• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:d8db83537c9bcd1f57441c363f2a4435' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p><strong><span style=\"font-size: medium; color: #ff0000; font-family: arial black,avant garde;\">พระราชประวัติ</span></strong> <br /> พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (ภายหลังทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น เมืองเคมบริตจ์ มลรัฐแมสซาซูเซสส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา <br /> พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนัครินทร์ <br /> ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้โดยเสด็จฯพระบรมราชชนกซึ่งขณะนั้น ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยมจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาด สหรัฐอเมริกา กลับสู่ประเทศไทยและได้ประทับอยู่ ณ วังสระปทุม ถัดมาเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จทิวงคต พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยพระราชมารดา สมเด็จพระเชษฐาและพระเชษฐภคินียังคงประทับร่วมกับสมเด็จพระศรีสวรินทราพระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุม ในกรุงเทพมหานคร <br /> เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา ได้เสด็จเข้ารับการศึกษาเบื้องต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อมาหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา พระราชมารดาจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทรา พระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พาพระราชโอรสและพระธิดาไปประทับยังนครโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาและเพื่อพระพลานามัยของพระโอรส ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จเข้าทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเมียร์มองค์ จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอลา ซืออิส โรมองต์ เมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากยิมนาส กลาซีค กังโตนาล แล้วจึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์ <br /> หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ รัฐบาลไทยได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระเชษฐาเสด็จขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพะรเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ ได้โดยเสด็จฯสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จฯนิวัติประเทศไทย โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตเป็นการชั่วคราว จากนั้นได้เสด็จฯกลับไปทรงศึกาาต่อที่สวิสเซอร์แลนด์ จนในปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบแล้ว จึงได้โดยเสด็จฯสมเด็จพระเชษฐานิวัติประเทศไทยพร้อมพระราชชนนีและสมเด็จพระเชษฐภคินีอีกครั้ง โดยในครั้งนี้ทรงประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง <br /> ในการเสด็จฯนิวัติประเทศไทยครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงพระยศเป็นที่ร้อยโทสมเด็จพระน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ กองพันที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ <br /> ครั้นเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน รัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย <br /> (หมายเหตุ:* ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ได้จัดขึ้นหลังจากที่ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ แล้วไม่ปรากฏสร้อยพระนาม \'พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย\' ในพระสุพรรณบัฏ) <br /> อย่างไรก็ตามขณะเสด็จขึ้นครองราชสมบัตินั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา ยังไม่ทรงสามารถบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองได้ รัฐสภาจึงทำการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการขึ้นประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทร (หรือพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ต่อมาได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯให้เป็นสมเด็จกรมพระชัยนาทนเรนทร) และพระยามานวรราชเสวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชภาระกิจในด้านการศึกษา จึงต้องทรงเสด็จฯกลับไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่งในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่ในครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชากฏหมายและวิชารัฐศาสตร์แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม <br /> ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพบและต้องพระราชอัธยาศัยกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (พระนามเดิมหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) และหม่อมหลวงบัว กิติยากร แต่แล้วในเดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ ประชาชนคนไทยก็ต้องตกใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้ทราบข่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่นอกเมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และต้องเสด็จฯ เข้ารับรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล ต่อมาเมื่อพระอาการหายเป็นปกติแล้วได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ <br /> ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯนิวัติประเทศไทยครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม เพื่อทรงเข้าร่วมในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายนปีเดียวกันได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี <br /> ถัดมาวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ในการนี้ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกพร้อมตั้งพระราชสัตยาธิษฐานว่า \"เราครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม\" ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้วได้เสด็จไปรักษาพระสุขภาพ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ค่อยทรงสมบูรณ์นัก อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ทรงประสบเมื่อครั้งประทับอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ตามคำแนะนำของคณะแพทย์ขาวสวิส และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับเป็นการถาวรในประเทศไทยเมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ <br /> และด้วยเหตุที่ทรงเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงผนวชเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงได้รับการถวายสมณนามว่า ภูมิพโล แล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันที่ ๕ พฤษจิกายนศกเดียวกันจึงได้ทรงลาผนวช <br /> ในปีรุ่งขึ้น(พุทธศักราช ๒๕๐๐) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน กลับไปประทับยังพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ที่ได้รับการซ่อมแซมแล้ว และทรงประทับอยู่เรื่อยมาตราบจนทุกวันนี้ <br /> </p>\n', created = 1715237601, expire = 1715324001, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:d8db83537c9bcd1f57441c363f2a4435' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:2d3a9c04b6c857385528d4113e0f3930' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>เขียนเก่งจังเยย</p>\n', created = 1715237601, expire = 1715324001, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:2d3a9c04b6c857385528d4113e0f3930' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

