รายงานทัศนศึกษาสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์

บทที่  1

บทนำ

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

                    ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550  หมวด 3  มาตรา 49 ได้บัญญัติไว้ว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ.2553  มาตรา 10 วรรค 1 ได้บัญญัติไว้ว่า “การจัดการศึกษาต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึง และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบกับคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ได้กำหนดเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการตามเจตนารมณ์ดังกล่าว ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 ต่อเนื่องมาจนถึงปีการศึกษา 2557 โดยรัฐบาลได้กำหนดนโยบายสังคมและคุณภาพชีวิต ข้อ 2 สร้างโอกาสทางการศึกษา กระจายโอกาสทางการศึกษาในสังคมไทยโดยคำนึงถึงการสร้างความเสมอภาคและความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นแก่ประชากรทุกกลุ่ม ซึ่งรวมถึงผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ผู้บกพร่องทางกายและการเรียนรู้ รวมทั้งชนกลุ่มน้อย โดยส่งเสริมการให้ความรู้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาถึงแรกเกิด ให้ได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งแม่และเด็ก สนับสนุนการจัดการศึกษาตามวัยและพัฒนาการอย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้มีระบบสะสมผลการศึกษาและการเทียบโอนเพื่อขยายโอกาสให้กว้างขวางและลดปัญหาคนออกจากระบบการศึกษา

                    กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการตามเจตนารมณ์ดังกล่าวข้างต้นโดยจัดทำโครงการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานขึ้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มตามศักยภาพ

               การที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ได้นั้น  แหล่งการเรียนรู้เป็นสิ่งสำคัญ ดังใน มาตรา 25 กล่าวว่า รัฐต้องส่งเสริมการดำเนินงานและการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ ได้แก่ ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์      หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤษศาสตร์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ และแหล่งการเรียนรู้อื่นอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาสถานที่ให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ภายในโรงเรียน เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนได้รับการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ปฏิบัติจริง และเกิดความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง  การเรียนรู้ในปัจจุบันหากใช้กระบวนการเรียนการสอนในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถพัฒนากรอบแนวคิดได้เท่าที่ควร  

                จากเหตุผลดังกล่าว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม จึงได้จัดโครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม  พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งให้สอดคล้องและสนองนโยบายการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่จะส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ นอกห้องเรียน  เกิดทักษะจากประสบการณ์จริง  สามารถนำประสบการณ์มา วิเคราะห์และพัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมและมีความสุข

 

วัตถุประสงค์

                1. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากแหล่งเรียนรู้จริงและมีประสบการณ์เรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริง

          2. เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้จากสถานประกอบการ สถาบัน และหน่วยงานที่ส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          3. เพื่อให้นักเรียนมีโลกทัศน์ วิสัยทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ที่กว้างไกลและมีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์

 

ขอบเขตของการดำเนินงาน

                1.  ประชากร

                              ประชากรที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 29 คนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 จำนวน 31 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 40 คน และคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 10 คน รวม 110 คน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

                2.  สถานที่ในการจัดกิจกรรม  

                              ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม  พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ และสวนสัตว์เชียงใหม่

                3.  ระยะเวลาที่ใช้ในจัดกิจกรรม 

                            วันที่ 23  เดือน สิงหาคม พ.ศ. 2557

 

 

 

 

 

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.  ทัศนศึกษา หมายถึง กิจกรรมศึกษาตามแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ตรงให้กับนักเรียนที่เพิ่มเติมจากการเรียนในห้องเรียน เพื่อให้นักเรียนมีความรู้และประสบการณ์อย่างกว้างขวาง

                2.  แหล่งเรียนรู้ หมายถึง  แหล่งความรู้ต่างๆ  ในชุมชนที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่ตั้งอยู่ อาจเป็นชุมชนในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่และเป็นของชุมชน เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

                3.  นักเรียน หมายถึง  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 29 คนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 จำนวน 31 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 40 คน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 100 คน

                4.  โรงเรียน หมายถึง โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36               5.  องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)  หมายถึง  สถานที่ให้ความรู้และความเพลิดเพลินของครอบครัว รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ที่กระตุ้นและส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ การพัฒนาประเทศ และปลูกฝังให้เยาชนมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                6.  สวนสัตว์เชียงใหม่ หมายถึง  สถานที่ที่ ตั้ง อยู่บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ บนถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 น. - 17.00 น. สวนสัตว์เชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 531 ไร่ เป็นสถานที่เหมาะ สำหรับ การพักผ่อนพร้อมกับสัมผัสสัตว์นานาชนิดกว่า 7,000 ตัว ท่ามกลางกลิ่นไอของ ขุนเขา

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดกิจกรรม

                1.   นักเรียนมีความรู้ในเรื่องวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจากแหล่งเรียนรู้
               2.   นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
               3.   นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อวิชาวิทยาศาสตร์

               4.   นักเรียนมีโลกทัศน์ที่กว้างไกลยิ่งขึ้น

 

 


 

 

บทที่  2

 

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

                โครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ผู้จัดทำโครงการได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและหลัการต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้

                    1.  ทัศนศึกษา

                            1.1 ความหมายของทัศนศึกษา

                            1.2 หลักในการจัดทัศนศึกษา

                            1.3 ประโยชน์และคุณค่าจากการไปทัศนศึกษา

                    2. แหล่งเรียนรู้

                           2.1  ความหมายของแหล่งเรียนรู้

                           2.2  ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้

                           2.3  ประเภทของแหล่งเรียนรู้

                    3.  แหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ที่ศึกษา

                            3.1 องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)  

                            3.2  สวนสัตว์เชียงใหม่

 

ทัศนศึกษา

                ความหมายของทัศนศึกษา

                ศิริวรรณ ศรีพหล (2553) ได้ให้ความหมาย การไปทัศนศึกษาและดูงานนอกสถานที่ว่าหมายถึง การศึกษาที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้สัมผัสสภาพอันแท้จริงของสิ่งที่ได้ศึกษาไปแล้ว หรือกำลังศึกษาอยู่ วิธีการสอนนี้มุ่งเน้นการส่งเสริมความเข้าใจในหลักการ ทฤษฎี เนื้อหาสาระที่ได้เรียนในชั้นเรียนก่อนไปศึกษานอกสถานที่  การศึกษาและดูงานนอกสถานที่จึงเป็นการไปดูหรือศึกษาในสิ่งที่น่าสนใจ

