• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:14fc0fa4ee75ca7055314db58902c491' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p align=\"center\">&nbsp;<strong>การเสริมสร้างสันติภาพ (</strong><strong>Peacebuilding)</strong></p>\n<p><strong><span style=\"text-decoration: underline;\">1. แนวคิดเกี่ยวกับการเสริมสร้างสันติภาพ</span></strong></p>\n<p>1.1 จากการที่สหประชาชาติได้ส่งกองกำลัง/เจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติการรักษาสันติภาพและได้ถอนตัวออกหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในพื้นที่ความขัดแย้ง&nbsp;แต่หลังจากนั้นปรากฏว่าในหลายพื้นที่กลับไม่มีสันติภาพเกิดขึ้นอย่างแท้จริง เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นอีก รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นภายหลังความขัดแย้งไม่สามารถปกครองให้เกิดความสงบเรียบร้อยได้</p>\n<p>1.2 สหประชาชาติจึงริเริ่มแนวความคิดเกี่ยวกับการเสริมสร้างสันติภาพ (peacebuilding) ขึ้น เพื่อสร้างสันติภาพระยะยาวในพื้นที่ที่เคยมีความขัดแย้งและป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งปะทุขึ้นมาอีก โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการฟื้นฟูโครงสร้างสถาบันของรัฐ&nbsp;การปลดอาวุธ การสร้างความปรองดอง และส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของสถาบันและบุคลากรของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การแก้ไขความขัดแย้งที่ต้นเหตุ อาทิ ความยากจน การจัดการและจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน การขาดจิตสำนึกในสันติภาพ การละเมิดประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การเลือกประติบัติ</p>\n<p>1.3 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับรองข้อมติที่ 1645 (2005) และข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ ที่ 60/180 จัดตั้งคณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพของสหประชาชาติ (Peacebuilding Commission: PBC) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรให้คำปรึกษา (intergovernmental advisory body) และกำกับ/ประสานนโยบายที่มุ่งเสริมสร้างสันติภาพแบบบูรณาการระหว่างองค์กรของสหประชาชาติและรัฐ/องค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะเข้าไปมีบทบาทในประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นความขัดแย้ง ซึ่งการดำเนินงานของ PBC จะแยกต่างหากจากการรักษาสันติภาพ (peacekeeping) แต่อาจมีการดำเนินงานในพื้นที่เดียวกัน</p>\n<p>1.4 PBC ไม่มีอำนาจในการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่เสริมสร้างสันติภาพในพื้นที่ด้วยตนเอง แต่มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การระดมทรัพยากร การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเสริมสร้างสันติภาพและการฟื้นฟู ประเทศ รวมทั้งการวางรากฐานสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นกลไกที่เชื่อมต่อระหว่างการยุติความขัดแย้งทางการเมือง (ในกรอบสันติภาพและความมั่นคง) ไปสู่การฟื้นฟูบูรณะประเทศ (ในกรอบการพัฒนา) ให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและทันการณ์ ทั้งนี้ PBC เปรียบเสมือนผู้สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างสันติภาพโดยทำหน้าที่เป็น “แม่ข่ายศูนย์รวม” ที่จับคู่ผู้บริจาคและผู้รับบริจาคเข้าด้วยกัน</p>\n<p>1.5 สำนักงาน PBC ในพื้นที่มีหน้าที่ติดตามสถานการณ์ ประเมินความคืบหน้าและผลสำเร็จของโครงการสร้างสันติภาพในพื้นที่ที่ PBC ได้จับคู่ระหว่างรัฐบาลของพื้นที่ความขัดแย้งกับผู้บริจาค หรือกับองค์กรภาคประชาสังคม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการดำเนินโครงการสร้างสันติภาพใหม่ ๆ ซึ่งปัจจุบัน PBC มุ่งเน้นภารกิจในภูมิภาคแอฟริกาโดยมีประเทศที่อยู่ในการดูแล 6 ประเทศ ได้แก่ บุรุนดี เซียร์ราลีโอน กินี กินีบิสเซา สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และไลบีเรีย</p>\n<p><strong><span style=\"text-decoration: underline;\">2. กลไกการดำเนินงานของ PBC</span></strong></p>\n<p>2.1 PBC มีกลไกการดำเนินงานหลัก ประกอบด้วย<br />&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (1) Organizational Committee (OC/PBC) ทำหน้าที่ดูแล พัฒนากฎระเบียบและวิธีการดำเนินงาน รวมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน มีสมาชิก 31 ประเทศ โดยสมาชิกมีวาระครั้งละ 2 ปี<br />&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (2) Peacebuilding Support Office (PBSO) ทำหน้าที่สนับสนุนด้านข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ ดูแลงบประมาณและการจัดสรรงบประมาณในกองทุนฯ รวมทั้งนำข้อเสนอแนะของ OC/PBC ไปปรับใช้ในประเทศที่เพิ่งพ้นสถานการณ์ความขัดแย้ง<br />&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (3) Peacebuilding Fund (PBF) กองทุนที่รัฐสมาชิกบริจาคโดยสมัครใจเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเสริมสร้างสันติภาพ โดยจะเป็นเพียง “ตัวเร่ง” ในกระบวนการ/กิจกรรมเสริมสร้างสันติภาพเท่านั้น</p>\n<p>2.2&nbsp; OC/PBC ประกอบด้วยสมาชิก 31 ประเทศ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่<br />&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (1)&nbsp; ประเทศสมาชิกจากคณะมนตรีความมั่นคงฯ : 7 ประเทศ ประกอบด้วย สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และประเทศสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงฯ อีก 2 ประเทศ<br />&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (2)&nbsp; ประเทศสมาชิกคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งประชาชาติ (Economic and Social Council: ECOSOC) : 7 ประเทศ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดย ECOSOC ผ่านกลุ่มภูมิภาคและพิจารณาถึงประสบการณ์ในการจัดการสถานการณ์ภายหลังความขัดแย้ง จำแนกเป็น 5 ที่นั่งตามกลุ่มภูมิภาคและ 2 ที่นั่งที่เหลือให้กลุ่มเอเชียและกลุ่มแอฟริกา<br />&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (3)&nbsp; ประเทศสมาชิกที่ให้การสนับสนุนทางการเงินสูงสุด : 5 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา เยอรมนี ญี่ปุ่น สเปน และสวีเดน<br />&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (4)&nbsp; ประเทศที่สนับสนุนกำลังพลเข้าร่วมปฏิบัติการสันติภาพสูงสุด : 5 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย อียิปต์ ไนจีเรีย และปากีสถาน&nbsp;<br />&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; (5)&nbsp; ประเทศสมาชิกสมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly: UNGA) : 7 ประเทศ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยสมัชชาสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีประสบการณ์การฟื้นฟูประเทศภายหลังสถานการณ์ความขัดแย้ง คำนึงถึงการกระจายสัดส่วนทางภูมิภาคและผลการพิจารณาสมาชิก PBC ในประเภทอื่น ๆ ด้วย จำแนกเป็นกลุ่มเอเชีย 1 ที่นั่ง กลุ่มแอฟริกา 2 ที่นั่ง กลุ่มยุโรปตะวันออก 1 ที่นั่ง กลุ่มลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 3 ที่นั่งและกลุ่มตะวันตกไม่มีที่นั่ง</p>\n<p><strong><span style=\"text-decoration: underline;\">3. กองทุนเสริมสร้างสันติภาพ</span></strong></p>\n<p>3.1 กองทุนเสริมสร้างสันติภาพ (Peacebuilding Fund: PBF) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2549 ตามข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ ที่ 60/287 เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กระบวนการเสริมสร้างสันติภาพในประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นสภาพความขัดแย้ง โดยจะเป็นตัวเร่ง (catalyst) เพื่อระดมความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างสันติภาพและ ฟื้นฟูบูรณะประเทศ เช่น การปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงสันติภาพระหว่างกลุ่มที่มีความขัดแย้ง การสร้างความปรองดองในชาติ การวางโครงสร้างและระบบการเมือง การปกครอง สังคมและเศรษฐกิจ และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งนี้ กองทุน PBF มีการเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2549</p>\n<p>3.2 กองทุน PBF ระดมทุนด้วยการขอรับบริจาคโดยสมัครใจจากรัฐสมาชิก องค์การระหว่างประเทศ และภาคเอกชน และเป็นการบริจาคเป็นครั้ง ๆ ไป โดยได้ตั้งเป้ายอดการบริจาคเงินไว้ จำนวน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะขอรับบริจาคเงินอุดหนุนกองทุนเพิ่มเติมในวันที่ 11 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเปิดตัว และหากกองทุนมีจำนวนเงินต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด ก็จะมีการประกาศขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมเป็นครั้ง ๆ ไป</p>\n<p>3.3 การบริหารงานกองทุนดำเนินการโดยสำนักงานกองทุน (Multi-Donor Trust Fund Office) ภายใต้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนในด้านการบริหารและเบิกจ่ายงบประมาณ และมีคณะที่ปรึกษาอิสระ (Advisory group) ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ซึ่งเลขาธิการสหประชาชาติเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากประเทศ โดยมีวาระครั้งละ 2 ปีและสามารถต่ออายุได้อีก 2 ปี ทำหน้าที่ให้คำแนะนำในการจัดสรรงบประมาณและตรวจสอบการใช้กองทุนอย่างเหมาะสม</p>\n<p><strong><span style=\"text-decoration: underline;\">4. บทบาทของไทยในด้านการเสริมสร้างสันติภาพ</span></strong></p>\n<p>4.1 ไทยเคยดำรงตำแหน่งสมาชิก PBC โดยมีวาระ 2 ปี (1 มกราคม 2552 - 31 ธันวาคม 2553) โดยมุ่งเน้นการเผยแพร่แนวคิดของไทยในด้านการเสริมสร้างสันติภาพ โดยเฉพาะในเรื่องที่ไทยมีศักยภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นสภาพความขัดแย้ง เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างความมั่นคงและ สันติภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงสร้างเชิงสถาบันด้านการเมืองการ ปกครอง รวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรชุมชนและภาคประชาสังคม เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นมากที่สุด</p>\n<p>4.2 เมื่อปี 2550 ไทยได้บริจาคเงินอุดหนุนกองทุน PBF จำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และปี 2552 ได้บริจาคเงินอีก 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ</p>\n', created = 1728178084, expire = 1728264484, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:14fc0fa4ee75ca7055314db58902c491' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

