อวัยวะในร่างกายของมนุษย์
ระบบอวัยวะ
ดูบทความหลักที่ ระบบอวัยวะ
กลุ่มของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกันเรียกว่า ระบบอวัยวะ (organ system) อวัยวะในระบบเดียวกันอาจมีความสัมพันธ์ร่วมกันได้หลายทาง แต่มักจะมีลักษณะหน้าที่การทำงานเกี่ยวข้องกัน เช่น ระบบขับถ่ายประกอบด้วยอวัยวะหลายอย่างที่ทำหน้าที่ร่วมกันในการผลิต เก็บ และขับปัสสาวะออก
หน้าที่ของระบบอวัยวะมักจะมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เช่น ไฮโปทาลามัส (hypothalamus) เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ทั้งในระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ทำให้การศึกษาทั้งสองระบบมักจะทำร่วมกันเรียกว่า ระบบประสาทและต่อมไร้ท่อ (neuroendocrine system) เช่นเดียวกันกับ ระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (musculoskeletal system) ซึ่งเป็นความเกี่ยวข้องกันระหว่างระบบกล้ามเนื้อ (muscular system) และ ระบบโครงกระดูก (skeletal system)
รายชื่อระบบอวัยวะหลักๆ ในร่างกายมนุษย์
ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยระบบหลักๆ 11 ระบบ
ระบบทางเดินอาหาร - การดูดซึมสารอาหาร และขับถ่ายกากอาหารออก
ระบบโครงกระดูก - เป็นโครงร่างของร่างกายและการเคลื่อนไหว ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์
ระบบกล้ามเนื้อ - เป็นโครงร่างของร่างกายและการเคลื่อนไหว สร้างความร้อน
ระบบประสาท - เป็นศูนย์รวมและประสาทการทำงานโดยสัญญาณทางไฟฟ้าเคมี
ระบบต่อมไร้ท่อ - เป็นศูนย์รวมและประสาทการทำงานโดยฮอร์โมน
ระบบไหลเวียนโลหิต - ขนส่งสารภายในร่างกาย
ระบบหายใจ - กำจัดคาร์บอนไดออกไซด์และดูดซึมแก๊สออกซิเจน
ระบบสืบพันธุ์ - ผลิตลูกหลานเพื่อดำรงเผ่าพันธุ์
ระบบปกคลุมร่างกาย - ปกคลุมร่างกายภายนอก
ระบบน้ำเหลือง - ควบคุมของเหลวในร่างกาย และทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน
ระบบขับถ่ายปัสสาวะ - ขับถ่ายของเสีย และควบคุมสมดุลเกลือแร่
อวัยวะของมนุษย์ แบ่งตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
ศีรษะและคอ (Head and neck)
สมอง
สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย
สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และรักษาสมดุลภายในร่างกาย (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรับรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้
สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะทำงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษย์
ส่วนประกอบ
สมองของมนุษย์ สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
สมองส่วนหน้า (Forebrain) - มีขนาดใหญ่ที่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งออกได้อีกดังนี้
ออลเฟกทอรีบัลบ์ (olfactory bulb) อยู่ด้านหน้าสุด ทำหน้าที่ - ดมกลิ่น (ปลา,กบ และสัตว์เลื้อยคลานสมองส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่) ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมออลแฟกทอรีบัลบ์จะไม่เจริญ แต่จะดมกลิ่นได้ดีโดยอาศัยเยื่อบุในโพรงจมูก
ซีรีบรัม (Cerebrum) - มีขนาดใหญ่สุด มีรอยหยักเป็นจำนวนมาก ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ความสามารถต่างๆ เป็นศูนย์การทำงานของกล้ามเนื้อ การพูด การมองเห็น การดมกลิ่น การชิมรส แบ่งเป็นสองซีก แต่ละซีกเรียกว่า Cerebral hemisphere และแต่ละซีกจะแบ่งได้เป็น 4 พูดังนี้
Frontal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว การออกเสียง ความคิด ความจำ สติปัญญา บุคลิก ความรู้สึก พื้นอารมณ์
Temporal lobe ทำหน้าที่ควบคุมการได้ยิน การดมกลิ่น
Occipital lobe ทำหน้าที่ควบคุมการมองเห็น
Parietal lobe ทำหน้าที่ควมคุมความรู้สึกด้านการสัมผัส การพูด การรับรส
ทาลามัส (Thalamus) - อยู่เหนือไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เป็นสถานีถ่ายทอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปจุดต่างๆในสมอง รับรู้และตอบสนองความรู้สึกเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการแสดงออกพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด
ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) - ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของระบบประสาทอัตโนมัติ และสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการผลิตฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองซึ่งจะทำการควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำและสารละลายในเลือด และยังเกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย อารมณ์ความรู้สึก วงจรการตื่นและการหลับ การหิว การอิ่ม และความรู้สึกทางเพศ
สมองส่วนกลาง (Midbrain) - เป็นสมองที่ต่อจากสมองส่วนหน้า เป็นสถานีรับส่งประสาท ระหว่างสมองส่วนหน้ากับส่วนท้ายและส่วนหน้ากับนัยน์ตาทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูกตาและม่านตาจะเจริญดีในสัตว์พวกปลา กบ ฯลฯ ในมนุษย์สมองส่วน obtic lobe นี้จะเจริญไปเป็น Corpora quadrigermia ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยิน
สมองส่วนท้าย (Hindbrain) ประกอบด้วย
พอนส์ (Pons) - เป็นส่วนของก้านสมอง ติดกับสมองส่วนล่าง ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า และเป็นที่อยู่ของประสาทคู่ที่ 5,6,7,8
