นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice)

รูปภาพของ TeacherNakhonrat

 

นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice)

 

 

เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102      

และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โดยใช้วิธีการคิดแบบอริยสัจ

 

 

 

ของ

นครรัฐ   โชติพรม

ครูชำนาญการพิเศษ

 

 

 

 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4

 

 

 

นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best practice)

ชื่อผลงาน       การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์

                     การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

                     โดยใช้วิธีการคิดแบบอริยสัจ

ชื่อผู้เสนอผลงาน  นายนครรัฐ   โชติพรม

                      กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

                      โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี

                      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 (ปทุมธานี-สระบุรี)

                      โทรศัพท์ 08-9547-4085

                      e-mail : MR.Nakhonrat.27@gmail.com

 

1. ความสำคัญของปัญหา

ปัจจุบัน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนในสังกัดทั่วประทศ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยมาตรฐานเดียวกัน โดยใช้การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ใน 5 วิชาหลัก ได้แก่ ภาษาไทย สังคมศึกษา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และที่สำคัญผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ  ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2558   ใน 5 วิชาหลัก ได้คะแนนเฉลี่ย ดังนี้ 1) ภาษาไทย 49.36 2) คณิตศาสตร์ 26.59 3) วิทยาศาสตร์ 33.40 4) สังคมศึกษา 39.70 และ   5) ภาษาอังกฤษ 24.98 ซึ่งไม่มีวิชาใด ที่สามารถทำคะแนนเฉลี่ยได้เกินร้อยละ 50 (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติองค์การมหาชน,2558)

 จากปัญหาการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ต่ำ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ต้องมีบทบาทและร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหานี้ อย่างเร่งด่วน นอกจากนี้ ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ก็เป็นปัญหาสำคัญที่เกิดขึ้นกับการจัดการเรียนการสอน วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี อีกด้วย

ดังนั้น สภาพปัญหาดังกล่าวนี้ จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ข้าพเจ้ามีความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน และแก้ปัญหาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ ในขณะเดียวกัน รางวัล “ครูผู้สอนดีเด่น กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ซึ่งข้าพเจ้า ได้รับ ในปีการศึกษา 2553 ปีการศึกษา 2554 และรางวัลครูสอนและครูผู้ได้รับทุนครูสอนดี ปีการศึกษา 2554 เป็นรางวัลที่มีคุณค่าต่อชีวิตของคนที่เป็นครู “ครูมืออาชีพ” และในขณะเดียวกัน รางวัลดังกล่าว กลับตอกย้ำจิตวิญญาณความเป็นครู และเป็นการท้าทายความสามารถอย่างยิ่งว่า “ในฐานะที่เราเป็นครูผู้สอนดีเด่น” ไม่มีศักยภาพที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้เลยหรือ นอกจากนี้ ข้าพเจ้าต้องการพิสูจน์ ให้วงการการศึกษาไทยรู้ว่า“ไม่มีนักเรียนคนใดที่โง่เขลา นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้ เด็กไทยไม่แพ้เด็ก ๆ ชาติใด ๆ ในโลกนี้ ครูเก่ง เด็กต้องเก่ง เด็ก ๆ           จะเป็นกระจกที่จะสะท้อนคุณภาพการสอนของครูได้ดีที่สุด”

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ได้กำหนดความมุ่งหมายและหลักการในการจัดการศึกษา มาตรา 6 ว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และหมวด 4 มาตรา 22 ได้กล่าวถึงแนวการจัดการศึกษา               ไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องยึดหลัก ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด”

ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี ซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้สอนนั้นพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ ไม่สนใจการเรียนเนื่องจาก ข้าพเจ้า ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย เน้นการท่องจำเป็นส่วนใหญ่  ขาดการฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ นอกจากนี้ ยังขาดสื่อการเรียนรู้ที่ตรงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด นักเรียนจึงเกิดการเบื่อหน่ายในการเรียน นอกจากนี้ ยังพบว่านักเรียนขาดทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต ในสังคมไทย และสังคมโลกหลายประการ เช่น ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ และคิดสร้างสรรค์ ปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กำหนดไว้ จากปัญหาดังกล่าวนี้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญ    ที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนรู้ ในวิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยในภาพรวม อีกด้วย

