• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:b38e5d6acb2e6bf132fe95caf7449e41' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p style=\"text-align: center;\"><strong>หลากหลายกลายเป็นหนึ่ง</strong></p>\n<p style=\"text-align: center;\"><strong>&nbsp;</strong></p>\n<p><img style=\"display: block; margin-left: auto; margin-right: auto;\" src=\"http://supawangreen.com/hereandnow/wp-content/uploads/2014/05/Screen-Shot-2557-05-05-at-11.03.51-AM.png\" alt=\"\" width=\"412\" height=\"272\" /></p>\n<p>จากหลายประเทศ หลายจังหวัด หลายประภูมิภาค และหลากหลายเชื้อชาติมีความแตกต่างกันความแตกต่างทางอารมณ์เป็น ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่จะควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ขณะเกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง การมีอารมณ์ของมนุษย์เริ่มตั้งแต่อารมณ์กลัว อารมณ์โกรธ อารมณ์รัก พอใจ ยินดี ตื่นเต้น การแสดงอารมณ์ต่างๆ ต้องแสดงออกอย่างเหมาะสมแต่ในความเป็นบุคคลพบว่ามีการใช้อารมณ์ค่อนข้างมาก ดังนั้นการฝึกในเรื่องการควบคุมอารมณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคมปัจจุบัน ในการดำเนินชีวิตของบุคคลหากใช้อารมณ์มากกว่าความรู้สึก บุคคลนั้นก็จะอยู่ในสังคมอยาก เป็นมนุษย์ต้องใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลจะต้องเก็บความรู้สึกจนขาดความเป็นตัวเอง บางครั้งการเก็บอารมณ์และความรู้สึกจนขาดความเป็นตัวของตัวเองอาจทำให้บุคคลเกิดอาการเครียด ปวดท้องเป็นโรคกระเพาะหรือแม้กระทั่งปวดหัวโดยไม่ทราบสาเหตุ อารมณ์เป็นได้ทั้งตัวสร้างสรรค์และตัวทำลาย อารมณ์ขันทำให้จิตใจเบิกบาน อารมณ์เศร้าหมอง หดหู่ ทำให้คนเกิดความตึงเครียดวิตกกังวลo เมื่อผู้คนร้อยพ่อพันแม่มาอยู่รวมกันนั้นย่อมมีความขัดแย้ง มีการกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา ทั้งไม่ชอบหน้าหรือการพูดจาไม่เข้าหูกัน นั่นเป็นเพราะความคิด และอุดมคติของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน หากเราจะอยู่รวมกันอย่างสันติสุขได้นั้นจำเป็นที่จะต้องลดอคติในใจตัวเองลงก่อนอีกทั้งแต่ละบุคคลก็ต้องยอมรับในความแตกต่างในตัวของบุคคลอื่น ยอมรับในความคิดเห็นที่อาจแตกต่างกัน หากเรายอมรับซึ่งกันและกันเราก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่ามีความสุขโดยปราศจากการกระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน และหากเป็นได้อย่างนั้นโลกนี้คงดูน่าอยู่และน่ามองขึ้นมากเพราะมนุษย์โลกทุกคนนั้นต่างยอมรับซึ่งความแตกต่างของกันและกัน นอกจากความแตกต่างจะทำให้โลกนี้มีความขัดแย้งแล้วอีกปัจจัยหนึ่งนั้นก็คือ การไม่รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน การไม่ให้อภัยซึ่งกันและกันเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรง เพราะเมื่อเราไม่ให้อภัยกัน ความโกรธนั้นก็จะนำไปยังความแค้น เมื่อมีความแค้นก็จะเกิดเป็นความขัดแย้งที่ไม่สามารถผสานให้เหมือนเดิมได้ ก็เหมือนกับแก้วที่แตกเมื่อมันแตกลงแล้วไม่ว่าเราจะใช้กาวที่ดีที่สุดในโลกมาต่อให้ติดใหม่ หรือนำไปหล่อใหม่มันก็ยังคงเหลือร่องรอยของรอยร้าวและรอยแตกเดิมอยู่ ดังเช่นที่เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ความแค้นที่เขานั้นถูกย่ำยี ถูกเอาเปรียบและยังสูญเสียดินแดนของประเทศไปนั่นจึงเป็นฉนวนของความโกรธ และเมื่อเขาไม่ให้อภัยจึงนำไปสู่การก่อซึ่งสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อทีจะหลุดจากการถูเอารัดเอาเปรียบ ดังนั้นการให้อภัยซึ่งกันและกันจึงเป็นสิ่งสำคัญในการยุติความขัดแย้งและความวุ่นวายของโลกและสังคมนั้นๆได้เป็นอย่างดี หากเราอยากที่จะรวมผู้คนที่มีหลากหลายเชื้อชาติให้มีความสามัคคีกันนั้นจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องมีการให้อภัยซึ่งกันและกัน ความขัดแย้งไม่ใช่เพียงการขัดแย้งทางชาติพันธุ์ แต่ยังโยงไปถึงรากเหง้าวัฒนธรรมของแต่ละสังคมที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากความแตกต่างของวัฒนธรรมจึงทำให้ผู้คนไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและสงบสุขได้ เนื่องจากบุคคลแต่ละบุคคลนั้นจะซึมซับเอาวัฒนธรรมของตนเองที่คุ้นเคนไว้ในจิตใต้สำนึกไว้ไม่มาก็น้อย และเมื่อไปพบเจอกับบุคคลที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตนั้นอาจนำไปสู่การขัดแย้งกันได้แต่หากเราอบรมและทำความเข้าใจกับบุคคลต่างๆในสังคมให้อย่ายึดตนเองเป็นใหญ่และให้ยอมรับในความแตกต่างของผู้อื่น ให้เรียนรู้ในสิ่งที่แตกต่างแต่ก็อย่าลืมมากเหง้าวัฒนธรรมของตนเอง เป็นดังเช่น น้ำครึ่งแก้วที่พร้อมรับการเติมเต็มตลอดเวลา การยอมรับในความแตกต่าง และการรุ้จักการให้อภัยนั้นเป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยลดการเกิดปัญหาการขัดแย้งได้ เพราะในโลกปัจจุบันการสื่อสารและเทคโนโลยีต่างๆได้ก้าวไกลขึ้นทำให้ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามรถติดต่อและสื่อสารกันได้อย่าไร้ซึ่งพรมแดน และการติดต่อกันง่ายขึ้นนั้นจึงเป็นการง่ายที่ผู้คนจะเกิดความขัดแย้งกระทบกระทั่งกันง่ายขึ้นเพราะผู้คนที่อยู่ทั่วทุกมุมโลกเป็นสิ่งที่แน่นอนอยู่แล้วว่าย่อมมีเชื้อชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นเราคงจะเปลี่ยนความก้าวไกลของการสื่อสารไม่ได้ฉะนั้นเราจึงต้องเลือกที่ปรับเปลี่ยนตัวเองและตัวบุคคลให้ไม่มีอคติ และยอมรับในความแตกต่าง และควรที่จะให้อภัยกัน หากเราไม่รู้จักการยอมรับในความแตกต่างก็จะมีปัญหาขัดแย้งตามมาอีกมากมาย เช่น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ปิยะ กิจถาวร อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจที่สะท้อนความเหมือนและความต่างระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม ในเรื่องหลักการสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเห็นว่า หลักการสำคัญอันดับแรกก็คือ “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกไม่ได้” รองลงมาคือ “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน” และลำดับที่สามคือ “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติตามพิธีกรรมตามความเชื่อของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองไทย และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” ส่วนชาวมุสลิมส่วนใหญ่มีความเห็นว่า หลักการสำคัญอันดับแรกในการสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือ “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา ฯลฯ” รองลงมาคือ “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ฯลฯ” ลำดับที่สามคือ “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” ทั้งสามหลักการนั้นเป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่จะเห็นได้ว่าการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกนั้น มีความต่างกันระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม ในขณะที่ชาวพุทธเห็นว่า การเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ เป็นหลักการสำคัญลำดับแรก ชาวมุสลิมเห็นว่า เสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นหลักการสำคัญสูงสุด คนเรานั้นเมื่อแสดงความต้องการอะไรออกมาก็ตาม ใช่หรือไม่ว่าเขากำลังบอกถึงสิ่งที่เขาขาดแคลนหรือกลัวจะสูญเสียมันไป หรือพูดอีกอย่างคือมันกำลังบอกว่าเขากังวลอยู่กับเรื่องอะไรมากที่สุด มองในแง่นี้ การให้ความสำคัญแก่หลักการที่ต่างกันนั้นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีถึงความกังวลใจลึก ๆ ในหมู่ชาวพุทธและมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั่นก็คือในขณะที่ชาวพุทธมีความกังวลว่าประเทศไทยจะถูกแบ่งแยกดินแดน ชาวมุสลิมก็กังวลว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาของตนจะถูกคุกคาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความกังวลดังกล่าวมิได้มีอยู่ในหมู่ชาวพุทธและมุสลิมที่ตอบแบบสอบถามเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในจิตใจของชาวพุทธและมุสลิมทั่วไปในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้</p>\n', created = 1728188776, expire = 1728275176, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:b38e5d6acb2e6bf132fe95caf7449e41' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