                วรลักษณ์ รัตติกาลชลาการ (2553) ได้ให้ความหมายการไปทัศนศึกษาและดูงานนอกสถานที่      ว่าหมายถึงการพาผู้เรียนไปศึกษานอกสถานที่ที่เรียน เพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียน เป็นการนำชุมชนกับโรงเรียนเข้ามาเกี่ยวข้องกันโดยใช้แหล่งวัสดุจริงที่ผู้เรียนกับผู้สอนสามารถศึกษาและก่อให้เกิดการเรียนรู้ และประสบการณ์ที่เป็นจริงได้มาก

                ทิศนา  แขมมณี (2554) ได้ให้ความหมายของการไปทัศนศึกษา ว่าหมายถึงกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด  โดยผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันวางแผนและเดินทางไปศึกษาเรียนรู้ ณ สถานที่อันเป็นแหล่งความรู้ในเรื่องนั้น(ซึ่งอยู่นอกสถานที่ที่เรียนกันอยู่ตามปกติ) โดยมีการศึกษาตามกระบวนการหรือวิธีการที่ได้วางแผนไว้และมีการอภิปรายสรุปผลการเรียนรู้จากข้อมูลที่ได้ศึกษามา

                สรุปได้ว่า การไปทัศนศึกษาหรือดูงานนอกสถานที่ คือ การฝึกฝนพัฒนาฉะนั้น ทัศนะศึกษาคือ การศึกษาโดยการดู ได้ยินและได้สัมผัสจากประสบการณ์ตรงนอกห้องเรียนปกติของผู้เรียน  อันก่อให้เกิดความเข้าใจและจดจำสิ่งที่ได้พบเห็นในเวลาอันรวดเร็วและเป็นเวลานาน

 

หลักการในการจัดทัศนศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ (2554)  กล่าวว่า หลักการในการจัดทัศนศึกษา มีดังนี้

  1. มีการจัดให้ผู้เรียนเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เห็นประจักษ์ด้วยตาของตนเอง
  2. มีการเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับการเรียนรู้ใหม่ นำไปสู่การปรับใช้ในการ

ดำรงชีวิตในสังคม

  1. มีการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะของผู้เรียนในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ทักษะ

ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การตรงต่อเวลา ความมีระเบียบวินัย การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ความมีมนุษยสัมพันธ์ การปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และกาลเทศะ การรู้จักสังเกต และทักษะการแก้ปัญหา เป็นต้น

  1. มีการเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์อันกว้างไกล และมีความรู้สึกสนุกสนาน

ในการเรียนรู้

 

ประโยชน์และคุณค่าจากการไปทัศนศึกษา

กระทรวงศึกษาธิการ (2554)  กล่าวว่า หลักการในการจัดทัศนศึกษา มีดังนี้

                1.  สามารถนำไปเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนได้หลายวิชา และหลายระดับชั้น

                2.  ช่วยให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาที่ศึกษาและความหมายได้ดียิ่งขึ้นในลักษณะที่

เป็นความรู้ที่คงทนถาวร

  1. สามารถเปลี่ยนทัศนคติให้เป็นทัศนคติที่พึงประสงค์ เช่น สามารถปลูกฝังเยาวชนให้

หวงแหน ภาคภูมิใจ และรักษาศิลปะวัฒนธรรมของชาติ

                4.  ช่วยสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนรู้  ช่วยสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน

                5.  เป็นการเรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองชอบ

                6.  ช่วยให้ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน  ครู และนักเรียนกับชุมชนดียิ่งขึ้น

                7.  ช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ในกลุ่มนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น

                8.  ช่วยให้ครูและนักเรียนมีความเข้าใจหรือใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

                9.  ช่วยให้นักเรียนรู้จักโลกภายนอก (นอกห้องเรียน) มากยิ่งขึ้น ช่วยให้รู้จักการปรับตัว

ให้เข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ในสังคม

                10.  ช่วยเพิ่มพูนทักษะการสังเกต การฟังและการพูด

                11.  ช่วยพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการสังเกต

                12.  ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบมากขึ้น  ทั้งความรับผิดชอบต่อตนเอง

และต่อกลุ่ม

                13.  ช่วยส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการ ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ

                14.  ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง

 

 แหล่งเรียนรู้

                ความหมายของแหล่งเรียนรู้

                กระทรวงศึกษาธิการ (2554) ให้ความหมายของแหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร  สารสนเทศ แหล่งความรู้ทางวิทยาการ และประสบการณ์ที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องจากแหล่งต่างๆ เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

                    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2555) ให้ความหมายแหล่งเรียนรู้ว่า หมายถึง แหล่งข้อมูล ข่าวสารสารสนเทศ และประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียนแสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง  เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

                    นิคม ชมพูหลง  (2553)  ให้ความหมายแหล่งเรียนรู้ในชุมชนว่า หมายถึง  แหล่งความรู้ต่างๆ  ในชุมชนที่สถานศึกษาหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่ตั้งอยู่ อาจเป็นชุมชนในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่และเป็นของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวของประวัติศาสตร์  ความเป็นมาของชนชาติ  สภาพภูมิประเทศ วิถีชีวิต  ความเป็นอยู่  ศิลปวัฒนธรรม  ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของชุมชน 

                    ปรีชา  มาละวรรณโณ  (2552)  ให้ความหมายของแหล่งเรียนรู้ว่า หมายถึง  แหล่งที่มีข้อมูลข่าวสาร ความรู้ที่เข้าไปศึกษาความรู้  ความเข้าใจ และความชำนาญ จากความหมายของแหล่งเรียนรู้ ซึ่งมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ดังกล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่านักการศึกษาส่วนใหญ่จะใช้คำว่า แหล่งความรู้ในชุมชน หรือแหล่งวิทยาการในชุมชน หรือแหล่งทรัพยากรในชุมชน   เนื่องจากในอดีตที่ผ่านมาหรือแม้แต่ปัจจุบัน การจัดแหล่งเรียนรู้มีวัตถุประสงค์ใช้กับการจัดการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาผู้ใหญ่ เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นหรือชุมชนต่างๆ ที่ไม่มีโอกาสเข้าศึกษาในระบบโรงเรียนได้มีโอกาสศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งความรู้ต่างๆ ในชุมชน

                    สรุปได้ว่า แหล่งเรียนรู้ หรือแหล่งความรู้ในชุมชน หรือแหล่งวิทยาการในชุมชน หรือแหล่งทรัพยากรในชุมชน ต่างก็มีความหมายเหมือนกันเพียงแต่ใช้ชื่อเรียกต่างกัน  ซึ่งหมายถึง  แหล่งวิชาการหรือแหล่งทรัพยากร  ที่สามารถใช้เป็นที่ศึกษาหาความรู้  ความเข้าใจ  ความชำนาญ  ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสิ่งที่เป็นธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น  เป็นได้ทั้งบุคคล  สิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตได้แก่ บุคคล  สถานที่ต่างๆ แหล่งวิทยาการ ธรรมชาติ  สภาพสังคมเศรษฐกิจ  การเมือง วัฒนธรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ  ที่เสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้  และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยประสบการณ์ตรง เพื่อให้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจําวันได้ 

