• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:81287ec7f6e4614bc8a07abf23bada64' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p>\n&nbsp;\n</p>\n<p align=\"center\">\n<span style=\"color: #ff0000\">(ยังไม่เสร็จนะจ๊ะ!!!)</span>\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n      บัลเล่ต์(Ballet) หรือระบำปลายเท้า   ศิลปะการแสดงสุดคลาสสิกอันเก่าแก่และสวยงาม  เป็นที่นิยมทั่วโลกนั้น  มีต้นกำเนิดจากการแสดงในราชสำนักอิตาลีตั้งแต่ยุคเรอเนซองซ์ (ศตวรรษที่ 15) ทว่ามามีพัฒนาการจนมีหน้าตาเหมือนบัลเลต์ในปัจจุบันที่ฝรั่งเศส และกลายเป็นการแสดงที่แพร่หลายในรัสเซีย ก่อนที่ภายหลังจะมีการเติบโตไปในอีกรูปแบบหนึ่งที่อเมริกา\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n      บัลเลต์มีพัฒนาการมากมายต่างไปจากจุดเริ่มในอิตาลี ในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส หรือในศตวรรษที่ 17 ซึ่งได้สร้างรูปแบบที่เป็นรากฐานของบัลเลต์คลาสสิกในปัจจุบัน กระทั่งราวปี 1850 ความรุ่งเรืองของบัลเลต์ย้ายวิกไปยังเดนมาร์กและรุ่งโรจน์สุดๆ ที่รัสเซีย จนเรียกได้ว่ากลายเป็นอาณาจักรของนักระบำปลายเท้าไปเลย\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n      บัลเลต์(Ballet) น่าจะมีรากศัพท์จาก บัลเยเร (Ballere) ในภาษาละตินแปลว่า เต้น เกิดขึ้นอย่างบังเอิญในงานแต่งงานของชนชั้นสูงในอิตาลี ที่นักดนตรีเพียงต้องการมอบความบันเทิงให้แขกผู้มาร่วมงานเท่านั้น ก็เลย “เต้น” (“บัลโย”– Ballo ภาษาอิตาเลียนแปลว่า เต้น) ให้ชมกัน ภายหลังคณะนักเต้นประจำราชสำนักฝรั่งเศสเห็นว่า เป็นการแสดงที่น่าจะมอบความบันเทิงให้ผู้ชมได้ จึงคิดว่าน่าจะมีดนตรี บทพูด บทร้อง ท่วงท่า รวมทั้งการออกแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับเรื่องราว\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n       โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคาเทรีน เด เมดิซี หญิงสาวอิตาเลียนจากตระกูลสูงผู้หลงใหลในศิลปะ ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายเฮนรีที่ 2 ของฝรั่งเศส พระนางก็ทรงผลักดัน รวมทั้งประธานทุนช่วยเหลือในการพัฒนา “บัลโย” สู่ “บัลเลต์” ด้วย\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n       บัลเลต์สมัยเรอเนสซองซ์ในอิตาลีห่างไกลจากบัลเลต์ที่เราเห็นในทุกวันนี้ นัก กระโปรงสุ่มสั้นๆ กับรองเท้าบัลเลต์ก็ยังไม่เกิดขึ้นในยุคนั้น นักเต้นยังคงสวมใส่กระโปรงสุ่มแบบที่ปิดคลุมถึงข้อเท้าเช่นที่ผู้หญิงทั่วๆ ไปสวมใส่กัน\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n        เวลาผ่านไปถึง 2 ศตวรรษ จึงเกิดการปฏิวัติในบัลเลต์ขึ้นที่ฝรั่งเศส อย่างที่เรียกว่าเปลี่ยนรูปแบบไปจากจุดเริ่มต้น อาจเนื่องเพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในศิลปะการแสดง รวมทั้งต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ๆ ขึ้น\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n        ในปี 1661 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โปรดฯ ให้ก่อตั้งสถาบันการระบำ หรืออะคาเดมี รัวยาล เดอ ลา ดองส์ (Academie Royale de la Danse ปัจจุบันคือ ปารีส โอเปรา บัลเลต์-Paris Opera Ballet) พร้อมๆ กันนั้น ท่าพื้นฐานของบัลเลต์คลาสสิก 5 ท่วงท่าก็ได้รับการบัญญัติขึ้น\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n        อง-บัปติสต์ ลุลยี