• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:b8b423f1dbde26f3c6fdc2e25ca4bd49' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><h2 style=\"text-align: center;\"><span style=\"color: #ff6600;\">นายปรีดี พนมยงค์</span></h2>\n<p><img style=\"display: block; margin-left: auto; margin-right: auto;\" src=\"/files/u122632/prede1.jpg\" alt=\"\" width=\"259\" height=\"370\" /></p>\n<h3>1. ชาติภูมิ</h3>\n<p>นายปรีดี เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ณ บ้านริมคลองเมืองฝั่งเหนือตำบลท่าวาสุกรี ตรงข้างกับวัดพนมยงค์ อำเภอกรุงเก่า (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นลูกคนที่สองของนายเสียง และนางลูกจันทน์ มีอาชีพชาวนา พี่น้องทั้งหมดมีอยู่ 8 คน เป็นชาย 4 คน เป็นหญิง 4 คน</p>\n<p>นามสกุล “พนมยงค์” นั้น ท่านเจ้าคุณวิมลมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่าขณะนั้นเป็นผู้ตั้งให้ ตามคำขอร้องของนายเสียงผู้เป็นบิดา โดยใช้ชื่อวัด “พนมยงค์” มาเป็นนามสกุล</p>\n<h3>2. การศึกษา</h3>\n<p>นายปรีดี เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกเมื่ออายุ 5 ขวบ ที่โรงเรียนบ้านครูแสง ซึ่งเป็นโรงเรียนเชลยศักดิ์ ต่อมาได้ไปอยู่กับยายที่อำเภอท่าเรือ แล้วไปเรียนที่บ้านหลวงปราณีประชาชน จากนั้นย้ายไปเรียนที่วัดรวกจนจบมัธยมปีที่ 2 ขณะนั้นมีอายุ 9 ขวบ (พ.ศ. 2452) ซึ่งนับว่าเป็นเด็กที่เรียนดีมากคนหนึ่ง</p>\n<p>เนื่องจากโรงเรียนวัดรวกล้มเลิกไปเพราะครูที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเกิดตายลงเด็กชายปรีดีจึงกลับมาอยู่บ้านเดิมที่อำเภอกรุงเก่า และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนวัดศาลาปูนจนจบมัธยมปีที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2453 อายุตอนนั้น 10 ขวบ บิดามารดาได้ส่งให้เข้ามาเรียนที่กรุงเทพเมื่อปี พ.ศ. 2454 โดยอาศัยอยู่กับท่านมหาบางที่วัดเบญจมบพิตรจนกระทั่งจบชั้นมัธยมเตรียม ขณะนั้นที่วัดเสนาสนราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมตัวอย่างขึ้นเด็กชายปรีดีจึงกลับไปเรียนต่อที่บ้านเกิดจนจบชั้นมัธยม 6 เมื่อปี พ.ศ. 2457 อายุได้ 14 ปี</p>\n<p>หลังจากนั้น บิดามารดาได้นำเข้ามากรุงเทพอีกครั้งหนึ่งเพื่อศึกษาเล่าเรียนในชั้นสูงต่อไป โดยได้พักอยู่กับญาติผู้ใหญ่ฝ่ายแม่ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลเสาชิงช้า และได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ เรียนอยู่ได้ 6 เดือนก็ลาออกไปทำนากับบิดาที่อยุธยาด้วยเหตุผลว่าอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเข้าเรียนรัฐประศาสนศาสตร์</p>\n<p>เมื่อต้นปีพ.ศ. 2460 ขณะนั้นอายุเพียง 17 ปี นายปรีดีจึงได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ใช้เวลาเรียนกฎหมาย 2 ปีเศษ ก็สอบไล่ได้เนติบัณฑิตชั้นที่ 1 ในปี พ.