ลักษณะของคำไทย
ห้ามลบ ขอให้เจ้าของผลงานประกวด แก้ไขข้อมูลได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 เวลา 23.30 น.
หากเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ท่านเข้ามาแก้ไขข้อมูล ถือว่าโมฆะในการพิจารณาได้รับรางวัล
ซึ่งระบบของ Thaigoodview สามารถตรวจสอบได้ว่า ผลงานแต่ละชิ้น มีการแก้ไขเวลาใดบ้าง
ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล
คำมูล
คำมูลหลายพยางค์ที่เกิดจากพยางค์ที่ไม่มีความหมาย เช่น กิ้งก่า ฉ่ำฉ่า ไฉไล
คำมูลหลายพยางค์ที่เกิดจากพยางค์ที่มีความหมาย เช่น กะลาสี นาที สับปะรด
คำมูลหลายพยางค์ที่เกิดจากพยางค์ที่มีความหมายและไม่มีความหมาย เช่น จิปาถะ กำมะลอ นาฬิกา
คำมูลพยางค์เดียวที่เป็นคำไทยแท้ เช่น พ่อ แม่ หู ตา ดิน น้ำ ถ้วย ชาม มีด จอบ กิน นอน ใหญ่ เล็ก ผอม ดำ แดง
คำมูลหลายพยางค์ที่เป็นคำไทยแท้ เช่น กระตือรือร้น โพนทะนา สาละวน
คำมูลพยางค์เดียวที่เป็นคำยืม เช่น กิจ ขันธ์ คช ชอล์ก ฟรี เก๋ เพ็ญ เดิน เซ้ง โกรธ โธ่
คำมูลหลายพยางค์ที่เป็นคำยืม เช่น บิดา มารดา จักษุ ศีรษะ จรัส ไผท กะลาสี ปะการัง ฟุตบอล ไมโครฟิล์ม
คำมูลหลายพยางค์ ควรดูว่าในคำหลายพยางค์นั้นมีความหมายทุกพยางค์หรือไม่ถ้ามีความหมายบ้างไม่มีความหมายบ้างเป็นคำมูลหลายพยางค์ เช่น
มะละกอ = คำมูล 3 พยางค์ นาฬิกา = คำมูล 3 พยางค์
มะ = ไม่มีความหมาย นา = มีความหมาย
ละ = ไม่มีความหมาย ฬิ = ไม่มีความหมาย
กอ = มีความหมาย กา = มีความหมาย
คำประสม
คำประสม คือ การนำคำมูลที่มีใช้ในภาษาไทยมารวมกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปทำให้เกิดคำใหม่ มีความหมายใหม่
การสร้างคำประสม เป็นวิธีการสร้างคำในภาษาไทย มีลักษณะดังนี้คือ
1. คำประสมที่นำคำมูลมาประสมกันแล้วมีความหมายเป็นอีกอย่างหนึ่งแต่ยังคงเค้าความหมายเดิมของคำมูลอยู่ เช่น
แม่ + น้ำ = แม่น้ำ หมายถึง แหล่งรวมของสายน้ำหลัก
แม่ + ยาย = แม่ยาย หมายถึง แม่ของภรรยาที่ลูกเรียกว่ายาย
เล็บ + มือ + นาง = เล็บมือนาง หมายถึง ชื่อดอกไม้ , ขนม
2. คำประสมที่นำคำมูลมาประสมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปจากความหมายของคำมูลเกดิม เช่น
เสีย + ใจ = เสียใจ หมายถึง รู้สึกไม่สบายใจเพราะมีเรื่องไม่สมประสม
ขาย + หน้า = ขายหน้า หมายถึง อับอาย
3. คำประสมที่นำคำมูลมาประสมกับคำมูลที่ย่อข้อความยาวๆให้สั้นเข้า ได้แก่คำเหล่านี้
ช่าง - ช่างเขียน ช่างทอง ช่างปูน ช่างไม้ ช่างเหล็ก
ชาว - ชาวเมือง ชาวบ้าน ชาวนา ชาวชนบท ชาววัง
เครื่อง - เครื่องใช้ เครื่องครัว เครื่องเขียน เครื่องเรียน เครื่องบิน