                  ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้

                    ความก้าวหน้าทางวิทยาการของโลกปัจจุบัน เป็นไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว  การศึกษาหรือการเรียนรู้จะหยุดอยู่เพียงการศึกษาในรั้วโรงเรียนเท่านั้นคงไม่เพียงพอ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของบุคคล  ทั้งด้านความรู้  ทักษะ ทัศนคติ  ค่านิยม โดยส่งเสริมการศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่องต่อไปตลอดชีวิต  การจัดแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  มุ่งให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้  และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง  มีผู้กล่าวถึงความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ไว้มากมาย  ในส่วนหนึ่งมีดังต่อไปนี้

                    กระทรวงศึกษาธิการ (2554)  ได้ให้ความสําคัญแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายมุ่งให้ผู้เรียนรักการเรียนรู้และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองมีความสําคัญ คือ เป็นแหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เป็นแหล่งเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติและเป็นแหล่งเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์

                    ศิริกาญจน์  โกสุมภ์ และ ดารณี  คำวัจนัง (2553) กล่าวถึงความสำคัญของแหล่งการเรียนรู้ในชุมชนดังนี้  เป็นแหล่งที่มีความรู้หลากหลาย  พร้อมที่จะให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาค้นคว้าด้วยกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  เป็นแหล่งเชื่อมโยงการเรียนรู้ของโรงเรียนและชุมชนเข้าด้วยกัน และเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุขตามหลักการปฏิรูป การเรียนรู้  ผู้เรียนสำคัญที่สุด  ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากการได้คิดเอง ปฏิบัติเอง และสร้างความรู้ด้วยตนเองในเรื่องที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตจากแหล่งเรียนรู้รอบตัว

                    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2555)  กล่าวไว้ว่า แหล่งเรียนรู้เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  เพราะแหล่งเรียนรู้จะเป็นสื่อในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจใคร่รู้และเกิดการเรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการหรือกิจกรรม  การใช้แหล่งเรียนรู้ให้ บังเกิดผลต้องเกิดจากการสนับสนุนของผู้บริหาร ครู นักเรียนและความร่วมมือของทุกฝ่าย

                    สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2550)ได้ให้ความสำคัญของการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ดังนี้  การใช้แหล่งการเรียนรู้มีความสำคัญในกระบวนการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนเพราะผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากสภาพจริง การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้จะเกี่ยวกับบุคคล สถานที่  ธรรมชาติ หน่วยงาน องค์กร สถานประกอบการ ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอื่นๆ  ซึ่งผู้เรียน  ผู้สอน สามารถศึกษาค้นคว้าหาความรู้หรือเรื่องที่สนใจได้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งที่เป็นธรรมชาติ และมนุษย์สร้างขึ้น  ชุมชนและธรรมชาติเป็นขุมทรัพย์มหาศาลที่เราสามารถค้นพบความรู้ได้ไม่รู้จบ  ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ลักษณะเด่นของการจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้มีดังนี้  ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง  ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง  ผู้เรียนได้ฝึกทำงานเป็นกลุ่ม ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้  และทักษะกระบวนต่างๆ ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการสังเกตการณ์เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความและการสรุปความ  คิดแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ผู้เรียนได้ประเมินผลการทำงานด้วยตนเอง ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และเผยแพร่ความรู้ได้ ผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ให้ความรู้ ให้คำแนะนำ ให้การสนับสนุน

                    สรุปได้ว่า ความสําคัญของแหล่งเรียนรู้มีความหลากหลาย  สามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละบุคคลในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เพราะบุคคลมีความต้องการแตกต่างกันไปตามความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความพร้อมที่จะเรียนรู้  หากสามารถดําเนินการจัดแหล่งความรู้ได้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ ก็สามารถส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตและเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ได้ทั่วทุกแห่ง

                   ประเภทของแหล่งเรียนรู้

                    กระทรวงศึกษาธิการ (2554)  กล่าวว่า แหล่งเรียนรู้ที่มนุษย์ทุกคนได้สัมผัสก็คือ สิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว ได้แก่ ธรรมชาติ ป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำ ดวงอาทิตย์ นก ฯลฯการเรียนรู้เกิดขึ้นด้วยตนเองเพื่อความอยู่รอดและการมีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ การเรียนรู้จึงช่วยพัฒนาร่างกายและจิตใจให้มีคุณภาพมากขึ้นในปัจจุบัน ด้วยความเจริญด้านเทคโนโลยี มนุษย์สร้างแหล่งเรียนรู้ที่ช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้ตามความต้องการทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานที่ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์  เป็นต้น  แหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะเป็นผู้ถ่ายทอดให้ผู้เรียนมีทักษะในการพัฒนาชีวิตต่อไป                   

                    เนื่องจากแหล่งเรียนรู้ หรือแหล่งความรู้ หรือแหล่งความรู้ในชุมชน หรือแหล่งวิทยาการในชุมชน มีความหมายกว้างมาก จึงมีนักการศึกษาจําแนกประเภทไว้แตกต่างกันไปดังต่อไปนี้

                    ศรีสุดา จริยากูล  (2552)  ได้จำแนกแหล่งเรียนรู้ในชุมชนไว้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

                            1. จำแนกตามลักษณะ  ได้แก่

                                1.1 ลักษณะนามธรรม เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศิลปะ ความชำนาญ

                                1.2 ลักษณะรูปธรรม เช่น คน สัตว์ สิ่งของ และธรรมชาติ

                            2. จำแนกตามแหล่งกำเนิด ได้แก่

                                2.1  แหล่งกำเนิดธรรมชาติ  คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และมนุษย์นำมาใช้ใน          การดำรงชีวิต เช่น อาหาร น้ำ อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ และป่าไม้

                                2.2  แหล่งกำเนิดเกิดขึ้นจากการสร้างขึ้นและเกิดจากสังคม ได้แก่

                                        2.2.1 แหล่งการศึกษาและการเรียนรู้ เช่น สถานศึกษา แหล่งเฉพาะบุคคล

                                        2.2.2 แหล่งเรียนรู้ที่ไม่มุ่งการเรียนรู้ เช่น บ้าน ที่ทำงาน เพื่อน สถานที่ ท่องเที่ยว

                    สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ (2553) จัดประเภทของแหล่งเรียนรู้เป็น 5 ประเภทดังนี้