ศ. 2462 มีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น แต่ก็ต้องรอให้อายุครบ 20 ปีบบริบูรณ์ในปี 2463 ก่อนจึงได้เป็นสมาชิกสามัญแห้งเนติบัณฑิตยสภา แต่ก็นับว่านายปรีดีเป็นเนติบัณฑิตที่มีอายุน้อยที่สุดคนหนึ่งในขณะนั้น</p>\n<p>เมื่อจบกฎหมายใหม่ๆ นายปรีดี ได้ขออนุญาตเป็นทนายความได้ว่าความคดีเรือสำเภา ของนายลิ่มซุ่นหง่วน ซื่งเป็นคดีที่สร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นอย่างมากต่อมาได้เข้ารับราชการในกรมราชทัณฑ์ กระทรวงนครบาล ในตำแหน่งเสมียนโทจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2463 คัดเลือกได้ทุนนักเรียนหลวงของกระทรวงยุติธรรมไปศึกษาวิชากฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส</p>\n<p>เมื่อนายปรีดี ไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส ในชั้นต้นได้ศึกษาภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ ภาษาละติน ใช้เวลาไม่ถึงปีก็สามารถสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย เมืองกอง (caen) ใช้เวลาเรียนที่นั่น 3 ปี และสอบได้ปริญญาตรีทางนิติศาตร์(Licencié en droit) ตามลำดับ หลังจากนั้นได้ย้ายไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยในปารีสในระดับปริญญาโทและเอก</p>\n<p>นายปรีดีจบการศึกษาในระดับปริญญาโททั้งทางด้านกฎหมายแท้และเศรษฐศาสตร์และได้ทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก หรือที่เรียกว่า Docteur en droit (Sciences Juridiques) เรื่อง Du Sort des sociétés de persones en cas de décés d’un associé (Etude de droit français et de droit compare) แปลเป็นไทยว่า “ในกรณีที่หุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่ความตายฐานะของหุ้นส่วนส่วนบุคคลจะเป็นอย่างไร (ศึกษาตามกฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายเปรียบเทียบ)” สอบได้เกียรตินิยมดีมาก (trés bien) จัดได้ว่าเป็นคนไทยคนแรกที่สอบได้ปริญญาเอกของรัฐ (Docteur d’ Etat) ซึ่งคนไทยโดยทั่วไปจะได้ดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัย (Docteur de ľUniversité) นอกจากนี้ท่านยังสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจ (Diplŏme d’ Etude Superéures d’ Economie Politique)</p>\n<p>ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศสนั้นกลุ่มนักเรียนไทยในยุโรปได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมนักเรียนไทยภาคพื้นยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) ขึ้นโดยชื่อว่า สามัคยานุเคราะห์สมาคม (มีอักษรย่อว่า ส.ยา.ม อักษรย่อภาษาอังกฤษว่า SIAM ) ส่วนชื่อเต็มในภาษาฝรั่งเศสคือ Association Siamoise d’ intellectualité et d’assistance mutuelle นายปรีดีได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม ใน พ.ศ. 2468 สมาคมนี้กล่าวได้ว่าเป็นแหล่งสำคัญของการรวบรวมแนวคิดของผู้นำรุ่นใหม่อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ได้มีการประชุมกลุ่มผู้ก่อการ 2475 ขึ้นเป็นครั้งแรกที่บ้านเลขที่ 9 Rue du Sommerard ณ กรุงปารีส</p>\n<p>หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้เดินทางกลับสยาม และถึงกรุงเทพในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2470</p>\n<h3>3. ชีวิตการทำงาน</h3>\n<p>เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพ นายปรีดีได้รับตำแหน่งผู้พิพากษาชั้น 6 