อะควอ ก็คือ น้ำ !!!

ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง

ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล


Aqua (อะควอ) เป็นรากศัพท์ภาษาละติน แปลว่า 'น้ำ'

             น้ำเป็นปัจจัยทีมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด เมื่อพูดถึงน้ำเราอาจมองเห็นภาพของน้ำคือ น้ำที่ใช้ดื่ม น้ำตามแม่น้ำลำคลอง แต่ในความเป็นจริงแล้วรู้หรือไม่ว่าน้ำไม่ได้มีแต่สถานะที่เป็น ของเหลวเท่านั้น น้ำยังอยู่ในรูปของ ของแข็งที่เราเรียกกันว่า น้ำแข็ง ลูกเห็บ อยู่ในสถานะแก๊สหรือเรียกให้เข้าใจง่ายขึ้นคือ ไอน้ำนั่นเอง


            แม้ว่าบางครั้งเราอาจมองไม่เห็นด้วยตา แต่น้ำอยู่รอบๆตัวเราตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นน้ำในมหาสมุทร ไอน้ำที่อยู่ในอากาศ หรือแม้กระทั่ง น้ำที่แทรกอยู่ตามหินตามดิน ที่เราเหยียบอยู่

 

          โลกของเราประกอบขึ้นด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นฝืนน้ำนั้น มีอยู่ประมาณ 3 ส่วน (75%) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (25%) น้ำมีความสำคัญอย่างยิ่งกับชีวิตของพืชและสัตว์บนโลกรวมทั้งมนุษย์เราด้วย เพราะ น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญในร่างกาย และสิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องการน้ำใน การดำรงชีวิตน้ำสำหรับใช้สอยประจำวัน

 

ประโยชน์ของน้ำ

   1. เพื่อการอุปโภคและบริโภค

      น้ำมีความจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำประมาณ 60 - 70 % โดยต้องใช้ในการดื่มประมาณ 2 ลิตรต่อวัน และใช้ในการบริโภคประมาณ 3 ลิตรต่อวัน ร่างกายของเรายังใช้น้ำเพื่อพา สารอาหารต่างๆ ไปยังเซลล์ เพื่อรักษาโครงสร้างของร่างกาย และเพื่อการขับถ่ายของเสีย รวมทั้งเพื่อระบายความร้อนออกจากความร้อนออกจากร่างกายด้วย นอกจากนี้ เรายังใช้น้ำในการอุปโภค ทั้งการทำความสะอาด ซักล้าง และกิจกรรมอื่นๆ องค์การสหประชาชาติประมาณการว่า มีประชากรโลกอีกประมาณ 2,000,000 ล้านคนทั่วโลกที่ขาดแคลนน้ำใช้อย่างเพียงพอ

   2. เพื่อการเกษตรกรรม

      การใช้น้ำในการเกษตรกรรมนั้นประมาณว่า มนุษย์ใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก 70% ของปริมาณน้ำที่มนุษย์ใช้ทั้งหมด เพื่อการผลิตธัญญพืชสำหรับการบริโภค ส่วนน้ำที่ใช้สำหรับการเลี้ยงสัตว์แต่ละชนิดจะมีความแตกต่างกันไป เช่น โคนม ม้า หมู ไก่ ต้องการน้ำ 20 , 12, 4 , 0.04 แกลลอนต่อตัวต่อวัน น้ำจึงมีความสำคัญมากในการผลิตอาหารของมนุษย์

   3. เพื่อการอุตสาหกรรม

      น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งในส่วนของกระบวนการผลิตโดยตรง คือ เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ล้างวัตถุดิบ และกิจกรรมต่างๆ ที่สนับสนุนการผลิต เช่น ใช้ในการล้างเครื่องจักร ล้างพื้นโรงงาน และการหล่อเย็น เป็นต้น
อุตสาหกรรมแต่ละประเภทมีความต้องการน้ำในปริมาณและคุณภาพที่แตกต่างกันไป ดังกรณีของโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเบียร์, เซรามิก, กระดาษ มีความจำเป็นที่ต้องใช้ที่มีคุณภาพสูง คือ ปราศจากสิ่งปนเปื้อนต่างๆจึงจะสามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพได้ดี

