ        การดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน  โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วม และ                  ลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอนจนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยได้นำเอาวิธีสอนที่หลากหลายมาใช้ในกิจกรรม    การเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ active learning สู่ศตวรรษที่ 21       เพื่อสร้างความมั่นคง  มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้านการศึกษา ในรูปแบบการพัฒนาประเทศไทย  4.0  ตามหลักปรัชญา      ของเศรษฐกิจพอเพียงดังนี้  เกม (Educational Games) ใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) เผชิญสถานการณ์ บทบาทสมมุติ (Role-Play)    ศูนย์การเรียน (Learning Center)  การใช้ Internet ช่วยสอน กิจกรรมส่งเสริมภาษาอังกฤษ  โครงงาน (Project  Learning) ถาม-ตอบ (Question-Answer) อภิปรายกลุ่มย่อย (Small Group Discussion) แก้ปัญหา (Problem-Solving) สืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation) กลุ่มสัมพันธ์ (Group Process) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ความคิดรวบยอด (Concept Attainment) ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Self Directed Learning) การทัศนศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การละคร (Dramatization) การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom research learning)การบูรณาการ (Integrate Learning)  การสาธิต (Demonstrations)    ภาระงาน (Task bases learning) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (CIRC) โมเดล ซิปปา (CIPPA MODEL) และการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

                          1.2)  การดำเนินการแก้ปัญหาในชั้นเรียน  ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา 18 ปีได้ปฏิบัติงาน        ธุรการชั้นเรียน  และปีปัจจุบันเป็นครูที่ปรึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหา           ในชั้นเรียน โดยปฏิบัติหน้าที่ดังนี้  1) ให้ความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร แผนการเรียน ระบบ                  การจัดการศึกษาและการประเมินผลระดับต่างๆ  ที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ตลอดจนระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน   2) อธิบายและชี้แจงให้นักเรียนทราบและเข้าใจตั้งแต่ต้นปีว่า   วิชาที่นักเรียนจะต้องเรียนมีอะไรบ้าง แต่ละวิชาที่จะต้องเรียนในปีการศึกษานั้นๆ  มีประโยชน์แก่นักเรียนอย่างไร ทั้งในคณะที่จะเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย  3)  รวบรวมรายระเอียดเกี่ยวกับนักเรียน ในกลุ่มที่รับผิดชอบไว้เพื่อประโยชน์ในการให้คำปรึกษา  หรือช่วยให้นักเรียน เกิดความรู้สึกสบายใจ ไม่ว้าเหว่  มีผู้เป็นที่พึ่ง เข้าใจตนเองและ           เข้าใจปัญหาของตนดีขึ้น รู้จักคิดแก้ปัญหาของตนได้   มีความรอบครอบใคร่ครวญดีขึ้น  มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น  4) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแผนการเรียน และ ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการสอน หรือการเพิ่มรายวิชาเรียน 5) ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาการเรียน แนะนำเกี่ยวกับการเรียน การสอน วิธีเรียนการเตรีมสอบ  6) ดูแลให้คำแนะนำด้านความประพฤติ  7) ให้คำแนะนำและดูแลเกี่ยวกับการมาเรียน การปรับตัว ตลอดจน ปัญหาทุกข์สุขของนักเรียนในชั้น 8) ติดตามดูแลผลการเรียนของนักเรียน อย่างสม่ำเสมอ 9) พบนักเรียน           ในกิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมรักการอ่าน และในคาบเรียนอย่างสม่ำเสมอ จัดหาเวลาเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ    การเรียนและปัญหาส่วนตัวเป็นรายบุคคล  10) ติดต่อผู้ปกครอง/ประชุมผู้ปกครองเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน รวมทั้งรายงานความประพฤติ  ผลการเรียน และปัญหาของนักเรียน ให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ไขเท่าที่จะกระทำได้  11) ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายแนะแนวฯ ฝ่ายปกครอง และครูประจำรายวิชา ในกรณีที่นักเรียนมีปัญหา

                          จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้มีความรู้ เป็นคนดี และอยู่ร่วมกัน               ในสังคมอย่างมีความสุข

                          1.3) การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมโดยผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่  การกำหนดเป้าหมาย วางแผนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความถนัด ความสามารถของตนเอง การรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ ของตนเองตลอดจนหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย   การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น            การประเมินและปรับปรุงตนเอง

                                1.4) การใช้หรือสร้างเครือข่ายทางวิชาการ จากการได้ร่วมทำงาน ประชุม อบรมสัมมนา      กับผู้บริหาร คณะครูในโรงเรียน คณะครูในกลุ่มสาระวิชาภาษาอังกฤษ ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน            ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เป็นอย่างดียิ่ง ถือว่าเป็นการสร้างเครือข่ายในการงานวิชาการได้อย่างชัดเจน   ทั้งด้านการบริหารการศึกษา การพัฒนางานวิชาการ การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน และที่สำคัญ              คือการสร้างเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข

                                  ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนครูเครือข่ายโรงเรียนเครือข่ายสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยใช้วิจัยเป็นฐาน ทำหน้าที่ไปประชุมสัมมนาและเผยแพร่วิจัยในชั้นเรียน ครูเครือข่ายครุสภาอาเซียนทำหน้าที่ประชุมสัมมนาทางวิชาการกับคณะครูอาเซียนเพื่อพัฒนาการศึกษาภาษาอังกฤษที่ยั่งยืน  รวมทั้งจัดทำโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนต้นแบบ ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “โรงเรียนสุนทรียภาพทางดนตรีไทย” และโรงเรียนเครือข่าย      ด้านเทคโนโลยีคือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลไปยังเทศบาลเครือข่ายทั่วประเทศ   พร้อมทั้งสร้างนักสื่อสารมวลชนตัวจิ๋ว และมัคคุเทศก์น้อยในโรงเรียนเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

                                1.5)  ดำเนินการแก้ปัญหาหรือวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างเป็นระบบ  โดยคอยสอดส่องดูแล นักเรียนอยู่เสมอ  หากเจอปัญหาก็จะแก้ไขหลากหลายวิธี  บางครั้งก็ต้องแก้ไขโดยการวิจัยในชั้นเรียน            อย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดทำโครงการวิจัยในชั้นเรียน มีหน้าที่ดูแลกิจกรรม       การเข้ารับการอบรมวิจัยในชั้นเรียน  การจัดทำวิจัยเพื่อแก้ไขและพัฒนาการเรียนการสอน  การส่งวิจัยเข้าประกวด และการประเมินผลการดำเนินงานโครงการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน และข้าพเจ้าได้จัดทำวิจัยในชั้นเรียน    ในวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาและแก้ไขกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย ทำให้นักเรียนผ่านเกณฑ์  การประเมินทุกคน  จากการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนดังกล่าวทำให้ ข้าพเจ้าได้รับเชิญให้ไปเผยแพร่ผลงาน             วิจัยในชั้นเรียนทั้งในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน พร้อมทั้งได้รับรางวัลวิจัยในชั้นเรียนชนะเลิศระดับยอดเยี่ยม

                                1.6)  วัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและนำผลไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน โดยปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (และแก้ไขเพิ่มเติม 2545และ2553)           โดยให้ความสำคัญว่า การศึกษามีความสำคัญสูงสุดและมีบทบาทต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ  ครอบคลุม ทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์  จิตสาธารณะ เป็นการประเมินผลที่สอดคล้อง    กับสภาพจริง เช่น การประเมินจากการปฏิบัติทักษะวิชาภาษาอังกฤษ ทดสอบ ประเมินกระบวนการและผลงาน ประเมินด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ประเมินทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนโดยข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

                                  1.6.1)  ศึกษาเทคนิควิธีการวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้และวิธีการสร้างเครื่องมือ

วัดผลการประเมิน  ผลการเรียนรู้แบบ Rubric เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ

                  1.6.2)  สร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์

การเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ เช่น  แบบทดสอบ  แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินกิจกรรม คุณภาพผลงานและการปฏิบัติ    

                                  1.6.3) การใช้เครื่องมือวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้ ข้าพเจ้าได้ดำเนินการดังนี้

                                                 - การวัดผลประเมินผลก่อนเรียน ได้ดำเนินการตรวจสอบความพร้อม ความรู้พื้นฐานของนักเรียนและทักษะเบื้องต้นก่อนที่จะเรียนวิธีวัดได้แก่ การสนทนาซักถาม เขียนตามคำบอก            การทดสอบ   การสัมภาษณ์       

                                                 - การวัดผลประเมินระหว่างเรียน    ได้ดำเนินการวัดเพื่อตรวจสอบว่านักเรียน        มีความสามารถในการเรียนรู้ในทักษะวิชาภาษาอังกฤษ มีความสนุกสนานกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพียงใด  วิธีการที่นำมาใช้ในการวัดผลประเมินผลระหว่างเรียนได้แก่  การสังเกต  การสัมภาษณ์  การลงมือปฏิบัติ         การซักถามและทดสอบ

                                                 -การวัดผลประเมินผลหลังเรียน เป็นการวัดผลประเมินผลโดยการทดสอบ         ด้วยแบบทดสอบ  การปฏิบัติ  การซักถาม สังเกตพฤติกรรม ตรวจผลงาน  ชิ้นงาน เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุผลตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่  

                          1.7)  นำผลการวัดผลประเมินผล มาวิเคราะห์และนำปัญหาที่ได้จากการวัดผลประเมินผล  นำไปพัฒนานักเรียนที่ไม่บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังต่อไปในการประเมินผลผู้เรียน ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม                 ในการกำหนดรายการประเมินวิธีการประเมิน  และเกณฑ์การประเมินด้วย  ทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและ             ให้ความสำคัญ  ร่วมมือจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเต็มใจ ทำให้ผู้เรียนทราบจุดบกพร่องของตนเอง      และพัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้องตามคุณลักษณะที่ต้องการเน้นแต่ละเรื่อง ทำให้การประเมินผลมีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง

                          1.8) รายงานผลต่อผู้เรียน  ผู้ปกครอง และผู้บริหารอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอการรายงานผล           การเรียนรู้   มีการรายงานผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง  และผู้บริหารทราบทุกครั้ง หลังจากที่มีการวัดผลประเมินผล   ผู้เรียนคนใดไม่ผ่านการประเมินจะได้รับการสอนซ่อมเสริม ฝึกปฏิบัติจนผ่านเกณฑ์การประเมิน  จากการรายงานผลที่ผ่านมา  ส่งผลให้ผู้ปกครองได้รับรู้จุดดีและจุดด้อยในการศึกษาของนักเรียนและได้ร่วมแก้ไขและพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนพฤติกรรมของนักเรียน ส่งผลให้ผ่านการประเมินทั้งด้านพุทธพิสัย ทักษะพิสัยและจิตพิสัยทุกคน   

2)  การเตรียมการสอนปฏิบัติหน้าที่หลักเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน โดยทำ  PLC

กับคณะครูและร่วมออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบ active learning  ดังนี้  (1) เตรียมการสอนโดยการศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร กำหนดเนื้อหาสาระ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง จุดประสงค์การเรียนรู้ปลายทางและนำทาง  ศึกษาหลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ จิตวิทยา กระบวนการวัดและประเมินผล พัฒนาเทคนิคการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ  จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียน          เป็นสำคัญ โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ที่หลากหลาย  เตรียมสื่อประกอบ  การจัดการเรียนรู้  เตรียมเครื่องมือวัดและประเมินผล  มีการวัดและประเมินผลครอบคลุมทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ กระบวนการ และ                  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้เครื่องมือวัดและประเมินผล        ที่ชัดเจน เช่น  แบบประเมินโครงงาน แบบประเมินชิ้นงาน แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบทดสอบ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเรียนรู้ แบบประเมินทักษะการสื่อสาร  (2) ทำหน้าที่ธุรการ เช่นทำบัญชีเรียกชื่อและ สมุดประจำชั้น  (3) ทำหน้าที่แนะแนวความรู้ การดำเนินชีวิตและการช่วยเหลือและแก้ปัญหาให้กับนักเรียน (4) ทำหน้าที่ในการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากการไปอบรมและสื่อต่างๆ  (5) ทำหน้าที่ดูแลอาคารสถานที่            ทั้งภายในห้องเรียนและบริเวณโรงเรียนเพื่อความปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้  และสุดท้ายคือ (6) ทำหน้าที่เข้าใจนักเรียนว่านักเรียนทุกคนมีทั้งข้อดีและข้อเสียแต่ให้เลือกมองเฉพาะในส่วนที่ดี  นักเรียนมีความสามารถ  ในการเรียนรู้ที่ต่างกันซึ่งสามารถพัฒนาการเรียนรู้ได้ตามศักยภาพและที่สำคัญยิ่งคือนักเรียนทุกคน            ต้องการเป็นคนดี   ดังนั้นหน้าที่หลักของครูคือทำหน้าที่สอนและอบรมนักเรียนให้มีความรู้ เป็นคนดี และ           มีความสุขอย่างแท้จริง

                                3)  ความตั้งใจและนำเทคนิคใหม่ๆมาใช้  ความตั้งใจและนำเทคนิคใหม่ ๆ มาใช้                   ในการส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียน ได้แก่การสร้างแรงจูงใจในการเรียน จัดสิ่งแวดล้อม ห้องเรียนและ   ใช้วิธีการสอนหลายแบบ ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะและเกิดการเรียนรู้เต็มศักยภาพ

                                การสร้างแรงจูงใจในการเรียนโดยทำให้นักเรียนรู้สึกว่าตนเป็นที่รักของครูและเพื่อน           ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  สร้างวิธีการจัดประสบการณ์เรียนรู้และบรรยากาศในการเรียนสนุก         เรียนแบบบูรณาการ  มีวิธีนำสู่บทเรียน ใช้กิจกรรมหลากหลาย  สร้างความรู้สึกอยากเรียนอยากรู้ว่า                      มีอะไรต่อไป  สิ่งที่เรียนรู้จะเอาไปใช้ในชีวิตจริงอย่างไร  นำปัญหาหรือเหตุการณ์ในชีวิตจริงที่เกี่ยวข้อง           กับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ไปสู่การเรียน  ใช้อารมณ์ขันโดยนำ เรื่องตลกที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ข้อคิดประทับใจ  ลดความเครียดในการเรียนที่ไม่จำเป็น   ที่สำคัญที่สุดคือนักเรียนสามารถเรียนเข้าใจหรือรู้เรื่อง

                                จัดสิ่งแวดล้อมและห้องเรียน เปลี่ยนบรรยากาศให้เหมาะสม  จัดตำแหน่งนักเรียน                 จัดที่นั่งใหม่  แบบวงกลม  วงกลมซ้อนกัน  กลุ่มย่อยหลายกลุ่ม  ไม่มีกลุ่ม  เรียนนอกห้องเรียน  ใต้ต้นไม้ สวนหย่อม  ห้องประชุม  เรียนนอกโรงเรียน   สวนสาธารณะ หรือแหล่งท่องเที่ยวนครบาลเพชรบูรณ์ 

                                ใช้วิธีการสอนหลายแบบให้สนุก  ประทับใจ  ได้แก่ บทบาทสมมุติ กิจกรรมส่งเสริมภาษาอังกฤษ โครงงาน  การแสดงละครภาษาอังกฤษ  การร้องเพลง จับคู่  กลุ่มผึ้ง(Buzz Group) กลุ่มใหญ่     

เขียนเว็บ  แผนที่ความคิด (Mind Map)  ระดมสมอง (Brain  Storming)   จัดระบบความคิด (Affinity  Diagram) ฝึกให้เขียน  บันทึก  คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ฝึกให้เด็กสังเคราะห์  คิดหาคำตอบที่หลากหลาย  และมีการทดลองพิสูจน์   สิ่งที่คิด  หรือเรียนรู้  กล้าท้าทายการสอนของครู

                  4)  การจัดทำสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์การสอน  สื่อการเรียนการสอนเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนในแต่ละคาบ  ทั้งนี้เพราะสื่อการเรียนการสอนมีคุณค่าและประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ได้แก่  กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการตอบสนองตามที่คาดหวัง จะให้เกิด               ในตัวนักเรียน  เพิ่มพูนประสบการณ์ ความรู้ให้แก่นักเรียน เช่น นำรายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ สไลด์             มาให้เด็กชม และสื่อความหมายกับนักเรียนได้ดีขึ้น

                                    การปฏิบัติจัดทำสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์การสอน ในกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีดังนี้

                                                -  เลือกสื่อที่จะเอื้อต่อลำดับขั้นของการพัฒนาทักษะทางภาษาทั้ง 4 ด้าน

                                                       -  ใช้สื่อที่จะให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงจากการฝึกปฏิบัติทั้งที่เป็น

สถานการณ์จริง คือการได้ฟัง พูดอ่านและเขียนจริง หรือในสถานการณ์จำลองที่มีสื่อโสตทัศน์ เช่น            

 เครื่องบันทึกเสียงเข้าช่วย

                                                       -  ผลิตและเลือกสื่อที่ครอบคลุมสื่อประเภทวัสดุ  ประเภทของจริงที่พบหาได้      

ในชีวิตประจำวัน และสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น แบบเรียน ภาพชุด บัตรคำต่าง ๆหนังสือพิมพ์ วารสาร

                                                       -  ผลิตและเลือกสื่อประเภทอุปกรณ์ที่ช่วยนักเรียนให้ได้ฝึกทักษะทางภาษา

เช่น เครื่องฝึกผสมคำหรือผสมประโยค เครื่องบันทึกเสียง สำหรับฝึกการออกเสียง

                                                       -  มีสื่อประเภทวิธีการ เช่น การสนทนา โต้ตอบระหว่างครูกับผู้เรียน และผู้เรียน

กับผู้เรียน การเล่นแสดงบทบาทการเล่นละคร และการเล่นเกม ฝึกทักษะต่าง ๆ

                                                -  อุปกรณ์การสอนและการเรียน รวมถึงห้องปฏิบัติการ  การใช้เครื่องมือต่าง  ๆ 

มีห้องสมุดที่สมบูรณ์  และตำราที่เป็นภาษาของตนเอง
                                                -  มีการใช้สื่อการสอน เทคโนโลยีเพื่อเร้าความสนใจ ช่วยผู้เรียนเข้าใจบทเรียน     ได้ง่าย เช่น โทรทัศน์  วิดิโอ เครื่องเล่นเทปคอมพิวเตอร์  อินเตอร์เน็ต    

                                                - มีสื่อบุคคล  ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถานที่ โบราณสถาน โบราณวัตถุ

                                5)  มีเทคนิควิธีการวัดผลที่ดี และใช้ผลนั้นปรับปรุงสภาพการเรียนการสอนการวัดและประเมินก่อนเรียน  ระหว่างเรียน  และหลังเรียน

                การวัดและประเมินก่อนเรียนมีจุดประสงค์เพื่อมทราบสภาพของผู้เรียน  ณ  เวลาก่อน            ที่จะเรียน เช่น ความรู้พื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ  ก่อนเรียนอาจจะหมายถึงก่อนเรียนแต่ละหน่วย

การเรียนรู้  หน่วยการเรียนรู้เป็นการจัดหมวดหมู่เนื้อหาในสาระการเรียนรู้เดียวกัน  โดยจัดเนื้อหาเรื่องเดียวกันหรือสัมพันธ์กันไว้ในหน่วยเดียวกัน  การวัดและประเมินก่อนเรียนแต่ละหน่วย  เพื่อให้ได้ข้อมูลความรู้พื้นฐานของผู้เรียนในเรื่องหรือหน่วยนั้น  ซึ่งทั้งผู้เรียนและครูผู้สอนสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการเรียนรู้  และ