นักแต่งเพลงชาวอิตาเลียนที่ทำงานรับใช้ราชสำนักฝรั่งเศส มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาดนตรีสำหรับบัลเลต์ตลอดศตวรรษต่อมา เขาเป็นอีกคนที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยความที่เขาเป็นนักเต้นเองด้วย ทำให้มีความเข้าใจในท่วงท่า และแต่งเพลงสนับสนุนความเคลื่อนไหวของนักเต้นได้เป็นอย่างดี \n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n        เขาทำงานร่วมกับอง-บัปติสต์ โปเกอแลง นักเขียนบทละครเจ้าของนามปากกา โมลิแยร์ ทั้งคู่นำเอาสไตล์การละครแบบอิตาลี ทั้งสุขและโศกนาฏกรรมมาผสมผสานกันกลายเป็นบัลเลต์สนุกๆ ให้คนฝรั่งเศสชม โดยมีบัลเลต์เรื่องดัง อย่าง Le Bourgeois Gentilhomme (1670) อง-บัปติสต์ ลุลยี ยังเป็นผู้กำกับคนแรกของโรงละครแห่งสถาบันรัวยาล เดอ มูซิก (Royale de Musique) ซึ่งนับเป็นสถาบันที่เป็นรากฐานของดนตรีบัลเลต์\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n        การเรียนการสอนบัลเลต์อย่างจริงๆ จังๆ ก็เริ่มต้นขึ้นที่ฝรั่งเศสนี่เอง นั่นทำให้ชื่อเรียกท่วงท่าต่างๆ ของบัลเลต์ส่วนใหญ่จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศส ไม่ว่านักเต้นจะเข้าใจภาษาฝรั่งเศสหรือไม่ แต่พวกเขาก็จะรู้กันหากเอ่ยคำนี้ขึ้นมาจะหมายความถึงอะไร ไม่ว่าจะเป็น ออง เดอดองส์ (En dedans) ปอร์กต์ เดอ บราส์ (Port de bras) โซต์ เดอ ชาต์ (Saut de chat) ตูร์ ซอง แลร์ (Tours en l’air) ตงเบ (Tombe) ฯลฯ\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n<br />\n \n</p>\n<p>\n           ศตวรรษต่อมา นอกจากบัลเลต์ในฝรั่งเศสจะมีรากฐานที่เข้มแข็งแล้ว ยังเริ่มมีการพัฒนาเทคนิคต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติมเต็มความคิดทางศิลปะเข้าไป ด้วยการนำเรื่องราวแบบโอเปรามาถ่ายทอดด้วยการเต้นและการเคลื่อนไหวแบบบัลเลต์ โดยนอกจากนักแสดงจะต้องเต้นท่าบัลเลต์เก่งแล้ว ยังต้องสามารถถ่ายทอดคาแรกเตอร์ของตัวละครตามบทบาทต่างๆ ได้อีกด้วย\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n           การปฏิวัติวงการบัลเลต์ไปในรูปแบบดังกล่าว เห็นเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจนในศตวรรษต่อๆ มา การแสดงเป็นเรื่องราวมีตัวเอก ตัวรอง ทำให้มีการแจ้งเกิดนักแสดงบัลเลต์มากมาย โดยเฉพาะนักแสดงหญิงที่พัฒนาเทคนิคในการเต้นเฉพาะของตัวเองจนกลายเป็นดาวเด่น อย่าง แจนวิแยฟ กอสเซอแลง มารี ตาโกลนี และแฟนนี เอลสเลอร์ ที่ได้ช่วยกันพัฒนาเทคนิคการเต้นแบบพอยต์เท้า (อันเป็นที่มาของคำเรียก “ระบำปลายเท้า”) ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของการเต้นบัลเลต์ในปัจจุบัน ทั้งยังมีการพัฒนารองเท้าบัลเลต์ชนิดที่มีส่วนหัวเป็นโฟม เพื่อความง่ายในการเต้นด้วยปลายเท้านั่นเอง\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n           ด้วยความโดดเด่นของนักบัลเลต์หญิง ทำให้เรื่องราวที่นิยมในการนำมาสร้างสรรค์เป็นการแสดงบัลเลต์ จึงเป็นเรื่องราวแนวโรแมนติก โดยเฉพาะเนื้อหาจากเทพนิยายต่างๆ ซึ่งส่งผลถึงการออกแบบท่าเต้นให้มีการหมุนตัว กระโดดสูง กระโดดแยกขา รวมทั้งการจัดวางท่วงท่าวงแขนและร่างกายให้ได้อารมณ์อันซาบซึ้ง เรื่อง La Sylphide นับเป็นโรแมนติกบัลเลต์เรื่องแรกๆ และยังได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้\n</p>\n<p>\n<br />\n <br />\n  \n</p>\n<p>\n        เมื่อทิศทางการพัฒนาของบัลเลต์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ถึง 