ไปปายครั้งเดียวไม่เคยพอ
อำเภอปาย เป็นเมืองเก่าแก่ของจังวัดแม่ฮ่องสอน อีกทั้งยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมไปมากที่สุดในฤดูหนาว การไปเที่ยวปายจึงเป็นการไปเที่ยวที่ไปครั้งเดียวคงจะไม่พอจริงๆ
จังหวัดแม่ฮ่องสอน
แม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทย มีความโดดเด่นหลายลักษณะ โดยเฉพาะสภาพภูมิประเทศ ความหลากหลายด้านวัฒนธรรม และความหลากหลายของประชากรจากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ นับเป็นจังหวัดที่สถิติน่าสนใจหลายอย่าง เช่น มีประชากรเบาบางที่สุดในประเทศ และมีประชากรน้อยมากเป็นอันดับ 3 ในขณะที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ
แม่ฮ่องสอนได้ชื่อว่าเป็น เมืองสามหมอก เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน สภาพอากาศมีหมอกปกคลุมตลอดเวลาส่วนใหญ่ของปี นอกจากนี้แม่ฮ่องสอนยังนับเป็นพื้นที่ปลายสุดด้านตะวันตกของประเทศ คือที่เส้นแวง 97.5 องศาตะวันออกในเขตอำเภอแม่สะเรียง (ตะวันออกสุดของประเทศ อยู่ที่อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ที่ 105.5 องศาตะวันออก)
ประชากร
ประชากรในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีความหลากหลาย ทั้งคนเมือง ชาวไต (ชาวไทยใหญ่) จีนฮ่อ พม่า และชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ราวร้อยละ 60 ของประชากรทั้งหมด ได้แก่ ม้ง (แม้ว) ลีซู (ลีซอ) ล่าหู่ (มูเซอร์) ลัวะ และปกฺกะญอ (กะเหรี่ยง) เป็นต้น โดยต่างรักษาวัฒนธรรมของตนเอาไว้ได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็อยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านที่มีวัฒนธรรมต่างกันได้โดยไม่เคยปรากฏความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมแต่อย่างใดด้วยความหลากหลายของเชื้อชาติดังกล่าวนี้ ประชากรในแม่ฮ่องสอนจึงมีการใช้ภาษาที่หลากหลายด้วย
อาณาเขต
พื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอาณาเขตโดยรอบ ดังนี้
• ทิศเหนือ จรดสหภาพพม่า
• ทิศตะวันออก จรดจังหวัดเชียงใหม่
• ทิศใต้ จรดจังหวัดตาก
• ทิศตะวันตก จรดสหภาพพม่า โดยมีแม่น้ำสาละวินคั่นเป็นบางช่วง
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
• ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกบัวตอง (Tithonia diversifolia)
• ต้นไม้ประจำจังหวัด: กระพี้จั่น (Millettia brandisiana)
• คำขวัญประจำจังหวัด: หมอกสามฤดู กองมูเสียดฟ้า ป่าเขียวขจี ผู้คนดี ประเพณีงาม ลือนามถิ่นบัวตอง
อำเภอปาย
อำเภอปาย เป็นอำเภอขนาดเล็กทางตอนเหนือของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางมาเที่ยวชมความงามตามธรรมชาติ
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอปายตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
• ทิศเหนือ ติดต่อกับเมืองปั่น จังหวัดตองยี รัฐฉาน (ประเทศพม่า)
• ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเวียงแหง อำเภอเชียงดาว และอำเภอแม่แตง (จังหวัดเชียงใหม่)
• ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอสะเมิงและอำเภอแม่แจ่ม (จังหวัดเชียงใหม่)
• ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนและอำเภอปางมะผ้า
ภูมิศาสตร์
เป็นที่ราบแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขา มีแม่น้ำหลายสาย คือ น้ำปาย น้ำของ และน้ำแม่ปิงน้อย อีกทั้งมีลำห้วยอีกหลายสาย คือ ห้วยแม่เมือง ห้วยแม่เย็น และห้วยแม่ฮี้
ประวัติศาสตร์