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในหน่วยนั้นได้อย่างเหมาะสม  ก่อนเรียนแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้  คือ การวัดและประเมินก่อนเรียนแต่ละครั้ง  ในหนึ่งหน่วยการเรียนรู้มักจะมีสาระที่จะเรียนรู้แยกย่อยสำหรับการสอนมากกว่า

1 ครั้ง  แต่ละครั้งจะมีแผนการจัดการเรียนรู้

                 จุดประสงค์ของการวัดและประเมินระหว่างเรียน เพื่อตรวจสอบความก้าวหน้าหรือพัฒนาการของผู้เรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  จากการเรียนรู้และการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน โดยเทียบกับผลการวัดและประเมินก่อนเรียน  การวัดและประเมินระหว่างเรียนจะทำให้ได้ข้อมูล

ที่บ่งบอกถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน  ในขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการจัดการเรียน

การสอนของครูด้วย   ข้อมูลจากการวัดและประเมินระหว่างเรียนจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งผู้เรียน  ครูผู้สอน  สถานศึกษา และผู้ปกครอง  สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังที่แตกย่อยมาจากมาตรฐานการเรียนรู้  และเป็นข้อมูลที่ใช้ในการปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน 

                                จุดประสงค์ของการวัดและประเมินหลังเรียน เพื่อตรวจสอบผลการเรียนของผู้เรียน           ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ  และคุณลักษณะที่พึงประสงค์  จากการเรียนรู้และการร่วมกิจกรรมของผู้เรียน โดยเทียบกับผลการวัดและประเมินก่อนเรียนและระหว่างเรียน  การวัดและประเมินหลังเรียนจะทำให้ได้ข้อมูลที่บ่งบอกถึงพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน  ในขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูด้วย   ข้อมูลจากการวัดและประเมินหลังเรียนมีจุดประสงค์หลักคือใช้ในการตัดสินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน  นอกจากนี้  การวัดและประเมินผลหลังเรียนอาจจะเป็นข้อมูลก่อนการเรียนในระดับต่อไป               จึงเป็นประโยชน์ทั้งผู้เรียน  และครูผู้สอน  สามารถนำข้อมูลดังกล่าวไปพัฒนาและปรับปรุงการเรียนรู้และ       การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนและสถานการณ์ 

                                6)  การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเหมาะสมกับท้องถิ่นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้ง   ต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   สามารถกระทำได้หลายวิธี ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้  6.1) การใช้อย่างประหยัด คือ การใช้เท่าที่มีความจำเป็น     เพื่อให้มีทรัพยากรไว้ใช้ได้นานและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด  6.2) การนำกลับมาใช้ซ้ำอีก สิ่งของบางอย่างเมื่อมีการใช้แล้วครั้งหนึ่งสามารถที่จะนำมาใช้ซ้ำได้อีก เช่น ถุงพลาสติก กระดาษ เป็นต้น หรือสามารถ ที่จะนำมาใช้ได้ใหม่โดยผ่านกระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นการลดปริมาณการใช้ทรัพยากรและการทำลายสิ่งแวดล้อมได้  6.3) การบูรณะซ่อมแซม สิ่งของบางอย่างเมื่อใช้เป็นเวลานานอาจเกิดการชำรุดได้ เพราะฉะนั้นถ้ามีการบูรณะซ่อมแซม ทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานต่อไปได้อีก 6.4) การบำบัดและการฟื้นฟู เป็นวิธีการที่จะช่วย             ลดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรด้วยการบำบัดก่อน 6.5) การใช้สิ่งอื่นทดแทน เป็นวิธีการที่จะช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติน้อยลงและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้ถุงผ้าแทนถุงพลาสติก การใช้ใบตองแทนโฟม การใช้พลังงานแสงอาทิตย์แทนแร่เชื้อเพลิง 6.6) การเฝ้าระวังดูแลและป้องกัน เป็นวิธีการที่จะไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมถูกทำลาย เช่น การเฝ้าระวังการทิ้งขยะ สิ่งปฏิกูลลงแม่น้ำ คูคลอง         บริเวณโรงเรียน

3.1.1.2   การส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียน

                                การส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาผู้เรียน ได้แก่การสร้างแรงจูงใจในการเรียน  จัดสิ่งแวดล้อมและห้องเรียนและใช้วิธีการสอนหลายแบบ ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทักษะและเกิดการเรียนรู้เต็มศักยภาพ

                                การสร้างแรงจูงใจในการเรียนโดยทำให้นักเรียนรู้สึกว่าตนเป็นที่รักของครูและเพื่อน           ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้  สร้างวิธีการจัดประสบการณ์เรียนรู้และบรรยากาศในการเรียนสนุก

เรียนแบบบูรณาการ    มีวิธีนำสู่บทเรียน  ใช้กิจกรรมหลากหลาย  สร้างความรู้สึกอยากเรียน  อยากรู้ว่ามีอะไรต่อไป  สิ่งที่เรียนรู้จะเอาไปใช้ในชีวิตจริงอย่างไร  นำปัญหาหรือเหตุการณ์ในชีวิตจริงที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้มานำสู่การเรียนใช้อารมณ์ขันโดยนำ เรื่องตลกที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ข้อคิดประทับใจ  ลดความเครียด

ในการเรียนที่ไม่จำเป็น   ที่สำคัญที่สุดคือนักเรียนสามารถเรียนเข้าใจและรู้เรื่อง

                                การจัดการเรียนรู้ก็เพื่อเน้นให้มีผลต่อการเรียนรู้ดังนั้นตัวบ่งชี้บอกลักษณะการเรียนรู้

ของผู้เรียนจะต้องประกอบด้วย ดังนี้

                                1)  การเรียนรู้อย่างมีความสุข  อันเนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล  คำนึงถึงการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และพัฒนาการทางอารมณ์ของผู้เรียน       ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องที่ต้องการเรียนรู้ในบรรยากาศที่เป็นธรรมชาติ  บรรยากาศของการเอื้ออาทรและ                เป็นมิตรตลอดจนแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  นำผลการเรียนรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้

                                2)  การเรียนรู้จากการได้คิดและลงมือปฏิบัติจริง  หรือกล่าวอีกลักษณะหนึ่งคือ                  “เรียนด้วยสมองและสองมือ”  เป็นผลจากการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้คิด  ไม่ว่าจะเกิดจากสถานการณ์หรือคำถามก็ตาม และได้ลงมือปฏิบัติจริงซึ่งเป็นการฝึกทักษะที่สำคัญคือ  การแก้ปัญหา ความมีเหตุผล

                                3)  การเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  และเรียนรู้ร่วมกับบุคคลอื่น  เป้าหมายสำคัญ  ด้านหนึ่งในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญคือ  ผู้เรียนแสวงหาความรู้ที่หลากหลายทั้งในและ            นอกโรงเรียน ทั้งที่เป็นเอกสาร วัสดุ สถานที่  สถานประกอบการ  บุคคลซึ่งประกอบด้วยเพื่อน  กลุ่มเพื่อนวิทยากร  หรือผู้เป็นภูมิปัญญาของชุมชน

                                4)  การเรียนรู้แบบองค์รวมหรือบูรณาการเป็นการเรียนรู้ที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ   ได้สัดส่วนกัน  รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม  ความดีงาม  และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชาที่จัดให้เรียนรู้

                                5)  การเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง เป็นผลสืบเนื่องมาจากความเข้าใจ            ของผู้จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญว่า ทุกคนเรียนรู้ได้และเป้าหมายที่สำคัญคือ พัฒนาผู้เรียน                   ให้มีความสามารถที่จะแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้จัดการเรียนรู้จึงควรสังเกตและศึกษาธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าถนัดที่จะเรียนรู้แบบใดมากที่สุด ในขณะเดียวกันกิจกรรมการเรียนรู้จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียน

ได้วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเองการสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง  ผู้เรียน

จะได้รับการฝึกด้านการจัดการแล้วยังฝึกด้านสมาธิ  ความมีวินัยในตนเอง  และการรู้จักตนเองมากขึ้น

                                 เมื่อครูจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลแล้ว และมีความประสงค์จะตรวจสอบว่าได้ดำเนินการถูกต้องตามหลักการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือไม่ครูสามารถตรวจสอบด้วยตนเอง  โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานด้านกระบวนการ มาตรฐานที่ 18 ซึ่งมีตัวบ่งชี้ดังต่อไปนี้

                                1)  มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติและ    สนองความต้องการของผู้เรียน

                                2)  มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์           คิดสร้างสรรค์  คิดแก้ปัญหาและตัดสินใจ

                                3)  มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักศึกษาหาความรู้ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

                                4)  มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและสื่อที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้                                 ในการจัดการเรียนการสอน

                                5)  มีการจัดกิจกรรมเพื่อฝึกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียน

                                6)  มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสุนทรียภาพอย่างครบถ้วน ทั้งด้านดนตรี  ศิลปะและกีฬา

                                7)  ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตย การทำงานร่วมกับผู้อื่นและความรับผิดชอบ                  ต่อกลุ่มร่วมกัน

                                8)  มีการประเมินพัฒนาการของผู้เรียนด้วยวิธีการหลากหลายและต่อเนื่อง

                                9)  มีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนรักสถานศึกษาของตนและมีความกระตือรือร้นในการไปเรียน         

                                สรุปว่า การส่งเสริมการเรียนรู้ การพัฒนาผู้เรียน คือ การจัดการให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการลงมือปฏิบัติ เกิดความเข้าใจ และสามารถ         นำความรู้ไปบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวัน และมีคุณสมบัติตรงกับเป้าหมายของการจัดการศึกษาที่ต้องการ       ให้ผู้เรียนเป็นคนเก่ง  คนดี  และมีความสุข

3.1.1.3   ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษา

                                            ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  คณะกรรมการงานวิจัยและโครงงาน และหัวหน้าดำเนินกิจกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โดยทำหน้าที่ดำเนินงานด้านการประเมินสถานศึกษาทั้งภายในและภายนอกและการประเมินอื่น ๆ ด้านการจัดคุณภาพการศึกษา          ของโรงเรียน เป็นผลให้โรงเรียนผ่านการประเมินภายในและภายนอก ได้รับรางวัลพระราชทาน รางวัลระดับทองสถานที่ทำงานน่าอยู่ รางวัลระดับเพชรโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ รางวัลสถานศึกษาดีเด่นกรมการปกครองท้องถิ่น  ส่วนด้านงานวิจัยและโครงงานได้ส่งเสริมให้คณะครูเข้ารับความรู้ด้านวิจัยและโครงงาน จัดทำวิจัยและโครงงานเป็นองค์ประกอบในการเรียนการสอนทุกรายวิชา พร้อมทั้งสนับสนุนคณะครูส่งวิจัยเข้าประกวด                        ทั้งภายในสถานศึกษาและหน่วยงานอื่น ซึ่งส่งผลให้นักเรียนได้รับการแก้ไขและพัฒนาการเรียนรู้                      ได้อย่างครอบคลุม รวมทั้งคณะครูเกิดความภาคภูมิใจในตัวศิษย์และผลงานวิจัยของตนเองที่ได้รับรางวัลเสมอมา และในการทำหน้าที่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศได้มีการประชุมในกลุ่มสาระ  ทั้งด้านการสนับสนุนครูพัฒนาความรู้เพิ่มเติมทั้งด้านการศึกษาต่อและการเข้ารับการอบรม หลังจากนั้นร่วมกับคณะครูในการจัดทำหลักสูตรภาษาอังกฤษ เป็นผู้นิเทศการสอนของคณะครู เป็นอาจารย์นิเทศนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เป็นผู้เผยแพร่การจัดทำหลักสูตรใหม่ เป็นผู้ดำเนินงานด้านกิจกรรมส่งเสริมภาษาอังกฤษ เช่น English Camp  และ Christmas เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงอาจารย์ต่างชาติที่มาสอนภาษาอังกฤษ จากการดำเนินการในกลุ่มสาระทำให้ผลสัมฤทธิ์ภาษาอังกฤษได้มาตรฐานและได้รับรางวัลจากการแข่งขันทักษะวิชาการภาษาอังกฤษทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขตและระดับประเทศ ได้แก่ การพูดสุนทรพจน์ การเขียนบรรยายภาพ การคัดลายมือ การเล่านิทาน การแสดงละคร การเขียนศัพท์ และโครงงาน

                                      รวมทั้งร่วมกับฝ่ายวิชาการพัฒนาหรือการดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความเห็น               การพัฒนาสาระหลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรอาเซียน  วางแผนงานด้านวิชาการในการจัดการเรียนการสอน          ในสถานศึกษา  พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้  ส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาและองค์กรอื่น ส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล  ครอบครัว  องค์กร  หน่วยงาน  สถานประกอบการและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา จัดทำระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านวิชาการของสถานศึกษา คัดเลือกหนังสือ  แบบเรียนเพื่อใช้ในสถานศึกษา และพัฒนาและใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากการร่วมมือในการทำงาน         ฝ่ายวิชาการดังกล่าว  ทำให้ฝ่ายวิชาการพัฒนางานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้การจัดการศึกษา           ของโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) มีคุณภาพอย่างแท้จริง  

3.1.1.4   ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนและหรือสถานประกอบการ

เพื่อร่วมกันในการพัฒนาผู้เรียน

                                            ในตำแหน่งหัวหน้างานประกันคุณภาพและครูที่ปรึกษา จึงได้ทำหน้าที่ประสาน  ความร่วมมือกับผู้ปกครอง บุคคลภายในและภายนอกหน่วยงาน ชุมชน และสถานประกอบการด้านธุรกิจต่าง ๆเพื่อร่วมกันในการป้องกัน  พัฒนาและแก้ไขปัญหาของนักเรียนซึ่งได้ประสานงานดังต่อไปนี้

                                1) การชักชวนพ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคลต่าง ๆ ในชุมชนมารวมกลุ่มกัน เพื่อทำกิจกรรม         ในการส่งเสริมพัฒนานักเรียน ครูเป็นผู้ประสานงาน โดยให้พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนเป็นกรรมการ       ลักษณะของการทำกิจกรรมได้แก่ การให้ความรู้แก่ชุมชนในเรื่องของวิธีการส่งเสริมพัฒนาความรู้และพฤติกรรมของนักเรียน ทำแผนพัฒนาการศึกษา การประเมินสถานศึกษา การเข้ามาจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนโดยตรงหรือครูภูมิปัญญาท้องถิ่น การเป็นแหล่งความรู้ให้แก่นักเรียน การร่วมมือกันทำ กิจกรรมในวันสำคัญ  ต่าง ๆ ของชุมชน และการร่วมกันรณรงค์เผยแพร่แนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาการศึกษา
                               2) การเข้าถึงชุมชน พ่อแม่ ผู้ปกครองผ่านแหล่งความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน เช่น วิทยุชุมชน นิตยสาร หนังสือพิมพ์ทั่วไปและหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น นิตยสาร รายการโทรทัศน์ การให้ข้อมูล                        ผ่านแหล่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ฯลฯ ทั้งนี้อาจเป็นการให้ความรู้ การรณรงค์ให้เห็นความสำคัญ            ของการร่วมแรง   ร่วมใจกันพัฒนานักเรียน และผลงานที่เป็นรางวัลเกียรติยศที่เกิดกับสถานศึกษา ผู้บริหาร     คณะครู นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน
                                3) การเยี่ยมบ้านเป็นรายบุคคล และการเยี่ยมบ้านเป็นกลุ่ม ทั้งนี้จะเป็นการติดต่อประสาน   กับผู้ปกครองโดยตรงและใกล้ชิด เนื่องจากเป็นการได้พบปะสนทนากันโดยตรงในสถานการณ์จริง และ          การพูดคุยอย่างฉันท์มิตร ก่อให้เกิดความไว้ใจ เชื่อมั่น และเกิดความเชื่อมั่น การเยี่ยมบ้านอาจจะเป็นการไปพบปะกับกลุ่มหรือชมรมของชุมชนที่มีอยู่แล้ว การพบปะโดยการเข้ากลุ่ม ทำให้สื่อความคิดได้โดยตรง การสื่อสาร  สองทางทำให้เกิดความเข้าใจโดยง่าย และทำข้อตกลงได้ง่าย พร้อมทั้งการประสานกิจกรรมให้มีความเชื่อมโยงกับงานการจัดการศึกษาด้วยควบคู่กัน
                                4) การรวมกลุ่มกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานักเรียน และองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับครอบครัวและเด็ก เช่น นักจิตวิทยา หมอเด็ก นักสังคมสงเคราะห์ มูลนิธิเอกชน กลุ่มพ่อแม่ ผู้นำชุมชน ผู้นำทางการศึกษา  เป็นการรวบรวมแหล่งความรู้และการให้ความช่วยเหลือ การบริการและสวัสดิการที่เกี่ยวกับครอบครัวและนักเรียนไว้ด้วยกัน รวมทั้งการสร้างเครือข่ายในส่วน ต่าง ๆ ของชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้การช่วยเหลือแก่ครอบครัว และนักเรียนที่ต้องการอย่างเบ็ดเสร็จ รวดเร็ว และเพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักให้ชุมชนเห็นความสำคัญ       ในการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อเด็กของตน
                                5) เชิญผู้ปกครองและชุมชนเยี่ยมห้องเรียน ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจและ    เห็นความสำคัญที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และเชิญประชุมปรึกษาหารือแนวทางการเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย          

                                อีกทั้งสามารถสร้างความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานอื่นได้ดี คุณลักษณะที่บ่งบอกถึงความเป็นผู้ให้ความร่วมมือและประสานงานกับหน่วยงานทั้งหน่วยเหนือและหน่วยงานในระดับเดียวกัน      ในการทำงานร่วมกันมีสิ่งที่ข้าพเจ้ายึดถือเป็นแนวปฏิบัติดังนี้

                                1)   ชี้ให้เห็นประโยชนร่วมกัน ทำให้บุคคลที่เกี่ยวข้องมีความรู้สึกต่องานตรงกัน                ด้วยการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง  และทำความเข้าใจถึงผลงานที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน  การชักจูง    ให้เห็นประโยชน์ของส่วนรวมอาจใช้ไม่ได้กับคนบางคน  จึงต้องชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ทางอ้อมที่ผู้เกี่ยวข้อง          ในการประสานงานจะได้รับด้วย
                                2)   ผูกมิตรไมตรีต่อกัน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีน้ำใจที่จะช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้วยวิธี            ให้ผู้เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็นถึงปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข  เพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จให้จงได้ และย้ำให้เห็นว่าเป็นความสำเร็จร่วมกัน
                                3)   แนะนำกัน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกันมีความสามารถทัดเทียมกันด้วยการพิจารณา ความสามารถของผู้ร่วมปฏิบัติในการประสานงาน ทั้งด้านความสามารถในการสื่อสาร  ความสามารถเฉพาะ