20 มุ่งหน้าไปเช่นนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ความเฟื่องฟูของบัลเลต์ในภายหลังจะมามีศูนย์กลางอยู่ที่รัสเซีย โดยเฉพาะเมื่อมี 3 ทหารเสือ อย่าง มาริอุส เปติปา เลฟ อีวานอฟ และเพเทอร์ ไชคอฟสกี ซึ่งช่วยกันแต่ง Swan Lake (1895) จนกลายเป็นบัลเลต์เรื่องดังที่สุดในโลก\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n        มาริอุส ซึ่งเป็นนักออกแบบท่าเต้น ยังร่วมงานกับเพเทอร์ ไชคอฟสกีในบัลเลต์เรื่องดังๆ ของโลก อย่าง The Nutcracker (1892) และ The Sleeping Beauty (1890) ซึ่งนับว่าเป็นยุคทองของรัสเซียทีเดียว\n</p>\n<p>\n       \n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n      จากเรื่อง Swan Lake นี่เองทำให้เกิดกระโปรงสั้น ที่เรียกว่า ตูตู้ (Tutu) อย่างที่เราเห็นทั้งหงส์ขาวหงส์ดำในเรื่องดังกล่าวสวมใส่ ภายหลังกลายเป็นกระโปรงที่สวมกันในนักเต้นบัลเลต์ทั่วไป\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n      บัลเลต์รัสเซียมียุคทองอยู่ได้ไม่นานก็เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย ทั้งนักแต่งเพลง นักออกแบบท่าเต้น และนักแสดงจำนวนมากพากันอพยพออกนอกประเทศ โดยเฉพาะการอพยพมาจุดกำเนิดของบัลเลต์คลาสสิก อย่าง ฝรั่งเศส ของเซอร์เก ดิอากิเลฟ ที่มาเปิดบริษัท บัลเลต์รัสเซีย (Ballets Russes) ในกรุงปารีส อันเป็นศูนย์กลางของบัลเลต์รัสเซียหลังจากปฏิวัติบอลเชวิกส์\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n       ขณะเดียวกันบัลเลต์ในประเทศรัสเซียเองก็พัฒนาไปภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ นักแสดงมากความสามารถหลายคนยังคงอยู่ในประเทศ และมีการพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ๆ ขึ้น บัลเลต์เป็นสิ่งที่แพร่หลายมากในรัสเซีย แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ยังมีการตั้งคณะบัลเลต์ชื่อดังมากมาย ตั้งแต่คณะบอลชอย (มอสโก) คณะคีรอฟ (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ฯลฯ โดยนอกจากบัลเลต์เรื่องคลาสสิกๆ ที่ยังแสดงกันอยู่แล้ว ยังมีการนำวรรณกรรมหลายเรื่องมาเขียนเป็นบทบัลเลต์ เรื่องที่ดังๆ ก็คือ Romeo and Juliet และ Cinderella\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n        โดยส่วนใหญ่ บัลเลต์ในปัจจุบันก็มักจะไม่ทิ้งเรื่องราวคลาสสิกเดิมๆ ที่มีการสร้างสรรค์เอาไว้แล้วตั้งแต่สมัยยุคทองของรัสเซีย การชมบัลเลต์ที่สวยงามจึงมักตัดสินกันที่ความสามารถของนักแสดงตัวเอกเป็นหลัก ว่าจะถ่ายทอดท่วงท่า ลีลา และอารมณ์ที่เป็นจุดเด่นของบัลเลต์แต่ละเรื่องออกมาได้โดดเด่นขนาดไหน\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n        ขณะที่ในส่วนของศิลปินบัลเลต์มากมายที่หลั่งไหลมาสู่ฝรั่งเศสหลังการปฏวัติรัสเซีย ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจข้ามน้ำไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นพัฒนาการในบัลเลต์ครั้งใหญ่อีกหน ไปสู่ยุคของนีโอคลาสสิกบัลเลต์ ก่อนจะเปลี่ยนรูปแบบตามการสร้างสรรค์ของศิลปินไปเป็นบัลเลต์ร่วมสมัย (Contemporary Ballet)\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n<p>\n&nbsp;\n</p>\n', created = 1719902590, expire = 1719988990, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:81287ec7f6e4614bc8a07abf23bada64' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