กระทรวงได้ทำการฝึกหัดเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และต่อมาเมื่อได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมายเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2470</p>\n<p>ต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์เอกหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 และได้รับการเลื่อนยศเป็นอำมาตย์ตรีในปีต่อมา</p>\n<p>ในช่วงที่รับราชการในกระทรวงยุติธรรมนี้ นายปรีดีได้รวบรวมกฎหมายไทยตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในสภาพกระจัดกระจายให้มารวมเป็นเล่มเดียว ใช้ชื่อว่า “ประชุมกฎหมายไทย”หนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์นิติสาส์นซึ่งเป็นโรงพิมพ์ส่วนตัวของท่านเอง</p>\n<p>นอกจากงานที่กรมร่างกฎหมายแล้ว ท่านยังเป็นอาจารย์ผู้บรรยายที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมอีกด้วย โดยเริ่มสอนเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2470 ในชั้นแรกได้สอนวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยลักษณะหุ้นส่วนบริษัทและสมาคม ต่อมาได้สอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลอีกด้วย ลูกศิษย์ของท่านในช่วงดังกล่าวนี้ได้แก่ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายจิตติ ติงศภัทิย์ นายดิเรก ชัยนาม นายเสริม วินิจฉัยกุล นายเสวต เปี่ยมพงศ์สานต์ นายไพโรจน์ ชัยนาม นายจินดา ชัยรัตน์ นายโชติ สุวรรณโพธิ์ศรี และนายศิริ สันตะบุตร</p>\n<p>ในพ.ศ. 2474 โรงเรียนกฎหมายได้เปลี่ยนหลักสูตรการสอน มีการเพิ่มเติมวิชาใหม่ๆเข้าไปในหลักสูตร เช่น วิชากฎหมายปกครองซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรก และนายปรีดีเป็นผู้บรรยายวิชาดังกล่าว ลูกศิษย์ของท่านในช่วงนี้ได้แก่ นายทองเปลว ชลภูมิ นายยวด เลิศฤทธิ์ นายประยูร กาญจนดุล นายชัย เรืองศิลป์ นายฟอง สิทธิธรรม นายมาลัย หุวะนันท์ เป็นต้น</p>\n<p>กล่าวกันว่าวิชากฎหมายปกครองนี้ เป็นวิชาที่สร้างชื่อเสียงเป็นอย่างมากทั้งนี้เพราะสาระของวิชานี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายมหาชน ซึ่งอธิบายถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยอันเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการสอนวิชาดังกล่าวนี้ต้องอาศัยความกล้าหาญและมุ่งมั่นทางการเมืองอยุ่ไม่น้อย เมื่อคำนึงถึงว่าในขณะนั้นประเทศไทยยังปกครองอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ราชย์</p>\n<p>จากการสัมภาษณ์นักเรียนกฎหมายในช่วงนั้น ได้รับคำบอกเล่าว่าอาจารย์ปรีดีได้อนุญาตให้นักเรียนเข้าพบเพื่อปรึกษาปัญหาการเรียนที่บ้านป้อมเพชร์อันเป็นบ้านพักของท่าน ถนนสีลม ได้ซึ่งทำให้มีลูกศิษย์ไปพบปะที่บ้านอยู่เนืองๆจึงทำให้อาจารย์คุ้นเคยและมีความสัมพันธ์กับนักเรียนกฎหมายอย่างดี</p>\n<h3>3.ชีวิตครอบครัว</h3>\n<p>จากการที่มีชีวิตพัวพันกับปัญหาสำคัญๆของประเทศเสมอมาการดำเนินชีวิตในครอบครัวของท่านจึงได้รับผลกระทบจากการเมืองไปด้วย ครอบครัวของท่านมีบุตรชายคนแรก คือ ปาล พนมยงค์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเพียง 6 เดือนเท่านั้น และเมื่อท่านได้รับการขอร้องให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังฝรั่งเศสด้วยกรณี “เค้าโครงเศรษฐกิจ” ใน พ.ศ.2476 ท่านจึงต้องพลัดพรากจากครอบครัวเป็นครั้งแรกในขณะที่บุตรยังเล็กมาก</p>\n<p>ความกระทบกระเทือนที่ใหญ่หลวงมากสำหรับครอบครัวของท่านคือ กรณีรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 ตัวท่าน ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่สิงคโปร์ส่วนครอบครัวของท่านนั้น ก็ได้รับการคุกคามจากคณะรัฐประหาร ท่านผู้หญิงพูนศุข และลูกๆต้องลี้ภัยไปอยู่สัตหีบชั่วคราวความยุ่งยากที่ตามมาก็คือท่านถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันในกรณีสวรรคตซึ่งมีผลให้ถูกงดบำนาญนับตั้งแต่วันยื่นฟ้องคดีประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทำให้ครอบครัวขาดรายได้ที่สำคัญไปบ้านพักต้องถูกเอาไปให้เช่าเพื่อหารายได้มาจุนเจือแก่ครอบครัว ท่านผู้หญิงต้องกลับไปอยู่บ้านเดิมกับพ่อแม่ และหารายได้เพิ่มด้วยการทำขนมขาย</p>\n<p>ในปี พ.ศ. 2495 ท่านผู้หญิงและ ปาล พนมยงค์ ถูกจับในกรณีกบฎสันติภาพ ซึ่งการจับกุมครั้งนี้ได้มีผู้ถูกจับกุมคุมขังเป็นจำนวนมากเช่น นักศึกษาของมหาวิทยาลัย หนังสือพิมพ์ ปัญญาชน นักสันติภาพ เป็นต้น ท่านผู้หญิงคถูกคุมขังอยู่ 84 วัน แต่เนื่องด้วยกรม อัยการ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีหลักฐานพอที่จะฟ้องฐานกบฎ จึงได้รับการปล่อยตัว ในขณะที่ ปาล พนมยงค์ถูกส่งฟ้องศาล และพิพากษาจำคุกในข้อหากบฎเป็นเวลา 20 ปี และได้รับการลดหย่อนโทษ เหลือ 13 ปี 4 เดือน แต่ก็ได้รับนิรโทษกรรมใน พ.ศ.2500 หลังจากถูกจำคุกเป็นเวลา 4 ปีเศษ</p>\n<p>หลังจากที่ท่านผู้หญิงได้รับอิสรภาพจึงได้เดินทางไปสมทบกับนายปรีดีที่ประเทศจีนโดยนำบุตรเล็กๆไปด้วย</p>\n<p>นายปรีดีและครอบครัวพำนักอยู่ที่ประเทศจีนจนถึง พ.ศ. 2513 จึงได้อพยพไปอยู่ที่บ้านหลังเล็กเลขที่ 173 ถนน Aristide Briand ชานกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส เวลาส่วนใหญ่ของท่านอุทิศให้กับการเขียนหนังสือ โดยเฉพาะการค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมไทยเป็นครั้งคราว ท่านจะตอบรับเชิญจากคนไทยกลุ่มต่างๆในประเทศฝรั่งเศสเพื่อแสดงปาฐากถาในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมไทยดังที่จะปรากฎในสิ่งตีพิมพ์ต่างๆในระยะเวลาต่อมา</p>\n<p>วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 เวลาประมาณเที่ยงวันตามเวลาท้องถิ่น หลังจากที่ท่านทำภารกิจประจำวันเช่นเคย ท่านก็ได้ถึงแก่อสัญญากรรม เนื่องจากหัวใจวาย ณ ที่บ้านพักของท่านนั่นเอง</p>\n<h2 align=\"center\">ความประทับใจมาใช้ในชีวิตประจำวัน</h2>\n<p>นายปรีดี พนมยงค์นั้นรักบ้านเกิดอย่างมากช่วยเหลือประเทศไทยให้เกิด<span>สันติภาพในยุดนั้น เนื่องจากบ้านเมืองเรายังเกิดการขัดแย้งกันเราอาจช่วยกันในกลุ่มรณรงค์เพื่อให้เกิดความสามัคคีกันในชุมชน ประทับใจด้าน<span>เสรีภาพ และประชาธิปไตยของท่าน</span></span></p>\n', created = 1728246797, expire = 1728333197, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:b8b423f1dbde26f3c6fdc2e25ca4bd49' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

