แบบฝึกคิดวิเคราะห์ เขียนเรื่อง GMO

รูปภาพของ wannapa

GMO*  กับความเสี่ยงในสภาพแวดล้อม(และอาหาร)
                                                                                           *GE, Genetically Engineered

GMOs คืออะไร

       GMOs  ย่อมาจากคำว่า  “Genetically Modified Organisms” หมายถึง สิ่งมีชีวิต  ซึ่งรวมถึงพืช   สัตว์ และจุลินทรีย์ ที่ผ่านกระบวนการตัดแต่งทางพันธุกรรม  โดยการถ่ายเทยีนส์จากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง  ทำให้เกิดลักษณะหรือคุณสมบัติใหม่ๆขึ้นตามที่ต้องการ โดยปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ได้พยายามปรับปรุงพันธุ์พืชอื่นๆที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ให้ได้ลักษณะตามที่ต้องการ หลายลักษณะได้แก่

ภาพโดย <a href=http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=435364&Ntype=2 " height="188" /> 

      การนำเทคโนโลยีทางด้านพันธุวิศวกรรมมาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้พันธุ์พืชที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ โดยนำ หน่วยพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งถ่ายเข้าไปรวมหรือร่วมอย่างถาวรกับหน่วยพันธุกรรมของพืชอีกชนิดหนึ่ง ทำให้สามารถแสดงลักษณะที่ไม่เคยมีอยู่ในธรรมชาติสำหรับพืชชนิดนั้น พืชชนิดนั้นจึงเรียกว่าเป็น พืชที่ได้รับตัดต่อสารพันธุกรรม (Genetically Modified Plants)

    ส่วนแบ่งพื้นที่ปลูกพืช  GMO (พ.ศ.2547)  รวม 506 ล้านไร่  *% ของพื้นที่ปลูกทั้งโลก

 

ภาพโดย http://www.eco-agrotech.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=435364&Ntype=2

 1.    การยืดอายุความสด  รสชาติและคุณภาพของผลผลิตที่เก็บจากไร่ ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมีผลไม้และพืชผักที่มีรสชาติดีตลอดปี  เช่น 
       มะเขือเทศ Flavr Savr ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษในการชะลอการสุกงอม   ทำให้มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้นกว่ามะเขือเทศทั่วไป

2.   ป้องกันพืชที่เพาะปลูกจากโรคเชื้อรามากมายหลายชนิด

3.   เพิ่มส่วนเนื้อของมันฝรั่งและผลิตผลอื่นๆ  มันฝรั่งที่มีปริมาณแป้งสูงจะลดการการดูดซึมน้ำมันในกระบวนการปรุงอาหาร  เป็นผลให้

      มันฝรั่งทอดในรูปต่างๆที่มีแคลอรี่ต่ำ

4.   ปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของธัญญพืชที่เป็นอาหารมนุษย์และอาหารสัตว์ เช่น ข้าว “โกลเดน ไรซ์” เพื่อเพิ่มสารเบต้า-

      แคโรทีน    ซึ่งเป็นแหล่งกระตุ้นการสร้างวิตามินเอที่มีคุณค่าทางโภชนาการและช่วยเสริมสร้างสุขภาพสายตา

5.   ปรับปรุงพืชที่ให้น้ำมันให้มีปริมาณไขมันอิ่มตัวน้อยลง

6.   พัฒนาพันธุ์พืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดิน และสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

7.   ปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีประสิทธิภาพในการใช้สารอาหารจากดินได้ดีขึ้น  เพื่อลดการใช้ปุ๋ยสังเคราะห์

8.   พัฒนาพืชปลูกที่ผลิตสารเคมีทางเภสัชกรรมและสารเคมีเฉพาะบางชนิด  

ผลกระทบต่อประเทศไทย
1. ความสามารถในการแข่งขัน
2. ความปลอดภัยทางชีวภาพ(Biosafety) จากเทคโนโลยีนำเข้า

GMO - ความเสี่ยง
1. ทั่วไป
2. จำเพาะเฉพาะชนิดพืช/เฉพาะยีน/เฉพาะลักษณะ ที่ทำการพันธุวิศวกรรม

 ความเสี่ยงทั่วไปจาก GMO
1. ความเสียหายทางธุรกิจมหาศาล จากความแตกตื่นที่อาจไม่มีอันตรายจริง
2. สาเหตุการตื่นตระหนก ความกลัวในสิ่งที่ไม่รู้
       2.1) การขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้
       2.2)  การเชื่อในข้อมูลผิดๆ

อันตรายจากสารพิษในพืช GMO พืชอาหาร
            พืชอาหาร GMO ที่ผลิตอยู่และผ่านกระบวนการตรวจสอบแล้ว มีความเสี่ยงต่ำมาก ต่ำกว่ายา
สมุนไพรและอาหาร “สุขภาพ” บางอย่าง  (คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ UK, EU)
ขาดข้อมูลท้องถิ่น ต.ย. มะละกอดิบ พืช GMO เพื่อเป็นโรงงานเภสัชกรรมข้อมูลที่เชื่อถือได้ยังมีน้อยมาก

พืช Pharming GMO - ความเสี่ยง
• สารตัวยาก่อภูมิแพ้หากปนไปในอาหาร
• ผลทางสุขภาพของโปรตีน GMO ต่างจากโปรตีนธรรมชาติ
• ผลกระทบต่อจุลลินทรีย์ในธรรมชาติ เกิดเป็นเชื้อโรค
• ผลกระทบต่อเชื้อโรคในสัตว์กลายเป็นเชื้อโรคในคน แบบหวัดนก
(Consumer Union 2005)

พืช GMO เพื่อเป็นโรงงานเภสัชกรรม  Plant-made Pharmaceuticals (PMP), Pharming

• โอกาสพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมไบโอเทค

• ความเสี่ยงสูง ขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้สำหรับท้องถิ่น

• ยีนมนุษย์ GE สู่พืชเพื่อผลิตยา มีผลต่อตลาดหากเชื่อว่าปนเปื้อนในอาหาร

พืช GMO เพื่อเป็นโรงงานเภสัชกรรม  Plant-made Pharmaceuticals (PMP), Pharming

• โอกาสพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมไบโอเทค

• ความเสี่ยงสูง ขาดข้อมูลที่เชื่อถือได้สำหรับท้องถิ่น

• ยีนมนุษย์ GE สู่พืชเพื่อผลิตยา มีผลต่อตลาดหากเชื่อว่าปนเปื้อนในอาหาร
 

การปนเปื้อน GMO
• การปะปนกันของผลิตผล ในตลาด ในระบบอาหาร
• การระบาดปนเปื้อน ในระบบนิเวศ ในระบบพันธุกรรมการระบาดปนเปื้อนของ GMO ในระบบนิเวศ
• พืชพันธุ์ปลูกหลุดออกไปเป็นวัชพืชประกอบกับการผ่าเหล่า
• การผสมเกสรข้ามเหล่าข้ามพันธุ์พืช (Geneflow)
• ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตอื่น จุลลินทรีย์


สร้างโดย: 
วรรณภา ศรีวิไลสกุลวงศ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 242 คน กำลังออนไลน์