• user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: SELECT data, created, headers, expire, serialized FROM cache_filter WHERE cid = '3:a0f5a9a5bb5f21677de4c3f1339b57d2' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 27.
  • user warning: Table 'cache_filter' is marked as crashed and should be repaired query: UPDATE cache_filter SET data = '<!--paging_filter--><p></p><P>เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนนเรศวร และทรงเยี่ยมราษฎร ณ บริเวณเขื่อนนเรศวร บ้านหาดใหญ่ ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน ดังต่อไปนี้</p><br />\n<P>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;1.&nbsp; ควรพิจารณาวางโครงบริเวณตอนเหนือของทุ่งสาน เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรหมู่บ้านต่างๆ นอกเขตชลประทานทุ่งสาน ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณทุ่งสานตอนบน และตอนกลาง สามารถมีน้ำทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝน-ฤดูแล้ง และมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคสำหรับราษฎรหมู่บ้านต่างๆ ดังกล่าวตลอดปี นอกจากนั้นยังจะช่วยบรรเทาอุทกภัยสำหรับพื้นที่เพาะปลูกบริเวณทุ่งสานอีกด้วย</p><br />\n<P>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;2. ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำแควน้อย ในเขตอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยเร่งด่วน เขื่อนเก็บกักน้ำแควน้อยนี้ควรพิจารณาวางโครงการให้เก็บกักน้ำไว้อย่างเต็มที่ เพื่อการบรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่าง และจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการชลประทานพิษณุโลก และโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ต่อไป สำหรับเขื่อนเก็บกักน้ำแควน้อยนี้ การพลังงานแห่งชาติกำลังศึกษาและจัดทำรายงานความเหมาะสมของโครงการอยู่ และจะได้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป</p><br />\n<P>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;3. ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตามลำน้ำสาขาต่างๆ ของแควน้อยตอนล่าง บริเวณท้ายเขื่อนเก็บกักน้ำแควน้อย เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรหมู่บ้านต่างๆ ในเขตอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ประมาณ 19,000 ไร่ สามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี นอกจากนั้นยังจะช่วยบรรเทาอุทกภัยแก่พื้นที่เพาะปลูกบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำต่างๆ ดังกล่าวอีกด้วย</p><br />\n<P>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ในปี พ.ศ.2526 สำนักงานพลังงานแห่งชาติ&nbsp; ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลียในการว่าจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา REDECON AUSTRALIA Pty.,Ltd., ดำเนินการศึกษาจัดทำรายงานความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2530&nbsp;&nbsp;ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 กรมชลประทานได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาโครงการเขื่อนแควน้อยต่อจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย &nbsp;เดือนกันยายน พ.ศ.2536&nbsp; กรมชลประทานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ได้แก่ บริษัท ปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท รีซอลส์เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสม และบริษัท เทสโก้ จำกัด&nbsp;เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการประชาสัมพันธ์ โดยดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p><br />\n<P>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2538 ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “.....ส่วนที่พิษณุโลกก็มีน้ำไหลลงมาจากข้าง ๆ อีกสายหนึ่ง แควน้อยซึ่งจะต้องทำ....อันนี้ก็ยังไม่ได้ทำ ซี่งจะต้องทำ เพื่อเก็บกักน้ำที่มาจากอำเภอชาติตระการ&nbsp; อาจจะมีคนค้านว่าทำไมทำเขื่อนพวกนี้แล้วมีประโยชน์อะไร ก็เห็นแล้วประโยชน์ของเขื่อนใหญ่เขื่อนนี้ ถ้าไม่มี 2 เขื่อนนี้ ที่นี่น้ำจะท่วมยิ่งกว่า จะไม่ท่วมเพียงแค่นี้ จะท่วมทั้งหมด.....”