เมดัลลา (Medulla) - เป็นสมองส่วนท้ายสุด ต่อกับไขสันหลัง เป็นทางผ่านของกระแสประสาทระหว่างสมองกับไขสันหลัง เป็นศูนย์กลางการควบคุมการทำงานเหนืออำนาจจิตใจ เช่น ไอ จาม สะอึก หายใจ การเต้นของหัวใจ เป็นต้น
ซีรีเบลลัม (Cerebellum) - อยู่ใต้เซรีบรัม ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย
หู
หู เป็นอวัยวะของสัตว์ที่ใช้การดักคลื่นเสียง เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทการได้ยิน สัตว์แต่ละประเภทจะมีตำแหน่งหูที่แตกต่างกันออกไป
หูของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
หูของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งรวมถึงมนุษย์เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ 2 ประการ ซึ่งก็คือ
การได้ยินหรือการรับฟังเสียง (Phonoreceptor) โดยสามารถแยกความแตกต่างของคลื่นเสียงได้
การทำหน้าที่ทรงตัว รักษาสมดุลของร่างกาย (Statoreceptor)
ส่วนประกอบของหู
หูส่วนนอก
หูส่วนนอก (External ear) ซึ่งประกอบด้วย
ใบหู (Pinna) มีหน้าที่ในการรวบรวมคลื่นเสียงที่มาจากที่ต่างๆ ส่งเข้าสู่รูหู ใบหู มีกระดูกอ่อนอีลาสติก เป็นแกนอยู่ภายใน ทำให้โค้งพับงอได้
ช่องหู หรือ รูหู (Auditory canal) เป็นส่วนที่อยู่ถัดใบหูเข้ามาจนถึงเยื่อแก้วหู ทำหน้าที่เป็นทางเดินของคลื่นเสียงเข้าสู่หูส่วนกลาง รูหูมีขนและต่อมสร้างขี้หู (Cerumious gland) ทำหน้าที่สร้างขี้หูไว้ดักฝุ่นละออง หรือสิ่งแปลกปลอมไม่ให้เข้าไปในรูหู
แก้วหู หรือ เยื่อแก้วหู (Tympanic membrane หรือ Ear drum) มีลักษณะเป็นเยื่อบางๆ และเป็นเส้นใยที่มีความยาวเท่าๆกันจึงสั่นสะเทือนเมื่อมีเสียงมากระทบและแยกคลื่นเสียงที่แตกต่างกันได้โดยมีความว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลงความดัน แต่จะไม่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงความเร็ว (คลื่นเสียงจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแรงดันในช่องหู)
หูส่วนกลาง
หูส่วนกลาง (Middle ear) เป็นส่วนที่ถัดจากแก้วหูเข้ามา ภายในหูตอนกลางจะมีท่อยูสเทเชียน (Eustachian tube) มีลักษณะเป็นท่อกลวงขนาดเล็ก เชื่อมติดระหว่างคอหอยและหูชั้นกลาง มีหน้าที่ปรับความดันภายในหูให้ภายในหูมีความดันเท่ากับความดันภายนอก ถ้าหากระดับความดันของทั้งสองแห่งไม่เท่ากัน จะมีผลทำให้รู้สึก หูอื้อ และถ้าเกิดความแตกต่างมากจะทำให้รู้สึกปวดหู ภายในหูส่วนกลางนี้มีกระดูก 3 ชิ้นคือ กระดูกค้อน (Malleus) กระดูกทั่ง (Incus) และกระดูกโกลน (Stapes) เรียงตามลำดับจากด้านนอกเข้าสู้ด้านใน มีหน้าที่ในการขยายการสั่นสะเทือนของคลื่นเสียงให้มากขึ้น และจึงส่งต่อการสั่งสะเทือนเข้าสู่หูส่วนในเพื่อแปลเป็นความรู้สึกเพื่อส่งต่อไปยังสมอง