2. จุดประสงค์/เป้าหมาย

2.1 จุดประสงค์

                    2.1.1 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และพัฒนาผลสัมฤทธิ์

การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการคิดแบบอริยสัจ 

          2.1.2 พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

บูรณาการ สาระการเรียนรู้ สาระที่ 1 ถึง สาระที่ 5 ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6”

2.2 เป้าหมาย

          2.2.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

                   1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 190 คน ปีการศึกษา 2559

                             2) ได้เอกสารประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 200 เล่ม   

                             3) ได้เอกสารประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ จำนวน 200 เล่ม    

          2.2.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

                             1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพ จำนวน 200 เล่ม   

                             2) พัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจ และคิดวิเคราะห์ ร้อยละ 80 ขึ้นไป ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

3. กระบวนการ/ขั้นตอนการดำเนินงาน

3.1 ขั้นตอนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และการพัฒนาผลสัมฤทธิ์

การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โดยใช้วิธีการคิดแบบอริยสัจ

ขั้นที่ 1 ทุกข์ (ธรรมที่ควรรู้) Plan (การวางแผนการสอน)

วิเคราะห์ปัญหา “ผลสัมฤทธิ์วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และผลสัมฤทธิ์การทดสอบ                         ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน  (O-NET)  วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ”

ขั้นที่ 2 สมุทัย (ธรรมที่ควรละ) Plan (การวางแผนการสอน)

ศึกษาสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลสัมฤทธิ์ วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และผลสัมฤทธิ์การทดสอบ

ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ ซึ่งผู้ขอรับการประเมิน จะนำเสนอสาเหตุของปัญหาที่สำคัญ 2 ประการ ดังนี้

ด้านผู้เรียน

1. ไม่สนใจเรียน และขาดแรงจูงใจในการเรียน

2. อ่านจับใจความสำคัญไม่เป็น

3. ไม่รักการอ่านและไม่ใฝ่เรียนรู้

4. ติดเกม และเล่นเกมออนไลน์

ด้านครู

1. ใช้วิธีการสอนแบบบรรยาย เน้นการท่องจำเป็นส่วนใหญ่

2. กิจกรรมการเรียนรู้ไม่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ด้านความรู้ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

3. ขาดการฝึกทักษะการเรียนรู้ ด้านการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความให้ผู้เรียน

4. ขาดสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้อิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่ส่งเสริมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ขั้นที่ 3 นิโรธ (ธรรมที่ควรบรรลุ) Plan (การวางแผนการสอน)

การหาแนวทางการแก้ปัญหาให้ผลสัมฤทธิ์ วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน     (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำนั้น สามารถทำได้ ดังนี้

1. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร ผู้เรียนต้องรู้อะไร และต้องทำอะไรได้บ้างโดยการบูรณาการแบบฝึกทักษะการเรียนรู้สังคมศึกษา สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม และสาระที่ 2หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรมและการดำเนินชีวิตในสังคม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์ สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ในรายวิชาพระพุทธศาสนา 3  ส33102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งผู้ขอรับการประเมินเป็นผู้สอนด้วยตนเอง

2. ศึกษาและวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ย้อนหลังไป 5 ปี   การศึกษา ว่าสาระใด มาตรฐานการเรียนรู้ใด ตัวชี้วัดใด ที่คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานต่ำ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปวางแผนการสอน ออกแบบการเรียนรู้ และเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

3. ศึกษาและวิเคราะห์ตัวอย่างข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ย้อนหลังไป 5 ปีการศึกษา และศึกษาคำถามแต่ละตัวชี้วัด ว่าตัวชี้วัดใด ข้อสอบต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไรและทำอะไรได้ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าว ไปวางแผนการสอน ออกแบบการเรียนรู้ และเพื่อใช้ในการพัฒนาผู้เรียน

4. กำหนดผังแบบทดสอบ (Test Blueprint) สาระที่  1 ถึง สาระที่ 5 โดยกำหนดระดับพฤติกรรมที่ต้องการวัดของบลูม 6 ระดับ ได้แก่ จำ เข้าใจ ประยุกต์ใช้ คิดวิเคราะห์ ประเมินค่า สร้างสรรค์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 และสอดคล้องกับ (Test Blueprint) ของสถาบันทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (องค์การมหาชน) นอกจากนี้ ต้องกำหนดผังแบบทดสอบ (Test Blueprint) ให้สอดคล้องกับคุณภาพผู้เรียนเมื่อนักเรียนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วย ว่าผู้เรียนต้องรู้อะไร และต้องทำอะไรได้บ้าง