Ballet ระบำปลายเท้า ศาสตร์แห่งศิลปการแสดงชั้นสูง

รูปภาพของ lilla

 

(ยังไม่เสร็จนะจ๊ะ!!!)

 

 

      บัลเล่ต์(Ballet) หรือระบำปลายเท้า   ศิลปะการแสดงสุดคลาสสิกอันเก่าแก่และสวยงาม  เป็นที่นิยมทั่วโลกนั้น  มีต้นกำเนิดจากการแสดงในราชสำนักอิตาลีตั้งแต่ยุคเรอเนซองซ์ (ศตวรรษที่ 15) ทว่ามามีพัฒนาการจนมีหน้าตาเหมือนบัลเลต์ในปัจจุบันที่ฝรั่งเศส และกลายเป็นการแสดงที่แพร่หลายในรัสเซีย ก่อนที่ภายหลังจะมีการเติบโตไปในอีกรูปแบบหนึ่งที่อเมริกา

 

 

      บัลเลต์มีพัฒนาการมากมายต่างไปจากจุดเริ่มในอิตาลี ในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส หรือในศตวรรษที่ 17 ซึ่งได้สร้างรูปแบบที่เป็นรากฐานของบัลเลต์คลาสสิกในปัจจุบัน กระทั่งราวปี 1850 ความรุ่งเรืองของบัลเลต์ย้ายวิกไปยังเดนมาร์กและรุ่งโรจน์สุดๆ ที่รัสเซีย จนเรียกได้ว่ากลายเป็นอาณาจักรของนักระบำปลายเท้าไปเลย

 

 

      บัลเลต์(Ballet) น่าจะมีรากศัพท์จาก บัลเยเร (Ballere) ในภาษาละตินแปลว่า เต้น เกิดขึ้นอย่างบังเอิญในงานแต่งงานของชนชั้นสูงในอิตาลี ที่นักดนตรีเพียงต้องการมอบความบันเทิงให้แขกผู้มาร่วมงานเท่านั้น ก็เลย “เต้น” (“บัลโย”– Ballo ภาษาอิตาเลียนแปลว่า เต้น) ให้ชมกัน ภายหลังคณะนักเต้นประจำราชสำนักฝรั่งเศสเห็นว่า เป็นการแสดงที่น่าจะมอบความบันเทิงให้ผู้ชมได้ จึงคิดว่าน่าจะมีดนตรี บทพูด บทร้อง ท่วงท่า รวมทั้งการออกแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับเรื่องราว

 

 

       โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคาเทรีน เด เมดิซี หญิงสาวอิตาเลียนจากตระกูลสูงผู้หลงใหลในศิลปะ ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายเฮนรีที่ 2 ของฝรั่งเศส พระนางก็ทรงผลักดัน รวมทั้งประธานทุนช่วยเหลือในการพัฒนา “บัลโย” สู่ “บัลเลต์” ด้วย

 

 

       บัลเลต์สมัยเรอเนสซองซ์ในอิตาลีห่างไกลจากบัลเลต์ที่เราเห็นในทุกวันนี้ นัก กระโปรงสุ่มสั้นๆ กับรองเท้าบัลเลต์ก็ยังไม่เกิดขึ้นในยุคนั้น นักเต้นยังคงสวมใส่กระโปรงสุ่มแบบที่ปิดคลุมถึงข้อเท้าเช่นที่ผู้หญิงทั่วๆ ไปสวมใส่กัน

 

 

        เวลาผ่านไปถึง 2 ศตวรรษ จึงเกิดการปฏิวัติในบัลเลต์ขึ้นที่ฝรั่งเศส อย่างที่เรียกว่าเปลี่ยนรูปแบบไปจากจุดเริ่มต้น อาจเนื่องเพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในศิลปะการแสดง รวมทั้งต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ๆ ขึ้น

 

 

        ในปี 1661 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โปรดฯ ให้ก่อตั้งสถาบันการระบำ หรืออะคาเดมี รัวยาล เดอ ลา ดองส์ (Academie Royale de la Danse ปัจจุบันคือ ปารีส โอเปรา บัลเลต์-Paris Opera Ballet) พร้อมๆ กันนั้น ท่าพื้นฐานของบัลเลต์คลาสสิก 5 ท่วงท่าก็ได้รับการบัญญัติขึ้น

 

 