    4. แหล่งทรัพยากร

     แหล่งน้ำเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของมนุษย์ โดยเฉพาะในทะเลซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่ใหญ่ที่สุด อาหารจากทะเลเป็นอาหารที่สำคัญที่มนุษย์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องลงทุน และทะเลยังเป็นแหล่งเชื้อเพลิงและพลังงาน เช่น น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

    5. เพื่อการคมนาคมขนส่ง

      ในอดีตการขนส่งทางน้ำเป็นการขนส่งที่สำคัญของมนุษย์ และในปัจจุบันก็ยังมีความสำคัญอยู่ โดยเฉพาะการขนส่งระหว่างประเทศ คือ การขนส่งทางทะเล เพราะสามารถขนส่งได้คราวละมากๆ และค่าใช้จ่ายยังถูกกว่าการขนส่งทางอากาศมากอีกด้วย สำหรับการขนส่งภายในประเทศนั้น การขนส่งทางน้ำก็ยังคงบทบาทสำคัญโดยเฉพาะระยะทางไกลๆ จะเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าทางบก

     6. เพื่อการสร้างพลังงาน

      ในการผลิตพลังงานไฟฟ้านั้น ค่าใช้จ่ายที่มาจากการผลิตโดยใช้กระแสน้ำนั้นจะต่ำกว่าการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานอื่นๆ เช่น ถ่านหิน น้ำมัน นิวเคลียร์ รวมทั้ง มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าด้วย

      7. เพื่อการนันทนาการ

     แหล่งกักเก็บน้ำหลายแห่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ เช่น ชายฝั่งทะเล ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำคลอง น้ำตกและลำธาร เป็นต้น กิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวเนื่องจากสถานที่เหล่านี้มีมากมาย เช่น การว่ายน้ำ ตกปลา พายเรือ เป็นต้น น้ำจึงเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต

ปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ

     1. ปัญหาทางด้านปริมาณ
                 
1) การขาดแคลนน้ำหรือภัยแล้ง สาเหตุที่สำคัญได้แก่
- ป่าไม้ถูกทำลายมากโดยเฉพาะป่าต้นน้ำลำธาร
- ลักษณะพื้นที่ไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีแหล่งน้ำ ดินไม่ดูดซับน้ำ
- ขาดการวางแผนการใช้และอนุรักษ์น้ำที่เหมาะสม
- ฝนตกน้อยและฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน

                 2) การเกิดน้ำท่วม อาจเกิดจากสาเหตุหนึ่งหรือหลายสาเหตุร่วมกันดังต่อไปนี้
- ฝนตกหนักติดต่อกันนานๆ
- ป่าไม้ถูกทำลายมาก ทำให้ไม่มีสิ่งใดจะช่วยดูดซับน้ำไว้
- ภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มและการระบายน้ำไม่ดี
- น้ำทะเลหนุนสูงกว่าปกติ ทำให้น้ำจากแผ่นดินระบายลงสู่ทะเลไม่ได้
- แหล่งเก็บกักน้ำตื้นเขินหรือได้รับความเสียหาย จึงเก็บน้ำได้น้อยลง

     2. ปัญหาด้านคุณภาพของน้ำไม่เหมาะสม สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่
1) การทิ้งสิ่งของและการระบายน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเน่าเหม็นจนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้มักเกิดตามชุมชนใหญ่ๆ ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือท้องถิ่นที่มีโรงงานอุตสาหกรรม


                   2) สิ่งที่ปกคลุมผิวดินถูกชะล้างและไหลลงสู่แหล่งน้ำมากกว่าปกติ มีทั้งสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ และสารเคมีต่างๆ ที่ใช้ในกิจการต่างๆ ซึ่งทำให้น้ำขุ่นได้ง่ายโดยเฉพาะในฤดูฝน