หูส่วนใน
หูส่วนใน (Internal ear) อยู่ถัดจากหูส่วนกลางเข้ามา หูส่วนในประกอบด้วยท่อขดก้นหอย หรือ คอเคลีย (Cochlea) ภายในคอเคลียมีเยื่อบาง ๆ 2 ชนิดกั้นทำให้ภายในแยกเป็น 3 ส่วน
เยื่อชนิดแรกเรียกว่า เยื่อเบซิล่าร์ (basilar membrane) ยาวประมาณ 30 มิลลิเมตร ตอนกลางจะยึดอยู่กับกระดูกแข็ง สไปรัลลามินา (spiral lamina) ส่วนด้านข้างติดอยู่กับเอ็นสไปรัล (spiral ligament) ที่เยื่อนี้มีอวัยวะพิเศษ เรียกว่า ออร์แกนออฟคอร์ตี (orgam of corti) อวัยวะชิ้นนี้ประกอบด้วยแถวของเซลล์ขน (hair cell) มีลักษณะเป็นเส้นยาว ๆ อยู่ระหว่างเยื่อหุ้มสองชั้น ปลายเซลล์ขนจะมีซิเลียที่ยาวมากยื่นเข้ามาในส่วนที่เป็นของเหลว และสัมผัสกับเนื้อเยื่อที่อยู่ตรงด้านตรงข้ามที่เรียกว่าเยื่อแทกทอเรียล (tactorial membrane) แต่ละเซลล์มีซิเลียมากกว่า 200 อัน เมื่อของเหลวในคอเคลียสั่นสะเทือน เยื่อทั้งสองด้านจะเคลื่อนที่ใกล้กันมากขึ้น ทำให้ซิเลียเกิดเปลี่ยนรูปร่าง ซึ่งจะไปทำให้เกิดศักย์กิริยาขึ้นที่เซลล์ประสาทที่ติดต่ออยู่ด้วย นำกระแสความรู้สึกผ่านเข้าสู่สมองทางเส้นประสาทออดิทอรี(auditory nerve) ในอัตราที่มากถึง 15,000 ครั้งต่อวินาทีซึ่งเป็นความถี่ของเสียงที่หูของมนุษย์รับได้
เนื้อเยื่ออีกชนิดหนึ่ง คือ เยื่อไรสส์เนอร์ (rissner’s membrane) เป็นเยื่อที่ติดอยู่กับผนังด้านในของบริเวณลิมบัส(limbus) และทางด้านข้างติดต่อกับขอบบนของสไตรอาวาสคิวลาริส (striavas cularis) ดังนั้นระหว่างเยื่อเบซิล่าร์และเยื่อไรสส์เนอร์จะมีช่องเล็กตอนกลางเรียกว่า สกาลามีเดีย (scala media) หรือท่อของคอเคลียจะมีของเหลวอยู่ในช่องนี้ เรียกว่า เอนโดลิมฟ์ (endolymph) ตอนบนของเยื่อไรสส์เนอร์จะมีช่องเวสทิบิวลาร์คะแนล (vestibular canal) และตอนล่างของเยื่อเบซิลาร์จะมีช่องทิมพานิกคะแนล (tympanic canal) เรียกของเหลวที่บรรจุเต็มช่องบนและช่องล่างว่าเพริลิมฟ์ (perilymph) ตอนยอดของก้นหอยโข่งจะมีรูเปิดติดต่อถึงกันได้ระหว่าง ทิมพานิกคะแนลและเวสทิบิวลาร์คะแนล รูนี้เรียกว่า เฮริโคทรีมา (helicotrema) ที่หน้าต่างรูปไข่จะเป็นบริเวณที่เริ่มต้นของเวสทิบิวลาร์คะแนล ส่วนที่หน้าต่างวงกลมจะอยู่ตอนปลายของทิมพานิกคะแนล การสั่นสะเทือนของของเหลวภายในคอเคลียจะเริ่มต้นที่หน้าต่างรูปไข่แล้วเคลื่อนไปตามเวสทิบิวลาร์คะแนล จนถึงยอดของหอยโข่ง จากนี้จะเคลื่อนมาตามทิมพานิกคะแนล จนไปสิ้นสุดที่หน้าต่างวงกลม จะเห็นได้ว่าการสั่นสะเทือนจะเกิดขึ้นต่อเนื่องกันบนเยื่อกั้นทั้งสองด้านที่เป็นที่อยู่ของเซลล์รับความรู้สึกทางกล ในทิศทางตรงกันข้ามกัน เนื่องจากโครงสร้างที่มีลักษณะพิเศษของคอเคลียดังกล่าวมาแล้ว การสั่นสะเทือนที่ความถี่ระดับหนึ่งจะมีแนวโน้มที่จะลดลงที่บริเวณหนึ่ง แต่ไปทำให้เพิ่มขึ้นในอีกบริเวณหนึ่งได้ ผลที่ตามมาคือ การสั่นสะเทือนที่มีความถี่สูง ๆ จะมีผลกระตุ้นเซลล์ขนได้สูงสุดในบริเวณหน้าต่างรูปไข่