ด้านหรือความถนัดในงาน  และให้ข้อแนะนำที่จะเป็นทางทำให้ผู้เกี่ยวข้องมีความสามารถในระดับเดียวกัน    หรือใกล้เคียงกัน  เพื่อจะได้ทำงานไปด้วยกันได้
                                4)  มีการสื่อสารที่ดี ทำให้ได้รับประสบการณ์ร่วมกันหรือสร้างสภาวะคล้ายคลึง                 ด้วยการร่วมกันคิด หากสามารถร่วมวางแผนปฏิบัติการด้วยกันตั้งแต่ต้นก็จะช่วยให้มีกรอบแห่งการอ้างอิง (Frame of reference) ร่วมกันทำงานอยู่ในวงประสบการณ์ที่มีสภาวะคล้ายคลึงกัน
                                5)  เพิ่มความใกล้ชิด ทำให้มีการพบปะหารือกันอยู่เสมอเพื่อให้ไว้วางใจกัน เพราะ           ความใกล้ชิดจะช่วยให้ได้และเปลี่ยนความคิดเห็นและถ่ายทอดความรู้สึกถึงกัน  ยิ่งใกล้ชิดกันมากเท่าใด              ก็จะเกิดความเข้าใจและรู้จักคุ้นเคยกันมากขึ้น  ถ้ามีความหวังดีต่อกัน  มีเจตนาที่บริสุทธิ์และจริงใจก็จะเพิ่ม    ความเชื่อถือไว้วางใจกันยิ่งขึ้น

                                การประสานงานกับหน่วยงานอื่นจากหน้าที่ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) และหัวหน้าดำเนินโครงการบรรพชาสามเณร เพื่อถวาย              เป็นพระราชกุศลเนื่องในวันพ่อแห่งชาติ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ทักษะการประสานงานกับหน่วยงานอื่น จนส่งผลให้การปฏิบัติงานประสบความสำเร็จตลอดมา  โดยสร้างความร่วมมือในการปฏิบัติ ดังนี้  เต็มใจ            ที่จะติดต่อกับผู้อื่นก่อน แสดงความมีน้ำใจต่อผู้อื่นก่อน สร้างสัมพันธ์ที่ดี มีความไว้วางใจกัน  ฟังผู้อื่นพูดให้มาก  หลีกเลี่ยงการโต้แย้ง  ซักซ้อมการทำงานให้เข้าใจวัตถุประสงค์ตรงกัน  ทำความเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัติ         และจังหวะเวลาให้รับกัน   เสริมสร้างมิตรไมตรี และความเป็นกันเอง   ติดต่อตามสายงาน และช่องทาง           การสื่อสารที่ถูกต้อง 

                                จะเห็นได้ว่าการประสานงานคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างคนกับคน  คนกับสื่อ  องค์กร      กับองค์กร หรือ การเชื่อมโยงเชื่อมต่อความต้องการจากผู้หนึ่งถึงผู้หนึ่ง หรือจะเรียกว่าเป็นการสื่อสาร         รูปแบบหนึ่ง  การประสานงานช่วย หรือ มีประโยชน์กับองค์กร อันได้แก่   งานสำเร็จตามเป้าหมาย  มีประโยชน์ต่อการทำงาน มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรเป็นการสร้างเครือข่าย และ ก่อให้เกิดความรู้ใหม่

3.1.1.5   การบริการสังคมด้านวิชาการ   

                                            สร้างคณะทีมงานฝ่ายประกันคุณภาพที่ทำหน้าที่ในการพัฒนางานการศึกษา           ของโรงเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด พร้อมทั้งมีการจัดเก็บเอกสารของโรงเรียนได้อย่างเป็นระเบียบ       มีระบบการยืม-คืนเอกสาร มีแหล่งตรวจสอบการพัฒนาการของโรงเรียน และเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูล              อย่างมีคุณภาพ ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารตลอดจนผลงานของสถานศึกษาทั้งด้านโรงเรียน ผู้บริหาร ครู  นักเรียนผู้ปกครองและชุมชนแก่ผู้มาเยี่ยมสถานศึกษา ตลอดจนการไปเผยแพร่ข้อมูลนอกสถานที่ตามโครงการหรือกิจกรรมด้านการศึกษาที่จัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆเช่นงานนิทรรศการวิชาการจังหวัดเพชรบูรณ์  งานนิทรรศการวิชาการระดับเขตเทศบาลภาคเหนือ  งานนิทรรศการวิชาการระดับประเทศที่เมืองทองธานี            

                                            และได้จัดทำวิจัยในชั้นเรียนและได้ไปเผยแพร่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในงานระดับเทศบาลภาคเหนือ ไปเผยแพร่วิจัยในชั้นเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในโครงการโรงเรียนเครือข่ายสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายมัธยมโดยใช้วิจัยในชั้นเรียนเป็นฐาน จัดทำผลงานทางวิชาการเผยแพร่ทั้งด้านเอกสาร หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ ตลอดจน เผยแพร่ทาง อินเตอร์เน็ต  เฟสบุ๊ค เป็นประจำทุกๆปี

                                            เป็นวิทยากรเผยแพร่การจัดทำหลักสูตรท้องถิ่นวิชาภาษาอังกฤษที่โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) จังหวัดเพชรบูรณ์  รวมทั้งการให้บริการด้านความรู้ภาษาอังกฤษให้กับนักเรียนศิษย์เก่า ตลอดจนบุคลากรทั่วไปทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา บริการความรู้ด้านการจัดทำแผนการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ    ให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ บริการความรู้ด้านการประเมินภายนอกให้กับคณะครูโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านในเมือง) และโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์(วังชมพูวิทยาคม) บริการความรู้ เรื่องโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้กับคณะครูโรงเรียนเพชรพิทยาคม  และเป็นวิทยากรให้ความรู้เรื่องการประเมินภายในเพื่อรองรับการประเมินภายนอกจาก สมศ.รอบที่ 4  ให้กับเทศบาลตำบลบ่อไทย และเผยแพร่ข้อมูล       การประเมินภายในพร้อมกระบวนการแก่เทศบาลตำบลท่าข้าม จังหวัดเพชรบูรณ์จากการบริการสังคม             ด้านวิชาการดังกล่าวทำให้โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) มีมาตรฐานทางการศึกษาและมีชื่อเสียง                   ด้านการจัดการศึกษาเสมอมา

3.1.1.6   หน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย              

                                            1) คณะกรรมการดำเนินกิจกรรมแสดงความยินดีกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้

                                            2) คณะกรรมการฝึกซ้อมนักเรียนและดำเนินกิจกรรมวันรับประกาศนียบัตรผู้สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ6

                                            3) คณะกรรมการในการประสานการฝึกซ้อมดนตรีไทยและนำนักเรียนไปร่วมกิจกรรมประเพณีอุ้มพระดำน้ำและกิจกรรมของชุมชน และร่วมแต่งกายให้คณะเจ้าเมืองในการแห่ทางบกและ ทางน้ำ

                                            4) นำนักเรียนเข้าศึกษาดูงาน หอภูมิปัญญาวิถีปราชญ์เพชรบูรณ์ และเข้าร่วมพิธีเปิด  หอภูมิปัญญา

                                            5) คณะกรรมการจัดกิจกรรมกีฬาสี ทำหน้าที่เป็นแม่สีเหลือง ทำหน้าที่ประชุม วางแผน และแบ่งงานให้กับนักเรียนในสีเหลืองได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1ประเภทกองเชียร์ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1ประเภทขบวนพาเหรด และชนะเลิศอันดับที่ 1 ประเภทถ้วยรวมกีฬาทุกประเภท นักเรียนในสีเหลืองมีความสุขและภาคภูมิใจในความสามัคคีและความสามารถของตนเอง

                                            6)  ร่วมแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลกับชุมชนทั้ง 16 ชุมชน ในงานกีฬาชุมชนสัมพันธ์ ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1

                                            7)  จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ ร่วมกับชาวต่างชาติ มุ่งเน้นในการพัฒนาทักษะการฟัง-พูดเพื่อการสื่อสารให้กับนักเรียน ส่งผลให้นักเรียนสามารถเป็นพิธีกรที่ใช้ภาษาอังกฤษในกิจกรรมของโรงเรียนและสามารถนำเสนอผลงานโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือสื่อสารได้เป็นอย่างดี

                                            8)  ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้างานในการนำเสนอความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับประเทศมาเลเซีย ร่วมกิจกรรมวันอาเซียนโดยมีการจัดนิทรรศการและกิจกรรมจุดดีและจุดด้อยของประเทศมาเลเซีย เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษามาเลเซีย การทำอาหารและการแต่งกายและการปฏิบัติจริงในการดำเนินชีวิต ผลปรากฏว่า นักเรียนกลุ่มมาเลเซียได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการประกวดเต็นท์นิทรรศการ และ       ได้รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3 ในการประกวดการแต่งกายประจำชาติ กิจกรรมวันอาเซียน  ทำให้นักเรียน       ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้ทั้ง 10 ประเทศ และสามารถวิเคราะห์และเรียนรู้จุดดี จุดเด่นและการปรับตัวเข้าสู่อาเซียนในปี 2558 ได้อย่างเหมาะสม

                                            9)  ดูแล ควบคุม นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเข้ารับการเรียนเสริม(ติว)  จากหน่วยงานที่มาติวที่โรงเรียนและไปติวนอกสถานที่ ทำให้นักเรียนได้ทักษะการเรียนรู้ที่หลากหลาย นำไปใช้ในการเรียนในระดับที่สูงขึ้นได้

                                            10)  เป็นวิทยากรพิเศษในการสอนเสริม(ติว)ภาษาอังกฤษให้นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นประจำทุกปี เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย  และเตรียมสอบ O-NET   ทำให้นักเรียนมีระดับคะแนนภาษาอังกฤษดีขึ้น

                                            11) เป็นวิทยากรภาษาอังกฤษในการเข้าค่าย English Camp และวันคริสต์มาส

                                            12)  นำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมวันวิทยาศาสตร์ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา พร้อมทั้งจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการวิชาภาษาอังกฤษโดยการทำการ์ดเชิญ โปสเตอร์ บทความภาษาอังกฤษสั้นๆ ส่งผลให้นักเรียนได้พัฒนาการใช้ความรู้บูรณาการวิชาทั้งวิชาวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ ภาษาไทย ศิลปะ

                                            13)  ร่วมแสดงความเคารพ สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และครอบครัว     โดยเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเช่นวันพ่อ วันแม่ วันเข้าพรรษา วันสงกรานต์ ฯลฯ

                                            14)  ประพฤติตนเป็นชาวพุทธที่ดี โดยพาครอบครัวทำบุญสม่ำเสมอ ปฏิบัติตาม        คำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปล่อยสิ่งมีชีวิต ให้ทาน ให้อภัย และประพฤติตนไม่ให้เดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น ประพฤติชอบด้วยกาย วาจาและใจ ส่งผลให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีสติ สัมปชัญญะ อยู่ทุกเมื่อและเป็นที่รักและศรัทธาของคนในครอบครัว ผู้ปกครอง นักเรียน และผู้มาเยือน

                                            15)  เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

                          3.1.2  ผลงานตามลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งและคุณภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ

                                3.1.2.1  ผลงานตามลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ดังนี้

                                      3.1.2.1.1  การจัดการเรียนรู้ พิจารณาจาก

                                                1)  การจัดการเรียนรู้  โดยวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้          ได้อย่างถูกต้อง นำหลัก PLC มาเป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาการศึกษา โดยมุ่งเน้นออกแบบการเรียนรู้แบบ active learningแล้วนำไปใช้ในการจัดการทำแผนการจัดการเรียนรู้ ได้ครบองค์ประกอบตามที่สถานศึกษากำหนด และการจัดการเรียนรู้ตามแผน และจัดทำแผนการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องและเป็นปัจจุบัน         โดยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างเป็นระบบ       เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ สามารถลำดับขั้นตอนเนื้อหาสาระ ได้อย่าง เป็นระบบง่ายต่อการถ่ายทอดความรู้ไปสู่นักเรียน พร้อมทั้งจัดทำบันทึกการสอนเพื่อให้ทราบถึงปัญหา      ทางการเรียนการสอนและนำการวิจัยในชั้นเรียนและโครงงานมาใช้ในการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขการเรียนรู้ของนักเรียน พัฒนาไปสู่การออกแบบการเรียนรู้ที่ได้มาตรฐานในรูปแบบการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการความรู้ ทักษะ และคุณธรรมให้แก่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพด้านการศึกษาอย่างแท้จริง

                                          การจัดการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยจัดสาระกิจกรรมให้สอดคล้องกับ         ความสนใจความถนัดของเด็ก  มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนสู่ศตวรรษที่ 21 เน้นการอ่าน การเขียน การคำนวณ           สร้างความรู้  เชิงบูรณาการ ส่งเสริมคุณลักษณะด้านการทำงาน การเรียนรู้และคุณธรรม พร้อมสร้างทักษะ      ด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม  ทักษะชีวิตและการทำงาน ทักษะด้านสารสนเทศสื่อเทคโนโลยี เพื่อขับเคลื่อนไปสู่โมเดลประเทศไทย 4.0  ที่เน้นในเรื่องการพัฒนาสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ด้วยการสร้างความเข้มแข็ง      จากภายใน ขับเคลื่อน  ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านกลไก ประชารัฐ ซึ่งระดับสถานศึกษา      เราใช้หลักการ PLC  เข้ามาช่วยในการหาข้อมูล วางแผน ออกแบบ แล้วนำมาใช้พัฒนาผู้เรียนในการฝึกกระบวนการคิด การปฏิบัติ    ให้ผู้เรียนได้คิด ฝึกปฏิบัติเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน จัดการเรียนรู้ให้เกิดทุกที่   ทุกเวลา  และผู้เรียนได้พัฒนาตนเองจากสื่อเทคโนโลยีจนเต็มขีดความสามารถ          มุ่งจัดกิจกรรมหรือวิธีการสอน    ที่หลากหลายและสอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอนจนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยได้นำเอาวิธีสอนที่หลากหลายมาใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ดังนี้  เกม (Educational

Games) ใช้สถานการณ์จำลอง (Simulation) เผชิญสถานการณ์ บทบาทสมมุติ (Role-Play) ศูนย์การเรียน (Learning Center)  การใช้ Internet ช่วยสอน กิจกรรมส่งเสริมภาษาอังกฤษ  โครงงาน (Project  Learning)      ถาม-ตอบ (Question-Answer) อภิปรายกลุ่มย่อย(Small Group Discussion) แก้ปัญหา(Problem-Solving)           สืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม (Group Investigation) กลุ่มสัมพันธ์ (Group Process) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) ความคิดรวบยอด (Concept Attainment) ให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (Self Directed Learning) ทัศนศึกษานอกสถานที่ (Field Trip) การละคร (Dramatization) การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom research learning)บูรณาการ (Integrate Learning) และ สาธิต(Demonstrations)

                                          2)  การดำเนินการแก้ปัญหาในชั้นเรียนในฐานะครูประจำชั้นได้ปฏิบัติงานธุรการ       ชั้นเรียน  เป็นครูที่ปรึกษามาเป็นเวลา 18  ปีและปีปัจจุบันเป็นครูที่ปรึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2ได้ดำเนินการป้องกันและแก้ปัญหาในชั้นเรียน โดยปฏิบัติหน้าที่ดังนี้  (1) ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร แผนการเรียน ระบบ การจัดการศึกษาและการประเมินผลระดับต่างๆที่มีการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ตลอดจนระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน   (2) อธิบายและชี้แจงให้นักเรียนทราบและเข้าใจตั้งแต่ต้นปีว่าวิชาที่นักเรียน จะต้องเรียนมีอะไรบ้าง แต่ละวิชาที่นักเรียน จะต้องเรียนในปีการศึกษานั้นๆมีประโยชน์แก่นักเรียนอย่างไร       ทั้งในคณะที่จะเลือกศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย (3)รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับนักเรียนในกลุ่มที่รับผิดชอบไว้เพื่อประโยชน์ในการให้คำปรึกษาหรือช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้สึกสบายใจ ไม่ว้าเหว่ มีผู้เป็นที่พึ่ง           เข้าใจตนเองและเข้าใจปัญหาของตนดีขึ้น รู้จักคิดแก้ปัญหาของตนได้ มีความรอบครอบใคร่ครวญดีขึ้น               มีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น (4) ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแผนการเรียนและให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการสอน หรือการเพิ่มรายวิชาเรียน (5) ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาการเรียน แนะนำเกี่ยวกับ                      การเรียนการสอน วิธีเรียนการเตรียมสอบ  (6) ดูแลให้คำแนะนำการประพฤติ  (7) ให้คำแนะนำและดูแลเกี่ยวกับการมาเรียน การปรับตัว ตลอดจนปัญหาทุกข์สุขของนักเรียนในชั้น  (8) ติดตามดูแลการเรียนของนักเรียน      อย่างสม่ำเสมอ (9) พบนักเรียนในกิจกรรมโฮมรูม กิจกรรมรักการอ่าน และในคาบเรียน อย่างสม่ำเสมอ         จัดหาเวลาเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ   การเรียนและปัญหาส่วนตัวเป็นรายบุคคล  (10) ติดต่อผู้ปกครอง/ประชุมผู้ปกครองเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียน รวมทั้งรายงานความประพฤติผลการเรียน และปัญหาของนักเรียน   ให้ผู้ปกครองทราบ เพื่อร่วมกัน หาทางแก้ไขเท่าที่จะกระทำได้ (11) ประสานงานกับฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายแนะแนวฯ ฝ่ายปกครอง และครูประจำรายวิชา ในกรณีที่นักเรียน มีปัญหา

                                      จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้มีความรู้ เป็นคนดี และอยู่ร่วมกัน    ในสังคมอย่างมีความสุข

                                      3)  การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ได้ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หลัก PLC แล้วสร้างข้อตกลงร่วมกันในการพัฒนาการเรียนรู้และพฤติกรรมอันเหมาะสม ได้แก่  การกำหนดเป้าหมาย      วางแผนการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับความถนัด ความสามารถของตนเอง การรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเองตลอดจนหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างกระตือรือร้นการประเมินและปรับปรุงตนเองทั้งด้านการเรียนและพฤติกรรม