5. ศึกษาและพัฒนานวัตกรรม “เอกสารประกอบการเรียน”รายวิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยบูรณาการ

สาระการเรียนรู้ สาระที่ 1 ถึง สาระที่ 5

6. พัฒนาเครื่องมือวัดผลอิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระที่  1 ถึง สาระที่ 5 โดยใช้ แบบทดสอบปรนัย แบบทดสอบแนว PISA เป็นต้น

7. พัฒนากิจกรรมการฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์และเขียนสื่อความ อิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด เพื่อเป็นฐานการเรียนรู้

ในเอกสารประกอบการเรียน ดังกล่าว

8. พัฒนากิจกรรมการประยุกต์ใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ในการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 

9. วางแนวทางในการบริหารจัดการชั้นเรียน เพื่อให้การจัดการเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพและเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุเป้าหมายในการเรียนรู้

    ตามที่หลักสูตรกำหนด

10. กำหนดกระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความต้องการ

ของผู้เรียน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

10.1 การปฐมนิเทศ

10.2 ใช้กระบวนการเสริมแรงและปลุกเร้าคุณธรรม

10.3 ส่งเสริมให้นักเรียนใช้หลักธรรมอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการเรียน

10.4 ตั้งชุมชนการเรียนรู้ใน facebook.com ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน  5  ห้องเรียนเพื่อมีเป้าหมายในการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครู และศิษย์ เป็นชุมชนสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูล และองค์ความรู้อิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามที่หลักสูตรกำหนด

10.5 ฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ อิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามที่หลักสูตรกำหนด

10.6 ฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ อิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามที่หลักสูตรกำหนด

10.7 การวัดผลและประเมินผล ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนผู้ขอรับการประเมินได้ศึกษาและวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 และวิเคราะห์ผังแบบทดสอบ Test Blueprint โดยกำหนดระดับพฤติกรรมของบลูม ได้แก่ จำ เข้าใจ ประยุกต์ใช้ คิดวิเคราะห์ ประเมินค่า สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความสามารถของผู้เรียนให้สัมพันธ์กับระดับพฤติกรรมของบลูมในระดับห้องเรียน ซึ่งเป็นการปฏิบัติตนของครูและนักเรียนเพื่อให้พ้นจากทุกข์หรือปัญหาทั้งปวง ดังนี้

1. ครูปฐมนิเทศนักเรียน  โดยใช้กระบวนการสร้างความตระหนัก วิธีการคิด

แบบปลุกเร้าคุณธรรม  และเสริมแรงด้วยวิธีการต่าง ๆ  เช่น  นำผลสำเร็จของรุ่นพี่ในปีการศึกษาที่แล้วมาให้นักเรียนรับทราบ  เพื่อกระตุ้นความต้องการและความสนใจในการเรียนรู้ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน  ซึ่งจะส่งผลให้นักเรียนประสพความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด

2.ครูและนักเรียนกำหนดเป้าหมายในการเรียนระดับห้องเรียนร่วมกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์วิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102            และเป้าหมายระดับประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา           ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

3. ครูฝึกทักษะการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ โดยเน้นการอ่านเพื่อจับใจความสำคัญอิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ซึ่งมีขั้นตอนในการฝึก ดังนี้ 

3.1 นักเรียนอ่านเรื่องที่ครูกำหนดให้พร้อมกันทั้งชั้นเรียน 

3.2 ครูสุ่มถามนักเรียน  3-5  คน  เพื่อประเมินนักเรียนว่าอ่านจับใจความสำคัญ

เป็นหรือไม่ ครูชมเชยนักเรียนที่อ่านจับใจความได้ถูกต้องและแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนที่ไม่สามารถอ่านจับใจความได้ถูกต้อง

3.3 ครูให้นักเรียนอ่านเรื่องที่ครูกำหนดให้พร้อมกันทั้งชั้นเรียนอีก 1 ครั้ง

3.4 ครูสุ่มถามนักเรียน 3-5  คน เพื่อประเมินนักเรียนว่าอ่านจับใจความสำคัญ

เป็นหรือไม่ ครูชมเชยนักเรียนที่อ่านจับใจความได้ถูกต้องและแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนที่ไม่สามารถอ่านจับใจความได้ถูกต้อง

