THE EARTH

Cool~~THE EARTH~~Cool

กำเนิดโลก

          เมื่อประมาณ 5,000 ปีมาแล้ว  กลุ่มก๊าซในเอกภพบริเวณนี้  ได้รวมตัวกันเป็นหมอกเพลิงที่มีชื่อว่า         "โซลาร์เนบิวลา" แรงโน้มถ่วงทำให้กลุ่มก๊าซยุบตัวและหมุนตัวเป็นรูปจาน  ใจกลางมีความร้อนสูงเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่น  กลายเป็นดาวฤกษ์ที่มีชื่อเรียกว่า  ดวงอาทิตย์  ส่วนวัสดุที่อยู่รอบๆมีอุณหภูมิต่ำกว่า  รวมตัวเป็นกลุ่มๆมีมวลสารและมีความหนาแน่นมากขึ้นเป็นชั้นๆและกลายเป็นดาวเคราะห์ในที่สุด  รวมถึงดาวเคราะห์โลกด้วย            

          โลกในยุคแรกเป็นของเหลวหนืดร้อน  ถูกกระหน่ำชนด้วยอุกกาบาตตลอดเวลา  องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุหนัก  เช่น  เหล็ก  และนิกเกิล  จมตัวลงสู่แก่นกลางของโลก  ขณะที่องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุเบา  เช่น  ซิลิกอน

ลอยตัวขึ้นสู่เปลือกนอก  ก๊าซต่างๆ  เช่น  ไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์  พยายามแทรกตัวออกจากพื้นผิวก๊าซไฮโดรเจนถูกลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ทำลายให้แตกเป็นประจุ  ส่วนหนึ่งหลุดหนีออกสู่อวกาศ  อีกส่วนหนึ่งรวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นไอน้ำ  เปลือกนอกตกผลึกเป็นของแข็ง  ไอน้ำในอากาศควบแน่นเกิดฝน  น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาสะสมบนพื้นผิว  เกิดทะเลและมหาสมุทร  

          โลกมีลักษณะเป็นวงรี  โดยในแนวดิ่งเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 12,711 กม.  ในแนวนอนยาว 12,755 กม.  ต่างกัน 44 กม.  มีพื้นน้ำ 3 ส่วน  หรือ  71%  และมีพื้นดิน 1 ส่วน  หรือ  29%  แกนโลกจะเอียง 23.5 องศา

โครงสร้างและส่วนประกอบของโลก

           

           เปลือกโลก

                 เปลือกโลก(crust)  เป็นชั้นนอกสุดของโลกที่มีความหนาประมาณ 60-70 กิโลเมตร  ซึ่งถือว่าเป็นชั้นที่บางที่สุดเมื่อเปรียบกับชั้นอื่นๆเสมือน เปลือกไก่ไข่ หรือ เปลือกหัวหอม 

                 เปลือกโลกประกอบไปด้วยแผ่นดินและแผ่นน้ำ  ซึ่งเปลือกโลกส่วนที่บางที่สุดคือ ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร  ส่วนเปลือกโลกที่หนาที่สุดคือ เปลือกโลกส่วนที่รองรับทวีปที่มีเทือกเขาที่สูงที่สุดอยู่ด้วย  นอกจากนี้ เปลือกโลกยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชั้น  คือ

                1. ชั้นหินไซอัล(sial)  เป็นเปลือกโลกชั้นบนสุด  ประกอบด้วยซิลิกาและอะลูมินาซึ่งเป็นหินแกรนิตชนิดหนึ่ง  สำหรับบริเวณผิวของชั้นนี้จะเป็นหินตะกอน  ชั้นหินไซอัลนี้  มีเฉพาะเปลือกโลกส่วนที่เป็นทวีปเท่านั้น  ส่วนเปลือกโลกที่อยู่ใต้ทะเลและมหาสมุทรจะไม่มีหินชั้นนี้

                 2. ชั้นหินไซมา(sima)  เป็นชั้นที่อยู่ใต้หินชั้นไซอัลลงไป  ส่วนใหญ่เป็นหินบะซอลต์  ประกอบด้วยแร่ซิลิกา  เหล็กออกไซด์และแมกนีเซียม  ชั้นหินไซมานี้ห่อหุ้มทั่วทั้งพื้นโลกอยู่ในทะเลและมหาสมุทร  ซึ่งต่างจากหินชั้นไซอัลที่ปกคลุมเฉพาะส่วนที่เป็นทวีป  และยังมีความหนาแน่นมากกว่าชั้นหินไซอัล