                     4)  การใช้หรือสร้างเครือข่ายทางวิชาการในฐานะหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ มีโอกาสในการเข้าร่วมประชุมสัมมนาจากในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน                           จากการได้ร่วมทำงาน ประชุม อบรมสัมมนากับผู้บริหาร คณะครูในโรงเรียน คณะครูในกลุ่มสาระวิชาภาษาอังกฤษทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างหลากหลาย อีกทั้งเป็นตัวแทนของโรงเรียนในการอบรมด้านวิชาการ ด้านสังคมและวัฒนธรรมสม่ำเสมอ ซึ่งหลังกลับจากการอบรมสัมมนา          จะนำความรู้มาเผยแพร่แก่เพื่อนครูในโรงเรียนทุกคนทั้งทางวาจาและเอกสารเพื่อได้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง เพราะครูทุกคนคือเครือข่ายทางวิชาการ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้             ได้เป็นอย่างดียิ่ง ตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรแบบบูรณาการวิชาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง            ทำให้มีการจัดการเรียนรู้ร่วมกันตั้งแต่ 3 กลุ่มสาระขึ้นไป มีการพูดคุยและวางแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน       ลดภาระการทำงานหรือการเรียนที่ซ้ำเนื้อหาของผู้เรียน ก่อให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเทคนิคร่วมเรียนร่วมรู้ ถือว่าเป็นการสร้างเครือข่ายในงานวิชาการได้อย่างชัดเจน ทั้งด้านการบริหารการศึกษา การพัฒนางานวิชาการ การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน และที่สำคัญคือการสร้างเด็กให้เป็นคนดี คนเก่ง และอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุขได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนครูเครือข่ายโรงเรียนเครือข่ายสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย     โดยใช้วิจัยเป็นฐาน ทำหน้าที่ไปประชุมสัมมนาและเผยแพร่วิจัยในชั้นเรียน ครูเครือข่ายครุสภาอาเซียนทำหน้าที่ประชุมสัมมนาทางวิชาการกับคณะครูอาเซียนเพื่อพัฒนาการศึกษาภาษาอังกฤษที่ยั่งยืน  รวมทั้งจัดทำโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนต้นแบบ  ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “โรงเรียนสุนทรียภาพทางดนตรีไทย” และโรงเรียนเครือข่าย     ด้านเทคโนโลยีคือห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะต้องมีการเผยแพร่ข้อมูลไปยังเทศบาลเครือข่ายทั่วประเทศ      เป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านงานประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาทุกปี  ทั้งภายในโรงเรียน เทศบาลและเทศบาลเครือข่ายได้แก่เทศบาลตำบลท่าข้าม เทศบาลตำบลบ่อไทย และเทศบาลตำบลเฉลียงทอง และโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ภาษาอังกฤษแก่นักเรียน ชุมชน และหน่วยงานของรัฐ   เป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านคุณธรรม ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต และการเตรียมความพร้อม  ด้านการเรียนรู้แก่นักเรียนและโรงเรียนอื่นๆ ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจ

                    5)  ดำเนินการแก้ปัญหาหรือวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างเป็นระบบ  ทำหน้าที่คอยสอดส่อง  ดูแล นักเรียนอยู่เสมอ  หากเจอปัญหาก็จะแก้ไข  หลากหลายวิธี  บางครั้งก็ต้องแก้ไขโดยการใช้วิจัยในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบ ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดทำโครงการวิจัยในชั้นเรียน มีหน้าที่ดูแลกิจกรรม       การ  เข้ารับการอบรมวิจัยในชั้นเรียน การจัดทำวิจัยเพื่อแก้ไขและพัฒนาการเรียนการสอน  การส่งวิจัยเข้าประกวด และการประเมินผลการดำเนินงานโครงการวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียน และข้าพเจ้าได้จัดทำ            วิจัยในชั้นเรียนในวิชาภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาและแก้ไขกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างหลากหลาย                  ทำให้นักเรียนผ่านเกณฑ์            การประเมินทุกคน  จากการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนดังกล่าวทำให้ ข้าพเจ้าได้รับเชิญให้ไปเผยแพร่ผลงานวิจัยในชั้นเรียนทั้งในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน พร้อมทั้งได้รับรางวัลวิจัยในชั้นเรียนชนะเลิศระดับยอดเยี่ยม ทั้งนี้ได้พัฒนาวิจัยในชั้นเรียนมาจัดทำเป็นวิจัยเพื่อพัฒนา (R&D) เพื่อสร้างนวัตกรรม  ทางการศึกษาที่พัฒนาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เกิดประสิทธิภาพที่สัมฤทธิ์ผลดีเยี่ยม

                                      6)  วัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายและนำผลไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน การวัดผลและประเมินผล ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการและคุณลักษณะอันพึงประสงค์  เป็นการประเมินผล ที่สอดคล้องกับสภาพจริง เช่น การประเมิน  จากการปฏิบัติทักษะวิชาภาษาอังกฤษ ทดสอบ ประเมินกระบวนการและผลงาน ประเมินด้านคุณลักษณะ         อันพึงประสงค์ ประเมินด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนโดยข้าพเจ้าได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

                                          6.1) ศึกษาเทคนิควิธีการวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้และวิธีการสร้างเครื่องมือ

วัดผลการประเมินผลการเรียนรู้แบบ Rubric เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ

                            6.2) สร้างเครื่องมือวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์

การเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ในแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ เช่น   แบบทดสอบ  แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินกิจกรรม คุณภาพผลงานและการปฏิบัติ    

                                             6.3) การใช้เครื่องมือวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้ ข้าพเจ้าได้ดำเนินการดังนี้

                                                 - การวัดผลประเมินผลก่อนเรียน ได้ดำเนินการตรวจสอบความพร้อม             ความรู้พื้นฐานของนักเรียนและทักษะเบื้องต้นก่อนที่จะเรียนวิธีวัดได้แก่ การสนทนาซักถาม เขียนตามคำบอก            การทดสอบ   การสัมภาษณ์       

                                                 - การวัดผลประเมินผลระหว่างเรียน    ได้ดำเนินการวัดเพื่อตรวจสอบว่า      นักเรียนมีความสามารถในการ เรียนรู้ในทักษะวิชาภาษาอังกฤษ มีความสนุกสนานกับกิจกรรมการเรียนการสอนเพียงใด  วิธีการที่นำมาใช้ในการวัดผลประเมินผลระหว่างเรียนได้แก่  การสังเกต  การสัมภาษณ์  การลงมือปฏิบัติ         การซักถามและทดสอบ

                                                 - การวัดผลประเมินผลหลังเรียน เป็นการวัดผลประเมินผลโดยการทดสอบด้วยแบบทดสอบ  การปฏิบัติ  การซักถาม สังเกตพฤติกรรม ตรวจผลงาน  ชิ้นงาน เพื่อตรวจสอบว่าผู้เรียนบรรลุผลตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่  

                                             6.4)  นำผลการวัดผลประเมินผล มาวิเคราะห์และนำปัญหาที่ได้จากการวัดผลประเมินผล  นำไปพัฒนานักเรียนที่ไม่บรรลุผลการเรียนรู้ที่คาดหวังต่อไปในการประเมินผลผู้เรียน               ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการกำหนดรายการประเมินวิธีการประเมิน  และเกณฑ์การประเมินด้วย  ทำให้ผู้เรียน       มีส่วนร่วมและให้ความสำคัญร่วมมือจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างเต็มใจ ทำให้ผู้เรียนทราบจุดบกพร่อง  ของตนเอง และพัฒนาตนเองได้อย่างถูกต้องตามคุณลักษณะที่ต้องการเน้นแต่ละเรื่อง ทำให้การประเมินผล         มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง

7) รายงานผลต่อผู้เรียน  ผู้ปกครอง และผู้บริหารอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ

การรายงานผลการเรียนรู้มีการรายงานผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง  และผู้บริหารทราบทุกครั้ง หลังจากที่มีการวัดผลประเมินผล   ผู้เรียนคนใดไม่ผ่านการประเมินจะได้รับการสอน ซ่อมเสริม ฝึกปฏิบัติจนผ่านเกณฑ์    การประเมิน  จากการรายงานผลที่ผ่านมาส่งผลให้ผู้ปกครองได้รับรู้จุดดีและจุดด้อยในการศึกษาของนักเรียนและได้ร่วมแก้ไขและพัฒนาการเรียนรู้ ตลอดจนพฤติกรรมของนักเรียน ส่งผลให้ผ่านการประเมิน  ทั้งด้านพุทธพิสัย ทักษะพิสัย  และจิตพิสัยทุกคน  

3.1.2.1.2  การพัฒนาวิชาการ  พิจารณาจาก

ข้าพเจ้าพยายามที่จะพัฒนาตนเองในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ   ในด้านการฝึกอบรม  ข้าพเจ้าได้พัฒนาและฝึกอบรมหลักสูตรต่อไปนี้

วัน  เดือน  ปี

เรื่อง

สถานที่

หน่วยงาน

15 ก.พ. 2556

โครงการรวมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไทย

ศูนย์ประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต จ.ปทุมธานี

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)

11 พ.ค. 2557

การประชุมสัมมนาการปฏิรูปการศึกษาท้องถิ่น(2555-2564) ระดับภาคเหนือ

โรงแรมโลตัส

ปางสวนแก้ว จ.เชียงใหม่

เทศบาลนครเชียงใหม่

วัน  เดือน  ปี

เรื่อง

สถานที่

หน่วยงาน

25-27 พ.ค.2557

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาหลักสูตรสู่ประชาคมอาเซียน

หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์

 

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

17-21 ก.ย. 2557

โครงการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้เลื่อนสู่

วิทยฐานะชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ

คุ้มภูคำ จ.เชียงใหม่

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

2558

การอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการโรงเรียนต้นแบบ “ผู้นำการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ” ตัวแทนโรงเรียนภูมิภาค ภาคเหนือตอนล่าง

โรงเรียนเทศบาล 3

(ชาญวิทยา)จ.เพชรบูรณ์

คณะกรรมการสถานศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.อานนท์

หินแก้ว 

มูลนิธิพระราชดาบถ

2558

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรขั้นพื้นฐานปี 2551 ปรับปรุงปี2556

โรงเรียนเทศบาล 3

(ชาญวิทยา)จ.เพชรบูรณ์

คณะกรรมการสถานศึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ดร.อานนท์

หินแก้ว  มูลนิธิพระราชดาบถ

27-31 มี.ค. 2558

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ         จัดทำผลงานทางวิชาการ (กลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศ)

โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพฯ

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

25-27 เม.ย. 2558

การอบรมเชิงปฏิบัติการ ก้าวสู่อาเซียนด้วยความมั่นใจในศักยภาพครูภาษาอังกฤษ(มัธยมศึกษา)

โรงแรมอเล็กซานเดอร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

17-18 ก.ค. 2558

โครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์

โรงเรียนเทศบาล 3

 (ชาญวิทยา) จ.เพชรบูรณ์

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ ร่วมกับเครือข่ายศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม

6-8พ.ค.2558

อบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา

โรงเรียนเทศบาล 3

 (ชาญวิทยา) จ.เพชรบูรณ์

ดร แขก บุญมาทัน อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบูรณ์

2 ส.ค.  2558

โครงการอบรมมัคคุเทศก์น้อย

หอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์และการท่องเที่ยวจังหวัด

เพชรบูรณ์

8 ส.ค. 2558

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน

โรงเรียนเทศบาล 3

(ชาญวิทยา) จ.เพชรบูรณ์

โรงเรียนเทศบาล 3

(ชาญวิทยา) จ.เพชรบูรณ์

2-6 ก.ย. 2558

โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนางานวิจัยเพื่อขอประเมินวิทยฐานะและพัฒนาการปฏิบัติงาน (สำหรับงานวิจัยและพัฒนา R&D)

โรงแรมเวล จ.นครปฐม

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

 

วัน  เดือน  ปี

เรื่อง

สถานที่

หน่วยงาน

28-29 ก.ย. 2558

การสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยใช้หลักสูตรเป็นฐาน

โรงเรียนเทศบาล 3

 (ชาญวิทยา) จ.เพชรบูรณ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

22-23 ต.ค.  2558

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อเข้าสู่งานประกันคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

โรงเรียนเทศบาล 3

(ชาญวิทยา) จ.เพชรบูรณ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

10  พ.ค.2559

นิทรรศการภาพถ่ายเพชรบูรณ์เมื่อวันวานที่หอวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์

หอวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

11-13 ต.ค.2559

การส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ

โรงแรมระยองชาเลต์

 

กองการศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

15  ก.พ. 2560

โครงการเพชรบูรณ์ร่วมต้านการถูกล่อลวง พร้อมใจป้องกันปัญหา       การค้ามนุษย์

โรงแรมโฆษิตฮิลล์

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบูรณ์

22  เม.ย. 2560

การเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงาน ในรูปแบบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หอวัฒนธรรม นครบาลเพชรบูรณ์

กองการศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

27  เม.ย. 2560

การส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ สร้างประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

โรงแรมพัทยาปาร์ค จังหวัดชลบุรี

กองการศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

28  เม.ย. 2560

ศึกษาดูงานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ค่ายศูนย์ทหารเรือ ชลบุรี

กองการศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

3 ส.ค.2560

ประชุมสัญจรระหว่างกองการศึกษา    กับโรงเรียนสังกัดเทศบาล

โรงเรียนเทศบาล 3

(ชาญวิทยา)

กองการศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

15-16 ส.ค.2560

การสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการ สำหรับหัวหน้ากลุ่มสาระเรียนรู้ในสถานศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์

โรงเรียน อบจ.เพชรบูรณ์

โรงเรียน อบจ.เพชรบูรณ์

17 ส.ค.2560

การจัดการความรู้ (KM)ชุมชน           แห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PCL) "

 โรงเรียน อบจ.เพชรบูรณ์

 โรงเรียน อบจ.เพชรบูรณ์

18 ส.ค.2560

การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้         ทางวิชาชีพ

โรงเรียนเพชรพิทยาคม

โรงเรียนเพชรพิทยาคม

19 ส.ค.2560

การพัฒนาทักษะการคิด (Active learning) 

โรงเรียนเพชรพิทยาคม

โรงเรียนเพชรพิทยาคม

 

 

 

 

วัน  เดือน  ปี

เรื่อง

สถานที่

หน่วยงาน

25 ส.ค.2560

การปฏิบัติการ"การวางแผนกลยุทธ์พัฒนาวิชาการ"

โรงเรียน อบจ.เพชรบูรณ์

โรงเรียน อบจ.เพชรบูรณ์

31ส.ค.2560

การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21       ด้วยกระบวนการ PLC และแนวคิด Active Learning

โรงเรียน อบจ.เพชรบูรณ์

โรงเรียน อบจ.เพชรบูรณ์

1 ก.ย.2560

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

โรงเรียน อบจ.เพชรบูรณ์

โรงเรียน อบจ.เพชรบูรณ์

29-30 ต.ค.2560

การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การประกันคุณภาพการศึกษา

ห้องประชุมหอวัฒนธรรมนครบาลเพชรบูรณ์

กองการศึกษาเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

23 พ.ย.2560

การประชุมเชิงปฏิบัติการ การจักการเรียนรู้ในรูปแบบ DLIT พร้อมนำไป    ลงมือปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

โรงเรียนเทศบาล 3        (ชาญวิทยา)

โรงเรียนเทศบาล 3(ชาญวิทยา)

 

                    จากประสบการณ์ที่ได้จากการฝึกอบรมดังกล่าวข้างต้น  ข้าพเจ้าได้นำมาใช้ในการพัฒนาวิชาการ ดังนี้

                          1)  โครงการรวมพลังเพื่อพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาไทย/การพัฒนาคุณภาพการศึกษา  เพื่อเข้าสู่งานประกันคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาโดยนำความรู้          จากการเข้าอบรมสัมมนามาใช้ในการวางแผน ประชุมมอบหมายงาน ปฏิบัติงาน และสรุปผลการทำงาน               รู้หลักการและวิธีการและเกณฑ์การประเมิน  มีการพัฒนางานประกันคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 3         (ชาญวิทยา) ส่งผลให้ผ่านการประเมินทั้งภายในและภายนอกและได้รับรางวัลในการประกวดสถานศึกษาเสมอมา ได้แก่ รางวัลพระราชทานสถานศึกษาดีเด่นของกรมการปกครองท้องถิ่น รางวัลโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร พร้อมทั้งนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานนิเทศการสอนโดยสามารถนิเทศ           ได้ทั้งส่งเสริมและซ่อมเสริมให้กับผู้ที่ได้รับการนิเทศทั้งคณะครูกลุ่มสาระภาษาอังกฤษ  และ                     นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาภาษาอังกฤษ ส่งผลให้ผู้รับการนิเทศได้รับการพัฒนาและแก้ไขกระบวนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ

                          2)  การประชุมสัมมนาการปฏิรูปการศึกษาท้องถิ่นระดับภาคเหนือ จากการเข้าอบรมดังกล่าวแล้วได้นำความรู้มาปฏิบัติเพื่อเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนร้อยละ  80 มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้นและโรงเรียน   ได้รับการพัฒนาปัจจัยหลายด้านได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี  การแบ่งงานและหน้าที่ และ ด้านขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการวิเคราะห์และวางแผนแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน และเรียนรู้การใช้ชีวิตบนเส้นทางอาเซียนได้อย่างเต็มศักยภาพ

                          3)  โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาหลักสูตรสู่ประชาคมอาเซียน /การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรขั้นพื้นฐาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ ก้าวสู่อาเซียนด้วยความมั่นใจในศักยภาพครูภาษาอังกฤษ(มัธยมศึกษา)/โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนได้นำความรู้ที่ได้จากการ                  เข้ารับการอบรมมาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรอาเซียน และนำวิธีหรือเทคนิค   การสอนที่หลากหลายมาพัฒนางานการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งนำความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ทักษะและกระบวนการมาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนทำให้นักเรียนได้รับการเรียนรู้หลากหลายมีเทคนิค วิธีการ ซึ่งนักเรียนสามารถพัฒนาทั้งทักษะการฟัง   การพูด การอ่าน และการเขียน  สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ           ได้ทำให้นักเรียนได้รับรางวัลจากการแข่งขันทักษะวิชาการภาษาอังกฤษ  ทั้งการพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ    การเขียนบรรยายภาพ การเล่านิทาน  การเขียนคำศัพท์  โครงงานและละครภาษาอังกฤษ และมีการเตรียม      ความพร้อมเข้าสู่อาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                          4)  โครงการอบรมพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้เลื่อนสู่วิทยฐานะ      ชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ /โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ จัดทำผลงานทางวิชาการ (กลุ่มสาระวิชาภาษาต่างประเทศ)/โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนางานวิจัยเพื่อขอประเมินวิทยฐานะ และพัฒนาการปฏิบัติงาน (สำหรับงานวิจัยและพัฒนา R&D)/การสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยใช้หลักสูตร     เป็นฐาน โดยนำความรู้จากการอบรมสัมมนามาพัฒนาด้านการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  พัฒนางานกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้วิจัยเชิงปฏิบัติการและวิจัยเพื่อพัฒนาส่งผลให้นักเรียนได้รับการพัฒนาและแก้ไขด้านการเรียนและพฤติกรรม ส่งผลให้ผู้เรียนได้รับความรู้และมีพฤติกรรมที่เหมาะสม นอกจากนี้  ได้นำเอาความรู้ไปเผยแพร่ให้กับคณะครูได้ใช้ในการเรียนการสอนตลอดจนการส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดซึ่งบ่งบอกว่า ครูสามารถแก้ไขและพัฒนาผู้เรียนได้ถูกต้องแล้ว อีกทั้งได้นำความรู้ด้านวิจัยมาพัฒนางานวิชาการ                   เพื่อสร้างคุณภาพงานด้านการศึกษาและความก้าวหน้าในวิชาชีพครูให้มั่นคงยิ่งขึ้นไป

                          5)  การอบรมเชิงปฏิบัติการ โครงการโรงเรียนต้นแบบ “ผู้นำการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ” ตัวแทนโรงเรียนภูมิภาค ภาคเหนือตอนล่างจากการอบรมส่งผลให้คณะครูได้ทำงานร่วมกัน นักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องเดียวกันและหลากหลายวิชา เป็นการลดภาระงานของผู้เรียนได้อย่างแท้จริง รวมทั้ง สามารถเขียนวิสัยทัศน์ โครงสร้างหลักสูตร การวิเคราะห์ตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างรายวิชา วิเคราะห์ภาระงานและชิ้นงาน กำหนดเกณฑ์การประเมินการเรียนรู้และคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ออกแบบการเรียนรู้ และ               นำหลักสูตรไปใช้ในชั้นเรียน ตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ส่งผลให้การจัดการศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)มีคุณภาพโดยดูจากผลสอบเอ็นทีและ โอเน็ตอยู่ในระดับมาตรฐานของประเทศ ทุกรายวิชา