หลากหลายกลายเป็นหนึ่ง

 การเสริมสร้างสันติภาพ (Peacebuilding)

1. แนวคิดเกี่ยวกับการเสริมสร้างสันติภาพ

1.1 จากการที่สหประชาชาติได้ส่งกองกำลัง/เจ้าหน้าที่เข้าปฏิบัติการรักษาสันติภาพและได้ถอนตัวออกหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจในพื้นที่ความขัดแย้ง แต่หลังจากนั้นปรากฏว่าในหลายพื้นที่กลับไม่มีสันติภาพเกิดขึ้นอย่างแท้จริง เนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งได้เกิดขึ้นอีก รัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นภายหลังความขัดแย้งไม่สามารถปกครองให้เกิดความสงบเรียบร้อยได้

1.2 สหประชาชาติจึงริเริ่มแนวความคิดเกี่ยวกับการเสริมสร้างสันติภาพ (peacebuilding) ขึ้น เพื่อสร้างสันติภาพระยะยาวในพื้นที่ที่เคยมีความขัดแย้งและป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งปะทุขึ้นมาอีก โดยให้ความสำคัญกับกระบวนการฟื้นฟูโครงสร้างสถาบันของรัฐ การปลดอาวุธ การสร้างความปรองดอง และส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของสถาบันและบุคลากรของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะนำไปสู่การแก้ไขความขัดแย้งที่ต้นเหตุ อาทิ ความยากจน การจัดการและจัดสรรทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน การขาดจิตสำนึกในสันติภาพ การละเมิดประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน การเลือกประติบัติ

1.3 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้รับรองข้อมติที่ 1645 (2005) และข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ ที่ 60/180 จัดตั้งคณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพของสหประชาชาติ (Peacebuilding Commission: PBC) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นองค์กรให้คำปรึกษา (intergovernmental advisory body) และกำกับ/ประสานนโยบายที่มุ่งเสริมสร้างสันติภาพแบบบูรณาการระหว่างองค์กรของสหประชาชาติและรัฐ/องค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะเข้าไปมีบทบาทในประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นความขัดแย้ง ซึ่งการดำเนินงานของ PBC จะแยกต่างหากจากการรักษาสันติภาพ (peacekeeping) แต่อาจมีการดำเนินงานในพื้นที่เดียวกัน

1.4 PBC ไม่มีอำนาจในการเข้าไปปฏิบัติหน้าที่เสริมสร้างสันติภาพในพื้นที่ด้วยตนเอง แต่มีวัตถุประสงค์หลัก คือ การระดมทรัพยากร การให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเสริมสร้างสันติภาพและการฟื้นฟู ประเทศ รวมทั้งการวางรากฐานสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อเป็นกลไกที่เชื่อมต่อระหว่างการยุติความขัดแย้งทางการเมือง (ในกรอบสันติภาพและความมั่นคง) ไปสู่การฟื้นฟูบูรณะประเทศ (ในกรอบการพัฒนา) ให้เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมและทันการณ์ ทั้งนี้ PBC เปรียบเสมือนผู้สนับสนุนและส่งเสริมการสร้างสันติภาพโดยทำหน้าที่เป็น “แม่ข่ายศูนย์รวม” ที่จับคู่ผู้บริจาคและผู้รับบริจาคเข้าด้วยกัน

1.5 สำนักงาน PBC ในพื้นที่มีหน้าที่ติดตามสถานการณ์ ประเมินความคืบหน้าและผลสำเร็จของโครงการสร้างสันติภาพในพื้นที่ที่ PBC ได้จับคู่ระหว่างรัฐบาลของพื้นที่ความขัดแย้งกับผู้บริจาค หรือกับองค์กรภาคประชาสังคม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการดำเนินโครงการสร้างสันติภาพใหม่ ๆ ซึ่งปัจจุบัน PBC มุ่งเน้นภารกิจในภูมิภาคแอฟริกาโดยมีประเทศที่อยู่ในการดูแล 6 ประเทศ ได้แก่ บุรุนดี เซียร์ราลีโอน กินี กินีบิสเซา สาธารณรัฐแอฟริกากลาง และไลบีเรีย

2. กลไกการดำเนินงานของ PBC

2.1 PBC มีกลไกการดำเนินงานหลัก ประกอบด้วย
     (1) Organizational Committee (OC/PBC) ทำหน้าที่ดูแล พัฒนากฎระเบียบและวิธีการดำเนินงาน รวมทั้งกำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงาน มีสมาชิก 31 ประเทศ โดยสมาชิกมีวาระครั้งละ 2 ปี
     (2) Peacebuilding Support Office (PBSO) ทำหน้าที่สนับสนุนด้านข้อมูลและวิเคราะห์สถานการณ์ ดูแลงบประมาณและการจัดสรรงบประมาณในกองทุนฯ รวมทั้งนำข้อเสนอแนะของ OC/PBC ไปปรับใช้ในประเทศที่เพิ่งพ้นสถานการณ์ความขัดแย้ง
     (3) Peacebuilding Fund (PBF) กองทุนที่รัฐสมาชิกบริจาคโดยสมัครใจเพื่อสนับสนุนกิจกรรมเสริมสร้างสันติภาพ โดยจะเป็นเพียง “ตัวเร่ง” ในกระบวนการ/กิจกรรมเสริมสร้างสันติภาพเท่านั้น

2.2  OC/PBC ประกอบด้วยสมาชิก 31 ประเทศ ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
     (1)  ประเทศสมาชิกจากคณะมนตรีความมั่นคงฯ : 7 ประเทศ ประกอบด้วย สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงฯ ทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน รัสเซีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และประเทศสมาชิกไม่ถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงฯ อีก 2 ประเทศ
     (2)  ประเทศสมาชิกคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งประชาชาติ (Economic and Social Council: ECOSOC) : 7 ประเทศ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดย ECOSOC ผ่านกลุ่มภูมิภาคและพิจารณาถึงประสบการณ์ในการจัดการสถานการณ์ภายหลังความขัดแย้ง จำแนกเป็น 5 ที่นั่งตามกลุ่มภูมิภาคและ 2 ที่นั่งที่เหลือให้กลุ่มเอเชียและกลุ่มแอฟริกา
     (3)  ประเทศสมาชิกที่ให้การสนับสนุนทางการเงินสูงสุด : 5 ประเทศ ได้แก่ แคนาดา เยอรมนี ญี่ปุ่น สเปน และสวีเดน
     (4)  ประเทศที่สนับสนุนกำลังพลเข้าร่วมปฏิบัติการสันติภาพสูงสุด : 5 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย อียิปต์ ไนจีเรีย และปากีสถาน 
     (5)  ประเทศสมาชิกสมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly: UNGA) : 7 ประเทศ ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยสมัชชาสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีประสบการณ์การฟื้นฟูประเทศภายหลังสถานการณ์ความขัดแย้ง คำนึงถึงการกระจายสัดส่วนทางภูมิภาคและผลการพิจารณาสมาชิก PBC ในประเภทอื่น ๆ ด้วย จำแนกเป็นกลุ่มเอเชีย 1 ที่นั่ง กลุ่มแอฟริกา 2 ที่นั่ง กลุ่มยุโรปตะวันออก 1 ที่นั่ง กลุ่มลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 3 ที่นั่งและกลุ่มตะวันตกไม่มีที่นั่ง