พระราชประวัติร.9

รูปภาพของ sss27048

พระราชประวัติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์และหม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา (ภายหลังทรงได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกและสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือนอ้าย ปีเถาะ วันจันทร์ที่ ๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๗๐ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น เมืองเคมบริตจ์ มลรัฐแมสซาซูเซสส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระอนุชาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนัครินทร์
ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๑ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้โดยเสด็จฯพระบรมราชชนกซึ่งขณะนั้น ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตเกียรตินิยมจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาด สหรัฐอเมริกา กลับสู่ประเทศไทยและได้ประทับอยู่ ณ วังสระปทุม ถัดมาเมื่อวันที่ ๒ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จทิวงคต พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดชพร้อมด้วยพระราชมารดา สมเด็จพระเชษฐาและพระเชษฐภคินียังคงประทับร่วมกับสมเด็จพระศรีสวรินทราพระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ณ วังสระปทุม ในกรุงเทพมหานคร
เมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุได้ ๕ พรรษา ได้เสด็จเข้ารับการศึกษาเบื้องต้น ณ โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อมาหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา พระราชมารดาจึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีสวรินทรา พระบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พาพระราชโอรสและพระธิดาไปประทับยังนครโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อการศึกษาและเพื่อพระพลานามัยของพระโอรส ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จเข้าทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเมียร์มองค์ จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอลา ซืออิส โรมองต์ เมืองโลซานน์ ทรงได้รับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์จากยิมนาส กลาซีค กังโตนาล แล้วจึงทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ โดยทรงเลือกศึกษาในแขนงวิชาวิศวกรรมศาสตร์
หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๗๗ รัฐบาลไทยได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระเชษฐาเสด็จขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๘ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช จึงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพะรเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดช เมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ ได้โดยเสด็จฯสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จฯนิวัติประเทศไทย โดยประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิตเป็นการชั่วคราว จากนั้นได้เสด็จฯกลับไปทรงศึกาาต่อที่สวิสเซอร์แลนด์ จนในปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบแล้ว จึงได้โดยเสด็จฯสมเด็จพระเชษฐานิวัติประเทศไทยพร้อมพระราชชนนีและสมเด็จพระเชษฐภคินีอีกครั้ง โดยในครั้งนี้ทรงประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง
ในการเสด็จฯนิวัติประเทศไทยครั้งนี้ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงพระยศเป็นที่ร้อยโทสมเด็จพระน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ กองพันที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙
ครั้นเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จสวรรคตโดยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน รัฐบาลจึงได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
(หมายเหตุ:* ภายหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่ได้จัดขึ้นหลังจากที่ทรงบรรลุพระราชนิติภาวะเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ แล้วไม่ปรากฏสร้อยพระนาม 'พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย' ในพระสุพรรณบัฏ)
อย่างไรก็ตามขณะเสด็จขึ้นครองราชสมบัตินั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา ยังไม่ทรงสามารถบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองได้ รัฐสภาจึงทำการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการขึ้นประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมขุนชัยนาทนเรนทร (หรือพระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ ต่อมาได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯให้เป็นสมเด็จกรมพระชัยนาทนเรนทร) และพระยามานวรราชเสวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้ว และเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชภาระกิจในด้านการศึกษา จึงต้องทรงเสด็จฯกลับไปประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกครั้งหนึ่งในเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙ เพื่อทรงศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยแห่งเดิม แต่ในครั้งนี้ทรงเลือกศึกษาวิชากฏหมายและวิชารัฐศาสตร์แทนวิชาวิศวกรรมศาสตร์ที่ทรงศึกษาอยู่เดิม
ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพบและต้องพระราชอัธยาศัยกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ (พระนามเดิมหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร) และหม่อมหลวงบัว กิติยากร แต่แล้วในเดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๑ ประชาชนคนไทยก็ต้องตกใจเป็นอย่างยิ่งเมื่อได้ทราบข่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่นอกเมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ และต้องเสด็จฯ เข้ารับรักษาพระองค์ในโรงพยาบาล ต่อมาเมื่อพระอาการหายเป็นปกติแล้วได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ ๑๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๙๒ ณ เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ในปีพุทธศักราช ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จฯนิวัติประเทศไทยครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม เพื่อทรงเข้าร่วมในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๘ ต่อมาในวันที่ ๒๘ เมษายนปีเดียวกันได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชินี
ถัดมาวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้น ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ในการนี้ทรงหลั่งน้ำทักษิโณทกพร้อมตั้งพระราชสัตยาธิษฐานว่า "เราครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชนชาวสยาม" ภายหลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้วได้เสด็จไปรักษาพระสุขภาพ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ค่อยทรงสมบูรณ์นัก อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่ทรงประสบเมื่อครั้งประทับอยู่ที่สวิสเซอร์แลนด์ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ตามคำแนะนำของคณะแพทย์ขาวสวิส และได้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาประทับเป็นการถาวรในประเทศไทยเมื่อเดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔
และด้วยเหตุที่ทรงเลื่อมใสในพระบวรพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงผนวชเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถวัพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงได้รับการถวายสมณนามว่า ภูมิพโล แล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร จนถึงวันที่ ๕ พฤษจิกายนศกเดียวกันจึงได้ทรงลาผนวช
ในปีรุ่งขึ้น(พุทธศักราช ๒๕๐๐) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ได้ทรงย้ายที่ประทับจากพระที่นั่งอัมพรสถาน กลับไปประทับยังพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ที่ได้รับการซ่อมแซมแล้ว และทรงประทับอยู่เรื่อยมาตราบจนทุกวันนี้

เขียนเก่งจังเยย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 276 คน กำลังออนไลน์