อำเภอปายเป็นเมืองเก่าแก่ ประชากรที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนแห่งนี้มาแต่เดิมคือชาวพ่ายหรือไปร ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใช้ภาษาตระกูลออสโตร-เอเชียติก สาขาว้า-เรียง ดังมีร่องรอยหลักฐานซากวิหารและเจดีย์กระจายอยู่ทั่วไปทั้งบนภูเขาสูง ที่ดอนเชิงเขา บริเวณพื้นราบลุ่มน้ำปาย บางแห่งก่อสร้างด้วยหิน เช่น ในผืนป่าบริเวณใกล้น้ำตกเอิกเกอเต่อ ซึ่งเป็นต้นน้ำแม่ปิงน้อย บางแห่งมีการขุดคูเป็นร่องลึกบนภูเขาสูงชัน มีเจดีย์บนยอดเขามีหลักฐานว่าเจ้าเมืองคนแรกคือ ขุนส่างปาย ในสมัยพระเจ้าโหตรประเทศ พระราชาธิบดีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ส่งเจ้าแก้วเมืองออกสำรวจชายแดน ได้พบว่าภูมิประเทศน่าสนใจ จึงแนะนำให้ขุนส่างปายย้ายเมืองมาตั้งฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปายเพราะเป็นที่ราบกว้างขวาง ผู้คนจึงเรียกเมืองใหม่ว่า "เวียงใต้" ส่วนเมืองเก่าเรียกว่า "เวียงเหนือ"
พ.ศ. 2454 เมืองปายได้ยกฐานะเป็นอำเภอ โดยมีนายอำเภอคนแรกชื่อ รองอำมาตย์เอกหลวงเจริญเขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมินทร์)
ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์
เมืองปายเป็นเมืองที่มีคนตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในสมัยประวัติศาสตร์บริเวณที่ตั้งเมืองปายเป็นเมืองสำคัญของล้านนาในสมัยราชวงศ์มังรายซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นศูนย์กลาง ต่อมาเมืองปายได้ร้างไปพร้อมกับเมืองเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. 2318-2338 เมืองปายได้ฟื้นฟูเป็นหมู่บ้านและพัฒนาเป็นอำเภอปาย โดยมีผู้คนหลายกลุ่มชาติพันธุ์อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ ได้แก่ คนไทยวน (คนเมือง) ชาวไทใหญ่ ชาวปกาเกอญอ (กะเหรี่ยง) และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ ทั้งนี้เนื่องจากเมืองปายตั้งอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย เหมาะสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปัจจุบันเมืองปายเป็นเมืองชุมทางที่สำคัญเมืองหนึ่งบนเส้นทางระหว่างเชียงใหม่กับแม่ฮ่องสอน
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
อำเภอปายมีร่องรอยการอาศัยอยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และมีชุมชนโบราณที่ปรากฏชื่อในตำนานคัมภีร์ใบลานหลายเมือง และมีประวัติสืบต่อกันมานับร้อยปี ประกอบกับมีหลักฐานโบราณคดีปรากฏอยู่ในชุมชนโบราณดังกล่าวด้วย จากการศึกษาของพระครูปลัดกวีวัตน์ธนจรรย์ สุระมณี วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีรายงานการสำรวจว่าในเขตเมืองน้อย อำเภอปาย มีหลักฐานโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ดังนี้
• ถ้ำผีแมน บ้านห้วยหก ตำบลเวียงเหนือ อยู่ห่างจากบ้านห้วยหกไปทางทิศตะวันตกราว 1,500 เมตร พบซากกระดูกและระแทะคล้ายรางไม้ให้อาหารสัตว์หลงเหลืออยู่ บางส่วนถูกชาวบ้านเผาไปเกือบหมดแล้ว ถ้ำผีแมนซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์นี้มีอยู่หลายแห่งในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เช่น
o ถ้ำป่าคาน้ำฮู ตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน
o ถ้ำน้ำลอด อำเภอปางมะผ้า พบหลักฐานของใช้ของคนถ้ำในยุคนั้นคือ กำไลแขนทำด้วยโลหะ หม้อดินลายเชือกทาบ ขวานหินขุด ระแทะไม้ ฯลฯ
• ถ้ำดอยปุ๊กตั้ง อยู่ทางทิศใต้ของบ้านห้วยเฮี้ย ตำบลเวียงเหนือ ใช้เวลาเดินทางด้วยเท้าจากหมู่บ้านประมาณ 1 ชั่วโมง พบเครื่องใช้ของมนุษย์ถ้ำมีลักษณะเช่นเดียวกันกับที่พบในถ้ำผีแมนแห่งอื่น ๆ
การเดินทางไปปาย
1.รถตู้โดยสาร วิธีนี้ดูเหมือนว่าจะได้รับความนิยมมากที่สุด ที่แนะนำคือ aYa
Service: ปายโทร 053-699888, เขียงใหม่ โทร. 053-247889
ราคา 150 บาท ต่อ คน ต่อเที่ยว รับส่งถึง โรงแรม มีรถออกทุกชั่วโมงในเวลากลางวันตั้งแต่ 9.00 น.