ภายในหูส่วนในยังมีอวัยวะที่ช่วยในการทรงตัว คือ เวสทิบิวล่าร์แอพพาราตัส (Vestibular apparatus) ซึ่งประกอปด้วยส่วนต่างๆคือ
semicircular canal มีลักษณะเป็นครึ่งวงกลมภายในบนนจุของเหลง endolymph ในส่วนที่นูนออกมาบริเวณปลายจะมี hair cell อยู่
utricle , saccule อยู่ทางด้านหน้า ของข้อ1 มีก้อง Ca เล็กอยู่และ hair cell
ภายใน semicircular canal มี endolymph เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาทำให้ขนของ hair cell เบนไปมาทำให้เกิดคลื่นกระแสประสาทส่งไปยังสมองเพื่อควบคุมการทรงตัว ถ้าหากหมุนตัวหลายๆรอบ จะทำให้ระบบส่วนนี้ทำงานผิดปรกติทำให้เกิดอาการมึนงง
การสั่นสะเทือน
ส่วนการสั่นสะเทือนที่มีความถี่ต่ำจะมีผลกระตุ้นมากที่สุดตรงปลายด้านในสุดของคอเคลีย การสั่นสะเทือนที่มีความถี่ปานกลาง จะมีผลกระตุ้นได้มากที่สุดตรงบริเวณกึ่งกลางระหว่างหน้าต่างรูปไข่และปลายด้านในสุดของคอเคลีย เนื่องจากเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่บริเวณต่าง ๆ ของคอเคลียนำกระแสความรู้สึกเข้าสู่บริเวณสมองคนละตำแหน่ง ดังนั้นผลที่สมองแปลออกมาจึงสามารถบอกถึงความแตกต่าง ของระดับความถี่ของคลื่นเสียงที่มากระตุ้นได้ ของเหลวในเอนโดลิมฟ์ที่มีส่วนประกอบคล้ายคลึงกับของเหลวในเซลล์แต่มีโปรตีนน้อยกว่า ซึ่งตรงกันข้ามกับ เฟริลิมฟ์ที่มี Na+ และโปรตีนสูง
รูปร่างของคอเคลียสามารถจะบอกช่วงความถี่ของคลื่นเสียงที่หู สามารถตอบสนองได้ ของมนุษย์ระหว่าง 20 – 20,000 รอบต่อวินาที แมวอยู่ระหว่าง 50,000 รอบต่อวินาที ค้าวคาวและปลาโลมา มีความสามารถรับความถี่ได้สูงมากถึง 100,000 รอบต่อวินาที เสียงที่ดังมาก ๆ เมื่อเข้ามากระทะแก้วหู การสั่นสะเทือนที่รุนแรงของของเหลวในหูส่วนในอาจทำให้ซิเลียของเซลล์ขนฉีกขาดได้ ทำให้สูญเสียการรับเสียงในช่วงความถี่นั้น ๆ ได้ หูของมนุษย์มีชุดกล้ามเนื้อที่สามารถลดการเคลื่อนที่อย่างรุนแรงของกระดูกโกลนเมื่อได้รับการกระตุ้นของเสียงอย่างรุนแรงได้บ้าง การสูญเสียเซลล์ขนจำนวนมากจะไม่สามารถสร้างกลับคืนมาได้ใหม่ อาจเกิดขึ้นได้กับมนุษย์ เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เช่น เสียงเครื่องจักรกลในโรงงานใหญ่ เสียงเครื่องบินเร็วกว่าเสียง เช่นเครื่องบินไอพ่น เสียงจากท่อไอเสียของรถจักรยานยนต์ และรถแข่ง รวมทั้งเสียงดนตรีในแหล่งสถานบันเทิง