                          6)  โครงการค่ายเยาวชนสมานฉันท์ข้าพเจ้านำมาจัดเข้ากระบวนการเรียนรู้และการใช้ชีวิต       ของนักเรียนให้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ไม่แยกชนชั้น ไม่แยกสีผิว ไม่แยกฐานะ และไม่แยกศาสนา เรียนรู้ว่าศาสนาทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดี และประพฤติตนได้เหมาะสมตามสถานที่หรือสถานการณ์ต่างๆได้   โดยเรียนรู้ข้อดี ข้อเสีย และข้อจำกัดของแต่ละศาสนา

                          7)  โครงการอบรมมัคคุเทศก์น้อยได้นำความรู้เกี่ยวกับจังหวัดเพชรบูรณ์ทั้งแหล่งท่องเที่ยว โบราณสถาน โบราณวัตถุ พืชเศรษฐกิจ ธรณีวิทยา พร้อมทั้งปราชญ์ชาวบ้านที่มีวิถีการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายแต่ทรงคุณค่า เพื่อลูกหลานสืบทอดสิ่งดีงามและระลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษของตน  รวมทั้งร่วมกันสร้างสรรค์พัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ และเป็นดินแดนแห่งความสุขของคนอยู่และผู้มาเยือน

                         8) โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนได้ความรู้และแนวทางในการใช้ชีวิตเมื่อเข้าสู่อาเซียนแล้วนำมาจัดทำหลักสูตรและจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และบูรณาการสู่กิจกรรมคริสต์มาสสู่อาเซียน      ส่งผลให้บุคลากรในโรงเรียนทุกคนมีความรู้และทักษะในการใช้ชีวิตได้อย่างเหมาะสม

                           9)  การสร้างและหาประสิทธิภาพของเครื่องมือโดยใช้หลักสูตรเป็นฐานได้แนวทาง                   ในการสร้างเครื่องมือให้สอดคล้องกับหลักสูตร และสร้างเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพนำไปเก็บข้อมูลการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย

                          10) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อเข้าสู่งานประกันคุณภาพของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาส่งผลให้เกิดความตระหนักในการประกันคุณภาพมีการวางแผนการประเมิน              ได้อย่างเป็นระบบและรองรับการประเมินทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

                          11) นิทรรศการภาพถ่ายเพชรบูรณ์เมื่อวันวานที่หอวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ทราบ        ความเป็นมาของการเกิดเมืองเพชรบูรณ์ บุคคลสำคัญ ตลอดจนวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิตของคนในอดีต   นำมาสอนนักเรียนด้านวิถีชาวเพชรบูรณ์ได้อย่างชัดเจน

                          12) การส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ และออกแบบการเรียนรู้อย่างหลากหลาย พร้อมทั้งการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

                          13) โครงการเพชรบูรณ์ร่วมต้านการถูกล่อลวง พร้อมใจป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ได้ทราบแนวทางในการหลีกเลี่ยงการทำทานแบบผิดๆ และต่อต้านการค้ากามในสังคมไทยโดยสร้างนักเรียนแกนนำรณรงค์ให้ความรู้ทั้งด้านเอกสาร และให้ความรู้กิจกรรมยามเช้าและเสียงตามสายตอนเที่ยง ส่งผลให้นักเรียน     ได้ความรู้และห่างไกลจากการประพฤติตนเสี่ยงทางเพศ

                          14)การเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงาน ในรูปแบบปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ได้ความรู้ ไปออกแบบการเรียนรู้แบบเน้นปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและบูรณาการการเรียนรู้สู่กิจกรรมคริสต์มาส             สู่ศตวรรษที่ 21 ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทำให้ทุกคนในโรงเรียนเกิดการเรียนรู้และปฏิบัติจริงได้เป็นอย่างดี

                          15) ประชุมสัญจรระหว่างกองการศึกษากับโรงเรียนสังกัดเทศบาลได้ทราบนโยบาย                 การปฏิบัติงานในโรงเรียนให้สอดคล้องกับนโยบายของเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ และพัฒนาการศึกษา             อย่างมีประสิทธิภาพ

                          16) การสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการ สำหรับหัวหน้ากลุ่มสาระเรียนรู้ในสถานศึกษา จังหวัดเพชรบูรณ์ได้ความรู้และแนวทาง แนวคิดในการปฏิบัติงานของผู้นำที่ดี ส่งผลให้เป็นนักคิด นักวางแผนและ      นักปฏิบัติที่ดี จากการอบรมได้มีการประเมินการวางแผนภาวะผู้นำทางวิชาการ ผลการประเมินปรากฏว่า      ได้รับรางวัลชนะเลิศผู้มีภาวะผู้นำทางวิชาการดีเด่นสำหรับหัวหน้ากลุ่มสาระเรียนรู้ในสถานศึกษา              จังหวัดเพชรบูรณ์

                          17) การจัดการความรู้ (KM) ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PCL) ได้ความรู้และแนวทาง      ในการจัดการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ และเป็นการวางแผนการทำงานแบบใช้ปัญหาเป็นฐานโดยหาแนวทาง          ในการแก้ปัญหาร่วมกันอย่างเป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพในการพัฒนาการศึกษาได้เป็นอย่างดี

                          18) การพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพได้พัฒนาการจัดกระบวนการพัฒนาการศึกษา แบบร่วมมือกัน ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีและยอมรับฟังความคิดเห็นของส่วนรวม ระดมสมอง                   เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาการศึกษาอย่างเป็นระบบ

                          19) การพัฒนาทักษะการคิด (Active learning) ได้เทคนิคการสอน และการออกแบบการสอน แบบ Active learning หลังจากนั้นนำมาใช้ในการสอนสู่ห้องเรียนทำให้เด็กมีทักษะการคิด การแก้ปัญหา และ               มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อย่างสนุกสนาน

                          20) การปฏิบัติการ"การวางแผนกลยุทธ์พัฒนาวิชาการ ได้ทักษะในการดำเนินการจัดทำแผนพัฒนา และนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการจัดทำโครงการและแผนปฏิบัติการของโรงเรียนได้อย่างเป็นระบบ

                          21) การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ด้วยกระบวนการ PLC และแนวคิด Active Learning     นำมาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน มุ่งเน้นพัฒนาทักษะทางภาษา การทำงานเป็นทีม การใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนรู้ และที่สำคัญนักเรียนสามารถสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ได้จริง

                          22) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้สามารถสร้างเครื่องมือในการวัดผลประเมินผล                  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                          23) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การประกันคุณภาพการศึกษาออกแบบและวางแผนรองรับ      การประเมินทั้งภายในและภายนอกได้อย่างสอดคล้อง และสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่แก่เพื่อนครูในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง

                          24) การประชุมเชิงปฏิบัติการ การจักการเรียนรู้ในรูปแบบ DLIT พร้อมนำไปลงมือปฏิบัติการสอนในชั้นเรียนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้นำไปจัดการเรียนรู้สู่ห้องเรียนโดยนำรูปแบบการสอนจากอาจารย์หลากหลายมาให้นักเรียนได้เรียนรู้ และช่วยสอนนักเรียนในคาบที่ครูลา

                    3.1.2.2  คุณภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ พิจารณาจาก

                                1)  ด้านคุณธรรมและจริยธรรม

                                     1.1) ความประหยัดเป็นผู้ประหยัด  ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้ คิดก่อนซื้อ เก็บออมถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ รู้จักทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย ของตนเองอยู่เสมอ ประหยัด  การใช้เงิน  สิ่งของ  เวลา และทรัพยากรต่างๆเท่าที่จำเป็น และ เก็บรักษา หรือออมส่วนที่เหลือไว้ใช้ในโอกาสอันควร    เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น  การใช้ทรัพยากรใช้ได้เหมาะสม  และเกิดประโยชน์สูงสุด  ไม่หลงค่านิยมที่ไม่ถูกต้อง  และไม่ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายจนเกินความจำเป็น

                                     1.2)  ความยุติธรรมมีความยุติธรรม มีความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก และแบ่งปันให้แก่ทุกคนตามความเหมาะสมและที่สำคัญนำไปใช้ในการพัฒนางานทั้งในห้องเรียนและในองค์กร ซึ่งส่งผลให้ผู้บริหาร คณะครู นักเรียน และชุมชน ให้ความรัก  และ ศรัทธาอย่างยั่งยืน

                                     1.3)  ความเมตตากรุณาใช้หลักธรรม พรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ในการอยู่ร่วมกันในสังคมและวิชาชีพครู  ความเมตตากรุณา ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า  เมตตาให้ความรัก ความปรารถนาดี    แก่ทุกคนด้วยความเสมอภาค ไม่ลำเอียง กรุณา ให้ความช่วยเหลือแก่บุคลากรฯ ที่มีทุกข์ตามโอกาสและ         ความเหมาะสมอย่างเท่าเทียมกันหรือกรณีมีปัญหาในหน้าที่การงานและปัญหาส่วนตัวมุฑิตา ยินดีให้กำลังใจ    แก่บุคลากรทุกคนเมื่อประสบความสำเร็จใน ชีวิต หรือในหน้าที่ การงานตามความเหมาะสม พิจารณาความดีความชอบที่ใช้หลักความดี/ เก่ง ส่งเสริม และสนับสนุนให้ทำผลงานเพื่อการพัฒนาวิชาชีพที่สูงขึ้น การจัดทำการ์ดอวยพรและของที่ระลึกมอบให้ ในวันคล้ายวันเกิด วันจบการศึกษา หรือวาระที่คณะครูได้รางวัลดีเด่นต่างๆและ อุเบกขา ทำงานโดยปราศจากอคติ วางตัวเป็นกลาง ให้ความยุติธรรมแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่ลำเอียง            ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ไม่แสดงความดีใจจนเกินควร หรือทับถมผู้อื่นเมื่อประสบเคราะห์กรรม

                                     1.4)  ความรับผิดชอบและตรงต่อเวลาครูคือผู้ให้ ผู้สร้าง  ผู้พัฒนา  ผู้ที่จุดดวงประทีปทางปัญญาให้แก่ศิษย์ เพื่อให้ศิษย์พ้นจากความมืด คือ ความไม่รู้ โดยพยายามประคับประคอง ส่งเสริมให้ศิษย์เจริญก้าวหน้าในทุกวิถีทาง ฉะนั้น ครูที่แท้จริงคือ ผู้ให้สำหรับศิษย์โดยไม่มีขอบเขตจำกัด ทั้งนี้เพราะหัวใจและวิญญาณของครูบรรลุสิ่ง 3 ประการ คือ ปัญญา กรุณา และบริสุทธิ์    ด้วยเหตุนี้ความรับผิดชอบและตรงต่อเวลา จึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ซึ่งได้ปฏิบัติตนดังนี้
                                                1.4.1)  สอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์ ซึ่งถือเป็นหน้าที่สำคัญสำหรับครู ครูที่ดี           ต้องทำการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ มีการพัฒนาการสอนให้สอดคล้องกับความสามารถและความสนใจ        ของนักเรียน นอกจากนั้นต้องสามารถให้บริการการแนะแนวในด้านการเรียน การครองตน และรักษาสุขภาพอนามัย จัดทำและใช้สื่อการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพรวมทั้งสามารถปรับหลักสูตร การเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นและ สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน
                                                1.4.2)  แนะแนวการศึกษาและอาชีพที่เหมาะสมให้แก่ศิษย์ เพื่อช่วยให้ศิษย์ของเรา สามารถเลือกวิชาเรียนได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้คำนึงถึงสติปัญญา ความสามารถ และความถนัดของบุคลิกภาพของศิษย์ด้วย
                                                1.4.3)  พัฒนาและส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ โดยการจัดกิจกรรม ซึ่งมีทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนในหลักสูตร และกิจกรรมการเรียนการสอนนอกหลักสูตร
                                                1.4.4)  ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ เพื่อจะได้ทราบว่า ศิษย์ได้พัฒนาและมีความเจริญก้าวหน้ามากน้อยเพียงใดแล้ว การประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์นั้นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ
                                                1.4.5)  อบรมคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย และค่านิยมที่ดีงามให้แก่ศิษย์ เพื่อศิษย์จะได้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีของสังคมในวันหน้า
                                                1.4.6)  ปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานและสถานศึกษา ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติครูและจรรยาบรรณครู เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์
                                                1.4.7)  ตรงต่อเวลา โดยการเข้าสอนและเลือกสอนตามเวลา ทำงานสำเร็จครบถ้วนตามเวลาและรักษาเวลาที่นัดหมาย
                                                1.4.8)  ปฏิบัติงาน ทำงานในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
                                                1.4.9)  ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของตน โดยการศึกษาค้นคว้า        หาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ

                                1.5)  ความรักและเอาใจใส่ต่อศิษย์

                                ให้ความรักและเอาใจใส่ต่อศิษย์ ด้วยการอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์ อย่างเต็มความสามารถด้วยความบริสุทธิ์ใจ โดยเน้นการปลูกฝังค่านิยมและจริยธรรมแก่ศิษย์ได้แก่เคารพผู้อาวุโสและครูอาจารย์  รักบิดามารดาและญาติพี่น้องและ จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

                                1.6)  ความซื่อสัตย์สุจริต

                                มีความซื่อสัตย์สุจริต ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ เพราะความ ซื่อสัตย์ สุจริตเป็นพื้นฐานขอความดีทุกอย่าง  จึงต้องฝึกฝนอบรมให้ เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาดที่เจริญมั่นคงหมายถึง กำลังแห่งการงานที่ไม่มีโทษหรือข้อเสียหาย  ข้าพเจ้าจึงปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ดังพุทธพจน์ที่ว่า “บุคคลควรปฏิบัติธรรม (หน้าที่) ให้สุจริต”  แสดงความซื่อสัตย์ โดยรักษาความลับ ผลประโยชน์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ของโรงเรียน ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและไม่บิดเบือนจากความ เป็นจริง และการปฏิบัติตามระเบียบหรือกฎของโรงเรียนและวิชาชีพอย่างเคร่งครัด

                                ได้ปฏิบัติงานตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต  รับผิดชอบงานในหน้าที่การสอน และงานหน้าที่พิเศษที่ได้รับมอบหมายด้วยความเต็มใจ           ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากงานราชการ ไม่เอาเวลาราชการไปหาประโยชน์ส่วนตัว รักษาสิทธิ ผลประโยชน์ทางราชการของโรงเรียน  โดยปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน               ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตไม่แสวงหาผลประโยชน์ใดๆ มุ่งปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม และสถานศึกษาเป็นสำคัญ

                                มีเจตคติต่อเพื่อนร่วมงานและสถานศึกษา ใช้หลักธรรม พรหมวิหาร  4  คือ มีความเมตตา ปรารถนาจะให้ผู้อื่นเป็นสุข มีความกรุณา สงสาร คิดหาทางให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ มีมุทิตาปลาบปลื้มยินดี            ในความสำเร็จ ความก้าวหน้าของผู้อื่นและมีอุเบกขา ความวางเฉย เห็นอกเห็นใจผู้ได้รับความทุกข์   และ      สังคหวัตถุ 4 หมายถึง หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่  ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้                ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว  ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ        ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสมกับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญ          กับการพูดเป็นอย่างยิ่ง เพราะ วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้        เว้นจากการพูดเท็จ เว้นจากการพูดส่อเสียด เว้นจากการพูดคำหยาบ เว้นจากการพูดเพ้อเจ้ออัตถจริยา คือ           การสงเคราะห์ทุกชนิดหรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และ สมานัตตา คือ การเป็นผู้                    มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย ประพฤติตนเป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อผู้อื่น            และเป็นคนไม่ถือตัวไม่ถือยศศักดิ์ เข้ากันได้กับผู้ร่วมงานทุกคน ตามความเหมาะสมตามฐานะของตน

                                1.7)  ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อศิษย์

                                        ครูเป็นแบบอย่างที่ดีและถูกต้องแก่ศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ศิษย์ด้วยความอาทร       ในทุกเรื่องราวความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการเสียสละเป็นคุณธรรมสำคัญประการหนึ่งที่สร้าง ความนับถือ ผูกไมตรี       ทำคนเกลียดให้รัก ทำคนที่รักอยู่แล้วให้มีความรักมากยิ่งขึ้น ย่อมให้ผลที่ดีเสมอ ก่อให้เกิดความชื่นชมยินดีต่อกันและกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้ให้หรือผู้รับ คนที่มีน้ำใจเสียสละคิดจะเฉลี่ยแบ่งปันลาภผลและความสุขของตนแก่ผู้อื่น   อยู่เสมอนั้น ไม่ว่าใครๆ ก็อยากคบหาสมาคมด้วย

                                          เข้าร่วมกิจกรรมและให้ความช่วยเหลือกับผู้ร่วมงานในโรงเรียน ตลอดกิจกรรมที่สำคัญ     ของหน่วยงานราชการ องค์กรและชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง อย่างสม่ำเสมอ ร่วมมือในการประสานส่งเสริม          ความสามัคคีในหมู่คณะด้วยความจริงใจ  นอกจากนั้นยังช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานในการทำผลงานทางวิชาการ        การนำความรู้ที่พัฒนาตนเองมาเผยแพร่ให้ความช่วยเหลือ  คำปรึกษา  คำแนะนำแก่เพื่อนครูอย่างกัลยาณมิตร   ทุกครั้งที่มีโอกาสทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ด้วยความเต็มใจ  บริสุทธิ์ใจ  และนำผลงาน การค้นคว้า       ไปเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของตนเอง เพื่อผู้สนใจทั่วไปหรือผู้ร่วมประกอบวิชาชีพได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ 

                                1.8)  ความศรัทธาต่อวิชาชีพครู

                                        ความศรัทธาต่อวิชาชีพครู ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดี      ขององค์กรวิชาชีพครู  ความศรัทธาต่อวิชาชีพครู เป็นอาชีพที่เสียสละ เป็นครูที่ดี ประกอบด้วยความเมตตาและกรุณาที่ช่วยยกระดับวิญญาณของมนุษย์ และชี้นําให้ผู้เรียนรู้ผิด รู้ชอบ รู้ชั่ว รู้ดีและที่สําคัญกว่าสิ่งอื่นใด คือ       ครูต้องเป็น ผู้สร้างคนให้กล้า ให้เก่ง  มีความเป็นตัวของตัวเอง และเป็นคนดีของสังคมและประเทศชาติ เพราะเป้าหมายสูงสุดของครูก็คือ การยกระดับวิญญาณของศิษย์ไปสู่คุณธรรมอันสูงสุดอย่างแท้จริง

 

