สุขบัญญัติ 10 ประการ
สุขบัญญัติิ คือ ข้อกำหนดที่เด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชน ทั่วไปพึงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอจนเป็นสุขนิสัยเพื่อให้มีสุขภาพดี ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคมดังนั้น การส่งเสริมสุขบัญญัติแห่งชาติ ิจึงเป็นกลวิธีหนึ่งในการสร้างเสริมและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพ ที่พึงประสงค์ เพื่อให้เยาวชน และประชาชนปฏิบัติ..เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพดี
ความสำคัญของการสร้างเสริมและปลูกฝังพฤติกรรมสุขภาพตามสุขบัญญัติแห่งชาติ การมี "สุขภาพดี" เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ (Mervyn Susser, 1993) และเป็นจุดมุ่งหมายทางสังคมที่ยอมรับกันทั่วโลก มนุษย์ทุกคนไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทาง เชื้อชาติ ศาสนา ฐานะเศรษฐกิจและสังคม หรือความเชื่อถือทางการเมือง ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง ให้มี "สุขภาพดี" อันหมายถึง การมีสภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งมิใช่เพียงแต่ปราศจากโรคหรือไม่มีความพิการเท่านั้น แต่หมายถึง การมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างดีด้วย (สำนักงานคณะกรรมการการสาธารณสุขมูลฐาน, 2527)
1. ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด
2. รักษาฟันให้แข็งแรงและแปรงฟันทุกวันอย่างถูกต้อง
3. ล้างมือให้สะอาดก่อนกินอาหารและหลังขับถ่าย
4. กินอาหารสุกสะอาดปราศจากอันตรายและหลีกเลี่ยง อาหารรสจัดสีฉูดฉาด
5. งดบุหรี่ สุรา สารเสพย์ติดการพนันและการสำส่อนทางเพศ
6. สร้างความสำพันธ์ภายในครอบครัวให้อบอุ่น
7. ป้องกันอุบัติภัยด้วยการไม่ประมาท
8. ออกกำลังกายสมำเสมอและตรวจสุขภาพประจำปี
9. ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใสอยู่เสมอ
10. มีสำนึกต่อส่วนรวม ร่วมสร้างสรรค์สังคม
การปฏิบัติตามแนวของสุขบัญญัติแห่งชาตินอกจากจะมีผลกับตัวเราเองแล้ว การปลูกฝังและสร้างเสริมให้สมาชิกในครอบครัวมีพฤติกรรมในการป้องกันโรคและส่งเสริม สุขภาพที่ถูกต้องจนเป็นสุขนิสัยจะทำให้สมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วยน้อยลง อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี...มีความอบอุ่นในครอบครัว...มีความปลอดภัยในชีวิต ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรงทั้งร่างกาย.และจิตใจ มีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข อันจะนำมาซึ่งการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของทุกคนในครอบครัว