user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('น้ำอัดลม*SOFT DRINK', 'node/82065', '', '18.116.87.196', 0, 'c9ec2087c93d3363048c2a807b9b7d1b', 158, 1715942261) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การปฏิวัติภูมิปัญญา (Intellectual Revolution)

 

                      การปฏิวัติทางภูมิปัญญา ใน คริสต์ศตวรรษที่ 18

          นับตั้งแต่สังคมยุโรปก้าวเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการเป็นต้นมา ได้ปรากฏให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอันหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการก่อตัวของรัฐสมัยใหม่ การขยายตัวทางการค้าและชนชั้นกลางที่สัมพันธ์กับการค้า รวมถึงความก้าวหน้าทางความคิดแบบเหตุผลนิยม มนุษย์นิยม

        ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้นมิได้หยุดนิ่ง หากแต่มีพัฒนาการหรือทวีความเข้มข้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความเจริญก้าวหน้าทางความคิดและวิทยาศาสตร์ อันนำมาสู่การขยายตัวของการแสวงหาความจริงด้วยเหตุผลและการแสวงหาความรู้จากการสังเกตและประสบการณ์ ตัวอย่างของความเจริญทางปัญญาสะท้อนเด่นชัดผ่านคำกล่าวของนิวตันที่ว่าความจริงเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถค้นหาได้ โดยอาศัยที่รู้จักคิดดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจแต่ประการใดที่จะมีการเรียกขานศตวรรษที่ 18 – 19 ว่าเป็น ยุคภูมิธรรม หรือ ยุครู้แจ้ง (Enlightenment)

        พร้อมกับความก้าวหน้าทางความคิด ระบบเศรษฐกิจยังเจริญรุดหน้าไม่หยุดยั้งหลังจากมีการค้นพบโลกใหม่ ศูนย์กลางการค้าในยุโรปช่วงเวลานี้มิได้จำกัดตัวอยู่เฉพาะบริเวณแหลมอิตาลีเท่านั้น แต่เริ่มขยายตัวเข้าสู่ยุโรปตะวันตก เช่น ประเทศฮอลันดา อังกฤษและฝรั่งเศส สินค้าต่าง ๆ จากตะวันออกและโลกใหม่ ซึ่งเป็นที่ปรารถนาของชาวตะวันตกพากันหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดในยุโรป การค้าที่เติบโตขึ้น ด้านหนึ่งส่งผลให้เริ่มมีการคิดทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจแบบใหม่ที่ก้าวหน้าและได้ผลประโยชน์สูง เช่น การเริ่มสร้างระบบธนาคารเงินกู้และสินเชื่อ อีกด้านหนึ่งการขยายตัวทางการค้าก็มีส่วนให้ชนชั้นกลางในยุโรปทวีจำนวนมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

    ความก้าวหน้าทางความคิด ความจำเริญเติบโตของการค้าและชนชั้นกลางดังกล่าว ถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ทำให้เกิดผลกระทบอื่น ๆ ตามมาอย่างเป็นพลวัต ผลกระทบที่สืบเนื่องซึ่งมีความโดดเด่นและกลายเป็นแรงขับดันที่พลิกโฉมประเทศต่าง ๆ ในโลกตะวันตกให้กลายเป็นมหาอำนาจครอบงำโลกจวบจนปัจจุบัน คือ การปฏิวัติทางการเมืองและการปฏิวัติอุตสาหกรรม ดังนั้นในส่วนนี้จะพิจารณาถึงความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในแต่ละมิติ  

                        การปฏิวัติทางการเมืองการปกครอง
         มิติการเมืองการปกครอง อิทธิพลของแนวคิดแบบเหตุผลนิยมที่ยกย่องความสามารถของมนุษย์ว่าเป็นผู้มีเหตุผล ทำให้ชาวตะวันตกเห็นคุณค่าและความสำคัญของมนุษย์ ไม่งมงายต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างปราศจากเหตุผล ปรารถนาที่จะเรียนรู้ คิด ก้าวหน้าและเริ่มเรียนรู้ที่จะประนีประนอมกับแนวคิดที่แตกต่างจากตน 
ประกอบกับการเติบโตของชนชั้นกลางจากการค้าและอุตสาหกรรม (จะกล่าวถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมข้างหน้า) ที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง ได้ผลักดันให้เกิดความพยายามที่จะต่อสู้ เรียกร้องเพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในราวศตวรรษที่ 18 โดยเริ่มจากการนำเสนอทฤษฎีการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยขึ้นในโลกตะวันตก           