                                1.9) ความเสียสละและอุทิศเวลา

                                       ความเสียสละเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานของผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคม ทุกคนในสังคม        ต้องมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเสียสละแบ่งปันให้แก่กัน ไม่มีจิตใจคับแคบ เห็นแก่ตัว ความเสียสละจึงเป็นคุณธรรม       เครื่องผูกมิตรไมตรี ยึดเหนี่ยวจิตใจไว้ เป็นเครื่องมือสร้างลักษณะนิสัยให้เป็นคนที่เห็นแก่ประโยชน์สุข   ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์สุขส่วนตัวการ เสียสละจึงเป็นคุณธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในสังคม เริ่มตั้งแต่ครอบครัวอันเป็นหน่วยเล็กๆของสังคม ต้องเสียสละความสุขส่วนตัวให้แก่กัน เสียสละทรัพย์สินที่หามาได้ด้วยความเหนื่อยยากลำบากให้แก่กันทั้งในยามปกติและคราวจำเป็น
                                        ดังจะเห็นได้จากที่ข้าพเจ้าเสียสละ และบริจาคทรัพย์ สิ่งของเพื่อช่วยเหลือกัน               ในเมื่อ    ประสบภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแก่คนในที่ใดที่หนึ่ง ก็มักจะมีการรับบริจาคเพื่อนำเงินหรือสิ่งของ              ไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความ ทุกข์ความเดือดร้อนอันเกิดจากภัยพิบัติต่างๆ เช่น อุทกภัย วาตภัย  มีการรับบริจาคสิ่งของเพื่อนำไปสร้างเป็นสาธารณะประโยชน์ให้แก่สังคมส่วนรวม ร่วมทำบุญในโอกาสต่างๆ ตลอดจน         การให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนและผู้ยากไร้
                                มีน้ำใจเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทุกคนในสังคม ช่วยเหลือเท่าที่เห็นว่าสมควรจะช่วยเหลือได้ เห็นใครควรแก่การช่วยเหลือก็ช่วยเหลือตามกำลังมากบ้างน้อยบ้าง หรือบางครั้ง               ก็ช่วยเหลือด้วยกำลังกาย บางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังทรัพย์ บางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังสติปัญญา ทุกๆ ครั้ง    ที่ช่วยเหลือก็มีความกรุณาสงสารเป็นเบื้องหน้า มุ่งที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ของผู้อื่นด้วยความเต็มใจ บริสุทธิ์ใจ

                                ปฏิบัติตนและยึดกฎระเบียบทางราชการในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องตรงต่อเวลา  อุทิศเวลาให้แก่ทางราชการ ไม่ละทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุอันควร โดยการมาปฏิบัติราชการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ  อุทิศเวลาให้กับทางราชการ  เพื่อมาปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอน        กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศอย่างเต็มเวลาเต็มความสามารถโดยไม่เอาเวลาราชการไปหาผลประโยชน์หรือ         ทำธุรกิจส่วนตัว หากได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่ใด ๆ ข้าพเจ้าก็จะรับผิดชอบและ           ทำให้เสร็จแม้งานนั้นต้องนำไปทำต่อที่บ้านหรืออยู่ปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ หรือได้รับคำสั่งให้ทำงาน     ในวันเสาร์ – อาทิตย์  ข้าพเจ้าก็ไม่เคยหลีกเลี่ยงต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

                                2)  ด้านบุคลิกภาพ  -ข้าพเจ้าปฏิบัติตนดังนี้

                                       2.1)  การแต่งกายสะอาด

                                                รูปร่างหน้าตา กิริยาอาการ ลักษณะท่าทางที่สง่างาม การแต่งกายที่เหมาะสม        การแต่งกายสะอาด เรียบร้อย ไม่แต่งกายนำสมัย และใช้เครื่องสำอางแต่พอประมาณ

                                        2.2)  ท่วงทีวาจา

                                                พูดด้วยถ้อยคำที่ถูกต้อง ชัดเจน เหมาะสม ถูกกาลเทศะ คล่องแคล่ว ไพเราะอ่อนหวาน และพูดจามีสาระมีเหตุผล   พูดจาไพเราะนุ่มนวลอยู่เสมอ พูดเสียงดัง มีอารมณ์เย็น และเป็นกันเอง  กับเด็กนักเรียนและมีอารมณ์ขันบ้าง

                                         2.3)  กิริยามารยาท

                                                มีความประพฤติเรียบร้อย มีความสงบเสงี่ยม ต้องระมัดระวังในการวางตัวเสมอ  ควบคุมอารมณ์ได้ดี สนใจผู้เรียน  มีอารมณ์ขัน ไม่เคร่งเครียดจริงจังจนเกินไป มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน ยิ้มแย้ม และร่าเริงอยู่เสมอ 

                                          2.4)  ความประพฤติและการปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดี

                                                ประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ              โดยประพฤติเป็นแบบอย่าง ดังนี้

                                                2.4.1)  ความมีระเบียบวินัย หมายถึง ความประพฤติ ทั้งทางกายและวาจาและ        ใจ      ที่แสดงถึงความเคารพในกฎหมาย ระเบียบประเพณีของสังคม และความประพฤติที่สอดคล้องกับอุดมคติหรือความหวังของตนเอง โดยให้ยึดส่วนรวมสำคัญกว่าส่วนตัว
                                                2.4.2)  ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม ได้แก่การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่เอาเปรียบ หรือคดโกงผู้อื่นหรือส่วนรวม ให้ยึดถือหลักเหตุผล ระเบียบแบบแผนและกฎหมาย    ของสังคมเป็นเกณฑ์

                                                2.4.3)  ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ  โดยประพฤติที่ไม่ทำให้เสียเวลาชีวิตและปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิด ประโยชน์แก่ตนและสังคม
                                                2.4.4)  ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่าง ๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ ได้แก่ประพฤติที่ไม่เอารัดเอาเปรียบสังคมและไม่ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่สังคม
                                                2.4.5)  ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล  ได้แก่ประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน
                                                2.4.6)  ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์   ประพฤติโดยสนับสนุนและให้ความร่วมมือ ในการอยู่ร่วมกันโดย          ยึดผลประโยชน์ของสังคมให้มากที่สุด
                                                2.4.7)  ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ หมายถึง         ความมั่นคงและจิตใจ รู้จักบำรุงรักษากายและจิตใจให้สมบูรณ์ มีอารมณ์แจ่มใสมีธรรมะอยู่ในจิตใจอย่างมั่นคง
                                                2.4.8)  ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่ง ไม่ไหว้วานหรือ   ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น
                                                2.4.9)  ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ หมายถึง ความประพฤติที่แสดงออกซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมแบบไทย ๆ มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรม     ของตนเองและทรัพยากรของชาติ
                                                2.4.10)  ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน  แสดงออกถึงความแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่น ในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์

                                2.5)  ความเชื่อมั่นในตนเอง

                                         มีปฏิภาณไหวพริบที่ดี มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีการตัดสินใจที่ดี         มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรู้รอบตัวดี เป็นคนช่างสังเกต ละเอียดรอบคอบ มีความรู้ในรายวิชาที่สอน     ด้านวิจัย คอมพิวเตอร์ และสื่อเทคโนโลยีต่างๆ มีความรู้ด้านเทคนิคการสอน การวัดผลประเมินผล มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีลักษณะเป็นผู้นำและเป็นผู้ที่พึ่งพิงได้

                                3) ด้านมนุษย์สัมพันธ์และสัมพันธภาพในครอบครัว

                                           3.1)  มนุษย์สัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและบุคคลทั่วไป

                                                มีความเป็นผู้นำ ให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ชุมชน และสังคม  มีระเบียบวินัย     สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีการวางตัวที่เหมาะสมในสังคม

                                            3.2)  สัมพันธภาพในครอบครัว

                                                เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่  เป็นแม่ที่ดีของลูก เป็นภรรยาที่ดีของสามี เป็นญาติที่ดี       ของเครือญาติ มีความรัก ความผูกพันธ์  ช่วยเหลือ เกื้อกูลกันในครอบครัว เป็นที่พึ่งของครอบครัวและ                  สร้างความภาคภูมิใจให้กับวงศ์ตระกูลเสมอมา

                                คุณลักษณะพิเศษอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพ

                                                1. เป็นครูมืออาชีพ มีความรัก ศรัทธา ภาคภูมิใจในความเป็นครู  มีความรู้ เจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ และมีทักษะที่เหมาะสมต่อวิชาชีพครู  และที่สำคัญยิ่งมีจิตวิญญาณในอาชีพครู กล้ารับผิดชอบ         กล้าเผชิญต่อผลการกระทำอันเนื่องมาจากภารกิจที่เกี่ยวข้องกับอาชีพครู

                                                2. เป็นครูที่มีสมรรถภาพในการทำงานสูง โดยได้ทำหน้าที่ของความ                   เป็นครูอย่างสมบูรณ์ ประกอบด้วยทำการสอนให้เป็นอย่างดี สามารถทำการอบรม แนะแนว และปกครอง         ได้เป็นอย่างดี  ทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียนได้เป็นอย่างดี   สร้างสัมพันธภาพได้เป็นอย่างดีและร่วมมือกับชุมชนและที่สำคัญเป็นครูชั้นอาชีพโดยรู้จักเพิ่มพูนความรู้ให้แก่อาชีพอยู่เสมอ เป็นสมาชิกที่ดีของทางวิชาการ ยึดถือแบบธรรมเนียมของผู้เป็นครูและช่วยเหลือแนะนำครูใหม่

                                                3.  เป็นครูแสนดี และเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป อันได้แก่  1) ด้านความประพฤติ  มีความประพฤติที่ดีเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่เด็ก ๆ และสังคม 2) ด้านความรู้ทางด้านวิชาการ มีความรู้กว้างขวางนอกเหนือไปจากความรู้เฉพาะ 3)ด้านการสอน รู้จักพัฒนาปรับปรุงการสอนของตนให้ได้ผลดีเสมอมา 4)       ด้านการปกครองนักเรียน ฝึกนักเรียนให้มีวินัยควบคู่ไปกับการอบรมทางศีลธรรม 5) ด้านมนุษย์สัมพันธ์ของครู สร้างความเข้าใจและคุณความดีของสังคม และ 6) ด้านบุคลิกภาพของครู  ครูแต่งกายเหมาะสม มีอารมณ์มั่นคง   มีเสียงพูดชัดเจน และมีลักษณะของความเป็นผู้นำ

                                                4. มีความรัก และศรัทธาในวิชาชีพครู เพราะครูเป็นผู้ให้กำเนิดพลเมืองที่ดี คือ     ชุบพลเมือง  ให้เป็นนักรู้ นักทำงาน นักพูด นักเขียน นักตำรา นักประดิษฐ์ นักค้นคว้าเหตุผล นักปราชญ์

                                                5. เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ดูจาก ตนสุข ผู้อื่นสุข สิ่งแวดล้อมดี  นั้นหมายถึงว่า    รู้จักตน เข้าใจผู้อื่น สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี วิเคราะห์ตน วิเคราะห์ความแตกต่าง ของผู้อื่น วิเคราะห์สิ่งแวดล้อม ปรับปรุงตน ยอมรับความแตกต่าง ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และพัฒนาตนให้เข้ากับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม

                                6. ผู้ปฏิบัติงานดี โดยปฏิบัติงานใช้หลัก 3 ประสานก็คือ มือดี ใจดี ความคิดดี         ซึ่งมือดีก็คือมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ บุคลิกภาพและลักษณะท่าทางดี  ใจดีก็คือมีความมั่นคง         ทางจิตใจมีความรับผิดชอบ เอาใจใส่ในงาน มีความขยันหมั่นเพียรและอดทน  ส่วนคิดดีก็คือ มีความคิดริเริ่ม                      มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้จักกาลเทศะ รู้จักช่องทางในการติดต่อสื่อสารและเป็นผู้รู้จักประมาณตน

                                                7. ผู้ชำนาญการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นในงานวิชาการ แบ่งออกได้เป็น 4 ข้อย่อย ดังนี้

                                                           7.1  ทรัพยากรบุคคล ได้แก่ นักวิชาการ ครูอาจารย์จากสถานศึกษาอื่น    ศิลปินพื้นบ้าน ผู้อาวุโส ผู้เป็นปูชนียบุคคลในหมู่บ้าน ผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งนำมาใช้ในลักษณะขอคำปรึกษาและข้อเสนอแนะ หรือเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เรียน

                                                           7.2  ทรัพยากรวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ โสตทัศนูปกรณ์ สถานศึกษาอื่น นำมาใช้ในลักษณะของการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การศึกษา ในกิจกรรมการเรียนการสอน

                                                            7.3  ทรัพยากรธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเล ปะการัง หิน แร่ธาตุ      สัตว์ป่า สมุนไพร ซึ่งจะนำมาใช้ในลักษณะเป็นสื่อการเรียนการสอน การไปทัศนศึกษา การช่วยกันอนุรักษ์ไว้

                                                     7.4  ทรัพยากรสังคม ได้แก่ วันสำคัญ ศิลปะพื้นบ้าน วัฒนธรรมพื้นบ้าน โบราณวัตถุโบราณสถาน ประเพณีต่างๆ ซึ่งจะนำมาใช้ได้ในลักษณะให้ครูอาจารย์ นักเรียนเข้าร่วม           กิจกรรมโดยตรง  จัดนิทรรศการ การศึกษาหาข้อมูลเพื่อจะได้ช่วยกันอนุรักษ์ไว้

                                                8.  เป็นนักวางแผนมืออาชีพ สังเกตได้จากการเป็นหัวหน้างาน หรือแกนนำ           ในการประเมินผลงานของสถานศึกษาส่งผลผ่านการประเมินทุกครั้งและได้รับรางวัลเสมอมา อาทิเช่น โรงเรียนพระราชทาน นักเรียนพระราชทาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร สถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน          ได้รับการรับรองการจัดคุณภาพการศึกษาจากการประเมินภายนอก (สมศ) ทั้งรอบที่ 2 และรอบที่ 3

                                                9.  เป็นนักกิจกรรมหรือนักนันทนาการ ปฏิบัติงานกิจกรรมทั้งงานฝีมือ งานแสดง              งานร้องรำทำเพลงทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา เพื่อสร้างสรรค์ ความสุข ความรื่นเริงและความสนุกสนานบนพื้นฐานความรู้ในแต่ละกิจกรรม

                                                สรุปได้ว่าคุณภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ พิจารณาจากการประพฤติปฏิบัติตนทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านคุณธรรมและจริยธรรม 2)ด้านบุคลิกภาพ และ 3)ด้านมนุษยสัมพันธ์และสัมพันธภาพในครอบครัวพร้อมทั้งคุณลักษณะพิเศษที่มุ่งเน้นพัฒนาการศึกษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดส่งผลให้เกิดผลงานที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะในสาระหรือกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานส่งเสริมการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ ส่งผลให้ข้าพเจ้าได้รับการเชิดชูเกียรติดังนี้

 

วัน เดือน ปี

ผลงานดีเด่น

หน่วยงานที่จัด / หมายเหตุ

1 ก.พ. 2545

ครูดีศรีอำเภอเมืองเพชรบูรณ์

คุรุสภา

2-3 ก.พ. 2545

ได้รับคัดเลือกนำเสนอผลงานวิจัยในชั้นเรียน

ดีเด่นในงาน “นิทรรศการแสดงผลงาน

การจัดการศึกษาเทศบาลภาคเหนือ ครั้งที่ 1”

เขตการศึกษาเทศบาลภาคเหนือ

7-8

27 ก.พ. 2545

รองชนะเลิศอันดับ 1 ประกวดสื่อการสอน               ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

28 มี.ค. 2546

ผู้มีผลงานวิจัยดีเด่น

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

28 มี.ค. 2546

ผู้มีผลงานดีเด่น

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

1 เม.ย. 2546

รองชนะเลิศอันดับ 2 ประกวดสื่อการสอน               ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

26 มิ.ย. 2546

ครูผู้อุทิศเวลาให้กับทางราชการ

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

26 มิ.ย. 2546

ครูแต่งกายอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยดีเด่น

โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

25 ก.ย. 2546

ชนะเลิศอันดับ 1 ประกวดสื่อการสอน

ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

31 มี.ค. 2547

ชนะเลิศผู้มีผลงานยอดเยี่ยมการประกวดบู้ธแสดงผลงานทางวิชาการ(ประเภทบุคคล)

โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

31 มี.ค. 2547

ชนะเลิศอันดับ 3 ประเภททีม ด้านงานธุรการ การเงินและพัสดุ

โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

31 มี.ค. 2547

ครูผู้ปฏิบัติงานดีเด่น ด้านธุรการ การเงินและพัสดุ

โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

วัน เดือน ปี

ผลงานดีเด่น

หน่วยงานที่จัด / หมายเหตุ

15 ต.ค. 2547

ผู้ประสานงานและบำเพ็ญประโยชน์ต่อโรงเรียน

พุทธสมาคมจังหวัดเพชรบูรณ์

16-18 ก.พ. 2548

ครูผู้สอนดีเด่น การประกวดผลงานดีเด่นของครูผู้สอน ประเภทผลงานดีเด่น ระดับมัธยมศึกษา

เทศบาลภาคเหนือเขต7-8

2 มี.ค. 2548

ครูดีเด่น การประกวดครูผู้มีผลงานดีเด่น ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

2 มี.ค. 2548

อาจารย์ผู้ฝึกซ้อมสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ  รางวัลเหรียญทอง

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

2 มี.ค. 2548

อาจารย์ผู้ฝึกซ้อมเขียนเรื่องจากภาพภาษาอังกฤษ     รางวัลเหรียญเงิน

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

2 มี.ค. 2548

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานภาษาอังกฤษ 

รางวัลเหรียญทองแดง

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

18 เม.ย. 2548

ชนะเลิศผู้มีผลงานยอดเยี่ยมการประกวดบู้ธแสดงผลงานทางวิชาการ(ประเภทบุคคล)

โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

2 ต.ค. 2548

ผู้ประสานงานและบำเพ็ญประโยชน์ต่อโรงเรียน

พุทธสมาคมจังหวัดเพชรบูรณ์

6 ก.พ. 2549

รางวัลการประกวดวิจัยในชั้นเรียนระดับดีเยี่ยม

โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

6 ก.พ. 2549

รางวัลชนะเลิศลำดับที่ 3 การประกวดสื่อการสอน CAI

โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

21-23 ก.พ. 2549

ครูสอนเสริมและดูแลนักเรียนแข่งขันทักษะวิชาการ

เทศบาลนครพิษณุโลก

21-23 ก.พ. 2550

ครูผู้สอนเสริมการเขียนเรื่องจากภาพภาษาอังกฤษชนะเลิศระดับเหรียญทอง

เทศบาลเมืองพะเยา

21-23 ก.พ. 2550

ครูผู้สอนโครงงานภาษาอังกฤษชนะเลิศระดับเหรียญทอง

เทศบาลเมืองพะเยา

21-23 ก.พ. 2550

ครูผู้สอนทักษะการคัดลายมือภาษาอังกฤษชนะเลิศระดับเหรียญเงิน

เทศบาลเมืองพะเยา

21-23 ก.พ. 2550

ครูผู้สอนเสริมทักษะการเขียนตามคำบอกภาษาอังกฤษชนะเลิศระดับเหรียญทองแดง

เทศบาลเมืองพะเยา

21-23 ก.พ. 2550

ครูผู้สอนเสริมการสวดมนต์หมู่สรรเสริญ

พระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ

ชนะเลิศระดับเหรียญทอง

เทศบาลเมืองพะเยา

2 มี.ค.  2550

ครูผู้สอนเสริมการสวดมนต์หมู่สรรเสริญ

พระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์

15 ต.ค. 2550

ครูผู้ประสานงานและบำเพ็ญประโยชน์ต่อโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

พุทธสมาคมจังหวัดเพชรบูรณ์

26 ก.พ. 2551

ครูดีเด่นในดวงใจ

นายกเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

 