                            1. สถาบันชุมชนที่มีอยู่แล้วในวิถีชีวิตและการทำมาหากินในชุมชน  เช่น วัด โบสถ์ วิหาร  ซึ่งเป็นสถานที่ทำบุญตามประเพณี ตลาด ร้านขายของชำ โรงงานขนาดเล็ก ในหมู่บ้าน ป่า ห้วย หนอง คลอง บึง

                            2. สถานที่หรือสถาบันที่รัฐและประชาชนจัดตั้งขึ้น เช่น อุทยานการศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์ อุทยานแห่งชาติทางทะเล อุทยานแห่งชาติในท้องถิ่น ศูนย์วัฒนธรรม ห้องสมุด

                            3. สื่อเทคโนโลยีที่มีในโรงเรียนและชุมชน เช่น วีดีทัศน์ โปรแกรมสำเร็จรูป ภาพยนตร์        ภาพสไลด์ หุ่นจำลอง หรือของจริง

                            4. สื่อเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโรงเรียนและชุมชน เช่น หนังสือวารสาร สารานุกรม ตำรายาพื้นบ้าน ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ภาพถ่าย

                            5. บุคลากรที่มีความรู้ด้านต่าง ๆ ในชุมชน เช่น ผู้นำทางศาสนา เกษตรกร ปราชญ์ชาวบ้าน หมอพื้นบ้าน

                สรุปได้ว่า แหล่งเรียนรู้ ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ทางวิทยาการ ที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถ จําแนกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้แหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ ทั้งในโรงเรียน  ชุมชน นอกชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่ ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครองนักเรียน ผู้ทรงคุณวุฒิในท้องถิ่น บุคลากรในชุมชน กรรมการสถานศึกษา เป็นต้นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นแหล่งวิทยาการ หมายถึง อาคารสถานที่ซึ่งเป็นแหล่งรวมข้อมูลแหล่งความรู้ต่างๆ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ คือ แหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน แหล่งเรียนรู้ภายนอกโรงเรียน ได้แก่ ห้องสมุด ห้องพิพิธภัณฑ์ เทคโนโลยี สารสนเทศ ศูนย์วิชาการ  สวนพฤกษศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ  อุทยาน  สวนสาธารณะ  สถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม  สถานที่ราชการ เป็นต้นแหล่งเรียนรู้ที่เป็นธรรมชาติ สิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ได้แก่ แหล่งนํ้าต่าง ๆ สัตว์ต่างๆ อุทยานแห่งชาติ ภูเขา ป่าไม้ ต้นไม้ ใบไม้ เป็นต้นและแหล่งเรียนรู้ที่เป็นสื่อสารสนเทศ หมายถึง สื่อนวัตกรรม รวมทั้งเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ  ได้แก่ หนังสือ ตำรา  สิ่งพิมพ์  ป้ายโฆษณา  รายการวิทยุ  รายการโทรทัศน์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ  เป็นต้น

                 

แหล่งเรียนรู้นอกสถานที่ที่ศึกษา

                องค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

                ประวัติความเป็นมา

                ปี2533คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ ขั้นโดยให้กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงการ และรับผิดชอบ ปี 2534 คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้โครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระชนมพรรษา 5 รอบ กำหนดกรอบงบประมาณโครงการ650 ล้านบาทปี2535 ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาพื้นที่ก่อสร้าง ศึกษารูปแบบการบริหารจัดทำแผนแม่บท ปี 2537 เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ งบดำเนินการ 514.29ล้านบาท ปี 2538 คณะรัฐมนตรีอนุมัติ พระราชกำหนด จัดตั้ง องค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์ (อพวช.) ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่         30 มกราคม 2538และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ อพวช.เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 ปี 2540 เริ่มออกแบบ จัดทำ และติดตั้งนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา และอาคารพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ ปี 2543 เปิดให้บริการพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 มิถุนายน 2543

 วัตถุประสงค์

                        1.  เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชนบท

             2.  เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมสังคมไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อ การพัฒนาประเทศ และปลูกฝังให้เยาชนมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

              3. เพื่อเป็นสถานที่ให้ความรู้และความเพลิดเพลินของครอบครัว รวมทั้งเป็นแหล่งท่อง เที่ยวของนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ 

บทบาทหน้าที่ สิ่งที่ให้กับประชาชน อพวช. เป็น

          1.  แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-long Learning)

          2.  แหล่งสาระบันเทิง (Edutainment)

          3.  แหล่งพัฒนาวิชาชีพ (Career Development)

          4.  แหล่งท่องเที่ยวอย่างมีสาระ (Edu-tourism Attraction) 

แผนการพัฒนาในอนาคต

             หลังจากการรับมอบโอนงานระยะเริ่มแรกจากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯอพวช.ได้จัดทำแผนขึ้นเป็นครั้งแรกและได้ดำเนินการจนถึงปี 2540 ในช่วง10ปีต่อจากนี้ไปอพวช.จึงได้กำหนด กรอบแผนรวมขึ้นเพื่อใช้เป็น คู่มือในการดำเนินงาน ดังนี้

           1.  แผนงานจัดตั้งพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในภาคกลาง  ในเขตจังหวัดปทุมธานี ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ180 ไร่ บริเวณเทคโนธานี ตำบลคลอง 5 อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จะมีพิพิธภัณฑ์และศูนย์ต่างๆ

ดังนี้

                 -  พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ มีเนื้อที่ 18,000 ตร.ม. เปิดบริการแล้ว

                 -  พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา มีเนื้อที่ 3,000 ตร.ม. เปิดบริการแล้ว

                 -  พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีเนื้อที่ 9,300 ตร.ม. พร้อมเปิดบริการในปี 2554

                 -  โครงการพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า มีเนื้อที่ 30,000 ตร.ม.

                 -  โครงการศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติฯ

            นอกเหนือจากพิพิธภัณฑ์และศูนย์ต่างๆที่จะจัดสร้างขึ้นเป็นพิพิธภัณฑ์ถาวรแล้ว อพวช.ยังมีการจัดแสดงพิพิธภัณฑ์เคลื่อนที่ไปสู่ทุกภูมิภาคด้วย

           2.  การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่อื่นๆ

                 -  โครงการจัตุรัสวิทยาศาสตร์ ณ จามจุรีสแควร์ เปิดบริการแล้ว

 

 

 วิสัยทัศน์      

                เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนา การบริหารจัดการ การใช้ประโยชน์แหล่งเรียนรู้ และการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์

พันธกิจ

                สั่งสมภูมิปัญญาถ่ายทอดสารสาระ และพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์

 การเปิดให้บริการ

       •   เปิดให้บริการวันอังคาร - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 09.30 - 16.00 น. 