3.5 ครูให้นักเรียนใช้ปากกาสีแดงขีดเส้นใต้สาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน

เพื่อเป็นตัวอย่างและเพื่อให้นักเรียนเข้าใจตรงกันว่าสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านเป็นอย่างไร

3.6 ครูฝึกทักษะการเขียนสื่อความให้นักเรียน โดยการนำสาระสำคัญ

ของเรื่องที่อ่านไปเขียนสื่อความ

3.7 ครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดเกณฑ์ประเมินการเขียนสื่อความ

3.8 นักเรียนตั้งคำถามแล้วตอบจากเรื่องที่เขียนสื่อความตามระดับพฤติกรรม

ของบลูม ได้แก่ จำ เข้าใจ ประยุกต์ใช้ คิดวิเคราะห์ ประเมินค่า สร้างสรรค์

3.9 นักเรียนสรุปองค์ความรู้จากเรื่องที่เขียนสื่อความ โดยการสร้างชิ้นงาน

ตามความสามารถและความถนัดของตนเอง 

4. นักเรียนทำแบบฝึกทักษะสังคมศึกษาออนไลน์ ใน Quipper School

ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการใช้ระบบ E-learning ในการเรียนรู้ เพื่อเป็นการทบทวนความรู้อีกครั้ง

5. ครูวัดผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เพื่อนำผลการทดสอบไปพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล

ขั้นที่ 4.1 มรรค (ธรรมที่ควรเจริญ) Cheek (การตรวจสอบการทำงาน) หรือการปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ดังนี้

                   บทบาทของครู

                   1. ครูตรวจสอบกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยการสังเกต สัมภาษณ์ แบบสอบถาม

แบบประเมิน และดูจากผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน        (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

                   2. ครูตรวจสอบเครื่องมือการวัดผลและกระบวนการในการวัดผล

ก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เพื่อนำผลการทดสอบไปพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล 

                   บทบาทของผู้เรียน

                   1. เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน”เพื่อประเมินความรู้ อิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามที่หลักสูตรกำหนด

                   2. ฝึกทำแบบฝึกหัดย่อยในเอกสารประกอบการเรียน เพื่อดูพัฒนาการด้านการเรียนรู้       เพื่อประเมินความรู้อิงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามที่หลักสูตรกำหนด

ขั้นที่ 4.2 (ธรรมที่ควรเจริญ) Act (การปรับปรุงแก้ไขงานให้ดีขึ้น)

หรือการปฏิบัติให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ดังนี้

                   บทบาทของครู

1. ครูนำผลจากตรวจสอบกระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยการสังเกต สัมภาษณ์

แบบสอบถามแบบประเมิน และดูจากผลสัมฤทธิ์ในรายวิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102 และผลสัมฤทธิ์ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปปรับปรุง และแก้ไข                  ให้สมบูรณ์ขึ้น

                   2. ครูนำผลจากตรวจสอบเครื่องมือการวัดผล และกระบวนการในการวัดผลก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน เพื่อนำผลการทดสอบไปพัฒนาผู้เรียนรายบุคคล และนำผลการทดสอบดังกล่าวไปวางแผนในการพัฒนาผู้เรียน

                   3. ครูนำผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ไปใช้สำหรับการวางแผนในการพัฒนาผู้เรียน ดังนี้

3.1 ศึกษาว่ามาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดใดบ้าง สาระใดบ้าง ใน 5 สาระ

ที่คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ

                             3.2 กำหนดผังแบบทดสอบ (Test Blueprint) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด ตามระดับพฤติกรรมของบลูม ได้แก่ จำ เข้าใจ ประยุกต์ใช้ คิดวิเคราะห์ ประเมินค่า และสร้างสรรค์

                             3.3 ศึกษาและวิเคราะห์คุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ว่าหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กำหนดไว้ว่า ผู้เรียนต้องรู้อะไร และทำอะไรได้บ้าง

เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวนี้ ไปพัฒนาผู้เรียนในระดับห้องเรียนให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   บทบาทของผู้เรียน

                   1. นำผลคะแนนที่ได้จากการเรียนรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ไปวางแผนในการพัฒนาตนเองให้ได้รับความรู้ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ตามมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัด ตามที่หลักสูตรกำหนด