นัก - นักเรียน นักประพันธ์ นักร้อง นักศึกษา
หมอ - หมอความ หมองู หมอลำ หมอดู หมอยา
ของ - ของรัก ของเล่น ของใช้ ของกิน ของคาว
ที่ - ที่นอน ที่อยู่ ที่ราบ ที่ดิน ที่เล่น
การ - การบ้าน การสงคราม การประปา การเมือง การอุตสาหกรรม
ความ - ความแพ่ง ความอาญา ความวัว ความควาย
4. คำประสมที่สร้างขึ้นจะนำคำไทยประสมกับคำไทยหรือคำภาษาอื่นมาประสมกับคำไทยก็ได้ เช่น
คำไทย + คำเขมร เช่น ของขลัง นายตรวจ ดาวประกายพรึก
คำไทย + คำจีน เช่น กินโต๊ะ เข้าหุ้น บะหมี่แห้ง นายห้าง
คำไทย + คำอังกฤษ เช่น เรียงเบอร์ แป๊บน้ำ น้ำก๊อก พวงหรีด
คำไทย + คำบาลีหรือสันสกฤต เช่น รถไฟ เครื่องคิดเลข ตู้นิรภัย แม่พิมพ์
5. คำประสมที่สร้างขึ้นโดยนำคำไทยกับคำบาลีสันสกฤตหรือคำเขมรมาประสมกันและอ่านออกเสียงต่อเนื่องเหมือนอ่านคำสมาสใน
ภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น พลเมือง ผลไม้ คุณค่า ทุนทรัพย์
1. คำประสมจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ เช่น เตารีด หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ พัดลม ตู้เย็น เครื่องอบผ้า เครื่องซักผ้า
เครื่องดูดฝุ่น ฯลฯ
2. คำประสมเป็นคำเดียวกันจะแยกออกจากกันไม่ได้ ความหายจะไม่เหมือนเดิม เช่น นางแบบ รับรอง มนุษย์กบ
3. วิธีสังเกตคำประสมมักจะมีลักษณะนามให้เห็นอย่างเด่นชัด เช่น ใบนี้ คนนี้ ชุดนี้ ฯลฯ เช่น วันนี้ไม่มีคนใช้คนนี้เลย (คำประสม)
4. คำประสมที่ขึ้นตนด้วยคำว่า “ลูก แม่” ต้องหมายถึงคนจึงจะเป็นคำประสม เช่น ลูกเสือ (คน) แม่มด (คน) ถ้าเป็นลูกของเสือ
แม่ของมด จะเป็นคำเรียงกันธรรมดา ยกเว้นลูกน้ำเป็นคำประสม เพราะมีความหมายเปลี่ยนไป ไม่ใช่ลูกของน้ำ แต่เป็นลูกของยุง
คำซ้อน คือ การนำคำที่มีความหมายเหมือนกัน หรือคล้ายกัน หรือประเภทเดียวกันมาเรียงซ้อนกัน เมื่อ ซ้อนคำแล้วทำให้เกิดความหมายใหม่ขึ้น แต่ยังเค้าความหมายเดิมอยู่ หรือความหมายอาจไม่เปลี่ยนไป แต่ความหมายของคำหน้าจะชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น บ้านเรือน ทรัพย์สิน คับแคบ เป็นต้น
คำซ้อน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
(1.) คำซ้อนเพื่อความหมาย มีลักษณะเป็นการนำคำที่มีความหมายสมบูรณ์มาซ้อนกัน และคำที่นำมาซ้อนกันมีความหมายคล้ายกันหรือ
ใกล้เคียงกัน หรือเป็นไปในทำนองเดียวกัน คำที่ซ้อนกันจะมีลักษณะ ดังนี้
1. คำไทยซ้อนคำไทย เนื่องจากคำไทยเป็นภาษาคำโดด เพื่อให้ได้ความหมายแน่นอนจึงนำคำไทยที่มีความหมายใกล้เคียงกันมา
ซ้อนกัน เช่น ใหญ่โต เรือแพ เติบโต เสื่อสาด มากมาย อ้วนพี ยืนยัน เป็นต้น
2. คำไทยซ้อนคำต่างประเทศ เป็นการนำคำไทยซ้อนกับภาษาบาลี,สันสกฤต,เขมรหรือภาษาอื่น เช่น
คำไทยซ้อนคำบาลีและสันสกฤต เช่น ซากศพ รูปร่าง ทรัพย์สิน ข้าทาส จิตใจ ซื่อสัตย์ นัยน์ตา สูญหาย สาปแช่ง แก่นสาร
คำไทยซ้อนคำเขมร เช่น เขียวขจี เงียบสงัด แบบฉบับ ถนนหนทาง ทรวงอก แสวงหา ยกเลิก
คำไทยซ้อนคำจีน เช่น กักตุน ต้มตุ๋น นั่งจ๋อ หุ้นส่วน ชื่อแซ่ ห้างร้าน
คำไทยซ้อนภาษาอังกฤษ เช่น แบบแปลน แบบฟอร์ม
3. คำต่างประเทศซ้อนคำต่างประเทศ เช่น
คำบาลีกับคำสันสกฤต เช่น อิทธิฤทธิ์ มิตรสหาย เหตุการณ์ ทรัพย์สมบัติ
คำเขมรกับคำบาลีหรือสันสกฤต เช่น สรงสนาน สุขสงบ เสบียงอาหาร
คำเขมรกับคำเขมร เช่น สนุกสนาน สงบเสงี่ยม เลอเลิศ เฉลิมฉลอง
(2.) คำซ้อนเพื่อเสียง เป็นการนำคำที่มีความหมายคล้ายคลึงกันมาซ้อนกัน เพื่อให้ออกเสียงง่ายขึ้นและมีเสียงคล้องจองกัน
ทำให้เกิดความไพเราะขึ้น คำซ้อนเพื่อเสียงนี้บางทีเรียกว่าคำคู่ หรือคำควบคู่
วิธีซ้อนคำเพื่อเสียง
1. นำคำที่มีพยัญชนะตัวเดียวกัน แตกต่างกันที่เสียงสระ นำมาซ้อนหรือควบคู่กัน เช่น เรอร่า เซ่อซ่า อ้อแอ้ จู้จี้ เงอะงะ เหนอะหนะ
จอแจ ร่อแร่ เตาะแตะ ชิงชังจริงจัง ตูมตาม ตึงตัง อึกอัก ทึกทัก โฉ่งฉ่าง หมองหมาง อุ๊ยอ้าย โอ้กอ้าก
2. นำคำแรกที่มีความหมายมาซ้อนกับคำหลัง ซึ่งไม่มีความหมายเพื่อให้คล้องจองและออกเสียงได้สะดวก โดยเสริมคำข้างหน้าหรือ
ข้างหลังก็ได้ ทำให้เน้นความเน้นเสียงได้หนักแน่ โดยมากใช้ในภาษาพูด เช่นกวาดแกวด กินแกน พูดเพิด ดีเดอ เดินแดน
มอมแมม ดีเด่ ไปเปย มองเมิง หูเหือง ชามแชม กระดูกกระเดี้ยว
3. นำคำที่มีพยัญชนะต้นต่างกันแต่เสียงสระเดียวกันมาซ้อนกันหรือควบคู่กัน เช่นเบ้อเร่อ แร้นแค้น จิ้มลิ้ม ออมซอม อ้างว้าง
4. นำคำที่มีพยัญชนะต้นเหมือนกัน สระเสียงเดียวกัน แต่ตัวสะกดต่างกันมาซ้อนกัน หรือควบคู่กัน เช่นลักลั่น อัดอั้น หย็อกหย็อย
5. คำซ้อนบางคำ ใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมาซ้อนกันและเพิ่มพยางค์ เพื่อให้ออกเสียงสมดุลกัน เช่น
ขโมยโจร เป็น ขโมยขโจร สะกิดเกา เป็น สะกิดสะเกา
6. คำซ้อนบางคำอาจจะเป็นคำซ้อนที่เป็นคำคู่ ซึ่งมี 4 คำ และมีสัมผัสคู่กลาง หรือคำที่ 1 และคำที่ 3 ซ้ำกัน
คำซ้อนในลักษณะนี้เป็นสำนวนไทยความหมายของคำจะปรากฏที่คำหน้าหรือคำท้าย หรือปรากฏที่คำข้างหน้า 2 คำ ส่วนคำท้าย 2 ตัว ไม่ปรากฏความหมาย เช่น เกะกะระราน กระโดดโลดเต้น บ้านช่องห้องหอ เรือแพนาวา ข้าเก่าเต่าเลี้ยง กตัญญูรู้คุณ ผลหมากรากไม้ โกหกพกลม ติดอกติดใจ เข้าไต้เข้าไฟ ถึงพริกถึงขิง ร้อนอกร้อนใจ