        อง-บัปติสต์ ลุลยี นักแต่งเพลงชาวอิตาเลียนที่ทำงานรับใช้ราชสำนักฝรั่งเศส มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาดนตรีสำหรับบัลเลต์ตลอดศตวรรษต่อมา เขาเป็นอีกคนที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยความที่เขาเป็นนักเต้นเองด้วย ทำให้มีความเข้าใจในท่วงท่า และแต่งเพลงสนับสนุนความเคลื่อนไหวของนักเต้นได้เป็นอย่างดี 

 

 

        เขาทำงานร่วมกับอง-บัปติสต์ โปเกอแลง นักเขียนบทละครเจ้าของนามปากกา โมลิแยร์ ทั้งคู่นำเอาสไตล์การละครแบบอิตาลี ทั้งสุขและโศกนาฏกรรมมาผสมผสานกันกลายเป็นบัลเลต์สนุกๆ ให้คนฝรั่งเศสชม โดยมีบัลเลต์เรื่องดัง อย่าง Le Bourgeois Gentilhomme (1670) อง-บัปติสต์ ลุลยี ยังเป็นผู้กำกับคนแรกของโรงละครแห่งสถาบันรัวยาล เดอ มูซิก (Royale de Musique) ซึ่งนับเป็นสถาบันที่เป็นรากฐานของดนตรีบัลเลต์

 

 

        การเรียนการสอนบัลเลต์อย่างจริงๆ จังๆ ก็เริ่มต้นขึ้นที่ฝรั่งเศสนี่เอง นั่นทำให้ชื่อเรียกท่วงท่าต่างๆ ของบัลเลต์ส่วนใหญ่จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศส ไม่ว่านักเต้นจะเข้าใจภาษาฝรั่งเศสหรือไม่ แต่พวกเขาก็จะรู้กันหากเอ่ยคำนี้ขึ้นมาจะหมายความถึงอะไร ไม่ว่าจะเป็น ออง เดอดองส์ (En dedans) ปอร์กต์ เดอ บราส์ (Port de bras) โซต์ เดอ ชาต์ (Saut de chat) ตูร์ ซอง แลร์ (Tours en l’air) ตงเบ (Tombe) ฯลฯ

 

 


 

           ศตวรรษต่อมา นอกจากบัลเลต์ในฝรั่งเศสจะมีรากฐานที่เข้มแข็งแล้ว ยังเริ่มมีการพัฒนาเทคนิคต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติมเต็มความคิดทางศิลปะเข้าไป ด้วยการนำเรื่องราวแบบโอเปรามาถ่ายทอดด้วยการเต้นและการเคลื่อนไหวแบบบัลเลต์ โดยนอกจากนักแสดงจะต้องเต้นท่าบัลเลต์เก่งแล้ว ยังต้องสามารถถ่ายทอดคาแรกเตอร์ของตัวละครตามบทบาทต่างๆ ได้อีกด้วย

 

 

           การปฏิวัติวงการบัลเลต์ไปในรูปแบบดังกล่าว เห็นเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจนในศตวรรษต่อๆ มา การแสดงเป็นเรื่องราวมีตัวเอก ตัวรอง ทำให้มีการแจ้งเกิดนักแสดงบัลเลต์มากมาย โดยเฉพาะนักแสดงหญิงที่พัฒนาเทคนิคในการเต้นเฉพาะของตัวเองจนกลายเป็นดาวเด่น อย่าง แจนวิแยฟ กอสเซอแลง มารี ตาโกลนี และแฟนนี เอลสเลอร์ ที่ได้ช่วยกันพัฒนาเทคนิคการเต้นแบบพอยต์เท้า (อันเป็นที่มาของคำเรียก “ระบำปลายเท้า”) ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของการเต้นบัลเลต์ในปัจจุบัน ทั้งยังมีการพัฒนารองเท้าบัลเลต์ชนิดที่มีส่วนหัวเป็นโฟม เพื่อความง่ายในการเต้นด้วยปลายเท้านั่นเอง

 

 

           ด้วยความโดดเด่นของนักบัลเลต์หญิง ทำให้เรื่องราวที่นิยมในการนำมาสร้างสรรค์เป็นการแสดงบัลเลต์ จึงเป็นเรื่องราวแนวโรแมนติก โดยเฉพาะเนื้อหาจากเทพนิยายต่างๆ ซึ่งส่งผลถึงการออกแบบท่าเต้นให้มีการหมุนตัว กระโดดสูง กระโดดแยกขา รวมทั้งการจัดวางท่วงท่าวงแขนและร่างกายให้ได้อารมณ์อันซาบซึ้ง เรื่อง La Sylphide นับเป็นโรแมนติกบัลเลต์เรื่องแรกๆ และยังได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้