บุคคลต้นแบบ

นายปรีดี พนมยงค์

1. ชาติภูมิ

นายปรีดี เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2443 ณ บ้านริมคลองเมืองฝั่งเหนือตำบลท่าวาสุกรี ตรงข้างกับวัดพนมยงค์ อำเภอกรุงเก่า (อำเภอพระนครศรีอยุธยา)จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นลูกคนที่สองของนายเสียง และนางลูกจันทน์ มีอาชีพชาวนา พี่น้องทั้งหมดมีอยู่ 8 คน เป็นชาย 4 คน เป็นหญิง 4 คน

นามสกุล “พนมยงค์” นั้น ท่านเจ้าคุณวิมลมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดศาลาปูน อำเภอกรุงเก่าขณะนั้นเป็นผู้ตั้งให้ ตามคำขอร้องของนายเสียงผู้เป็นบิดา โดยใช้ชื่อวัด “พนมยงค์” มาเป็นนามสกุล

2. การศึกษา

นายปรีดี เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกเมื่ออายุ 5 ขวบ ที่โรงเรียนบ้านครูแสง ซึ่งเป็นโรงเรียนเชลยศักดิ์ ต่อมาได้ไปอยู่กับยายที่อำเภอท่าเรือ แล้วไปเรียนที่บ้านหลวงปราณีประชาชน จากนั้นย้ายไปเรียนที่วัดรวกจนจบมัธยมปีที่ 2 ขณะนั้นมีอายุ 9 ขวบ (พ.ศ. 2452) ซึ่งนับว่าเป็นเด็กที่เรียนดีมากคนหนึ่ง

เนื่องจากโรงเรียนวัดรวกล้มเลิกไปเพราะครูที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเกิดตายลงเด็กชายปรีดีจึงกลับมาอยู่บ้านเดิมที่อำเภอกรุงเก่า และเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนวัดศาลาปูนจนจบมัธยมปีที่ 3 เมื่อ พ.ศ. 2453 อายุตอนนั้น 10 ขวบ บิดามารดาได้ส่งให้เข้ามาเรียนที่กรุงเทพเมื่อปี พ.ศ. 2454 โดยอาศัยอยู่กับท่านมหาบางที่วัดเบญจมบพิตรจนกระทั่งจบชั้นมัธยมเตรียม ขณะนั้นที่วัดเสนาสนราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมตัวอย่างขึ้นเด็กชายปรีดีจึงกลับไปเรียนต่อที่บ้านเกิดจนจบชั้นมัธยม 6 เมื่อปี พ.ศ. 2457 อายุได้ 14 ปี

หลังจากนั้น บิดามารดาได้นำเข้ามากรุงเทพอีกครั้งหนึ่งเพื่อศึกษาเล่าเรียนในชั้นสูงต่อไป โดยได้พักอยู่กับญาติผู้ใหญ่ฝ่ายแม่ ซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลเสาชิงช้า และได้เข้าเรียนที่โรงเรียนสวนกุหลาบ เรียนอยู่ได้ 6 เดือนก็ลาออกไปทำนากับบิดาที่อยุธยาด้วยเหตุผลว่าอายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเข้าเรียนรัฐประศาสนศาสตร์

เมื่อต้นปีพ.ศ. 2460 ขณะนั้นอายุเพียง 17 ปี นายปรีดีจึงได้เข้าเรียนที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรม ใช้เวลาเรียนกฎหมาย 2 ปีเศษ ก็สอบไล่ได้เนติบัณฑิตชั้นที่ 1 ในปี พ.ศ. 2462 มีอายุเพียง 19 ปีเท่านั้น แต่ก็ต้องรอให้อายุครบ 20 ปีบบริบูรณ์ในปี 2463 ก่อนจึงได้เป็นสมาชิกสามัญแห้งเนติบัณฑิตยสภา แต่ก็นับว่านายปรีดีเป็นเนติบัณฑิตที่มีอายุน้อยที่สุดคนหนึ่งในขณะนั้น

