ระบบนิเวศ

การพัฒนาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การพัฒนา หมายถึง การทำให้สิ่งต่างๆ อยู่ในสภาพที่ดีขึ้น มีความเจริญก้าวหน้าขึ้นจากเดิม
การอนุรักษ์ หมายถึง การใช้สิ่งต่างๆ อย่างฉลาด โดยใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด นานที่สุด สูญเสียและเกิดมลพิษน้อยที่สุด
ประชากร หมายถึง สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เป็นชนิดเดียวกัน อาศัยอยู่ในแหล่งที่อยู่เดียวกัน ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง

ปัจจัยที่ทำให้สภาพสมดุลของสิ่งมีชีวิตเสียไป
1. เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ไฟไหม้ น้ำท่วม การพังทลายของภูเขา เป็นต้น
2. เกิดจากมนุษย์ การเพิ่มประชากรอย่างรวดเร็วของมนุษย์ทำให้ต้องหักล้างถางป่าเพื่อทำการเกษตรและตัดไม้มาใช้ประโยชน์ มีการดัดแปลงธรรมชาติ เช่น สร้างเขื่อน ฝาย ระบบโรงงานอุตสาหกรรมที่ไม่ถูกวิธี ซึ่งล้วนทำให้สมดุลธรรมชาติเสียไป

ประโยชน์ของป่าไม้ต่อระบบนิเวศ
1. เป็นแหล่งอาหาร
2. เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า
3. เป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร
4. เป็นแหล่งให้ความชุ่มชื้น
5. ป้องกันการพังทลายของหน้าดิน
6. ป้องกันการเกิดอุทกภัย
7. ช่วยลดอุณหภูมิของอากาศในป่าและบริเวณใกล้เคียง
8. ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ
9. ช่วยลดความรุนแรงของลมพายุ
10. ช่วยให้มีฝนตกสม่ำเสมอ

การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
1. ประกาศพื้นที่สงวนแห่งชาติเพิ่มขึ้น
2. ปลูกสร้างสวนป่าขึ้นทดแทนป่าที่ถูกทำลาย
3. ยกเลิกสัมปทานป่าไม้ ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศยกเลิกโดยประกาศเป็นพระราชกำหนดบังคับใช้วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2532 เป็นต้นไป
4. ลดความต้องการใช้ไม้ให้น้อยลง
5. ป้องกันการลักลอบตัดไม้เพื่อการค้า
6. ป้องกันการหักล้างถางพงเพื่อทำการเกษตร
7. ป้องกันมิให้เกิดไฟป่า
8. ถ้าจำเป็นต้องตัดไม้ ควรตัดให้ถูกวิธีคือ เลือกต้นไม้ที่โตมากเท่านั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพกับสิ่งมีชีวิต

ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพกับสิ่งมีชีวิต

แสง มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตดังนี้
มีผลต่อการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของพืช
มีผลต่อการกระตุ้นให้พืชออกดอก
มีผลต่อความสามารถในการสังเคราะห์แสง
เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการออกหากินของสัตว์ เช่น สัตว์บางชนิดออกหากินเวลากลางคืน
มีผลต่อปริมาณและชนิดของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ เช่น บริเวณที่ลึกมากจะมีอยู่น้อย และสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ มักจะมีลวดลายเด่นชัดให้เป็นเครื่องหมายจำพวกเดียวกัน