</p><br />\n<P>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; การออกแบบรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2545&nbsp; รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการได้ผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติเห็นชอบรายงาน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2545 &nbsp;และคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อย เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2546</p><br />\n<P>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในพิธีน้อมเกล้าฯ ถวายโครงการปลูกป่าถาวร จำนวน 1 ล้านไร่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ในส่วนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ณ พื้นที่ป่าชายเลนแปลงปลูกป่า FPT 29 และ 29/3 อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้พระราชทานพระราชดำริให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อย อำเภอวัดโบสถ์&nbsp; จังหวัดพิษณุโลก&nbsp; กรมชลประทานจึงได้วางแผนงานที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.พิษณุโลก ในปี 2546 - 2554 ระยะเวลาดำเนินการ 9 ปี โดยในปี 2546&nbsp; จะขอใช้งบประมาณจาก กปร. และใช้งบประมาณปกติก่อสร้างโครงการในปีต่อๆ ไปจนแล้วเสร็จ</p><br />\n<P>&nbsp;</p><br />\n<P><STRONG>วัตถุประสงค์ของโครงการ</strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p><br />\n<P>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 1.&nbsp; เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง สำหรับพื้นที่เพาะปลูกในลุ่มน้ำแควน้อย รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเสริมการเพาะปลูกในฤดูแล้งของพื้นที่โครงการเจ้าพระยา<BR />&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2. &nbsp;เพื่อช่วยบรรเทาอุทกภัยบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่าง&nbsp; โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเมือง และอำเภอวังทอง&nbsp;</p><br />\n<P>&nbsp;</p><br />\n<P><STRONG>สภาพทั่วไป</strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;</p><br />\n<P>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แม่น้ำแควน้อยเป็นลุ่มน้ำสาขาย่อยฝั่งซ้ายของแม่น้ำน่าน มีต้นน้ำอยู่ที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ไหลผ่านอำเภอวัดโบสถ์ บนนจบแม่น้ำน่านที่อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก&nbsp; สภาพพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำแควน้อย ประมาณ 200,000 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี&nbsp; ราษฎรส่วนใหญ่ 80% &nbsp;เป็นเกษตรกรที่มีรายได้ต่ำ ทำนาได้ครั้งเดียวในฤดูฝน แต่มักได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วม โดยมีพื้นที่ประมาณ 75,000 ไร่ ในเขตอำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม และอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มักเกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเป็นลำดับ</p><br />\n<P>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; โครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีเป้าหมายหลักเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึง ยังจะเป็นแหล่งน้ำสนับสนุนให้กับพื้นที่ชลประทานฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำแควน้อย ส่งน้ำเสริมให้กับพื้นที่เพาะปลูกของโครงการเจ้าพระยาใหญ่ เป็นแหล่งน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภค บริโภค&nbsp; นอกจากนี้ ยังได้สร้างเขื่อนทดน้ำพญาแมน เพื่อช่วยยกระดับน้ำเข้าคลองชลประทาน ส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก คือ อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอพรหมพิราม อำเภอวังทอง และอำเภอเมือง&nbsp;</p><br />\n<P><STRONG>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2552&nbsp; นายชูชาติ ฉุยกลม ผู้อำนวยสำนักก่อสร้าง 2 โครงการเขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า</strong> สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ได้ส่งหนังสือ เลขที่ รล.005.2/13227 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น<STRONG> เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน</strong> ซึ่งหมายถึง <STRONG>\"เขื่อนแควน้อยที่ทำให้มีความเจริญขึ้นในเขตพื้นที่\"</strong> สำหรับเขื่อนทดน้ำพญาแมน ทรงพระราชดำรัสเห็นควรให้ใช้ชื่อเดิม<BR /><BR /><BR /></p>\n', created = 1727558207, expire = 1727644607, headers = '', serialized = 0 WHERE cid = '3:a0f5a9a5bb5f21677de4c3f1339b57d2' in /home/tgv/htdocs/includes/cache.inc on line 112.

โครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเขื่อนนเรศวร และทรงเยี่ยมราษฎร ณ บริเวณเขื่อนนเรศวร บ้านหาดใหญ่ ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับงานชลประทาน ดังต่อไปนี้


          1.  ควรพิจารณาวางโครงบริเวณตอนเหนือของทุ่งสาน เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรหมู่บ้านต่างๆ นอกเขตชลประทานทุ่งสาน ซึ่งเป็นพื้นที่บริเวณทุ่งสานตอนบน และตอนกลาง สามารถมีน้ำทำการเพาะปลูกได้ทั้งในฤดูฝน-ฤดูแล้ง และมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคสำหรับราษฎรหมู่บ้านต่างๆ ดังกล่าวตลอดปี นอกจากนั้นยังจะช่วยบรรเทาอุทกภัยสำหรับพื้นที่เพาะปลูกบริเวณทุ่งสานอีกด้วย


          2. ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำแควน้อย ในเขตอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก โดยเร่งด่วน เขื่อนเก็บกักน้ำแควน้อยนี้ควรพิจารณาวางโครงการให้เก็บกักน้ำไว้อย่างเต็มที่ เพื่อการบรรเทาอุทกภัยในเขตลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่าง และจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการชลประทานพิษณุโลก และโครงการชลประทานเจ้าพระยาใหญ่ ให้ได้ผลอย่างสมบูรณ์ต่อไป สำหรับเขื่อนเก็บกักน้ำแควน้อยนี้ การพลังงานแห่งชาติกำลังศึกษาและจัดทำรายงานความเหมาะสมของโครงการอยู่ และจะได้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป


          3. ควรพิจารณาวางโครงการและก่อสร้างอ่างเก็บน้ำตามลำน้ำสาขาต่างๆ ของแควน้อยตอนล่าง บริเวณท้ายเขื่อนเก็บกักน้ำแควน้อย เพื่อจัดหาน้ำให้ราษฎรหมู่บ้านต่างๆ ในเขตอำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก พื้นที่ประมาณ 19,000 ไร่ สามารถทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี นอกจากนั้นยังจะช่วยบรรเทาอุทกภัยแก่พื้นที่เพาะปลูกบริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำต่างๆ ดังกล่าวอีกด้วย


          ในปี พ.ศ.2526 สำนักงานพลังงานแห่งชาติ  ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลียในการว่าจ้างบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา REDECON AUSTRALIA Pty.,Ltd., ดำเนินการศึกษาจัดทำรายงานความเหมาะสมและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ซึ่งแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2530  ต่อมา ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 กรมชลประทานได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินการศึกษาโครงการเขื่อนแควน้อยต่อจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  เดือนกันยายน พ.ศ.2536  กรมชลประทานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ได้แก่ บริษัท ปัญญาคอนซัลแตนท์ จำกัด บริษัท รีซอลส์เอ็นจิเนียริ่งคอนซัลแตนท์ จำกัด เพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสม และบริษัท เทสโก้ จำกัด เพื่อศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการประชาสัมพันธ์ โดยดำเนินการแล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538     


          วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2538 ณ ศาลาดุสิตาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า “.....ส่วนที่พิษณุโลกก็มีน้ำไหลลงมาจากข้าง ๆ อีกสายหนึ่ง แควน้อยซึ่งจะต้องทำ....อันนี้ก็ยังไม่ได้ทำ ซี่งจะต้องทำ เพื่อเก็บกักน้ำที่มาจากอำเภอชาติตระการ  อาจจะมีคนค้านว่าทำไมทำเขื่อนพวกนี้แล้วมีประโยชน์อะไร ก็เห็นแล้วประโยชน์ของเขื่อนใหญ่เขื่อนนี้ ถ้าไม่มี 2 เขื่อนนี้ ที่นี่น้ำจะท่วมยิ่งกว่า จะไม่ท่วมเพียงแค่นี้ จะท่วมทั้งหมด.....”


          การออกแบบรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2545  รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการได้ผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนและคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ มีมติเห็นชอบรายงาน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2545  และคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อย เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2546


          วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2545 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปในพิธีน้อมเกล้าฯ ถวายโครงการปลูกป่าถาวร จำนวน 1 ล้านไร่ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์เป็นปีที่ 50 ในส่วนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ณ พื้นที่ป่าชายเลนแปลงปลูกป่า FPT 29 และ 29/3 อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้พระราชทานพระราชดำริให้ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี ให้พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อย อำเภอวัดโบสถ์  จังหวัดพิษณุโลก  กรมชลประทานจึงได้วางแผนงานที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.พิษณุโลก ในปี 2546 - 2554 ระยะเวลาดำเนินการ 9 ปี โดยในปี 2546  จะขอใช้งบประมาณจาก กปร. และใช้งบประมาณปกติก่อสร้างโครงการในปีต่อๆ ไปจนแล้วเสร็จ


 


วัตถุประสงค์ของโครงการ          


          1.  เพื่อเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเพาะปลูกทั้งในฤดูฝนและฤดูแล้ง สำหรับพื้นที่เพาะปลูกในลุ่มน้ำแควน้อย รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำเสริมการเพาะปลูกในฤดูแล้งของพื้นที่โครงการเจ้าพระยา
          2.  เพื่อช่วยบรรเทาอุทกภัยบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำแควน้อยตอนล่าง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอำเภอวัดโบสถ์ อำเภอเมือง และอำเภอวังทอง 


 


สภาพทั่วไป       


          แม่น้ำแควน้อยเป็นลุ่มน้ำสาขาย่อยฝั่งซ้ายของแม่น้ำน่าน มีต้นน้ำอยู่ที่อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ไหลผ่านอำเภอวัดโบสถ์ บนนจบแม่น้ำน่านที่อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก  สภาพพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำแควน้อย ประมาณ 200,000 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่ประสบปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี  ราษฎรส่วนใหญ่ 80%  เป็นเกษตรกรที่มีรายได้ต่ำ ทำนาได้ครั้งเดียวในฤดูฝน แต่มักได้รับความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วม โดยมีพื้นที่ประมาณ 75,000 ไร่ ในเขตอำเภอวัดโบสถ์ อำเภอวังทอง อำเภอพรหมพิราม และอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มักเกิดปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มจะทวีความรุนแรงเป็นลำดับ


          โครงการเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีเป้าหมายหลักเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย โดยเฉพาะในเขตพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึง ยังจะเป็นแหล่งน้ำสนับสนุนให้กับพื้นที่ชลประทานฝั่งซ้ายและฝั่งขวาของแม่น้ำแควน้อย ส่งน้ำเสริมให้กับพื้นที่เพาะปลูกของโครงการเจ้าพระยาใหญ่ เป็นแหล่งน้ำใช้ในการเกษตร การอุปโภค บริโภค  นอกจากนี้ ยังได้สร้างเขื่อนทดน้ำพญาแมน เพื่อช่วยยกระดับน้ำเข้าคลองชลประทาน ส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร 4 อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก คือ อำเภอวัดโบสถ์ อำเภอพรหมพิราม อำเภอวังทอง และอำเภอเมือง 


          เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2552  นายชูชาติ ฉุยกลม ผู้อำนวยสำนักก่อสร้าง 2 โครงการเขื่อนแควน้อย จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า สำนักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวัง ได้ส่งหนังสือ เลขที่ รล.005.2/13227 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อเขื่อนแควน้อยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็น เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ซึ่งหมายถึง "เขื่อนแควน้อยที่ทำให้มีความเจริญขึ้นในเขตพื้นที่" สำหรับเขื่อนทดน้ำพญาแมน ทรงพระราชดำรัสเห็นควรให้ใช้ชื่อเดิม


มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 271 คน กำลังออนไลน์