เมื่อจบกฎหมายใหม่ๆ นายปรีดี ได้ขออนุญาตเป็นทนายความได้ว่าความคดีเรือสำเภา ของนายลิ่มซุ่นหง่วน ซื่งเป็นคดีที่สร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นอย่างมากต่อมาได้เข้ารับราชการในกรมราชทัณฑ์ กระทรวงนครบาล ในตำแหน่งเสมียนโทจนกระทั่งในปี พ.ศ. 2463 คัดเลือกได้ทุนนักเรียนหลวงของกระทรวงยุติธรรมไปศึกษาวิชากฎหมายที่ประเทศฝรั่งเศส

เมื่อนายปรีดี ไปศึกษาต่อที่ประเทศฝรั่งเศส ในชั้นต้นได้ศึกษาภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอังกฤษ ภาษาละติน ใช้เวลาไม่ถึงปีก็สามารถสอบเข้าคณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย เมืองกอง (caen) ใช้เวลาเรียนที่นั่น 3 ปี และสอบได้ปริญญาตรีทางนิติศาตร์(Licencié en droit) ตามลำดับ หลังจากนั้นได้ย้ายไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยในปารีสในระดับปริญญาโทและเอก

นายปรีดีจบการศึกษาในระดับปริญญาโททั้งทางด้านกฎหมายแท้และเศรษฐศาสตร์และได้ทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก หรือที่เรียกว่า Docteur en droit (Sciences Juridiques) เรื่อง Du Sort des sociétés de persones en cas de décés d’un associé (Etude de droit français et de droit compare) แปลเป็นไทยว่า “ในกรณีที่หุ้นส่วนคนหนึ่งถึงแก่ความตายฐานะของหุ้นส่วนส่วนบุคคลจะเป็นอย่างไร (ศึกษาตามกฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายเปรียบเทียบ)” สอบได้เกียรตินิยมดีมาก (trés bien) จัดได้ว่าเป็นคนไทยคนแรกที่สอบได้ปริญญาเอกของรัฐ (Docteur d’ Etat) ซึ่งคนไทยโดยทั่วไปจะได้ดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัย (Docteur de ľUniversité) นอกจากนี้ท่านยังสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรการศึกษาชั้นสูงในทางเศรษฐกิจ (Diplŏme d’ Etude Superéures d’ Economie Politique)

ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในประเทศฝรั่งเศสนั้นกลุ่มนักเรียนไทยในยุโรปได้รวมตัวกันก่อตั้งสมาคมนักเรียนไทยภาคพื้นยุโรป (ยกเว้นอังกฤษ) ขึ้นโดยชื่อว่า สามัคยานุเคราะห์สมาคม (มีอักษรย่อว่า ส.ยา.ม อักษรย่อภาษาอังกฤษว่า SIAM ) ส่วนชื่อเต็มในภาษาฝรั่งเศสคือ Association Siamoise d’ intellectualité et d’assistance mutuelle นายปรีดีได้ดำรงตำแหน่งนายกสมาคม ใน พ.ศ. 2468 สมาคมนี้กล่าวได้ว่าเป็นแหล่งสำคัญของการรวบรวมแนวคิดของผู้นำรุ่นใหม่อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 ได้มีการประชุมกลุ่มผู้ก่อการ 2475 ขึ้นเป็นครั้งแรกที่บ้านเลขที่ 9 Rue du Sommerard ณ กรุงปารีส

หลังจากสำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้เดินทางกลับสยาม และถึงกรุงเทพในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2470

3. ชีวิตการทำงาน

เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพ นายปรีดีได้รับตำแหน่งผู้พิพากษาชั้น 6 กระทรวงได้ทำการฝึกหัดเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา และต่อมาเมื่อได้รับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยเลขานุการกรมร่างกฎหมายเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2470

ต่อมาได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็นรองอำมาตย์เอกหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 และได้รับการเลื่อนยศเป็นอำมาตย์ตรีในปีต่อมา

