โครงการวิจัยขอรับทุนมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

 

 

โครงการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อขอรับทุนสนับสนุนจากโครงการพัฒนาครู

มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

  1. 1.  ชื่อเรื่อง

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

  1. 2.  ชื่อผู้วิจัย

นายสุริยา  บุดดี

สังกัด

โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม

 

  1. 3.    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้เน้นย้ำถึงเหตุผลและความจำเป็นของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ว่าเป็นการศึกษาที่มุ่งหวังให้ผู้เรียน ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ โดยใช้กระบวนการในการสืบเสาะหาความรู้ และการแก้ปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ทุกขั้นตอนมีการทำกิจกรรมด้วยการลงมือปฏิบัติจริงอย่างหลากหลาย เหมาะสมกับระดับชั้น

 แม้ว่าวิทยาศาสตร์จะมีความจำเป็นและความสำคัญมากเพียงไรก็ตามแต่เป้าหมายในการจัดการศึกษายังขัดแย้งกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยจากการศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่ผ่านมาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ปีการศึกษา 2557 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ร้อยละ70 มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 61.15 จะเห็นได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ยังไม่เป็นที่น่าพอใจดังนั้นจึงควรพัฒนาและแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนต่อไปและเมื่อพิจารณาคะแนนเฉลี่ยของหน่วยการเรียนรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม ปีการศึกษา 2557 พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยของบางหน่วยการเรียนรู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยที่ค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ในปีการศึกษา 2557 มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าหน่วยการเรียนรู้อื่นและมีแนวโน้มลดลง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหน่วยการเรียนรู้ดังกล่าวต้องได้รับการแก้ไขเป็นอันดับแรก  ทั้งนี้ในฐานะครูผู้สอนได้วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาดังกล่าว พบว่านักเรียนมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่ดี ไม่ใฝ่รู้และขาดทักษะในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ไม่สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สื่อการเรียนการสอนยังไม่หลากหลาย ไม่สนองความต้องการของนักเรียน ทำให้นักเรียนไม่สนใจ สื่อการเรียนการสอนที่ใช้ในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนยังไม่ส่งผลให้นักเรียนเกิดความรู้อย่างถาวร จนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ยังไม่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ และเครื่องมือการวัดผลและประเมินผลยังไม่ชัดเจน

                ครูผู้สอนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวข้างต้นและได้แสวงหาแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อจะช่วยให้นักเรียนได้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตระหนักถึงคุณค่าของวิทยาศาสตร์ และเห็นประโยชน์ในการนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ วิธีหนึ่งคือการพัฒนานวัตกรรมหรือนำวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อมุ่งพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้และแก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียนจึงเป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมเป็นอย่างมาก  เพราะการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในปัจจุบันจะแตกต่างจากในอดีตที่ครูเป็น ผู้บอก ครูเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมการเรียนการสอน แต่บทบาทของครูจะเปลี่ยนไปกลายเป็น ผู้คอยชี้แนะให้ความช่วยเหลือให้นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนาไปตามความรู้ความสามารถของตนเอง  การใช้นวัตกรรมและวิธีการใหม่ๆที่เหมาะสมจะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มศักยภาพ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ก็เป็นนวัตกรรมหนึ่งซึ่งเป็นชุดของสื่อประสม  การใช้สื่อการสอนตั้งแต่สองชนิดนั้นไปร่วมกันเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ตามที่ต้องการ  สื่อที่นำมาใช้ร่วมกันนั้นจะช่วยเสริมประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  ตามลำดับชั้นที่จัดเอาไว้ และชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีความสำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะสื่อประสมที่ได้จัดไว้ในระบบเป็นการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและช่วยรักษาระดับความสนใจของผู้เรียนตลอดเวลาและเปิดโอกาสให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเอง ทำให้มีทักษะในการแสวงหาความรู้พิจารณาข้อมูล ฝึกความรับผิดชอบและการตัดสินใจ

จากสาเหตุและปัญหาที่พบดังกล่าวครูผู้สอนจึงได้จัดทำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้นต่อไป

 

  1. 4.    วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                   1.  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ      

วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน  80/80 

                2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

                3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ

                4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ  วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 

  1. 5.    สมมติฐานของการวิจัย

                 นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

 

  1. 6.    ขอบเขตของการวิจัย
    1. ประชากร  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2558 จำนวน 120  คน
    2. กลุ่มตัวอย่าง  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/3 โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36  ภาคเรียนที่  1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 41 คน    กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบเกาะกลุ่ม(Cluster sampling)โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม(Sampling Unit) จำนวน 1 ห้องเรียน จากห้องเรียนทั้งหมด 3 ห้องเรียน
    3. ตัวแปรที่ศึกษาในการวิจัยครั้งนี้

3.1  ตัวแปรอิสระ ได้แก่  การเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ       วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