การทำงานของหู เริ่มจาก เสียงจะเข้าไปในรูหูผ่านใบหู หลังจากนั้น ก็จะไปสั่นที่แก้วหู หลังจากนั้นแก้วหูก็จะไปสั่นกระดูกทั่ง ค้อน และ โกลน หลังจากนั้น กระดูกโกลนและจะไปสั่นคอเคลีย ของเหลวในคอเคลียจะไปสั่นเซลล์ขนในคอเคลีย เซลล์ขนจะแปรความสั่นสะเทือนเป็นกระแสไฟฟ้าและส่งไปยังเส้นประสาท กระแสไฟฟ้าจะเดินทางผ่านเส้นประสาทและไปที่ไปที่สมอง เพื่อให้สมองแปรเป็นข้อมูล
ตา
ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน
แผนผังแสดงส่วนต่างๆ ของดวงตาของมนุษย์
หมายเหตุ: ตาของสัตว์ชนิดอื่น อาจไม่คล้ายกับของมนุษย์ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ
ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด
ดีมากๆเลยได้นำไปสอนเด็ก
วันนี้ผมได้เอาข้อมูลไปใช้สอนเด็กข้อมูลดีมากครับตรงกับเนื้อหาขอบคุณมากเลยครับ
ดีมากๆคะ
พระราม
พระราม คือ พระนารายณ์อวตาร (แบ่งภาค) ลงมา ถือกำเนิดเป็นพระราชโอรสของท้าวทศรถ กับ นางเกาสุริยา เพื่อจะปราบทศกัณฐ์ พระรามมีพระอนุชาต่างพระมารดา ๓ พระองค์ คือ พระพรต พระลักษมณ์ และพระสัตรุต ซึ่งต่างก็มีความรักใคร่กันอย่างมาก พระมเหสีของพระราม คือ นางสีดา
พระรามมีกายสีเขียว สามารถปรากฏร่างเป็นพระนารายณ์มีสี่กรได้ อาวุธประจำพระองค์ คือ ศร ซึ่งเป็นอาวุธวิเศษ ที่ได้ประทานมาจากพระอิศวร
บทบาทที่สำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ ได้แก่
- เมื่อเยาว์วัยพระรามได้รับการศึกษาศิลปศาสตร์ กับสำนักฤาษีสวามิตร หรือวิศวามิตร มีความเก่งกล้า ถึงกับฆ่ากากนาสูร และสวาหุ ซึ่งมารบกวนเหล่าฤาษีชีไพร
- ท้าวชนกจักรวรรดิ์(ฤาษีชนก) ได้ให้หมู่กษัตริย์มาประลองยกศรรัตนธนู เพื่ออภิเษกกับนางสีดา พระรามก็สามารถยกรัตนธนูได้สำเร็จ และได้อภิเษกกับนางสีดา ระหว่างเดินทางกลับกรุงอโยธยา สามารถปราบรามสูร(ยักษ์ผู้ถือขวาน) และได้รับศรจากรามสูร
- ได้ฆ่าพระยาขร และพระยาทูษณ์ พี่ชายของนางสำมนักขา
- ระหว่างออกเดินป่า ได้ปราบพิราบยักษ์
- ได้ช่วยสุครีพปราบพาลี
- ไปรบกับทศกัณฐ์ และได้ฆ่าทศกัณฐ์ได้สำเร็จ
- สถาปนาพิเภกให้ครองกรุงลงกา
พระลักษมณ์
พระลักษมณ์ คือ พญาอนันตนาคราช ที่ประทับของพระนารายณ์มาเกิด มีกายสีทอง เป็นพระโอรสของท้าวทศรถ กับนางสมุทรเทวี มีพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ พระสตรุต พระลักษมณ์มีความจงรักภักดีต่อพระรามมาก เมื่อพระรามต้องออกเดินป่าถึง ๑๔ ปี พระลักษมณ์ก็ได้ติดตามไปด้วย และยังช่วยออกรบกับกองทัพของกรุงลงกา อย่างกล้าหาญ
นางสีดา