ในช่วงที่รับราชการในกระทรวงยุติธรรมนี้ นายปรีดีได้รวบรวมกฎหมายไทยตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบัน ซึ่งอยู่ในสภาพกระจัดกระจายให้มารวมเป็นเล่มเดียว ใช้ชื่อว่า “ประชุมกฎหมายไทย”หนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์นิติสาส์นซึ่งเป็นโรงพิมพ์ส่วนตัวของท่านเอง

นอกจากงานที่กรมร่างกฎหมายแล้ว ท่านยังเป็นอาจารย์ผู้บรรยายที่โรงเรียนกฎหมายกระทรวงยุติธรรมอีกด้วย โดยเริ่มสอนเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2470 ในชั้นแรกได้สอนวิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ว่าด้วยลักษณะหุ้นส่วนบริษัทและสมาคม ต่อมาได้สอนวิชากฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคลอีกด้วย ลูกศิษย์ของท่านในช่วงดังกล่าวนี้ได้แก่ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายจิตติ ติงศภัทิย์ นายดิเรก ชัยนาม นายเสริม วินิจฉัยกุล นายเสวต เปี่ยมพงศ์สานต์ นายไพโรจน์ ชัยนาม นายจินดา ชัยรัตน์ นายโชติ สุวรรณโพธิ์ศรี และนายศิริ สันตะบุตร

ในพ.ศ. 2474 โรงเรียนกฎหมายได้เปลี่ยนหลักสูตรการสอน มีการเพิ่มเติมวิชาใหม่ๆเข้าไปในหลักสูตร เช่น วิชากฎหมายปกครองซึ่งมีขึ้นเป็นครั้งแรก และนายปรีดีเป็นผู้บรรยายวิชาดังกล่าว ลูกศิษย์ของท่านในช่วงนี้ได้แก่ นายทองเปลว ชลภูมิ นายยวด เลิศฤทธิ์ นายประยูร กาญจนดุล นายชัย เรืองศิลป์ นายฟอง สิทธิธรรม นายมาลัย หุวะนันท์ เป็นต้น

กล่าวกันว่าวิชากฎหมายปกครองนี้ เป็นวิชาที่สร้างชื่อเสียงเป็นอย่างมากทั้งนี้เพราะสาระของวิชานี้ เป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายมหาชน ซึ่งอธิบายถึงหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตยอันเป็นหัวใจของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งการสอนวิชาดังกล่าวนี้ต้องอาศัยความกล้าหาญและมุ่งมั่นทางการเมืองอยุ่ไม่น้อย เมื่อคำนึงถึงว่าในขณะนั้นประเทศไทยยังปกครองอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิ์ราชย์

จากการสัมภาษณ์นักเรียนกฎหมายในช่วงนั้น ได้รับคำบอกเล่าว่าอาจารย์ปรีดีได้อนุญาตให้นักเรียนเข้าพบเพื่อปรึกษาปัญหาการเรียนที่บ้านป้อมเพชร์อันเป็นบ้านพักของท่าน ถนนสีลม ได้ซึ่งทำให้มีลูกศิษย์ไปพบปะที่บ้านอยู่เนืองๆจึงทำให้อาจารย์คุ้นเคยและมีความสัมพันธ์กับนักเรียนกฎหมายอย่างดี

3.ชีวิตครอบครัว

จากการที่มีชีวิตพัวพันกับปัญหาสำคัญๆของประเทศเสมอมาการดำเนินชีวิตในครอบครัวของท่านจึงได้รับผลกระทบจากการเมืองไปด้วย ครอบครัวของท่านมีบุตรชายคนแรก คือ ปาล พนมยงค์ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ก่อนหน้าการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินเพียง 6 เดือนเท่านั้น และเมื่อท่านได้รับการขอร้องให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังฝรั่งเศสด้วยกรณี “เค้าโครงเศรษฐกิจ” ใน พ.ศ.2476 ท่านจึงต้องพลัดพรากจากครอบครัวเป็นครั้งแรกในขณะที่บุตรยังเล็กมาก