อุณหภูมิ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตดังนี้
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณออกซิเจนในน้ำ เมื่ออุณหภูมิในน้ำสูงขึ้น ความสามารถในการละลายของก๊าซออกซิเจนในน้ำจะลดลง ดังนั้นในแหล่งที่มีอุณหภูมิ สิ่งมีชีวิตมักจะตาย เพราะประสบปัญหากับการขาดแคลนออกซิเจน
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปพรรณสัณฐาน และทางสรีระของสิ่งมีชีวิต เช่น
การสร้างสปอร์ หรือเกราะ หรือมีระยะดักแด้ ซึ่งต้านทานอุณหภูมิได้ดี
หญ้า จะมีเง่า ในกรณีที่อุณหภูมิไม่เหมาะสม จะทิ้งส่วนอื่นๆหมด เหลือแต่เง่า และรากที่สามารถเจริญได้ถ้าอุณหภูมิเหมาะสม
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในเขตหนาว จะมีรยางค์สั้นกว่าในเขตร้อน เช่น หาง หู และ ขา
นก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ในเขตหนาวจะมีขนาดใหญ่กว่าในเขตร้อน
มีผลต่อการฟักตัว (dormancy) หรือจำศีล เพื่อหลีกเลี่ยงต่ออากาศหนาว
มีผลต่ออัตราเมตาโบลิซึมของร่างกาย (Metabolism) ถ้าอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น อัตราโบลิซึม ก็จะเพิ่มขึ้น
มีผลต่อการอพยพของสัตว์ เช่น
การอพยพของนกนางแอ่นบ้าน จากจีนมาหากินในไทย
การอพยพของนกปากห่าง จากอินเดียมาผสมพันธุ์ในไทย
การอพยพของหมีและกวาง จากภูเขาสูงไปหุบเขา
การเคลื่อนที่หนีความร้อนของสัตว์ในทะเลทราย
อุณหภูมิมีอิทธิพลต่อการแพร่กระจายของพืชและสัตว์ พืชและสัตว์แต่ละชนิด มีความอดทนต่ออุณหภูมิได้ไม่เท่ากัน จึงทำให้ไม่สามารถแพร่กระจายไปที่ต่างๆของโลกได้มาก เช่น ดอกทิวลิป จะไม่ออกดอกถ้าไม่ได้รับอุณหภูมิต่ำในช่วงฤดูหนาว

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซออกซิเจน

ก๊าซออกซิเจน มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตดังนี้
สิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิดใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจ

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตดังนี้
พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีผลต่อสัตว์ คือ ถ้าได้รับในปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากทำให้สัตว์มีกระดูกสันหลังรับออกซิเจนได้น้อยลง และเลือดจะมีสภาพความเป็นกรด-เบสไม่เหมาะสม อาจทำให้ตายได้

แร่ธาตุต่างๆ
เป็นตัวจำกัดชนิดและปริมาณของพืช เพราะพืชแต่ละชนิดต้องการแร่ธาตุไม่เหมือนกัน
เป็นตัวจำกัดชนิดและปริมาณของสัตว์ สัตว์อาศัยพืชเป็นแหล่งหลบภัย เลี้ยงตัวอ่อน และแหล่งผสมพันธุ์

ความเค็ม
มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช พืชส่วนใหญ่จะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินเค็ม
สิ่งมีชีวิตแต่ละกลุ่มทนต่อความเค็มของดินและน้ำต่างกัน ถ้าดินเริ่มเค็มก็จะทำให้พืชกลุ่มเดิมนั้นตายได้

ความเป็นกรดเบส (pH)
มีผลต่อการควบคุมการหายใจและระบบการทำงานของเอนไซม์ภายในร่างกาย
มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช พืชต่างชนิดกันเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีค่า pH ต่างกัน

ความชื้น
มีผลต่อการกระจายของสิ่งมีชีวิต เพราะสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดชอบความชื้นที่ต่างกัน
มีผลต่อการสืบพันธุ์ของสัตว์ มีผลต่อการคายน้ำของพืช
มีผลต่อการปรับตัวของรูปร่างของพืช เพื่อลดอัตราการสูญเสียน้ำ เช่นเปลี่ยนใบเป็นหนาม ลดขนาดใบลง
การปรับตัวของสัตว์ เพื่อดำรงชีวิตในความชื้นต่ำ เช่น มีเกล็ดหุ้มตัว หากินตอนกลางคืน

กระแสน้ำและกระแสลม
มีผลต่อการกระจายพันธุ์และการผสมพันธุ์ของพืชไปได้ในบริเวณกว้าง
มีผลต่อรูปพรรณสัณฐานและทางสรีระของสิ่งมีชีวิต
มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช พืชที่อยู่ในบริเวณลมแรงจะมีการเจริญเติบโตมากกว่าบริเวณลมสงบ

ดิน
มีผลต่อการเจริญเติบโต ชนิด และปริมาณของพืช

สร้างโดย: 
somboon405

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 317 คน กำลังออนไลน์