นางสีดา คือ พระลักษมี มเหสีอของพระนารายณ์ อวตารลงมาเกิดเพื่อเป็นคู่ครองของพระราม ตามบัญชาของพระอิศวร นางสีดาเป็นพระธิดาของทศกัณฐ์ กับนางมณโฑ แต่เมื่อประสูติแล้ว พิเภกได้ทำนายว่า นางเป็นกาลกิณีแก่พระบิดาและบ้านเมือง ทศกัณฐ์จึงสั่งให้นำนางใส่ผอบลอยน้ำไป พระฤาษีชนกพบเข้า จึงเก็บไปเลี้ยงเป็นลูก โดยฝังดินฝากแม่พระธรณีไว้ เวลาผ่านไปถึง ๑๖ ปี พระฤาษีชนกเบื่อหน่ายการบำเพ็ญพรต คิดกลับไปครองกรุงมิถิลาเช่นเดิม จึงลาเพศพรหมจรรย์ไปขุดนางขึ้นมา แล้วตั้งชื่อให้ว่า สีดา (แปลว่ารอยไถ) จากนั้นพานางพานางเข้าเมืองมิถิลาจัดพิธียกศรคู่บ้านคู่เมือง เพื่อเสี่ยงทายหาคู่ครองให้นางสีดา พระรามยกศรได้ จึงได้อภิเษกสมรสกับนางสีดา
พระอิศวร
พระอิศวร คือ เทวดาผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ มีกายสีขาว แต่พระศอเป็นสีดำเพราะเคยดื่มยาพิษ มีพระเนตรถึง ๓ ดวง ดวงที่ ๓ อยู่กลางพระนลาฎ ซึ่งตามปกติจะหลับอยู่ เนื่องจากพระเนตรดวงที่ ๓ นี้ มีอานุภาพร้ายแรงมาก หากลืมขึ้นเมื่อใดจะเผาผลาญทุกอย่างให้มอดไหม้ได้
พระมเหสีของพระองค์ คือ พระอุมา มีพระราชโอรสด้วยกัน ๒ พระองค์ คือ พระขันทกุมาร เทพเจ้าแห่งสงคราม และพระพิฆเณศวร์ เทพเจ้าแห่งศิลป
พระอิศวร มีนาคเป็นสังวาล มีพระจันทร์เป็นปิ่น อาวุธประจำพระองค์ คือ ตรีศูล(หลาวสามง่าม) พาหนะของพระองค์ คือ โคอุศุภราช พระอิศวรมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น พระศุลีพระศิวะ พระภูเตศวร พระตรีเนตร พระสยมภู พระมเหศวร ชาวฮินดูนับถือพระอิศวรนี้ว่า เป็นเทพเจ้าสูงสุดในบรรดาเทพทั้งสาม ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหม โดยถือว่าพระอิศวรเป็นเทพเจ้าแห่งการทำลาย
บทบาทที่สำคัญในเรื่องรามเกียรติ์ ได้แก่
- ให้พรแก่หิรัญยักษ์ ให้สามารถม้วนแผ่นดินได้ ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชาวโลก จึงต้องให้พระนารายณ์ลงไปปราบหิรันตยักษ์ โดยพระนารายณ์แปลงเป็นหมูป่าขวิดฆ่าหิรันตยักษ์ได้สำเร็จ
- ให้พรแก่นนทกยักษ์ หรือนนทุก ยักษ์ที่ทำหน้าที่ล้างเท้าเทวดา ให้มีนิ้วเพชรสามารถชี้ใครให้ถึงแก่ความตายได้
- ให้พระพายซัดอาวุธเข้าปากนางสวาหะ จนเกิดเป็นหนุมานทหารเอกของพระราม
- ขว้างงาช้างปักอกทศกัณฐ์ ขณะที่ทศกัณฐ์กำลังไล่ฆ่ากุเปรัน
- ยกนางดาราให้แก่สุครีพ เป็นบำเน็จในการยกเขาพระสุเมร โดยฝากนางดาราไปกับพาลี และพาลีก็สาบานว่าจะไม่ล่วงเกินนาง แต่พาลีก็ผิดคำสาบาน ทำให้พาลีต้องเสียชีวิตด้วยศรพระราม
- เจ้าเมืองบาดาลชื่อวิรุณหก ไปเฝ้าพระอิศวรถูกตุ๊กแกล้อเลียน จึงขว้างตุ๊กแกด้วยสังวาล ทำให้เขาพระสุเมรุเอียง ทศกัณฐ์สามารถชลอได้ ทศกัณฐ์จึงทูลขอพระอุมาเป็นรางวัล พระอิศวรจำเป็นต้องยกให้ แต่ทศกัณฐ์ไม่สามารถล่วงเกินได้ จึงได้ขอนางมณโฑไปแทน
แวะมาอ่าน ได้ความรู้ดีๆ ขอบคุณครับ