วัน เดือน ปี

ผลงานดีเด่น

หน่วยงานที่จัด / หมายเหตุ

28 พ.ย. 2551

ครูจิตอาสาช่วยเหลือกิจกรรม

มูลนิธิส่งเสริมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์

4-6 ก.พ. 2552

ครูผู้สอนเสริมการเล่นละครภาษาอังกฤษ ชนะเลิศระดับเหรียญทอง

เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

4-6 ก.พ. 2552

ครูผู้สอนเสริมการพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ ชนะเลิศระดับเหรียญทองแดง

เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

12 ส.ค. 2552

ครูประสานงานและควบคุมทีมดนตรีไทยดีเด่น

จังหวัดเพชรบูรณ์ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบูรณ์

16 ม.ค. 2553

ครูผู้สอนดีเด่น ให้ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติและเกียรติบัตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ประจำปี 2552

คุรุสภาร่วมกับกรมการปกครองท้องถิ่น

11-13 ม.ค. 2554

ครูผู้ฝึกสอน ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ด้านทักษะการละคร ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย

19  พ.ย. 2554

ครูผู้สอนเสริมนักเรียน ด้านทักษะการเขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40

จังหวัดเพชรบูรณ์

2 ธ.ค. 2554

ครูผู้สอนเสริมทักษะการละครภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 2      ระดับเหรียญทอง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต40

จังหวัดเพชรบูรณ์

16 ม.ค. 2555

ครูผู้อุทิศตนเพื่อประโยชน์แก่นักเรียน โรงเรียนและชุมชน  ด้าน: งานประกันคุณภาพการศึกษาดีเด่น

เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์

23  มี.ค. 2555

ครูดีเด่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

มูลนิธิช่วยการศึกษาท้องถิ่น และ

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

17 มิ.ย. 2555

“ต้นแบบครูผู้สร้างคน” เป็นผู้ทำงานทดแทนคุณของแผ่นดิน ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท พระผู้ทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน มอบรางวัลโดย พลเรือเอกชุมพล ปัจจุสานนท์ ตำแหน่ง องคมนตรี

หนังสือพิมพ์เส้นทางผู้นำ

 

 

 

 

 

 

 

วัน เดือน ปี

ผลงานดีเด่น

หน่วยงานที่จัด / หมายเหตุ

19-20 มิ.ย. 2555

เป็นผู้ช่วยวิทยากร พระอาจารย์ธงชัยเฉลิมพล               นววัชรวรวงศ์ นายกองค์การยุวธรรมิกชน                  แห่งประเทศไทย  ในการอบรมค่ายธรรมวุธ         “พัฒนาแกนนำเด็กและเยาวชน”  ระดับมัธยมปลาย

องค์การยุวธรรมิกชนแห่งประเทศไทย “องค์กรสาธารณะประโยชน์ประเภทสนับสนุนและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แก่เด็ก

และเยาวชนทั่วประเทศ

ร่วมกับโรงเรียนเทศบาล 3

(ชาญวิทยา)

27-29 มิ.ย. 2555

-ครูที่ปรึกษา กิจกรรมประกวดแข่งขันโครงงานภาษาอังกฤษชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6                         รางวัลระดับเหรียญทองแดง

-ครูสอนเสริมการแข่งขันละครภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 รางวัลระดับเหรียญเงิน

องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่

5-13 ส.ค.2555

เป็นคณะกรรมการเตรียมการอบรมและประสานงาน   กับ พระอาจารย์ธงชัยเฉลิมพล

นววัชรวรวงศ์ นายกองค์การยุวธรรมิกชนแห่งประเทศไทย และคณะครูในการอบรมค่ายธรรมวุธ“พัฒนาแกนนำเด็กและเยาวชน”  ระดับมัธยมต้น

องค์การยุวธรรมิกชนแห่งประเทศไทย “องค์กรสาธารณะประโยชน์ประเภทสนับสนุนและส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม แก่เด็กและเยาวชนทั่วประเทศร่วมกับโรงเรียนเทศบาล 3

(ชาญวิทยา)

7 ก.ย. 2555

-ผู้ฝึกซ้อมนักเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 ระดับเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันละครสั้นภาษาอังกฤษ ระดับชั้น ม.4-6

-ครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ระดับชั้น ม.1-6 รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 ระดับเหรียญทอง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต40

จังหวัดเพชรบูรณ์

17-21 ก.ย. 2555

สอบผ่านการอบรมตามโครงการพัฒนาข้าราชการครู พนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาท้องถิ่น          ก่อนแต่งตั้งให้เลื่อนสู่วิทยฐานะระดับชำนาญการพิเศษและเชี่ยวชาญ ประจำปีงบประมาณ 2555

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

21-23 พ.ย.  2555

ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทอง กิจกรรมวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

1-7 ธ.ค. 2555

เป็นคณะกรรมการและหัวหน้าดำเนินกิจกรรมตามโครงการบรรพชาสามเณรเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน วโรกาศมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา

โดยความร่วมมือจาก

องค์การยุวธรรมิกชนแห่งประเทศไทย  คณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)  และวัดไทรงามรัตนาวาส

วัน เดือน ปี

ผลงานดีเด่น

หน่วยงานที่จัด / หมายเหตุ

5-7 มิ.ย. 2556

ผู้ฝึกสอนโครงงานภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษา        ตอนปลาย รางวัลระดับเหรียญเงิน

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและเทศบาลเมืองสวรรคโลก

2557-2560

ครูสอนเสริมเด็กเก่งวิชาภาษาอังกฤษในโรงเรียนท้องถิ่นระดับประเทศ

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

6ส.ค.2558

ครูกลุ่มภาษาอาเซียน รองชนะเลิศอันดับ 1                  การประกวดบู๊ธอาเซียน

โรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา)

2558-2560

เป็นวิทยากรกิจกรรม English Camp และกิจกรรม Christmas

โรงเรียน และชุมชน

12-14 ก.ค. 2560

ครูสอนเสริมโครงงานภาษาอังกฤษ                               ได้รางวัลระดับเหรียญทองแดง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

12-14 ก.ค. 2560

ครูสอนเสริมสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ                           ได้รางวัลระดับเหรียญทอง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

16พ.ย. 2560

ผู้มีภาวะผู้นำทางวิชาการดีเด่น                               สำหรับหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบูรณ์ (วังชมภู)

27ธ.ค. 2560

ครูดีเด่น เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

สำนักงานเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์

                   

                   

                    เนื่องจากข้าพเจ้ามีความวิริยะ อุตสาหะ ได้พยายามทุ่มเทแรงกาย  แรงใจ และกำลังสติปัญญา  ความสามารถ ความเอาใจใส่นักเรียนอย่างสม่ำเสมอ  ทำให้นักเรียนสามารถสอบผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่โรงเรียนกำหนดไว้ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์  และนักเรียนที่ข้าพเจ้าอบรมสั่งสอนได้รับรางวัลในการสอบแข่งขันระดับโรงเรียน/เทศบาล /  จังหวัด /เขต/ภาคซึ่งนำชื่อเสียงมาสู่โรงเรียนและเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์เสมอมาดังนี้

 

วัน เดือน ปี

ผลงานนักเรียนดีเด่น

หน่วยงานที่จัด

19 ก.พ. 2542

เด็กหญิงวันวิสา  ม่วงนาคและเด็กหญิงกนกอร

อ้นสืบสาย รองชนะเลิศอันดับ1  การแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเทศบาล

ในเขตการศึกษา 7

เทศบาลเมืองพิษณุโลก

25 ส.ค.2542

เด็กหญิงวันวิสา  ม่วงนาค ชนะเลิศอันดับ 1  การแข่งขันคนเก่งในโรงเรียนท้องถิ่น (ภาษาอังกฤษ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

 

เทศบาลเมืองหล่มสัก

 

12 ม.ค. 2543

เด็กหญิงวันวิสา  ม่วงนาค ได้รับรางวัลที่ 5 ในการแข่งขัน        วัดความรู้และทักษะภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 

สถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์

 

 

วัน เดือน ปี

ผลงานนักเรียนดีเด่น

หน่วยงานที่จัด

24 ก.พ. 2543

เด็กหญิงวันวิสา  ม่วงนาค  ชนะเลิศวิชาภาษาอังกฤษ

การแข่งขันทักษะวิชาการระดับมัธยมศึกษาตอนต้น         โรงเรียนเทศบาล เขตการศึกษา 7

เทศบาลเมืองกำแพงเพชร

16-18 ก.พ. 2548

เด็กหญิงศิรินภา  ลือหาญ เด็กหญิงรัฐสถาพร  สิทธิยศ  เด็กหญิงณัฐจิรา  เพชรทอง เด็กหญิงพัชราภรณ์  สิมสุวรรณและเด็กหญิงหรรษา  ปิ่นสุก รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ ระดับมัธยมต้น

เทศบาลนครเชียงราย

16-18 ก.พ. 2548

เด็กหญิงธัญญาพร นิลยี่เรือ เด็กหญิงกรรณิการ์  สมเพชร และเด็กหญิงไอลดา ชูสอนได้รางวัลเหรียญทองแดง

การประกวดโครงงานภาษาอังกฤษ

เทศบาลนครเชียงราย

2 ต.ค. 2548

เด็กหญิงจุฑามาศ  แก้วพวง  เด็กหญิงสุกัญญา   โพธิ์ทอง  เด็กหญิงพรชนก อินสอน เด็กหญิงนิตยา กงถันและเด็กหญิงรุจิรา ทับร่องได้รางวัลชมเชย

การประกวดศาสนพิธี

พุทธสมาคมจังหวัดเพชรบูรณ์

21-23 ก.พ.2549

เด็กหญิงจุฑามาศ  แก้วพวง  เด็กหญิงสุกัญญา   โพธิ์ทอง  เด็กหญิงพรชนก   อินสอน  เด็กหญิงนิตยา    กงถัน  และเด็กหญิงรุจิรา  ทับร่อง  รางวัลเหรียญทอง การแข่งขันสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัยทำนองสรภัญญะ

เทศบาลนครพิษณุโลก

21-23 ก.พ.2549

เด็กหญิงปาริชาติ  โตยิ่ง แข่งขันคัดลายมือภาษาอังกฤษ       ได้รับรางวัลเหรียญทอง

เทศบาลนครพิษณุโลก

21-23 ก.พ.2549

เด็กหญิงกรรณิการ์  สมเพชร  แข่งขันเขียนเรื่องจากภาพภาษาอังกฤษ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน

เทศบาลนครพิษณุโลก

21-23 ก.พ.2549

เด็กหญิงชนากานต์  ริกากรณ์ แข่งขันเขียนตามคำบอกภาษาอังกฤษ ได้รับรางวัลเหรียญทองแดง

 

เทศบาลนครพิษณุโลก

20 มิ.ย. 2550

นางสาวรุจิรา ทับร่องได้รับรางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยมการพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษระดับมัธยมปลาย

จังหวัดเพชรบูรณ์

20 มิ.ย. 2550

นางสาวพรชนก  อินสอนได้รับรางวัลชนะเลิศยอดเยี่ยมการแสดงละครภาษาอังกฤษ

จังหวัดเพชรบูรณ์

28  พ.ย. 2551

นางสาวรุจิรา ทับร่องได้รับเลือกเป็นตัวแทนแข่งขันพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

4-6 ก.พ. 2552

นางสาวพรชนก  อินสอนและคณะ ชนะเลิศระดับเหรียญทอง การแสดงละครภาษาอังกฤษ

 

เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

วัน เดือน ปี

ผลงานนักเรียนดีเด่น

หน่วยงานที่จัด

4-6 ก.พ. 2552

 นางสาวรุจิรา  ทับร่องชนะเลิศระดับเหรียญทองแดง

การพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ

เทศบาลเมืองอุตรดิตถ์

19 พ.ย. 2552

นางสาวศศิธร  บานเย็น ชนะเลิศระดับเหรียญทองแดงการพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษระดับมัธยมปลาย

ศูนย์พัฒนาประสิทธิภาพการศึกษาพื้นที่ในเมือง

19 พ.ย. 2552

นางสาวบุญตา เทวี ชนะเลิศระดับเหรียญทองแดงการเล่านิทานระดับมัธยมปลาย

ศูนย์พัฒนาประสิทธิภาพการศึกษาพื้นที่ในเมือง

19 พ.ย. 2552

นางสาววรางคณา สีดาถม ชนะเลิศระดับเหรียญทองการพูดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษมัธยมต้น

ศูนย์พัฒนาประสิทธิภาพการศึกษาพื้นที่ในเมือง

19 พ.ย. 2552

เด็กชายณัฐพงษ์  ดวงน้อย ชนะเลิศระดับเหรียญทองแดงกิจกรรมMulti Skills Competition ภาษาอังกฤษมัธยมต้น

ศูนย์พัฒนาประสิทธิภาพการศึกษาพื้นที่ในเมือง

19 พ.ย. 2552

นางสาววิภา อนุสาย ชนะเลิศระดับเหรียญทอง กิจกรรม Spelling Bee อังกฤษมัธยมต้น

ศูนย์พัฒนาประสิทธิภาพการศึกษาพื้นที่ในเมือง

กุมภาพันธ์ 2553

นางสาวกนกพร  ศิริ  นางสาวบุญตา  นางสาว  ชนะเลิศระดับเหรียญทองแดง ในการประกวดโครงงานระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

เทศบาลเมืองตาก

18 พ.ย. 2554

นางสาวสุพรรษา  ตรีแจ่ม ชนะเลิศระดับเหรียญทอง อันดับที่ 2 กิจกรรม Spelling Bee อังกฤษมัธยมต้น

ศูนย์พัฒนาประสิทธิภาพการศึกษาพื้นที่ในเมือง

21 พ.ย. 2554

นางสาวสุรีวัลย์ แสงวงศ์ นางสาวบงกชกร แก้วตา นางสาว

ปาจารีย์ คงวิเศษ  นายธรรมวัตร ศิลกุล  นายธัชพงค์ วาเสนัง ชนะเลิศการแสดงละครสั้นภาษาอังกฤษอันดับที่ 2

ระดับเหรียญทอง

ศูนย์พัฒนาประสิทธิภาพการศึกษาพื้นที่ในเมือง

27-29 มิ.ย. 2555

-ชนะเลิศเหรียญเงิน ละครภาษาอังกฤษระดับมัธยมปลาย

สุรีวัลย์ แสงวงศ์  ชัชพงศ์ วาเสนัง  นารีรัตน์ ศรีปิ

นิศาชล  วงศ์จันทร์  ภัทรพล  นิมิต  ปาจารย์ คงวิเศษ

สุทธินี  ปริปุรณะ  และ จักรดุลสกุลยา

-ชนะเลิศเหรียญทองแดง  โครงงานภาษาอังกฤษมัธยมปลาย

ธรรมวัฒน์ศิลกุล  ศุภวรรณ  นวลหยวก และ บงกชกร

แก้วตา

องค์การบริหาร

ส่วนจังหวัดแพร่

 

 

 

 

 

 

วัน เดือน ปี

ผลงานนักเรียนดีเด่น

หน่วยงานที่จัด

7 ก.ย.2555

-ชนะเลิศอันดับที่ 3 ระดับเหรียญทอง

การแข่งขันละครสั้นภาษาอังกฤษ

ธัชพงศ์ วาเสนัง  ธรรมวัตร ศิลกุล

ภัทรพล นิมิต   บงกชกร  แก้วตาและสุรีวัลย์ แสงวงศ์

-รางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ระดับเหรียญทอง การแข่งขันปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

ลัดดาวัลย์  เสงี่ยมพันธ์และคณะ

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต40

21-23 พ.ย. 2555

ชนะเลิศอันดับ 2 รางวัลระดับเหรียญทอง

การแข่งขันปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6

ลัดดาวัลย์  เสงี่ยมพันธ์และคณะ

หน่วยงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

5-7 มิ.ย. 2556

ชนะเลิศ รางวัลระดับเหรียญเงิน

การประกวดโครงงานภาษาอังกฤษ

นายภัคพล จริยประภาพันธ์  นางสาวอมรรัตน์  แก้วบางและนางสาวพัชราภรณ์  แก้วคง

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและเทศบาลเมืองสวรรคโลก

12-14 ก.ค. 2560

ชนะเลิศรางวัลระดับเหรียญทองแดงการประกวดโครงงานภาษาอังกฤษ

นางสาวศศิวิมล  พูลมี  นางสาวสุวนันท์ แก้วบาง 

นายพีรพล  เหลืองวิไล

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

12-14 ก.ค. 2560

ครูสอนเสริมสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ ได้รางวัลระดับเหรียญทอง

นางสาวมัณธนา  ขันติมิตร

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก

 

                          3.1.3  ผลที่เกิดกับผู้เรียน

                                3.1.3.1  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ที่สถานศึกษากำหนด ดังนี้

                                             ความสามารถในการบริหารและจัดห้องเรียน เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียน  ความสำคัญของการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน บรรยากาศในชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมให้นักเรียน            เกิดความสนใจในบทเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น การสร้างบรรยากาศที่อบอุ่น ที่ครู             ให้ความเอื้ออาทรต่อนักเรียน ที่นักเรียนกับนักเรียนมีความสัมพันธ์ฉันท์มิตรต่อกันมีระเบียบ มีความสะอาด เหล่านี้เป็นบรรยากาศที่นักเรียนต้องการ ทำให้นักเรียนมีความสุขที่ได้มาโรงเรียนและในการเรียนร่วมกับเพื่อนๆ ถ้าครูผู้สอนสามารถสร้างความรู้สึกนี้ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนได้ ก็นับว่าครูได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาเยาวชน      ของประเทศชาติให้เติบโตขึ้นอย่างสมบูรณ์ทั้งทางด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยแท้จริง ดังนั้น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งประมวลได้ดังนี้
                                                1)  ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น

                                                2)  ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน เช่น ห้องเรียนที่สะอาด จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน นักเรียนจะซึมซับสิ่งเหล่านี้ไว้โดยไม่รู้ตัว
                                                3)  ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน เช่น มีแสงสว่างที่เหมาะสม                         มีที่นั่งไม่ใกล้กระดานดำมากเกินไป มีขนาดโต๊ะและเก้าอี้ที่เหมาะสมกับวัย รูปร่างของนักเรียน
                                                4)  ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น เช่น           การจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน
                                                5)  ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เช่น การฝึกให้มีมนุษย์สัมพันธ์          ที่ดีต่อกัน  การฝึกให้มีอัธยาศัยไมตรีในการอยู่ร่วมกัน
                                                6)  ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน เพราะในชั้นเรียน                มีครูที่เข้าใจนักเรียน ให้ความเมตตาเอื้ออารีต่อนักเรียน และนักเรียนมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน
                                                กล่าวโดยสรุปได้ว่า การจัดบรรยากาศในชั้นเรียนจะช่วยส่งเสริมและสร้างเสริมผู้เรียนในด้านสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ และสังคมได้เป็นอย่างดี ทำให้นักเรียนเรียนด้วยความสุข รักการเรียน และเป็นคนใฝ่เรียนใฝ่รู้ในที่สุด

                                                การจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์การสอนให้เหมาะสมกับสถานที่ เพื่อให้มีทักษะ                 ในการเก็บเอกสารและนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ มีการจำแนกเอกสาร การยืม การค้น  การโอนเอกสาร และการทำลายเอกสาร  ทั้งนี้  มีการจัดเก็บสื่อการสอน 2 วิธีดังนี้