คำซ้ำ คือ คำที่เกิดจากคำมูลซ้ำกัน มีความหมายใหม่ อาจเน้นหนักหรือเบาลงไปหรือเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น คำซ้ำจะถือว่าเป็นคำประสมชนิดหนึ่งก็ได้
ลักษณะของคำซ้ำมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. อาจเป็นชนิดใดและทำหน้าที่ใดก็ได้ เช่น นาม สรรพนาม กริยา วิเศษณ์
2. นำคำหนึ่ง ๆ มาซ้ำกันสองครั้ง เช่น เด็ก ๆ เล็ก ๆ เล่น ๆ
3. นำคำซ้อนมาแยกซ้ำกัน เช่น
ลูบคลำ เป็น ลูบ ๆ คลำ ๆ เปรอะเปื้อน เป็น เปรอะ ๆ เปื้อน ๆ
นุ่มนิ่ม เป็น นุ่ม ๆ นิ่ม ๆ อดอยาก เป็น อด ๆ อยาก ๆ
4. นำคำซ้ำมาประสมกัน เช่น งู ๆ ปลา ๆ ไป ๆ มา ๆ ชั่ว ๆ ดี ๆ ลม ๆ แล้ง ๆ
ความหมายของคำซ้ำ คำซ้ำเปลี่ยนไปจากคำเดิมได้ต่าง ๆ เช่น
1. บอกพหูพจน์ คำเดิมอาจเป็นเอกพจน์หรือพหูพจน์ กลายเป็นพหูพจน์อย่างเดียว เช่น
เขาเล่นกับเพื่อน (เอกพจน์หรือพหูพจน์) เขาเล่นกับเพื่อน ๆ (พหูพจน์)
พี่อยู่ในห้อง (เอกพจน์หรือพหูพจน์) พี่ ๆ อยู่ในห้อง (พหูพจน์)
2. บอกความเน้นหนัก วิเศษณ์บางคำเมื่อเป็นคำซ้ำมีความหมายเน้นหนักกว่าเดิม โดยมากเปลี่ยนเสียงคำแรกเป็นเสียงดนตรี
สวย ๆ เป็น ซ้วยสวย ดี ๆ เป็น ดี๊ดี
ใหญ่ ๆ เป็น ไย้ใหญ่ แดง ๆ เป็น แด๊งแดง
3. บอกความไม่เน้นหนัก วิเศษณ์บางคำเมื่อเป็นคำซ้ำความหมายคลายความเน้นหนักกว่าเดิม คำซ้ำประเภทนี้ไม่เปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์
ของคำแรก เช่น
สวย (สวยจริง) สวย ๆ (ไม่สวยทีเดียว)
ดี (ดีจริง) ดี ๆ (ไม่ดีทีเดียว)
ใหญ่ (ใหญ่จริง) ใหญ่ ๆ (ไม่ใหญ่ที่เดียว)
4. บอกคำสั่ง วิเศษณ์ที่เป็นคำซ้ำเมื่อประกอบกริยา จะเน้นความและบอกคำสั่ง เช่น
อยู่เงียบ (วลี) อยู่เงียบ ๆ (ประโยคคำสั่ง)
พูดดัง (วลี) พูดดัง ๆ (ประโยคคำสั่ง)
ออกห่าง (วลี) ออกห่าง ๆ (ประโยคคำสั่ง)
5. เปลี่ยนความหมายใหม่ คำซ้ำบางคำเปลี่ยนความหมายใหม่โดยไม่มีเค้าของความหมายเดิม เช่น
กล้วย ๆ (ง่าย) น้อง ๆ (เกือบ,ใกล้,คล้าย)
หมู ๆ (ง่าย) ไล่ ๆ (ใกล้เคียง)
คำสมาส คือ คำที่สร้างขึ้นใหม่โดยดัดแปลงจากหลักไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เพื่อให้มีคำใช้มากขึ้นเช่นเดียวกับคำประสม
ลักษณะของคำสมาส
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไป
2. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต
3. พยางค์สุดท้ายของคำหน้าประวิสรรชนีย์หรือเป็นตัวการันต์ไม่ได้ เช่น
ธุระ + กิจ = ธุรกิจ พละ + ศึกษา = พลศึกษา
ยุทธ์ + วิธี = ยุทธวิธี แพทย์ + ศาสตร์ = แพทยศาสตร์
4. ในการแปลความหมายจะแปลจากคำหลังไปยังคำหน้า เช่น
ราชการ = ราช + การ แปลว่า งานของพระเจ้าแผ่นดิน