                   3) มีแร่ธาตุเจือปนอยู่มากจนไม่เหมาะแก่การใช้ประโยชน์ น้ำที่มีแร่ธาตุปนอยู่เกินกว่า 50 พีพีเอ็มนั้น เมื่อนำมาดื่มจะทำให้เกิดโรคนิ่วและโรคอื่นได้


                   4) การใช้สารเคมีที่มีพิษตกค้าง เช่น สารที่ใช้ป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ ซึ่งเมื่อถูกฝนชะล้างลงสู่แหล่งน้ำจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

     
3. ปัญหาการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างไม่เหมาะสม เช่น ใช้มากเกินความจำเป็นโดยเฉพาะเมื่อเกิดภาวะขาดแคลนน้ำ หรือการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้มากจนดินทรุด

    4. ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของฟ้าอากาศ 
             
เนื่องจากปรากฏการณ์เอล นิโน (El Nino) และลา นินา (La Nina) โดยปรากฎการณ์เอลนิโนเป็นปรากฏการณ์ที่์ผิดธรรมชาติจะิเกิดขึ้นประมาณ 5 ปีต่อครั้ง นานครั้งละ 8 - 10 เดือน
โดยกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกบริเวณเส้นศูนย์สูตรไหลย้อนกลับไปแทนที่กระแสน้ำเย็นในมหาสมุทร แปซิฟิกตะวันออกลงไปถึงชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาใต้ (ประเทศเปรู เอกวาดอร์ และชิลีตอนเหนือ) ทำให้ผิวน้ำที่เคยเย็นกลับอุ่นขึ้นและที่เคยอุ่นกลับเย็นลง
 


           เมื่ออุณหภูมิของผิวน้ำเปลี่ยนแปลงไปก็จะส่งผลทำให้อุณหภูมิเหนือน้ำเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เป็นผลให้เกิดความร้อนและความแห้งแล้งในบริเวณที่เคยมีฝนชุก และเกิดฝนตกหนักในบริเวณที่เคยแห้งแล้งลมและพายุเปลี่ยนทิศทาง
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดเป็นบริเวณกว้าง จึงส่งผลกระทบต่อโลกอย่างกว้างขวาง สามารถทำลายระบบนิเวศในซีกโลกใต้ รวมทั้งพื้นที่บางส่วนเหนือเส้นศูนย์สูตรได้
สาหร่ายทะเลบางแห่งตายเพราะอุณหภูมิสูง ปลาที่เคยอาศัยในน้ำอุ่นต้องว่ายหนีไปหาน้ำเย็นทำให้มีปลาแปลกชนิดเพิ่มขึ้น และหลังการเกิดปรากฎการณ์เอล นิโน แล้ว ก็จะเกิดปรากฏการณ์ลา นินา ซึ่งมีลักษณะตรงกันข้ามตามมา โดยจะเกิดเมื่อกระแสน้ำอุ่นและคลื่นความร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้เคลื่อนย้อนไปทางตะวันตก ทำให้บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกที่อุณหภูมิเริ่มเย็น จะมีการรวมตัวของไอน้ำปริมาณมาก ทำให้อากาศเย็นลง เกิดพายุ และฝนตกหนักโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน

 นอกจากนี้ปรากฏการณ์เรือนกระจกและการลดลงของพื้นที่ป่ายังส่งเสริมความรุนแรงของปัญหาอีกด้วย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
1) ประเทศไทย ประสบความร้อนและแห้งแล้งรุนแรงทั่วประเทศ ฝนตกน้อยหรือตกล่าช้ากว่าปกติ (ยกเว้นภาคใต้ที่กลางเดือนสิงหาคมเกิดฝนตกหนักจนน้ำท่วม) ปริมาณน้ำในแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำและเขื่อนลดน้อยลงมาก รวมทั้งบางจังหวัดมีอุณหภูมิในฤดูร้อนสูงมากและเกิดติดต่อกันหลายวัน เช่น จังหวัดตากมีอุณหภูมิในเดือนเมษายน พ.ศ. 2541 สูงถึง 43.7 องศาเซลเซียส ซึ่งนับว่าสูงที่สุดในรอบ 67 ปี นอกจากนี้ยังทำให้ผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉพาะไม้ผลลดลง
                