           

           เนื้อโลก

                 เนื้อโลก(mentle)  เป็นชั้นที่อยู่ถัดลงไปจากชั้นเปลือกโลก  ส่วนมากเป็นของแข็ง  มีความลึกประมาณ 2,900 กิโลเมตร  นับจากฐานล่างสุดของเปลือกโลก  จนถึงตอนบนของแก่นโลก  ชั้นเนื้อโลกส่วนบนเป็นหินที่เย็นตัวแล้วและบางส่วนมีรอยแตกเนื่องจากความเปราะ  ชั้นเนื้อโลกส่วนบนกับชั้นเปลือกโลกรวมกันเรียกว่า "ธรณีภาค(lithosphere)"  มีความหนาประมาณ 100 กิโลเมตร  นับจากผิวโลกลงไป  ชั้นเนื้อโลกถัดลงไปที่ความลึก 100-350 กิโลเมตร  เรีบกว่า  "ชั้นฐานธรณีภาค(asthenosphere)"  เป็นชั้นของหินหลอมละลายร้อน  หรือหินหนืดที่เรียกว่า แมกมาซึ่งหมุนวนอยู่ภายในโลกอย่างช้าๆ  ชั้นเนื้อโลกที่อยู่ถัดลงไปอีกเป็นชั้นล่างสุดอยู่ที่ความลึกตั้งแต่ 350-2,900 กิโลเมตร  เป็นชั้นที่เป็นของแข็งร้อนแต่แน่นและหนืดกว่าตอนบน  เมื่ออุณหภูมิสูงตั้งแต่ประมาณ 2,250-4,500 องศา

            

           แก่นโลก

                 ความหนาแน่นของดาวโลกโดยเฉลี่ยคือ 5,515 กก./ลบ.ม.  ทำให้มันเป็นดาวเคราะห์ที่หนาแน่นที่สุดในระบบสุริยะ  แต่ถ้าวัดเฉพาะความหนาแน่นเฉลี่ยของพื้นผิวโลกแล้ววัดได้เพียงแค่ 3,000 กก./ลบ.ม. เท่านั้น  ซึ่งทำให้เกิดข้อสรุปที่ว่า  ต้องมีวัตถุอื่นๆที่หนาแน่นกว่าอยู่ในแก่นโลกแน่นอน  ระหว่างการเกิดขึ้นของโลก  ประมาณ 4.5 พันล้านปีมาแล้ว  การหลอมละลายอาจทำให้เกิดสสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าไหลเข้าไปในแกนกลางของโลก  ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าคลุมเปลือกโลกอยู่  ซึ่งทำให้แก่นโลก(core)  มีองค์ประกอบเป็นธาตุเหล็กถึง 80%  รวมถึงนิกเกิลและธาตุที่มีน้ำหนักที่เบากว่าอื่นๆ  แต่ในขณะที่สสารที่มีความหนาแน่นสูงอื่นๆ  เช่น  ตะกั่วและยูเรเนียม  มีอยู่น้อยเกินกว่าที่จะผสานเข้ากับธาตุที่เบากว่าได้  และทำให้สสารเหล่านั้นคงที่อยู่บนเปลือกโลก  แก่นโลกแบ่งออกได้เป็น 2 ชั้น  ได้แก่

                 1.แก่นโลกชั้นนอก (outer core)  มีความหนาจากผิวโลกประมาณ 2,900-5,000 กิโลเมตร  ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลในสภาพที่หลอมละลาย  และมีความร้อนสูง  มีอุณหภูมิประมาณ 6,200-6,400 องศา  มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 12.0  และส่วนนี้มีสถานะเป็นของเหลว

                 2.แก่นโลกชั้นใน (inner core)  เป็นส่วนที่อยู่ใจกลางโลกพอดี  มีรัศมีประมาณ 1,000 กิโลเมตร  มีอุณหภูมิประมาณ 4,300-6,200 และมีความดันมหาศาล  ทำให้ส่วนนี้จึงมีสถานะเป็นของแข็ง  ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลที่อยู่ในสภาพที่เป็นของแข็ง  มีความหนาแน่นสัมพัทธ์ 17.0