3. กองทุนเสริมสร้างสันติภาพ

3.1 กองทุนเสริมสร้างสันติภาพ (Peacebuilding Fund: PBF) จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2549 ตามข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ ที่ 60/287 เพื่อให้การสนับสนุนทางการเงินแก่กระบวนการเสริมสร้างสันติภาพในประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นสภาพความขัดแย้ง โดยจะเป็นตัวเร่ง (catalyst) เพื่อระดมความร่วมมือของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการเสริมสร้างสันติภาพและ ฟื้นฟูบูรณะประเทศ เช่น การปฏิบัติตามพันธกรณีของความตกลงสันติภาพระหว่างกลุ่มที่มีความขัดแย้ง การสร้างความปรองดองในชาติ การวางโครงสร้างและระบบการเมือง การปกครอง สังคมและเศรษฐกิจ และการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งนี้ กองทุน PBF มีการเปิดตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2549

3.2 กองทุน PBF ระดมทุนด้วยการขอรับบริจาคโดยสมัครใจจากรัฐสมาชิก องค์การระหว่างประเทศ และภาคเอกชน และเป็นการบริจาคเป็นครั้ง ๆ ไป โดยได้ตั้งเป้ายอดการบริจาคเงินไว้ จำนวน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยจะขอรับบริจาคเงินอุดหนุนกองทุนเพิ่มเติมในวันที่ 11 ตุลาคมของทุกปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเปิดตัว และหากกองทุนมีจำนวนเงินต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด ก็จะมีการประกาศขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมเป็นครั้ง ๆ ไป

3.3 การบริหารงานกองทุนดำเนินการโดยสำนักงานกองทุน (Multi-Donor Trust Fund Office) ภายใต้โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนในด้านการบริหารและเบิกจ่ายงบประมาณ และมีคณะที่ปรึกษาอิสระ (Advisory group) ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน ซึ่งเลขาธิการสหประชาชาติเป็นผู้แต่งตั้งจากผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากประเทศ โดยมีวาระครั้งละ 2 ปีและสามารถต่ออายุได้อีก 2 ปี ทำหน้าที่ให้คำแนะนำในการจัดสรรงบประมาณและตรวจสอบการใช้กองทุนอย่างเหมาะสม

4. บทบาทของไทยในด้านการเสริมสร้างสันติภาพ

4.1 ไทยเคยดำรงตำแหน่งสมาชิก PBC โดยมีวาระ 2 ปี (1 มกราคม 2552 - 31 ธันวาคม 2553) โดยมุ่งเน้นการเผยแพร่แนวคิดของไทยในด้านการเสริมสร้างสันติภาพ โดยเฉพาะในเรื่องที่ไทยมีศักยภาพและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศที่เพิ่งผ่านพ้นสภาพความขัดแย้ง เพื่อเป็นรากฐานในการสร้างความมั่นคงและ สันติภาพอย่างยั่งยืน ซึ่งไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน และการสร้างชุมชนเข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโครงสร้างเชิงสถาบันด้านการเมืองการ ปกครอง รวมทั้งส่งเสริมบทบาทขององค์กรชุมชนและภาคประชาสังคม เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นมากที่สุด

4.2 เมื่อปี 2550 ไทยได้บริจาคเงินอุดหนุนกองทุน PBF จำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ และปี 2552 ได้บริจาคเงินอีก 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 566 คน กำลังออนไลน์