                   2. วิเคราะห์ ขั้นตอนการเรียนรู้ ว่าต้องฝึกทักษะการเรียนรู้ด้านใดเพิ่มบ้าง จากการเรียนรู้ โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน เช่น การอ่าน อ่านจับใจความสำคัญ การคิดวิเคราะห์ และเขียนสื่อความ เป็นต้น เพื่อนำไปวางแผนในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

 

            3.2 ขั้นตอน/วิธีการพัฒนานวัตกรรม

การพัฒนานวัตกรรม “เอกสารประกอบการเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา 3 ส33102

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 บูรณาการ สาระการเรียนรู้ สาระที่ 1 ถึงสาระที่ 5 ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ดังนี้

                   1) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

2) วิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้ ช่วงชั้นที่ 4

3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้

และจุดประสงค์การเรียนรู้

4) วิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ว่าสาระ                        

การเรียนรู้ และตัวชี้วัดใดบ้าง ที่คะแนนเฉลี่ยผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ต่ำ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าว ไปวางแผนการสอน ออกแบบการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรม สำหรับการพัฒนาผู้เรียน

                   5) วิเคราะห์ตัวอย่างข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)  วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ย้อนหลัง 5 ปีการศึกษา และศึกษาคำถามแต่ละตัวชี้วัด ว่าตัวชี้วัดใด ข้อสอบต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร และทำอะไรได้ เพื่อนำข้อมูลดังกล่าว ไปวางแผนการสอน ออกแบบการเรียนรู้ และพัฒนานวัตกรรม สำหรับการพัฒนาผู้เรียน

                   6) จัดทำคำอธิบายรายวิชา

                          7) จัดทำโครงสร้างหน่วยการเรียนรู้และกำหนดรายละเอียดในหน่วยการเรียนรู้

8) กำหนดองค์ประกอบของเอกสารประกอบการเรียน

9) จัดทำเอกสารประกอบการเรียน

10) ทดสอบประสิทธิภาพเอกสารประกอบการเรียน

11) นำเอกสารประกอบการเรียนไปใช้

12) สรุปรายงานผลและเผยแพร่

4. ผลการดำเนินงาน/ประโยชน์ที่ได้รับ

4.1 ผลที่เกิดจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้

4.1.1 ผลการดำเนินงานที่เกิดกับผู้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

หลังจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้ ดังนี้

 

ตาราง 1 แสดงผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน

( O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 – 2558 

ปีการศึกษา

คะแนนเฉลี่ย

ผ่านจุดตัด

ร้อยละ

ลำดับที่

ของจังหวัดสระบุรี

ลำดับที่

ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4

ระดับประเทศ

ระดับโรงเรียน

2556

33.02

33.03

50.26

3

13

2557

36.53

38.10

54.00

3

9

2558

39.70

41.74

58.00

2

7

จำนวนโรงเรียนในจังหวัดสระบุรี

จำนวนโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4

21

โรงเรียน

42

โรงเรียน

          จากตาราง 1 สรุปได้ดังนี้

  1. ปีการศึกษา 2556 นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน 33.03 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย

ระดับประเทศ และได้คะแนนผ่านจุดตัด วิชาสังคมศึกษา ร้อยละ 50.26 ได้ลำดับที่ 3 ของจังหวัดสระบุรี

และได้ลำดับที่ 13 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จากจำนวน 42 โรงเรียน   

                   2. ปีการศึกษา 2557 นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน 38.10 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ และได้คะแนนผ่าจุดตัด วิชาสังคมศึกษา ร้อยละ 54.00 ได้ลำดับที่ 3 ของจังหวัดสระบุรี

และได้ลำดับที่ 9 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จากจำนวน 42 โรงเรียน   

                   3. ปีการศึกษา 2558 นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน 41.74 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ และได้คะแนนผ่านจุดตัด วิชาสังคมศึกษา ร้อยละ 58.00 ได้ลำดับที่ 2 ของจังหวัดสระบุรี

และได้ลำดับที่ 7 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 จากจำนวน 42 โรงเรียน    

4.1.2 ผลที่เกิดกับผู้เรียนรายบุคคล หลังจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จ

เป็นที่ประจักษ์ ไปใช้ในการศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ซึ่งผู้รับการประเมินขอนำเสนอ ดังนี้  