       •   วันเสาร์ - วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.30 - 17.00 น. (หยุดวันจันทร์) 

 การเดินทาง

              1. เส้นทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลี้ยวซ้ายผ่านวัดธรรมกาย อ. คลองหลวง - หนองเสือ ถึงทางแยก แยกซ้ายไปหนองเสือ ให้เลี้ยวขวาไปพิพิธภัณฑ์ฯ ระยะทาง 2 กม. พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์อยู่ซ้ายมือ 
             2. เส้นทางฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต เลี้ยวซ้ายถนนรังสิต - นครนายก เส้นทางเดียวกันกับดรีมเวิลด์ โดย  ดรีมเวิลด์จะอยู่ระหว่างคลอง 3 กับ คลอง 4 ตรงไปเรื่อยๆ สังเกตถนนวงแหวนตะวันออกคร่อมอยู่ ตรงไปอีก 200 เมตร เจอสะพานคลอง 5 ลงสะพานชิดซ้าย เลี้ยวซ้ายเข้าซอยอีก 4 กม. เลี้ยวขวาเข้าเทคโนธานี (ถึงวงเวียนเลี้ยวซ้ายเข้าพิพิธภัณฑ์ฯ)

                3.  ตรงมาจากดอนเมือง ป้ายบอกทางพิพิธภัณฑ์ ฯ อยู่ซ้ายมือ สังเกตจะมี 2 สะพาน คือขวามือไปสระบุรี นครสวรรค์ ให้ใช้สะพานซ้ายมือ ปทุมธานี นครนายก ใช้เส้นทางรังสิต - นครนายก ตรงไป 15 กม. เส้นเดียวกับดรีมเวิลด์ ถึงสะพานคลอง 5 ลงจากสะพานเลี้ยวซ้ายเข้าซอยอีก 4 กม. เลี้ยวขวาเข้าเทคโนธานี (ถึงวงเวียนเลี้ยวซ้ายเข้าพิพิธภัณฑ์ฯ)

การเข้าชม/อัตราค่าเข้าชม/การจองเข้าชม

  1.  พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์                              ผู้ใหญ่/ครู-อาจารย์                        50 บาท
  2. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา                           ผู้ใหญ่/ครู-อาจารย์                        50 บาท
  3. พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ                ผู้ใหญ่/ครู-อาจารย์                        50 บาท
  4. บัตรรวม 3 พิพิธภัณฑ์                                  ผู้ใหญ่/ครู-อาจารย์                      100 บาท
  5. นักเรียน  นักศึกษาปริญญาตรี(ไม่เกิน 24 ปี)  และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)  เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฟรี

            โทรสาร 0 2577 9911 หรือ 0 2577 6588  e-mail: nsm_mkt@nsm.or.th

             ตั้งแต่เวลา 09.00 – 17.00 น. ได้ทุกวัน *ยกเว้นวันจันทร์นักขัตฤกษ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ 1 แสดงองค์การพิพิธภัณฑ์ วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)

                 สวนสัตว์เชียงใหม่

                ประวัติความเป็นมา

                เป็นสวนสัตว์ในความดูแลขององค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ บนถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 น. - 17.00 น. มีสัตว์อยู่ในสวนสัตว์จำนวนมาก เช่น เม่น นกยูง เสือโคร่ง เสือขาว กวาง แรด ฮิปโปเตมัส ช้าง หมี อีเห็น และยังมีส่วนจัดแสดงหมีแพนด้า ช่วงช่วง และ หลินฮุ่ย จากประเทศจีน ภายในสวนสัตว์เชียงใหม่มีโบราณสถานที่ชื่อว่าวัดกู่ดินขาว ที่เป็นซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณเวียงเจ็ดลิน และมีการแสดงความสามารถของสัตว์ เช่น นกมาคอลว์ นาก นกกระทุง และมีส่วนจัดแสดงเพนกวินและแมวน้ำนอกจากนี้ สวนสัตว์เชียงใหม่ยังเป็นที่ตั้งของ เชียงใหม่ ซู อควาเรียม ศูนย์แสดงพันธ์สัตว์น้ำครบวงจร ที่มีอุโมงค์น้ำความยาวกว่า 133 เมตร ซึ่งจัดว่ายาวที่สุดในโลก แบ่งเป็นอุโมงค์น้ำเค็ม 66.5 เมตร และอุโมงค์น้ำจืด 66.5 เมตร โดยเชียงใหม่ ซู อควาเรียมได้รวบรวมปลาน้ำจืดแห่งลุ่มแม่น้ำโขงและโลกใต้ทะเลด้วยกัน เพื่อให้ชีวิตน้อยใหญ่ได้อาศัยพึ่งพิงสวนสัตว์เชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นโดยนายฮาโรลด์ เมสัน ยัง (Mr.Harold Mason Young) มิชชั่นนารีชาวอเมริกัน ผู้เข้ามาเป็นอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่พวกทหารและตำรวจชายแดน ในช่วงสงครามเกาหลี (พ.ศ. 2493 - 2496) โดยอาศัยพื้นที่บ้านที่ตนเช่าอยู่คือ บ้านเวฬุวัน เชิงดอยสุเทพ ซึ่งเป็นของนาย กี นิมมานเหมินท์ (พ.ศ. 2431 - 2508) และนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ (พ.ศ. 2437 - 2524) เป็นสถานที่เริ่มต้น โดยเริ่มเปิดเป็นสวนสัตว์เล็กๆ ของเอกชนขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ พ.ศ. 2495 โดยจ้างคนพื้นเมืองและชาวเขาจำนวนไม่มากนักช่วยดูแลนายฮาโรลด์ เมสัน ยัง เป็นบุตรของมิชชันนารีชาวอเมริกันเกิดที่รัฐฉาน ประเทศพม่าเคย ทำงานในฐานะมิชชั่นนารีในรัฐฉาน ดินแดนของชาวไต ซึ่งอุดมด้วยสัตว์ป่านานาชนิดมาก่อน และเหตุผลที่ทำให้นายฮาโรลด์ ต้องเข้ามาทำงานในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหารและตำรวจชายแดน ในประเทศไทย ก็คงเนื่องด้วยพันธะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกามีต่อรัฐบาลไทย ในการสนับสนุนทั้งทางด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคม ฯลฯ อย่างเต็มที่เพื่อร่วมกันต่อต้านคอมมิวนิสต์ตามสนธิสัญญาไทย - อเมริกัน 3 ฉบับ คือ