พุทธศาสนา = พุทธ + ศาสนา แปลว่า ศาสนาของพระพุทธเจ้า
5. ส่วนมากออกเสียงพยางค์ท้ายของคำหน้า ถึงแม้ไม่มีรูปสระกำกับจะต้องออกเสียงสระอะ เช่น
ชลประทาน อ่าน ชน - ละ - ประ - ทาน
เทพบุตร อ่าน เทบ - พะ - บุด
คำสมาสบางคำไม่ออกเสียงสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น
รสนิยม อ่าน รด - นิ - ยม
สมัยนิยม อ่าน สะ - ไหม - นิ - ยม
เกตุมาลา อ่าน เกด - มา - ลา
6. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำ พระ ซึ่งกลายเสียงมาจากคำบาลีสันสกฤต วร ประกอบข้างหน้า ถึงแม้คำ พระ จะประวิสรรชนีย์ก็เป็นคำสมาส
ด้วย เช่น พระกรรณ พระขรรค์ พระคทา พระจันทร์ พระฉวี
คำประสมและวลีซึ่งมีลักษณะคล้ายคำสมาส เช่น เรียงคำขยายไว้ข้างหน้า ออกเสียง พยางค์ท้ายของคำขยาย มีคำ พระ ประกอบข้างหน้าหรือไม่ก็ประกอบคำขึ้นจากคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด แต่อย่างไรก็ดี คำหรือกลุ่มคำเหล่านี้ไม่จัดเป็นคำสมาส เพราะขาดคุณสมบัติสำคัญบางประการของคำสมาส คือคำที่ไม่ใช้คำสมาส ไม่ใช่คำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตทั้งหมด
เทพเจ้า เจ้า เป็นคำ ไทย ผลไม้ ไม้ เป็นคำ ไทย
คำตั้งอยู่หน้าคำขยายถึงแม้มาจากภาษาบาลีสันสกฤต
การแพทย์ การยุทธ์ คดีโลก คดีธรรม ผลบุญ ผลผลิต
นายสภา นายกสมาคม สมัยปัจจุบัน สมัยโบราณ
คำสนธิ คือ คำที่สร้างขึ้นใหม่โดยดัดแปลงจากหลักไวยากรณ์บาลีสันสกฤต เพื่อให้มีคำใช้มากขึ้นเช่นเดียวกับคำสมาส
ลักษณะคำสนธิ
1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป
2. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต
3. มีการเชื่อมคำโดยเปลี่ยนแปลงสระ พยัญชนะหรือนฤคหิตของคำเดิม
4. ส่วนมากเรียงคำที่มีความหมายหลักหรือคำตั้งไว้หลังคำขยายไว้หน้าในการแปลความหมายแปลจากหลังไปยังคำหน้า
การสนธิในภาษาไทย มี 3 วิธี คือ
1. สระสนธิ คือ การเชื่อมเสียงของเสียงสระหลังของคำหน้ากับสระหน้าของคำหลังให้กลมกลืนกัน เช่น
วิทย+อาลัย เป็น วิทยาลัย มหา + โอฬาร เป็น มโหฬาร
ธนู + อาคม เป็น ธันวาคม นร + อินทร เป็น นเรนทร์
ราช + อุปถัมภ์ เป็น ราชูปถัมภ์ สุข + อุทัย เป็น สุโขทัย
2. พยัญชนะสนธิ คือ การเชื่อมเสียงพยัญชนะสุดท้ายของคำหน้ากับพยัญชนะหรือสระหน้าของคำหลัง เช่น
ราช + โอวาท เป็น ราโชวาท ผล + อานิสงส์ เป็น ผลานิสงส์
นร + อันดร เป็น นิรันดร ศิลป + อากร เป็น ศิลปากร
3. นฤคหิตสนธิ คือ การเชื่อมเสียงสุดท้ายของคำหน้าที่เป็นนฤคหิตกับเสียงหน้าของคำหลังที่เป็นสระหรือพยัญชนะให้กลมกลืนกัน เช่น
ส + อาทาน เป็น สมาทาน ส + อาคม เป็น สังคม
ส + จร เป็น สัญจร