สภาพบรรยากาศ
     สภาพอากาศของโลก คือ การถูกห่อหุ้มด้วยชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีทั้งหมด 5 ชั้น ได้แก่
1. บรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) เป็นบรรยากาศชั้นล่างสุดติดกับผิวโลกขึ้นไปบริเวณศูนย์สูตร บรรยากาศชั้นนี้มีความหนามากกว่าบริเวณขั้วโลก บริเวณศูนย์สูตรโลกมีระดับความสูงประมาณ 16 กิโลเมตร ส่วนบริเวณขั้วโลกมีระดับความสูงประมาณ 8 กิโลเมตร
เนื่องจากบรรยากาศในชั้นนี้อยู่ใกล้กับพื้นผิวโลกมากที่สุด จึงมีความเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาก การเปลี่ยนแปลงและปรากฎการณ์ต่าง ๆ ของบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์นี้จะเกี่ยวข้องกับอุณหภูมิของอากาศและลมฟ้าอากาศที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
อากาศในบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์จะประกอบด้วยละอองน้ำและก๊าซต่าง ๆ ที่ไม่มีสีและไม่มีกลิ่น รวมตัวกันเรียกว่า ความชื้น

               2. บรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์(Stratosphere) บรรยากาศชั้นนี้เป็นชั้นบรรยากาศที่มีอยู่เหนือชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปและสูงจากระดับพื้นดินไม่เกิน 30 กิโลเมตร ลักษณะทั่วไปของบรรยากาศจะมีกระแสอากาศเคลื่อนที่ในแนวนอนและสภาพของอากาศสงบ ตอนล่างของบรรยากาศชึ้นนี้ที่อยู่ติดกบแนวโทรโพรพอสจะไม่มีอากาศแปรปรวน
ดังนั้นนักบินจึงนิยมใช้ระดับเพดานบินของเครื่องบินอยู่ในบรรยกาศชั้นนี้และแนวสูงสุดของบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่า สเตรโตพอส  ในชั้นนี้อุณหภูมิจะเริ่มสูงขึ้นตั้งแต่ระยะสูง 20 กิโลเมตรขึ้นไปจนมีอุณหภูมิถึง 20 องศาเซลเซียส ในชั้นบรรยากาศนี้จะมีชั้นของโอโซนก่อตัวเป็นม่านหรือเปลือกครอบคลุมห่อหุ้มโลก อยู่ที่ระยะสูง 30 กิโลเมตร ถึง 40 กิโลเมตร ม่านโอโซนนี้จะทำหน้าที่ดูดกลืนหรือกรองรังสีอุลตร้าไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ ์์์ไม่ให้ส่องลงมาบนผิวโลกโดยตรง หากชั้นโอโซนถูกทำลายลงไปรังสีอุลตร้าไวโอเลตจะส่องตรงลงไปยังผิวโลก ซึ่งทางการแพทย์กล่าวว่าจะเป็นบ่อเกิดของมะเร็งบนผิวหนัง

             3. บรรยากาศชั้นมีโซสเฟียร์ (Mesosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากชั้นสเตรโตสเฟียร์ขึ้นไปและอยู่สูงจากพื้นดินไม่เกิน 80 กิโลเมตร อุณหภูมิของอากาศนี้จะสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะตอนล่างของบรรยากาศชั้นมีโซสเฟียร์จะมีก๊าซโอโซนปรากฎอยู่ โอโซนนี้จะช่วยดูดซับรังสีอัลตร้าไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ส่วนใหญ่เอาไว้

              4. บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) เริ่มตั้งแต่ 80-600 กิโลเมตร  บรรยากาศชั้นนี้มีอากาศจางมาก  โมเลกุลของก๊าซจะแตกตัวเป็นอะตอมที่มีประจุไฟฟ้าเรียกว่า ไอออน  อนุภาคที่มีประจุไฟ้ฟ้าเหล่านี้สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้  จึงใช้ประโยชน์ในการสื่อสาร

              5. บรรยากาศชั้นเอ็กโซสเฟียร์ (Exsosphere) เริ่มตั้งแต่ 600 กิโลเมตร จากพื้นขึ้นนไป  ก๊าซส่วนมากในบรรยากาศชั้นนี้เป็นไฮโดรเจนกับฮีเลียม  เป็นบรรยากาศชั้นนอกสุด  ที่มีเขตติดต่อกับอวกาศ  จึงไม่อาจจำกัดขอบเขตได้แน่นอน

-The End-

สร้างโดย: 
จำเริญ บุญยืน

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 569 คน กำลังออนไลน์