1. ความตกลงทางการศึกษาและวัฒนธรรม ในเดือนกรกฎาคม 2493

2. ความตกลงร่วมมือทางเศรษฐกิจและเทคนิค ในเดือนกันยายน 2493

3. ความตกลงทางการช่วยเหลือทางทหาร ในเดือนตุลาคม 2493

                ผลปรากฏว่าหลังจากปี พ.ศ. 2493 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ จัดส่ง คณะที่ปรึกษา อาสาสมัคร และกำลังสนับสนุนด้านต่างๆเข้าสู่ประเทศไทยจำนวนมาก เฉพาะด้านทหารและตำรวจนั้น สหรัฐอเมริกาได้ส่งคณะที่ปรึกษาทางทหารมาประจำประเทศไทยในปี พ.ศ. 2493 ต่อมาขยายเป็นหน่วย JUSMAG เพื่อช่วยวางแผนการจัดกองพล การจัดกรมผสม จัดระบบ ส่งกำลังกองทัพบก ฯลฯ ขณะที่กองกำลังตำรวจขณะนั้นอยู่ภายใต้การนำของพลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ก็ ได้รับการขยายกำลังออกไปอย่างกว้างขวาง โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้ให้การสนับสนุน ผ่านทางบริษัทซี ซัปพลาย (Sea Supply Corporation) การเข้ามาทำงานในประเทศไทยในฐานะอาสาสมัครสอนการยังชีพในป่าให้แก่ทหาร และตำรวจตระเวรชายแดนของนายฮาโรลด์ เมสัน ยัง ก็คงอยู่ในบริษัททางการเมืองดังกล่าวนี้ด้วยการสะสมสัตว์นานาชนิดของนาย ฮาโรลด์ เมสัน ยัง ภายในบริเวณบ้านเวฬุวันที่ตนเช่าอยู่นั้น คงมี มากขึ้นๆ และคงสร้างต้องอาศัยพื้นที่ในบริเวณบ้านเวฬุวันมากขึ้นคงทำให้พื้นที่อันสวย งามของบ้านเวฬุวัน เช่น สนามหญ้าหน้าบ้านถูกใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ไปโดยปริยายจากคำบอกเล่าของศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ ทายาทคนหนึ่งของ นาย กี-นาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ได้ขอให้นายฮาโรลด์ ผู้เช่าบ้านเวฬุวัน ย้ายสวนสัตว์ของเขาไปไว้ที่ ที่ดินอีกแปลงหนึ่งของนาย กี-นาง กิมฮ้อ นิมมานเหมินท์ ซึ่งอยู่เชิงดอยสุเทพเช่นกันซึ่งปัจจุบันเป็นพื้นที่ที่ส่วน หนึ่งของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่คงโดยเหตุที่นายฮาโรลด์เป็นชาวอเมริกัน ประชาชนของประเทศที่มีอิทธิพลทางการเมืองสูงยิ่งของโลก เขาจึงติดต่อขอที่ดินป่าสงวนเชิงดอยสุเทพต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่โดย ตรง จนได้รับอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนเชิงดอยสุเทพประมาณ 60 ไร่ เป็นที่ตั้งสวนสัตว์ของเอกชน เปิดบริการให้เข้าชมตั้งแต่วันจักรี 6 เมษายน พ.ศ. 2500 จนกระทั่งนายฮาโรลด์ถึงแก่อนิจกรรมในปี พ.ศ. 2518จนกระทั่งปี พ.ศ. 2520 สวนสัตว์จึงโอนเข้าสังกัดองค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2520 เป็นต้นมา เนื่องนับถึงวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2530 สวนสัตว์เชียงใหม่ได้มีอายุครบ 10 ปีเต็ม ในรอบทศวรรษนั้น สวนสัตว์เชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่จากเดิมที่จังหวัดเชียงใหม่อนุมัติให้นายฮา โรลด์ จัดตั้งสวนสัตว์ประมาณ 60 ไร่ ได้รับการขยายเป็น 130 ไร่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 สวนสัตว์เชียงใหม่ก็ได้รับความเห็นชอบจากกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะรัฐมนตรีให้ขยายพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ เพิ่มเติมอีกประมาณ 500 ไร่ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาสวนสัตว์ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน จำนวนหนึ่งโดยมี ศาสตราจารย์ อัน นิมมานเหมินท์ เป็นประธานดำเนินงานวางผังหลักกำหนดแนวทางพัฒนาสวนสัตว์ชียงใหม่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งประเภทตำนาน จารึก และภาพถ่ายทางอากาศยืนยันชัดว่าพื้นที่ส่วนหนึ่งของสวนสัตว์เชียงใหม่คือ ส่วนหนึ่งของ เวียงเจ็ดลิน เวียงโบราณรูปวงกลมที่สร้างขึ้นในสมัยพญาสามฝั่งแก่น กษัตริย์แห่งราชวงศ์มังราย ลำดับที่ 8 (พ.ศ. 1945 - 1984) ร่องรอยคูน้ำ คันดินบางส่วนก็ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบันซากอิฐจำนวนไม่น้อย ยังคงปรากฏทั่วไปในบริเวณสวนสัตว์เชียงใหม่ โดยเฉพาะบนเนินเนินเหนือที่เลี้ยงช้าง เป็นกองอิฐก้อนใหญ่มาก เป็นร่องรอยให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าเป็นโบราณสถานที่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา (ซึ่งเป็นที่ตั้งของโบราณสถานวัดกู่ดินขาวในปัจจุบัน)

สถานที่ตั้ง

                สวนสัตว์เชียงใหม่ ตั้ง อยู่บริเวณทางขึ้นดอยสุเทพ บนถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 8.00 น. - 17.00 น. มีสวนสัตว์เชียงใหม่ มีเนื้อที่ทั้งหมด 531 ไร่ เป็นสถานที่เหมาะ สำหรับ การพักผ่อนพร้อมกับสัมผัสสัตว์นานาชนิดกว่า 7,000 ตัว ท่ามกลางกลิ่นไอของ ขุนเขา และที่พลาดชม ไม่ได้ก็คือ หมีแพนด้า ช่วง ช่วง และ หลินฮุ้ย อันเป็นทูตสันตวไมตรีจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่ง ช่วง ช่วง และ หลินฮุ้ย จะอยู่ที่สวนสัตว์เชียงใหม่เป็นเวลา 10ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถึง 2557 ในช่วงนี้ตั้งแต่มี แพนด้าน้อย หลินปิง 1 อีก1 สมาชิกใหม่ของครอบครัวแพนด้า สวนสัตว์เชียงใหม่มีนักท่องเที่ยว ชาวไทยและชาวต่างประเทศ เดินทางมาเที่ยวชมสวนสัตว์เชียงใหม่ จนแน่นขนัดทั้งวัน โดยเฉพาะในส่วนจัดแสดง หมีแพนด้า มีประชาชน จำนวนมากเดิน ทางเข้าไปชมความน่ารักของช่วงช่วง ที่อยู่ในส่วนจัดแสดงและดูหลินฮุ่ยกำลัง เลี้ยงดูลูกน้อยใน อิริยาบถต่าง ๆ ผ่านกล้องทีวีวงจรปิด สร้างความประทับใจให้กับนักท่องเที่ยวที่มีโอกาสเข้าไปชมกัน