หลากหลายกลายเป็นหนึ่ง

หลากหลายกลายเป็นหนึ่ง

 

จากหลายประเทศ หลายจังหวัด หลายประภูมิภาค และหลากหลายเชื้อชาติมีความแตกต่างกันความแตกต่างทางอารมณ์เป็น ความแตกต่างของบุคคลในความสามารถที่จะควบคุมพฤติกรรมต่าง ๆ ขณะเกิดอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง การมีอารมณ์ของมนุษย์เริ่มตั้งแต่อารมณ์กลัว อารมณ์โกรธ อารมณ์รัก พอใจ ยินดี ตื่นเต้น การแสดงอารมณ์ต่างๆ ต้องแสดงออกอย่างเหมาะสมแต่ในความเป็นบุคคลพบว่ามีการใช้อารมณ์ค่อนข้างมาก ดังนั้นการฝึกในเรื่องการควบคุมอารมณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคมปัจจุบัน ในการดำเนินชีวิตของบุคคลหากใช้อารมณ์มากกว่าความรู้สึก บุคคลนั้นก็จะอยู่ในสังคมอยาก เป็นมนุษย์ต้องใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์และความรู้สึก แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลจะต้องเก็บความรู้สึกจนขาดความเป็นตัวเอง บางครั้งการเก็บอารมณ์และความรู้สึกจนขาดความเป็นตัวของตัวเองอาจทำให้บุคคลเกิดอาการเครียด ปวดท้องเป็นโรคกระเพาะหรือแม้กระทั่งปวดหัวโดยไม่ทราบสาเหตุ อารมณ์เป็นได้ทั้งตัวสร้างสรรค์และตัวทำลาย อารมณ์ขันทำให้จิตใจเบิกบาน อารมณ์เศร้าหมอง หดหู่ ทำให้คนเกิดความตึงเครียดวิตกกังวลo เมื่อผู้คนร้อยพ่อพันแม่มาอยู่รวมกันนั้นย่อมมีความขัดแย้ง มีการกระทบกระทั่งกันบ้างเป็นธรรมดา ทั้งไม่ชอบหน้าหรือการพูดจาไม่เข้าหูกัน นั่นเป็นเพราะความคิด และอุดมคติของแต่ละบุคคลนั้นแตกต่างกัน หากเราจะอยู่รวมกันอย่างสันติสุขได้นั้นจำเป็นที่จะต้องลดอคติในใจตัวเองลงก่อนอีกทั้งแต่ละบุคคลก็ต้องยอมรับในความแตกต่างในตัวของบุคคลอื่น ยอมรับในความคิดเห็นที่อาจแตกต่างกัน หากเรายอมรับซึ่งกันและกันเราก็จะอยู่ร่วมกันได้อย่ามีความสุขโดยปราศจากการกระทบกระทั่งซึ่งกันและกัน และหากเป็นได้อย่างนั้นโลกนี้คงดูน่าอยู่และน่ามองขึ้นมากเพราะมนุษย์โลกทุกคนนั้นต่างยอมรับซึ่งความแตกต่างของกันและกัน นอกจากความแตกต่างจะทำให้โลกนี้มีความขัดแย้งแล้วอีกปัจจัยหนึ่งนั้นก็คือ การไม่รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน การไม่ให้อภัยซึ่งกันและกันเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งที่รุนแรง เพราะเมื่อเราไม่ให้อภัยกัน ความโกรธนั้นก็จะนำไปยังความแค้น เมื่อมีความแค้นก็จะเกิดเป็นความขัดแย้งที่ไม่สามารถผสานให้เหมือนเดิมได้ ก็เหมือนกับแก้วที่แตกเมื่อมันแตกลงแล้วไม่ว่าเราจะใช้กาวที่ดีที่สุดในโลกมาต่อให้ติดใหม่ หรือนำไปหล่อใหม่มันก็ยังคงเหลือร่องรอยของรอยร้าวและรอยแตกเดิมอยู่ ดังเช่นที่เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ความแค้นที่เขานั้นถูกย่ำยี ถูกเอาเปรียบและยังสูญเสียดินแดนของประเทศไปนั่นจึงเป็นฉนวนของความโกรธ และเมื่อเขาไม่ให้อภัยจึงนำไปสู่การก่อซึ่งสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อทีจะหลุดจากการถูเอารัดเอาเปรียบ ดังนั้นการให้อภัยซึ่งกันและกันจึงเป็นสิ่งสำคัญในการยุติความขัดแย้งและความวุ่นวายของโลกและสังคมนั้นๆได้เป็นอย่างดี หากเราอยากที่จะรวมผู้คนที่มีหลากหลายเชื้อชาติให้มีความสามัคคีกันนั้นจำเป็นเหลือเกินที่จะต้องมีการให้อภัยซึ่งกันและกัน ความขัดแย้งไม่ใช่เพียงการขัดแย้งทางชาติพันธุ์ แต่ยังโยงไปถึงรากเหง้าวัฒนธรรมของแต่ละสังคมที่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากความแตกต่างของวัฒนธรรมจึงทำให้ผู้คนไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและสงบสุขได้ เนื่องจากบุคคลแต่ละบุคคลนั้นจะซึมซับเอาวัฒนธรรมของตนเองที่คุ้นเคนไว้ในจิตใต้สำนึกไว้ไม่มาก็น้อย และเมื่อไปพบเจอกับบุคคลที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตนั้นอาจนำไปสู่การขัดแย้งกันได้แต่หากเราอบรมและทำความเข้าใจกับบุคคลต่างๆในสังคมให้อย่ายึดตนเองเป็นใหญ่และให้ยอมรับในความแตกต่างของผู้อื่น ให้เรียนรู้ในสิ่งที่แตกต่างแต่ก็อย่าลืมมากเหง้าวัฒนธรรมของตนเอง เป็นดังเช่น น้ำครึ่งแก้วที่พร้อมรับการเติมเต็มตลอดเวลา การยอมรับในความแตกต่าง และการรุ้จักการให้อภัยนั้นเป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยลดการเกิดปัญหาการขัดแย้งได้ เพราะในโลกปัจจุบันการสื่อสารและเทคโนโลยีต่างๆได้ก้าวไกลขึ้นทำให้ผู้คนจากทั่วทุกมุมโลกสามรถติดต่อและสื่อสารกันได้อย่าไร้ซึ่งพรมแดน และการติดต่อกันง่ายขึ้นนั้นจึงเป็นการง่ายที่ผู้คนจะเกิดความขัดแย้งกระทบกระทั่งกันง่ายขึ้นเพราะผู้คนที่อยู่ทั่วทุกมุมโลกเป็นสิ่งที่แน่นอนอยู่แล้วว่าย่อมมีเชื้อชาติ และวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นเราคงจะเปลี่ยนความก้าวไกลของการสื่อสารไม่ได้ฉะนั้นเราจึงต้องเลือกที่ปรับเปลี่ยนตัวเองและตัวบุคคลให้ไม่มีอคติ และยอมรับในความแตกต่าง และควรที่จะให้อภัยกัน หากเราไม่รู้จักการยอมรับในความแตกต่างก็จะมีปัญหาขัดแย้งตามมาอีกมากมาย เช่น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ปิยะ กิจถาวร อาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจที่สะท้อนความเหมือนและความต่างระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม ในเรื่องหลักการสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความเห็นว่า หลักการสำคัญอันดับแรกก็คือ “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกไม่ได้” รองลงมาคือ “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน” และลำดับที่สามคือ “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติตามพิธีกรรมตามความเชื่อของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองไทย และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” ส่วนชาวมุสลิมส่วนใหญ่มีความเห็นว่า หลักการสำคัญอันดับแรกในการสร้างสันติสุขในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้คือ “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา ฯลฯ” รองลงมาคือ “บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย ฯลฯ” ลำดับที่สามคือ “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” ทั้งสามหลักการนั้นเป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แต่จะเห็นได้ว่าการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกนั้น มีความต่างกันระหว่างชาวพุทธกับชาวมุสลิม ในขณะที่ชาวพุทธเห็นว่า การเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ เป็นหลักการสำคัญลำดับแรก ชาวมุสลิมเห็นว่า เสรีภาพในการนับถือศาสนา เป็นหลักการสำคัญสูงสุด คนเรานั้นเมื่อแสดงความต้องการอะไรออกมาก็ตาม ใช่หรือไม่ว่าเขากำลังบอกถึงสิ่งที่เขาขาดแคลนหรือกลัวจะสูญเสียมันไป หรือพูดอีกอย่างคือมันกำลังบอกว่าเขากังวลอยู่กับเรื่องอะไรมากที่สุด มองในแง่นี้ การให้ความสำคัญแก่หลักการที่ต่างกันนั้นสะท้อนให้เห็นเป็นอย่างดีถึงความกังวลใจลึก ๆ ในหมู่ชาวพุทธและมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ นั่นก็คือในขณะที่ชาวพุทธมีความกังวลว่าประเทศไทยจะถูกแบ่งแยกดินแดน ชาวมุสลิมก็กังวลว่าเสรีภาพในการนับถือศาสนาของตนจะถูกคุกคาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า ความกังวลดังกล่าวมิได้มีอยู่ในหมู่ชาวพุทธและมุสลิมที่ตอบแบบสอบถามเท่านั้น แต่เป็นสิ่งที่ดำรงอยู่ในจิตใจของชาวพุทธและมุสลิมทั่วไปในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 435 คน กำลังออนไลน์