3.2  ตัวแปรตาม ได้แก่  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3           

  1. ระยะเวลาที่ใช้ชุดฝึกทักษะการสังเกต    ระยะเวลาในการศึกษา คือ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 รวมจำนวน 18 ชั่วโมง
  2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล  ได้แก่  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่ 3 , แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ    วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 , แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  3. เนื้อหาสาระ  ความเร่งและผลของแรงลัพธ์, แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา, แรงเสียดทาน, แรงพยุง, โมเมนต์ของแรง, การเคลื่อนที่แบบต่างๆของวัตถุ

 

  1. 7.    ข้อตกลงเบื้องต้น

         การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้จะต้องให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริงตามขั้นตอนที่กำหนด    

 

  1. 8.    คำจำกัดความที่ใช้ในการวิจัย
    1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หมายถึง ชุดสื่อการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย ชื่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้  คำนำ  สารบัญ  คำชี้แจง  ลำดับขั้นการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระสำคัญ  ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม แบบทดสอบหลังเรียน เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน เฉลยบัตรกิจกรรม บรรณานุกรม         2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง  คะแนนจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังจากเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ  .                                                                                                                                        

 

  1. 9.     ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษา  ปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับผู้เรียน                                                                                             2. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ที่สูงขึ้น

 

  1. 10.    ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย

2 เดือน 

ตั้งแต่  มิถุนายน ถึง  กรกฎาคม 2558

 

  1. 11.    วิธีดำเนินการวิจัย

1)      สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยแบ่งเป็น 6 หน่วย ดังนี้

หน่วยที่ 1 ความเร่งและผลของแรงลัพธ์

หน่วยที่ 2 แรงปฏิกิริยาและแรงปฏิกิริยา

หน่วยที่ 3 แรงเสียดทาน

หน่วยที่ 4 แรงพยุง

หน่วยที่ 5 โมเมนต์ของแรง

หน่วยที่ 6 การเคลื่อนที่แบบต่างๆของวัตถุ

ในแต่ละชุดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบด้วย ชื่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้  คำนำ  สารบัญ  คำชี้แจง  ลำดับขั้นการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สาระสำคัญ  ตัวชี้วัด จุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม แบบทดสอบหลังเรียน เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน เฉลยบัตรกิจกรรม บรรณานุกรม  

2)      ให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินตรวจสอบความถูกต้องเหมาะสมของเนื้อหาสาระ กิจกรรมในชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และตรวจสอบเครื่องมือวัด แล้วรวบรวมผลการตรวจสอบเชิงเนื้อหาเพื่อการปรับปรุงเบื้องต้น

3)      นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปทดลองกับนักเรียน กลุ่มเล็ก10 คน เพื่อหา ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สูตรหาประสิทธิภาพ E1  / E2

            สำหรับการหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สูตร

            E1  / E2ได้กำหนดเกณฑ์ไว้เป็น 80/80

                 E1     คือ (คะแนนเฉลี่ยระหว่างการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้/คะแนนเต็ม) คูณ 100

                  E2    คือ (คะแนนเฉลี่ยหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้/คะแนนเต็ม) คูณ 100

4)      จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาที่จะนำเอาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ไปใช้ในกระบวนการเรียนการสอน รวมทั้งสิ้น 18 ชั่วโมง

5)      นำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านการหาประสิทธิภาพแล้วไปใช้สอนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 1 ห้อง โดยใช้แบบการทดลอง O1  x O2 ซึ่งเป็นการทดลองใช้กลุ่มตัวอย่างเดียวมีการวัดผล 2 ครั้ง คือ ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

6)      .ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้

7)      รวบรวมข้อมูลจากการวัดก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้

8)      การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สถิติ t-test

 

  1. 12.    เอกสารอ้างอิง

 

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.  หลักสูตรแกนกลาง          การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.  กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,     2551.                                                                                                                       บุญเกื้อ  ควรหาเวช. นวัตกรรมการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือ  จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย,            2550.                                                                                                                                 บุญชม  ศรีสะอาด.  การวิจัยเบื้องต้น.  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น์, 2552.                                                  ยุทธ  ไกยวรรณ์.  พื้นฐานการวิจัย.  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น, 2552.                                                      โรม  วงศ์ประเสริฐ.  เทคนิคการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนด้วยกิจกรรม.  กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์, 2552.   

 

  1. 13.    งบประมาณ

 

ที่

รายการ

รายละเอียด

จำนวนเงิน (บาท)

1

ค่าวัสดุอุปกรณ์

อุปกรณ์สำหรับสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้

2,500.00

2

ค่าจัดทำเอกสาร

-   ค่าถ่ายเอกสาร

-   ค่าจัดทำรายงาน

200

300

3

ค่าใช้สอยอื่นๆ

ไม่มี

0

รวม (=สามพันบาทถ้วน =)

3,000.00

 

ลงชื่อ ..........................................................

                (นายสุริยา  บุดดี)

วันที่ 25 มีนาคม 2558

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 319 คน กำลังออนไลน์