     2) ประเทศอินโดนีเซีย ประสบความแห้งแล้ง ทั้งที่อยู่ในเขตมรสุมและมีป่าฝน เมื่อฝนไม่ตกจึงทำให้ไฟไหม้ป่าที่เกิดขึ้นในเกาะสุมาตราและบอร์เนีบวเผาผลาญป่าไปประมาณ 14 ล้านไร่ พร้อมทั้งก่อปัญหามลพิษทางอากาศเป็นบริเวณกว้าง มีผู้คนป่วยไข้นับหมื่น ทัศนวิสัยไม่ดีจนทำให้เครื่องบินสายการบินการูดาตกและมีผู้เสียชีวิต 234 คน อีกทั้ง ยังทำให้ผลิตผลการเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะเมล็ดกาแฟโรบัสตาที่ส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่งได้รับความเสียหายมากเป็นประวัติการณ์

     3) ประเทศปาปัวนิวกินี ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีคนตายจากภัยแล้ง 80 คนและประสบปัญหาแล้งอีกประมาณ 1,000,000 คน

    4) ประเทศออสเตรเลีย อากาศแห้งแล้งรุนแรงจนต้องฆ่าสัตว์เลี้ยงเพราะขาดแคลนน้ำและอาหาร ซึ่งคาดว่า ผลผลิตการเกษตรจะเสียหายประมาณ 432 ล้านเหรียญ

    5) ประเทศเกาหลีเหนือ ปัญหาความแห้งแล้งรุนแรงและอดอยากรุนแรงมาก พืชไร่เสียหายมาก

    6) ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดพายุเฮอร์ริเคนทางด้านฝั่งตะวันตกมากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ของรัฐแคลิฟอร์เนียได้รับภัยพิบัติมากที่สุด ส่วนทางฝั่งตะวันออกซึ่งมีเฮอร์ริเคนค่อนข้างมาก คลื่นลมกลับสงบกว่าปกติ

    7) ประเทศเปรูและชิลี เกิดฝนตกหนักและจับปลาได้น้อยลง (เคยเกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในทะเลทรายอะตาคามา ประเทศชิลี อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งๆ ที่บริเวณนี้แห้งแล้งมากจนประเทศสหรัฐอเมริกาขอใช้เป็นสถานที่ฝึกนักอวกาศโดยสมมติว่าเป็นพื้นผิวดาวอังคาร)
                  

    8) ทวีปแอฟริกา แห้งแล้งรุนแรง พืชไร่อาจเสียหายประมาณครึ่งหนึ่ง

 

สร้างโดย: 
ครูสมบัติ เอกเชี่ยวชาญ

มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้ใหญ่ใจดี
 

 ช่วยด้วยครับ
นักเรียนที่สร้างบล็อก กรุณาอย่า
คัดลอกข้อมูลจากเว็บอื่นทั้งหมด
ควรนำมาจากหลายๆ เว็บ แล้ววิเคราะห์ สังเคราะห์ และเขียนขึ้นใหม่
หากคัดลอกทั้งหมด จะถูกดำเนินคดี
ตามกฎหมายจากเจ้าของลิขสิทธิ์
มีโทษทั้งจำคุกและปรับในอัตราสูง

ช่วยกันนะครับ 
ไทยกู๊ดวิวจะได้อยู่นานๆ 
ไม่ถูกปิดเสียก่อน

ขอขอบคุณในความร่วมมือครับ

อ่านรายละเอียด

ด่วน...... ขณะนี้
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 
มีผลบังคับใช้แล้ว 
ขอให้นักเรียนและคุณครูที่ใช้งาน
เว็บ thaigoodview ในการส่งการบ้าน
ระมัดระวังการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
อ่านรายละเอียดที่นี่ครับ

 

สมาชิกที่ออนไลน์

ขณะนี้มี สมาชิก 0 คน และ ผู้เยี่ยมชม 768 คน กำลังออนไลน์