2.รถโดยสารประจำทางจากกรุงเทพฯ
- มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศของบริษัทเอกชน ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือหมอชิต 2 ถนนกำแพงเพชร ทุกวันๆ ละ 1 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เมืองเหนือยานยนต์โทร. 0 2936 3587-8 จากเชียงใหม่
- มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ วิ่งบริการ 2 เส้นทาง คือ
1. สายเชียงใหม่-แม่สะเรียง-แม่ฮ่องสอน มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา (ทางหลวงหมายเลข 108) 06.30-21.00 น. ใช้เวลาเดินทางถึงอำเภอ แม่สะเรียง 4 ชั่วโมง ถึงแม่ฮ่องสอน 8 ชั่วโมง
2. สายเชียงใหม่-ปาย-แม่ฮ่องสอน มีบริการวันละหลายเที่ยว ตั้งแต่เวลา (ทางหลวงหมายเลข 107 และ 1095) 07.00-12.30 น. ใช้เวลาในการเดินทาง ประมาณ 6 ชั่วโมง (เชียงใหม่ ถึง แม่ฮ่องสอน) รายละเอียดติดต่อ บริษัท เปรมประชาขนส่ง จำกัด โทร. 0 5361 1318
ราคา 60 บาทต่อเที่ยว
3.เครื่องบิน SGA เครือ นกแอร์ บิน เชียงใหม่ - ปาย ทุกวัน วันละ 2 รอบ เพียง 30 นาที มีแค่ 12 ที่นั่ง โทร.02-6646099 บนเครื่องยามเครื่องจะล่อนลง คุณจะได้ชมวิวทุ่งนาและขุนเขาจากมุมสูง หาชมที่ไหนไม่ได้แน่ ได้ภาพประทับใจไปอีกแบบ
สถานที่ท่องเที่ยวที่ปาย
1.อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
สถานที่เที่ยวแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดหากผ่านมาจากเชียงใหม่(แม่ริม) คือ ห้วยน้ำดัง หรือ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่จะตื่นกันตี 5 ขับรถขึ้นห้วยน้ำดังชมพระอาทิตย์ขึ้น ใช้เวลาประมาณ ครั้งชั่วโมง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมอีกแห่งหนึ่ง สำหรับผู้ที่เดินทางจากเชียงใหม่ไปปาย ก่อนถึงปายนักท่องเที่ยวไม่พลาดที่จะแวะเข้าไปสัมผัสบรรยากาศ การเดินทางจากจังหวัดเชียงใหม่ ตามทางหลวงหมายเลข 107 (เชียงใหม่ - ฝาง) แล้วเลี้ยวซ้ายตรงสามแยกตลาดแม่มาลัย จากนั้นไปตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1095 (แม่มาลัย - ปาย) พอถึงหลักกิโลเมตรที่ 65 -66 ให้เลี้ยวขวา เดินทางต่อไปอีก 6 กม. ก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ที่นี่มีทรัพยากรที่สมบูรณ์
คล้ายเป็นของขวัญที่ธรรมชาติทักถอไว้ให้ จุดชมวิวห้วยน้ำดังหรือที่รู้จักกัน ดอยกิ่วลม จุดชมทะเลหมอกที่สวยงามยามอรุณรุ่ง ที่สามารถเห็นพระอาทิตย์ขึ้นผ่านไอหมอก นอกเหนือจากจุดชมวิว ยังมีน้ำพุร้อนโป่งเดือด และเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติโป่งเดือด ภายในอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมีบ้านพักรับรอง จัดเตรียมไว้สองจุด คือบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ และบริเวณโป่งเดือด พร้อมที่อาบน้ำแร่ให้ชำระล้างร่างกายคลายอ่อนล้า หากใครที่ต้องการใกล้ชิดธรรมชาติ ก็สามารถกางเต้นท์นอนได้ในสถานที่จัดไว้ให้ มีทั้งเต้นท์และเครื่องนอนไม่เสียเวลาแบกมาจากบ้านด้วย สำหรับใครที่ไม่อยากพักที่ห้วยน้ำดังแต่อยากแวะไปเที่ยว มานอนที่ปายก็ไม่ไกลห้วยน้ำดังเท่าไหร่