 
  

        เมื่อทิศทางการพัฒนาของบัลเลต์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ถึง 20 มุ่งหน้าไปเช่นนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ความเฟื่องฟูของบัลเลต์ในภายหลังจะมามีศูนย์กลางอยู่ที่รัสเซีย โดยเฉพาะเมื่อมี 3 ทหารเสือ อย่าง มาริอุส เปติปา เลฟ อีวานอฟ และเพเทอร์ ไชคอฟสกี ซึ่งช่วยกันแต่ง Swan Lake (1895) จนกลายเป็นบัลเลต์เรื่องดังที่สุดในโลก

 

 

        มาริอุส ซึ่งเป็นนักออกแบบท่าเต้น ยังร่วมงานกับเพเทอร์ ไชคอฟสกีในบัลเลต์เรื่องดังๆ ของโลก อย่าง The Nutcracker (1892) และ The Sleeping Beauty (1890) ซึ่งนับว่าเป็นยุคทองของรัสเซียทีเดียว

       

 

      จากเรื่อง Swan Lake นี่เองทำให้เกิดกระโปรงสั้น ที่เรียกว่า ตูตู้ (Tutu) อย่างที่เราเห็นทั้งหงส์ขาวหงส์ดำในเรื่องดังกล่าวสวมใส่ ภายหลังกลายเป็นกระโปรงที่สวมกันในนักเต้นบัลเลต์ทั่วไป

 

 

      บัลเลต์รัสเซียมียุคทองอยู่ได้ไม่นานก็เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย ทั้งนักแต่งเพลง นักออกแบบท่าเต้น และนักแสดงจำนวนมากพากันอพยพออกนอกประเทศ โดยเฉพาะการอพยพมาจุดกำเนิดของบัลเลต์คลาสสิก อย่าง ฝรั่งเศส ของเซอร์เก ดิอากิเลฟ ที่มาเปิดบริษัท บัลเลต์รัสเซีย (Ballets Russes) ในกรุงปารีส อันเป็นศูนย์กลางของบัลเลต์รัสเซียหลังจากปฏิวัติบอลเชวิกส์

 

 

       ขณะเดียวกันบัลเลต์ในประเทศรัสเซียเองก็พัฒนาไปภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ นักแสดงมากความสามารถหลายคนยังคงอยู่ในประเทศ และมีการพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ๆ ขึ้น บัลเลต์เป็นสิ่งที่แพร่หลายมากในรัสเซีย แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ยังมีการตั้งคณะบัลเลต์ชื่อดังมากมาย ตั้งแต่คณะบอลชอย (มอสโก) คณะคีรอฟ (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ฯลฯ โดยนอกจากบัลเลต์เรื่องคลาสสิกๆ ที่ยังแสดงกันอยู่แล้ว ยังมีการนำวรรณกรรมหลายเรื่องมาเขียนเป็นบทบัลเลต์ เรื่องที่ดังๆ ก็คือ Romeo and Juliet และ Cinderella

 

 

        โดยส่วนใหญ่ บัลเลต์ในปัจจุบันก็มักจะไม่ทิ้งเรื่องราวคลาสสิกเดิมๆ ที่มีการสร้างสรรค์เอาไว้แล้วตั้งแต่สมัยยุคทองของรัสเซีย การชมบัลเลต์ที่สวยงามจึงมักตัดสินกันที่ความสามารถของนักแสดงตัวเอกเป็นหลัก ว่าจะถ่ายทอดท่วงท่า ลีลา และอารมณ์ที่เป็นจุดเด่นของบัลเลต์แต่ละเรื่องออกมาได้โดดเด่นขนาดไหน

 

 

        ขณะที่ในส่วนของศิลปินบัลเลต์มากมายที่หลั่งไหลมาสู่ฝรั่งเศสหลังการปฏวัติรัสเซีย ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจข้ามน้ำไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นพัฒนาการในบัลเลต์ครั้งใหญ่อีกหน ไปสู่ยุคของนีโอคลาสสิกบัลเลต์ ก่อนจะเปลี่ยนรูปแบบตามการสร้างสรรค์ของศิลปินไปเป็นบัลเลต์ร่วมสมัย (Contemporary Ballet)

 

 

 

สร้างโดย: 
..

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 650 คน กำลังออนไลน์