สิ่งที่น่าสนใจ สวนสัตว์เชียงใหม่

                1. หมีแพนด้า สัมผัสความน่ารักของ 2 หมีแพนด้า ช่วง ช่วงและหลินฮุ่ย ทูตสันถวไมตรีและลูกน้อยหลินปิง จากสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ สวนสัตว์เชียงใหม่
                2. สวนนกนครพิงค์ เดินชมธรรมชาติและฟังเสียงนกชนิดต่างๆ กว่า 800 ตัว ในพื้นที่ 6 ไร่
                3. ศูนย์จัดแสดงนกเพนกวิน สัมผัสนกเพนกวิน (Humboldt Penguin) ในศูนย์แสดงที่จัดเป็นสระน้ำตามสภาพที่ นกเพนกวินอาศัยอยู่
                4. เกาะชะนี สถานที่เพื่อการใช้ชีวิตอย่างอิสระของชะนี บรรยากาศปลอดโปร่งเสมือนหนึ่งอยู่ในแหล่งธรรมชาติที่ แท้จริง เพื่อให้คุณได้เข้าถึงการดำรงชีวิตของสัตว์ป่าสร้างความคุ้นเคยระหว่างคนกับสัตว์ได้อย่างกลมกลืน
                5. อาคารเลี้ยงแมวนํ้า อาคารที่จัดแสดงประกอบด้วย แมวนํ้า (Cape Fur Seal) จำนวน 5 ตัว จากประเทศสาธารณรัฐ แอฟริกาใต้มาเลี้ยงในอาคารดังกล่าว
                6. อุทยานสัตว์น้ำ สัตว์น้ำจืดกว่า 60 ชนิด รวมทั้งปลาบึกยักษ์ลุ่มแม่น้ำโขง ปลาบึกลายและ Siamese Giant Carpอีกทั้งปลาไหล Ture Eel ซึ่งหาดูได้ยากรอคุณอยู่ที่ศูนย์แสดงแห่งนี้
                7. ค่ายพักแรม ท่านสามารถขอจัดเต๊นท์นอนค้างคืนในบริเวณที่สวนสัตว์จัดให้ เพื่อเป็นประสบการณ์ในการอยู่ ท่าม กลางธรรมชาติ มีทัศนียภาพที่สวยงามโดยไม่ต้องเดินทางไกล

บริการทั่วไป

                รถบริการชมสวนสัตว์ , ร้านขายของที่ระลึก , ร้านอาหาร , กิจกรรม , การแสดงความสามารถของสัตว์

การแสดงความสามารถของสัตว์

                วันจันทร์-ศุกร์
                รอบที่ 1 เวลา 11:30 น
                รอบที่ 2 เวลา 15:00 น
                เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
                รอบที่ 1 เวลา 11:30 น
                รอบที่ 2 เวลา 14:00 น
                รอบที่ 2 เวลา 15:30 น
เวลาการแสดงโชว์แมวน้ำ
                วันจันทร์-ศุกร์
                รอบที่ 1 เวลา 10:30 น
                รอบที่ 2 เวลา 14:30 น
                เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
                รอบที่ 1 เวลา 10:30 น
                รอบที่ 2 เวลา 13:30 น
                รอบที่ 2 เวลา 15:00 น

                โทรศัพท์ 053 210374 โทรสาร 053358116 เว็บไซด์ http://www.chiangmaizoo.com

               

               

 

 

 

 

 

 

ภาพที่ 2 แสดงสวนสัตว์เชียงใหม่

บทที่  3

วิธีดำเนินงาน

 

                โครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม    พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ผู้จัดทำโครงการ ได้กำหนดวิธีดำเนินการดังต่อไปนี้

                1. ประชากร

                2.  เครื่องมือที่ใช้

                3. ขั้นตอนการดำเนินงาน

                4.  การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

                5. สถิติที่ใช้

 

ประชากร

                ประชากรที่ใช้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 29 คนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 จำนวน 31 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 จำนวน 40 คน และคณะครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 10 คน รวม 110 คน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557

 

เครื่องมือที่ใช้

                แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม    พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. สำรวจจำนวนนักเรียนที่จะไปทัศนศึกษา
  2. ประชุมเพื่อวางแผนงาน กรอบแนวทางการดำเนินและกำหนดสถานที่ในการทัศนศึกษา
  3. บันทึกเสนอข้อความขออนุญาตนำนักเรียนไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ โดยไม่ค้างคืน
  4. เอกสารแนบบันทึกเสนอ ประกอบด้วย

4.1      แบบขออนุญาตนำนักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานศึกษาแบบไม่ค้างคืน

4.2      รายชื่อนักเรียน – ครูผู้ควบคุม

4.3      กำหนดการ

4.4      แผนผังเส้นทาง

4.5      หนังสือขออนุญาตผู้ปกครอง

4.6      แบบบันทึกกิจกรรม

4.7      ข้อมูลการประกันอุบัติเหตุ

  1. เสนอเอกสารผ่านรองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ (นายบรรทม รวมจิตร)  เพื่อตรวจสอบและเสนอขอใช้เงินตามกิจกรรม
  2. เสนอล่วงหน้า 15  วัน ก่อนนำนักเรียนไปทัศนศึกษานอกสถานศึกษา
  3. เก็บรวบรวมหนังสือของอนุญาตผู้ปกครอง
  4. เมื่อดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
  5. จัดทำรายงานสรุป 5 บท ตามรูปแบบที่โรงเรียนกำหนด

 

 

การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

                1.  นำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม    พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating  Scale) มาตรวจสอบความสมบูรณ์ของคำตอบ  แล้วตรวจให้คะแนน โดยกำหนดค่า 5 ระดับ  ซึ่งได้กำหนดค่าคะแนนไว้ดังนี้               

                      5 หมายถึง     มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด             

                        4 หมายถึง     มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก                     

                        3 หมายถึง     มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง           

                        2 หมายถึง     มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย                     

                        1 หมายถึง     มีความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด            

2.  นำแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม    พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ แบบมาตราส่วนประมาณค่า( Rating  Scale) โดยกำหนดค่าออกเป็น  5  ระดับ  มาหาค่าเฉลี่ย() และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ()  นำค่าเฉลี่ย ()ที่ได้มาเปรียบกับเกณฑ์  เพื่อพิจารณาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษา ดังนี้ 