1. ปีการศึกษา 2551 นายเกียรติชัย  เฉลยรถ ได้รับรางวัลสุดยอดบุคคลแห่งการเรียนรู้

และมีนิสัยรักการอ่าน วิชาสังคมศึกษา ซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้ส่งเสริมและมอบทุนการศึกษา จำนวน 1,000 บาท นายเกียรติชัย  เฉลยรถ เป็นนักเรียนผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา จากรางวัลครูสอนดี และครูผู้ได้รับรางวัลทุนครูสอนดี ปีการศึกษา 2554 ซึ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขานิติศาสตร์ เกียรตินิยม อันดับ 2 (ใช้เวลาในการศึกษา 2.5 ปี) และจบหลักสูตรวิชาการว่าความและเป็นที่ปรึกษากฎหมาย วิสาหกิจในการทำธุรกรรมด้านการเงินกับสถาบันการเงิน ปัจจุบันประกอบอาชีพ ทนายความ

2. ปีการศึกษา 2555  นายพงศกร สินสุนทรพงศ์ ได้รับรางวัลสุดยอดบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีนิสัยรักการอ่าน วิชาสังคมศึกษา ซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้ส่งเสริมและมอบทุนการศึกษาจำนวน 1,000 บาท ปัจจุบันศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัย เมไก (Meikai University) ภาษาต่างประเทศ สาขาการสอนภาษาญี่ปุ่น ในโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุนการศึกษา

3. ปีการศึกษา 2555 นางสาววิสณี   วิชชุเกรียงไกร ได้รับรางวัลสุดยอดบุคคล

แห่งการเรียนรู้และมีนิสัยรักการอ่าน วิชาสังคมศึกษา ซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้ส่งเสริมและมอบทุนการศึกษา จำนวน 1,000 บาท ปัจจุบันศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิศวอุตสาหการคณะสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร

4. ปีการศึกษา 2555 นางสาวอุมาพร  เพ็ชรขุนทด ได้รับรางวัลสุดยอดบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีนิสัยรักการอ่าน วิชาสังคมศึกษา ซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้ส่งเสริมและมอบทุนการศึกษา จำนวน 1,000 บาท ปัจจุบันศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขานิติศาสตร์

5. ปีการศึกษา 2557 นายนันทศิริ  เกศสาลี ได้รับรางวัลสุดยอดบุคคลแห่งการเรียนรู้และมีนิสัยรักการอ่าน วิชาสังคมศึกษา ซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้ส่งเสริม และมอบทุนการศึกษา จำนวน 1,000 บาท ปัจจุบันศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง

4.1.3 ผลที่เกิดกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี หลังจากการนำผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้ดังนี้

1. ปีการศึกษา 2556 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้คะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน           (O-NET) วิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับโรงเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ 

2. ปีการศึกษา 2557 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ได้คะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับโรงเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ 

3. ปีการศึกษา 2558 กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมได้คะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระดับโรงเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ 

4. ปีการศึกษา 2557 จากการที่ผู้ขอรับการประเมินในฐานนะ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้นำวิธการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ไปวางแผนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์  การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา 3           ส่งผลให้ได้คะแนนเฉลี่ยผ่านจุดตัดวิชาสังคมศึกษา ร้อยละ 51.00 ขึ้นไป

5. ปีการศึกษา 2558 จากการที่ผู้ขอรับการประเมินในฐานนะ หัวหน้ากลุ่มสาระ

การเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้นำวิธการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ไปวางแผนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา 3 ส่งผลให้ได้คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ

4.1.4 ผลที่เกิดกับเพื่อนร่วมงาน ชุมชน สังคม และวงวิชาการ จากการนำผลงานดีเด่น

ที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ไปใช้ ดังนี้

1. ครูในโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา และครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา

และวัฒนธรรม โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา มีต้นแบบในการจัดการเรียนการสอน โดยการใช้แบบฝึกทักษะสังคมศึกษาออนไลน์  และเอกสารประกอบการเรียน ซึ่งข้าพเจ้าได้เผยแพร่กระบวนการในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เป็นรูปธรรม โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมและกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ แบบกัลยาณมิตร               และเป็นโค้ชคอยชี้แนะ ฝึกประสบการณ์ให้ครูผู้ช่วยอย่างสม่ำเสมอ

