user warning: Duplicate entry '536306482' for key 'PRIMARY' query: INSERT INTO accesslog (title, path, url, hostname, uid, sid, timer, timestamp) values('วัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบขนมไทย', 'node/17285', '', '18.116.15.3', 0, 'be71f7dd12afe813b2aeb411a77ed3f9', 191, 1722070850) in /home/tgv/htdocs/modules/statistics/statistics.module on line 63.

การแกะสลักผัก-ผลไม้

รูปภาพของ bp26384ab

 

สวัสดีเพื่อนๆและคุณครู ชาว Thaigoodview.comทุกๆท่านนะคะ

           วันนี้ เรามีความรู้จะมาฝากเพื่อนๆ ในเรื่องของ "การแกะสลักวัสดุเนื้ออ่อน" ซึ่งจะพูดถึงเรื่องของ การแกะสลักผัก-ผลไม้ก่อนนะคะ

โดยปกติแล้วเราเป็นคนที่รักในการแกะสลักเอาเสียมากๆ เพราะเป็นการฝึกสมาธิ

ซึ่งเราเป็นคนที่สมาธิสั้น ไม่สามารถอยู่นิ่งๆได้นาน ถ้านิ่งนี่คือนอนหลับอย่างเดียวค่ะ

การแกะสลักจึงช่วยให้เราสามารถมีสมาธิได้ดีขึ้น ยิ่งถ้าเรามีสมาธิในการทำอะไรแล้ว ผลที่ได้ก็จะดีพร้อมสมบูรณ์

สามารถศึกษาเรื่องราวต่างๆได้อย่างเข้าใจลึกซึ้ง โดยเฉพาะในวัยศึกษาอย่างเรานี้แหละค่ะ

หลังจากที่สารธยายมาซะเนิ่นนาน เรามาเข้าเรื่องของการแกะสลักดีกว่า เราจะมีประวัติมาฝากเพื่อนๆก่อนนะคะ

 ประวัติความเป็นมาของการแกะสลักผักและผลไม้ 


       การแกะสลักผักและผลไม้ เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติไทยเลยทีเดียว ซึ่งไม่มีชาติใดสามารถเทียมได้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดในปัจจุบันนี้เห็นจะเป็นเรื่องของการอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้ที่มีแนวโน้มจะสูญหายไปหรือลดน้อยลงไปเรื่อย
      การแกะสลักผักและผลไม้เดิมเป็นวิชาการขั้นสูงของกุลสตรีในรั้วในวัง ต้องฝึกฝนและเรียนรู้จนเกิดความชำนาญบรรพบุรุษของไทยเราได้มีการแกะสลักกันมานานแล้ว แต่จะเริ่มกันมาตั้งแต่สมัยใดนั้น ไม่มีผู้รู้เนื่องจากไม่มีหลักฐานแน่ชัด จนถึงสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ในรัชสมัยของสมเด็จพระร่วงเจ้า ได้มีนางสนมคนหนึ่งชื่อ นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้แต่งหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือนางนพมาศขึ้น และในหนังสือเล่มนี้ ได้กล่าวถึงพิธีต่าง ๆ ไว้ และพิธีหนึ่ง เรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงในวันเพ็ญเดือนสิบสอง เป็นนักขัตกฤษ์ชักโคมลอย นางนพมาศได้คิดตกแต่งโคมลอยให้งามประหลาดกว่าโคมของพระสนมทั้งปวง ได้เลือกผกาเกสรสีต่าง ๆ ประดับเป็นรูปดอกกระมุทบานกลีบรับแสงพระจันทร์ ล้วนแต่พรรณของดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลายแล้วจึงนำเอาผลพฤกษาลดาชาติ มาแกะสลักเป็นระมยุระคณานกวิหคหงส์ให้จับจิกเกสรบุปผาชาติอยู่ตามกลีบดอกกระมุท เป็นระเบียบร้อยวิจิตรไปด้วยสีย้อมสดส่ง ควรจะทอดทัศนายิ่งนัก ทั้งเสียบแซมเทียนธูปและประทับน้ำมันเปรียงเจือด้วยไขข้อระโค (กรมศิลปากร, 2531 : 97 – 98) จึงได้มีหลักฐานการแกะสลักมาตั้งแต่สมัยนั้น
     ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดการประพันธ์ยิ่งนัก พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวาน และแห่ชมผลไม้ได้พรรณนา ชมฝีมือการทำอาหาร การปอกคว้านผลไม้ และประดิดประดอยขนมสวยงาม และอร่อยทั้งหลาย ว่าเป็นฝีมืองามเลิศของสตรีชาววังสมัยนั้น พระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่องคาวหวานตอนหนึ่งว่า
    น้อยหน่านำเมล็ดออก ปล้อนเปลือกปอกเป็นอัศจรรย์
มือใครไหนจักทัน เทียบเทียมที่ฝีมือนาง
ผลเงาะไม่งามแงะ มล่อนเมล็ด และเหลือปัญหา