                        ค่าเฉลี่ย  4.50  -  5.00   หมายถึง  มีความพึงพอใจมากที่สุด

                        ค่าเฉลี่ย  3.50  -  4.49   หมายถึง  มีความพึงพอใจมาก

                        ค่าเฉลี่ย  2.50  -  3.49   หมายถึง  มีความพึงพอใจปานกลาง

                        ค่าเฉลี่ย  1.50  -  2.49   หมายถึง  มีความพึงพอใจน้อย

                        ค่าเฉลี่ย  1.00  -  1.49   หมายถึง  มีความพึงพอใจน้อยที่สุด

 

สถิติที่ใช้

                   1.   ค่าร้อยละ

2.   ค่าเฉลี่ยหรือคะแนนเฉลี่ย

                                       =            

เมื่อ      X           คือ คะแนนของนักเรียนแต่ละคน

              n            คือ จำนวนนักเรียนทั้งหมด

          คือ ค่าเฉลี่ย          

                     3.   ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                                                          =            

เมื่อ     X             คือ คะแนนของนักเรียนแต่ละคน

             n              คือ จำนวนนักเรียนทั้งหมด

                   คือ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

 

 

 

 

บทที่  4

 

ผลการดำเนินงาน

 

โครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม    พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ผู้จัดทำโครงการเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้

                ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม    พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

                ตอนที่ 2  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม    พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

 

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษา

               มหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ

               เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

 

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษา

                 มหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ

                 เฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

                

ข้อมูลทั่วไป

จำนวน

ร้อยละ

1. เพศ

    - ชาย

    - หญิง

 

25

85

 

22.72

77.28

2. อาชีพ

    - นักเรียน

    - ครู

 

100

10

 

90.90

9.10

                จากตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษา เป็นชาย 25 คน คิดเป็นร้อยละ 22.72 หญิง 85 คน คิดเป็น ร้อยละ77.28 เป็นนักเรียน 100 คน   คิดเป็นร้อยละ 90.90 ครู 10 คน คิดเป็นร้อยละ 9.10

ตอนที่ 2  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ

                 ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม    พระเกียรติ 7 รอบ

                 พระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

 

ตารางที่ 2 แสดงความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์

                 แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม    พระเกียรติ 7 รอบพระ

                 ชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่

 

รายการประเมิน

()

()

ระดับความพึงพอใจ

ร้อยละ

1. สถานที่ในการทัศนศึกษา

4.20

0.35

มาก

84.00

2. ระยะเวลาในการไปทัศนศึกษา

3.48

0.39

ปานกลาง

69.60

3. ความรู้ที่ได้รับจากการไปทัศนศึกษา

4.10

0.47

มาก

82.00

4. ความสุข ความสนุกสนานจากการไป    ทัศนศึกษา

4.00

0.40

มาก

80.00

5. การดูแลเอาใจใส่ของคณะครูผู้ควบคุม

4.25

0.33

มาก

85.00

6. ความปลอดภัยในการเดินทางไปทัศนศึกษา

4.07

0.21

มาก

81.40

7. การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

4.31

0.29

มาก

86.20

8. ควรจัดให้มีการทัศนศึกษาครั้งต่อไป

4.81

0.33

มากที่สุด

96.20

โดยรวม

4.26

0.32

มาก

85.20

 

จากตารางที่ 2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษา พบว่า ความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 มีระดับความพึงพอใจมาก รายการที่มีความพึงพอใจอันดับหนึ่งคือควรจัดกิจกรรมนี้อีกในปีต่อไป ส่วนรายการที่มีความพึงพอใจอันดับต่ำสุดคือระยะเวลาในการไปทัศนศึกษา

 

 

 

 

 

 

 

 

บทที่ 5

 

สรุป ผลและข้อเสนอแนะ

 

                โครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม    พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ ผู้จัดทำโครงการสามารถสรุป  ผลการดำเนินงานได้ดังนี้

 

สรุปผลการดำเนินงาน

                1. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อโครงการทัศนศึกษามหกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2557 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิม  พระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา จังหวัดเชียงใหม่ โดยภาพรวม มีความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

2.  ความรู้ที่นักเรียนได้รับจากการไปทัศนศึกษา ร้อยละ 82.00

3.  ความสุข ความสนุกสนานที่นักเรียนได้รับจากการไปทัศนศึกษาร้อยละ 80.00

4.  การนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 86.20

 

ข้อเสนอแนะ

1.  ควรจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องทุกๆปี

2.  ควรไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บรรณานุกรม

 

กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)

                    กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2554.

ทิศนา แขมมณี. 14 วิธีสอนสำหรับครูมืออาชีพ กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.

นิคม  ชมพูหลง.  การจัดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้.  กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว, 2553.

ปรีชา   มาละวรรณโณ. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง  สังกัด

                    สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษา

                 ศาสตรมหาบัญฑิต  สาขาบริหารการศึกษา  บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2552.

วรลักษณ์ รัตติกาลชลาการ. เทคนิคการจัดการศึกษานอกสถานที่. พิมพ์ครั้งที่ 4.  ภาควิชาเทคโนโลยี

การศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ขอนแก่น. 2553.

ศิริวรรณ ศรีพหล. คู่มือการจัดทัศนศึกษาสำหรับเยาวชน.  การท่องเที่ยวเยาวชนการท่องเที่ยวแห่ง

ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร : Imprint, 2553.

ศิริกาญจน์  โกสุมภ์ และ ดารณี  คำวัจนัง. แหล่งการเรียนรู้ เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้และ

                    หลักสูตรสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เมธีทิปส์, 2553.

ศรีสุดา จริยากูล.  การใช้ทรัพยากรชุมชนเพื่อการศึกษา ใน บริบททางการศึกษา. นนทบุรี:

                    มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช,2552.

สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ.  เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. พมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ที.พี.พริ้นท์, 2552.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.  เอกสารการนิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์         

                    การพัฒนาแหล่งเรียนรู้.  กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว,  2555.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.  การใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชนกรุงเทพฯ : คุรุสภา

                    ลาดพร้าว, 2550.

 

 

ภาคผนวก

ประกอบด้วยรายละเอียดต่างๆดังนี้

-

โครงการทัศนศึกษา

-

บันทึกข้อความขออนุญาตนำนักเรียนไปทัศนศึกษา

-

คำสั่งให้ข้าราชการครูไปราชการควบคุมนักเรียน

-

รายชื่อนักเรียนที่ไปทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้

-

แบบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้

-

ภาพถ่าย

 

 

 

 

 

 

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 483 คน กำลังออนไลน์