2. ปีการศึกษา 2557 จากการที่ผู้ขอรับการประเมินในฐานนะหัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้นำวิธการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ไปวางแผนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การทดสอบ    ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา 3 ส่งผลให้ ได้คะแนนเฉลี่ยการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ผ่านจุดตัด วิชาสังคมศึกษา ร้อยละ 51.00 ขึ้นไป

3. ปีการศึกษา 2558 จากการที่ผู้ขอรับการประเมินในฐานนะ หัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้นำวิธการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ไปวางแผนการพัฒนาผลสัมฤทธิ์การทดสอบ   ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา 3 ส่งผลให้ ได้คะแนนเฉลี่ย การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ได้คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ

     4. เป็นการพิสูจน์ให้รู้ว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 ถึง ปีการศึกษา 2558 สามารถพัฒนาได้  โดยมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2556-2558 คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียน    สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ขอรับการประเมินเชื่อมั่นในศักยภาพของลูกศิษย์ทุกคนว่า “การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน เป็นกลยุทธ์สำคัญในการจัดการเรียนการสอน” อีกประการหนึ่งของข้าพเจ้า ผู้ขอรับการประเมิน และตระหนักอยู่เสมอว่า เด็ก ๆ ทุกคนสามารถพัฒนาได้ “นักเรียนทุกคนสามารถพัฒนาได้ และไม่มีนักเรียนคนใดโง่ เด็กไทยไม่แพ้เด็ก ๆ ชาติใด ๆ ในโลกนี้ ครูเก่ง เด็กต้องเก่ง”

4.1.5 ผลที่เกิดกับข้าพเจ้าในฐานะครูผู้สอน จากการนำผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จ

เป็นที่ประจักษ์ไปใช้ ได้รับการยอมรับจากผู้บังคับบัญชา ดังนี้

ผู้ขอรับการประเมิน ได้พัฒนาผลงานดีเด่นที่ประสพผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และได้รับการยกย่อง ดังนี้ 

                   1. ปีการศึกษา 2557 ได้รับเกียรติบัตร จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4 (ปทุมธานี-สระบุรี) ว่า “กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนมวกเหล็กวิทยา

จังหวัดสระบุรี มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3

                   2. ปีการศึกษา 2558 ได้รับเกียรติบัตร จากโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี

ว่า “นายนครรัฐ   โชติพรม มีวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในการพัฒนาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2556 - 2558 อย่างต่อเนื่อง

                   3. ปีการศึกษา 2558 ได้รับเกียรติบัตร จากโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา จังหวัดสระบุรี

ว่า “กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้คะแนนเฉลี่ย ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.64

และได้คะแนนเฉลี่ยระดับโรงเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ                                                   

4. ปีการศึกษา 2553 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

และ โครงการ Partners in Learning โดยบริษัทไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด ให้รางวัล

“ครูผู้นำด้านนวัตกรรมด้านการเรียนการสอน ระดับภูมิภาค” โครงการ THAILAND INNOVATIVE TEACHERS LEADERSHIP AWARDS  2010

5. ปีการศึกษา 2553-2554 ได้รับรางวัล “ครูผู้สอนดีเด่น กลุ่มสาระการเรียนรู้

สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม” หน่วยงานที่ให้รางวัลสำนักงานคุรุสภา

6. ปีการศึกษา 2554 ได้รับรางวัล “ครูสอนดี” หน่วยงานที่ให้รางวัล

องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี                      

7. ปีการศึกษา 2554 ได้รับรางวัล “ครูผู้ได้รับทุนครูสอนดี” หน่วยงานที่ให้รางวัล

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาวชน (สสค.)

8. สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ มอบหมายให้เป็นผู้เขียนแบบวัดผลการเรียนรู้

สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 และแบบวัดผลการเรียนรู้

อาเซียนศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเป็นวิทยากรประจำสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ด้วย

9. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เชิญให้เป็นครูเครือข่ายในการเขียนข้อสอบปรนัย และเขียนข้อสอบแนว PISA  สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม ช่วงชั้นที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 – ปัจจุบัน

10. ได้รับความไว้วางใจจากผู้อำนวยการโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา ในการเป็นวิทยากร

ด้านการออกแบบการเรียนรู้ การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และการเขียนข้อสอบปรนัยและข้อสอบแนว PISA ให้ครูโรงเรียนมวกเหล็กวิทยา อย่างสม่ำเสมอ