หวนเห็นเช่นรจนา จำเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม (กรมวิชาการ, 2530 : 17)
     และทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง สังข์ทอง พระองค์ทรงบรรยายตอนนางจันทร์เทวี แกะสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวของนางกับพระสังข์ นอกจากนั้นยังมีปรากฏในวรรณกรรมไทยแทบ ทุกเรื่อง เมื่อเอ่ยถึงตัวนางซึ่งเป็นตัวเอกของเรื่องว่า มีคุณสมบัติของกุลสตรี เพรียกพร้อมด้วยฝีมือการปรุงแต่งประกอบอาหารประดิดประดอยให้สวยงามทั้งมีฝีมือในการประดิษฐ์งานช่างทั้งปวง ทำให้ทราบว่า กุลสตรีสมัยนั้นได้รับการฝึกฝนให้พิถีพิถันกับการจัดตกแต่งผัก ผลไม้ และการปรุงแต่งอาหารเป็นพิเศษ จากข้อความนี้น่าจะเป็นที่ยืนยันได้ว่า การแกะสลักผัก ผลไม้ เป็นศิลปะของไทยที่กุลสตรีในสมัยก่อนมีการฝึกหัด เรียนรู้ผู้ใดฝึกหัดจนเกิดความชำนาญ ก็จะได้รับการยกย่อง
    ปัจจุบันวิชาการช่างฝีมือเหล่านี้ ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตร ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษามาจนถึงอุดมศึกษาเป็นลำดับ ประกอบกับรัฐบาลและภาคเอกชนได้ให้การสนับสนุน จึงมีการอนุรักษ์ศิลปะต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะการแกะสลักผลงานประเภทเครื่องจิ้ม จนกระทั่งงานแกะสลักได้กลายเป็นสิ่งที่ต้องประดิษฐ์ ตกแต่งบนโต๊ะอาหารในการจัดเลี้ยงแขกต่างประเทศ ตามโรงแรมใหญ่ ๆ ภัตตาคาร ตลอดจนร้านอาหาร ก็จะใช้งานศิลปะการแกะสลักเข้าไปผสมผสานเพื่อให้เกิดความสวยงาม หรูหรา และประทับใจแก่แขกในงาน หรือสถานที่นั้น ๆ งานแกะสลักผลไม้ จึงมีส่วนช่วยตกแต่งอาหารได้มาก คงเป็นเช่นนี้ตลอดไป

แล้วเราก็มีรูปสวยๆ ที่เป็นผลงานของคนอื่นนะคะ (เพราะว่าฝีมือเรายังไม่เข้าขั้นเท่าไหร่ ไม่กล้าเอาลง แหะๆ)

ชอบมากๆเลย หงส์คู่นี้เราได้แกะส่งอาจารย์วรรณี ได้คะแนนเต็มด้วย ดีใจจังค่ะ(รูปจากอินเตอร์เน็ตนะคะ)

ส่วนดอกไม้รวมนี้เป็นผลงานของคนในศูนย์ศิลปกรรมอาหารไทยนะคะ สวยมาก ชอบมากๆ

อยากฝีมือได้เท่านี้จัง ต้องหมั่นฝึกฝนๆ

 

งดงามมากๆ พื้นฐานการแกะสลักเลยค่ะ ดอกรักเร่

เพื่อนๆคนไหน ที่รักการแกะสลักอย่างเรา ก็มาคุยกันได้นะคะ พอให้คำแนะนำได้ค่ะ แล้วเราจะมาพบกันในตอนหน้านะคะ

 แล้วพบกันตอนหน้าค่ะ

สร้างโดย: 
bp26384ab

อยากเป็นสมาชิก   รับรู้ข้อมูลใหม่ขอฝากตัวด้วยนะคะ

หนูอยากทำได้หาคนสอนทำอย่างนี้อย๋

 

ก็สวยดีน่ะ  แต่ท่าทำเอง ก็ดูจะภูมใจมากว่านี้อ่ะ

 

สวยจังยากเปล่าเนี่ย

รูปภาพของ bp26369

เป็นเนื้อหาที่ได้รับความรู้มากเลยครับ

ว่างๆ มาสอนให้เพื่อนๆ หัดทำบ้างนะครับ

นี่ก็ดึกแพอดูแล้วนะครับ

อย่านอนดึกล่ะครับ

ว่างๆ มาลงความเห็นของผมบ้างนะครับ

สวัสดีครับ

ภาพเคลื่อนไหว

รูปภาพของ bprorachorn

เห็นแล้ว ทานไม่ลง (เสียดาย...จัง )

เอาอีกๆๆๆๆ อยากดูรูปสวยๆ

รูปภาพของ bp26393

ฝีมือสุดยอดจริงๆเลยค่ะ

เทียบกับมืออาชีพได้เลยนะคะเนี่ย

ว่างก็มาสอนกันบ้างนะคะ

แกะได้สวยมากค่ะ
มีรูปภาพแกะสลักจากงานประกวดแกะสลักผักผลไม้ งาน Food and Hotel Thailand 2009
สวยๆ มากมายมากฝาก อยู่ที่เวปนี้ค่ะ
http://www.thaicarvingart.com/aticle16.html

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 321 คน กำลังออนไลน์