                                                                1)  ระบบการจัดเก็บโดยไร้รูปแบบ (Informal System) มีข้อดี                 คือไม่ต้องการการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ  และมีความยืดหยุ่นสูง
                                                                2)   ระบบจัดเก็บโดยกำหนดตำแหน่งตายตัว (Fixed Location System)    มีข้อดี คือ ง่ายต่อการนำไปใช้  และง่ายต่อการปฏิบัติงาน

                                                การวางแผน การจัดโครงการทั้งระยะสั้นและระยะยาวให้สอดคล้องกับหลักสูตรและให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่ แนวคิดเกี่ยวกับการวางแผนเป็นหน้าที่ของครูต้องวางแผนเพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการ ปฏิบัติงาน และเป็นแนวทางเพื่อมุ่งสู่ผลสำเร็จที่คาดหวังในอนาคต ดังมีผู้กล่าวไว้ว่า           การปฏิบัติงานจะประสบผลสำเร็จมากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการวางแผน และถ้าวางแผนดี ก็เท่ากับปฏิบัติงานสำเร็จไปแล้วกว่าครึ่ง  การวางแผน คือ การหาทางเลือกที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน โดยใช้ปัจจัยต่างๆและมี เหตุผลเพื่อให้การดำเนินงานในอนาคตเป็นไปโดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพที่สุด

                                                วางแผนการจัดโครงการระยะสั้นในการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น โดยการจัดทำวิจัยเข้ามาเป็นแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นพัฒนาทักษะการอ่าน-เขียน และ ทักษะการฟัง-พูด  ควบคู่กันไป เป็นการเสริมสร้างด้านทักษะการสื่อสารให้กับผู้เรียน      อย่างแท้จริง โดยจัดทำพัฒนาเป็นรายปี อย่างต่อเนื่องและวางแผน การจัดโครงการระยะยาวให้สอดคล้องกับหลักสูตรและให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่โรงเรียนตั้งอยู่  คือมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ ให้นักเรียนได้เกรดอย่างน้อย 2.5 ขึ้นไป  และมีผลการสอบแห่งชาติ (NT)  และ O-NET โดยเฉลี่ย ร้อยละ 50     ขึ้นไป  เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงนักเรียนมีมาตรฐานความรู้ ความสามารถในวิชาภาษาอังกฤษ ตามหลักสูตรภาษาอังกฤษที่กำหนดไว้ 

                                จากการที่ข้าพเจ้าจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยบูรณาการ สาระการเรียนรู้เข้าด้วยกันการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลายวิธีการ มีเทคนิค การสอนที่หลากหลาย สนุกสนาน น่าสนใจ และการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงทำให้เกิดผล กับนักเรียนดังนี้

                                      3.1.3.1.1  ด้านสติปัญญาของนักเรียน 

                                                                1.ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนข้าพเจ้าได้จัดทำแผนจัดการเรียนรู้และนวัตกรรมที่ใช้เทคนิคกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายจึงทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนดดังนี้                          

                                                    1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และถ้าไม่ผ่านข้าพเจ้าได้ทำการสอนซ่อมเสริมจนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 100

                                                                   2) ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์และ     การเขียนร้อยละ 100

                                                                   3)  ผู้เรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา ร้อยละ 100      

                                                                   4)  กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  ผู้เรียนสามารถผ่านกิจกรรมการเรียนรู้       ร้อยละ 100

                                                            2. ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ข้าพเจ้าสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะของการเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียนตระหนักในคุณค่าและประโยชน์ของการเรียน             กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ โดยผู้เรียนสนใจมาเรียน มีการศึกษาค้นคว้าใช้แหล่งเรียนรู้ที่จัดไว้ให้และ        มีการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อเทคโนโลยี สื่อสิ่งพิมพ์ และบันทึกความรู้อย่างสม่ำเสมอ และในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ  เข้าแข่งขันทักษะทางภาษาอังกฤษ ในงานมหกรรมความเป็นเลิศทางวิชาการ         งานนิทรรศการวิชาการภาคเหนือจัดเป็นประจำทุกปีการศึกษา นักเรียนที่ข้าพเจ้าสอนเสริมและนำเข้าแข่งขัน     จะได้รับรางวัลในระดับดีเป็นที่น่าพอใจอยู่เสมอ

                                                                3. ผู้เรียนมีทักษะและนิสัยรักการทำงานจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะและนิสัย รักการทำงาน ซึ่งสังเกตได้จากผลงาน แบบฝึกหัด ใบงาน กิจกรรมรักการอ่าน และ จากเอกสารในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

                                3.1.3.1.2  ด้านคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียน 

                                                หลักในการปกครองระบอบประชาธิปไตยโรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและชุมชนจึงมีบทบาทในการเตรียมความพร้อมผู้เยาว์ให้เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในสังคม  การสร้างลักษณะนิสัยให้นักเรียนรู้จักระเบียบ  ข้อบังคับ  กฎเกณฑ์และกติกาตลอดจนรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ที่ตนพึงมีต่อหมู่คณะ ชุมชน และสังคมได้อย่างเหมาะสม  ข้าพเจ้าจึงนำรูปแบบประชาธิปไตยมาใช้ในโรงเรียน เพื่อเป็นการปูพื้นฐานประชาธิปไตย     ให้ดีขึ้นและรู้จักปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามภาระหน้าที่และมีวิถีชีวิตตามหลักประชาธิปไตยให้สามารถดำรงตน   ให้อยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

                                                เทคนิค หรือวิธีการ ได้แก่ ยึดมั่นในความยุติธรรม ยึดหลักประชาธิปไตย ใช้ระเบียบกฎเกณฑ์ที่ทุกคนยอมรับ ยินดีปฏิบัติ นักเรียนก็จะอยู่ในห้องเรียนอย่างมีความสุข เกิดความรู้สึกอบอุ่นพอใจและสบายใจ ในทางตรงกันข้าม ถ้าครูโลเล ไม่ยุติธรรม เลือกที่รักมักที่ชัง ปกครองชั้นเรียนแบบเผด็จการ          นักเรียนจะเกิดความรู้สึกไม่ศรัทธาครู ไม่เห็นคุณค่าของระเบียบกฎเกณฑ์ ส่งผลให้นักเรียนไม่สนใจเรียน          ไม่อยากมาโรงเรียนในที่สุด ดังนั้นเทคนิควิธีการปกครองชั้นเรียนของครูจึงมีความสำคัญต่อการสร้าง บรรยากาศทางจิตวิทยาด้วย   ในการปกครองชั้นเรียน ครูควรยึดหลักต่อไปนี้
                                                1)  หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็น ของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกัน   อย่างประชาธิปไตย
                                                2)   หลักความยุติธรรม  ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอน ของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
                                ความเอาใจใส่ในการตักเตือนสั่งสอนศิษย์ความเอาใจใส่ในการตักเตือนสั่งสอนศิษย์โดยครู   มีความสัมพันธ์กับนักเรียนดี  ครูจะต้องสนใจ เอาใจใส่ต่อปัญหาของนักเรียน คอยตอบปัญหาให้กระจ่าง        แนะแนว รู้จักระงับอารมณ์ อดทน วางตัวเหมาะสม ไม่สนิทสนมกับเด็กมากเกินไปไม่ทำให้ขายหน้า และ         ให้กำลังใจนักเรียนอย่างมีเหตุผล

                                ความจริงใจและจริงจังต่อการแก้ไขความประพฤติของศิษย์ความจริงใจและจริงจัง               ต่อการแก้ไขความประพฤติของศิษย์สามารถอบรมแนะแนว และปกครองได้เป็นอย่างดี โดยรู้จัก หลักการที่ว่า  ถ้าทุกคนสร้างคุณธรรมและหลักธรรมต่าง ๆ ไว้ประจำตัวได้แล้ว ใช้หลักการและวิธีการของการแนะแนว     สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบิดามารดาและผู้ปกครองใช้ผลของการวิจัย และผลของการทดสอบต่าง ๆ                    ให้เป็นประโยชน์ในการอบรมสั่งสอนศิษย์

                                จากการปฏิบัติข้างต้นส่งผลให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมดังนี้

                                        1)  ผู้เรียนมีการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์             ของสถานศึกษา  คือ  มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์   มีวินัย ขยันอดออม มีกิจกรรมออมทรัพย์ และมีมารยาทที่ดีงามและเหมาะสม

        2)  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วม          ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในสถานศึกษาและ       นอกสถานศึกษา เช่น โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการโรงเรียนน่าอยู่น่าทำงาน โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ อบรมและเน้นให้นักเรียนช่วยกันดูแลรักษาพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในโรงเรียน บ้านและชุมชน  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม  ข้าพเจ้าอบรมให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้จักรักษาและช่วยกันประหยัดสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

                                        3)  ผู้เรียนรู้จักมารยาทในการเข้าสังคม จัดกิจกรรมโฮมรูม และคุณธรรม                เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

                                3.1.3.1.3  ด้านการเรียนรู้อย่างมีสุขภาพจิตที่ดี

                                                ได้มีการจัดหาแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนแหล่งการเรียนรู้         ของโรงเรียนมี  2 ประเภทคือ  แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ซึ่งเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และที่มนุษย์สร้างขึ้น 

 

แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน

                                                                    1)   แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ  เช่น บรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ปรากฏการณ์ธรรมชาติ   สิ่งมีชีวิต

                                                                    2)  แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดกลุ่มสาระ  ห้องสมุดเคลื่อนที่ ห้องเรียน  ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ  ห้องโสตทัศนศึกษา  เว็บไซต์  ห้องอินเทอร์เน็ต  ห้องวิถีไทย   ห้องเกียรติยศ สวนสมุนไพร สวนหย่อม  บ่อเลี้ยงปลา  เรือนเพาะชำ   ต้นไม้พูดได้ อาคารพูดได้

 

                                                          แหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียน

                                                                   1)  แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น สภาพแวดล้อม        ป่า ภูเขา แหล่งน้ำ 

                                                                   2)   แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ชุมชน วิถีชีวิต  อาชีพ         ภูมิปัญญา ประเพณี  วัฒนธรรม สถาบัน โบราณสถาน สถานที่สำคัญและแหล่งประกอบการ  

                                      การเรียนการสอนภาษาอังกฤษใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน มาใช้      ในการสืบค้นข้อมูล และจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทำให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างมีความสุขและผูกพัน        กับท้องถิ่นของตน เป็นการปลูกจิตสำนึกในการรักบ้านเกิดให้กับผู้เรียนอย่างแท้จริง

                                     ที่สำคัญยิ่ง นักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดีที่แสดงให้เห็นจากการได้รับรางวัลเหรียญทอง        สถานที่ทำงานน่าอยู่ รางวัลระดับเพชรโรงเรียนส่งสุขภาพ ซึ่งสังเกตได้ดังนี้

                                                1)  สนใจเรียน รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ ดังนี้ จัดกระบวนการเรียนรู้      ที่หลากหลายให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียนและได้แสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา จากสื่อสิ่งพิมพ์และไม่ใช่สื่อสิ่งพิมพ์ เช่นกิจกรรมการสอนแบบโครงงาน กิจกรรมการสอนโดยใช้กิจกรรมส่งเสริมภาษาอังกฤษ กิจกรรมถามมาตอบไป กิจกรรมโต้วาที กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

                                                2)  นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะของการเป็นผู้ใฝ่เรียนใฝ่รู้ตระหนักในคุณค่าและประโยชน์    ของการเรียนกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ โดยผู้เรียนสนใจมาเรียน กระตือรือร้น มีการศึกษาค้นคว้าใช้แหล่งเรียนรู้ที่จัดไว้ให้และมีการศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองในห้องสมุด  สื่อเทคโนโลยี  อินเตอร์เน็ต สื่อสิ่งพิมพ์             ทำให้ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ประเมินความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการเขียน ร้อยละ 100 

                                                3)  นักเรียนมีทักษะและนิสัยรักการทำงาน  มีคุณธรรม จริยธรรม ดังนี้ จากการจัดกระบวนการเรียนรู้ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะและนิสัยรักการทำงาน ซึ่งสังเกตได้จาก ผลงาน แบบฝึกหัด ใบงาน  และการปฏิบัติกิจกรรมในระหว่างการเรียนการสอน การเรียนโดยใช้กิจกรรมกลุ่มจะมีการช่วยเหลือ    ซึ่งกันและกัน เป็นอย่างดี   ทำให้ผู้เรียนผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของสถานศึกษา ร้อยละ 100 และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน   ผู้เรียนสามารถผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ร้อยละ 100     

                                                 4)  นักเรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ดังนี้  ได้มีส่วนร่วม ในการพัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งในสถานศึกษาและ       นอกสถานศึกษา เช่น โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โครงการโรงเรียนน่าอยู่น่าทำงาน  โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ   อบรมและเน้นให้นักเรียนช่วยกันดูแลรักษาพลังงานและสิ่งแวดล้อมทั้งในโรงเรียน  บ้านและชุมชน  ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม  ข้าพเจ้าอบรมให้ผู้เรียนเกิดความตระหนักรู้จักรักษาและช่วยกันประหยัด    สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม

                                            5)  นักเรียนมีการแสดงออกด้วยความมั่นใจ  ร่าเริง  แจ่มใส และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ต่อผู้อื่น ดังนี้ นักเรียนมีความกระตือรือร้นมาเรียนอย่างสม่ำเสมอ  เรียนและร่วมมือในการทำกิจกรรม            อย่างสนุกสนาน จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแบบบันทึกหลังสอนพบว่า นักเรียนส่วนมาก              มีการแสดงออกด้วยความมั่นใจ  ร่าเริงแจ่มใสเป็นที่น่าพอใจ  ร่วมกิจกรรมด้วยความกระตือรือร้น  นักเรียน       มาเรียนอย่างสม่ำเสมอนอกจากกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้ดูแลฝึกซ้อมนักเรียน  ไปร่วมแข่งขันกิจกรรมต่าง ๆ เช่นแข่งขันดนตรีไทย  ฝึกซ้อมการเห่เรือ  ฝึกซ้อมการแสดงเพื่อแสดงในงานประเพณีต่างๆ    ซึ่งทำให้นักเรียนกล้าแสดงออกด้วยความมั่นใจ และสนุกสนาน จนได้รับรางวัลสร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนเป็นอย่างมาก 

                                            6)  นักเรียนรู้จักปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ดี เป็นที่ยอมรับ         ของเพื่อนและครู

                                             จากการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้และเรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนาน เรียนรู้จากสิ่งที่ใกล้ตัวจากสื่อที่เหมาะสม ได้รับประสบการณ์ตรง ด้วยการสัมผัส และ  ปฏิบัติจริงจึงทำให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุขและสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อน ๆ เป็นที่ยอมรับของเพื่อนและครูได้เป็นอย่างดี

                          3.2  ผลงานทางวิชาการที่ขอรับการประเมิน

                                      ผลงานทางวิชาการที่ขอรับการประเมิน ประกอบไปด้วยวิจัย 2 เรื่อง ได้แก่ วิจัยปฏิบัติการ(Action Research) และ วิจัยเพื่อพัฒนา(Researching and Development)

                                                1.  ได้สร้างสื่อ  นวัตกรรม แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) เรื่อง  “การพัฒนาการเรียนรู้ภาษาอังกฤษพอเพียงในชุมชน โดยใช้กระบวนการสอนแบบทิวาส์  โมเดล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ”  เป็นวิจัยปฏิบัติการ (Action Research)

                                                 2.  ได้สร้างสื่อ นวัตกรรมที่เป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ                           เรื่องรู้-รักษ์ประเทศไทย โดยทำวิจัยแบบ R & D ขึ้น เรื่อง “การพัฒนารูปแบบการสอนโดยเน้นภาระงาน(Tasks Base Learning) และกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning) ด้วยเทคนิค CIRC เพื่อเสริมสร้างทักษะการอ่าน   การคิดวิเคราะห์และการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2”

                          4.  ผลงานด้านวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ 

           1. งานวิจัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อขอรับปริญญามหาบัณฑิต   เรื่อง การสำรวจปัญหาการสอนภาษาอังกฤษทั้งวันของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 จังหวัดเพชรบูรณ์

           2. งานวิจัยพัฒนาการเรียนการสอน เรื่อง  “การพัฒนาทักษะการสะกดคำและการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษ เรื่อง อ่านออก เขียนได้ และสื่อสารเป็น โดยใช้กุศโลบายการสอนแบบ โมเดลซิปปา (CIPPA MODEL) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

                                     3. งานวิจัยในชั้นเรียน 

                                                -  พัฒนาการกล้าแสดงออกโดยใช้ละครภาษาอังกฤษ   VCD

                                                -  พัฒนาการออกเสียงภาษาอังกฤษโดยใช้เพลงภาษาอังกฤษ   

                                                -  พัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้วันสำคัญ 

                                                -  เรียนรู้ท้องถิ่นของเราโดยใช้สื่อ CAI 

                                                -  ศัพท์ยากจำง่ายด้วยเกมกลุ่มคำภาษาอังกฤษ

                                                -  พัฒนาการอ่านจับใจความโดยใช้เรื่องสั้น

                                                - สร้างทักษะการวางแผนการเรียนรู้และจับใจความสำคัญด้วยหลักปรัชญา           ของเศรษฐกิจพอเพียง

                                                - การแสดงของนักเรียนพัฒนาการสร้างความรู้และนวัตกรรมแก่ผู้เรียน             อย่างสร้างสรรค์

                                                - สร้างจิตสำนึกและหลักการดำเนินชีวิตที่ดีตามคำสอนของพ่อ(ในหลวงรัชกาลที่ 9)

                                                - โฮมรูมสร้างความเชื่อมั่นและศรัทธาในการประพฤติดี

                                                - สื่อสารมวลชนพัฒนาทักษะการพูดอย่างมีวิจารณญาณ

                         5.  ผลงานทางวิชาการ  ที่เคยได้รับอนุมัติเพื่อกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือน          ในระดับที่สูงขึ้นหรือให้มีวิทยฐานะหรือเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น

                                      1.  ยุทธศาสตร์การสอนกริยาวลี (phrasal verbs) โดยใช้กิจกรรมส่งเสริมภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

6.  การเผยแพร่ผลงานวิชาการ

                                ผลงานวิชาการที่เสนอขอเลื่อนวิทยฐานะ ข้าพเจ้าได้เผยแพร่ ทั้งด้านเว็บไซต์และเอกสารสิ่งพิมพ์ทั้งภายในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา

www.Thaigoodviw.com

-  www. Google.com

www.Tessaban  3 (Chanwittaya).com

https://www.facebook.com/search/results.php?q=ทิวา+นันท์ตา&init=public

-  โรงเรียนทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด

-  วารสารโรงเรียน

- กิจกรรมคริสต์มาสสู่อาเซียน

- กิจกรรมคริสต์มาสถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชการที่ 9

-  กิจกรรมคริสต์มาสตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ขอรับรองว่าข้อมูลทั้งหมดถูกต้องและเป็นความจริงทุกประการ

 

                                                            ลงชื่อ......................................................ผู้ขอรับการประเมิน

                                                                            (นางทิวา         นันท์ตา)

                                            ตำแหน่ง ครู  วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

                                 วันที่......... เดือน.............................พ.ศ.  ……….

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 466 คน กำลังออนไลน์