2.น้ำพุร้อนปาย
อยู่ในป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนท้องที่ตำบลแม่ฮี้ โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) ข้ามสะพานแม่น้ำปาย ถึงบริเวณหลักกม.ที่ 87-88 แยกซ้ายเข้าไปอีก 2 กม. ตามทางเข้าบ้านท่าปาย เป็นทางราดยางตลอดทั้งสาย สภาพของโป่งน้ำร้อนเป็นบ่อน้ำร้อนน้ำกำลังเดือนเป็นฟองๆ และมีหมอกควันปกคลุมพื้นที่ พร้อมทั้งมีน้ำร้อนไหลเรื่อยๆ ทั่วบริเวณกว้างมีบ่อใหญ่สองบ่อ นอกนั้นมีลักษณะเป็นน้ำผุดบางจุดความร้อนประมาณ 80 องศาเซลเซียส และรอบๆ โป่งร้อนเป็นไม้สักที่สมบูรณ์มาก ทุกวันจะมีมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะวันหยุด เสาร์อาทิตย์ จะมีคนมาเที่ยวที่นี่มาก นอกจากการอาบน้ำแร่ จะเป็นผลดีต่อสุขภาพแล้ว หลายคนที่มาแช่น้ำพุร้อนเชื่อกันว่าจะทำให้โรคภัยไข้เจ็บบางอย่างหายหรืออาการดีขึ้นอีกด้วย
3.น้ำพุร้อนเมืองแปง
อยู่ในเขตบ้านเมืองแปง ตำบลเมืองแปงเป็นบ่อน้ำพุร้อนขนาดใหญ่ ห่างจากอำเภอปาย ประมาณ 28 กม. โดยใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) และแยกเข้าสาย 1265 ด้านขวามือตรงบริเวณหลักกม.ที่ 85-86 ใกล้กับหน่วยพิทักษ์และรักษาป่าแม่ปิงเป็นทางลาดยาง มีป้ายบอกทาง จนสุดทางลาดยางมีสะพานไม้เล็กๆ อยู่ขวามือ ต้องเดินเท้าไปต่ออีก 150 เมตร อยู่ทางไปบ้านวัดจันทร์ จะแยกกันเมื่อขับรถไปได้ เกีอบ 20 กม.อุณหภูมิของน้ำร้อนสูงถึง 95 องศาเซลเซียส และพลุ่งขึ้นเป็นระยะ ๆ
4.โครงการหลวงบ้านวัดจันทร์
อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ บรรยากาศเงียบสงบ อยู่ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ติดกับ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน ต้องเดินทางจาก อ.ปาย ทางหลวง 1095 จะใกล้กว่า ใช้เวลา เดินทางประมาณ 1 ชม 40 นาที สิ่งที่น่าสนใจคือ ทิวทัศน์ของป่าสนธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ แวดล้อมด้วยวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าปากะญอ กิจกรรมที่นิยม คือ ดูนกที่หายาก ปั่นจักรยาน ชมทะเลหมอกยามเช้า เดินป่าศึกษาธรรมชาติ และถ่ายรูปธรรมชาติสวยๆในช่วงระหว่างกลางเดือนมกราคมถึงช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ดอกซากุระเมืองไทย หรือต้นนางพญาเสือโครงจะเบ่งบาน พร้อมกับดอกสาลี่ดอยขาวแปลกตา ลองแวะมาชมหรือถ้ามีโอกาสได้มาพักที่นี่ก็จะได้บันทึกภาพสวย ๆ ไว้เป็นที่ระลึก
5.โครงการเกษตรที่สูงบ้านวัดจันทร์
เป็นโครงการในพระราชดำริ ปลูกป่า พืชและสัตว์เศษฐกิจ ภายในโครงการมีแปลงปลูกผักปลอดสารพิษ ไม้ผลเมืองหนาว อย่างสาลี่ อาโวคาโด่ ฯลฯ ฟารม์เลี้ยงกระต่าย อยู่เลยโครงการหลวงบ้านวัดจันทร์ลึกเข้าไปสุดทาง หมู่บ้านวัดจันทร์ 3 กม.