ความกระทบกระเทือนที่ใหญ่หลวงมากสำหรับครอบครัวของท่านคือ กรณีรัฐประหารในปี พ.ศ. 2490 ตัวท่าน ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่สิงคโปร์ส่วนครอบครัวของท่านนั้น ก็ได้รับการคุกคามจากคณะรัฐประหาร ท่านผู้หญิงพูนศุข และลูกๆต้องลี้ภัยไปอยู่สัตหีบชั่วคราวความยุ่งยากที่ตามมาก็คือท่านถูกกล่าวหาว่ามีส่วนพัวพันในกรณีสวรรคตซึ่งมีผลให้ถูกงดบำนาญนับตั้งแต่วันยื่นฟ้องคดีประทุษร้ายต่อพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ทำให้ครอบครัวขาดรายได้ที่สำคัญไปบ้านพักต้องถูกเอาไปให้เช่าเพื่อหารายได้มาจุนเจือแก่ครอบครัว ท่านผู้หญิงต้องกลับไปอยู่บ้านเดิมกับพ่อแม่ และหารายได้เพิ่มด้วยการทำขนมขาย

ในปี พ.ศ. 2495 ท่านผู้หญิงและ ปาล พนมยงค์ ถูกจับในกรณีกบฎสันติภาพ ซึ่งการจับกุมครั้งนี้ได้มีผู้ถูกจับกุมคุมขังเป็นจำนวนมากเช่น นักศึกษาของมหาวิทยาลัย หนังสือพิมพ์ ปัญญาชน นักสันติภาพ เป็นต้น ท่านผู้หญิงคถูกคุมขังอยู่ 84 วัน แต่เนื่องด้วยกรม อัยการ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีหลักฐานพอที่จะฟ้องฐานกบฎ จึงได้รับการปล่อยตัว ในขณะที่ ปาล พนมยงค์ถูกส่งฟ้องศาล และพิพากษาจำคุกในข้อหากบฎเป็นเวลา 20 ปี และได้รับการลดหย่อนโทษ เหลือ 13 ปี 4 เดือน แต่ก็ได้รับนิรโทษกรรมใน พ.ศ.2500 หลังจากถูกจำคุกเป็นเวลา 4 ปีเศษ

หลังจากที่ท่านผู้หญิงได้รับอิสรภาพจึงได้เดินทางไปสมทบกับนายปรีดีที่ประเทศจีนโดยนำบุตรเล็กๆไปด้วย

นายปรีดีและครอบครัวพำนักอยู่ที่ประเทศจีนจนถึง พ.ศ. 2513 จึงได้อพยพไปอยู่ที่บ้านหลังเล็กเลขที่ 173 ถนน Aristide Briand ชานกรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส เวลาส่วนใหญ่ของท่านอุทิศให้กับการเขียนหนังสือ โดยเฉพาะการค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับสังคมไทยเป็นครั้งคราว ท่านจะตอบรับเชิญจากคนไทยกลุ่มต่างๆในประเทศฝรั่งเศสเพื่อแสดงปาฐากถาในเรื่องที่เกี่ยวกับสังคมไทยดังที่จะปรากฎในสิ่งตีพิมพ์ต่างๆในระยะเวลาต่อมา

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 เวลาประมาณเที่ยงวันตามเวลาท้องถิ่น หลังจากที่ท่านทำภารกิจประจำวันเช่นเคย ท่านก็ได้ถึงแก่อสัญญากรรม เนื่องจากหัวใจวาย ณ ที่บ้านพักของท่านนั่นเอง

ความประทับใจมาใช้ในชีวิตประจำวัน

นายปรีดี พนมยงค์นั้นรักบ้านเกิดอย่างมากช่วยเหลือประเทศไทยให้เกิดสันติภาพในยุดนั้น เนื่องจากบ้านเมืองเรายังเกิดการขัดแย้งกันเราอาจช่วยกันในกลุ่มรณรงค์เพื่อให้เกิดความสามัคคีกันในชุมชน ประทับใจด้านเสรีภาพ และประชาธิปไตยของท่าน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 438 คน กำลังออนไลน์