11. ได้รับความไว้วางใจจากศูนย์สังคมศึกษา โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล” จังหวัดสระบุรี และศูนย์สังคมศึกษา โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เชิญเป็นวิทยากร ในการพัฒนาครูสังคมศึกษา ปีการศึกษา 2556 - 2557

12. ได้รับความไว้วางใจจากสถานศึกษาต่าง ๆ และสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้ ด้านการสอนสังคมศึกษา การออกแบบการเรียนรู้ การเขียนข้อสอบปรนัยและการจัดการเรียนรู้รายวิชาหน้าที่พลเมือง เป็นต้น อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

5. ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสำเร็จ

          5.1 ครูผู้สอน (นายนครรัฐ   โชติพรม )

                   5.1.1 มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณความเป็นครู

 “มุ่งมั่น ขยัน อดทน เสียสละ รักและเมตตาต่อศิษย์” เป็นต้น

                   5.1.2 กำหนดเป้าหมายในการพัฒนาได้ชัดเจนเป็นรูปธรรม สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง

                   5.1.3 ใช้นวัตกรรมในการปฏิบัติที่เป็นเลิศ

                   5.1.4 สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียนมีนิสัยรักการอ่านและเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ได้สำเร็จ

โดยมอบรางวัลและเกียรติบัตรให้นักเรียนต้นแบบด้านการอ่านอย่างต่อเนื่อง

                   5.1.5 พัฒนาผู้เรียนรายบุคลได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

เอกสารประกอบการเรียน เป็นต้น

                   5.1.6 แก้ปัญหาผู้เรียนได้ตรงประเด็นตามแนวทางในการปฏิบัติที่เป็นเลิศ

                   5.1.7 นักเรียนมีทักษะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง “เน้นทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ”

                   5.1.8 เครื่องมือวัดผล ตรงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด โดยสะท้อนแบบทดสอบ

ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาสังคมศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

                   5.1.9 วัดผลอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการพัฒนาความก้าวหน้าในการเรียนรู้ รายบุคคล

                   5.1.10 มีความรู้และประสบการณ์ในการสอน มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบกิจกรรม

การเรียนรู้ วัดผลและประเมินผล ตรงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

                   5.1.11 สร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียนรู้ผ่านเครื่องข่ายการเรียนใน Facebook

ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารกันด้านการเรียนรวดเร็วและเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

          5.2 ผู้เรียน

                   5.2.1 นอบน้อม มีสัมมาคารวะ เคารพและเชื่อฟังครูผู้สอน

                   5.2.2 มีแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ภาคภูมิใจในผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน

(O-NET) วิชาสังคมศึกษา ซึ่งรุ่นพี่ทำผลงานไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม ในปีการศึกษาที่ผ่านมา จึงเกิดความภาคภูมิใจ

ที่จะรักษาคุณภาพและชื่อเสียงที่รุ่นพี่ได้สร้างไว้

                   5.2.3 มีเป้าหมายในการเรียนรู้ที่ชัดเจน เนื่องจากได้กำหนดเป้าหมายในการเรียนรู้ร่วมกัน

                   5.2.4 รักการอ่าน เพราะมีครูคอยกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง และให้กำลังใจอย่างสม่ำเสมอ

และผู้เรียนต้องผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านการใฝ่เรียนรู้และมีนิสัยรักการอ่านด้วย

                   5.2.5 ให้กำลังใจครูผู้สอน อย่างสม่ำเสมอ เห็นความสำคัญของการอ่านว่าเป็นเครื่องมือสำคัญ

ที่จะทำให้เขาประสพความสำเร็จในการเรียน

          5.3 ผู้บริหาร

                   ผู้บริหารให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ ยกย่องเชิดชูเกียรติ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

          5.4 เพื่อครู

                   เพื่อนครูให้การสนับสนุน ให้กำลังใจ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

          5.5 ศิษย์เก่า

                   ให้กำลังใจครูผู้สอน ชื่นชมในความรู้ความสามารถของครูนครรัฐ  โชติพรม อย่างสม่ำเสมอ กระตุ้นน้อง ๆ ให้เห็นความสำคัญของการอ่านและรักการอ่าน

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 528 คน กำลังออนไลน์