                           นักปรัชญาการเมืองแนวประชาธิปไตย

 โทมัส  ฮอปส์


1. เสนอว่าอำนาจการปกครองต้องรวมอยู่ที่บุคคลคนเดียวเพื่อมิให้มนุษย์กลับไปสู่สภาพธรรมชาติของตนที่เลวร้าย กษัตริย์มีอำนาจการปกครองสูงสุด มนุษย์ต้องเชื่อฟังกฎหมายที่กษัตริย์บัญญัติขึ้น
2. เน้นว่าอำนาจของกษัตริย์มาจากความยินยอมของประขาชนมิได้มาจาสกลัทธิเทวสิทธิ์
3. เสนอว่ามนุษย์ควรเชื่อด้วยเหตุผลและวิธีทางวิทยาศาสตร์ เขายอมรับพระเจ้าแต่ปฏิเสธพิธีกรรมและผู้นำทางศาสนา
ผลงาน Leviathan

 จอห์น  ล็อค


1. ประชาชนทุกคนมีสิทธิตามธรรมชาติ คือ สิทธิในชีวิตเสรีภาพ และทรัพย์สิน
2. ไม่เห็นด้วยกับโทมัส ฮอบส์ที่ว่าให้รวมอำนาจปกครองไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียวเท่านั้น
3. มนุษย์เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลถ้ารัฐบาลทำผิดสัญญาประชาคม ประชาชนมีสิทธิ์ล้มรัฐบาลได้
4. เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดแบ่งแยกอำนาจ
5. เห็นว่ารัฐเป็นเพียงกลไกที่มนุษย์พร้อมใจกันสร้างขึ้นเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนอำนาจอธิปไตยยังเป็นของประชาชนส่วนใหญ่อำนาจทางการเมืองที่แท้จริงมาจากประชาชน ทุกคนมีความเสมอภาคทางงกฎหมายรัฐมีหน้าที่หลักคือรักษาสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์
6. แนวคิดของเขาเป็นทั้งทฤษฎีประชาธิปไตยและทฤษฎีการปฏิวัติและมีอิทธิพลอย่างมากต่อนักปฏิวัติชาวอเมริกันและชาวฝรั่งเศส
ผลงาน Two Treaties of Government, A Letter Concerning Toreration
  

มองเตสกิเออ


1. ทฤษฎีแบ่งอำนาจการเมือง 3 ฝ่ายคือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
2. ระบบการปกครองต้องสอดคล้องกับลักษณะภูมิประเทศและประวัติศาสต์ของแต่ละสังคม
3. การปกครองที่ดีที่สุดคือให้กษัตริย์ยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
ผลงาน The Spirit of Laws
  

วอลแตร์


1. เน้นเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นและนับถือศาสนาแนวคิดของเขามีอิทธิพลต่อความคิดของพระเจ้าเฟรเดอริกมหาราชในการพัฒนาและปฏิรูป ปรัสเซีย ให้เข้าสู่ยุคภูมิธรรม
2.”แม้ข้าพเจ้าจะไม่เห็นด้วยกับที่ท่านพูดมาแม้แต่น้อย แต้ข้าพเจ้าจะปกป้องสิทธิ์ในการพูดของท่านอย่างสุดชีวิต
 

รุสโซ


1. เจ้าทฤษฎีอำนาจอธิปไตยของประชาชน
2. เน้นเรื่องเจตจำนงร่วมของประชาชน” (General Will) คืออำนาจสูงสุดในการปกครอง
3. เสนอว่ามนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นองค์อธิปัตย์คือองกรที่มีอำนาจสูงสุดดังนั้นรัฐบาลต้องยอมรับเจตจำนงทั่วไปของประขาขนรัฐบาลต้องสร้างความเสมอภาคให้การศึกษาจัดระบบกิจการคลังที่ดี มีระบบการเก็บภาษีมรดกและสิ่งฟุ่มเฟือย
4. มนุษย์เป็นผู้จัดตั้งรัฐบาสลถ้ารัฐบาลทำผิดสัญญาประชาคมประชาชนมีสิทธิ์ล้มรัฐบาลได้
5. มีผลต่อการปฏิวัติฝรั่งเศสเสรีภาพ เสมอภาพ ภารดรภาพ
6.“มนุษย์เกิดมาอิสระแต่ทุกหนทุกแห่งเขาตกอยู่ในพันธนาการ
ผลงาน Social Contract (สัญญาประชาคม)

สร้างโดย: 
น.ส.วรัญญา สาระสันต์ ม.6/1 เลขที่ 12 โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์
รูปภาพของ silavacharee

 

ตรวจแล้วจ้า

อันนี้ทำใหม่น้ะค่ะ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 323 คน กำลังออนไลน์