เวชกรรมไทย

เบื้องต้นจะกล่าวถึงคำจำกัดความของคำว่า “เวชกรรมไทย” ตาม พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า เวชกรรมไทย หมายถึง การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด หรือการป้องกันโรค ด้วยกรรมวิธีการแพทย์แผนไทย

ดังนั้น เวชกรรมไทย ก็คือ การตรวจ การวินิจฉัย การบำบัด หรือการป้องกันโรค ด้วยกรรมวิธีทาง การแพทย์แผนไทย หรือมักเป็นที่รู้จักกันในชื่อ การแพทย์แผนโบราณ ป็นความพยายามจะอธิบายภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพ ทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายเข้ามาอธิบาย ผสมผสานองค์ความรู้จากวัฒนธรรมอินเดีย พุทธศาสนา และองค์ความรู้ที่ถูกพัฒนาขึ้นเองโดยครูการแพทย์แผนไทย คือ ชีวกโกมารภัจจ์

 

กล่าวโดยรวมแล้วvการแพทย์แผนไทย อาจหมายถึง กระบวนการทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับการตรวจ วินิจฉัย บำบัด หรือป้องกันโรค หรือการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพของมนุษย์หรือสัตว์ การผดุงครรภ์ การนวดไทย และหมายความรวมถึงการเตรียมการผลิตยาแผนไทย ประดิษฐ์อุปกรณ์ และเครื่องมือทางการแพทย์ โดยอาศัยความรู้หรือตำราที่ได้ถ่ายทอดและสืบต่อกันมา การแพทย์แผนไทยอาจจะไม่มีองค์ความรู้ด้านกลไกการเกิดโรค และเทคนิคทางศัลยกรรมมากนัก แต่ต้องมีองค์ความรู้ด้านกลวิธีทางคลินิก เช่น การซักประวัติ และการรักษาด้วยยา เพียงแต่ขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ทางคลินิก (Evidence-based clinical knowledge) ซึ่งก็มาจากกฎข้อบังคับตามใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย ที่ว่า "มิให้แพทย์แผนไทยกระทำการอันเป็นวิทยาศาสตร์ใดๆ" นั่นเอง ทำให้ไม่สามารถมีการตั้งสมมุติฐานและวิจัยได้อย่างเต็มที่

 

ในส่วนการเรียนการสอนก็จะประกอบด้วยการเรียนทั้งที่เป็นภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ ภาคทฤษฏีจะกล่าวถึงเรื่องของการวินิจฉัยโรคตามหลักการแพทย์แผนไทยโดยอ้างอิงตามคัมภีร์ต่างๆ อาทิเช่น คัมภีร์ตักศิลา คัมภีร์ฉันทศาสตร์ และคัมภีร์ปฐมจินดา เป็นต้น ทั้งนี้ยังมีการเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของสาเหตุการเกิดโรค อาการและพยาธิสภาพของโรคตามหลักการแพทย์แผนไทยและแผนปัจจุบัน แนวทางการรักษา และการเลือกใช้ยาแผนไทย การตั้งตำรับยาแผนไทยเพื่อรักษา
รวมทั้งแนวทางในการส่งต่อผู้ป่วย

ภาคปฏิบัติจะเน้นการปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ได้จริง เช่น การลงพื้นที่ออกชมชุนไปพบปะกับผู้ป่วยจริงนอกสถานที่ศึกษา การลงไปศึกษาตามบ้านของหมอพื้นบ้าน การไปศึกษาและสังเกตการทำงานการตรวจวินิจฉัยของแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์แผนไทยตามสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชน การไปสังเกตดูพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ การจัดให้มีการทำกรณีศึกษาพิเศษจากผู้ป่วยจริง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานด้านเวชกรรมไทยตามโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ เพื่อที่จะให้บัณฑิตที่จบออกไปสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปประกอบการในวิชาชีพด้านการแพทย์แผนไทยได้อย่างเต็มที่สามารถที่จะทำการรักษาพยาบาลคนไข้ตามแนวทางแพทย์แผนไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ความแตกต่างกับแพทย์แผนปัจจุบัน คือ การแพทย์แผนไทย นอกจากต้องศึกษาและมีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค กลไกการเกิดโรค และแนวทางการรักษาแบบแผนปัจจุบันแล้ว แพทย์แผนไทยยังมีแนวคิดเกี่ยวกับการเกิดโรคที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างธาตุ-อุตุ-อายุ-กาล-ประเทศสมุฏฐาน และพฤติกรรมมูลเหตุที่ก่อให้เกิดโรค โดยจะมองสิ่งทั้งหลายที่ว่านั้นเชื่อมโยงกันอย่างเป็นองค์รวมส่งผลให้มีการวินิจฉัยและรักษาโรคตามแนวทางการแพทย์แผนไทยที่ให้ความสำคัญกับตัวผู้ป่วยร่วมกับบริบทแวดล้อมของผู้ป่วย เช่น ครอบครัว ชุมชน หรือสิ่งแวดล้อม การให้บริการจึงเน้นทั้งที่เป็นปัจเจกชน (ตัวผู้ป่วย) และมีการเชื่อมโยงไปสู่สิ่งแวดล้อมทั้งทางกายภาพ ชีวภาพ และสิ่งแวดล้อมทางจิตวิทยาและสังคมร่วมด้วย

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก

คณะการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

แหล่งที่มา http://www.rsa.sci.ru.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=118&Itemid=549

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 300 คน กำลังออนไลน์