หลักการทรงงาน

ข้อที่ 13 ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ

การทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดการดำเนินงานในลักษณะทางสายกลางที่สอดคล้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวและสามารถปฏิบัติได้จริง ทรงมีความละเอียดรอบคอบและทรงคิดค้นแนวทางพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ประโยชน์ต่อประชาชนสูงสุด โดยมีแนวทางในการทรงงานดังต่อไปนี้

การเข้าใจถึงธรรมชาติ และต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหาของธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ เช่น การแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรม โดยพระราชทานพระราชดำริ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก (ต้นไม้) ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูธรรมชาติและต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหาธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติ จะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ อาทิ การแก้ไขปัญหาเสื่อมโทรมได้พระราชทานพระราชดำริ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูธรรมชาติ หรือแม้กระทั่ง การปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง ได้แก่ ปลูกไม้เศรษฐกิจ ไม้ผล และไม้ฟืน นอกจากได้ประโยชน์ตามชื่อของไม้แล้ว ยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดินด้วย จะเห็นได้ว่าทรงเข้าใจธรรมชาติ และมนุษย์อย่างเกื้อกูลกัน ทำให้คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืนเช่น การแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรมได้ พระราชทานพระราชดำริ การปลูกป่า

โดยไม่ต้องปลู ปล่อยให้ธรรมชาติช่วย ในการฟื้นฟูธรรมชาติ หรือแม้กระทั่ง การปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔ อย่าง

ได้แก่ ปลูกไม้เศรษฐกิจ ไม้ผล และไม้ฟืน นอกจากได้ประโยชน์ ตามชื่อของไม้แล้วยังช่วยรักษาความชุ่มชื้นให้แก่พื้นดินด้วย เห็นได้ว่า ทรงเข้าใจธรรมชาติ และมนุษย์อย่างเกื้อกูลกัน ทำให้คนอยู่ร่วมกับป่า ได้อย่างยั่งยืน 

ทรงนำความจริงในเรื่อง ความเป็นไปแห่งธรรมชาติและ กฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็น หลักการ แนวปฏิบัติที่สำคัญ ในการแก้ปัญหาและปรับปรุง เปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติ เข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่นการนำน้ำดี ขับไล่น้ำเสีย หรือ เจือจางน้ำเสียให้กลับเป็นน้ำดี ตามจังหวะการขึ้นลงตามธรรมชาติของน้ำ การบำบัดน้ำเน่าเสียโดย ใช้ผักตบชวาซึ่งมีตามธรรมชาติ

 

การจัดการน้ำเสีย
1.) การใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย ซึ่งเป็นการบำบัดน้ำเสียโดยการทำให้เจือจางและใช้หลักการตามธรรมชาติแห่งแรง โน้มถ่วงของโลก (Gravity Flow) หลักการคือ ใช้น้ำที่มีคุณภาพดีช่วยผลักดันน้ำเน่าเสียออกไปและช่วยให้น้ำเน่าเสียมี สภาพเจือจางลง

2.) เครื่องกรองน้ำธรรมชาติ เป็นการใช้ผักตบชวาในปริมาณที่เหมาะสมทำหน้าที่ดูดซับความสกปรก รวมทั้งสารพิษจากน้ำเน่าเสีย ตามหลัก “อธรรมปราบอธรรม”

3.) สระเติมอากาศชีวภาพบำบัด เป็นการจัดการน้ำเสียโดยใช้เครื่องจักรกลเติมอากาศมาช่วยเพิ่มออกซิเจนละลาย น้ำ ซึ่งใช้ออกซิเจนตามธรรมชาติจากพืชน้ำและสาหร่าย


4.) การผสมผสานระหว่างพืชน้ำกับระบบเติมอากาศ โดยใช้ธรรมชาติผสมผสานกับเทคโนโลยี โดยการก่อสร้างบ่อดักสารแขวนลอย ปลูกต้นกกอียิปต์เพื่อใช้ดับกลิ่น และปลูกผักตบชวาเพื่อดูดสิ่งสกปรกและโลหะหนัก จากนั้นใช้กังหันชัยพัฒนาและแผงท่อเติมอากาศให้กับน้ำเสียตามความเหมาะสม ตลอดจนให้ตกตะกอนก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำ

5.) หลักธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ คือการบำบัดน้ำเสียด้วยระบบบ่อบำบัดและพืชน้ำ ประกอบด้วย ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ระบบบ่อชีวภาพ ระบบหญ้ากรอง และระบบบำบัดน้ำเสียโดยป่าชายเลน และใช้ปลาบางชนิดกำจัดน้ำเสีย เช่น ปลากระดี่ ปลาสลิด เหมาะแก่การเลี้ยงในน้ำเสีย และชอบกินสารอินทรีย์ จึงช่วยลดมลภาวะในแหล่งน้ำ วิธีการนี้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการกำจัดน้ำเสียได้ ซึ่งจะมีต้นทุนต่ำ และสามารถเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำได้อีกทางหนึ่ง 

6.) การเติมอากาศโดยใช้กังหันน้ำชัยพัฒนา ซึ่งมีใบพัดเคลื่อนน้ำและซองรับน้ำไปสาดกระจายเป็นฝอย เพื่อให้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ทำให้ออกซิเจนในอากาศสามารถละลายเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว และในช่วงที่น้ำเสียถูกยกขึ้นมากระจายสัมผัสกับอากาศตกลงไปยังผิวน้ำ จะทำให้เกิดฟองอากาศจมตามลงไป ก่อให้เกิดการถ่ายเทออกซิเจนอีกส่วนหนึ่ง

 

การกำจัดขยะ
จากกระแสพระราชดำรัสเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสเกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลว่า

สิ่งโสโครกจากบ้านเรือนที่ให้เทศบาลสูบไป มักนำไปปล่อยลงคลอง ลงแม่น้ำ ถ้าหาที่แห่งหนึ่งนอกเมือง ทำถังหมักสิ่งโสโครกไว้ 10 วัน สิ่งที่เป็นสิ่งโสโครกก็หายโสโครก เชื้อโรคอะไรก็หมดไป ถ้าให้ดีเอาไว้ 28 วัน ให้มันจริงๆจังๆ พวกเชื้อที่ร้ายแรงที่ยังมีอยู่ก็หมด แม้แต่กลิ่นก็หายหมด เสร็จแล้วเอามาตากใช้ประโยชน์ได้ ทั้งส่วนที่เป็นของแข็งและส่วนที่เป็นน้ำเป็นปุ๋ยที่ไม่เหม็น เทศบาลต่างๆ ที่มีปัญหานี้ก็ต้องพยายามพิจารณาว่าจะทำอะไรต่อไป

จากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้น นายสาโรจน์ คัชมาตย์ ผู้ว่าราชการนนทบุรีในขณะนั้น จึงได้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง “บ่อหมักสิ่งปฏิกูล” ตามแนวพระราชดำริ ขนาดความจุ 15 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 32 บ่อ ณ วัดสวนแก้ว จ. นนทบุรี ซึ่งพระอาจารย์พยอม กัลยาโณ ได้ให้ความอนุเคราะห์พื้นที่

     หลักการใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ถือเป็นแนวคิดที่น่าสนใจมาก เป็นเรื่องน่ามหัศจรรย์เพราะไม่มีใครเคยคิดที่จะทำ และไม่มีใครเคยสนใจว่า ธรรมชาติจะสามารถช่วยรักษาธรรมชาติได้อย่างแท้จริง พระองค์ทรงมองเห็นแนวทางต่างๆมากมายในการช่วยให้ประชาชนทุกคนอยู่ร่วมกับธรรมชาติและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

    แนวทางในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1.นำผักตบชวาที่ขวางทางน้ำไหลหรือมีจำนวนมากเกินไป นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ในชีวิตได้ เช่น กระเป๋าจากผักตบชวา เป็นต้น

2.นำน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากการหมักขยะ มาผสมน้ำใช้ในการรดน้ำต้นไม้ เพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโต

3.ใช้สิ่งของที่มาจากธรรมชาติ เพื่อลดปริมาณขยะ

4.ปลูกพืชน้ำในบริเวณที่มีน้ำเสีย เพื่อให้น้ำมีสภาพที่ดีขึ้น

5.การเลี้ยงปลาไว้ในอ่างอาบน้ำ เพื่อลดประมาณยุง ไร เพื่อให้น้ำมีความสะอาดมากยิ่งขึ้น

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 560 คน กำลังออนไลน์