6.วัดกลาง อ.ปาย
ตั้งอยู่ที่ตำบลเวียงใต้ ภายในวัดมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปไทยใหญ่แท้ประดิษฐานอยู่กลางลานวัด มีเจดีย์ทรงมอญรายล้อมโดยรอบใต้เจดีย์ทำเป็นซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปประจำวัน เหนือฐานเจดีย์องค์ใหญ่ทำเป็นมณฑปยอดมงกุฎ ภายในวัดมีวัตถุโบราณ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อยู่ในตัวเมืองปาย
7.เจดีย์พระธาตุแม่เย็น
อยู่ที่บ้านแม่เย็น ตำบลแม่ฮี้ ตามเส้นทางสายแม่ฮ่องสอน-ปาย เป็นเจดีย์ที่สร้างสมัยใด ไม่ปรากฎ ตั้งอยู่บนเนินสูง และเมื่อขึ้นไปนมัสการ องค์พระธาตุแม่เย็น จะมองเห็นทิวทัศน์ ของอำเภอปายโดยทั่วถึง เป็นจุดสังเกต ของผู้โดยสารเครื่องบิน ว่าเข้าเขตอำเภอปายแล้ว
8.วัดน้ำฮู
ห่างจากตัวอำเภอไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กม. เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่ออุ่นเมือง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทำด้วยโลหะทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 28 นิ้ว สูง 30 นิ้ว พระพุทธรูปองค์นี้พระเศียรกลวง ส่วนบนเปิดปิดได้และมีน้ำขังอยู่ เป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม อายุประมาณ 500 ปี เมื่อ พ.ศ. 2515 มีพระธุดงค์จากอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มานมัสการและสงสัยว่าข้างในพระจะมีน้ำจึงเปิดดูพบว่ามีน้ำจริงๆ ข่าวนี้แพร่ออกไปก็มีผู้คนหลั่งไหลมาขอน้ำไปสักการะพอน้ำในพระเศียรหมดก็จะมีไหลออกมาอีกในลักษณะซึกออกมาตลอดเวลา น้ำตกอยู่ระหว่างทางไป น้ำตกหมอแปงด้านหลังมีองค์พระเจดีย์ ตามประวัติเล่าว่า พระสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงสร้างเพื่อบรรจุพระอัฐิของพระพี่นางสุพรรณกัลยา
9.น้ำตกหมอแปง อ.ปาย
น้ำตกหมอแปง เป็นน้ำตกขนาดกลาง อยู่ในบริเวณ หมู่บ้านหมอแปง ทางทิศเหนือของตัวอำเภอ ใช้เส้นทางสายปาย แม่ฮ่องสอน อยู่ห่างจากตัวอำเภอปาย ก.ม. เส้นทางเป็นถนนคอนกรีต และเป็นถนนลูกรังในช่วงสุดท้ายที่จะถึงทางขึ้นน้ำตก ทางช่วงนี้ไม่สามารถนำรถยนต์ขึ้นได้ นอกจากเป็นรถขับเคลื่อนแบบ 4 ล้อ มอเตอร์ไซด์สามารถนำขึ้นไปได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการขับขี่ น้ำตกมีบริเวณสำหรับกางเต้นท์ แต่ไม่มีร้านค้า
10.สะพานสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
สะพานประวัติศาสตร์ ท่าปาย สร้างขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อพ.ศ. 2485 ขณะที่ญี่ปุ่นเรืองอำนาจอยู่ในประเทศไทย ทหารญี่ปุ่นใช้อำเภอปายเป็นเส้นทางขนส่งจากเชียงใหม่ไปยังพม่า สะพานแห่งนี้เป็นเส้นทางลำเลียงกำลังพลและอาวุธสู่พม่าเช่นเดียวกับสะพานข้ามแม่น้ำแควที่กาญจนบุรี ปัจจุบันทรุดโทรมมาก ใช้งานไม่ได้
11.กอแล ( ปาย แคนย่อน)
อยู่ในเขตบ้านร้องเหย่ง ห่างจากอำเภอประมาณ 7 กม. สามารถเดินทางได้โดยทางหลวงหมายเลข 1095 (ปาย-แม่มาลัย) บริเวณหลักกม.ที่ 88 อยู่ทางด้านขวามือ และต้องเดินเข้าไปอีกประมาณ 200 เมตร ลักษณะเป็นผืนดินที่ถูกกัดเซาะเป็นร่องลึกคล้ายหน้าผาติดต่อกันเป็นบริเวณกว้างประมาณ 5 ไร่เศษ (คล้ายกับแพะเมืองผีของจังหวัดแพร่) สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้ทุกฤดูกาล